Sunday, 12 May 2024
ล้มล้างการปกครอง

‘ดร.นิว’ ซัดกลุ่มการเมือง หวังล้มล้างการปกครอง ดันยกเลิก ม.112 ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวประกัน

'ดร.นิว' ชำแหละ คณะการเมืองหนักแผ่นดิน ใช้ม.112 เป็นบันไดก้าวแรกไปสู่การล้มล้างการปกครองเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ในขณะที่อีกพรรคการเมืองหนักแผ่นดินหนึ่งต้องการจับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างน่ารังเกียจ

2 พ.ย. 64- ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ "ดร.นิว" นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Suphanat Aphinyan หัวข้อ ม.112 กับเกมการเมืองของคนหนักแผ่นดิน โดยระบุว่า

ม.112 สามารถยกเลิกได้เหมือนกับในบางประเทศ ก็ต่อเมื่อกฎหมายไม่มีการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะผู้คนมีความเจริญถึงขั้นที่ไม่มีใครทำผิดกฎหมาย จนในท้ายที่สุดไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายนั้นไปเองโดยธรรมชาติ ดังนั้นการสนับสนุนให้ยกเลิก ม.112 ที่แท้จริง คือ การไม่ทำผิด ม.112 เพื่อให้ ม.112 สูญหายไปเองตามกาลเวลา 

แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีคนหนักแผ่นดินกลุ่มหนึ่งคอยสร้างเงื่อนไขของความจำเป็นที่ยังต้องมี ม.112 อยู่ ซึ่งคนหนักแผ่นดินกลุ่มนี้กำเริบเสิบสาน ยุยงปลุกปั่นให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสถาบันพระมหากษัตริย์กันเป็นว่าเล่น กล้าบิดเบือนให้ร้าย หวังบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ตลอดจนปั่นกระแสโซเชียลมีเดีย บิดเบือนหลอกใช้ผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เป็นเครื่องมือในการทำผิดติดคุกตะรางแทนตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่คอยระมัดระวังตัวไม่ให้ตัวเองทำผิด ม.112 แต่กลับยุยงปลุกปั่นหลอกใช้ให้ผู้อื่นทำผิด ม.112 แทนตัวเอง 

โดยในปัจจุบัน "การติดคุกด้วยความผิด ม.112" เป็นการให้ข้อมูลเท็จ จากการบิดเบือนของสื่อที่ไร้จรรยาบรรณในสังคมไทย เพราะศาลยังไม่ได้มีการตัดสินผู้ที่ถูกดำเนินคดี ม.112 แม้แต่รายเดียว และการติดคุกของผู้ที่ถูกดำเนินคดี ม.112 มีสาเหตุที่แท้จริงมาจากการที่ศาลเคยให้ประกันตัวแล้ว แต่ผู้ต้องหากลับก่อเหตุซ้ำซากในลักษณะเดียวกัน จนศาลมองว่าเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายโดยปราศจากความเคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ศาลจึงไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีก 

ดังนั้นการติดคุกของแกนนำม็อบสามนิ้วจึงมาจากการก่อเหตุซ้ำซาก จนถูกดำเนินคดีเพิ่มเติมอีกหลายครั้งหลายหน ไม่ใช่จากการถูกจำคุกเนื่องจากถูกตัดสินว่ามีความผิดใน ม.112 ตามที่มีการบิดเบือนจากสื่อไร้จรรยาบรรณให้เกิดความเข้าใจผิดแต่อย่างใด

การโจมตี ม.112 จึงเป็นเพียงแค่เกมการเมืองของคนหนักแผ่นดิน พรรคการเมืองกับคณะการเมืองหนักแผ่นดินกลุ่มหนึ่งต้องการบ่อนทำลายความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นบันไดก้าวแรกไปสู่การล้มล้างการปกครองเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ในขณะที่อีกพรรคการเมืองหนักแผ่นดินหนึ่งต้องการจับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างน่ารังเกียจ 

'พิธา' ชี้!! ไม่มีทางสร้างชาติที่มั่นคงได้ หากยังพยายามทำลายอนาคตของชาติ หลังศาลรธน. ตัดสิน 3 แกนนำม็อบราษฎรมีความผิดจริง และสั่งยุติการกระทำ

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความ หลังศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ชี้ว่า 3 แกนนำม็อบราษฎร ล้มล้างการปกครอง และสั่งห้ามเครือข่ายให้เลิกกระทำอีก  ว่า... 

สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ จะขีดเส้นทางที่สุ่มเสี่ยงและคับแคบให้แก่สังคมไทย

ในขณะที่การประชุม Universal Periodic Review หรือ UPR ของสหประชาชาติเพื่อทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง ๆ หลายประเทศตั้งคำถามอย่างหนักหน่วงถึงท่าทีของประเทศไทยต่อเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงการแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยตัวแทนของประเทศไทยพยายามแก้ต่างกับนานาชาติว่าเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่คนไทยสามารถถกเถียงและแก้ไขกฎหมายได้ผ่านกลไกรัฐสภา 

ตัดภาพกลับมาที่ศาลรัฐธรรมนูญในเวลาไล่เลี่ยกัน ศาลได้วินิจฉัยให้การกระทำรวมถึงข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมเพื่อขอให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครอง ซึ่งคำวินิจฉัยที่น่ากังขานี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับสิ่งที่ตัวแทนประเทศไทยได้ชี้แจงกับนานาประเทศ

'พีระพันธุ์' ชี้ ม็อบปฏิรูปผิดอาญาร้ายแรง จี้ ผู้รักษากฎหมายตามเช็กบิลกองหนุน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยระบุว่า จบแล้วแต่ยังไม่จบ!!!

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จับใจความได้ว่าการพูดถึงสถาบันหลักของชาติที่ปวงชนชาวไทยถวายความเคารพสักการะด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 มีลักษณะของการปลุกระดมและใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เป็นการเรียกร้องโจมตีในที่สาธารณะที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและใช้ความรุนแรงในสังคม เป็นการทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ อีกทั้งเป็นการเซาะกร่อนเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่ดำรงอยู่คู่กันกับชาติไทยเป็นเนื้อเดียวกันนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน และจะต้องดำรงอยู่ด้วยกันต่อไปในอนาคตเพื่อธำรงความเป็นชาติไทย ต้องสิ้นสลาย ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียน หรือการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ

เป็นคำวินิจฉัยที่บอกว่าสิ่งที่กลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องพยายามตะโกนอธิบายว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายตามรัฐธรรมนูญนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการกระทำผิดกฎหมายและผิดรัฐธรรมนูญ ที่มิใช่เป็นเพียงแค่อาชญากรรมตามกฎหมายอาญาธรรมดา ๆ หากแต่เป็นการบ่อนทำลายชาติและสถาบันหลักของชาติที่จะต้องดำรงอยู่คู่กันกับชาติเพื่อธำรงความเป็นชาติไทยตลอดไปให้ต้องสิ้นสลาย อันเป็นความผิดอาญาที่ร้ายแรงยิ่ง 

เป็นการตอกย้ำว่าเมื่อไหร่ที่คนพวกนี้ต้องติดคุก พวกเขาคือ “นักโทษผู้กระทำความผิดอาญาร้ายแรง” ไม่ใช่ “นักโทษทางความคิด”

มันจบแล้ว...

จากนี้ไปการชุมนุมในลักษณะนี้รวมทั้งท่อน้ำเลี้ยงและอีแอบ ผู้เป็น “ชนกลุ่มน้อย” คือผู้ทำลายล้างรัฐธรรมนูญ คือผู้ทำลายล้างสถาบัน คือผู้ทำลายล้างชาติ คือผู้กระทำผิดอาญาร้ายแรง ไม่ใช่ผู้ใช้สิทธิเสรีภาพตามกฎหมายตามรัฐธรรมนูญอีกต่อไป ข้อคลางแคลงสงสัยของผู้รักษากฎหมายจนทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นแบบที่ผ่านมาก็จบลงด้วย

‘หริรักษ์’ กระชากหน้ากาก ปฏิรูปแบบ 3 นิ้ว เป้าหมายแท้จริง = ล้มล้างสถาบันฯ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า...

‘ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง’

‘ถ้าปฏิรูป คือ การล้มล้าง แล้วรัฐประหาร คือ อะไร?’

การปฏิรูป ก็คือ ความเหมาะสม คือ การเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมหรือเพื่อทำให้ดีขึ้น จะค่อยเป็นค่อยไป หรือจะทำอย่างรวดเร็วก็ได้

การล้มล้าง คือ การทำลาย การล้มล้างไม่จำเป็นต้องใช้กำลัง ก็เรียกว่าเป็นการล้มล้างได้

รัฐประหาร คือ การใช้กำลัง หรือบีบบังคับเพื่อยึดอำนาจ ส่วนใหญ่จะหมายถึงยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่

ไม่มีใครบอกว่า ‘การปฏิรูป’ เท่ากับ ‘การล้มล้าง’ และไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รู้ว่า ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง แต่เป็นพวกที่เคลื่อนไหวกันในขณะนี้ รวมทั้งสาวก และแนวร่วม ที่ออกมาประสานเสียงกันว่า ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้างนั่นแหละ ที่ไม่รู้ว่าการปฏิรูปแตกต่างกับการล้มล้างอย่างไร

คำพูดที่บอกว่าไม่ใช่เป็นการล้มล้าง ไม่อาจบ่งบอกความจริงได้ แต่การกระทำต่างหากจึงจะบอกได้ เพราะกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา 

ตลอดเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ลองมองย้อนกลับไปดูการกระทำและการแสดงออกของกลุ่มคนกลุ่มนี้ว่า พวกเขาทำอะไรกันบ้าง

การแสดงออกในทางเหยียบย่ำ หมิ่นแคลน ข่มขู่ เช่น…

การโจมตีด้วยถ้อยคำหยาบคาย การเผาพระบรมฉายาลักษณ์ สาดสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งของสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง 

ใช้กิโยตินเป็นสัญลักษณ์ข่มขู่ ทั้งในการชุมนุม และใน Social Media ทำทุกวิถีทางผ่านสื่อที่เป็นพวกเดียวกันสร้างและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ทำให้คนเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ขัดขวางความเจริญของประเทศ 

'ณัฐชา' ห่วง!! เหตุรุนแรง - ยิงกระสุนใส่ผู้ชุมนุม ส่ง กมธ.พัฒนาการเมือง หาความจริง

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นต่อสถานการณ์การชุมนุมของประชาชนเมื่อวานนี้ (14 พ.ย. 64) ว่า…

การชุมนุม เป็นทั้งสิทธิเสรีภาพและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ภายหลัง ศาลรัฐธรรมนูญไทยวินิจฉัยว่า การปราศรัย ‘ชุมนุม 10 สิงหา’ ที่เรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ‘เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต มีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครอง’ นั้น จะนำไปสู่ปฏิบัติการที่รุนแรงมากขึ้นของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมฝูงชน ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางปฏิบัติก็เลวร้ายมาตามลำดับ จากการส่งสัญญาณจากรัฐบาลในแต่ละครั้ง

“น่าเสียดายที่กลุ่มชนชั้นนำไม่เลือกที่จะรับฟังเสียงของประชาชนและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย แต่กลับเลือกที่จะฉุดรั้งพัฒนาการของสังคมและการเมืองไว้ต่อไปผ่านกลไกต่างๆ รวมถึงการใช้อำนาจตุลาการเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง การชุมนุมที่เกิดขึ้นเมื่อวานก็คือแรงสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของประชาที่มีต่อท่าทีเหล่านี้โดยตรงและคงจะยกระดับขึ้นอีกa

“ผมในฐานะผู้แทนราษฎรและประธานกมธ. ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงอยากให้ผู้ที่มีอำนาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมคิดให้ดี ๆ เพราะเรามีบทเรียนที่เป็นความสูญเสียเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งและเราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ประวัติศาสตร์หน้านี้ซ้ำรอยได้ด้วยการรับฟังและเปิดพื้นที่สำหรับความคิดความเห็นที่แตกต่าง”

อย่างไรก็ตาม ณัฐชา กล่าวว่า จากการติดตามอย่างใกล้ชิด ทำให้เห็นแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้นของสถานการณ์โดยเฉพาะฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่ได้มาด้วยความอดทนอดกลั้นหรือเพื่อระงับยับยั้งเหตุตามลำดับขั้นตอนที่มีแนวปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการขณะนี้ จะมาด้วยการบ่มเพาะความโกรธและเกลียดชังเหมือนกำลังมองผู้ชุมนุมเป็นอริราชศัตรู ซึ่งการหล่อเลี้ยงอารมณ์ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการอย่างไร้วุฒิภาวะเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่อันตราย

“ด้วยความเป็นห่วงต่อสถานการณ์และตระหนักได้ถึงความไม่ปกติที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด ชุดแรก คือคณะทำงานติดตามสถานการณ์การชุมนุม ที่มี อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล เป็นประธาน เมื่อวานก็อยู่ในพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ด้วย พบว่า มีการใช้มาตรการรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทันทีตั้งแต่เริ่มต้น ไม่มีการรับฟังหรือทำความเข้าใจเพื่อพยายามไม่ให้มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากการยิงด้วยกระสุนที่ยังไม่ทราบชนิดว่าเป็นกระสุนยางหรือกระสุนจริง 

‘สุวินัย’ มั่นใจ ไร้เงื่อนไขจุดไฟสงครามปชช. จับตาปฏิบัติการเช็กบิล ‘ขบวนการล้มล้างฯ’

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อมีสถานภาพเป็น "ขบวนการล้มล้างการปกครองฯ" ไปแล้ว ต่อไปผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏทั้งสิ้น

นี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอันเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

อีกฝ่ายพยายามสร้างวาทกรรมสงครามประชาชนขึ้นมาต่อสู้ ต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ

‘ก้าวไกล’ เปิดคำร้องสู้ข้อกล่าวหา ‘ล้มล้างการปกครอง’  พร้อมเคลียร์ต่อศาล รธน. ภายใน 27 ส.ค. ปมแก้ 112

จากกรณี ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

(26 ก.ค. 66) เฟซบุ๊กเพจ ‘พรรคก้าวไกล’ ได้โพสต์ข้อความชี้แจงกรณีดังกล่าว ระบุว่า เปิดคำร้องแบบเต็ม พรรคก้าวไกลถูกกล่าวหา ‘ล้มล้างการปกครอง’ เพราะเสนอแก้ 112

‘แก้ไขไม่ใช่ล้มล้าง’ ประโยคนี้กำลังถูกท้าทายจากบรรทัดฐานทางกฎหมายแบบไทย ๆ อีกครั้ง เมื่อพรรคก้าวไกลถูกยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในข้อหาล้มล้างการปกครอง โดยคำร้องมีความยาวเกือบ 20 หน้า บรรยายมาอย่างละเอียดโดยอ้างถึงพฤติกรรมที่ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ การที่หัวหน้าพรรค และ สส. ของพรรคก้าวไกล มีจุดยืนและการแสดงออกต่อสาธารณะในการเสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

คำร้องนี้ยกความคิดเห็นและการตีความพฤติกรรมของพรรคก้าวไกล จากบุคคลหลากหลายที่เราคุ้นหน้าคุ้นตา คุ้นจุดยืนกันดี เช่น แก้วสรร อติโพธิ, สนธิ ลิ้มทองกุล, สมเกียรติ อ่อนวิมล รวมถึงมีการยกคำให้สัมภาษณ์ที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้กับสำนักข่าวบีบีซี โดยมีการตัดทอนบทสัมภาษณ์ คัดเอาเฉพาะบางประโยคบางท่อนมาต่อกันเพื่อให้ดูสมกับข้อหาล้มล้างการปกครองมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

คดีนี้เดิมพรรคก้าวไกลจะต้องยื่นคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ แต่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการยื่นคำชี้แจงอีก 30 วันเป็นวันที่ 27 สิงหาคม 2566

พรรคก้าวไกลยืนยันว่า เราสามารถชี้แจงทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหาได้อย่างมั่นใจ โดยยึดหลักการว่าการแก้ไขมาตรา 112 เป็นสิ่งที่กระทำมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และจะต้องทำได้ต่อไป

เราเชื่อว่าการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ไม่ใช่การล้มล้างการปกครอง ในทางตรงกันข้าม จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต

'เต้-มงคลกิตติ์' แจ้งจับ 'พิธา-พวก' เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง อาจต้องโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหลายราย

(4 มี.ค.67) ที่ศูนย์รับแจ้งความ บชก. นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยศรีวิไลย์ นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีพรรคก้าวไกล ล้มล้างการปกครอง เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ฉบับเต็มรวม 32 หน้า มามอบให้กับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ประกอบการพิจารณาดำเนินคดีอาญา กับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และผู้บริหารพรรคก้าวไกล รวมความ 10 ราย

นายมงคลกิตติ์ ระบุว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าก้าวไกลเข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง ตนได้ส่งหนังสือร้องเรียนไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ดำเนินคดีกับนายพิธาและพวกตามกฎหมาย ซึ่งหลังยื่นคำร้องดังกล่าว ทาง ผบ. ตร.ได้ดำเนินการมีคำสั่งมายังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งวันนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม เจ้าของสำนวนคดีนี้ ได้นัดให้ตนนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม มามอบให้กับพนักงานสอบสวน ในฐานะผู้ร้อง

"มองว่าคดีนี้ต้องทำให้เป็นเยี่ยงอย่างเพื่อไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคตเพราะการใช้นโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกล ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และพยายามให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบการปกครองประเทศ ที่สำคัญมีการบั่นทอนความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยธรรมวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีความชัดเจนว่าการกระทำของนายพิธาและพรรคก้าวไกลเป็นความผิดร้ายแรง แต่เป็นความผิดเฉพาะบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค ดังนั้นพนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย เชื่อว่าหากพนักงานสอบสวนดำเนินคดีจะมีผู้ถูกออกหมายจับ อาจต้องโทษถึงประหารชีวิตถึง 10 ราย และจำคุกตลอดชีวิตอีกหลายคน" นายมงคลกิตติ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเบื้องต้นพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเจ้าของสำนวนคดี ได้รับคำวินิจฉัยดังกล่าวไว้ประกอบการพิจารณา ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top