Wednesday, 1 May 2024
ภัยพิบัติ

โหลดไว้ปลอดภัย!! Thaiwater สุดยอดสแกนภัย 'น้ำ-อากาศ' ข้อมูลรอบด้าน ช่วยคนไทยรับมือภัยพิบัติก่อนมาถึงตัว

จากสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือโดยอาศัยแนวคิดการลดความเสี่ยงตามหลักสากล คือ รู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักในการลดความเสี่ยง ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย โดยระยะก่อนเกิดภัยการพยากรณ์และแจ้งเตือนภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ THE STATES TIMES ขอแนะนำเว็บไซต์ คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ thaiwater.net ที่ให้ข้อมูลต่าง ๆ ก่อนเกิดภัย ของ สสน. หรือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงานด้านน้ำ เพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังประชาชน จุดเด่นของ Thaiwater ให้ข้อมูลสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำได้อย่างละเอียด เช่น ระบบติดตามและแนวโน้มสถานการน้ำท่วม กล้อง CCTV ระบบเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน สถานการณ์น้ำ กทม. หรือสามารถอธิบายผังน้ำ เพื่อวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยได้ วิธีการดูข้อมูลก็ง่าย ๆ เพียงคลิกเข้ามาในหัวข้อ ติดตามสถานการณ์น้ำ และเลือกผังน้ำ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ย่อ) ดังแสดงในภาพที่ 1

 

ภาพที่ 1 ผังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (ทำกราฟฟิกจุด (A) สถานีบางไทร, (B) จุดวัดบริเวณสะพานนวลฉวี, (C) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)

ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สสน. ได้อธิบายภาพผังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเปรียบเสมือนเป็นลู่ถนนของน้ำ ซึ่งไหลมาจากต้นน้ำ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเราสามารถทราบอัตราการไหลของน้ำผ่านจุดสถานีวัดต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีหน่วยเป็น cms หรือ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เช่น...

(A) สถานีบางไทร 3,409/3,500 cms หมายถึง ปัจจุบันที่สถานีบางไทรมีอัตราการไหลของน้ำผ่านอยู่ที่ 3,409 cms ซึ่งสถานีบางไทรสามารถรองรับอัตราการไหลของน้ำได้สูงสุดที่ 3,500 cms และนอกจากนี้ยังสามารถทราบความสูงของระดับน้ำที่เทียบกับค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (msl) 

(B) จุดวัดบริเวณสะพานนวลฉวี (CPY014) 2.75/2.50 msl อธิบายได้ว่าขณะนี้ระดับน้ำบริเวณดังกล่าวอยู่ที่ 2.75 เมตร (สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ msl) ซึ่งสูงกว่าระดับตลิ่งหรือระดับเฝ้าระวังที่ 2.50 msl หมายถึงขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง (2.75 > 2.50) อาจเกิดสถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณนั้นได้ถึง 0.25 เมตร เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงถึงปริมาณน้ำในเขื่อนว่ามีปริมาณมากน้อยอย่างไร

วิทยุทรานซิสเตอร์ ‘อุปกรณ์เอาตัวรอดยามภัยพิบัติ’ ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย เพราะหลายประเทศพัฒนาก็ใช้กัน

‘ทรานซิสเตอร์’ วิทยุพื้นฐาน ที่หลายชาติยังจัดเป็น ‘อุปกรณ์เอาตัวรอดยามภัยพิบัติ’ แม้จะเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม

แม้ ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แนะนำ จนนำมาสู่มุมมองหลายคนว่า ‘ตกยุค’ ไปแล้ว เหตุเพราะสมัยนี้การสื่อสารทุกอย่างใช้อินเทอร์เน็ตกันหมด แถมโทรศัพท์มือถือก็กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของใช้ธรรมดาสามัญไปเรียบร้อย จึงเข้าใจได้ว่าหลายคนอาจนึกไม่ออกว่าวิทยุทรานซิสเตอร์มีประโยชน์กับภัยพิบัติอย่างไร 

แต่อีกด้านหนึ่ง เชื่อหรือไม่ว่า ประเทศที่เจริญแล้วหลายชาติ ก็ยังแนะนำให้ประชาชนเตรียมวิทยุแบบนี้ซึ่งใช้แบตเตอรี่พื้นฐาน (แบบที่เราเรียกว่า “ถ่านไฟฉาย”) สำรองไว้ในแผนเผชิญภัยพิบัติด้วย

>> สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์ ready.gov ซึ่งอยู่ในความดูแลของ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เว็บนี้ให้ความรู้กับชาวอเมริกันเรื่องการรับมือภัยพิบัตินานาประเภท โดยในหมวด “Build A Kit” หรือการเตรียมเครื่องมือเอาชีวิตรอด จะพบว่า “Battery-powered or hand crank radio and a NOAA Weather Radio with tone alert” หรือ วิทยุมือหมุนที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ และวิทยุที่มีระบบรับคลื่นสัญญาณของ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ซึ่งทำหน้าที่พยากรณ์อากาศในสหรัฐฯ (แบบเดียวกับกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย) ซึ่งเจ้า Battery-powered or hand crank radio ก็คือ “วิทยุทรานซิสเตอร์” ที่คนไทยรุ่นก่อนคุ้นเคยกันดี แถมคำแนะนำของทางการสหรัฐฯ ยังจัดให้อยู่ในหมวด “Basic Disaster Supplies Kit” หรือสิ่งของพื้นฐานที่ควรมีอีกต่างหาก

>> ประเทศอังกฤษ เว็บไซต์ redcross.org.uk ของสภากาชาดแห่งสหราชอาณาจักร (British Red Cross) เลือกหมวด “Get Help” จากนั้นไปที่หัวข้อ “how to prepare for emergencies.” และหัวข้อ “How to make an emergency kit” ซึ่งจะพบว่า หนึ่งในอุปกรณ์ที่กาชาดเมืองผู้ดีแนะนำให้ประชาชนเตรียมไว้เผื่อเหตุฉุกเฉินคือ “Battery-operated radio and spare batteries, or a wind-up radio.” ก็คือวิทยุทรานซิสเตอร์ โดยมีทั้งแบบใส่แบตเตอรี่และแบบมือหมุน

>> ประเทศออสเตรเลีย เว็บไซต์ infrastructure.gov.au ของกระทรวงโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การพัฒนาระดับภูมิภาค การสื่อสารและศิลปะ เผยแพร่บทความ ‘How travellers can prepare for emergencies or natural disasters’ แนะนำให้คนที่เดินทางท่องเที่ยวเตรียมอุปกรณ์จำเป็นเผื่อต้องเผชิญกับเหตุฉุกเฉินซึ่งรวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยหนึ่งในนั้นคือ ‘Pack a portable battery powered AM radio and a spare set of batteries. หรือก็คือ ‘วิทยุรับคลื่น AM แบบพกพาพร้อมแบตเตอรี่สำรอง’ ก็หมายถึงวิทยุทรานซิสเตอร์ แถมภาครัฐแดนจิงโจ้ยังเน้นคำว่า ‘AM radio’ อีกต่างหาก (ซึ่งก็เป็นเพราะในระบบวิทยุดั้งเดิม-อนาล็อก มี 2 ระบบ คือ AM กับ FM โดย AM เป็นคลื่นความถี่ที่ส่งไปได้ไกลกว่าเคลื่อน FM แม้คุณภาพเสียงจะด้อยกว่าคลื่น FM ก็ตามนั่นเอง โดยบทความ ‘เครื่องรับวิทยุ AM FM ดิจิทัล’ จาก บริษัท ไลท์ แอนด์ ซาวด์ บิสิเนส จำกัด ผู้รับจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบแสง-สี-เสียง ระบุว่า การใช้งานคลื่นเอฟเอ็มจะใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงและเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร ซึ่งการส่งวิทยุระบบ FM จะให้คุณภาพเสียงดีกว่าระบบ AM กล่าวคือ ย่านความถี่ที่ใช้ในการส่งจะเป็นอิสระกับชั้นบรรยากาศและการสอดแทรกของสัญญาณรบกวน คลื่นในย่านความถี่นี้ไม่สามารถสะท้อนกับชั้นบรรยากาศได้ทำให้ระยะทางในการส่งจะใกล้กว่าระบบ AM เพราะย่านความถี่ AM สามารถจะหักเหในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ทำให้คลื่นเดินทางได้ไกลกว่า)

ของจำเป็นที่ถูกลืม!! วิทยุทรานซิสเตอร์ ไม่ล้าสมัย! | THE STATES TIMES Y WORLD EP.8

ของจำเป็นที่ถูกลืม!!

.

วิทยุทรานซิสเตอร์ ‘อุปกรณ์เอาตัวรอดยามภัยพิบัติ’

.

ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย เพราะหลายประเทศพัฒนาก็ใช้กัน!

.

พักดราม่าไปรู้ประโยชน์ของวิทยุได้ใน THE STATES TIMES Y World

'ชัยวุฒิ' เตรียมปรับ SMS บอกอากาศแม่นยำเฉพาะเขต พร้อมแนะ ปชช. โหลด Line Alert 'เตือนภัย-ขอความช่วยเหลือ'

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เปิดเผยว่า รัฐมีระบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติ เอสเอ็มเอส มือถือ ซึ่งได้มีการทดสอบระบบ ในช่วงที่มีพายุเข้ามา ทางกรมอุตุนิยมวิทยาก็ได้มีการแจ้งเตือนภัยพายุผ่าน SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือ ในเครือข่ายต่าง ๆ โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาระบบให้แยกพื้นที่ให้ได้ เช่น พื้นที่เป็นจังหวัด หรือเป็นตําบล เป็นหมู่บ้านเพื่อจะได้รู้ว่าจุดนี้ มีภัยพิบัติแบบไหน อย่างไร เพื่อให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ เตรียมตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตอนนี้กําลังพัฒนาระบบอยู่ ซึ่งเข้าใจว่าทาง กสทช. กับผู้ให้บริการมือถือกําลัง พูดคุยเเละพยายาม ปรับปรุงระบบ ให้ดียิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ภาครัฐ ยังได้ร่วมกับ Line ในการสร้างระบบไลน์ ซึ่งมีการให้ข้อมูลได้มากกว่า แล้วก็สามารถติดตามสถานการณ์ได้ดีกว่า เรียกว่า LINE Alert เป็น Line official สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนภัยพิบัติทั้งหมดโดยทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ จะส่งข้อมูลมาที่ LINE ก็จะแจ้งมาผ่าน LINE Account นี้ และต่อไปนี้เราก็จะพยายามที่จะพัฒนา แยกข้อมูลพื้นที่ซึ่งจะมีการแจ้งข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยทางบริษัท Line ก็จะไปพัฒนาระบบต่อไป แต่ตอนลงทะเบียนต้องแจ้งว่า เราอยู่ในพื้นที่ไหน จังหวัดไหน ไลน์จะได้แจ้งเตือนเราได้ถูก ต้องตามการให้ข้อมูลเพื่อให้ เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ก็กำลังดำเนินการต่อไปเพื่อให้ระบบมีความทันสมัยในการเเจ้งเตือนเเละรับข้อร้องเรียน เสมือนเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ของประชาชน เมื่อเกิดภัยพิบัติด้วย

22 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ท่อนซุงและโคลนถล่ม ‘กะทูน’ อ.พิปูน โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ

ย้อนไปเมื่อ 34 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ หลังฝนตกหนักพัดพาดินโคลนและท่อนซุง ถล่มหมู่บ้านในตำบลกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คร่าชีวิตหลายร้อยคน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเหตการณ์ดินโคลนและท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำถล่มบ้านเรือนเสียหายไปกว่า 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรอีก 6,150 ไร่ มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน ผู้คนที่รอดชีวิตต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม และไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อีก

ก่อนเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้นราว 3-4 วัน ได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้ดินบนภูเขาซับน้ำไว้จนชุ่มโชก และเมื่อฝนยังเพิ่มปริมาณน้ำอีกไม่หยุด ดินที่รับน้ำหนักไว้มากจนเกินกำลัง ก็ลื่นไถลลงมาตามทางลาด ทำให้ดินที่อยู่ด้านล่างต้องถล่มลงมาด้วย พร้อมต้นไม้ป่าและต้นยางพาราที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกไว้บนเขาถูกถอนรากถอนโคน กลายเป็นอาวุธของกระแสน้ำกวาดบ้านเรือนและชีวิตผู้คนไปกับกระแสน้ำ อีกทั้งยังมีโคลนดินตามมาถล่มทับ

นอกจากนี้ ตำบลกะทูนซึ่งภูมิประเทศเป็นแอ่งรับน้ำมีพื้นที่ 70 ตารางกิโลเมตรนี้ มีลำธารหลายสายรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบมารวมลงในคลองกระทูน แต่มีทางน้ำไหลออกกว้างเพียง 70 เมตรเท่านั้น เมื่อถูกต้นไม้บนเขาและไม้ในสวนที่ชาวบ้านปลูกไหลมาปิดทางน้ำออก ระดับน้ำในแอ่งกะทูนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝังกลบทุกสิ่งทุกอย่างและทุกชีวิตไว้ใต้น้ำ

น.ศ. ‘หลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง’ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อหาแนวทาง จัดการกับภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

วันที่ 4-5 มิถุนายน 2566 นักศึกษา "หลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง (นงส.) รุ่นที่ 10 กลุ่มไข่มุก" ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย เรื่อง "แนวทางการบริหารงบประมาณด้านภัยพิบัติแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน" กรณีศึกษาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และจังหวัดชุมพร

ในการนี้ นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัด (พี่ดวง กลุ่มบุษราคัม) ให้การต้อนรับ และให้ข้อมูลภาพรวมการดำเนินการของจังหวัด

กลุ่มไข่มุก นำโดยนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ได้ร่วมสัมภาษณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจน ผู้บริหาร สมาชิก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ภาคเอกชน สถานศึกษา และประชาชน ในพื่นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม รวมถึงปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการสะท้อนปัญหาและให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาพื้นที่เป็นอย่างดียิ่ง

เขตพื้นที่อำเภอท่าแซะ โดยเฉพาะตำบลนากระตาม เป็นพื้นที่ลุ่ม ได้รับผลกระทบอุทกภัยน้ำท่วมมากที่สุด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองท่าแซะและคลองรับล่อ ซึ่งเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ได้รับความเสียหายและผลกระทบมากหรือน้อย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนมากหรือน้อย 

จากการสัมภาษณ์พบว่า แนวทางการป้องกันเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ประชาชนเสนอขุดลอกคลองเพื่อช่วยระบายน้ำ ลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายของบ้านเรือนประชาชนรวมถึงพืชผลทางการเกษตร การดำเนินการแก้ปัญหาจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงบประมาณของภาครัฐทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

นอกจากผลกระทบจากอุทกภัยแล้ว เมื่อน้ำได้ไหลลงสู่ทะเลแล้ว แม่น้ำ ลำคลอง ก็จะแห้ง เนื่องจากไม่มีเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ หรือฝายชะลอน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค และใช้เพื่อการเกษตรหลังฤดูฝน "เกษตรกรสวนทุเรียน ต้องจ้างรถขนน้ำไปรดต้นทุเรียนในช่วงหน้าแล้ง" เกษตรกรกล่าว 

ปัญหาเรื่องน้ำ ต้องมีการบริหารจัดการร่วมกันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เกษตรกร อาทิ สทนช. กรมชลประทาน จังหวัด อบจ. อบต. พื้นที่ส่วนใหญ่ในท่าแซะเป็นพื้นที่ป่า ต้องมีการบูรณาการในพื้นที่อย่างจริงจัง และสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน
"น้ำมามาก ก็ท่วม น้ำลงทะเลหมด ก็แล้ง" ผู้นำท้องถิ่นกล่าว
 
ดังนั้น หากจะก่อนสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายกั้นน้ำ จะอยู่ในพื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกร แนวทางเบื้องต้นที่ได้จากพื้นที่อาจต้องมีการบริหารงบประมาณแบบกระจายลงสู่เชิงพื้นที่ การปรับแก้กฎหมาย ให้อำนาจจังหวัด หรือท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งผลจะสรุปอย่างไร ทางกลุ่มจะสรุปและนำเสนอต่อสำนักงบประมาณ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงบประมาณด้านภัยพิบัติแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ต่อไป

‘ลิเบีย’ ประกาศภาวะฉุกเฉิน หลัง ‘พายุแดเนียล’ ถล่มหนักต่อเนื่อง รบ.เร่งให้ความช่วยเหลือ หวั่นดับทะลุ 2 พัน-สูญหายพุ่ง 6 พันคน

(12 ก.ย. 66) สำนักข่าวบีบีซี และเอเอฟพีรายงานความคืบหน้าสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศลิเบีย หลังเผชิญหน้ากับ ‘พายุแดเนียล’ พัดถล่มพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา หลังโจมตีหลายประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงตุรกี บัลแกเรีย และกรีซ

อิทธิพลของพายุก่อให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง และน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง มีผู้เสียชีวิตยืนยันแล้วอย่างน้อย 200 ราย

ขณะที่รัฐบาลฝ่ายลิเบียตะวันออกแถลงกังวลว่ายอดผู้เสียชีวิตสูงกว่า 2,000 รายแล้ว พร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเร่งรับมือและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิว และสั่งให้สถานศึกษาปิดการเรียนการสอน

รายงานระบุว่า พื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ครอบคลุมเมืองเบงกาซี เมืองซูสส์ เมืองเดอร์นา และเมืองอัล-มาร์จ ด้านหน่วยงานกาชาดลิเบียระบุว่า นอกจากผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากแล้ว บ้านเรือนหลายร้อยหลังยังพังถล่มเสียหาย เขื่อนอย่างน้อย 2 แห่งในเมืองเดอร์นา ซึ่งมีประชากรราว 100,000 คนพังทลายลงมา เป็นเหตุให้มวลน้ำมหาศาลไหลทะลักเข้าท่วมชุมชนและพื้นที่ส่วนใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ

ด้าน นายกรัฐมนตรีโอซามา ฮาหมัด ผู้นำรัฐบาลฝ่ายลิเบียตะวันออก แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์ว่ามีผู้ประสบภัยสูญหายหลายพันคน และเสียชีวิตมากกว่า 2,000 ราย ย่านใกล้เคียงทั้งหมดในเมืองเดอร์นาถูกกระแสน้ำเชี่ยวกรากพัดหายไปพร้อมกับชาวบ้าน

ขณะที่ รอยเตอร์ รายงานจากโฆษกกองทัพฝ่ายลิเบียตะวันออกระบุว่า ผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นกว่า 2,000 ราย และมีผู้สูญหายระหว่าง 5,000-6,000 รายเฉพาะในเมืองเดอร์นา

ยอดผู้เสียชีวิตน้ำท่วมใหญ่ที่ ‘ลิเบีย’ พุ่งทะลุ 21,000 ราย ทางการเร่งช่วยเหลือ พร้อมค้นหาผู้สูญหายอีกนับหมื่น

(15 ก.ย. 66) สภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ คาดการณ์ว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะสูงถึง 11,300 ราย แต่อาจเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากยังมีผู้สูญหายราว 10,000 คน และอาจส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตเกินกว่า 21,000 ราย มากกว่าที่นายกเทศมนตรีเมืองเดอร์นา พื้นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเหตุเขื่อน 2 แห่งแตกทลาย ระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่าจากการประเมินเขตที่ถูกมวลน้ำมหาศาลพัดถล่มโดยสิ้นเชิงอาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 20,000 ราย

ด้านทางการลิเบียฝั่งตะวันออกเปิดเผยว่ามหาอุทกภัยครั้งนี้ทำให้ประชาชนราว 30,000 คนต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน หลายฝ่ายกล่าวโทษว่า เป็นเพราะระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีสภาพทรุดโทรมและไม่ได้รับการซ่อมแซม ขณะที่นักการเมืองท้องถิ่นเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบียฝั่งตะวันออกเร่งสอบสวนกรณีดังกล่าว

วันเดียวกัน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แถลงว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากน้ำท่วมสามารถหลีกเลี่ยงได้หากระบบเตือนภัยล่วงหน้าและระบบการจัดการเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสมถูกต้อง ศาสตราจารย์เพทเตอรี ทาลาส เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าวว่าหากกองกำลังจัดการเหตุฉุกเฉินสามารถอพยพประชาชนได้ทันท่วงทีตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจต่ำกว่านี้

ขณะที่สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) ระบุว่ากำลังเร่งระดมเงินมากกว่า 71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,550 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เข้าข่ายเป็นหายนะครั้งใหญ่

และว่าเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปเยียวยาผู้ประสบภัยที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วนที่สุดราว 250,000 คน จากผู้ประสบภัยทั้งหมดกว่า 884,000 คน นอกจากนี้ นายมาร์ติน กริฟฟิธส์ หัวหน้าสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรม ยังประกาศกองทุนฉุกเฉินอีก 357 ล้านบาทด้วย

‘จีน’ เกิดเหตุ ‘แผ่นดินไหว’ 6.2 แมกนิจูด ดับแล้ว 111 ราย บ้านเรือนพังยับ น้ำ-ไฟถูกตัดขาด ทีมกู้ภัยเร่งค้นหาผู้รอดชีวิต

(19 ธ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, จีสือซาน/ซีหนิง รายงานว่า สำนักงานใหญ่บรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหว ในมณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน รายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ตามมาตราแมกนิจูด บริเวณอำเภอกลุ่มชาติพันธุ์ในกานซู่ช่วงเที่ยงคืนของวันจันทร์ (18 ธ.ค.) ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในกานซู่และชิงไห่ ที่เป็นมณฑลใกล้เคียง รวม 111 รายแล้ว

ศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน เผยว่าเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นตอน 23.59 น. ของวันจันทร์ (18 ธ.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว 10 กิโลเมตร และศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ตำบลหลิ่วโกว ที่อยู่ห่างจากที่ตั้งของอำเภอปกครองตนเองจีสือซาน กลุ่มชาติพันธุ์เป่าอัน ตงเซียง และซาลา ในแคว้นปกครองตนเองหลินเซี่ย กลุ่มชาติพันธุ์หุยของกานซู่ราว 8 กิโลเมตร

กลุ่มผู้เห็นเหตุการณ์บอกกับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ถนนหนทาง และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ โดยหลายหมู่บ้านประสบกับไฟฟ้าขัดข้องและการจ่ายน้ำหยุดชะงัก

หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่น ระบุว่า อุณหภูมิต่ำรายวันในจีสือซานอยู่ที่ -10 องศาเซลเซียสในวันอังคาร (19 ธ.ค.) ด้านสำนักดับเพลิงและกู้ภัยของกานซู่ได้ส่งทีมกู้ภัย 580 คน เข้าช่วยเหลือพร้อมรถดับเพลิง 88 คัน สุนัขค้นหาและกู้ภัย 12 ตัว รวมถึงชุดอุปกรณ์มากกว่า 10,000 ชุดไปยังพื้นที่เกิดภัยพิบัติ

ขณะที่หน่วยงานการรถไฟระงับการเดินขบวนรถไฟโดยสารและรถไฟสินค้า ผ่านพื้นที่เกิดแผ่นดินไหว และสั่งการให้ตรวจสอบความปลอดภัยของรางรถไฟ

‘หูชางเซิง’ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลกานซู่ และเหรินเจิ้นเฮ่อ ผู้ว่าการมณฑลกานซู่ ได้เร่งเดินทางลงพื้นที่เกิดภัยพิบัติเพื่อบัญชาการงานกู้ภัยและบรรเทาทุกข์แล้ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top