Thursday, 9 May 2024
ทนายความ

'อ.นันทน' ชี้!! แวดวงทนายความเสื่อมทรามลง เพราะทนายบางกลุ่ม 'ขาดจิตสำนึก-ไร้มารยาท'

วันนี้ (23 มิ.ย. 65) อาจารย์นันทน อินทนนท์ ทนายความและที่ปรึกษากฏหมาย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก 'Smart Lawyer Team' โดยระบุว่า...

ทนายความกับสื่อสังคมออนไลน์

หลายปีที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปคงได้เห็นบทบาทของทนายความในสื่อมวลชนกันอย่างมาก ทนายความบางคนมีจิตสำนึกก็ให้ข้อมูลทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แต่ทนายความบางคนกลับพยายามสร้างความนิยมให้แก่ตัวเอง โดยการบิดเบือนข้อกฎหมายให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งอวดอ้างความสามารถในการดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง ความสามารถในการว่าความ หรือการรู้จักบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงราชการ

ทนายความบางคนถึงขนาดกับแย่งชิงคดีความกันผ่านหน้าสื่อมวลชนต่าง ๆ บางคนรับปรึกษาคดีความให้แก่ฝ่ายหนึ่ง แต่ต่อมากลับไปให้คำปรึกษาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง หรือร่วมกับบุคคลที่ไม่ใช่ทนายความในการดำเนินคดีเยี่ยงเป็นทนายความเสียเอง

เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เพียงแต่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน แต่ยังทำให้ภาพพจน์และเกียรติภูมิของวงการทนายความโดยรวมเสื่อมเสียลงไปด้วย

ในอันที่จริงนั้น สภาทนายความนอกจากจะเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีหน้าที่โดยตรงในการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนแล้ว ยังมีหน้าที่ในการควบคุมมรรยาทของทนายความให้มีความประพฤติตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพด้วย สภาทนายความจึงมีข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ทั้งในแง่ของมรรยาทที่มีต่อตัวความ ต่อทนายความด้วยกันและต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี
ตามข้อบังคับฯ นี้ การยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องคดีกัน การอวดอ้างว่าตนเองมีความรู้มากกว่าทนายความอื่น การอวดอ้างว่ามีสมัครพรรคพวกที่สามารถให้ความช่วยเหลือทางคดี การเปิดเผยความลับทางคดีที่ตนล่วงรู้มาแก่บุคคลภายนอก การนำความรู้ที่ได้มาจากคู่ความฝ่ายหนึ่งไปช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นปรปักษ์ การแย่งคดีความจากทนายความอื่น หรือการมีบุคคลที่ไม่ใช่ทนายความทำหน้าที่จัดหาคดีความมาให้ ล้วนแต่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ การที่ทนายความนำเสนอข้อเท็จจริงในทางคดีต่อสื่อมวลชน นอกเหนือไปจากการอธิบายข้อกฎหมายเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนแล้ว จึงแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าจะเป็นการกระทำผิดมรรยาททนายความตามข้อบังคับนี้

20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันทนายความ’ หนึ่งในสถาบันด้านกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั่วประเทศถือเป็นวันทนายความ

วันนี้ในอดีต เมื่อปี 2500 เป็นวันที่ทนายความในขณะนั้นมีแนวความคิดริเริ่มที่ต้องการให้วิชาชีพทนายความ ควรจะมีสถาบันที่เป็นตัวแทนของวิชาชีพทนายความ และเป็นอิสระควบคุมดูแลกันเอง จึงได้ประชุมกันก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500

ต่อมาสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันใช้ความเพียรพยายามเรียกร้องและผลักดันร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งเมื่อปี 2528 จึงประสบผลสำเร็จออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

'อานนท์' โวย!! ศาลอาญา ไม่อนุญาตให้เป็นทนายจำเลยช่วย 'ทอปัด' อ้าง!! ทั้งที่ยังมีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะเป็นทนายความ เหตุคดียังไม่ถึงที่สุด

'อานนท์' ยื่นคำร้องคัดค้าน ภายหลังศาลอาญาไม่อนุญาตให้เบิกตัวมาทำหน้าที่ทนายจำเลยในคดี 112 ของ 'ทอปัด' ระบุ ยังมีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะเป็นทนายความ เนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด

เมื่อวันที่ 30 พ.ย.66 นายอานนท์ นำภา ทนายความและผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ได้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของศาลอาญาที่ไม่อนุญาตให้เบิกตัวอานนท์จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาทำหน้าที่ทนายจำเลยในนัดสืบพยานคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของ ทอปัด อัฒอนันต์ อายุ 28 ปี ศิลปินนักวาดภาพอิสระ จากการวาดภาพรัชกาลที่ 10 เผยแพร่ในอินสตาแกรม ซึ่งจะมีการสืบพยานในวันที่ 1, 15 ธ.ค. 2566 และ 31 ม.ค. 2567  

การยื่นคำร้องคัดค้านเกิดขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 ศาลอาญามีคำสั่ง ‘ยกคำร้อง’ ต่อคำร้องในคดีของทอปัด ที่อานนท์ยื่นขอให้เบิกตัวมาทำหน้าที่ทนายความของจำเลย ร่วมกระบวนการพิจารณาสืบพยานในวันที่ 1, 15 ธ.ค. 2566 และ 31 ม.ค. 2567

ทั้งนี้ อานนท์ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 2566 หลังศาลอาญามีคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 จากการปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ14ตุลา ให้จำคุก 4 ปี และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันระหว่างอุทธรณ์ แม้จะยื่นประกันแล้ว 3 ครั้ง รวมถึงศาลฎีกาก็มีคำสั่งไม่ให้ประกันหลังทนายความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน จนถึงปัจจุบัน (30 พ.ย. 2566) อานนท์ถูกคุมขังมาแล้ว 66 วัน

🔴 คำร้องคัดค้านคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เบิกตัวทนายอานนท์มาในคดีของทอปัดมีเนื้อหาดังนี้...

คดีนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 1 ธ.ค. 2566 ทนายความจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเบิกตัวทนายจำเลย ซึ่งถูกขังโดยอำนาจของศาลนี้มาปฏิบัติหน้าที่ทนายความ ศาลมีคำสั่งยกคำร้องและไม่เบิกตัวทนายความจำเลยมาปฏิบัติหน้าที่โดยให้เหตุผลว่า ทนายความจำเลยถูกพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอาญา (คดีมาตรา 112) มีโทษจำคุก 4 ปี จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ทนายได้ 

ทนายจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้...

1. ทนายความจำเลยยังมีศักดิ์และมีสิทธิ์ในวิชาชีพทนายความอย่างสมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.ทนายความ เพราะคดีการเมืองที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งตามรัฐธรรมนูญย่อมถือว่าทนายความจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งการสิ้นสุดลงของการเป็นทนายความย่อมเป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยทนายความ ซึ่งทนายความจำเลยยังมีชื่อเป็นทนายความ ไม่ได้ถูกเพิกถอนการเป็นทนายความแต่อย่างใด ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ อันเป็นการขัดขวางไม่ให้ทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่ในคดีได้

2. การที่ศาลมีคำสั่งไม่ให้ทนายความจำเลยมาศาลเพื่อทำหน้าที่ ทั้งที่ทนายความจำเลยถูกขังโดยอำนาจศาล ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ในการสืบพยานโจทก์จะไม่มีทนายความที่จำเลยไว้วางใจและแต่งตั้งมาทำหน้าที่ กระบวนการพิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีมาตรา 112 ซึ่งเป็นความผิดในหมวดความมั่นคงและเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ย่อมไม่อาจดำเนินไปด้วยความยุติธรรมได้ 

ทั้งนี้ กระบวนพิจารณาคดีมาตรา 112 ได้ถูกจับตาโดยประชาคมโลกมาโดยตลอด รวมทั้งเนติบัณฑิตแห่งสหภาพยุโรปได้เคยทำหนังสือแสดงความกังวลในการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความจำเลย ซึ่งถูกละเมิดจากการแสดงออกอย่างสันติทางการเมืองจนกระทบต่อการทำหน้าที่ ซึ่งหนังสือดังกล่าวถูกส่งไปยังสภาทนายและถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 โดยตรง

การออกคำสั่งของศาลในคดีนี้ยังตอกย้ำถึงกระบวนการยุติธรรมในคดีมาตรา 112 อย่างชัดเจนว่า มีความไม่ปกติ และอาจเกิดความไม่ยุติธรรมในการพิจารณาคดี

3. หากศาลเห็นว่า การแต่งกายในชุดนักโทษไม่เหมาะสมที่จะสวมครุยเนติบัณฑิตว่าความในห้องพิจารณา เหมือนในการพิจารณาคดีของศาลนี้ในหลายคดี หากศาลมีคำสั่งห้ามสวมชุดครุย ทนายความจำเลยก็ยินดีปฏิบัติตามคำสั่งแม้จะไม่เห็นด้วย 

การที่ทนายความจำเลยไม่อาจแต่งกายด้วยชุดสุภาพแบบสากลนิยม แต่ต้องสวมชุดนักโทษ ก็เพราะศาลนี้และศาลอุทธรณ์ ตลอดจนศาลฎีกา ไม่ได้มีคำสั่งให้ประกันทนายความจำเลย ไม่ใช่เรื่องที่ทนายความแต่งกายไม่ถูกระเบียบเอง ทั้งการไม่อาจสวมครุยก็ไม่กระทบต่อการทำหน้าที่ ถึงขนาดจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพราะหากทนายความปฏิบัติหน้าที่ไปด้วยความยุติธรรม แม้อยู่ในชุดนักโทษก็สามารถทำให้เกิดความยุติธรรมได้ แต่หากทำหน้าที่ไปด้วยอคติหรือมิจฉาทิฐิ แม้จะสวมชุดครุยที่ทอด้วยไหมก็คงไม่มีค่าอันใด

ด้วยเหตุผลที่ทนายความจำเลยกล่าวมาข้างต้นทนายความจำเลยจึงขอแถลงคัดค้านคำสั่งศาลดังกล่าวไว้ 

อานนท์ นำภา
ทนายความจำเลย

20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันทนายความ’ หนึ่งในสถาบันด้านกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั่วประเทศถือเป็นวันทนายความ

วันนี้ในอดีต เมื่อปี พ.ศ. 2500 เป็นวันที่ทนายความในขณะนั้นมีแนวความคิดริเริ่มที่ต้องการให้วิชาชีพทนายความ ควรจะมีสถาบันที่เป็นตัวแทนของวิชาชีพทนายความ และเป็นอิสระควบคุมดูแลกันเอง จึงได้ประชุมกันก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

ต่อมาสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันใช้ความเพียรพยายามเรียกร้องและผลักดันร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2528 จึงประสบผลสำเร็จออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในวันทนายความของทุกปีสมาชิกสภาทนายความทั่วประเทศจึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อแสดงพลังสามัคคี และแสดงความพร้อมในการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนหน้าที่เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติทนายความ

เจ้าของโรงแรม ขึ้นป้ายไว้อาลัย ขบวนการยุติธรรม  ประกาศรับสมัคร ‘ทนายความ’ ฟ้อง ‘ผู้พิพากษาใหญ่’

(1 พ.ค. 67) เจ้าของโรงแรมแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ใจกลางสี่แยกในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำป้ายคัตเอาต์ใหญ่ขนาดกว้าง 12 เมตร สูง 11 เมตร ติดบริเวณด้านหน้าอาคารของโรงแรม ระบุข้อความว่า “ไว้อาลัยกระบวนการยุติธรรม รับสมัคร ทนายความใจกล้า มีฝีมือ ฟ้องผู้พิพากษาใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังแบบเล่นพรรคเล่นพวก”

โดยอาคารดังกล่าวเป็นโรงแรมเก่าแก่ของอำเภอหล่มสักนานกว่า 50 ปี ภายหลังได้มีการรีโนเวตใหม่ และด้านหน้าได้ทำเป็นร้านกาแฟ ช่วงเช้าเวลาประมาณ 09.00 น. ช่างได้นำป้ายไวนิลมาติดตั้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ

บริเวณหน้าร้านมีรถยนต์สายตรวจของ สภ.หล่มสัก 1 คัน และรถจักรยานยนต์สายตรวจจอดอยู่ 3 คัน ภายในบริเวณล็อบบี้ พบเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หล่มสัก 8 นาย นั่งรอพบเจ้าของโรงแรม คาดว่ามาสอบถามเกี่ยวกับป้ายที่ขึ้นไว้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top