Sunday, 12 May 2024
ธงชาติ

เรื่องเล่าใต้ผืนธงชาติสหรัฐฯ เมื่อชาวมะกันเองก็ยังคลั่งชาติ สิ่งที่ปราชญ์ 3 นิ้วควรรู้ ก่อนกรอกหูเด็กไทยให้ชังชาติตน

ทุกครั้งที่มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติ คนบางกลุ่มจะหงุดหงิดและโจมตีกล่าวหาผู้ที่นิยมชมชอบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองว่าเป็นพวกคลั่งชาติเสมอ

ทั้งที่สิ่งเหล่านี้คือเครื่องยึดเหนี่ยวสู่ความเป็นชาติ ให้ทุกคนรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อสร้างประโยชน์ในสังคมไปในทิศทางเดียวกัน โดยทางสังคมวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Solidarity’ หรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมและในความเป็นประเทศ

นักวิชาการตาสว่างมีตรรกะว่า รัฐชาติเป็นเรื่องสมมุติ การที่คนไทยไม่เจริญส่วนหนึ่งมาจากความคลั่งชาติและสถาบัน จากนั้นก็ด่าทอทุกอย่างเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์ โดยมั่นใจไปเองว่าการหยามหมิ่นรากเหง้าตัวเอง คือ ความก้าวหน้าแบบลิเบอรัล ที่ตลกมากที่สุด คือ ชนคนกลุ่มนี้มักอ้างอิงทำนองว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาไม่คลั่งชาติเด็ดขาด เพราะคิดเอาเองว่าประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างอเมริกาไม่มีเรื่องแบบนี้

อเมริกานั้นเหมือนเบ้าหลอมรวมชาติพันธุ์ เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมจับฉ่ายจากทั่วทุกมุมโลกมาตกคลั่กบนแผ่นดินเดียวกัน และสิ่งที่รวมใจอเมริกันทั้งปวงก็คือความเป็นชาติ โดยมีสัญลักษณ์ชัดเจนอย่างธงชาติอเมริกันนั่นแหละ

อยากเล่าว่า เด็กอเมริกันทุกคนต้องมายืนตาแป๋วทุกเช้าไม่ต่างไปจากนักเรียนไทย จากนั้นก็สาบานตนต่อธงชาติหรือที่เรียกว่า Pledge of Allegiance  ตามนี้...

“I pledge allegiance to the Flag 
of the United States of America, 
and to the Republic for which it stands, 
one Nation under God, indivisible, 
with liberty and justice for all.”
______________________________
"ข้าพเจ้าขอสาบานต่อธงชาติแห่งสหรัฐอเมริกาว่า
จะจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐแห่งนี้
ที่ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกภาพ
ภายใต้พระผู้เป็นเจ้าอันไม่อาจแบ่งแยก
ด้วยเสรีภาพและความยุติธรรมต่อส่วนรวม"

ธงชาติ ปักคู่ กระเป๋าเป้สะพายหลัง ทำแบบนี้มีความหมายบางอย่าง ในประเทศเนเธอร์แลนด์

ผู้ใช้ TikTok ที่ชื่อว่า movedtoamsterdam ได้โพสต์คลิปสั้น อธิบายความหมายที่ซ่อนอยู่ กับการนำธงชาติ มาปักคู่ กับกระเป๋าเป้สะพายหลัง โดยมีใจความว่า ...

รู้หรือไม่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถ้าเห็นธงชาติปักอยู่กับกระเป๋า backpack (กระเป๋าเป้สะพายหลัง) มันมีความหมายซ่อนอยู่ ในวัฒนธรรมของประเทศเนเธอร์แลนด์ ถ้าบ้านไหนมีลูกที่กำลังจะเรียนจบม.6 หรือว่า High School เขาก็จะทำแบบนี้เพื่อบอกเพื่อนบ้าน และเพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับเด็กคนนั้นที่เรียนจบ แสดงความยินดี ที่ว่าการเรียนการศึกษาที่เรียนมาตลอดมันกำลังจะจบแล้วนะ เพราะว่าในประเทศเนเธอร์แลนด์ การเรียนจบในระดับชั้น ม.6 หรือว่า High School นั้นก็ถือว่าพอแล้ว เขาจะไม่บังคับว่าจะต้องเรียนในมหาลัยต่อ ก็เลยถือว่าการศึกษาที่จะต้องแบกกระเป๋า backpack ไปเรียนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว เป็นการแสดงความยินดีแบบน่ารักๆ

แต่จริง ๆ แล้ว ก่อนที่การแสดงสัญลักษณ์แบบนี้จะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างนั้น มันก็เคยเกิดเป็นประเด็นขึ้นมาก่อน เพราะว่ามันคือการนำธงชาติมาใช้ หลายคนก็จะมองว่ามันเหมาะสมหรือไม่ แต่สุดท้ายคนในสังคมก็ทำกัน ซึ่งรัฐบาลก็ปล่อยไป ก็ไม่ได้ว่าอะไรเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ได้ร้ายแรง ไม่ได้มีพิษมีภัยอะไรต่อสังคม

รู้หรือไม่ประเทศไทยเคยใช้ธงชาติเป็น ‘รูปช้างเผือก’

🔍 กว่าจะมาเป็นธงชาติแบบปัจจุบันนี้ รู้หรือไม่ประเทศไทยเคยใช้ธงชาติเป็น ‘รูปช้างเผือก’ ซึ่งชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านาย และเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ว่าแต่ช้างไทย อยู่บนธงรัชกาลใดบ้าง? มาดูกันเลย!!

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ‘แคนาดา’ ประกาศใช้ ‘ธงเมเปิลสีแดง’ เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ

แคนาดา มีประวัติศาสตร์หลังการมาถึงของชาวตะวันตกยาวนานราว 400 ปี เบื้องแรกในฐานะดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ก่อนตกมาอยู่ในความครอบครองของอังกฤษในเวลาถัดมา

การใช้ธงชาติของรัฐก่อนที่จะมาเป็นแคนาดาในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยมีสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นรัฐภายใต้อิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอยู่เสมอ

เมื่อเข้าถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสถานการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ และความเป็นชาติของแคนาดา การสนับสนุนอังกฤษในสงครามยังมีส่วนที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อประชาชนจำนวนมากพากันต่อต้านการเกณฑ์ทหาร โดยเฉพาะกลุ่มชาวแคนาดาในควิเบกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 แคนาดาเดินหน้าสู่ความเป็นรัฐเอกเทศมากขึ้น และพยายามหาธงชาติใหม่เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2507 ที่รัฐสภาได้ประกาศคัดเลือกธงชาติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 รัฐสภาได้มีมติเลือกธงชาติพื้นแดงขาว ที่มีใบเมเปิลสีแดง ปลายใบ 11 แฉก อยู่ตรงกลาง ให้เป็นธงชาติของแคนาดา โดยสีแดงบนธงซ้ายและขวา หมายถึง มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนสีขาว หมายถึง ผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่และหิมะ ใบเมเปิลคือสัญลักษณ์ของแคนาดา ซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19

ทั้งนี้ พิธีสถาปนาธงชาติแคนาดาอย่างเป็นทางการมีขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ณ รัฐสภาแคนาดา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top