Thursday, 9 May 2024
ผ้าขาวม้า

กาฬสินธุ์ - กลุ่มแม่บ้านผลิตร่มผ้าขาวม้า ‘ผ้าแพรวางานแฮนด์เมด’ สร้างรายได้เดือนละแสน

กศน.ตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน นักเรียน กศน.แปรรูปผ้าขาวม้าเป็น “ร่มผ้าขาวม้า และร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์” ผลิตภัณฑ์ร่มกันฝน กันแดด สุดยอดไอเดียงานแฮนด์เมดขายดี พร้อมพัฒนายกระดับสู่สินค้าพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ยั่งยืน รายได้เข้ากลุ่มเดือนละ 1 แสนบาท ล่าสุดได้รับรางวัล Onie Brand กศน.จากกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ต.แจนแลน อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ นางพานธิวา ผิวอุดม ครูผู้ช่วย กศน.อ.กุฉินารายณ์ นางดรุณี โกมาร  ครู กศน.ต.แจนแลน และบุคลากร เจ้าหน้าที่ จัดอบรมกลุ่มแม่บ้าน และสาธิตในการแปรรูปผ้าขาวม้าและผ้าลายแพรวา เป็น “ร่มผ้าขาวม้า และร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์” สำหรับกันแดด กันฝน โดยมีนางเกสร เพิ่มขึ้น ประธานกลุ่มร่มผ้าขาวม้าแจนแลน และสมาชิกกลุ่มทั้งผู้สูงอายุ วัยทำงาน เยาวชน ร่วมเข้ารับการอบรม โดยทุกคนที่เข้าร่วมอบรม ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

นางพานธิวา ผิวอุดม ครูผู้ช่วย กศน.อ.กุฉินารายณ์ กล่าวว่า ภารกิจของ กศน.ที่นอกจากจะให้ความรู้ทางวิชาการแก่นักเรียน กศน. ที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงในชีวิตแล้ว  สิ่งที่ดำเนินการภารกิจควบคู่กัน คือการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีพที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อย่างเช่น การอบรมกลุ่มแม่บ้านและนักเรียน กศน.แปรรูปผ้าขาวม้าเป็นร่มกันฝนกันแดด โดยใช้ผ้าขาวม้าที่ทอจากผ้าฝ้าย ผ้าไหม และฝ้ายประดิษฐ์ มาตัดเย็บ ให้เข้ารูปกับร่มสำเร็จรูป ที่ซื้อจากท้องตลาดทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่า และเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค เป็นผลิตภัณฑ์ร่ม ภายใต้ชื่อ “ร่มผ้าขาวม้า ร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์” โดยดำเนินการมาประมาณ 1 ปี ได้รับการตอบรับดีมาก

นางพานธิวากล่าวอีกว่า จากผลตอบรับทั้งในส่วนของแม่บ้าน นักเรียน กศน.ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ แก้ไขปัญหาการว่างงาน โดยเฉพาะในช่วงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ร่มผ้าขาวม้าและร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์ เดิมจำหน่ายในชุมชน ต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จึงเปิดช่องทางขายออนไลน์ อย่างไรก็ตาม จากการส่งเสริมของ กศน.กุฉินารายณ์และกศน.ต.แจนแลน ที่สร้างงาน สร้างอาชีพดังกล่าว ล่าสุด ผลิตภัณฑ์ร่มผ้าขาวม้าและผ้าแพรวา งานแฮนด์เมดของแม่บ้าน และนักเรียน กศน. ได้รับรางวัล Onie Brand กศน.จากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการการันตีคุณภาพและเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ที่สร้างอาชีพ รายได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยในอนาคตจะมีการพัฒนายกระดับสู่สินค้าพรีเมี่ยมต่อไป

‘ผ้าขาวม้า’ ผูกรอบเอว ‘ผู้มาเยือน’ วัฒนธรรมต้อนรับแขกแบบคนอีสาน

หนึ่งในภาพคุ้นชิน เมื่อมีแขกผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองมาเยือนพื้นที่อีสาน เช่นการลงพื้นที่เยี่ยมเยือนประชาชนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ล่าสุด เมื่อวันที่ (15 มิ.ย. 65) ที่จังหวัดสกลนคร ได้เห็นชาวบ้านจำนวนมากหลั่งไหลมาผูก ‘ผ้าขาวม้า’ ที่เอวให้นายกฯ อย่างอบอุ่น 

การผูกผ้าขาวม้ารอบเอวนั้น ยิ่งผูกมาก ยิ่งสะท้อนให้คนเห็นถึงความสำคัญของแขกผู้มาเยือน และเป็นการแสดงออกถึงการต้อนรับที่แสนอบอุ่นของประชาชนที่มารอต้อนรับอีกด้วย

สำหรับ ‘ผ้าขาวม้า’ นับเป็นผ้าสารพัดประโยชน์และมีความผูกพันต่อวิถีชีวิตของชาวถิ่นอีสานในทุก ๆ แง่มุมของชีวิตอย่างแท้จริง ชนิดที่เรียกว่าตั้งแต่ตื่นจนถึงเข้านอน ผ้าขาวม้าจะอยู่ข้างกายของเจ้าของเสมอ ทั้งใช้นุ่งห่ม เช็ดทำความสะอาด ไปจนถึงปูนอน

ครม.ไฟเขียว ชู ‘ผ้าขาวม้า’ ขึ้นทะเบียนยูเนสโก ยกให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

(1 มี.ค. 66) ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบการเสนอผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ให้เป็นรายการตัวแทนต่อยูเนสโก ตามที่ กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ซึ่งจะมีการยื่นเสนอต่อยูเนสโกภายในห้วงเดือนมีนาคม 2566

ผ้าขาวม้าที่ไทยจะนำเสนอยูเนสโกนั้น จัดเป็น ‘ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย’ ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ใช้โดยทั่วไป และใช้ได้สารพัดประโยชน์ในสังคมเกษตรกรรม ในชนบททางภาคเหนือและภาคอีสาน และก็ได้แพร่หลายไปยังภาคกลางและภาคใต้ ตามการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คนและกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้เกิดชุมชนทอผ้าขาวม้าเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับพื้นที่และขอบเขตอาณาบริเวณ คือ ทั่วประเทศ

แต่จังหวัดที่มีความโดดเด่นของการผลิต และการใช้ประโยชน์ของผ้าขาวม้า แยกตามภาค คือ

ภาคเหนือ : เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน : นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี
ภาคกลาง : กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สุโขทัย
ภาคใต้ : สงขลา พัทลุง

สำหรับคุณสมบัติของผ้าขาวม้า ที่ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของ UNESCO ได้แก่

1.) เป็นผ้าที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่อดีต ทั้งในการปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล เช่น ใช้เป็นเครื่องแต่งกาย ผ้าปูโต๊ะ ใช้ในพิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้น
2.) เป็นภูมิปัญญาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติเนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและยั่งยืน โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่และใช้หมุนเวียนซึ่งจะเปลี่ยนหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยไปตามสภาพ
3.) เป็นงานช่างฝีมือดั้งเดิมเนื่องจากเป็นผ้าทอพื้นฐานที่ใช้เทคนิคการทอที่ธรรมดาไม่ซับซ้อนจึงสามารถทอใช้กันเองได้ในครัวเรือนและชุมชน

มาตรการสงวนรักษาผ้าขาวม้า ในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ มี 4 แนวทางคือ

1.) โรงเรียนในท้องถิ่นหลายแห่งในไทยได้มีการสอนทอผ้าเป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดของงานหัตถ์ศิลป์ท้องถิ่น

'ไทยเบฟฯ' สานต่อ!! 'ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน' ปีที่ 7  ชูแนวคิด เกาะติดเทรนด์แฟชัน ใส่ได้ทุกเพศและทุกวัย

(4 ต.ค. 66) บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชน ดำเนินโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 จากจุดเริ่มต้นของโครงการในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบท โดยมี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา ผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศ ที่ริเริ่มโครงการโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมี คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการ โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ที่เป็นผู้ริเริ่มและหัวเรือหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้สนับสนุนหลักในโครงการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในการสืบสาน และต่อยอดหัตถกรรมพื้นบ้านให้เกิดความยั่งยืน

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า งาน ‘ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน’ ครั้งนี้นับเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และในปีนี้มีความพิเศษกว่าปีก่อน ๆ โดยกิจกรรมของเราได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นมหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด ‘พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก’

โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย และ ‘ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน’ คือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม เฟ้นหาอัตลักษณ์ของผ้าขาวม้าจากชุมชนต่าง ๆ และเสริมสร้างผ้าขาวม้าทอมือให้มีความโดดเด่นพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าให้มีความหลากหลายและตรงต่อความต้องการของตลาดเพื่อสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่มีคุณค่าจากฝีมือของมนุษย์ อาทิ การนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า และการรวมพลังคนรุ่นใหม่ของ Creative Young Designer ให้มาร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งนอกจากต่อยอดความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ของใช้ ของที่ระลึก ของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมผ้าขาวม้าทอมือ เพิ่มศักยภาพ การผลิตและต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ชุมชนผ้าขาวม้า ด้วยแนวคิดในการออกแมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหบบใหม่ ๆ ผ่านการดูแลและให้คำปรึกษา (Coaching) และทำงานร่วมกับชุมชนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรม

ทั้งนี้ชุมชนจะได้รับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนำไปต่อยอดด้านการตลาด รวมไปถึงสโมรสรฟุตบอลหลายแห่งที่ได้ร่วมสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือมาประกอบเป็นสินค้าที่ระลึกของสโมสร ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยประสบความสำเร็จ ใน 5 มิติหลัก คือ

1) การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ 
2) การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อ ให้ความรู้เชิงธุรกิจ และการออกแบบ
3) การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 
4) การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่ 
5) การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็งมีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน

นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัย ในปี 2562 ไปสู่ 18 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษา โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจร่วมงานกันมาในโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา จะยังคงร่วมกันถักทอแรงบันดาลใจในการพัฒนาผ้าขาวไทยต่อไปในอนาคต ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น แต่จะยังช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และที่สำคัญที่สุดคือ คนในชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทุกแห่งมีความรักสามัคคีและภูมิใจในคุณค่าภูมิปัญญาของตนเอง

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้จัดการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า ‘โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย’ เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ตลอดเวลา 7 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป

การจัดงาน ‘ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน’ ในปี 2566 ภายใต้แนวคิด Nature's Diversity สื่อให้เห็นว่า ผ้าขาวม้าสามารถใสได้ทุกเพศและทุกวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนให้ได้มีพื้นที่จัดแสดงโชว์ผลงาน แลกเปลี่ยนแนวความคิด และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันของชุมชน/การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าขาวม้าจากโครงการ Creative Young designers Season3 ออกสู่สายตาประชาชน/การจัดแสดงนิทรรศการโซน cultural heritage/โซนจัดแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าของ 16 มหาวิทยาลัย 18 ชุมชน/กิจกรรมTalk หัวข้อ ผ้าขาวม้า มรดกภูมิปัญญาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน/โซน Market Place ของ 12 ชุมชน และโซนกิจกรรม online บอกต่อความประทับใจ ถ่ายภาพและแชร์พร้อมบรรยายเชิญชวนเพื่อนมาเที่ยวงาน ‘ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน’ ภายใน Sustainability Expo 2023 (SX 2023)

ในฐานะตัวแทนของคณะทำงานโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ดิฉันขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักของโครงการฯ ทั้ง บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษาในเครือข่าย eisa และ ภาคีทุกภาคส่วน ที่ได้ให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาตลอดระยะเวลา 7 ปี ส่งผลให้โครงการฯ สามารถดำเนินงานมาได้อย่างต่อเนื่อง ดิฉันขอให้คำมั่นว่า โครงการของเราจะยังคงทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการของเราจะยังได้รับการสนับสนุนจากทุกท่านต่อไปในอนาคต เพื่อให้เราสามารถบรรลุถึงเป้าประสงค์หลัก คือ การพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือของไทยเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนผู้ผลิตของเราทั่วประเทศ”

ขอเชิญเลือกช้อปผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าส่งตรงจาก ร้อยเอ็ด ลำปาง อุบลราชธานี สุโขทัย เชียงใหม่ ปทุมธานี นนทบุรี ราชบุรี หนองบัวลำภู บึงกาฬ ในโซน Sustainable Marketplace ชั้น LG โซน B - Sufficient Living ชมการจัดแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ในชั้น G โซน Foyer A ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน - 8 ตุลาคม 2566 ในงาน Sustainability Expo 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook.com/PakaomaThailand 

เชียงใหม่-นายกฯ ใส่เสื้อลายผ้าขาวม้า เดินเซ็นทรัลเชียงใหม่ ชมงาน 'ฮักไทย เสน่ห์วิถีไทยสไตล์ใหม่ฯ' วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า

เมื่อวานนี้ (17 มี.ค.67) คุณเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ปฎิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ (เซ็นเฟส) โดยมี คุณบุษบา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มเซ็นทรัล , คุณอัจฉรา วิสุทธิวงศ์รัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและสื่อองค์กร กลุ่มเซ็นทรัล, คุณพรเทพ อรรถกิจไพศาล ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ (เซ็นเฟส) และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ

โดยได้เยี่ยมชม โครงการ 'ฮักไทย เสน่ห์วิถีไทยสไตล์ใหม่ Thainess Station สินค้าไทย ร่วมใจเพื่อชุมชน' จากกลุ่มเซ็นทรัล และบริษัทในเครือ นำร่องจำหน่ายผ้าขาวม้าจากชุมชน ต่อยอด และยกระดับสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ด้วยการรับซื้อสินค้าไทยจากชุมชน นำมาจัดแสดงและจำหน่าย อาทิ ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า เครื่องจักสานจากกระจูด และผ้าคราม โดยเบื้องต้นได้มีการรับซื้อผ้าขาวม้าจาก 6 ชุมชนทั่วประเทศ ผลักดันและยกระดับสินค้าท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลก 

พบปะชมผลงานน้องนักศึกษา #𝗣𝗿𝗼𝗷𝗲𝗰𝘁𝗶𝗻𝗧𝗵𝗮𝗶𝗔𝗿𝘁𝗖𝗠𝗨𝟮𝟬𝟮𝟰 ศิวิ-𝗟𝗜𝗚𝗛𝗧 งานการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 แขนงการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม สาขาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมยังแวะช้อปโซน Lanna Souvenir อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top