Sunday, 19 May 2024
ปริญญาเอก

เก่งผิดยุค ‘ชู เปรียญ’ ปริญญาเอกคนแรกแห่งสยาม กับตัวตนที่เลือนหาย เพราะแต่งตำรายากผิดยุค

พูดถึงทุนเล่าเรียนหลวง หลายคนคงคิดถึงทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานปีละ 9 ทุน โดยทุนเล่าเรียนหลวงมีข้อกำหนดเดียว คือ ให้ผู้รับทุนกลับมาทำงานในประเทศไทยเท่ากับระยะเวลาที่ไปศึกษา โดยไม่จำเป็นว่าต้องทำงานให้กับภาครัฐ ซึ่งไม่เหมือนกับทุนการศึกษาของไทยอื่น ๆ 

แต่คุณรู้ไหม? ว่าจริง ๆ แล้วทุนพระราชทานในสมัยรัตนโกสินทร์มีมาตั้งแต่รัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยครั้งนั้นได้ส่งคนไปศึกษาวิชาการเดินเรือที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งสามัญชน ชื่อ ‘นายฉุน’ ไปเล่าเรียน 

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทางราชการก็ได้ส่งนักเรียนทุนคือ ‘นายทด บุนนาค’ และ ‘นายเทศ บุนนาค’ ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งไปพร้อมกับคณะทูตไทยเมื่อ พ.ศ. 2400 นอกจากนักเรียนแล้ว ราชการยังส่งข้าราชการไปศึกษาวิชาชีพเฉพาะ เช่น การพิมพ์ และการซ่อมนาฬิกา โดยส่งข้าราชการไปดูงานในต่างประเทศทางด้านการปกครองและบำรุงบ้านเมืองที่ประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2404 ด้วย

ครั้นลุมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทางราชการได้ส่งนักเรียนไทยจำนวน 206 คน ไปศึกษาในประเทศที่เป็นต้นแบบของวิชาการแต่ละด้าน เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, ออสเตรีย, ฮังการี, เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โดยเน้นให้ไปศึกษาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, คณิตศาสตร์ และวิชาตามที่นักเรียนถนัด เช่น วิชาทหารบก, ทหารเรือ, การทูต, กฎหมาย, แพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น (ก็มีความดราม่ากันไปแต่ละค่ายการศึกษา) 

โดยในสมัยนี้ เริ่มมีการแบ่งนักเรียนทุนเป็น 2 ประเภท คือ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนตามความต้องการของกระทรวง นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนด้วยอย่างเป็นกิจจะลักษณะด้วย 

มาถึงตรงนี้ผมก็จะขออนุญาตเริ่มต้นเล่าเรื่องราวของ ดร.คนแรกของคนไทย โดยปริญญาเอกรายนี้คือ ‘นายชู เปรียญ’ ผู้สำเร็จการศึกษา Ph.D. ทางด้านการศึกษาจากประเทศเยอรมนี 

นายชู เปรียญ เริ่มการศึกษาตั้งแต่เป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ สอบได้เป็นเปรียญสามประโยคตั้งแต่เป็นสามเณร จนถึงพ.ศ. 2429 ได้ลาสิกขา แล้วมาเรียนต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจบแล้วก็ได้สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนวิชาการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี (เก่งนะเนี่ย) 

โดยในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศเยอรมัน ตั้งแต่ขั้น B.A. มาถึงการศึกษาชั้น M.A. แล้วศึกษาต่อจนจบ Ph.D. ทางการศึกษา เมื่อนายชู เปรียญ สำเร็จการศึกษาชั้น Ph.D. นั้นว่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตื่นเต้นมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเลี้ยงพระราชทานแก่นายชู เปรียญ พร้อมกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากเยอรมันอีก 2 คน ในโอกาสนั้นโปรดพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเกียรติยศ

การนี้มีบันทึกไว้ใน ‘หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)’ แต่งโดยพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ผู้ตามเสด็จและทำหน้าที่จดบันทึกการเดินทาง เขียนไว้ตอนหนึ่งความว่า…

“...วันที่ 10 มิถุนายน ร.ศ. 116 ขณะ รัชกาลที่ 5 ประทับอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เวลาบ่าย เมื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว พระยาศรีสุริยราชวราวัตรก็ได้...นำนายชู เปรียญ ซึ่งมาส่งเสด็จฯ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทฯ นายชูคนนี้เป็นนักเรียนที่เล่าเรียนในเยอรมันสอบไล่ได้ดีแล้ว และได้ประกาศนียบัตรเป็น ‘ดอกเตอร์ออฟฟิลอซโซฟี่’ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เล่าเรียนถึงได้รับประกาศนียบัตรชั้นนี้ มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควรแล้วเสด็จขึ้น...”

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วในปี พ.ศ. 2440 มีหลักฐานบันทึกว่า ‘นายชู เปรียญ’ ได้กลับมาสยามและเข้ารับราชการ โดยพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรับหน้าที่เป็น ‘พนักงานตรวจแต่งตำราเรียน’ ก่อนที่จะย้ายไปเป็น ‘ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์’ (Curator) ในปี พ.ศ. 2441 ซึ่งในตอนนั้นการพิพิธภัณฑ์กำลังเริ่มต้นขึ้นในสยาม โดยมีการลงข่าวไว้ใน ‘หนังสือพิมพ์สยามไมตรีรายสัปดาห์’ ฉบับวันอังคารที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ความว่า...

“...เราได้ทราบข่าวว่า นายชู เปรียญ ซึ่งเป็นนักเรียน ได้ไปเล่าเรียนศึกษาวิชาสอบไล่ได้เป็นนายศิลปชั้นสกลวิทยาลัย ในกรุงเยอรมนีนั้นกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จะได้มีตำแหน่งรับราชการในกรมศึกษาธิการ รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ 2 ชั่งในชั้นแรกๆ..."

สำหรับบันทึกอื่น ๆ เกี่ยวกับการรับราชการของดอกเตอร์คนแรกของไทย ปรากฏว่า ‘นายชู เปรียญ’ ได้เคยแต่งหนังสือและเคยทำงานในกรมพิพิธภัณฑ์ ในช่วงที่ ‘เจ้าพระยาภาสกรวงศ์’ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีจดหมายพิมพ์ดีดลงวันที่ 14 มกราคม ร.ศ. 117 ทูลฯ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ความว่า ‘เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์’ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด ถูกขังเร่งเงินหลวงอยู่ โดยท่าน (เจ้าพระยาภาสกรฯ) ได้ให้นายชู มาเป็น ‘กุเรเตอร์’ (Curator) ในพิพิธภัณฑ์ 

และได้แนะนำตัวนายชู เพิ่มเติมว่า เดิมทำการในกรมศึกษาธิการ เป็นพนักงานตรวจแต่งตำราเรียน ซึ่งขณะนั้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนมาดูอาทิตย์ละ 2 หน โดยมี ‘ผู้ที่มาดูน้อย นอกจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฉัตรมงคล ซึ่งผู้ที่มาดูนับหมื่นแต่ชอบดูส่วนแนชุรัล ฮีสตอรี (Natural History) ยิ่งกว่าสิ่งอื่น’ (แสดงว่าน่าจะเหมาะกับการที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหนัก ๆ เพราะนายชู น่าจะเป็นนักวิชาการเต็มตัว เน้นทำวิจัยทางวิชาการว่างั้นเถอะ) 

ตำแหน่ง ‘ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์’ (Curator) ในสมัยก่อนอย่าดูถูกว่าเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงมากนะครับ ถ้าเรามาคิดถึงสภาพสังคมในยุคนั้นที่เพิ่งเริ่มจัดการศึกษา ผู้ที่มีหน้าที่ ‘ดูการพิพิธภัณฑ์’ ก่อนหน้านายชู (ไม่นับ ‘เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์’ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ที่ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด) คือ นายราชารัตยานุหาร (พร บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ 

‘ปิ่น เก็จมณี’ คุณแม่สายสตรอง ย้อนวัยเป็นนักศึกษาอีกครั้ง ซุ่มเรียนปริญญาเอก ม.รังสิต ทั้งสวยทั้งเก่งครบเครื่องจริงๆ

(22 ส.ค.66) สำหรับคุณแม่ลูกสามสายสตรองอย่าง ‘ปิ่น เก็จมณี’ หลังจากที่กลับมาใช้ชีวิตโสด ก็ได้เห็นไลฟ์สไตล์หลากหลายผ่านไอจี ig: kejmanee อยู่บ่อย ๆ เช่น การขี่ม้าหรือกลับมาเล่นละครซึ่งเป็นอาชีพที่รัก

ล่าสุดทาง Facebook มหาวิทยาลัยรังสิตลงภาพ สาวปิ่น ที่ย้อนวัยเป็นนักศึกษาอีกครั้ง เพื่อเรียนปริญญาเอก ซึ่งอีกไม่ก็จะได้เป็นว่าที่ด็อกเตอร์แล้ว โดยโพสต์นี้มีแคปชันไว้ว่า “วาร์ปไปดูคลาสเรียน ป.เอก เจอพี่ ปิ่น เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (รุ่นที่ 1) ม.รังสิต”  ต้องบอกว่าเป็นคุณแม่ที่สวยและเก่งมาก ๆ ครบเครื่องสุด ๆ

‘หมอริท เรืองฤทธิ์’ อวดภาพขณะทำวิจัยเรียนต่อปริญญาเอก แต่ชาวเน็ตโฟกัสผิดจุด แห่แซว!! เห็นแล้วอยากไปช่วยรีดเสื้อ

(23 ส.ค.66) สำหรับ ‘หมอริท เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช’ ที่ตอนนี้ได้ผันตัวเองไปเปิดคลินิกด้านความงาม  6 สาขา เข้าสู่หลักล้านไปเเล้ว เเละตอนนี้ ‘หมอริท’ กำลังซุ่มเรียนต่อในระดับปริญญาเอกอีกด้วย

โดยล่าสุด ‘หมอริท’ โพสต์ภาพตัวเองที่อยู่ในห้องแล็บ พร้อมแคปชันระบุว่า “จนได้…เปิดตัวด้วย animal study Officially, I’m now a Ph.D. candidate.” บอกเลยว่าเก่งรอบด้านจริง ๆ

ทั้งนี้ ก็ยังไม่วายโดนชาวเน็ตแซวชุดที่หมอริทได้สวมใส่ รวมถึงคนที่เข้ามาให้กำลังใจอย่างมากมาย อาทิ “เตารีดในมือสั่นมากกกกก”, “อยากไปช่วยรีดเสื้อ”, “ซักแล้วเข้าเครื่องอบผ้า สะบัดนิดหน่อยก็เรียบแล้วครับ (ถ้าขี้เกียจรีดผ้า)”, “เก่งเกินนนน”, “สู้ ๆ นะคะ พี่หมอริท เป็นกำลังใจให้ค่ะ” เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top