Thursday, 25 April 2024
คนพิการ

“ลุงป้อม” ห่วง! กลุ่มเปราะบาง - คนพิการ สั่งแรงงานร่วมมือเอกชน จ้างงานคนพิการทั่วประเทศ

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ระหว่าง กรมการจัดหางาน และสถานประกอบการชั้นนำ 7 แห่ง โดยมีนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงานร่วมงาน และมีนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนมีความห่วงใยประชาชนในกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะคนพิการ ที่ต้องการทำงาน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่ยังขาดโอกาส จึงมอบหมายนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการโครงการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างโอกาส ให้คนพิการในประเทศไทยสามารถเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ระหว่าง 12 กระทรวง 1 หน่วยงาน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นสักขีพยานในการลงนามดังกล่าวว่า กระทรวงแรงงานขานรับนโยบายรัฐบาล และเร่งดำเนินการสนับสนุนการจ้างงานเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และการสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำตามศักยภาพ และความต้องการทำงาน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ

สำหรับการจัดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ระหว่างกรมการจัดหางาน และสถานประกอบการชั้นนำ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ กลุ่มบริษัท อเด็คโก้ ประเทศไทย บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท รักษาความปลอดภัยการ์ดฟอร์ซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มบริษัทชัยรัชการ และบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) ที่ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ โดยจ้างงานคนพิการ จำนวน 329 อัตรา

“พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จ้างคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100 : 1 หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 ในอัตรา 114,245  บาทต่อปี ตามจำนวนคนพิการที่ไม่ได้จ้าง โดยที่ผ่านมามีการนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ปีละกว่า 800 ล้านบาท ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกต่อนายจ้าง/สถานประกอบการที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย แต่คนพิการจะไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง จึงได้มอบหมายกรมการจัดหางานโน้มน้าวสถานประกอบการเพื่อเปลี่ยนมาจ้างงานคนพิการเชิงสังคม โดยใช้สิทธิตามมาตรา 35 ประเภทจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการ เงินก้อนเดิมที่ถูกนำส่งกองทุนฯ จะเปลี่ยนไปสร้างโอกาสให้คนพิการมีงานทำใกล้บ้าน คนพิการมีรายได้จากบริษัทโดยตรง ซึ่งจากความร่วมมือของสถานประกอบการภาคเอกชนทั่วประเทศ ยืนยันการจับคู่ (Matching) พร้อมทำงานแล้ว 568 อัตรา จากเป้าหมาย 1,000 อัตรา แบ่งเป็น จากสถานประกอบการทั้ง 7 แห่งที่ร่วมทำ MoU จำนวน 329 อัตรา และสถานประกอบการเอกชนอื่นๆทั่วประเทศที่ให้ตำแหน่งรวม 239 อัตรา ทั้งหมดจะทำสัญญาจ้าง ภายใน 31 ธันวาคม 2564 และเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 มกราคม 2565 วิธีนี้คนพิการจะมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ สามารถรับประโยชน์ได้โดยตรง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีข้อสั่งการให้กรมการจัดหางาน ประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้สถานประกอบการเลือกใช้วิธีการจ้างเหมาบริการคนพิการปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐในจังหวัดที่คนพิการอาศัยอยู่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ ศูนย์บริการคนพิการของท้องถิ่น เทศบาล 

 

พิธีประทานรางวัล "เทพมเหศักดิ์" ประจำปี ๒๕๖๔ แด่ ผู้สนับสนุนส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ 

ณ เรือนไทยเพชรไพลิน มหาวิทยาลัยธนบุรี แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ เวลา 10.30 น. หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ (พระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔) องค์ประธานอุปถัมภ์รางวัล "เทพมเหศักดิ์" เสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธีประทานรางวัล ประกาศเกียรติคุณผู้สนับสนุนส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ รางวัล "เทพมเหศักดิ์ " ประจำปี ๒๕๖๔ แด่ ผู้สนับสนุนส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ  ทรงกรุณาประทานรางวัลให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนพิการ

 โดย "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย ประธานจัดงานฯ ขอประทานอนุญาตกราบทูลถวายรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ จัดงานในครั้งนี้

ซึ่งจัดขึ้นจาก "ไตรภาคี" คือ  สมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย / สมาคมคนพิการภาคตะวันออก / สมาคมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการไทย  ซึ่งมี ภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการ และประชาชน ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 80 รางวัล  อาทิ เช่น อธืบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ / อธิบดีกรมจัดหางาน / จัดหางานจังสมุทรปราการ / จัดหางานจังหวัดชลบุรี / บิณฑ์-เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ / เค เยาวราช / ดร.บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี / นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย / นายศุพชีพ ดิษเทศ นายกสมาคมคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย / นายชูเกียรติ สิงห์สูง นายกสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย /  นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล บริษัท โอวาท โปรแอนด์ควิก จำกัด / มูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล  / มูลนิธิเมาไม่ขับ / มูลนิธิใจงาม / บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) / บริษัท เทเวศ ประกันภัยจำกัด (มหาชน) / บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทยจำกัด (มหาชน) / บริษัท เอสซีจีเซรามิกซ์ จำกัด (มหาชน) / บริษัท ยูโรเซีย 2003 (ประเทศไทย) จำกัด / บริษัท กันยงอีเลคทริก จำกัด (มหาชน) / บริษัทเซ็นทรัลมอเตอร์วีล (ประเทศไทย) จำกัด / โรงเรียนสอนวิชาชีพและบริการปิยะแสงปัญญา (ชุมพร) / บริษัท อินดัสเตรียลวอเตอร์ รีซอร์ตเมแนจเม้นท์ จำกัด / บริษัท ปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด / บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และอีกมากมาย

นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย ส่งกำลังใจให้ "คริสโตเฟอร์" คนพิการ ผู้ทำความดี สู้ชีวิต!!

ณ อาคาร ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการเอเชียและแปซิฟิก (APCD) แขวงราชวิถี เขตทุ่งพญาไท กทม. ภายในพื้นที่บ้านราชวิถี "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย ได้ไปกับ "คริส เบญจกุล" หรือ "คริสโตเฟอร์" อดีต นักแสดงหนุ่มที่ประสบอุบัติเหตุจากการช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังประสบอุบัติเหตุ จนตนเองต้องบาดเจ็บสาหัสกลายเป็น "คนร่างพิการไม่สมบูรณ์" เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ "คริสโตฟอร์" ก็ไม่เคยย่อท้อต่อชะตาชีวิตของตนเอง ลุกขึ้นต่อสู้กับการใช้ชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ถึงแม้จะมีร่างกายพิการ แต่ก็ยังไม่ทิ้งการทำความดีได้ทำงานเชิงสังคมรณรงค์ความตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยบนท้องถนน และยังได้ฝฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ และเป็นกำลังใจ แบบอย่างการสู้ชีวิต ให้กับน้อง ๆ "เด็กพิการ" ที่เข้ามาฝึกอบรมการทำเบเกอรี่ ที่ "60 Plus By Yamazaki" ณ APCD แห่งนี้

โดย "นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย" ได้สอบถามถึงการสร้างอาชีพเสริม คือทำ "น้ำส้ม" ขายที่มีพี่น้องประชาชนพอทราบข่าวก็มาร่วมให้กำลังใจ และให้การสนับสนุนซื้อน้ำส้มของคุณ "คริสโตเฟอร์" เป็นจำนวนมาก สืบเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงแรกและมีหนี้สินจากการลงทุนประกอบอาชีพ จึงได้ตัดสินใจเอาเงินก้อนสุดท้ายไปลงทุน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ 

เลยตัดสินใจไปนั่งขายตรงฟุตบาทแถว "สวนหลวง ร.9" พอพี่ ๆ เทศกิจมา ผมกับแฟนก็ช่วยกันยกหนี ผมก็จะนั่งและตะโกนนำส้นสด ๆใหม่ 100% ครับไม่มีน้ำเชื่อมไม่มีสารกันเสียครับ 7 ขวด 100 บาท แต่ก็ดีที่พี่เทศกิจห้ามขายขอบคุณครับ (ผมตะโกนดัง ๆ) แล้วก็ขนของขึ้นรถแล้วก็ขับหนีไปซ่อนสักพักหนึ่ง ครึ่งชั่วโมงผ่านไป ก็ขับรถมาดูแล้วขายต่อ บางคนอาจจะมองว่าเป็นอุปสรรคก็แล้วแต่ใครจะมองแต่สำหรับผมมองโลกในแง่ดีเป็นเรื่องสนุกดีสร้างเสียงหัวเราะให้ชีวิตตนเองได้ครับ 

สำหรับตอนนี้ผมไปขายที่ "ตลาดอยู่สอาด" ซอยศรีนครินทร์ 53 เลยซีคอน / ตลาดรถไฟ หรือท่านใดสนใจที่จะให้การสนับสนุนสามารถติดต่อออนไลน์ทาง facebook "happy and Healthy" และเบอร์โทรศัพท์ 062 232 9456 ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

‘พรรคประชากรไทย’ ชูธง!! แก้ไขปัญหาปากท้องชาวบ้าน วาระเร่งด่วนอัดฉีดเงินเดือน 6,000 บาท แก่ผู้ป่วยติดเตียง - คนพิการ ลั่น! พร้อมเต็มที่จะเป็นฝ่ายบริหาร ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความสุขของประชากรไทยทั่วประเทศ

ที่วัดกลางเชียงยืน ต.เชียงยืน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม พรรคประชากรไทย จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 โดยมี ดร.คณิศร สมมะลวน หัวหน้าพรรคประชากรไทย พร้อมด้วยกรรมการกองทุนเพื่อพัฒนาการเมือง สมาชิกพรรค และประชาชน ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำ จ.มหาสารคาม ร่วมสังเกตการณ์ และทุกคนที่เข้าร่วมประชุม ปฏิบัติตนภายใต้มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ดร.คณิศร สมมะลวน หัวหน้าพรรคประชากรไทย กล่าวว่าการประชุมพรรคประชากรไทยครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 ที่เพิ่งจะมีโอกาสจัดขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ยังเป็นการประชุมเพื่อให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกพรรคประชากรไทย และประชาชนทั่วไป เพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยอีกด้วย โดยเฉพาะยังเป็นการประชุมครั้งสำคัญ เพื่อทำการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แทนชุดเดิมที่หมดวาระ

หลังจากให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกพรรคประชากรไทยและประชาชนแล้ว ในที่ประชุมได้มีการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยผลการเลือกตั้ง ดร.คณิศร สมมะลวน อดีตหัวหน้าพรรคคนล่าสุดและรักษาการหัวหน้าพรรคมาก่อนหน้าที่จะมีการประชุม ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกสมัย โดยรองหัวหน้าพรรค 6 คน ประกอบด้วย ดร.พิทักษ์ สันติวงค์สกุล, นายอภิพัฒน์, พิทยานรเศรษฐี, นายกิจการ ศรีพระพร, นายสมัย  เปลี่ยนเดชา, นายทองพูล สุขเมือง และ ดร.ธนารัชต์  สมคเณ, เลขาธิการพรรค ดร.เรืองชัย กลางขุนทด, รองเลขาธิการ 2 คน ดร.ปถมัง อมาตยกุล และนางสาวไอยวรินทร์  ไชยจิรยาญาณ, เหรัญญิก นางนันทวัน  เขียวงามดี, นายทะเบียน นางปรีชา สง่าศิลป์, โฆษกพรรค ร.ศ.ดร.ภคพล จักรพันธ์ อนุฤทธิ์, กรรมการพรรค 2 คน  นายจรัล  อำภัย และ นาย ณ.เณร จันทร์เปล่ง

ดร.คณิศร กล่าวเพิ่มเติมว่า พรรคประชากรไทย ตระหนักในความเดือดร้อน ความเป็นอยู่ และสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะสภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จากผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้น ทางพรรคประชากรไทย จึงได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจน ในการที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาทุกด้าน ซึ่งหากได้เข้ามาบริหารประเทศ นโยบายสำคัญที่พรรคประชากรไทยจะดำเนินการคือเพิ่มเบี้ยสวัสดิการผู้สูงอายุ เดือนละ 3,000 บาท ผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ เดือนละ 6,000 บาท ขณะที่ด้านการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และอื่นๆ มีนโยบายจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเกษตร หรือด้านสิ่งแวดล้อม มีนโยบายพลังงานสะอาด ด้านสังคม แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง รวมทั้งนโยบายแก้ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น ซึ่งวันนี้ พรรคประชากรไทยมีความพร้อมที่จะนำนโยบายที่ดี มีประโยชน์ต่อประชาชนทุกด้าน จึงพร้อมที่จะแก้ไขปัญหา และพร้อมที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อความสุขของประชากรไทยทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม พรรคประชากรไทย (ปชท.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2522 โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค โดยผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522  พรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32  ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด

 

"สกลธี" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เร่งผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงาน "คนพิการ" อย่างบูรณาการ

ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร "นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดใจกับรายการเปิดฟ้า ช่วง "คนละไม้คนละมือ" ทาง ททบ.5 พูดคุยกับ นายชัยพร ภูผารัตน์ ผู้อำนวยการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย / นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย และผู้ดำเนินรายการ เกี่ยวกับนโยบายและวิสัยทัศน์การสนับสนุนส่งเสริมให้ "คนพิการ" มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ เพื่อเลี้ยงดูแลตนเองและครอบครัว ด้วยความภาคภูมิใจ ซึ่ง"นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการผลักดันให้คนพิการมีงานทำ สืบเนื่องจากได้มีการ พูดคุยหารือ กับ "อาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์ " ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย และตำแหน่ง นายกสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้เข้าถึงโอกาสการจ้างงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ในส่วนเกี่ยวข้อง การจ้างงานคนพิการมาตรา 33 / 34 และ 35 อีกครั้ง ยังเล็งเห็นศักยภาพของคนพิการทุกประเภท มีความสามารถทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ ได้ดีเช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ในการให้โอกาส การมีงานทำ สำหรับคนพิการบนความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

อีกทั้ง ยังมีนโยบายในการเตรียมความพร้อมสำหรับคนพิการ เพื่อการพัฒนาและฝึกฝนทักษะสายงานอาชีพต่างๆ ให้เป็นไปในความต้องการของหน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน ที่อยากจะได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานนั้นๆ 

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆแล้ว "กรุงเทพมหานคร" ยังมอบหมาย ให้หน่วยงานต่างๆอาทิเช่น สำนักงานเขต ของกรุงเทพฯ เริ่มต้นจากการจ้างงานคนพิการ 1 คน เพิ่มเป็น 2 คน ก็จะทำให้มีคนพิการ มีงานทำมากกว่า 100 อัตรา และอนาคตอันใกล้นี้ยังจะให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯที่มีมากกว่า 300 แห่ง เปิดรับสมัครคนพิการเข้าทำงานด้วยเช่นกัน ก็จะเป็นการเพิ่มอัตราแรงงานคนพิการ มีอาชีพ มีรายอีก และเป็นการลดภาระแบ่งเบาค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี

ท้ายนี้ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมการเตรียมความพร้อม ในด้านสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก "Universal Design" เพื่อคนทั้งมวล ที่ "สำนักงานเขตราชเทวี" กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก  "ดร.นราทิพย์ ผินประดับ" ผู้อำนวยการสำนักงานเขตราชเทวี และผู้บริหารฝ่ายต่างๆ พาสำรวจอาคารสำหรับต้อนรับคนพิการมาทำงานได้อย่างสะดวก

 

‘พม.’ จับมือ ‘สสส.’ แถลงข่าวเปิดตัวแพลตฟอร์ม “Line Chatbot” พร้อมชวนประชาชน - นักศึกษา ร่วมชิงเงินรางวัล สถานที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพฯ นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานงานแถลงข่าวเปิดโครงการ “แพลตฟอร์มการขึ้นทะเบียนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ” เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุในสังคมไทย ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย ภายใต้แนวคิด “เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว” โดยมีผู้บริหารกระทรวง พม. พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ

 

2 กระทรวง ผนึกกำลัง!! สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ จากอุบัติเหตุทางถนน เป็นของขวัญปีใหม่ 2565

ณ ห้องประชุมอาคารสโมสร กระทรวงคมนาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วมกันในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ อันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนระหว่าง กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์

โดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

นายอนุทิน กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างสังคมแห่งโอกาส ที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน “ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยเฉพาะการดูแลคนพิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และได้รับการพัฒนาศักยภาพไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมียุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

โดยการสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย ทุกเพศภาวะและทุกกลุ่ม สร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและการมีส่วนร่วมเป็นพลังในสังคมสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงวัย พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ

โดยในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในโอกาสนี้จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือแก่ผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพได้ใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไป

 

รองผู้ว่ากทม. ผนึกกำลัง! กรมพก. เยี่ยมคนพิการ - ผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มเปราะบาง

"นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย "นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ" อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และนายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ ลงพื้นที่ให้กำลังใจ และแนะนำสิทธิประโยชน์ของ "คนพิการ" พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่คนพิการติดเตียง และกลุ่มเปราะบาง จำนวน 46 รายในพื้นที่เคหะชุมชนทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่

อีกทั้ง ยังได้ให้คำแนะนำ คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิ และสวัสดิการทางกฎหมายของ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ 2550 เพื่อเป็นเครื่องมือกลไกในการช่วยเหลือและขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของคนพิการที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 

 

สตูล - ศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษประจำจังหวัดสตูล จัดโครงการ “วันเด็กพิการจังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564” ส่งมอบของขวัญให้เด็กพิการในจังหวัดสตูล

วันนี้ 14 ม.ค.2565 นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิดโครงการวันเด็กพิการจังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 ส่งมอบของขวัญให้เด็กพิการในจังหวัดสตูล โดยมีนาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลสมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสตูล และสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล มีเด็กพิการ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิการเข้าร่วมกิจกรรม โดยดำเนินการตามมามาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ณ อาคารศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษประจำจังหวัดสตูล ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า เราทุกคนคงตระหนักถึงความสำคัญของเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ว่าเขาเหล่านั้น เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง ซึ่งต้องได้รับการพัฒนา ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และเชื่อว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในวันนี้ จะทำให้เด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้รับความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่ บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคมที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ และขอให้เด็กทุกคนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหมั่นฝึกฝนตนเอง ตลอดจนปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้เกิดทักษะและมีประสบการณ์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและเพื่อความเจริญมั่นคงของชาติไทย และในโอกาสนี้ ได้มอบเกียรติบัตรแก่คุณครูผู้สอนเด็ก ๆ ในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล เพื่อเป็นกำลังใจให้ครูได้สอนเด็ก ๆ ต่อไป

นางสาวพนารัตน์ มาลีลัย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล กล่าวว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล ได้กำหนดจัดกิจกรรมงานวันเด็กพิการจังหวัดสตูล ประจำปี 2564 แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทางศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล จึงกำหนดจัดกิจกรรมวันเด็กพิการแห่งชาติที่ศูนย์เด็กพิการประจำอำเภอทั้ง 7 อำเภอ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กพิการในการพัฒนาศักยภาพ และมีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ในสังคม และเปิดโอกาสให้เด็กพิการและครอบครัวได้รับโอกาสทางสังคม

 

"สกลธี" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่! ช่วย "กลุ่มเปราะบาง" อย่างเร่งด่วน!!

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. "นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชุมชนวัดมะกอกกลางสวน แขวงพญาไท เขตพญาไท เนื่องด้วยในสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะต้องประกอบอาชีพหารายได้จึงไม่มีเวลาดูและสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะประชาชน "กลุ่มเปราะบาง" ในสังคมไทยคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างทางสังคมยังคงมีให้เห็น เพราะประชาชน "กลุ่มเปราะบาง" เหล่านี้มีความลำบากมากกว่าบุคคลอื่น ๆ เช่น คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรือครอบครัวยากจนที่มีความยากลำบากที่จะมีรายได้มาดูแลตนเองและครอบครัวในช่วงวิกฤตโรคระบาดนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว "นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย สำนักงานเขตพญาไท กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพขีวิตคนพิการ และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน บูรณาการความร่วมมือลงพื้นที่เชิงลึกเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เพื่อลดช่องว่างสิทธิด้านต่าง ๆ ของประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างบูรณาการ

โดยมอบ "ถุงยังชีพ" เพื่อเป็นการบรรเทาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน รวมถึงการสอบถามปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการอื่น ๆ ของคนในชุมชน อาทิเช่น การรักษาพยาบาล การรับบริการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 และให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับสิทธิด้านต่าง ๆ ของคนพิการและผู้ป่วยติดเตียงให้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top