Tuesday, 14 May 2024
สู้รบ

Chechen VS Chechen เปิดสมรภูมิรบ Ukraine แต่นักรบ Chechen ต้องมารบราฆ่าฟันกันเอง

สำหรับวันนี้อยากชวนทุกท่านไปรู้จักเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกระแสโลกอย่างสงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ กัน 

ธงของสาธารณรัฐเชเชนในปัจจุบัน

เรื่องของชาว Chechen ซึ่งเป็นประชากรของสาธารณรัฐเชเชน (Chechen Republic) หรือ เชชเนีย (Chechnya) ซึ่งเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของประเทศรัสเซีย 

เชชเนีย ตั้งอยู่ในเขตคอเคซัสเหนือ อันเป็นส่วนใต้สุดของยุโรปตะวันออก และอยู่ในรัศมี 100 กิโลเมตรจากทะเลแคสเปียน มีเมืองหลวงคือ กรุงกรอซนีย์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า มีประชากรชาวเชชเนียราว 1,268,989 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย บริเวณเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับจอร์เจีย 

ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตัวเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR)

ภายหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 ขบวนการชาตินิยมกลุ่มมุสลิมหัวใหม่ในรัสเซียต้องการที่จะผนวกดินแดน 4 สาธารณรัฐคือ สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย, คาร์บาดีโน-บัลคาเรีย, ดาเกสถาน และนอร์ทออสซีเชีย เข้าด้วยกัน เรียกว่า "สหพันธรัฐอิสลามคาลีฟัด (Islamic Caliphate)" ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลาง และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตัวเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR) แบ่งออกเป็นสองสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐอินกูเชเตียและสาธารณรัฐเชเชน 

ธงของสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน

สาธารณรัฐเชเชนได้รับการประกาศเป็นสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน ซึ่งต้องการเป็นเอกราช หลังสงครามเชเชนครั้งที่หนึ่งกับรัสเซีย เชชเนียได้รับเอกราชโดยพฤตินัยเป็นสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน ระบอบการควบคุมจากส่วนกลางของรัสเซียได้รับการฟื้นฟูระหว่างสงครามเชเชนครั้งที่สอง ปัจจุบันยังมีการสู้รบประปรายไปในเขตภูเขาและทางใต้ของเชชเนีย

นายพลโซคคาร์ ดูดาเยฟ (ประธานาธิบดีเชชเนียคนแรก ผู้ซึ่งประกาศให้สาธารณรัฐเชชเนียเป็นเอกราช)

ปัญหาของเชชเนียเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เมื่อนายพลโซคคาร์ ดูดาเยฟ ประธานาธิบดีเชชเนีย ประกาศให้สาธารณรัฐเป็นเอกราช แต่รัสเซียยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ดินแดนในปกครองเป็นอิสระ ด้วยเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย จึงได้มีการส่งทหารจำนวน 40,000 นาย เข้าไปยังเชชเนีย เพื่อปราบปรามการแบ่งแยกดินแดน ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2537-2539) แต่ได้สิ้นสุดลง เมื่อรัสเซียตกลงให้สิทธิปกครองตนเองชั่วคราวแก่กลุ่มกบฏ และยอมถอนทหารออกจากเชชเนียทั้งหมด และสนับสนุนให้ อัสลาน มาสคาดอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชชเนียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 สืบแทนประธานาธิบดีดูคาเยฟที่เสียชีวิตไปในช่วงสงคราม 

อัสลาน มาสคาดอฟ อดีตประธานาธิบดีเชชเนีย ผู้ซึ่งถูกหน่วย FSB สังหาร

ต่อมาอำนาจของประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องจากอดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกระจายอยู่ตามดินแดนส่วนต่างๆ ของเชชเนีย เริ่มตั้งตนขึ้นมามีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศ และจากการที่ประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ได้ดำเนินนโยบายแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียในภายหลัง ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องการจับกุมตัวประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ขณะที่สุดท้ายประธานาธิบดีมาสคาดอฟ เสียชีวิตด้วยฝีมือของหน่วย FSB ขณะเข้าทำการจับกุมเมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548

นายพลชามิล บาซาเยฟ (อดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนีย)

อย่างไรก็ตาม สงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542) ก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อนายพลชามิล บาซาเยฟ หัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนีย ซึ่งมีอำนาจมากที่สุด นำกำลังเข้ายึดสาธารณรัฐดาเกสถานทางตะวันออกของเชชเนีย พร้อมประกาศจะปลดปล่อยดินแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสออกจากรัสเซีย และเปลี่ยนให้เป็นรัฐอิสลามทั้งหมด ทำให้รัสเซียต้องส่งทหารเข้าโจมตีที่ตั้งของนายพลบาซาเยฟในเชชเนียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยสามารถยึดพื้นที่ไว้ได้ทั้งหมด รวมทั้งกรุงกรอซนีย์เมืองหลวงของเชชเนีย เหลือแต่เพียงบริเวณเทือกเขาตามแนวชายแดนเท่านั้น ที่มักเกิดการสู้รบกับกลุ่มกบฏในลักษณะการซุ่มโจมตี และต่อมา อัคมัด คาดีรอฟ ซึ่งย้ายข้างมาสนับสนุนรัสเซียได้ขึ้นเป็นผู้นำเชชเนีย และถูกลอบสังหารเมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และปัจจุบัน รัมซาม คาดีรอฟ บุตรชายของ อัคมัด คาดีรอฟ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเชเชน ภายใต้สหพันธรัฐรัสเซียซึ่งมี ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นผู้นำ

น่าเสียดาย!! Ghost of Kyiv (ปีศาจแห่งเคียฟ) ‘เสืออากาศ’ ที่มีอยู่แค่ในโลก Social ของยูเครน

กลายเป็นอีกปรากฏการณ์แห่งโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อเรื่องราวของ Ghost of Kyiv ที่ถูกเผยแพร่เล่าลือกันในโลก Social Media ระหว่างที่ใครหลายคนกำลังติดตามข่าวสารการรบระหว่าง Russia กับ Ukraine 

Ghost of Kyiv เป็นฉายาของนักบินเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-29 ของยูเครนผู้หนึ่ง ซึ่งสามารถยิงเครื่องบินรบของรัสเซียตกถึงหกลำภายในวันแรกของสงคราม และได้รับการขนานนามว่า Ghost of Kyiv เหตุเพราะ Ghost of Kyiv สามารถบรรลุความเป็น ‘เสืออากาศ’ ได้ภายในวันเดียว (*** คำว่า ‘เสืออากาศ (Flying Ace)’ หมายถึงนักบินรบที่สามารถยิงเครื่องบินรบของศัตรูตกตั้งแต่ 5 ลำขึ้นไป)

เครื่องบินรบแบบ MiG-29 ของกองทัพอากาศยูเครน

ในวันแรกที่รัสเซียบุกยูเครน ข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยันนี้ ก็ถูกแพร่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ต โดยมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอลงสื่อ Social Media กล่าวอ้างถึงเรื่องราวของนักบินรบ MiG-29 ชาวยูเครนผู้ลึกลับนายหนึ่ง ซึ่งสามารถสังหารเครื่องบินข้าศึก 6 ลำภายใน 30 ชั่วโมงแรกของสงคราม โดยเครื่องบินที่ถูกสอยร่วงนั้นเป็นเครื่องบินรบแบบ SU-35 จำนวน 2 ลำ, SU-25 จำนวน 2 ลำ, SU-27 จำนวน 1 ลำ และ MiG-29 อีกหนึ่งลำ และจากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงส่งผลให้ประชาชนชาวยูเครนต่างพากันให้ฉายานักบินผู้นี้ว่า Ghost of Kyiv ที่เข้าโหมด ‘เสืออากาศภายในวันเดียว’ (Ace in a Day) คนแรกของศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้

ทว่า วิดีโอและภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่แสดงให้เห็นการสู้รบในอากาศของเครื่องบินรบแบบ MiG-29 ของยูเครนที่แชร์บน Social Media กลับได้รับการพิสูจน์โดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและนักวิจัยว่า...เก่า - ล้าสมัย และในบางกรณีก็มีการนำ Footage จากวิดีโอเกมจำลองการบินยอดนิยมกลับมาใช้ใหม่ 

นอกจากนี้แล้วรายงานเครื่องบิน MiG-29 ของยูเครนที่สามารถยิงเครื่องบินรัสเซียหลายลำตกตั้งแต่เริ่มการบุกรุก ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันจากสื่อสากลใด ๆ อีกด้วย 

แต่ถึงกระนั้น เรื่องนี้ก็ไม่หลุดรอดและหยุดยั้งการเดินเครื่องโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อของรัฐบาล และนักการเมืองยูเครนไปได้ เพราะพวกเขายังพยายามเผยแพร่เรื่องราวของ ‘Ghost of Kyiv’ ทางโลกออนไลน์ ด้วยหวังว่าจะเป็นการเสริมสร้างและเพิ่มเติมขวัญกำลังใจให้ชาวยูเครนเกิดแรงฮึดในการป้องกันประเทศ 

อาทิ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 กระทรวงกลาโหมของยูเครน ก็ได้ปลุกกระแสข่าวลือด้วยการทวีตว่า Ghost of Kyiv อาจเป็นหนึ่งในอดีตนักบินนอกประจำการที่กลับมาสู้รบอีกครั้งหลังจากถูกรัสเซียรุกราน “นักบินทหารผู้มากประสบการณ์หลายสิบคน ยศตั้งแต่เรืออากาศเอกไปจนถึงนายพล ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกปลดเป็นกองหนุนกำลังกลับสู่กองทัพอากาศ” และ “ใครจะไปรู้ว่า บางทีหนึ่งในนั้นอาจเป็นนักบิน MiG-29 ซึ่งชาว Kyiv มักได้เห็นบ่อย ๆ !"

ฉะนั้น ปรากฏการณ์ Ghost of Kyiv จึงเหมือนเป็นการปรับภาพให้ผู้คนทั่วโลกและชาวยูเครนเห็นว่า ความจริงแล้วรัสเซียยังไม่ได้สร้างความเหนือชั้นกว่าในการครองอากาศได้เลย

โดยทางด้านเจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงของสหรัฐฯ ซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ ก็ดูจะโหนกระแสเรื่องนี้อีกคำรบ โดยเขาได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนหน้านี้ด้วยว่า “การป้องกันทางอากาศของยูเครนยังคงใช้งานได้” และบนอากาศยัง “มีการสู้รบกันอย่างมีพลวัตสูงมากอยู่ (กองทัพอากาศยูเครนยังรับมือกับรัสเซียได้อยู่)” 

ยิ่งไปกว่านั้น การขาดข้อมูลที่ชัดเจนจากทั้งรัฐบาลรัสเซียและยูเครนเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขความเสียหายและการบาดเจ็บล้มตาย ก็ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มความลึกลับให้แก่ Ghost of Kyiv ได้ดียิ่งขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมของยูเครนอ้างว่า กองกำลังของรัสเซียเกือบ 6,000 นายและเครื่องบิน 30 ลำถูกทำลายโดยกองกำลังของตนเมื่อเช้าวันพุธ ต่อมาในวันเดียวกัน กระทรวงกลาโหมของรัสเซียอ้างว่า ทหาร 500 นายเสียชีวิต แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า มีเครื่องบินถูกทำลายหรือสูญหาย ซึ่งทำให้ The Ghost of Kyiv กลายเป็นขวัญและกำลังใจที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชาวยูเครนที่ต่างเต็มใจจับอาวุธเข้าต่อต้านกองทัพรัสเซีย

‘ผบ.ทอ.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง’ สรุปแผนปฏิบัติภารกิจ ‘อพยพคนไทย’ จากเหตุไม่สงบในซูดาน โดยส่งเครื่องบิน 3 ลำ-ชุดแพทย์ร่วมเดินทาง

เมื่อวันที่ 25 เม.ย.66 พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) และ พล.อ.อ.ณรงค์ อินทชาติ เสนาธิการทหารอากาศ พร้อมด้วย ผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปแผนการบิน และแผนการปฏิบัติ ในการส่งเครื่องบินของกองทัพอากาศ ได้แก่ เครื่องบิน Airbus A340-500 จำนวน 1 เครื่อง และเครื่องบิน C-130 จำนวน 2 เครื่อง เดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ คิง อับดุลาซิซ เมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่ออพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในสาธารณรัฐซูดานกลับประเทศ ภายใต้การประสานงานของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ทำการอพยพคนไทยจากสาธารณรัฐซูดาน โดยทางบกและทางเรือไปยังจุดนัดหมายเพื่อรอเครื่องบินของกองทัพอากาศเดินทางไปรับ

สำหรับเครื่องบิน Airbus A340-500 ออกเดินทางเวลา 23.59 น. บินตรงไปยังท่าอากาศยาน คิง อับดุลาซิซ ใช้เวลาบินประมาณ 9 ชั่วโมง

จับตา 'สี จิ้นผิง' สั่งกองทัพจีนเตรียมพร้อมรบตะวันตก ชี้!! ไม่ถึงขั้นสงครามครั้งที่ 3 แต่ปะทุจากพิกัดเฉพาะจุด 

(26 ก.ค. 66) ตามรายงานของเกียวโดนิวส์ สื่อมวลชนญี่ปุ่นเมื่อวันจันทร์ (24 ก.ค.66) ได้เผยว่า ก่อนหน้านี้ หากยังพอจำกันได้ ‘สี จิ้นผิง’ ประธานาธิบดีจีน เคยบอกกับบรรดาผู้นำกองทัพระหว่างการประชุมหนึ่งเมื่อปี 2020 ด้วยการผงาดขึ้นมาของจีนและการเสื่อมถอยของตะวันตก ปักกิ่งจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับสงครามระหว่าง 2 ฝ่าย

โดยคำกล่าวนั้น อ้างอิงเอกสารจากการประชุมระหว่าง สี กับ คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สื่อมวลชนญี่ปุ่นอ้างว่า สี ได้ประกาศกับที่ประชุมว่า “ตะวันออกกำลังผงาด และตะวันตกกำลังเสื่อมถอย”

ท่ามกลางดุลอำนาจที่เปลี่ยนไปนี้ สี คาดการณ์ว่าความขัดแย้งระดับท้องถิ่นจะปะทุขึ้นและลุกลามบานปลาย อย่างไรก็ตาม ในการสันนิษฐานครั้งนั้นเขาตัดความเป็นไปได้ของสงครามโลกครั้งที่ 3 ทั้งนี้ไม่ชัดเจนว่าในตอนนั้น สี มองว่าความขัดแย้งจะมีต้นกำเนิดที่ใด แต่สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ เชื่อว่าผู้นำจีนมองไต้หวัน ในฐานะล่อแหลมที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด

รายงานข่าวระบุว่า เอกสารเหล่านี้ผ่านการเรียบเรียงหลังการประชุมเมื่อปี 2020 และส่งไปยังบรรดาผู้บัญชาการทหารจีนและพวกเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว รัสเซีย ได้สู้รบกับสิ่งที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เรียกว่า “กลไกทางทหารตะวันตกทั้งมวล” ในยูเครนไปแล้ว ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเกี่ยวกับประเด็นไต้หวัน ทวีความร้อนแรงมาถึงจุดเดือด ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งอเมริกา พูดซ้ำๆ ว่าเขาจะปกป้องเกาะแห่งนี้ ที่จีนกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนด้วยกำลังทหาร

การประชุมของสี และคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เกิดขึ้นก่อนหน้ารัสเซียเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนราวปีเศษๆ และในตอนนั้น โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ ขณะนั้น ง่วนอยู่กับการทำสงครามการค้ากับปักกิ่ง ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเหมือนเช่นปัจจุบันภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีไบเดน
.
โดยไม่คำนึงถึงเรื่องดังกล่าว รายงานข่าวระบุว่า สี เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่กองทัพจีนต้องเตรียมพร้อมสำหรับสงครามที่จะระเบิดขึ้นและปฏิกิริยาลูกโซ่ของมัน และสั่งให้พวกผู้บัญชาการกองทัพ "เตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องสำหรับปกป้องอธิปไตยของจีนและผลประโยชน์แห่งชาติ"

คำสั่งของสี เกิดขึ้นระหว่างการประชุมลับ แต่บ่อยครั้งที่ผู้นำจีนมักพูดแบบเดียวกันต่อที่สาธารณะ เขาเคยออกคำสั่งให้ทหาร “ฝึกฝนเสริมความเข้มแข็งอย่างครอบคลุม เตรียมพร้อมสำหรับสงคราม" ระหว่างการเดินทางตรวจเยี่ยมกองบัญชาการแห่งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว และในเดือนเมษายน เขาบอกกับกำลังพลให้มุ่งเน้นการฝึกฝนไปที่ “การสู้รบจริง” ในการปกป้อง “อธิปไตยเหนือเขตแดนและผลประโยชน์ทางทะเลของจีน”

เปิด 5 ความเป็นไปได้...ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น!! ชนวนชัด!! 'สหรัฐฯ' รบ 'รัสเซีย' ปีหน้า?

ในยุคนี้ ใครๆ ก็ว่ากันว่าเป็นการสู้รบบนสมรภูมิเศรษฐกิจที่ต้องใช้มันสมองเป็นอาวุธ การจะปาระเบิด ยิงถล่มใส่กันก็คงไม่มีแล้ว แต่ทว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนก็เป็นคำตอบได้อย่างดีกว่า…สงคราม ยังสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อเกิดความขัดแย้งที่ไม่อาจหาทางออกได้

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาไปดู 5 ความเป็นไปได้...ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น!! ชนวนชี้ชัด ‘สหรัฐฯ’ สู้รบ ‘รัสเซีย’ ในปีหน้า…

'หน่วยความมั่นคง' ยัน!! มีเพียงการสู้รบรอบนอกเมียวดีห่างออกไป 1-40 กม. ยัน!! ไม่กระทบไทย และไม่มีสถานการณ์ใดน่ากังวลตามที่ปรากฏบนหน้าสื่อ

'หน่วยความมั่นคง' ยัน!! ไม่มีการสู้รบในเมืองเมียววดี มีเพียงรอบนอกที่ห่างออกไป 1-40 กม. ขอคนไทยอย่ากังวล เพราะไม่กระทบ เผย BGF ผันมาเป็น KNA ร่วมกับกะเหรี่ยง พร้อมประสาน รบ.ทหารเมียนมา เจรจาผลประโยชน์ลงตัว

(12 เม.ย. 67) แหล่งข่าวความมั่นคง กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวการโจมตี และเข้ายึดพื้นที่เมืองเมียวดีได้แล้ว ว่า จากการข่าวที่รายงานมา ยังไม่มีการสู้รบในตัวเมืองเมียวดี มีแต่การสู้รบล่าสุดคือ ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ 10 เม.ย.67 บริเวณที่ตั้งของ พัน 275 ซึ่งอยู่ห่างจาก ตัวเมืองเมียวดีประมาณ 1 กม. ห่างจากอำเภอแม่สอด 5 กม. โดย พัน 275 มีทหารอยู่ประมาณ 140 นาย ขณะที่กองกำลังพันธมิตรกะเหรี่ยงเข้าตี ซึ่งประกอบไปด้วย KNLA, KNA (BGF), PDF, KTLA และในช่วงเย็นของวันที่ 10 ทางกองกำลังพันธมิตรกะเหรี่ยง ก็สามารถเข้ายึดค่ายได้โดยทางกองกำลังพันธมิตรกะเหรี่ยงได้เปิดทางให้ ทหารของ พัน 275 วางอาวุธและเดินทางออกจากค่าย ด้วยความปลอดภัย 

ส่วนการสู้รบวานนี้ (11) ที่บริเวณรอบ ๆ พัน 275 ทาง กองทัพอากาศเมียนมาได้นำเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ ที่ตั้งดังกล่าวพากันอพยพหนีการสู้รบจากบริเวณนั้นดังที่ปรากฏในข่าว 

โดยพิกัดดังกล่าวอยู่บริเวณ อ.กอการเร็ก ซึ่งห่างจากแม่สอดประมาณ 60 - 80 กม. ส่วนตามที่ปรากฏในข่าวสาร ว่ามีการเพิ่มเติมกำลังเข้ามาจาก พล ร.เบา 55 นั้น จริง ๆ แล้วการสู้รบในพื้นที่ดังกล่าว เป็นสู้รบที่เกิดขึ้นมานาน และต่อเนี่องมาหลายเดือน และผลจากการต่อสู้ดังกล่าว ไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ กับชายแดนไทย เพราะการอพยพของประชาชนดังกล่าว จะอพยพไปยังเมือง ไปร่จง, นาบู และ ตามันยะ ที่ไทยเพิ่งส่งความช่วยเหลือเข้าไป เมื่อวันที่ 25 มี.ค.67 ที่ผ่านมา  

สำหรับประเด็นสำคัญ ที่หลายคนอาจจะไม่เข้าใจคือ เมืองเมียวดี เป็นเมืองที่ถือได้ว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศเมียนมา ที่ผ่านมามี กองกำลัง BGF ซึ่งเป็นกองกำลังดูแลรักษาความสงบเมืองนี้ โดย BGF เป็นกองกำลังที่ได้รับผลประโยชน์จากประเทศเมียนมาในการดูและรักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองเมียวดี 

ทว่า ปัจจุบัน BGF ได้ถอนตัวจากการอยู่ภายใต้รัฐบาลเมียนมา เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา และเปลี่ยนเป็น กองกำลัง KNA เพื่อมาร่วมกับกะเหรี่ยงกลุ่มอื่นๆ แต่ถึงจะถอนตัวออกมาจากเมียนมาแล้ว ทาง KNA (BGF) ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารพูดคุยกับทางรัฐบาลของเมียนมาได้ 

นอกจากนี้ ทาง KNA (BGF) ยังปรากฏข่าวสารว่าเป็นผู้ที่เจรจา ให้ทหารพม่ากลุ่มต่าง ๆ ในเมียวดี วางอาวุธโดยไม่ต้องสู้รบ เพื่อที่จะได้ไม่สร้างความเสียหาย ให้กับเมืองเมียวดีและประชาชน โดยมีข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้ กล่าวว่า เริ่มมีการพูดคุยถึงการขับเคลื่อนเมืองเศรษฐกิจเมืองเมียวดี ให้กลับมาปกติ ดำเนินชีวิตอย่างเดิมกันต่อไป โดยทางรัฐบาลเมียนมา อาจจะให้ทางพันธมิตรกะเหรี่ยง เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการสะพานมิตรภาพทั้ง 2 แห่ง โดยแบ่งปันสัดส่วนผลประโยชน์ให้เป็นที่พึงพอใจกันทุกฝ่าย สถานการณ์ในเมืองเมียวดี จึงยังไม่มีความน่าวิตกกังวลใด ๆ

"ที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ก็เริ่มกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ใครที่ออกจากบ้าน ไปด้วยความกังวลสถานการณ์สู้รบ ก็จะเริ่มเดินทางกลับเข้าไป โดยสรุปสถานการณ์ ในเมืองเมียวดี น่าจะกลับมาปกติในเร็ววัน ไม่มีสถานการณ์ใดที่น่ากังวลตามที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ในห้วงที่ผ่านมา" แหล่งข่าวความมั่นคง ระบุ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top