Saturday, 4 May 2024
ค่าเหยียบแผ่นดิน

รัฐบาลประกาศเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน เม.ย.นี้ ต่างชาติมาไทยเก็บ 300 บาท

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนเม.ย.นี้ รัฐบาลได้รับทราบการวางแผนเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยคนละ 300 บาท หรือเรียกกันว่าค่าเหยียบแผ่นดิน  เพื่อนำเงินที่ได้ไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ และทำประกันให้กับนักท่องเที่ยว กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือ ค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 5 แสนบาท โดยวางแผนเก็บรวมกับค่าตั๋วเครื่องบินกรณีเดินทางทางอากาศ และส่วนการเดินทางทางบก อยู่ระหว่างการพิจารณาวิธีการ 

ทั้งนี้ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้มีนโยบายเดินหน้าแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีนี้ ซึ่งเป็นปีท่องเที่ยวไทย โดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดโปรโมทการท่องเที่ยวไทยภายใต้แนวคิดอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ นิว แชปเตอร์ จุดขายใหม่ด้านการท่องเที่ยวของไทย ภายในเดือนมกราคม นี้ รวมถึงเดินหน้าจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสีขาว สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือบีซีจีโมเดล  ในภาคการท่องเที่ยว ที่จะช่วยให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและปลอดภัยขึ้น 

ดีเดย์เม.ย.นี้ เริ่มเก็บค่า ‘เหยียบแผ่นดิน’ ลุ้นนักท่องเที่ยวเข้าไทย 15 ล้านคน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนเม.ย.นี้ รัฐบาลได้รับทราบการวางแผนเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยคนละ 300 บาท หรือเรียกกันว่าค่าเหยียบแผ่นดิน เพื่อนำเงินที่ได้ไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ และทำประกันให้กับนักท่องเที่ยว กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือ ค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 5 แสนบาท โดยวางแผนเก็บรวมกับค่าตั๋วเครื่องบินกรณีเดินทางทางอากาศ และส่วนการเดินทางทางบก อยู่ระหว่างการพิจารณาวิธีการ 

'พิพัฒน์'ยันจำเป็นต้องเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจากต่างชาติ ใช้ซื้อประกันเยียวยานักท่องเที่ยวในไทย-พัฒนาการท่องเที่ยว ไม่เบียดบังเงินภาษีจากคนไทย

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า  จากกรณีที่ฝ่ายค้านได้กล่าวพาดพิงตนในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 ก.พ.ที่ผ่านมา ในเรื่องการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจากชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย คนละ 300 บาทนั้น  กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยืนยันว่าต้องเรียกเก็บอย่างแน่นอน แม้จะไม่ใช่เป็นสิ่งที่เริ่มจากทางกระทรวงฯในยุคของตน แต่เป็นมติที่ออกมาก่อนหน้านี้  

ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน เราจะนำไปซื้อประกันให้กับชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทย  ส่วนเงินที่เหลือ เรานำไปจัดเก็บเข้ากองทุนพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งมีปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นประธานกองทุน และมีผู้แทนจากอีก 10 หน่วยงานซึ่งรวมถึงกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  จึงขอยืนยันว่าเรามีการใช้จ่ายได้เงินที่ได้มาดังกล่าวอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะสามารถตรวจสอบได้ 

ผู้สื่อข่าวถามถึงที่มาของการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน  นายพิพัฒน์ กล่าวว่า  มาจากกรณีที่เกิดเหตุระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณเมื่อปี 2558 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้รับบาดเจ็บด้วย ขณะที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณมาให้สำหรับการเยียวยาชาวต่างชาติในส่วนนั้น  ต่อมาเกิดเหตุการณ์เรือล่มที่จ.ภูเก็ต ซึ่งเราได้รับงบประมาณจากส่วนกลาง ไปเพื่อทำการสนับสนุน  แต่เมื่อปี 2562 สำนักงบประมาณได้แจ้งมาทางกระทรวงฯ ว่าจะไม่จัดงบประมาณสำหรับการเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาให้ทางกระทรวงฯแล้ว ทำให้ทางกระทรวงฯ ต้องหาวิธีจัดเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเป็นกองทุนเพื่อการเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในไทย จึงมีการนำเสนอเรื่องการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน เข้าสู่ที่ประชุมครม.เมื่อปี 2562  

ยื่นหมูยื่นแมว ค่าเหยียบแผ่นดิน อุปสรรคการเดินทางจากไทยเมียนมา ลุ้น!! ปลดล็อกครั้งใหม่ 'ไทย-เมียนมา' หันกันสะดวกขึ้น

เราจะเห็นได้ว่าเมื่อไทยเปิดประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลไทยมีมติเลย คือ การเก็บค่าเหยียบแผ่นดินสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยจะเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศโดยสารทางเครื่องบิน คนละ 300 บาท ส่วนผู้ที่เดินทางแบบไปเช้า เย็นกลับ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม โดยคาดว่าจะเริ่มเก็บในช่วงต้นปี 2566 

เรื่องนี้สร้างความหวั่นให้กับผู้ประกอบการชาวไทยว่าต่างชาติจะไม่เข้ามาหรือเข้ามาน้อยลง แต่ความจริงแล้วเมื่อดูข้อมูลดี ๆ ในหลาย ๆ ประเทศมีการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินซึ่งจะตั้งชื่อในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ในญี่ปุ่นจะเรียกว่า Sayonara Tax ในบางประเทศเรียก Tourist Tax และบางประเทศเรียกชื่ออื่นๆ เช่น Bed Tax, Culture Tax, Departure Tax, Occupancy Tax เป็นต้น ซึ่งราคาก็แตกต่างกันออกไป

ในเมียนมา ณ วันนี้ก็มีค่าเหยียบแผ่นดินเช่นกัน แต่มาในรูปของประกันชีวิต โดยทางเมียนมาได้ระบุว่าชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางมายังเมียนมาทุกคนนอกจากจะมีผลฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มแล้ว จะต้องซื้อประกันชีวิตที่เป็น INBOUND TRAVEL ACCIDENT INSURANCE ซึ่งจะต้องซื้อเท่ากับจำนวนวันที่เราเข้ามาอยู่ในเมียนมา 

โดยขั้นต้นเริ่มที่ 15 วัน ราคาจะอยู่ที่ 50-100 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นกับช่วงอายุและราคาจะสูงขึ้นเมื่ออยู่ในเมียนมานานขึ้น ซึ่งนโยบายนี้เองสร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของเมียนมาอยู่ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะคนไทยกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้มีรายได้สูงมากนัก ก็จะไม่อยากจ่ายเงินก้อนนี้เพราะรู้สึกว่าเป็นการที่เอาเงินไปทิ้งเปล่าๆ แต่กระนั้นเองก็ทำให้เมียนมาได้กลุ่มนักท่องเที่ยวหรือคนเข้าประเทศที่มีทุนทรัพย์และสามารถจับจ่ายใช้สอยหากเข้ามาท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจในเมียนมาจริง ๆ

‘เวนิส’ เตรียมทดลองเก็บค่า ‘เหยียบแผ่นดิน’ หัวละ 5 ยูโร หวังคุมจำนวน นทท.ล้นเมือง กระทบผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น

(6 ก.ย. 66) ‘เวนิส’ เมืองท่องเที่ยวชื่อดังในประเทศอิตาลี ที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เตรียมจะทดลองเก็บค่าธรรมเนียมเข้าเมือง 5 ยูโร (หรือราว 190 บาท) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ค้างคืน โดยจะนำระบบนี้มาทดลองใช้ในปีหน้า ในความพยายามจัดการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว ที่ไหลบ่าเข้าสู่เมืองประวัติศาสตร์แห่งสายน้ำอันแสนโรแมนติกของยุโรปแห่งนี้ มากจนล้นเกินจนกระทบต่อผู้คนในท้องถิ่น

จากการเปิดเผยแผนการนี้ของสภาเมืองเวนิส เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ระบุว่า ค่าธรรมเนียมเข้าเมืองจะทดลองใช้เป็นเวลา 30 วันในปีหน้า โดยจะเน้นไปที่วันหยุดธนาคารช่วงฤดูใบไม้ผลิและสุดสัปดาห์ในฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่จำนวนนักท่องเที่ยวถึงจุดสูงสุด โดยจะเก็บค่าธรรมเนียมเข้าเมืองกับนักท่องเที่ยวที่มีอายุ 14 ปีขึ้นไป

“วัตถุประสงค์ก็เพื่อจะหาความสมดุลใหม่ระหว่างสิทธิของผู้อยู่อาศัย เรียนหนังสือ หรือ ผู้ทำงานอยู่ในเมืองเวนิส กับผู้ที่มาเที่ยวชมเมือง” ซิโมเน เวนทูรินี สมาชิกสภาการท่องเที่ยวเมืองเวนิส กล่าว และว่า นี่ไม่ใช่การสร้างรายได้ โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการแผนงานเมืองเท่านั้น โดยกำหนดเวลาทดลองตามแผนการนี้และจะดำเนินการอย่างไรนั้น จะได้รับการเห็นชอบหลังจากมีการอนุมัติแผนงานในขั้นสุดท้ายของสภาเมืองแล้ว ที่คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า

แผนเก็บค่าธรรมเนียมเข้าเมืองเวนิสนี้ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงครั้งแรกในปี 2019 นั้น ได้ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวหายไปและด้วยเหตุผลทางเทคนิคและในแง่ของกระบวนการขั้นตอน

อย่างไรก็ดี การหลั่งไหลกลับเข้ามาของนักท่องเที่ยวสู่เมืองเวนิส ซึ่งมีจำนวนมากกว่าผู้อยู่อาศัยในใจกลางเมืองเวนิสประมาณ 50,000 คน จนท่วมท้นตามตรอกแคบๆ ของเมือง โดยการมีนักท่องเที่ยวล้นเมือง เป็นปัญหาที่รุมเร้าเมืองเวนิสที่มีความเปราะบางมานานแล้ว

แผนการข้างต้น ยังนับเป็นการสนับสนุนความเคลื่อนไหวที่มีก่อนหน้านี้ในเดือนกรกรกฎาคม เมื่อผู้เชี่ยวชาญขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้เสนอแนะให้เพิ่ม เมืองเวนิส อยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย โดยอ้างว่าอิตาลีไม่ได้ดำเนินการมากเพียงพอที่จะปกป้องเมืองเวนิสจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการท่องเที่ยวที่มากล้นเกิน

‘เมืองเวนิส’ เตรียมเก็บค่าเข้าเมือง นทท. 5 ยูโร/คน เพื่อแก้ปัญหา นทท. ล้นเมือง กระทบชีวิตคนในท้องถิ่น

(19 ม.ค. 67) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า 'เวนิส' เมืองท่องเที่ยวอันดับต้นของอิตาลี เผชิญกับปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมือง โดยในแต่ละวันมีนั่งท่องเที่ยวมากกว่า 60,000 คนทำให้ถนนสายเล็กแออัดไปด้วยจำนวนของนักท่องเที่ยว 

โดยในเดือนเมษายนนี้ จะเริ่มเก็บเงินนักท่องเที่ยวเป็นค่าเข้าเมืองคนละ 5 ยูโร หรือประมาณ 190 บาท โดยจะเป็นการเดินทางเข้าเมือง 1 วันเท่านั้น จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาวของอิตาลี และจะเก็บค่าเข้าเมืองในช่วงวันหยุด และวันเสาร์อาทิตย์ จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม

การจ่ายค่าเข้าเมืองทั้งสามารถทำได้ทั้งออนไลน์ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้รับ QR Code เป็นหลักฐานการจ่ายค่าเข้าเมืองสำเร็จแล้ว โดยจะเข้าออกเมืองเวนิสได้ตั้งแต่ 08.30-16.00 น. เท่านั้น โดยทางเมืองได้คิดมาตรการไว้แล้วสำหรับผู้ที่คิดจะลักลอบเข้าเมืองโดยที่ไม่ลงทะเบียนจ่ายค่าเข้าเมืองนั้น หากเจอเจ้าหน้าที่ตำรวจสุ่มตรวจแล้วไม่พบ QR Code มาแสดงเป็นหลักฐานจะถูกปรับในวงเงินสูงสุดถึง 300 ยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 11,000 บาท

ซึ่งไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้นที่ต้องจ่ายค่าเข้าเมืองเวนิส คนอิตาลีเองก็ต้องจ่ายด้วยเช่นกัน ไม่มีข้อยกเว้นแม้เป็นพลเมืองของประเทศ ซึ่งก็จะมีผู้ที่ได้รับการยกเว้น ‘ไม่ต้องจ่ายค่าเข้าเมืองเวนิส’ ได้แก่ นักเรียน, คนที่ทำในในเมืองเมนิส, เจ้าของบ้านพักอาศัยในเวนิส เท่านั้น

โดยในช่วงแรกของการเริ่มเก็บค่าเข้าเมืองจะยังไม่จำกัดคนเข้าในแต่ละวันเพื่อที่จะประเมินว่าเมื่อทางเจ้าหน้าที่เก็บค่าเข้าเมืองจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากน้อยเพียงใด โดยปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมืองนั้นเกิดขึ้นในหลายเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม แม้ว่ารายได้จะเข้าสู่ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้าได้มากมาย แต่ก็นำพาความลำบากมาสู่ประชาชนพื้นถิ่น เพราะบ่อยครั้งที่พลเมืองไม่สามารถที่จะเดินทาง หรือ ขึ้นรถโดยสารสาธารณะได้เลยจากจำนวนของนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น อีกทั้งค่าครองชีพในเมืองสูงลิบมากขึ้นเพราะบ้านเมืองของคนท้องถิ่นจะถูกเปลี่ยนให้เป็นโรงแรม ร้านค้าสำหรับขายให้นักท่องเที่ยวอีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top