Monday, 7 April 2025
ดาราศาสตร์

‘สดร.’ ชวนดูปรากฏการณ์ ‘ดวงจันทร์บังดาวศุกร์’ อย่าพลาดรับชม เวลา 18.00 น. วันนี้ 24 มี.ค.66

ชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ ‘ดวงจันทร์บังดาวศุกร์’ ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยากและเกิดขึ้นไม่บ่อยนักโดยเฉพาะที่ไทย ตั้งแต่ช่วงเย็นวันนี้ (24 มี.ค.2566) เวลา 18.00 เป็นต้นไป

(24 มี.ค.66) ห้ามพลาดปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์บังดาวศุกร์" ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยากและเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก นานทีๆจะสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย ผู้สนใจสามารถร่วมชมความสวยงามด้วยตาเปล่า หรือรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ช่วงเย็นวันนี้ (24 มี.ค.2566) ตั้งแต่เวลา 18.00 เป็นต้นไป

ปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์บังดาวศุกร์" จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 18.37-19:45 น. (ตามเวลากรุงเทพมหานคร) ซึ่งหากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์จะสังเกตเห็นดวงจันทร์จะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์ และเคลื่อนที่ออกจากดาวศุกร์อย่างชัดเจน

ไทม์ไลน์ช่วงเวลาดวงจันทร์บังดาวศุกร์
เริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก วัตถุทั้งสองอยู่เคียงกันสูงจากขอบฟ้าประมาณ 32 องศาในช่วงเวลาประมาณ 18.37 น. ดวงจันทร์จะค่อยๆเคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์

และจะเคลื่อนที่ออกจากดาวศุกร์ในเวลาประมาณ 19.45 น. โดยขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตกประมาณ 16 องศา (ข้อมูลดังกล่าวคำนวณจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่น ช่วงเวลาของการบังอาจจะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน)

‘5 เด็กไทย’ แข่ง ‘ดาราศาสตร์-ฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก’ ระดับ ม.ต้น คว้า 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน พร้อมคะแนนผู้ชนะสูงที่สุดในโลกได้สำเร็จ

(1 ต.ค. 66) ผลการแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 2 (IOAA-Jr 2023) ระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน 2566 ณ เมืองโวลอส สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ผู้แทนประเทศไทยได้รับรางวัล 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ Absolute winner คะแนนสูงสุดของโลก ดังนี้

1.) เด็กชายชยพล นนทสูติ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ‘เหรียญทอง และได้รับรางวัล ‘Absolute winner’ คะแนนสูงสุดของโลก’
2.) เด็กชายอภิวิชญ์ ชาญณรงค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ‘เหรียญทอง’
3.) เด็กชานนันท์ธร กิจผดุง โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน ‘เหรียญทอง’
4.) เด็กชายณัฐนันท์ เจนยงศักดิ์ โรงเรียนแสงทองวิทยา ‘เหรียญเงิน’
5.) เด็กชายปิติ ธรรมโกวิท โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ‘เหรียญเงิน’

อาจารย์หัวหน้าทีม
1.) ผศ.ดร.มนต์สิทธิ์ ธนสิทธิโกศล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (หัวหน้าทีม)
2.) ดร.นารีมัส เจะและ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี (รองหัวหน้าทีม)

อาจารย์สังเกตการณ์
1.) ดร.มติพล ตั้งมติธรรม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
2.) อาจารย์กุลชยา พิทยาวงศ์ฤกษ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ด้วยนะครับ🥇🥈🏆🎉

🙏ขอบคุณข้อมูลจากเพจมูลนิธิสอวน. (มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)

เปิดภาพกระจุกดาวต้นคริสต์มาส เนบิวลาเรืองแสงจากกลุ่มดาวยูนิคอร์น

(25 ธ.ค. 67) เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยภาพกระจุกดาวต้นคริสต์มาส (Christmas Tree Cluster) หรือ NGC 2264 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,500 ปีแสงในกลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) ภาพนี้แสดงให้เห็นเนบิวลาที่เรืองแสง (Emission Nebula) ขนาดใหญ่และกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์อายุน้อยหลากหลายมวล ตั้งแต่ดาวมวลน้อยไปจนถึงดาวที่มีมวลมากกว่า 7 เท่าของดวงอาทิตย์

ลักษณะการเรียงตัวของกระจุกดาวในภาพดูคล้ายกับ "ต้นคริสต์มาส" จึงเป็นที่มาของชื่อ โดยมีดาวแปรแสง S Monocerotis (15 Monocerotis) อยู่บริเวณลำต้นของต้นคริสต์มาส และอีกดวงคือ V429 Monocerotis ที่อยู่บริเวณยอดต้นไม้เหนือขึ้นไปจะเห็นเนบิวลามืดสีคล้ำรูปแท่งกรวยที่เรียกว่า เนบิวลารูปโคน (Cone Nebula)

ภาพกระจุกดาวต้นคริสต์มาสสีเขียวนี้ถูกประกอบและตกแต่งขึ้นใหม่จากข้อมูลหลายแหล่ง โดยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ WIYN ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.9 เมตร ณ หอสังเกตการณ์แห่งชาติคิตต์พีค ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นรูปทรงของต้นคริสต์มาสที่มาจากแก๊สในเนบิวลา ข้อมูลอินฟราเรดจากโครงการ Two Micron All Sky Survey (2MASS) เผยให้เห็นดาวสีขาวทั้งที่อยู่ในฉากหน้าและฉากหลัง ขณะที่ข้อมูลรังสีเอกซ์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราของ NASA ทำให้เห็นไฟประดับสีขาวฟ้าจากดาวฤกษ์อายุน้อย

Merry Christmas 2024!

ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ระยะห่างเพียง 6.1 ล้านกิโลเมตร

(26 ธ.ค. 67) ยานอวกาศปาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Solar Probe) ของนาซา (NASA) ได้สร้างสถิติใหม่ในการเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะประชิดมากที่สุดเมื่อวันอังคาร (24 ธ.ค.) ที่ผ่านมา

นาซาระบุว่าปาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ เคลื่อนตัวผ่านพื้นผิวดวงอาทิตย์ด้วยระยะห่าง 3.8 ล้านไมล์ (ราว 6.1 ล้านกิโลเมตร) เมื่อวันอังคาร (24 ธ.ค.) ซึ่งเป็นระยะใกล้กว่าทุกภารกิจก่อนหน้าที่เคยทำมาถึง 7 เท่า

อนึ่ง ปาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ ที่ส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศตั้งแต่ปี 2018 ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างภารกิจบินผ่านดวงอาทิตย์ 21 ครั้ง ซึ่งกำกับดูแลร่วมกันโดยนาซากับห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยจอหน์ส ฮอปกินส์

ภารกิจบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์นี้มุ่งเก็บภาพและข้อมูลชี้วัด เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ของมนุษย์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของลมสุริยะ รวมถึงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในอวกาศที่ส่งผลต่อชีวิตและเทคโนโลยีบนโลก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top