Friday, 3 May 2024
ท่องเศรษฐกิจกับดรกอบ

การกลับมาของรัสเซีย ในสงครามค่าเงินรูเบิล จาก 177 สู่ 95/US ความสำเร็จ ที่สหรัฐฯ และ NATO ไม่อยากเห็น

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ระบุว่า ความสำเร็จของรัสเซีย ในสงครามค่าเงินรูเบิล

วันนี้ ขอนำกลับไปตรวจอีกแนวรบหนึ่ง ที่รัสเซียสามารถรุกคืบ ยึดพื้นที่กลับคืนมาเรื่อยๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

จากค่าเงินรูเบิลที่เคยร่วง ระเนระนาด ไปแตะ 177.26 รูเบิล/ดอลลาร์

ล่าสุด ค่าเงินรูเบิลกลับมาอยู่ที่ 95 รูเบิล/ดอลลาร์ !!!!

ถ้านับจากช่วงก่อนสงครามรัสเซีย-ยูเครนเปิดฉาก ที่ 77-78 รูเบิล/ดอลลาร์ ค่าเงินรูเบิลได้อ่อนค่าลงไปเพียงประมาณ 20% เท่านั้น

หลายคนคงสงสัยว่าทำไม? ทำไมรัสเซียถึงสามารถรุกคืบกลับมาได้

ทั้งๆ ที่สหรัฐและพันธมิตรได้ Freeze เงินสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียไปบางส่วนแล้ว

คำตอบอยู่ที่ มาตรการ Capital Control และ Exchange Control ของธนาคารกลางรัสเซียที่ประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมา

- ไม่ให้ต่างชาติขายสินทรัพย์ในรัสเซีย และไม่ให้เอาเงินออก

- ให้ผู้ส่งออกต้องนำเงินตราต่างประเทศที่ได้มา 80% ขายสู่ตลาด

- คนที่อยากแลกเงินรูเบิลเป็นเงินตราต่างประเทศต้องจ่ายค่าคอม 30%

ทั้งหมดนี้ ทำให้รัสเซียไม่ค่อยมีเงินไหลออกจากประเทศ 

ซึ่งเมื่อรวมกับเงินจาก Current account ที่ปกติแล้วจะเป็นบวก (ปีที่แล้ว +5% ของ GDP) จากน้ำมันและก๊าซที่ยังสามารถขายให้ยุโรปและคนอื่นๆ ตลาดค่าเงินรูเบิลจึงเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเรื่อยๆ 

ยิ่งมีเสถียรภาพ คนรัสเซียยิ่งมั่นใจ ไม่ไปต่อแถวแลกเงิน

โดยมีเจ้ามือใหญ่ กระเป๋าใหญ่ (เพราะพิมพ์แบงก์เอง) คือ ธนาคารกลางของรัสเซีย กำกับภาพรวม กำหนดกฎเกณฑ์ที่ทำให้รัสเซียได้เปรียบ  

นับเป็นความสำเร็จ ที่สหรัฐและ NATO ไม่อยากเห็น 

เพราะหมายความว่า "นิวเคลียร์เศรษฐกิจ" ที่ต้องการทำให้ เงินเฟ้อรัสเซียพุ่ง บริษัทรัสเซียล้มละลายจากหนี้ต่างประเทศ (เหมือนไทยปี 40) คนตกงาน ต้องปิดแบงก์ นำไปสู่ Financial Sector Meltdown ไม่เป็นไปตามแผน  

นับว่าแนวรบนี้ รัสเซียสำเร็จในการยึดพื้นที่คืน

ทำให้สหรัฐและพันธมิตร ต้องไปหามาตรการอื่นๆ มา Sanctions เพิ่มเติม

'กอบศักดิ์' ส่อง!! ค่าเงินเยนอ่อนลงต่อเนื่อง เหตุสวนทาง 'นโยบายเฟด-ธนาคารกลางทั่วโลก'

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์ค่าเงินเยน ของญี่ปุ่น ว่า 

เกิดอะไรกับค่าเงินเยน?

อ่อนค่าสุดในรอบ 7 ปี!!!

หลายคนถามว่า ทำไมค่าเงินเยนถึงอ่อนค่ามากช่วงนี้

ลงไปแตะ 125.09 เยน/ดอลลาร์ เมื่อสองวันที่แล้ว 

อ่อนสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา และถ้าอ่อนอีกนิด ทะลุ 126 ก็จะอ่อนสุดในรอบ 20 ปีเลยทีเดียว 

ล่าสุด กำลังขึ้นลงไปมา ทำให้ทางการญี่ปุ่นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

เรื่องนี้ ความจริงแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของ "หนังม้วนสำคัญ" ที่เราชมอยู่

จากการปรับนโยบายของเฟด และธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ในการที่จะดึงสภาพคล่องกลับ และขึ้นดอกเบี้ยไปสู้กับเงินเฟ้อ

แต่ที่ญี่ปุ่นกลับทำตรงกันข้าม ส่งสัญญาณออกมาชัดเจนว่า แบงก์ชาติญี่ปุ่นจะยังคงปล่อยสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง และพยายามดูแลดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป 

‘กอบศักดิ์’ มองวิกฤต ‘ศรีลังกา’ เป็นหนังตัวอย่างที่เจอปัญหาหนี้รัฐบาล-ครัวเรือนทะลุเพดาน ชี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องเจอในไม่ช้า หลังผลกระทบโควิด 

.
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า 

จากวิกฤตสู่วิกฤต

ศรีลังกาเป็นเพียงประเทศแรกๆ ใน Emerging markets ที่เข้าสู่วิกฤตในรอบนี้ 

เป็นเพียงหนังตัวอย่าง ที่ยังมีอีกหลายประเทศ ที่จะประสบปัญหาเศรษฐกิจ (แต่คงใช้เวลาอีกระยะ)

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ระหว่างสองปีที่ผ่านมา ทุกประเทศทั่วโลกต้องต่อสู้กับการแก้ไขปัญหาโควิด 

รัฐบาลใช้เงินไปมากในการเยียวยา ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในการจัดซื้อวัคซีน และการให้บริการสาธารณสุขกับประชาชนของตนเอง 

ระดับหนี้ของรัฐบาลจึงเพิ่ม ทะลุเพดานหนี้ที่เหมาะสม

ด้านเอกชน  SME ก็ลำบากกันทั่ว จากยอดขายที่ลดลง จากหนี้ที่ต้องก่อ เพื่อหาสภาพคล่องมาประคองธุรกิจ

ส่วนประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ ก็มีหนี้เพิ่มพูน จนระดับหนี้ครัวเรือนของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลก ทำให้ Emerging Markets หลายๆ ประเทศ สะสมความเปราะบางเพิ่มขึ้น เข้าสู่จุดคับขัน 

ที่น่าหนักใจที่สุด ก็คือ ปกติแล้วหลังวิกฤต เราจะมีช่วงดีๆ อย่างน้อย 2-3 ปี  ให้เคลียร์ปัญหาต่างๆ ที่สะสมขึ้น เศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ทำให้พี่น้องประชาชนมีรายได้ ร้านค้าค้าขายดี รัฐบาลเก็บภาษีได้ 

ทั้งหมดช่วยให้ระดับหนี้ของภาครัฐ เอกชน ประชาชน ลดลง ทำให้ทุกคนฐานะการเงินเข้มแข็งขึ้น สามารถสะสมเงินออมอีกรอบ พร้อมรับกับวิกฤตรอบถัดไป

อย่างไรก็ตาม ที่บอกว่าน่าหนักใจมากรอบนี้ ก็เพราะเรากำลังจะออกจากวิกฤตหนึ่ง แต่จะเข้าสู่อีกวิกฤตทันที 

ช่วงเวลาดีดี ไม่ได้มาอย่างเคย!!! 

ไม่มีเวลาหายใจ

ทำให้ทุกประเทศเข้าสู่อีกช่วงของความท้าทาย โดยที่ทุกคนมีความเปราะบางทางการเงินอย่างยิ่ง 

ยิ่งเงินเฟ้อสูงเป็นพิเศษจากปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยิ่งเฟดต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ผลกระทบต่อ Emerging Markets ก็จะยิ่งแรงกว่าปกติ 

หลายคนที่ปริ่มน้ำอยู่แล้ว อาจจมน้ำได้

ศรีลังกาจึงเป็นกรณีศึกษา ที่เป็นบทเรียนให้กับทุกคน

ก่อนโควิดระบาด ศรีลังกาได้ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ ที่ชอบเรียกกันว่า "โครงการช้างเผือก" ได้สร้างหนี้ให้กับรัฐบาล ทำให้ฐานะของรัฐบาลอ่อนแอลง ทั้งในเรื่องของท่าเรือ สนามบิน โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ

'กอบศักดิ์' ชี้!! วิกฤติอาหารแพงลามทั้งโลก ผลพวงสงคราม แย้ม!! ไทยยังดี ไม่เคยทิ้งภาคเกษตร พอช่วยก้าวผ่านไปได้

ไม่นานมานี้ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ฉายภาพวิกฤตอาหารโลก - Coming Global Food Crisis ไว้ว่า...

หลายคนคงได้ยินคนบ่นว่า ช่วงนี้ข้าวของแพง 

แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกิดแค่ในไทย ยุค "ข้าวยาก หมากแพง" กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

ข้อมูลล่าสุดจาก FAO หรือองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ชี้ว่า ในหลายพื้นที่ของโลกกำลังเข้าสู่ช่วงการเกิดวิกฤตการณ์อาหาร

ดัชนีราคาอาหารล่าสุดในเดือนมีนาคม เร่งเพิ่มขึ้นถึง 12.6% จากเดือนก่อนหน้า !!!

หากเทียบกับปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 17.9% ทำให้ระดับราคาอาหารโลกสูงสุดในรอบ 22 ปี ตั้งแต่ได้สร้างดัชนีนี้ขึ้นมา

ในภาพ เราจะเห็นถึงความรุนแรงของปัญหานี้ โดยเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมหรือต้นปีที่ผ่านมา แยกรายหมวดแล้ว พบว่า...

- ราคาเนื้อสัตว์ +7.0%
- ราคาผลิตภัณฑ์จากนม +9.5%
- ราคาธัญพืช +21.0%
- ราคาน้ำมันพืช +39.1%
- ราคาน้ำตาล +4.6%

ไม่น่าแปลกใจว่า คนทั้งโลกจึงบ่นอุบกันไปทั่ว

กำเงินไป 100 แต่ได้ของมาแค่ 80

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสงครามที่ยุโรป 

รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี 28% ของโลก ยิ่งไปกว่านั้น รัสเซียและเบลารูสเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยโปแตส 40% ของโลก

เมื่อมีการ Sanctions รัสเซียและเบลารูส บวกกับการที่ยูเครนไม่สามารถเพาะปลูกได้ ข้าวสาลีและปุ๋ยจึงขาดแคลนหนัก

'กอบศักดิ์' เผยข่าวดี 'ติด-ตาย' โควิด Wave 4 ทั่วโลกลด!! ส่งสัญญาณบวก 'ท่องเที่ยวไทย' หลังซบนานกว่า 2 ปี

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ความหวังของภาคท่องเที่ยวไทย !!! 

เริ่มต้นสัปดาห์ ด้วยข่าวที่ดี 🙂

หลังจากไม่ได้ดูข้อมูลผู้ป่วยรายใหม่จากโควิด-19 มาเป็นเดือน

เมื่อเช้า เลยไปลองเปิดดู 

สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ Covid Wave ที่ 4 ของโลก ดูเหมือนจะเริ่มผ่านไปแล้ว 

ในภาพจะเห็นว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ จากที่เคยไปสูงถึงเกือบ 4 ล้านคนต่อวัน

ล่าสุด ลดลงมาอยู่ประมาณ 6 แสนกว่าคนต่อวัน หรือเพียง 15% ของยอดสูงสุด

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิต ก็ลดลงมาเช่นเดียวกัน จาก 12,000 คนต่อวัน ล่าสุดเหลือประมาณ 2,400 คน หรือประมาณ 20% ของยอดสูงสุดในรอบนี้

นับว่าเป็นข่าวดี ที่ชี้ว่ามรสุมโควิดรอบที่ 4 ได้ผ่านไปมากแล้ว

กระทั่งฮ่องกง ที่เคยเป็นข่าวใหญ่เมื่อช่วงต้นมีนาคม ติดเชื้อรายใหม่วันละ 80,000 คน (จากประชากรไม่กี่ล้านคน) ล่าสุดเหลือเพียงวันละ 1,400 คน

จะเหลือที่เป็นประเด็นอยู่ ก็เพียงแต่ในจีนที่กำลังต่อสู้กันกับโควิดในขณะนี้ 

โดยทุกสายตาของโลก กำลังจับจ้องดูว่าจะกระจายไปมากแค่ไหน และด้วยมาตรการที่เข้มงวด จีนจะเอาอยู่หรือไม่ 

'กอบศักดิ์' จับตาโอมิครอนบุกปักกิ่ง หวั่น!! กระทบเศรษฐกิจโซนเอเชีย

‘ดร.กอบศักดิ์’ ชี้ต้องจับตาผลกระทบโควิดในจีนอย่างใกล้ชิด เมื่อ ‘โอมิครอน’ ลามถึง ‘กรุงปักกิ่ง’ หวั่นกระทบเศรษฐกิจเอเชีย

วันที่ 26 เมษายน 2565 ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน ว่า …

เมื่อโอมิครอนบุกปักกิ่ง !!! 

วันนี้มีข่าวว่า หลังจีนได้ต่อสู้กับโอมิครอนที่เซี่ยงไฮ้มาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ล่าสุด โอมิครอนได้ไปบุกไปถึงเมืองปักกิ่งแล้ว

ผลที่ตามมา ก็คือ ตลาดการเงินจีนและโลก ต่างปรับตัวรับข่าวอย่างรุนแรง

- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ลดลง 5.1% ทำให้ดัชนีได้กลับไปต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดเรียบร้อยแล้ว

- ค่าเงินหยวนอ่อนค่าเพิ่มเติมอีก 1% ไปที่ 6.559 หยวน/ดอลลาร์ อ่อนสุดในรอบ 1 ปี

- ดัชนีฮั่งเส็งลดลง 3.7%

- ราคาน้ำมันโลกลดลง 5%

- ราคาทองคำลงไปต่ำกว่า 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์

- ราคาพาลาเดี่ยม ลดลง 10%

- ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ต่างลดลงกันถ้วนหน้า

ทั้งนี้ เนื่องจากทุกคนกังวลใจว่า จีนจะต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดในการจัดการโอมิครอนที่ปักกิ่ง หลังจากมีรายงานว่ามีผู้ป่วยในพื้นที่หลายสิบคน และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

'กอบศักดิ์' วิเคราะห์ สัญญาณบวกนักท่องเที่ยวไหลสู่ไทย หลังสี่แยกหลักการเดินทางของภูมิภาค เริ่มพลุกพล่าน!!

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ภาพเล็กๆ ที่มีความหมาย !!!

เมื่อตอนต้นเดือนเมษายน ได้เดินทางผ่านสนามบินสิงคโปร์

สิ่งที่คิดขึ้นมาในใจทันที ก็คือ..

"เริ่มฟื้นแล้ว"

จากที่เงียบเหงา แทบไม่มีใครเดิน ในช่วงปีที่แล้ว

สนามบินเริ่มกลับมาเปิดร้านค้าอีกครั้ง แม้ว่ายังไม่ 100%

แต่ก็เปิดเกินครึ่ง

แต่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ 'นักเดินทาง'

นักเดินทาง เริ่มเดินกันขวักไขว่อีกรอบ 

สนามบินสิงคโปร์เป็นจุดต่อเชื่อมที่สำคัญของการบินโลก 

การที่สี่แยกหลักของทางการเดินทางของภูมิภาค เริ่มพลุกพล่านอีกครั้ง 

เป็นสัญญาณว่า ต่อไปนักท่องเที่ยวกำลังกลับมา 

และจะมาที่ประเทศไทยต่อไป 

‘กอบศักดิ์’ ชี้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ไม่ฉุดตลาดหุ้น หลัง ปธ.เฟด ส่งสัญญาณไม่ใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย 0.75%

‘กอบศักดิ์’ ชี้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ไม่กระทบตลาดหุ้น เหตุมี ‘ประโยคทอง’ ของประธานเฟดช่วยให้ตลาดสบายใจ ส่งสัญญาณไม่ใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย 0.75%

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ ถึงการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุดว่า เมื่อคืนนี้หลายคนคงไม่ยอมนอน รอลุ้นว่า เฟดจะตัดสินใจอย่างไร และคงสงสัยว่า ทำไมตลาดหุ้น Dow Jones ถึงสุดท้ายแล้วขึ้นถึง 932 จุด เพราะตั้งแต่เช้า ตลาดแกว่งไปมาเล็กน้อย Dow Jones บวกลบไม่ถึง 100 จุด

เมื่อคืนนี้ก็ได้ติดตาม ‘ลุ้น’ ไปพร้อมกับทุกคน สำหรับผลการประชุมออกมาตอนช่วงตี 1 บ้านเรา โดยรวมต้องบอกว่า ‘ตามคาด’ เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.5% และจะถอนสภาพคล่องกลับในอัตราเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่อาจดีกว่าคาดเล็กน้อย ก็คือ ‘ไม่เริ่มเลย’ แต่จะรอไปเริ่ม 1 มิถุนายน และช่วง 3 เดือนแรก เฟดจะลองดูดสภาพคล่องกลับประมาณ 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือครึ่งหนึ่ง) ของระดับที่ตั้งใจไว้ก่อน

จากที่นโยบายเฟดออกมาดีกว่าคาดเล็กน้อย ตลาดจึงปรับตัวเล็กน้อยเช่นกัน แกว่งตัวบวกขึ้นไปอีกนิด

แต่เมื่อถึงเวลาที่ทุกคนรอคอย และเป็นหมัดเด็ด เป็น Highlight ของเมื่อคืนนี้ ตอนตี 1 ครึ่ง คือ การแถลงข่าวของประธานเฟด ตลาดก็กลับมาที่เดิม คือ บวกประมาณ 90 จุด จากนั้นก็ถึงช่วงสำคัญ และถึง ‘จุดเปลี่ยน’ ที่ทำให้ตลาดกลับมาคึกคัก

โดยมีการส่งสัญญาณว่า กรรมการเฟดยังคิดจะขึ้น 0.5% อีก 2-3 ครั้งในช่วงการประชุมข้างหน้า แต่ไม่ใช่ขึ้นแค่ครั้งนี้และครั้งหน้า ตามที่ทุกคนคาดการณ์กัน

ไม่น่าแปลกใจ ด้วยคำพูดที่แรงและแนวการขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะมากกว่าตลาดคาดไว้เล็กน้อยเช่นกัน ในช่วงการอ่านแถลงการณ์ ตลาดก็ค่อย ๆ ตก จากที่บวก 90 จุด ก็กลายมาเป็นลบเล็กน้อย

สิ่งที่น่าติดตามที่สุดระหว่างการแถลงข่าวเมื่อคืน อยู่ที่ช่วงถามตอบ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่เฟดเชิญนักข่าวมาที่อาคาร และได้ซักถามกันต่อหน้าเป็นเวลาเกือบ 40 นาที

โดย ‘ประโยคทอง’ ที่ทำให้ตลาดเปลี่ยนจากที่เคยซึม ๆ กลายเป็นกระทิงเปลี่ยว ทำให้เหวี่ยงขึ้นมาประมาณ 1,000 จุด เป็นผลจากคำถามที่ 2 ที่นักข่าวจาก CNBC ที่ถามถึงการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดว่า ‘มีโอกาสไหมที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.75%’

คริปโตระเนระนาด ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ป่วนหนัก หลังเงินเฟ้อพุ่ง และประธานเฟดกำลังจะคุมไม่อยู่

(14 มิ.ย.65) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นักเศรษฐศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ตลาดพันธบัตรสหรัฐปั่นป่วนหนัก!!!

ไม่ใช่ตลาดหุ้น ตลาดคริปโตเท่านั้นที่ระเนระนาด ตลาดพันธบัตรก็ถูกกระทบหนักเช่นกัน ในระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 3 วัน ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ 2 ปี เพิ่มขึ้น +0.58% สูงสุดในรอบ 14 ปี เป็น 3.354% รับกับดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐในอายุอื่น ๆ ที่พุ่งขึ้นเช่นกัน นำมาซึ่งความเสียหายกับผู้ที่ได้ลงทุนในกองพันธบัตรสหรัฐต่าง ๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นเช่น 2 ปี ได้เริ่มพุ่งไปอยู่ระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว 10 ปี 30 ปี ทำให้เริ่มเข้าสู่ภาวะ Inverted Yield Curve เป็นรอบที่สองของปี สะท้อนสัญญาณว่าจะมี Recession ในอนาคต 12-24 เดือนข้างหน้า

ภาวะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดคิดว่า เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยไปจัดการปัญหาระยะสั้น และนำมาซึ่งเศรษฐกิจที่ซบเซาหรือถดถอย (Recession) จนท้ายสุดเฟดต้องลงดอกเบี้ยมาในระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้ เป็นผลมาจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ ที่ประกาศออกมาเมื่อวันศุกร์ ที่ออกมาว่า เงินเฟ้อที่คิดกันว่าผ่านจุดสูงสุดแล้ว ยังสามารถสูงขึ้นได้อีก Inflation is alive and well ดื้อยา กว่าที่คิด ซึ่งมีนัยยะต่อไปกับการประชุมของเฟดในคืนวันอังคารและคืนวันพุธ ว่า กรรมการจะตัดสินใจอย่างไร

แต่ที่แน่ ๆ สูตรยาโดยรวมจะต้องแรงขึ้น โดยตลาดคิดว่า จะต้องเพิ่มไปอีกอย่างน้อย .50% จากแนวทางเดิมที่ท่านประธานเฟดเคยประกาศไว้เมื่อการประชุมครั้งที่แล้ว เพียงแค่ว่าจะเป็นแบบ ทำเลย หรือ Front Load คือ ขึ้น +0.75% ในรอบนี้เลย หรือ ค่อยเป็นค่อยไป คือ ยังขึ้น +0.5% ในรอบนี้ และประกาศว่าจะขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีไปอีก 3-4 ครั้ง ปรับเพิ่มจากแนวทางเดิม ที่เหลืออยู่อีก 1-2 ครั้งเท่านั้น

'กอบศักดิ์' ชี้ สหรัฐฯ เหลือเวลาน้อยในการจัดการเงินเฟ้อ หลัง 'เฟด' รับ!! ไม่รู้ต้องแก้ปัญหานี้บนพื้นฐานอะไร

'ดร.กอบศักดิ์' ชี้ สหรัฐฯ เหลือเวลาน้อยในการจัดการเงินเฟ้อ หลัง 'เฟด' รับ!! ไม่รู้ต้องแก้ปัญหานี้บนพื้นฐานอะไร และจะออกจากปัญหาได้อย่างไร

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพโพสต์เฟซบุ๊ก “Dr.KOB” ระบุว่า …

เตรียมตัวให้พร้อม !!!

เมื่อคืนนี้ ได้ฟังท่านประธานเฟด ท่านประธาน ECB ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และผู้จัดการใหญ่ของ BIS ร่วมเสวนาในเรื่อง Challenges for Monetary Policy in Rapidly Changing World หรือ ความท้าทายสำหรับนโยบายการเงิน ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่น่าสนใจในการเสวนา ก็คือ ความในใจของนายธนาคารกลางชั้นนำของโลก โดยเฉพาะท่านประธานเฟด 

ท่านบอกว่า

Clock is running out to bring inflation down

เวลาเริ่มเหลือน้อยแล้ว ในการจัดการกับเงินเฟ้อ 

It’s gotten harder ... The pathways have gotten narrower.’

สำหรับโอกาสของการ Soft Landing นั้น "ยากขึ้น และเส้นทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้แคบลงมาก"

There’s no guarantee the central bank can tame runaway inflation without hurting the job market.  

ท่านไม่สามารถรับประกันได้ว่า "สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อ" จะไม่สร้างปัญหาใหญ่ให้ตลาดแรงงาน ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะไม่มีคนตกงาน

We now understand better how little we understand about inflation

เราเข้าใจแล้วว่า เราเข้าใจเงินเฟ้อน้อยแค่ไหน !!!!

Our model is not capable of producing high inflation. 

โมเดลที่เราใช้ ไม่สามารถจำลองสถานการณ์เงินเฟ้อสูง ที่กำลังเกิด

It is a deep in the tail kind of risk. Very hard to predict and access.

เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้ เป็นเหตุการณ์เฉพาะ ที่ยากจะประเมินและคาดการณ์ได้

สรุปว่า ยิ่งฟัง ก็ยิ่งเข้าใจว่า ธนาคารกลางมีปัญหาในการประเมินสถานการณ์ว่ากำลังสู้กับอะไร และจะออกจากปัญหาได้อย่างไร

ทำให้มีคำถามต่อไปว่า ที่เฟดบอก "เอาอยู่ จัดการเงินเฟ้อได้แน่ และให้เชื่อเฟด" นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไร?

หากโมเดลที่เฟดและธนาคารกลางใช้ในการสู้ศึก มีข้อจำกัด ไม่ใช่ตัวแทนของโลกจริง 

หรือว่าที่ท่านกำลังพูด อธิบายกันอยู่นั้น เป็นเพียง "คำปลอบใจ" 

ที่กระทั่งตัวท่านเอง ก็ไม่มั่นใจว่า "จะทำได้ตามที่พูดหรือไม่"

สำหรับที่ท่านประธานเฟดบอกว่า เวลาเหลือน้อยเต็มทนแล้ว สำหรับการจัดการกับเงินเฟ้อ เฟดต้องเร่งการดำเนินนโยบายให้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น นั้น

อันนี้ คงเกิดขึ้นจริง 

ซึ่งหมายความต่อไปว่า เราก็เหลือเวลาไม่มากในการเตรียมตัวรับกับผลพวงที่จะตามมา 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top