Monday, 13 May 2024
ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ 'ห้ามชุมนุม-มั่วสุม' หลังเปิดประเทศ

(29 ต.ค. 64) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ฉบับที่ ๑๓) 

ตามที่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) ที่ ๑๘/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตาม ความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการฟื้นฟูประเทศเพื่อประโยชน์ด้านการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ และด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน เห็นควรให้มีการเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศได้มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในภาพรวมของประเทศ

แม้ว่าที่ผ่านมาภาพรวมของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายสาธารณสุขสามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรคได้ รวมทั้งรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมโดยประสานความร่วมมือกับประเทศต้นทาง และบูรณาการการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนในการกำหนดมาตรการ รองรับเพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบควบคู่กับการกำหนดมาตรการทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ให้ประชาชนมีความปลอดภัย

รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชนในการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศอันจะส่งผลให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และสังคมสามารถดำเนินการควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘คลัง’ สั่งเพิกถอนใบอนุญาต บจ.บิทคอยน์ หลังชำระทุนจดทะเบียนไม่ถึง 50 ลบ.

เว็บไซต์ราชกิจจาฯ เผยแพร่ คำสั่งกระทรวงการคลัง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขาย คริปโทเคอร์เรนซี และใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ของบริษัท บิทคอยน์ จำกัด

วันที่ 1 ธ.ค. 64 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1904/2564 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคอยน์ จํากัด เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา

ความว่า ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท บิทคอยน์ จํากัด (“บริษัท”) ในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตตามข้อ 2 (3) ประกอบกับ ข้อ 3 (2) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (“ประกาศกระทรวงการคลัง”)

โดยเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัทได้ลดทุนจนทําให้ทุนจดทะเบียน ซึ่งชําระแล้วของบริษัทเหลือเพียง 12.5 ล้านบาท และ 3.125 ล้านบาท ตามลําดับ ซึ่งข้อ 2 (1) ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2561 เรื่อง การกําหนด ทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประกอบกับข้อ 3 (1) ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่กําหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวน 50 ล้านบาท

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศเพิ่มเติม ‘คนแพ้วัคซีนทางเลือก’ เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินโควิด

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มคนแพ้วัคซีนทางเลือกเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (ฉบับที่ 3) เนื่องจากรัฐได้กำหนดมาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 โดยการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากสถานพยาบาลที่ภาครัฐกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

รวมถึงกำหนดให้สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสามารถให้บริการฉีดวัคซีนทางเลือก โดยผู้รับบริการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งหากบุคคลผู้รับการฉีดวัคซีนเกิดอาการแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 บุคคลนั้นย่อมมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

จึงเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (ฉบับที่ 2)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถานพยาบาล จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3)”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ในหลวง ร.10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘พล.อ.บัณฑิตย์’ เป็นองคมนตรีใหม่

(22 ต.ค.65) เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี มีรายละเอียดดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า...

ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรีตามประกาศ ลงวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2565 แล้วนั้น

บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งต้ังองคมนตรีเพิ่มขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ เป็น องคมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2565 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน

สำหรับ พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๑ 

***ประวัติ***
- โรงเรียนกลาโหมอุทิศ พ.ศ.๒๔๙๗ 
- โรงเรียนนายร้อยทหารบก (นตท.๑๕พ.ศ.๒๔๙๙ 
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.๒๕๐๔
- หลักสูตรทหารร่มและการรบพิเศษ รร.ร.ศร. รุ่นที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๐๘ 
- หลักสูตรการรบพิเศษ ฟอร์ดแบรก์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ.๒๕๐๙ 
- หลักสูตรแทรกซึมเบื้องสูง ฟอร์ดแบรก์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ.๒๕๐๙ 
- หลักสูตรชั้นนายพัน รร.ร.ศร. รุ่นที่ ๑๘ พ.ศ.๒๕๑๑ 
- หลักสูตรหลักประจำ รร.สธ.ทบ. ชุดที่ ๔๘ พ.ศ.๒๕๑๒

โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ 'พลตรีหญิง' สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี

10 มี.ค.2566 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร ความว่า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่งกระทรวงกลาโหม  เลื่อนปลดประจำการ ‘ทหารเกณฑ์’ คราวละ 1 ปี

(30 มี.ค.66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 275/2566 เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาปลดทหารกองประจําการที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ด้วยกระทรวงกลาโหมมีเหตุจำเป็นเลื่อนกำหนดปลดทหารกองประจำการ เพื่อพัฒนาการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจําการไปสู่ระบบทหารกองประจําการอาสาสมัคร โดยให้ทหารกองประจําการที่รับราชการครบกําหนดเวลาปลด รับราชการในกองประจําการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2479 และความในมาตรา 24 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 จึงกำหนดการปฏิบัติในการเลื่อนกำหนดเวลาปลดประจำการ ดังนี้

- ยกเลิกคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 1388/2555 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์

- ให้เลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ คราวละ 1 ปี เว้นแต่มีกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถส่งทหารกองประจำการเข้ารับราชการได้ตามวงรอบปกติ ให้เลื่อนกำหนดเวลาปลดเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ให้ตรงตามวงรอบการปลดได้ แต่ต้องมีเวลารับราชการในกองประจำการในการเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

- ให้ทหารกองประจำการที่รับราชการด้วยความขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดี และมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.ที่จะเลื่อนปลดนั้น สมัครขอรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ได้

‘ราชกิจจาฯ’ ประกาศให้ ‘ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ ทายาทขอรับได้ภายใน 6 เดือนหลังจากเสียชีวิต มีผลบังคับใช้ทันที

ราชกิจจาฯ ประกาศให้ ‘ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ ทายาทได้ 3,000 บาท จาก พม.ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากสาเหตุอะไรได้ทุกคนที่เป็นคนไทย ขอรับภายใน 6 เดือนหลังจากเสียชีวิต

(28 ก.ค. 66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจะได้รับ ‘ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ ต้องเข้าหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.) อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2.) สัญชาติไทย
3.) ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

แต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน ให้ผู้อํานวยการเขต หรือนายอําเภอ หรือกํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือนายกเมืองพัทยา หรือประธานชุมชน เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง ตามแบบที่อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกําหนด

'ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ ในประกาศนี้รวมถึงผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด ๆ ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดําเนินการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจัดการศพตามประเพณีโดยมูลนิธิ สมาคมวัด มัสยิด โบสถ์

การยื่นคําขอเพื่อขอ ‘ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ ให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณีรายนั้นยื่นคําขอในท้องที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือภูมิลําเนาในขณะถึงแก่ความตาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอที่สํานักงานเขต

ส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นคําขอที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือที่ว่าการอําเภอ หรือสํานักงานเทศบาล หรือที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล หรือศาลาว่าการเมืองพัทยา แบบคําขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกําหนด

ผู้ยื่นคําขอ ‘ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ ต้องยื่นคําขอภายในกําหนด 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตรพร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้

1.) ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ
2.) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้สูงอายุ หรือหนังสือรับรองตามข้อ 5 (3)
3.) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและเลขประจําตัวประชาชนของผู้ยื่นคําขอ กรณีการจัดการศพตามประเพณีโดยมูลนิธิ สมาคม วัด มัสยิด โบสถ์ ให้แนบหนังสือแสดงการจดทะเบียน หรืออนุญาตให้สร้าง จัดตั้ง หรือดําเนินงานมูลนิธิ สมาคมวัด มัสยิด โบสถ์ด้วย
4.) สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ยื่นคําขอ เว้นแต่ประสงค์จะขอรับเงินสดให้ดําเนินการตามระเบียบของทางราชการ
5.) หนังสือรับรองเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณี ซึ่งออกโดยบุคคล ตามข้อ 5 (3) หรือหัวหน้าหน่วยงานตามข้อ 5 วรรคสอง สําหรับกรณีผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคําขอและผู้รับรองต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน แบบหนังสือรับรองให้เป็นไปตามที่อธิบดี กรมกิจการผู้สูงอายุกําหนด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเดือน ต.ค. 2564 - พ.ค. 2565 มีผู้ขอรับ ‘ค่าทำศพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป’ จำนวน 93,127 ราย เป็นเงิน 279.38 ล้านบาท

‘มหาดไทย’ ออกระเบียบใหม่ วิธีจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปี 66 ชี้!! ผู้ที่ไม่มีสิทธิ แต่ได้รับเบี้ยไปก่อนหน้า ไม่ต้องเรียกเงินคืน

(13 ส.ค. 66) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับใหม่ หลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566 ระบุหากผู้สูงอายุที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพด้วยความสุจริต ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระงับสิทธิ แต่ยกเว้นไม่ต้องเรียกเงินคืน

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดยพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ระเบียบดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 69 และมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 5 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 6 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566”

บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ประกาศ หรือมติอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป)

สาระสำคัญของระเบียบฉบับนี้
ข้อ 4 ในระเบียบนี้ ‘ผู้สูงอายุ’ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ‘เบี้ยยังชีพ’ หมายความว่า เงินที่รัฐมอบให้แก่ผู้สูงอายุตามกฎหมายเพื่อใช้ในการยังชีพ

‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’ หมายความว่า ‘เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา’ ‘ผู้บริหารท้องถิ่น’ หมายความว่า ‘นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตาบล และนายกเมืองพัทยา’

หมวด 1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ

ข้อ 6 ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
(4) เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

ขณะที่ในหมวด 5 ข้อ 14 ระบุ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบนี้สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) ตาย
(2) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6
(3) แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

กรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนสั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสำหรับบุคคลดังกล่าว

ทั้งนี้ หากผู้สูงอายุที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยความสุจริต ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนรายงานผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุต่อไป โดยยกเว้นการเรียกเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน

นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาล ข้อ 17 ระบุว่า บรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป

การดำเนินการใดที่ดำเนินอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระเบียบฉบับนี้ ให้ถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยระเบียบนี้แล้ว

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'วิษณุ-อาคม' เป็นกรรมการกฤษฎีกา

เมื่อวานนี้ (7 พ.ย.66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา โดยมีรายละเอียดว่า

ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 136 ราย ตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 2565 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 ก.ย. 2565 นั้น เนื่องจากนายนพนิธิ สุริยะ กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 14 ถึงแก่อนิจกรรม และนายอุดม รัฐอมฤต กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 6 ขอลาออกจากตำแหน่ง ประกอบกับตำแหน่งประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 ได้ว่างลง

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรเป็นกรรมการกฤษฎีกาเสนอต่อคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะ พิจารณาและมีมติเห็นชอบผู้ที่สมควรเป็นกรรมการกฤษฎีกาตามมาตรา 13/1 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 จำนวน 2 ราย ดังนี้

1.นายวิษณุ เครืองาม
2.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไปแล้ว

บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งบุคคลทั้ง 2 ราย ดังกล่าว ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค.2566

ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

ราชกิจจาฯ ประกาศห้ามจอดรถ บริเวณช่องเว้าเกาะกลาง ใต้สถานี BTS  เพื่อแก้ไขปัญหา รถติด-อุบัติเหตุ จัดระเบียบการจราจร

(10 มี.ค.67) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567

โดยระบุว่า ด้วยได้มีการจัดทําช่องเว้าเข้าไปในเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถ บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อใช้เป็นที่จอดรถเฉพาะรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ปรากฏว่ามีประชาชนนํารถเข้าไปจอดในบริเวณดังกล่าว ทําให้รถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถจอดรถได้ ประกอบกับมีการจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรในทางเดินรถ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร เพื่อจัดระเบียบการจราจรในบริเวณดังกล่าว

ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139 (2) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอ่านาจตามบทบัญผัติแห่งกฎหมายที่ตราชึ้นเพื่อความั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 62/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ห้ามหยุดหรือจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ดังต่อไปนี้

1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว
2.สถานีพหลโยธิน
3.สถานีรัชโยธิน
4.สถานีเสนานิคม

5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6.สถานีกรมป่าไม้
7.สถานีบางบัว
8.สถานีกรมทหารราบที่ 11
9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

10.สถานีพหลโยธิน 59
11.สถานีสายหยุด
12.สถานีสะพานใหม่
13.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

14.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
15.สถานีแยก คปอ.
16.สถานีบางจาก
17.สถานีปุณณวิถี

18.สถานีอุดมสุข
19.สถานีบางนา
20.สถานีแบริ่ง
21.สถานีกรุงธนบุรี

22.สถานีวงเวียนใหญ่
23.สถานีโพธิ์นิมิต
24.สถานีตลาดพลู
25.สถานีวุฒากาศ
26.สถานีโรงจอดและซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าบางหว้า

ข้อ 4 นับตั้งแต่วัน เวลา ที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้ยกเลิก ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ คำสั่งใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้

ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top