Sunday, 19 May 2024
ภาวะโลกร้อน

‘สุชัชวีร์’ กระตุ้นทุกฝ่ายตระหนัก ‘โลกร้อน’ ชี้!! หากทำทองไม่รู้ร้อน กทม. จมน้ำแน่

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (เอ้) อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  โพสต์เฟซบุ๊กถึงภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ โดยมีเนื้อหาว่า
กทม. จมน้ำแน่ๆ หากเรายังช้า (มากๆ)!!!

เดือนพฤศจิกายน ฝนยังตกในกทม. น้ำยังท่วงขังหลายจังหวัด ท่านคิดว่าปกติ?

พูดกันตรงๆ วิกฤตมาเยือนแล้วครับ แต่เราทุกคนอาจทำนิ่งเฉย ปล่อยผ่านเลยไป?

การประชุมผู้นำโลก COP26 (Climate Change Conference 2021) ที่สกอตแลนด์ ที่ผู้นำทุกชาติออกมาประกาศจุดยืน รวมทั้งประเทศไทย ร่วมต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก ตอกย้ำว่าเรื่องนี้มันซีเรียส!!!

เพราะการศึกษาและวิจัยระดับโลก พูดชัด  ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 3 เท่า จากที่เคยพยากรณ์ไว้ในอดีต เพราะความสามารถในการเก็บข้อมูล และการคำนวณด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ปัจจุบันพยากรณ์ได้แม่นยำขึ้นเยอะ

‘จีน’ เผชิญสภาพอากาศผันผวน ร้อนทะลุ 52 องศาฯ หลังผ่านอากาศหนาว -50 องศาฯ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

(19 ก.ค. 66) เมืองซานเป่าในเขตปกครองตนเองชนชาติซินเจียงอุยกูร์ผจญอากาศร้อนถึง 52.2 องศาเซลเซียส ทั้งที่เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว เพิ่งต่อสู้กับอุณหภูมิเย็นติดลบ 50 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่เดือนเมษายน หลายประเทศในเอเชียประสบปัญหาอากาศร้อนทำลายสถิติ ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศเปิดเผยว่า เป้าหมายของการรักษาภาวะโลกร้อนในระยะยาวให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อม

อุณหภูมิที่สูงเป็นเวลานานในจีนได้สร้างความเสียหายการเพาะปลูก และก่อให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดภัยแล้วซ้ำรอยกับปีที่แล้ว ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี

ที่ผ่านมา จีนเผชิญกับอุณหภูมิที่แปรปรวนอย่างมากในแต่ละฤดูกาล อย่างไรก็ดี ความแปรปรวนนั้นเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเดือนมกราคม อุณหภูมิในเมืองโม่เหอในมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือ ลดต่ำถึง -53 องศาเซลเซียส ทุบสถิติอากาศหนาวที่สุดของจีน

หลังจากนั้น ฝนตกหนักที่สุดในรอบทศวรรษได้พัดถล่มภาคกลางของจีน ทำลายล้างทุ่งข้าวสาลีในพื้นที่ที่เรียกว่ายุ้งฉางของประเทศ

สหรัฐฯ และจีนกำลังผลักดันความพยายามที่จะต่อสู้กับภาวะโลกร้อนอีกครั้ง โดยนายจอห์น เคอร์รี ทูตพิเศษด้านสภาพอากาศของสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่งจะเข้าหารือกับผู้แทนฝ่ายจีนในสัปดาห์นี้

‘ลุงป้อม’ ร่วมประชุม 2 คณะ ลุยเดินหน้าแก้ภาวะโลกร้อนทุกมิติ พร้อมผลักดัน ‘เมืองศรีเทพ’ สู่มรดกโลก เพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยว-ศก.

(10 ส.ค. 66) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม 2 คณะ ต่อเนื่องกัน ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) และคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเข้าร่วมประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การประชุม กนภ. ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า การจัดทำแผนปฎิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศ ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วม (NDC) ซึ่งจะมีการใช้เทคโนโลยีการดักจับ และการกักเก็บคาร์บอน โดยเร่งผลักดันโครงการนำร่องที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ (Arthit CCS) ที่มีศักยภาพกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.7-1ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และได้มีการพิจารณาเห็นชอบร่างความตกลงการจัดตั้งศูนย์อาเซียน ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาเซียน (ACCC) ซึ่งจะมีการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน ครั้งที่ 17 ห้วง 22-24 ส.ค.66 ณ สปป.ลาว และเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Club เพื่อเป็นเวทีระหว่างรัฐบาลสำหรับแลกเปลี่ยนนโยบายแนวปฏิบัติการดำเนินงานและองค์ความรู้ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยเริ่มจากภาคอุตสาหกรรม และจะมีการเปิดตัวในการประชุม COP 28 ที่เมืองดูไบต่อไป ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้คณะกรรมการฯ มีการติดตาม และรายงานการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้ประชุมต่อเนื่อง คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก โดยรับทราบความคืบหน้าการนำเสนอ ‘อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท’ จ.อุดรธานี เป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งจะได้มีการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ในปี 2567 ต่อไป จากนั้นได้มีการพิจารณาเห็นชอบ กำหนดท่าทีของไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่จะมีขึ้น ห้วง 10-25 ก.ย.66 ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งจะมีการพิจารณา ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ จ.เพชรบูรณ์ ให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย (แหล่งที่4) และไทยจะมีแหล่งมรดกโลกเพิ่มขึ้นเป็นแหล่งที่ 7 ด้วย

พล.อ.ประวิตร ได้ขอบคุณ คณะกรรมการฯ, คณะทำงานฯ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันผลักดัน ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ ถือเป็นผลงานที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อประเทศชาติและคนไทย เพราะจะสร้างความภาคภูมิใจ ความรักและความหวงแหนต่อแหล่งดังกล่าว ให้กับท้องถิ่น รวมทั้งเป็นที่รู้จักและสนใจในฐานะแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ ที่จะได้รับการยกย่องและ สร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชนและประเทศชาติได้ต่อไป

‘ญี่ปุ่น’ ทุบสถิติ!! เผชิญอากาศร้อนที่สุดในรอบ 125 ปี คาด เป็นผลพ่วงจากสภาพอากาศที่แปรปรวนฉับพลัน

(3 ต.ค. 66) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ญี่ปุ่นเผชิญอากาศร้อนที่สุดของเดือน ก.ย. นับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติเมื่อ 125 ปีที่แล้ว ทั้งยังเกิดขึ้นในปีที่คาดว่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เนื่องจากเกิดการเร่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเผยว่า อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือน ก.ย.ของปีนี้สูงกว่าปกติ 2.66 องศาเซลเซียส นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี ค.ศ. 1898 หรือปี พ.ศ. 2441 ซึ่งวัดอุณหภูมิจากสถานที่ 385 แห่งจาก 914 แห่งทั่วประเทศมีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า

และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1.6 องศาเซลเซียส นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี ค.ศ. 1982 หรือ ปี พ.ศ. 2525

“เรารู้สึกเหลือเชื่อที่อุณหภูมิสูงถึงขนาดนี้” เจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นกล่าวและว่า กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทำลายสถิติ หลังจากหลายปัจจัยทับซ้อนกันนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

นอกจากนี้ หลายประเทศต่างเผชิญอากาศร้อนที่สุดของเดือน ก.ย. รวมถึงออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์

ในฝรั่งเศส อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือน ก.ย. 2566 อยู่ที่ราว 21.5 องศาเซลเซียส สูงกว่า 3.5-3.6 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับช่วงที่ใช้ในการอ้างอิงปีค.ศ.1991-2020 และในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน เจออากาศร้อนที่สุดของเดือนก.ย.นับตั้งแต่บันทึกสถิติในปีค.ศ.1884

ด้าน Copernicus Climate Change Service หรือ ‘C3S’ ซึ่งเป็นหน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป หรือ ‘อียู’ รายงานว่า อุณหภูมิโลกเฉลี่ยในเดือน มิ.ย., ก.ค.และ ส.ค. คือ 16.77 องศาเซลเซียส ซึ่งเกินสถิติในปี ค.ศ. 2019

ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติหรือ ‘ยูเอ็น’ กล่าวกับผู้นำโลกในห้วงการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศได้เปิดประตูสู่นรก

และในการกล่าวเปิดการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ นายกูแตร์เรส กล่าวปลุกใจถึงความร้อนที่น่ากลัวในปีนี้ แต่เน้นย้ำว่า “เรายังคงสามารถจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส” เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติทางสภาพอากาศในระยะยาว

‘ดร.เสรี’ ชี้!! ปีนี้มีสิทธิร้อนเพิ่ม ผลพวงที่ส่งต่อมาจากปี 2023

(11 ม.ค. 67) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #โลกร้อนสุด 2023 อะไรจะเกิดขึ้นตามมาในปี 2024 นอกเหนือการควบคุม

ปี 2023 เป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุด แต่อุณหภูมิเฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้นกว่า 1.48oC เมื่อ 100 ปีที่แล้ว และสูงกว่าปี 2016 ที่เคยเป็นสถิติสูงสุด ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งมาจากปรากฏการณ์ El Nino ที่กำลังเกิดขึ้น และคาดการณ์ว่าจะแตะระดับสูงสุด ในเดือนมกราคมปีนี้ ดังนั้นการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงสภาพอากาศสุดขั้วต่างๆจึงเกิดตามมาโดยไม่สามารถควบคุมได้ ดังตัวอย่างการเกิดคลื่นความร้อน และไฟป่าในแคนาดา US และยุโรป น้ำท่วมใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งน้ำท่วมรุนแรงในภาคใต้ประเทศไทย

จากข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในปี 2023 ยังบ่งชี้ว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (173 วันที่อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 oC) ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการใช้พลังงานฟอสซิล ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงยังคงไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจากสภาพอากาศสุดขั้วใด จะเกิดขึ้นบ้าง และจะเกิดขึ้นเมื่อไรในอนาคต แม้แต่การคาดการณ์ปริมาณฝนยังมีความคลาดเคลื่อนสูง และไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าในระยะยาวเป็นรายเดือน รายฤดูกาล เป็นต้น เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลก็ยังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เหมือนกัน

ดังนั้นด้วยโมเมนตัม และการถ่ายทอดพลังงานความร้อนต่อเนื่องจากปี 2023 ทำให้ปี 2024 จึงเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงที่จะร้อนกว่าปี 2023 การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิดังกล่าวบ่งชี้การเกิดขีดจำกัด 1.5oC ตามข้อตกลงปารีสซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในรอบ 20-30 ปี และอาจจะแตะ 3oC จากการประเมินรายงาน NDC (National Determined Contribution) ของแต่ละประเทศที่ส่งมาในปัจจุบัน ดังนั้นเหตุการณ์ความรุนแรงจากสภาพอากาศสุดขั้วจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องเฝ้าระวังกันต่อไป 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top