Monday, 7 April 2025
ช้าง

‘บิ๊กป้อม’ ร่วมประชุม คกก.อนุรักษ์และจัดการช้าง หาแนวทางดูแล ‘ช้างป่า-ช้างบ้าน’ ทั่วประเทศ

‘ลุงป้อม’ รักษ์ช้าง ประชุมเร่งจัดระบบ ลดผลกระทบ ‘ช้างป่า’ ดูแลสุขภาพ-สวัสดิการ ‘ช้างบ้าน’ สั่งระดม 14 หน่วยงานรัฐ-ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมอนุรักษ์ คุ้มครอง ‘ช้าง-ชุมชน’ ทั่วไทย

(4 ม.ค. 66) เวลา 10.00 น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการอนุรักษ์และจัดการช้าง ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ คำสั่ง นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และจัดการช้าง เพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์และจัดการช้าง เป็นระบบเหมาะสม และยั่งยืน โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง.นรม. เป็นประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วย 14 หน่วยงานภาครัฐ และ 1 สถาบันการศึกษา บูรณาการทำงานร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บท และรับทราบสถานการณ์ช้างป่าในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ราว 3,186-3,480 เชือก กระจายตัวทั่วประเทศ ในพื้นที่อนุรักษ์ทั้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ อุทยานแห่งชาติ รวม 69 แห่ง โดยมีพื้นที่ที่ยังคงประสบปัญหา อย่างน้อย 49 แห่ง ที่มีชุมชนและประชาชนได้รับผลกระทบจากช้างป่า ที่ออกไปหากินนอกพื้นที่อนุรักษ์ และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตร รวมถึงความรุนแรงต่อชีวิต ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างคนกับช้างป่า

เชียงใหม่-สวนสัตว์เชียงใหม่ จัดกิจกรรมวันช้างไทย ประจำปี 2566 

สวนสัตว์เชียงใหม่ จัดกิจกรรมวันช้างไทย ประจำปี 2566 ณ ส่วนจัดแสดงช้างเอเชีย “ช้างไชโย” สัญลักษณ์การจัดแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปี ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2541

13 มีนาคม วันช้างไทย สวนสัตว์เชียงใหม่ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของช้างไทย ช้างเป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน

นายวุฒิชัย ม่วงมัน ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ เผยว่า เนื่องในวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพื่อเป็นการยกย่องและให้เกียรติช้างที่มีความสำคัญต่อบ้านเมืองมาอย่างยาวนาน รวมทั้งเพื่อให้นักท่องเที่ยวร่วมกันอนุรักษ์และเห็นความสำคัญของช้างไทย สำหรับองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2552 ภายหลังจากที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดให้องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ดูแลและอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย  เนื่องจากช้างเป็นสัตว์สำคัญ คู่บ้าน คู่เมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ควรได้รับการคุ้มครองและปกป้องให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ได้น้อมนำมาปฏิบัติต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ มีช้างอยู่ในความดูแลร่วม 200 เชือก 

📌มูลนิธิช้างฯ ผนึกภาคเอกชน จัดงานเสวนา ‘ช้างป่า ช้างไทย เราอยู่ได้ร่วมกัน’

เมื่อวานนี้ (13 มี.ค. 67) ในโอกาสวันช้างไทย มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และเครือข่ายองค์กรประชาคมที่ทำงานเกี่ยวกับช้าง ได้จัดเวทีเสวนา เรื่อง ‘ช้างป่า ช้างไทย เราอยู่ได้ร่วมกัน’ โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ปรึกษามูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยมีดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ประธานมูลนิธิช้างไทย กล่าวเปิด ที่ลานกิจกรรมเวทีสาธารณะ อาคารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้สนใจชมคลิปการเสวนาเวทีย้อนหลัง สามารถชมได้ทาง: https://fb.watch/qMOymMshCA/

องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ลุยผสมเทียมช้างเลี้ยงครั้งแรกในโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์

การดำเนินงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการสืบพันธุ์และนำเทคนิคการผสมเทียมมาใช้ในช้างเลี้ยง ซึ่งนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าเริ่มประสบปัญหาเลือดชิดและอาจส่งผลถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของช้างเลี้ยงในประเทศไทยในอนาคต รวมทั้งแก้ไขปัญหาของช้างที่ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติอีกด้วย

โดยเริ่มจากการเก็บน้ำเชื้อช้างเลี้ยงเพศผู้ คือ พลายขนุนและพลายโจ้ เพื่อนำน้ำเชื้อมาแช่เย็น พร้อมตรวจประเมินคุณภาพ และนำมาผสมเทียมกับช้างเลี้ยงเพศเมีย คือ พังน้ำหวานและพังแสนหลวง ที่ได้มีการคำนวณวงรอบการตกไข่จากนักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์แล้วพบว่าพร้อมผสมเทียมในระหว่างวันที่ 22 - 25 เมษายน 2567 นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำเชื้อช้างแช่แข็งของพลายเปี๊ยก พลายมงคล จากธนาคารทางพันธุกรรมสัตว์ป่าขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยมาใช้ผสมเทียมด้วย

ทั้งนี้ นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้สัตวแพทย์และนักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว และโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องการสูญเสียทรัพยากรสัตว์ป่าที่สำคัญของไทยในระยะยาว ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ขององค์กร

การดำเนินงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องช้างจากศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ในการผสมเทียมจากบริษัท STORZ ประเทศไทย 

และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าของช้างภายในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ นายนิมิต อินทร์สำราญ นายเกือง อินทร์สำราญ นางแดง งามสง่า และนายชาญชัย สมเจตนา ซึ่งทางคณะทำงานต้องขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง

ร่วมเป็นกำลังใจและติดตามการดำเนินงานในระยะต่อไปได้ที่เพจ @สถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ Animal Conservation and Research Institute

ศูนย์บริบาลช้างแม่แตง แจ้งข่าวน้ำท่วมศูนย์หนัก ต้องการเรือ-กรงสัตว์ ขนย้ายสัตว์หนีน้ำขึ้นเขา

(4 ต.ค.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศูนย์บริบาลช้าง แม่แตง-เชียงใหม่ หรือ 'Elephant Nature Park' ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ของศูนย์ ว่า

สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เป็นครั้งที่หนักที่สุด ! 
น้ำป่าลงมาจากเขาเร็วมากเข้าท่วมพื้นที่ของศูนย์บริบาลเวลานี้ หนักกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา บางพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมก็ท่วมแล้ว ควาญช้างและอาสาสมัครของเราทำงานกันอย่างหนักในการขนย้ายทุก ๆ ชีวิตขึ้นพื้นที่ปลอดภัย

และล่าสุดเมื่อประมาณ 10.00 น. ทางศูนย์บริบาลช้าง แม่แตง-เชียงใหม่ ได้โพสต์ว่า 

ต้องการอาสาสมัครและกรงค่ะ เพราะต้องย้ายสัตว์ไปบนเขาด่วน เนื่องจากถนนถูกตัดทั้งสองทาง

ดังนั้นจึงขอความช่วยเหลือเรื่องเรือค่ะ เพราะอาสาจะเข้าพื้นที่ไม่ได้เลย ถนนบางจุดสองเมตรแล้วค่ะ ถนนที่ปางไม้แดงเป็นเส้นทางเดียวที่ยังจะไปได้ แต่ตอนนี้ดินสไลด์ถนนปิด 

ดิฉันได้ประสานงานท่านรองผู้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้ช่วยเหลือเปิดทาง เส้นทางที่จะไปได้คือสายบ้านช้างปางไม้แดง 

สิ่งที่เราต้องการที่สุดในเวลานี้คือ เรือ และกรงขนสัตว์เล็ก และผ้าเต้นท์กันฝน ค่ะ เพราะน้ำท่วมหมดต้องย้ายพวกเขาไปอยู่บนเขาเท่านั้น 

ถ้าท่านใดต้องการเข้าไปช่วยในพื้นที่ ติดต่อพนักงานที่ออฟฟิศตามเบอร์ข้างล่างนี้ เพราะในพื้นที่สัญญาณอ่อนมากค่ะ

คุณดาด้า 098-6566685
064-44688989
คุณยุ้ย 095-361515
คุณเปรี้ยว 095-3615156
คุณไพลิน 088-9172668
สำนักงานมูลนิธิ 053-272855
ขอความช่วยเหลือด่วนค่ะ

‘แหม่ม จินตหรา สุขพัฒน์’ นักแสดงสาวชื่อดัง โพสต์เดือด!! ฟาดใส่ ‘วอชด็อก’ ถามตรง!! จะยุแยงให้ได้อะไร ชอบปั่นหัวคน เหมือนพรรคบางพรรค

(12 ต.ค. 67) แหม่ม จินตหรา สุขพัฒน์ อดีตนักแสดงสาวชื่อดังของไทย โพสต์ข้อความเดือดในคอมเมนต์ ของวอชด็อก โดยมีใจความว่า ...

วอชด็อกทำตัวแย่มากนะ จะยุแยงให้ได้อะไร ทุกคนหวังดีกับช้างทั้งนั้น ไม่มีใครเขาจะไปทำอะไร ENP เลย 

มาโพสต์บิดเบือนแบบนี้ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดกัน คิดว่าทางนี้โดนรังแก เราเองชื่นชม ENP มาตลอด แต่เริ่มรำคาญไอ้โพสต์ของวอชด็อกเนี่ยละ เล่น Fake News ปั่นหัวคนเหมือนพรรคบางพรรคจริง ๆ

ย้อนเอกสารปี 45 พบ ‘แสงเดือน ชัยเลิศ’ นำทีมสารคดีเซ็ตฉากทารุณกรรมช้างไทย

(15 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีวิพากษ์วิจารณ์เรื่องปางช้างแม่แตง ระหว่างปางช้าง Elephant Nature Park (ENP) ของนาง แสงเดือน ชัยเลิศ กับบรรดาปางช้างต่าง ๆ ซึ่งบานปลายไปถึงการที่ กัญจนา ศิลปอาชา รวมถึงบรรดาสัตวแพทย์และทีมงานดูแลช้าง ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นางแสงเดือน และปางช้าง ENP 

ล่าสุดโซเชียลมีเดียได้มีการนำเอกสารปี 2546 มาเปิดเผย โดยเอกสารนั้นระบุถึงกรณีที่องค์กรคุ้มครองสัตว์ People for the Ethical Treatment of Animal (PETA) เข้าร้องเรียนต่อวุฒิสภาของไทย กรณีมีการทารุณลูกช้าง โดยได้แนบภาพวีดิทัศน์ แสดงให้เห็นถึงการทารุณกรรมช้าง โดยทางวุฒิสภาได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 25 พ.ย.2545 ถึงตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้สอบสวนข้อเท็จจริง

ซึ่งตำรวจภูธรเชียงใหม่ ส่งหนังสือตอบกลับที่ ชม.0020.3/1096 ลงวันที่ 6 ก.พ. 2546 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการทารุณลูกช้างตามข้อร้องเรียนขององค์กร People for the Ethical Treatment of Animal (PETA) ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

“ตามอ้างถึงหนังสือของวุฒิสภา ด่วนที่สุด ที่ 5470/2545 ลง 25 พฤศจิกายน 2545 เรื่อง ขอให้ดำเนิน การสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการทารุณลูกช้าง ตามข้อร้องเรียนขององค์กร People for the Ethical Treatment of Animal (PETA) ความละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น

ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และได้สั่งกำชับเจ้า หน้าที่ตำรวจ ที่เกี่ยวข้องติดตามกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมพานักท่องเที่ยวออกไปถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน และขอรายงานข้อเท็จจริง ตามประเด็นที่สั่งการ ดังต่อไปนี้

1. การกระทำทารุณข้างตามที่ปรากฏในภาพวีดิทัศน์ เป็นการแต่งเติมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการ กระทำที่โหดร้ายทารุณหรือไม่ ขอเรียนว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการร้องขอจากทีมงาน ของ นางแสงเดือน ชัยเลิศ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จำนวน 2 คนได้มาถ่ายทำวิดีโอเกี่ยวกับช้างโดยทีมงานฯ ได้ขอให้ นายแซ่แฮ คีรี ซึ่งเป็นผู้ทำพิธีผ่าจ้านลูกช้างให้ตีหัวช้าง แล้วทีมงานใช้น้ำยาสีม่วงทาที่หลัง และหัวช้างทำให้ดู คล้ายมีเลือดไหลแล้วถ่ายภาพเอาไว

ซึ่งในการทำพิธีผ่าจ้านนั้นมิได้มีการกระทำรุนแรงหรือทำร้ายช้างแต่อย่างใด เนื่องจากคนเลี้ยงช้างทุกคนมีความรักช้างเหมือนกับเป็นลูกหลานคนหนึ่ง การทำพิธีฯ จะเป็นการทำเพื่อฝึกสอนช้าง และมีการใช้ไม้ดีเบา ๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้เกิดบาดแผลหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บแต่อย่างใด 

จากการที่ได้สอบปากคำผู้ให้ถ้อยคำแล้ว แจ้งว่าภาพวีดิทัศน์เป็นภาพที่แสดงเกินความจริง และมิใช่เป็นพิธีกรรมที่ถูกต้อง ซึ่งเชื่อว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงอันไม่อาจคาดเดาได้ อย่างเช่น อาจจะต้องการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศไทย หรือเพื่อดึงเงินเข้ามูลนิธิ

2. ลูกช้างที่ปรากฏในภาพวีดิทัศน์ปัจจุบันมีการเลี้ยงดูอยู่ที่ บ้านห้วยบง ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในสภาพที่ดี มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ส่วนข้อบ่งชี้นั้นมี นายชนัตร เลาหะวัฒนะ ผู้อำนวย การองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นผู้เข้าไปตรวจสอบลูกช้างในกรณีดังกล่าว

3. กระบวนการนำลูกช้างไปกระทำทารุณตามที่ปรากฏ เป็นเพียงกลุ่มบุคคลที่พานักท่องเที่ยวไป ถ่ายทำวีดิโอเท่านั้น ส่วนวัตถุประสงค์ในการกระทำยังไม่ทราบแน่ชัด ว่ามีวัตถุประสงค์ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใด 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ พร้อมนี้ได้แนบเอกสารการสอบสวนที่เกี่ยวข้อง มาด้วยแล้ว จำนวน 13 แผ่น

ขอแสดงความนับถือ
พลตำรวจตรี เกษม รัตนสุนทร 
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่”

‘หนูนา ศิลปอาชา’ โพสต์เฟซ!! เป็นห่วง ‘พลายประกายแก้ว’ ชี้!! กฎหมายระบุชัด ช้างลากซุง ต้องมีอายุระหว่าง 25 - 50 ปี

(23 ต.ค. 67) นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา หรือ ‘หนูนา’ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเดินหน้าอนุรักษ์ช้างไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก โดยมีใจความว่า ...

ภารกิจต่อไปที่เราแม่ๆพ่อๆต้องส่งใจช่วยคือ…การพาน้องขุนเดชสู่คชบาลค่ะ…
เข้าใจว่าทาง ผอ. และคุณหมอคงวางแผนกันไว้แล้วถึงขั้นตอนและกำหนดการ…

และสำหรับแม่ๆที่ห่วงใยพลายประกายแก้ว..ช้างอายุ 16 ที่ถูกขาย..จากช้างงานแห่สุรินทร์..ไปเป็นช้างลากซุงที่ควนกาหลง สตูล …
ซึ่งผิดกฎหมาย…

ดิฉันบอกเสมอถึงบทบัญญัติกฎหมายว่าช้างที่จะถูกใช้ลากซุง ต้องอายุระหว่าง 25-50 ปีเท่านั้น..
ดิฉันตามตลอดนะคะ… 3 รอบแล้วที่ปศุสัตว์เข้าไปดูให้…

และเจ้าของให้คำมั่นว่า..ไม่ได้ใช้น้องลากซุงแล้ว.. ถ้าพบว่าใช้จะยินดีรับโทษตามกฎหมาย…
แต่ดิฉันก็ไม่ได้นอนใจ..ซึ่งทางปศุสัตว์จะช่วยดิฉันตามให้ตลอดค่ะ…

ไทยคว้าที่ 2 ประกวดแกะสลักหิมะ ‘ซัปโปโร’ จากผลงาน ‘ประเพณีสงกรานต์’ ผ่านความน่ารักของช้างแม่-ลูก

(7 ก.พ.68) ทีมนักแกะสลักหิมะตัวแทนประเทศไทย คว้าอันดับที่ 2 (รางวัลรองชนะเลิศ) ในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะ 'Sapporo International Snow Sculpture ครั้งที่ 49' ที่เมืองซัปโปโร เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น จากผลงาน 'The World Water Festival' ที่นำเสนอเรื่องราวของประเพณีสงกรานต์ผ่านการเล่นน้ำของช้างแม่-ลูก ขณะที่ทีมจากมองโกเลียคว้าแชมป์ไปครองอีกครั้ง

สำหรับทีมนักแกะสลักหิมะจากประเทศไทยประกอบด้วย กุศล บุญกอบส่งเสริม, อำนวยศักดิ์ ศรีสุข และ กฤษณะ วงศ์เทศ

โดยพวกเขาได้ร่วมกันนำความภาคภูมิใจของคนไทยไปประกาศให้ทั่วโลกได้รับรู้ผ่านผลงานแกะสลักที่มีชื่อว่า 'The World Water Festival' ถ่ายทอด 'ประเพณีสงกรานต์' ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเคารพผู้ใหญ่ ความรักในครอบครัว และการแบ่งปันความสุข โดยนำเสนอผ่านความน่ารักของ 'ช้างแม่-ลูก' สัตว์มงคลคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย รวมทั้งเป็นการเฉลิมฉลองที่ประเพณีสงกรานต์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยยูเนสโก

สำหรับผลงานอื่น ๆ 
อันดับ1 มองโกเลีย
อันดับ2 ไทย
อันดับ 3 ลิธัวเนีย
อันดับ 4 สิงคโปร์
อันดับ 5 อินโดนีเซีย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top