Tuesday, 7 May 2024
ครอบครัว

เมื่อ ‘รอยยิ้ม-น้ำตา’ จาก ‘คนในครอบครัว’ มีส่วนให้เลือก ‘รับ-ไม่รับ’ ใบปริญญาบัตร

ครั้งหนึ่งในชีวิต!! การเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร อาจจะเป็นอีกความสำคัญที่มอบความภาคภูมิใจ และความสำเร็จแก่ ‘บัณฑิตจบใหม่’ ที่ต่างเฝ้ารอ!! หากแต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เรื่องนี้อาจจะกลายเป็นเพียง ‘แค่ครั้งหนึ่งในชีวิต’ ของบัณฑิตจบใหม่บางคนในด้วยเช่นกัน 

ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะต้องยอมรับว่า เด็กยุคใหม่กำลังให้ความสำคัญต่อการเข้ารับปริญญาเมื่อจบการศึกษาน้อยลง หลังจากมีการรณรงค์ไม่เข้ารับปริญญาในหมู่นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลทางการเมืองก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ยังมีบัณฑิตจบใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะเลือกเข้ารับปริญญาด้วยความเต็มใจ โดยในพิธีเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร สำหรับบัณฑิตจบใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 และ 2563 ที่ผ่านมาในเดือนพฤษภาคม (2565) ได้มีการสอบถามบัณฑิตจบใหม่ถึงเหตุผลในการเข้ารับปริญญา ภายใต้คำตอบที่ฟังแล้วยังแอบชื่นใจแทนพ่อแม่ยุคนี้ได้บ้าง ว่า...

บัณฑิตจบใหม่ที่มาเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ส่วนหนึ่งยอมรับว่าที่เลือกมาเข้ารับเพราะ ‘ครอบครัว’ โดยพวกเขาถูกปลูกฝังจากคุณพ่อคุณแม่ว่า ‘ปริญญาบัตร’ คือ อีกความภาคภูมิใจที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของชีวิตอย่างหนึ่ง และการที่พ่อแม่พยายามทำงานหาเงินเพื่อส่งลูกหลานเข้าเรียนจนจบปริญญา ก็เพราะพวกเขาหวังที่จะให้เด็กๆ ได้มีโอกาสสัมผัสความภูมิใจที่สะท้อนความสำเร็จแบบเดียวกันกับยุคของพวกเขา 

ขณะเดียวกัน บัณฑิตจบใหม่ ก็เข้าใจดีว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มองว่าการเข้ารับปริญญา คือ อีกคุณค่าที่เติมเต็มพลังใจแก่พวกเขา เปรียบเหมือนกับการเลี้ยงดูลูกน้อยมาตั้งแต่วัยแรกเริ่ม สามารถเดินได้ เติบโตเป็นใหญ่ และวันนี้วันที่ปริญญาบัตรได้อยู่ในมือลูกหลาน ก็เหมือนกับเรือท่าที่ส่งพวกเขาได้ถึงฝั่ง

'ธัญวัจน์' ชี้!! การลงโทษลูกที่มีความหลากหลายทางเพศ  สะท้อน!! ความล้าหลัง วอน!! 'พูดคุย-เรียนรู้' ด้วยใจที่เปิดกว้าง

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนผู้มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวถึงกรณีที่มีลูกนักการเมืองท่านหนึ่ง หนีออกจากบ้านเนื่องจากถูกผู้เป็นพ่อลงโทษด้วยเหตุผลรสนิยมทางเพศ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่ล้าหลัง ไม่เพียงแต่เป็นการทำร้ายร่างกายลูก แต่เป็นการเหยียบย่ำตัวตนของลูกด้วย  

ธัญวัจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความหลากหลายทางเพศเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นครอบครัวทุกยุคทุกสมัย แม้ในปัจจุบันที่แม้สังคมจะยอมรับและก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่หลายครอบครัวยุคถือสร้างความกดดันและความรุนแรงกับผู้ที่มีความหลากหลายมาตลอด บางคนไม่สามารถแสดงตัวตนได้ที่บ้านเพราะกลัวพ่อแม่จะรับไม่ได้ พ่อแม่ผิดหวังเสียใจ การปลูกฝังแนวคิดแบบนี้จากในครอบครัวสู่สังคมคืออุปสรรคใหญ่ไม่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ ไม่เพียงแต่มิติความเท่าเทียมสากล แต่รวมถึงมิติทางกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติที่แสดงออกต่อกันของคนในสังคม

ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับทุกเทศกาล

ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและครอบครัว คือ คุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และมีแรงพลังก้าวหน้าต่อไป

ข่าวการป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายของแพทย์หนุ่มเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก สู้ดิวะ ในช่วงที่ผ่านมา ส่งแรงกระเพื่อมไปยังวงการสุขภาพ วงการสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตประชาชนในสังคมหลายมิติ ถ้าเป็นเราจะรับมือและเสริมสุขภาพอย่างไร

บางเรื่อง ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ยิ่งสำหรับเรื่องสุขภาพ ก็ทำแทนไม่ได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เราสามารถแบ่งปันข้อมูล เและส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้กันได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และตระหนักในการดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ในทุกๆ มิติ

• อายุยืนยาว + คุณภาพชีวิตดี = อยู่ได้นานอย่างมีความสุข
 “อายุขัย” ของมนุษย์เรา คือส่วนหนึ่งของดัชนีชี้วัดคุณภาพเกี่ยวกับสุขภาพประชากร เราอาจจะคุ้นเคยกันว่ามนุษย์เรานั้น มีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปี ซึ่งนั่นอาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าและโอกาสในการเข้าถึงการรักษา เมื่อมนุษย์เราเจ็บป่วย เรามีโอกาสที่จะรอดชีวิตมากขึ้น ต่างจากในสมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า และการเข้ารับการรักษาที่ไม่ทั่วถึง ทำให้ในปี 1930 มนุษย์ มีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 40 ปีเท่านั้น

จากข้อมูลของ Our world in data ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2000-2019 มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 70 ปี  และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาก็คือ หากเรามีอายุยืนยาวโดยที่ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ การมีอายุยืนยาวนั้น เป็นเรื่องดีจริงๆหรือ !?

อะไรทำให้ชีวิตมนุษย์เรายืนยาวขึ้นกันนะ - ในอดีต มนุษย์เรานั้นอายุไขเฉลี่ยต่ำถึง 30 ปี ในปี 1820 การที่มนุษย์เราอายุขัยต่ำนั้น เกิดได้จากสภาพแวดล้อม อาหาร การรักษาสุขภาพ และที่สำคัญคือการแพทย์ที่อาจจะยังไม่ค้นพบโรคและวิธีการรักษา หรือต่อให้ค้นพบ การเข้าถึงการรักษาก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรูปแบบเมืองที่กระจัดกระจาย การเดินทางมาโรงพยาบาล

เมื่อเทคโนโลยีในทุกๆ ด้าน ถูกพัฒนา ชีวิตคนหนึ่งคนสามารถยืนยาวขึ้นได้ ด้วยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รับประทานอาหารที่ดี รักษาสุขภาพ และที่สำคัญการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพอย่างทันท่วงที

สถิติน่าสนใจ อ้างอิงจาก กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยหนังสือ “สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563” หนึ่งในเนื้อหาสำคัญคือ “จำนวนและอัตราการตายต่อประชากร 1 แสนคน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2559-2563”  ซึ่งจำแนกออกเป็น 10 สาเหตุการตาย (Causes of Death)

สำหรับข้อมูลปี 2563 พบว่า 10 สาเหตุการตายของคนไทย ได้แก่ 1.มะเร็งทุกชนิด 2. โรคหลอดเลือดในสมอง 3. ปอดอักเสบ 4. โรคหัวใจขาดเลือด 5. อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก 6. เบาหวาน 7. โรคเกี่ยวกับตับ 8. โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง 9. วัณโรคทุกชนิด 10. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากไวรัส

ดูจากโรคที่ทำให้คนเสียชีวิต ห้าอันดับต้น โดยตัดเรื่องอุบัติออกนั้น เอามือทาบอกแล้วพินิจข้อมูล คุณจะพบว่าโรคร้ายอย่าง มะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด และเบาหวาน คือเหล่าโรคคุ้นเคยยังคงพรากชีวิตติดอันดับ

ฉะนั้นของขวัญที่ควรมอบให้ตัวเอง และคนรัก ได้ตั้งแต่นาทีนี้ ก็คือทำทุกทางให้ร่างกายให้แข็งแรง สุข สดชื่น และอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัยเพื่อใช้ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รวมถึงห่างไกลจากสิ่งบั่นทอนสุขภาพทั้งปวงได้เป็นดี

  

• นักวิทย์ฯ เสริมความเห็น “ชะลอการเสื่อมของร่างกายที่ต้นตอ” พร้อมหยุดความเสี่ยง เสื่อม ทรุดโทรม
“หากเราทราบต้นตอของความแก่ชรา และเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเสริมประสิทธิภาพตรงจุด แก้ที่ปมปัญหา เมื่อเซลล์เสื่อมลง ณ จุดหมวกของโครโมโซมคู่สำคัญ ซึ่งนวัตกรรมวัฒนชีวา จากการวิจัยของคณะ Operation BIM ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ จัดการกับตัวเองให้ไม่ เสี่ยง เสื่อม และทรุดโทรมได้โดยง่าย ทั้งจากความเป็นอยู่ การกิน และการทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เราต้องดูแลตนเองให้ดีในทุกๆ วัน เพราะว่าไม่มียาไหนในโลกที่จะหยุดลมหายใจหรือทำให้ใครเป็นอมตะ” ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัยฯ กล่าว 

•  ผบ.ด้านนวัตกรรมสุขภาพย้ำ “รู้แนวโน้มความเสี่ยงเฉพาะทาง ห่างไกลโรคร้ายอันดับต้น” 
“โดยส่วนมากคนเรามักรอแก้ไขปัญหา ตอนเกิดเรื่อง มองข้ามการป้องกัน และจัดการก่อนเกิดโรค จะดีกว่าไหม หากเราทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ ได้ก่อน แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ตรงจุด เพื่อเปลี่ยนผลลัพธ์ อย่างเช่น การตรวจสุขภาพประจำปี ทำความเข้าใจกับร่างกาย และอัปเดตเทรนด์สุขภาพอยู่เสมอ เพื่อนำมาฟื้นฟูร่างกาย ให้เหมือนๆ กับ การที่เราตามทันข่าวสารของโลก รู้เรื่องคนดังใน วงการบันเทิง ออกเดินทางท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ ตามความชอบ ร่างกายของเราก็เช่นกัน ต้องเข้าใจ ให้ความสำคัญสนใจ และอัปเดตเขาเสมอ กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ ส่วนหนึ่ง ออกกำลังกาย อีกส่วนหนึ่ง และยังต้องทำจิตใจให้แข็งแรง เติมวิตามินจำเป็นให้ทั้งกาย และใจ ห่างไกลโรคทั้งปวง” ปารมี สินธุเสก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปารมี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และผู้เผยแพร่สาระสุขภาพในเพจ PNA Wellness Innovation แสดงทรรศนะ
 

‘แทค ภรัณยู’ โพสต์ซึ้งถึงคุณพ่อ เนื่องในวันแม่ เผย “ขอบคุณที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในเวลาเดียวกัน”

(12 ส.ค. 66) พื้นฐานครอบครัวในสังคมไทย ในแต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกันออกไป มีหลายคนที่ทำหน้าที่ความเป็นพ่อและแม่ในคนคนเดียวกัน เช่นเดียวกับบ้านของหนุ่ม ‘แทค ภรัณยู’ ที่ล่าสุดได้มีการออกมาโพสต์ภาพคู่กับคุณพ่อ พร้อมระบุแคปชันสุดซึ้งเอาไว้ว่า…

“ขอบคุณ @somchai.2497 ที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในเวลาเดียวกัน ขอบคุณที่เลี้ยงมาดีบ้างไม่ดีบ้าง อดบ้างอิ่มบ้าง แต่เราก็มีความสุข ขอบคุณที่กอดคอกันมา #รักเสมอ #เป็นพ่อแม่ในเวลาเดียวกัน”

ท่ามกลางบรรดาชาวเน็ตและแฟนคลับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น และกดไลก์ให้กับความน่ารักของครอบครัวหนุ่นแทคกันแบบรัวๆ

‘แป้ง อรจิรา’ เปิดใจ ชีวิตครอบครัวหลังมีลูก ไม่ใช่เรื่องง่าย เผย ช่วงเป็นพ่อแม่มือใหม่ ทะเลาะกับสามีจนเกือบเลิกกัน!!

(27 ส.ค. 66) ผันตัวมาเป็นคุณแม่แบบเต็มเวลา สำหรับ นางเอกสาว ‘แป้ง อรจิรา’ ที่ช่วงนี้แฟนๆ จะได้เห็นหน้าก็เพียงในช่องยูทูบของตัวเองเท่านั้น หลังจากที่แต่งงานกับนักธุรกิจหนุ่ม ไลโอเนล ลี และมีลูกสาว ‘น้องเลอา’ โดยล่าสุดเจ้าตัวก็ได้มาอัปเดตชีวิตหลังมีลูกให้ได้ฟังแบบหมดเปลือกในรายการ Momster EP.85 ในชื่อตอนที่ว่า ‘ตอบหมดเปลือก! Q&A หลังมีลูก ของ ‘แป้ง อรจิรา’ ทะเลาะกับสามีจนเกือบเลิก?!!’ ที่แป้งบอกว่าเป็นการอัปเดตชีวิตหลังมีลูกมาแล้วเกือบ 2 ปีว่า…

“ตั้งแต่มีลูกความสัมพันธ์กับสามีคือช่วงแรกๆ ตีกันเยอะ ตอนที่เราเป็นแม่มือใหม่ ก็ตีกันเพราะเราเป็นคนนอยด์ เวลาจะทำอะไรก็กังวล เขาก็บ่นว่าเราไปทำให้เขาเป็นคนเครียดจากที่ไม่เคยเครียด ก็ตีกันในช่วงแรกๆ

คือครอบครัวมันก็เป็นอย่างนี้ พอเริ่มอยู่กันนานมากกว่าปีสองปี ตอนเป็นแฟนเราอาจจะคบหนึ่งมากสุด 3 ปี พอมาเป็นครอบครัวมันเป็นการปรับตัวระยะยาวไม่ใช่ระยะสั้น มันเลยมีช่วงที่ดีและช่วงที่ไม่ดี พอมีลูกก็ประคับประคองครอบครัวให้ไปในทิศทางที่มันควรจะเป็น ซึ่งไม่ง่ายเลย”

ทั้งนี้ เมื่อถามว่าตั้งแต่คบกันมาเคยจะเลิกกันบ้างมั้ย แป้งก็ลากเสียงยาวว่า “หูยย ตลอดเวลา” ทั้งยังเล่าต่อว่า “ตั้งแต่ก่อนมีลูก นิดนึงก็แบบ ก่อนท้องก็รู้สึกไม่ไหวแล้วนะ จะเลิกแล้ว พอท้องก็ไม่ไหว จะเลิกแล้ว ก็คือเป็นตลอด อาจจะเป็นข้อเสียของแป้งในอดีตที่เป็นคนไม่มีความอดทน พอมีอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็คิดว่าวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือเลิกกัน แต่จริงๆ มันไม่ใช่ มันต้องค่อยๆ พยายามคุยกันปรับกัน”

“ต่อให้มีลูกแล้ว บางทีเรารู้สึกไม่ไหว เราอยากเลิก เราก็พูดกับเขานะ รู้มั้ยว่าทำให้เราไม่อยากอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้ และใช้ชีวิตแบบนี้ เพื่อที่จะบอกว่าเราควรจะทำอะไรสักอย่าง พอเราพูดกันตรงๆ ก็จะมีการปรับจูนเข้าหากันมากขึ้น ไม่ใช่เอะอะก็จะเลิก และลูกถือเป็นกาวใจให้พ่อกับแม่ เพราะตัวเองรักตัวเองที่สุด ความสุขของตัวเองคือความสุขที่สุดในชีวิต แต่ตั้งแต่มีลูก ความสุขที่สุดของเรา คือลูก” แป้ง อรจิรา กล่าวทิ้งท้าย

หลีกการกระทำ 'กดขี่-แบะท่าทีความเป็นใหญ่' ของผู้นำครอบครัว ก่อนสร้างรั้วอันตราย ให้คนรอบข้างเข้าสู่กรอบแห่งความซึมเศร้า

(4 ต.ค.66) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'ฝายวารี ประภาสะวัต' ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กคนหนึ่งที่ตนเคยสอน ไว้ดังนี้...

เด็กคนหนึ่งที่ครูฝายเคยสอน มีคุณพ่อเป็น ผศ. อยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 

(บทความนี้ยาว แต่รับรองว่าควรค่าแก่การอ่านให้จบค่ะ)

น้องมักมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจอยู่เสมอ มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ครูฝายสอนอยู่ น้องลงไปนอนราบกับพื้น เตือนครั้งนึงก็ลุกขึ้นมา จนถึงคำถามที่ครูฝายถามเด็ก ๆ ทุกคนในกลุ่มนั้นด้วยความภูมิใจที่เด็ก ๆ ทำผลงานสำเร็จว่า "โอ้โหหห หนูทำได้ยังไง เล่าให้ครูฟังหน่อยสิคะ" เด็กคนนั้นตอบว่า...

ก็ ค ว ย ง่ะ

ครูฝายหันหน้าไปมอง แล้วถามต่อว่า หมายความว่ายังไงคะ

น้องบอกว่า ก็ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ไง 

ฝายเลยมองหน้า เพื่อให้เขารู้ว่าเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรทำอีก ยังไม่ทันจะเอ่ยปากสอนอะไร 

เด็กคนนั้น ลงไปนอนดิ้นกับพื้น โวยวาย อาละวาดและร้องไห้ ครูฝายงงมาก จนต้องให้ครูผู้ช่วยพาออกไปสงบสติข้างนอก

ครูผู้ช่วย เอาคลิปมาให้ครูฝายดูหลังเลิกคลาส พบว่า เด็กคนนั้นร้องไปพูดไป ประโยคที่เค้าบอกคือ...

"ครูฝายเห็นผมเป็นกิ้งกือ ไส้เดือน เป็นขยะที่อยู่ในถังขยะ"

วินาทีที่ได้ยินนั้นตกใจมาก เพราะสิ่งที่เค้าพูดมา ไม่ใช่สิ่งที่ครูฝายมอง แต่เป็นสิ่งที่เค้า ‘มองตัวเอง’

และนี่คือสัญญาณของเด็กที่ low self-esteem และอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายได้ เมื่อโตขึ้น

อะไรทำให้น้องคิดกับตัวเองได้แย่ขนาดนี้นะ!! 

ครูฝายหาข้อมูลต่อ เย็นวันนั้นเลยโทรถามคุณแม่ เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้คุณแม่ฟัง คุณแม่สะอื้นเล็กน้อย พร้อมเล่าว่า คุณพ่อ เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ดูถูกและกดทุกคนในบ้านว่าโง่ และไม่เก่ง น้องถูกว่าแทบทุกการกระทำ รวมถึงแม่ด้วย

ครูฝายจึงเข้าใจของเหตุการณ์ทั้งหมด อย่างที่เคยบอกไป คำพูดพ่อแม่ สร้าง ‘self concept’ หรือ ตัวตนของลูก

เคสนี้ น้องไม่ได้เรียนกับครูฝายต่อ เพราะคุณพ่อเป็นคนจ่ายค่าเรียนทั้งหมด เลยฝากคุณแม่ (ที่ก็ low self-esteem เช่นกัน) บอกรักน้อง กอด หอม บอกว่าแม่ภูมิใจในตัวเค้าแค่ไหน และเรื่องอะไรบ้าง❤️❤️

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวว่าพ่อมียศ ตำแหน่งอะไร ทำงานที่ไหน รวยหรือจน ไม่เกี่ยวอะไรเลย อย่างเดียวที่เกี่ยวคือ mindset ของพ่อ ที่มีต่อตัวเอง ต่อครอบครัว จนความคิดนั้นแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมและคำพูด แถมด้วยความเป็นใหญ่ของบ้าน พ่อจึงมีอิทธิพลมากกว่าแม่

คนที่ดูถูกคนอื่น คือคนที่รู้สึกว่าตัวเองต่ำ ไม่เก่ง ไม่มีดีอยู่ตลอดเวลา จึงต้องดูถูกผู้อื่น เพื่อให้ตัวเองสบายใจว่าตัวเองสูงขึ้นแล้ว

ดังนั้นหากเจอคนที่ดูถูกเรา ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร พี่น้อง สามีภรรยา หรือเพื่อนก็แล้วแต่ ขอให้เมตตาและสงสาร ช่วยเหลือเขาให้พ้นจากความทุกข์นั้น หากช่วยไม่ได้ ออกมาให้ไกล เพราะผลที่ตามมาเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะรุนแรงแค่ไหน

แค่ลูกฆ่าตัวตาย หรือจะลามไปถึงฆ่าคนอื่น...เราไม่มีทางรู้เลย

ปล. มีการปรับเนื้อหาตัวละครเล็กน้อย เพื่อความเป็นส่วนตัวนะคะ แต่สาระสำคัญเป็นไปตามเหตุการณ์จริงค่ะ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top