Thursday, 17 April 2025
วันปีใหม่

ถอดสมการวันแรกแห่งปี ก่อน 1 มกราคมจะมาเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวโลก ก่อนวันปีใหม่ของชาวโลก จะเป็นวันปีใหม่ของชาวไทย

คนทั้งโลกรับรู้ว่า วันขึ้นปีใหม่ของโลกใบนี้ คือ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี แล้วท่านผู้อ่านรู้เหตุผลไหมว่า ทำไม?? วันปีใหม่ จึงต้องเป็นวันที่ 1 มกราคม

‘วันขึ้นปีใหม่’ มีประวัติความเป็นมาที่ย้อนกลับไปนานมาก ๆ ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจ ณ ขณะนั้น (ของไทยเราก็เหมือนกัน สรุปเหมือนกันทั่วโลกเรื่องนี้) เชื่อกันว่าการนับปีใหม่ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อ 4,000 กว่าปีก่อน ในยุคบาบิโลเนีย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาวบาบิโลเนียน ริเริ่มคิดค้นปฏิทินโดยคำนวณจากการเคลื่อนที่วงรอบของดวงจันทร์เป็นหลัก (หลักจันทรคติ) เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดให้เป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุกๆ 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก (ชาวอาหรับเผ่าหนึ่ง) ได้นำปีปฏิทินของชาวบาบิโลเนียนมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายรอบเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากขึ้น และใช้กันมาอย่างต่อเนื่องในแต่ละภูมิภาคของตนเอง ล่วงมาจนถึงสมัยของผู้ปกครองและนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวรรดิโรมัน ‘จูเลียส ซีซาร์’ (Julius Caesar) ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 46 ปี ก่อนคริสตกาล ได้นำความคิดและหลักความเชื่อเรื่อง ‘จักรราศี’ ตามหลักสุริยคติของอียิปต์มาผสมผสานกับจันทรคติในแบบเดิม จนเกิดเป็น ‘ปฏิทินจูเลียน’ (Julian calendar) คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส ซึ่งในละตินเรียกว่า Calendarium Iulianum สรุปก็ คือ ‘ปฏิทินของจูเลียส ซีซาร์’ นั่นแหละ 

โดยในหนึ่งปีบนปฏิทินของเขามี 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน ซึ่ง ‘ปฏิทินจูเลียน’ (Julian calendar) มีความใกล้เคียงกับปฏิทินปัจจุบันเป็นอย่างมาก แต่เราไม่ได้ใช้ปฏิทินนี้ในปัจจุบันนะ 

อธิกวาร หรือ อธิกมาศ คือ ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมวันในเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มอีก 1 วัน เป็น 29 วัน ซึ่งก็คือเดือนกุมภาพันธ์นั่นเอง เมื่อกำหนดวันเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ ในทุก ๆ 4 ปีแล้ว ก็ยังมีปัญหาเพราะวันใน ‘ปฏิทินจูเลียน’ ยังไม่ตรงตามฤดูกาลมากนัก คือเวลาในปฏิทินจะยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน (วุ่นวายจริงเชียว) 

'หมอปลาย' เตือน 3 วันก่อนปีใหม่ 2567 มีเหตุที่ต้องระวังให้ดี ส่วนปีหน้ามีเรื่องใหญ่

(4 ธ.ค.66) เฟซบุ๊ก 'ตีสิบเดย์ At Ten Day' เผยคลิปวิดีโอ สัมภาษณ์ หมอปลาย พรายกระซิบ ซึ่งมีการเปิดคำทำนายในรายการตีสิบเดย์ เมื่อถามถึงคืนปีใหม่จะมีอะไรไหม หลังปีใหม่ ปีหน้าจะมีอะไร

หมอปราย ระบุว่า "ให้ระวังดีกว่า อย่างแรกช่วงก่อนวันที่ 1 วันเลขคู่ ประมาณ 28-29-30 ทั้ง 3 วันนี้ จะมีเหตุเรื่องเกี่ยวกับเวที หรือเครื่องเสียงที่มีปัญหา และมีคนเจ็บ เน้นเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร...

"สำหรับในประเทศจะมีเรื่องเปลวไฟ ไฟไหม้ แต่เป็นเขตปริมณฑลมากกว่า ไม่ใช่ในกรุงเทพฯ เป็นเรื่องของโรงงาน หรือสถานที่เก็บของที่เป็นเชื้อไฟ จะมีเรื่องไฟเป็นหลักก่อนที่จะเข้าปีหน้า"

เมื่อถามถึงปีหน้า (2567) ทั้งปี หมอปลาย ตอบว่า "ปีหน้าเรื่องใหญ่ หลังมกราคมจะมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมากๆ อะไรที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ ของที่มาจากของมีปีก ของบินได้ อะไรมีปีกเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตรายเกือบทั้งหมด ระวังเรื่องเชื้อโรค ถ้าหลังจากนี้มีวัคซีนใหม่ต้องฉีด"

‘รศ.ดร.วินัย’ ชี้!! ‘การฉลองปีใหม่’ แท้จริงถือกำเนิดขึ้นก่อนจะมีศาสนาคริสต์ จึงไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ‘ชาวมุสลิม’ สามารถร่วมฉลองได้

(27 ธ.ค. 66) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ความเป็นมาของการเฉลิมฉลอง ‘วันปีใหม่’ ในวันที่ 1 มกราคม’ ระบุว่า…

มีคำถามจากพวกเราถึงผมเป็นครั้งคราว เร็วๆ นี้ มีคำถามมาว่า การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากล เป็นประเพณีหรือพิธีกรรมในศาสนาคริสต์ใช่หรือไม่ หากใช่ การที่คนในศาสนาอื่นเข้าไปร่วมเฉลิมฉลอง จะผิดหลักการในศาสนาของตนเองหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘มุสลิม’ ก่อนจะตอบ เราควรเข้าใจก่อนว่าการนับวันเวลาเป็นสิ่งสมมุติ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ โดยเป็นเช่นนั้นมาแต่โบราณแล้ว

การกำหนดวันปีใหม่สากลให้เป็นไปตามปฏิทินสุริยคติคือ ‘วันที่ 1 มกราคมของทุกปี’ เรื่องนี้เริ่มโดยชาวโรมันมานานนับพันปีแล้ว โดยก่อนหน้านั้น ชนโบราณ ทั้งบาบิโลน จีน อินเดีย กำหนดวันปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติมาก่อนชาวโรมันเสียด้วยซ้ำ โดยกำหนดไว้ว่า ‘วันขึ้นปีใหม่’ คือ วันเริ่มต้นการเพาะปลูก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงพฤษภาคม ชาวจีนกำหนดวันตรุษจีนไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวอินเดียกำหนดวันสงกรานต์ในเดือนเมษายน ส่วนชาวบาบิโลนเฉลิมฉลองวันเริ่มเพาะปลูกในเดือนมีนาคม

กระทั่งถึงปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล ‘จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์’ แห่งจักรวรรดิโรมัน เห็นว่าช่วงฤดูหนาวคือ เดือนธันวาคมถึงมกราคม อากาศหนาวเหน็บ บรรยากาศหดหู่ ผู้คนซึมเศร้า ว้าเหว่ จึงย้ายวันปีใหม่จากช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่สดใสไปเป็นฤดูหนาว เพื่อให้ผู้คนในจักรวรรดิได้รื่นเริงกันบ้าง การกำหนดวันปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 มกราคมจึงเริ่มต้นในปีนั้น วันปีใหม่จึงเกิดขึ้นก่อนการมาของคริสต์ศาสนา การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในบางชุมชนอาจมีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาปนบ้าง แต่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์อย่างแน่นอน

ชนคริสต์ในจักรวรรดิโรมันกว่าจะยอมรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ก็ล่วงเลยมาถึง ค.ศ. 313 แล้ว เหตุที่ก่อนหน้านั้นไม่ยอมรับก็เนื่องจากเห็นว่า การฉลองปีใหม่เป็นกิจกรรมของคนนอกศาสนา ต่อเมื่อเข้าใจได้ว่า วันเวลาคือความเป็นสากลไม่เกี่ยวข้องกับศาสนานั่นแหละจึงยอมรับ นอกจากนี้ ชาวคริสต์ในแต่ละนิกายยังเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ไม่ตรงกัน ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีชนกลุ่มใดยึดถือว่าวันปีใหม่เป็นวันสำคัญทางศาสนา การเฉลิมฉลองจะเป็นไปในลักษณะใด เอาศาสนามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ให้ขึ้นกับแต่ละสังคมเป็นสำคัญ

ในประเทศมุสลิมปัจจุบัน การนับถอยหลัง หรือ ‘เคาท์ดาวน์’ ตอนเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม มีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ที่อาคารทวินทาวเวอร์ในกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย หรืออาคารเบิร์จคาลิฟาของดูไบ ยูเออี และในอีกหลายประเทศมุสลิม นั่นเป็นเพราะวันปีใหม่ไม่ใช่การเฉลิมฉลองทางศาสนา

ส่วนประเด็นที่มีมุสลิมบางคนเข้าใจว่าวันที่ 1 มกราคม เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย ‘กรานาดา’ หรือ ‘ฆัรนาเฎาะฮฺ’ ของจักรวรรดิมุสลิมให้แก่จักรวรรดิคริสต์ในสเปน เหตุการณ์นั้นเกิดในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1492 ไม่เกี่ยวข้องกับวันปีใหม่ ที่อธิบายมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่า จะแนะนำให้มุสลิมฉลองวันปีใหม่ สังคมมุสลิมมีวันเฉลิมฉลองอยู่แล้ว คือ ‘วันอิดิลอัฎฮาและอิดิลฟิตริ’ การเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยงเลียนแบบคนอื่นในวันอื่นคงไม่เหมาะ ส่วนใครจะฉลองคงไม่มีใครตำหนิ

31 ธันวาคม วันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568

ในปฏิทินเกรกอเรียน วันที่ 31 ธันวาคม หรือที่เรียกว่า 'วันส่งท้ายปีเก่า' เป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของปีเก่าและการต้อนรับปีใหม่ ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายของปี ในหลายประเทศ การเฉลิมฉลองคืนวันปีใหม่มักจะเต็มไปด้วยการเฉลิมฉลอง และการชมพลุดอกไม้ไฟ นอกจากนี้ ในบางประเทศที่มีคริสเตียนก็จะมีการไปทำพิธีนมัสการในคืนวันปีใหม่ การเฉลิมฉลองมักจะดำเนินต่อไปจนถึงเที่ยงคืนและต้อนรับวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม

ประเทศในแถบเกาะไลน์ อาทิ คีริบาส, ซามัว และ ตองกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะเป็นพื้นที่แรกของโลกที่ต้อนเข้าสู่ศักราชใหม่ ขณะที่ อเมริกันซามัว, เกาะเบเคอร์ และ เกาะฮาวแลนด์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอเมริกัน) จะต้อนรับปีใหม่เป็นพื้นที่สุดท้ายของโลกที่เข้าสู่ปี 2025 

ในแต่ชาติจะมีวัฒนธรรมการเฉลิมฉลองที่แตกต่างกัน ในประเทศจีน แม้ว่าจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนอยู่แล้ว แต่ก็มีการฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียนเช่นกัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง ที่มีการจัดแสดงพลุและคอนเสิร์ตร็อก และในเซี่ยงไฮ้ที่มีการแสดงแสงและเสียงก่อนเที่ยงคืน

ใน ญี่ปุ่น, ค่ำคืนวันปีใหม่ถือเป็นเวลาที่ชาวญี่ปุ่นจะเตรียมตัวต้อนรับ 'เทพเจ้าแห่งปีใหม่' หรือ โทชิกามิ ชาวญี่ปุ่นมักนิยมทำความสะอาดบ้านและเตรียม 'คาโดมัตสึ' หรือ 'ชิเมนาวะ' เพื่อการต้อนรับเทพเจ้าถือเป็นประเพณีที่สำคัญ โดยที่วัดพุทธในญี่ปุ่นจะตีระฆัง 108 ครั้งในคืนวันปีใหม่เพื่อขจัดสิ่งไม่ดีทั้งหลาย

ใน ประเทศไทย มีหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยต่างจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่ากันอย่างคึกคัก อาทิ  กรุงเทพฯ และพัทยา มีการจัดงานเคานต์ดาวน์ การแสดงพลุไฟ และคอนเสิร์ต รวมไปถึงงานปาร์ตี้ในโรงแรม ร้านอาหาร และสถานบันเทิงต่าง ๆ 

ใน ฝรั่งเศส, การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ หรือ 'la Saint-Sylvestre' มักจะมีการจัดเลี้ยงอาหารมื้อใหญ่ หรือ 'Réveillon de la Saint-Sylvestre' ซึ่งมีอาหารพิเศษเช่น ฟัวกราส, ซีฟู้ด, และแชมเปญ และมีไฮไลต์คือการแสดงพลุที่หอไอเฟลเป็นประจำทุกปี

ใน รัสเซีย, การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ที่เรียกว่า 'Novy God' แม้ว่ารัสเซียจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ (Orthodox) ที่จะมีการเฉลิมฉลองบางอย่างแตกต่างจากคริสตชนประเทศอื่น แต่ก็มีรัสเซียก็มีวันหยุดที่เหมือนกับวันคริสต์มาส โด จะมีการประดับตกแต่งไฟและขอของขวัญจาก 'Ded Moroz' หรือ ซานตาคลอสในภาษารัสเซีย 

ในสหรัฐอเมริกา ไฮไลท์การถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ที่ไทม์สแควร์ในนิวยอร์ก เริ่มต้นครั้งแรกในปี 1970 ก่อนที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเฉลิมฉลองนี้ในเวลาต่อมา ในปีนี้ลูกบอลยักษ์ที่ประดับด้วยคริสตัล จำนวน 2,688 ชิ้นที่ผลิตโดยบริษัท Gillinder Glass พร้อมติดตั้งไฟ LED มีน้ำหนักถึง 11,875 ปอนด์และเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ฟุต จะตกลงมาในไทม์สแควร์ช่วงเวลาใกล้เที่ยงคืน พร้อมอักษรไฟคำว่า '2025' ที่มีน้ำหนักราว 545 กิโลกรัม มีความสูง 7 ฟุต ได้รับการประดับประดาด้วยหลอดไฟแอลอีดีจำนวน 620 ดวง จะสว่างไสวสร้างความประทับใจให้กับคนทั่วโลกในคืนสุดท้ายของปี

ตำนานวันปีใหม่ไทย เปลี่ยนผ่านจาก 1 เมษา สู่ 1 มกรา | THE STATES TIMES Story EP.160

รู้หรือไม่? ประเทศไทยเคยเริ่มต้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน! 
จากบทเพลง 'เถลิงศก' สู่ 'พรปีใหม่' เพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยร้องรับพรกันในวันปีใหม่ทุกปี 🎶
มาร่วมย้อนรอยตำนานการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไทย ที่สะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และน้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ไทย 💛

ไขปริศนา 1 มกราคม: วันปีใหม่เกิดขึ้นได้อย่างไร? | THE STATES TIMES Story EP.161

ทำไมวันที่ 1 มกราคม ถึงกลายเป็นวันปีใหม่? 🎆
รู้หรือไม่ว่า วันปีใหม่มีที่มาจากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่ยุคบาบิโลเนีย จนถึงปฏิทินเกรกอเรียนที่เราใช้กันในปัจจุบัน 🌍
มาดูกันว่าทำไมโลกถึงเลือกวันนี้เพื่อเริ่มต้นปีใหม่!

📖 อ่านเพิ่มเติม: https://thestatestimes.com/post/2023122702


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top