Sunday, 5 May 2024
คนพิการ

"ไทย สมาย บัส" รถพลังงานไฟฟ้า 100 % ทดสอบการใช้งานให้บริการ "คนพิการ"

"นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา" ประธานกรรมการ "บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด" หรือ TSB ผู้นำระบบแพลตฟอร์มการให้บริการรถเมล์พลังงานไฟฟ้าภายใต้ชื่อ ไทย สมายล์ บัส เชิญผู้นำคนพิการ อาทิเช่น นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย / นายชัยพร ภูผารัตน์ ผู้อำนวยการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย / นางสาวภัสวรินทร์ กิตติโชคกุลพัทธ์ นายกสมาคมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการไทย ทดสอบระบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ "คนพิการ" และ "ผู้สูงอายุ" ที่ใช้รถวีลแชร์ ให้สามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวกและไม่เป็นอุปสรรค

โดยจัดทำอุปกรณ์เชื่อมต่อทางระหว่างฟุตบาท และตัวรถ (ทางลาดชัน) และถือเป็นผู้บริการขนส่งสาธารณะรายแรกของประเทศไทยที่ตัวรถสามารถปรับระดับสูง ต่ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้รถวีลแชร์ขึ้นได้ และมีความกว้าง ความสูงพอดีสำหรับผู้โดยสาร ทุกคนก้าวขาขึ้นรถเมล์ได้โดยง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องขั้นบันได

นอกจากนี้ ยังเอื้อประโยชน์ต่อคนพิการทุกประเภท คนพิการทางสายตาก็ไม่ต้องกังวลกับการสะดุดขั้นบันได แถมยังสามารถขึ้นได้เร็วกว่าเดิมคนพิการที่ต้องใช้ไม้เท้าหรือรถวีลแชร์สามารถเข็น ปั่น ทางเชื่อมขึ้นรถเมล์ได้อย่างสะดวก และสามารถทำได้เองหรือให้ผู้อื่นช่วยเพียงเล็กน้อย ภายในตัวรถยังมีเนื้อที่รองรับรถวีลแชร์ไม่ไห้ขัดขวางทางเดินผู้โดยสารทั่วไป 

ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก "นายชัยรัตน์ แสงจันทร์" ผู้บริหารระดับสูงของ ไทย สมาย บัส เป็นนำพาผู้นำคนพิการทดลองการใช้งานเสมือนจริงรถพลังงานไฟฟ้าในครั้งนี้ด้วย

 

"แรมรุ้ง" รองปลัดกระทรวง พม. เปิดใจรับฟังผู้นำคนพิการ และกรมสุขภาพจิต

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 "นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ" รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้โอกาส "อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์" ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยนำคณะ "กรมสุขภาพจิต" โดย ”หมอจ๋า” คุณมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา และทีมผู้บริหารที่ดูแลงานด้านสุขภาพจิต เข้าพบเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดวางแนวทางการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน ทั้งระบบสังคม / ระบบสุขภาพจิต / ระบบเครือข่ายคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และชุมชนเครือข่ายสถาบันและโรงพยาบาลที่จัดบริการด้านสุขภาพจิต 20 แห่ง พร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกันแนวคิดสำคัญ คือ การร่วมมือทำงานภายใต้กฎหมายสุขภาพจิต กฎหมายคนพิการ เพื่อขับเคลื่อนแผนงาน Long Term Care สำหรับกลุ่มเปราะบาง 

โดยในส่วนคนพิการ อาจจัดทำชุด #Mental Health and Psycho-Social Support Package ทั้งระบบ และการเตรียมความพร้อมบุคลากรในเครือข่ายที่จัดบริการกลุ่มเปราะบางให้สามารถจัดบริการตามมาตรฐาน การรวมพลังทีมสหวิชาชีพ การประสานส่งต่อ เชื่อมต่อ(Transition) การทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน ตามแนวCommunity Base โดยอาจสนับสนุนให้มี Comunity Service Center สำหรับกลุ่มออทิสติก พัฒนาการและจิตเวชในชุมชน โดยสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญมาเสริมหนุน และพัฒนาให้เป็น “ศูนย์บริการคนพิการเฉพาะทางด้านPsycho-Social รวมทั้งการสานต่อการทำงานระหว่าง กองทุนหลักประกันสุขภาพ / กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพขีวิตคนพิการ และกองทุนท้องถิ่น

ทั้งนี้ อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ได้นำเสนอแนวคิดในการนำ มาตรา 20 วรรค 3 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ 2550 มาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเพื่อสนับสนุน การจัดศูนย์บริการคนพิการเฉพาะทาง โดยจัดทำระเบียบการสนับสนุนคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล ให้ได้รับสิทธิด้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู รวมถึงระเบียบการอุดหนุนสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการ เพื่อรองรับระบบซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และพร้อมเชื่อมองค์กรและภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง และคนพิการที่สนใจร่วมดำเนิน

"สกลธี" รองผู้ว่ากรุงเทพฯพร้อมภาคีเครือข่ายเปิดโครงการจ้างงานคนพิการ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 2 มีนาคม 2565 ณ.หอประชุมมูลนิธิออทิสติกไทย เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ "สนับสนุนการจ้างงาน สร้างอาชีพสำหรับคนพิการ" พบช่วยคนพิการมีงานทำกว่า 7,000 คน สร้างอาชีพกว่า 20,000 งาน ลดบริษัทส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อคุณภาพชีวิตดีอย่างยั่งยืน 

โดยภาคีเครือข่ายประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนให้คนพิการมีงานทำ สร้างอาชีพ และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี  

"นายสกลธี  ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงทพมหานคร กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการจ้างงาน สร้างอาชีพสำหรับคนพิการ กรุงเทพมหานคร ที่มีเจตนารมณ์สนับสนุน ให้คนพิการมีอาชีพและมีงานทำ ที่ผ่านมาได้ผลักดันหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครให้เร่งรับคนพิการเข้าทำงานโดยตลอด ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี 2565 สำนักพัฒนาสังคมจะต้องดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อรองรับการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานให้ได้มากขึ้นประมาณ 306 คน คาดว่าจะเริ่มจ้างงานคนพิการเข้าทำงานได้ในเดือนพฤษภาคม 2565 และจะเสนอขอตั้งงบประมาณต่อเนื่องไว้สำหรับปีงบประมาณ 2566

นอกจากนี้ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคนพิการให้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพตรงกับความต้องการของหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชนที่จะสามารถรับเข้าทำงานตามคุณวุฒิและคุณสมบัติที่กำหนด พร้อมจะทำงานเชิงรุกในการแก้ปัญหาเรื่องช่องทางสมัครงาน และการว่าจ้างงานที่ทำให้คนพิการไม่มีงานทำ

นายสกลธี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนพิการได้มีงานทำ 2 เรื่องหลัก ดังนี้ 1.ส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้คนพิการ โดยเปิดศูนย์ส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับคนพิการ ที่โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร หนองจอก และทุ่งครุ เพื่อพัฒนาศักยภาพ สร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพ นำร่องใน 5 หลักสูตร กับกลุ่มที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ  ได้แก่ หลักสูตรสอนการปลูกผักออแกนิค การเพราะเห็ด หลักสูตรบาริสต้า หลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐาน  และหลักสูตรการเขียนโปรแกรม และในอนาคตเตรียมขยายเพิ่มหลักสูตรอบรมให้มากขึ้นตามความต้องการของคนพิการและสังคมต่อไป

2.สร้างเว็บไซต์ bangkok.skynebula.tech เปิดพื้นที่ ให้คนพิการที่มีความพร้อมและประสงค์จะสมัครงาน และนายจ้างที่ต้องการรับผู้พิการเข้าทำงานได้พบกัน และเกิดประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้พิการก็สามารถเลือกตำแหน่งงาน ในหน่วยงานที่ตนต้องการสมัครได้  และนายจ้างก็สามารถเข้ามาในเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อค้นหาผู้พิการที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ เข้าสู่กระบวนการนัดหมาย สอบ สัมภาษณ์ และรับเข้าทำงาน ได้รวดเร็ว และหลากหลายขึ้น

"นายชูศักดิ์  จันทยานนท์ " ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวว่า โครงการศูนย์ส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับคนพิการ กรุงเทพมหานคร  จะเป็นแหล่งการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับคนพิการ  เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะไปต่อยอดสร้างอาชีพให้ตนเองและครอบครัว หรือสามารถสมัครงานในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนได้  เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้พิการ ก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต

ซึ่งคนพิการจำเป็นต้องมีโรงเรียนฝึกอาชีพเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ อาทิ หลักสูตรระยะสั้นในการเรียนรู้ให้เหมือนกับคนทั่วไป เพื่อเพิ่มทักษะและความชำนาญด้านวิชาชีพ จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยจัดฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับคนพิการ 5 วิชา ได้แก่ หลักสูตรการผลิตเห็ดเพื่อการค้า หลักสูตรการออกแบบเว็บไซต์  หลักสูตรคอมพิวเตอร์เบื้องต้น  หลักสูตรเครื่องดื่มตามสมัยนิยม  และหลักสูตรการเพาะต้นอ่อนพืชออร์แกนิค ตั้งเป้าหมายรับคนพิการทุกประเภทเข้าอบรม จำนวน 150 คน  ซึ่งการฝึกอบรมอาชีพสำหรับคนพิการจำเป็นต้องมีการออกแบบ การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนพิการ แต่ละบุคคลที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป

"นางภรณี ภู่ประเสริฐ" ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.กล่าวว่า “คนพิการ” คือ 1 ใน 11 กลุ่มประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่ต้องได้รับความเป็นธรรมทางสุขภาวะในชีวิตทุกมิติ เพื่อให้มี “สิทธิ ศักดิ์ศรี คุณค่า และพึ่งพาตัวเอง” ได้เหมือนคนทั่วไป ทำให้ สสส. ขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน เพื่อทำให้คนพิการมีงานทำ ภายใต้การจ้างงานเชิงสังคมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 33 และ มาตรา 35

‘พ่อค้าร้านบะหมี่’ ยืนป้อนบะหมี่หนุ่มพิการจนอิ่มท้อง ชาวโซเชียลแห่ชื่นชม ชี้!! คนแบบนี้ที่สังคมต้องการ

เมื่อวานนี้ (10 ธ.ค. 65) สมาชิก TikTok @joy32538 โพสต์คลิปที่ดูแล้วทำให้รู้สึกอิ่มใจ เพราะสิ่งที่พ่อค้าร้านบะหมี่ทำ มันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำใจ โดยระบุข้อความว่า ‘คนเราเลือกเกิดไม่ได้ #ฟลุ๊คบะหมี่เกี๊ยว #สมุทรปราการ’ และ ‘เห็นแล้วยิ้มตามเลย พ่อค้าร้านบะหมี่’

โดยในคลิป พ่อค้าร้านบะหมี่ กำลังป้อนบะหมี่ให้กับหนุ่มพิการแขนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพ่อค้าลอตเตอรี่ นั่งอยู่บนรถสามล้อไฟฟ้า หลังเรียกให้จอดแล้ว นำบะหมี่ไปให้รับประทาน โดยป้อนอย่างไม่เร่งรีบ

หลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ไป ก็มีคนเข้ามาชื่นชมพ่อค้าร้านบะหมี่เป็นจำนวนมาก เช่น

-มากกว่าการได้ขาย คือการมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ ขอให้ค้าขายเจริญๆๆ

-สุดเลยพ่อค้า นายมันแน่ นับถือ เฮงๆ รวยๆ ไม่มีวันหยุดนะครับ เห็นแล้วชุ่มใจมากๆ🥰🥰

-น้ำใจงามมาก ทำต่อไปนะครับ ขอให้กิจการเจริญรุ่งเรือง.. 🤟🙏🤟🙏🤟🙏

นอกจากนี้ยังชื่นชมว่ามีจิตใจประเสริฐ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และอยากไปอุดหนุนบะหมี่ร้านนี้

'สวนนงนุชพัทยา' เปิดโครงการขับเคลื่อนและส่งเสริมศักยภาพคนพิการและผู้สูงอายุ พร้อมจัดโปรโมชั่น เดือนมีนาคม ซื้อ 4 ท่าน ฟรี! 1 ท่าน

สวนนงนุชพัทยา เปิดโครงการขับเคลื่อนและส่งเสริมศักยภาพคนพิการและผู้สูงอายุ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ และผู้สูงอายุ พร้อมจัดโปรโมชั่น เดือนมีนาคม ซื้อ 4 ท่าน ฟรี! 1 ท่าน โดยผู้สูงอายุเข้าฟรีทุกวันศุกร์ และคนพิการที่นั่งรถเข็นเข้าฟรีทุกวัน

(25 ก.พ. 66) ที่ สวนนงนุชพัทยา โดยนายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา ร่วมพิธีเปิดโครงการขับเคลื่อนและส่งเสริมศักยภาพคนพิการ ในงานมหกรรมอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 6

ซึ่งที่ผ่านมา ทางสวนนงนุชพัทยา ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว สำหรับผู้พิการ รวมถึงผู้สูงอายุ ที่ใช้รถวีลแชร์ โดยเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้องพัก, ห้องน้ำ, ทางลาด, สระว่ายน้ำ,รถชมวิว ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการมากที่สุด

สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ขอเชิญร่วมบริจาคเพื่อสมทบทุน โครงการจัดซื้อรถสปอร์ตวีลแชร์ สำหรับแจกนักกีฬาคนพิการและคนพิการที่ขาดแคลน

สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จัดโครงการแจกรถสปอร์ตวีลแชร์ 1,500 คัน 77 จังหวัด สำหรับแจกนักกีฬาคนพิการและคนพิการที่ขาดแคลน

ปัจจุบันนักกีฬาคนพิการยังขาดแคลนรถสปอร์ตวีลแชร์ สำหรับฝึกซ้อมกีฬาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอุปกรณ์ฝึกซ้อมหรือแข่งขันมีสภาพเก่า ชำรุด ทรุดโทรม ไม่สามารถใช้ฝึกซ้อมหรือแข่งขันได้ และยังมีคนพิการอีกจำนวนมากที่ยังใช้รถวีลแชร์คันใหญ่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตประจำวัน เป็นไปด้วยความยากลำบากเป็นอย่างมาก “กองทุนส่งเสริมสวัสดิการ สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงคิดโครงการที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เนื่องยังจากขาดงบประมาณเป็นจำนวนมาก รถวีลแชร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ถ้าหากขาดวีลแชร์จะไม่สามารถดำรงชีวิตหรือทำกิจกรรมประจำวันได้

‘ชายพิการ’ ขาขาดสองข้าง จากเหตุรอบวางระเบิด ลุยสร้างแรงบันดาลใจให้สังคม-คนพิการ ฮึดสู้ต่อ

ตัวอย่างนักสู้ชายพิการขาขาดทั้งสองข้างจากเหตุลอบวางระเบิดใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั้งขับรถเองโดยต่อเหล็กกับคันเร่งและเบรคบังคับด้วยมือ สร้างแรงบันดาลให้กับคนพิการและคนที่ท้อ

(17 มี.ค.66) ที่ จ.สงขลา มีตัวอย่างของชายพิการขาขาดจากเหตุลอบวางระเบิดจนขาขาดทั้งสองข้าง แต่ก็ยังไม่ท้อกับโชคชะตาแม้จะขาขาดทั้งสองข้าง แต่ก็ยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติทั้งขับรถยนต์เดินทางไปไหนมาไหนเอง และยังช่วยเหลือสังคมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้พิการด้วยกัน

นายดนรอหิม สันโยก อายุ 54 ปี ชาว อ.เทพา จ.สงขลา ปัจจุบันเป็นรองนายกสมาคมคนพิการ จ.สงขลา โดยพิการขาขาดทั้งสองข้างเกือบถึงโคนขาจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดที่ร้านน้ำชาว ในพื้นที่บ้านลำไพล อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ปี49 ซึ่งเหตุการณ์นั้นมีผู้เสียชีวิต4คน

โดยปัจจุบัน นายดนรอหิม จะขับรถเก๋งเดินทางไปไหนมาไหนด้วยตัวเองแม้ขาจะขาดทั้งสองข้าง โดยใช้วิธีต่อเหล็กจากคันเร่งและเบรคขึ้นมาและบังคับด้วยมือขวาและขาขวา ซึ่งเป็นวิธีที่คิดขึ้นมาเอง ขับได้เหมือนกับคนปกติและมีความชำนาญในการบังคับรถ และทุกครั้งที่เดินทางก็จะพาวีลแชร์ขึ้นรถไปด้วยโดยวางไว้ท้ายรถ เวลาขึ้นลงจากรถก็จะเปิดประตูหลังขึ้นลงและยกวีลแชร์ขึ้นลงด้วยตัวเองอย่างคล่องคล่องแคล่ว

‘ภูมิใจไทย’ ดันนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิต ‘คนพิการ’ ให้เข้าถึงอุปกรณ์เพื่อใช้ชีวิต - มีศักดิ์ศรีเท่าคนทั่วไป

เมื่อวานนี้ (23 มี.ค.66) น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ร่วมเสวนาในหัวข้อ 'คนพิการอยู่ไหนในการเมืองไทย' จัดโดยมหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมนำเสนอนโยบายด้านผู้พิการ ต้องการให้คนพิการมีความภูมิใจ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีพลังที่ไม่ใช่ภาระ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ เป็นพลเมืองดีของสังคม

น.ส.อนุสรี กล่าวว่า การส่งเสริมให้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ โดยคิดในกรอบภาพรวมใหญ่ มีกับดักหลายด้านที่ทำให้ทำไม่ได้ จึงต้องปฏิรูปกฎหมายส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ระบบการลงทะเบียนคนพิการต้องไม่ตกหล่น มีการบริการถึงที่อย่างทั่วถึง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลงทะเบียนออนไลน์ คนพิการต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิคนพิการอย่างเท่าเทียมสมบูรณ์

น.ส.อนุสรีกล่าวว่า มี 4 หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แต่ขาดการบังคับใช้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายว่าหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะเป็นอย่างไร

‘ผู้พิการ’ พร้อมใจออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าเกือบ 100% โดยมี จนท. ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

(7 พ.ค.66) ที่หน่วยเลือกตั้งกลางสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพหรือผู้สูงอายุ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เขตเลือกตั้งที่ 4 จ.นนทบุรี ซึ่งมีคนพิการประเภทต่างๆที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ต่างๆ ใน จ.นนทบุรี ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าในเขตจังหวัดนนทบุรีไว้ จำนวน 136 คน และลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 2 คน

โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดหน่วยเลือกตั้งไว้กว้างขวางเป็นพิเศษ รวมทั้งมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการประเภทต่างๆ เมื่อเปิดหีบบัตรให้ลงคะแนนเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองที่ดูแลสถานสงเคราะห์ต่างๆ ที่มีอยู่กว่า 4 แห่งในบริเวณใกล้เคียง ได้มีการนัดแนะให้พาออกมาใช้สิทธิ์ทีละสถานสงเคราะห์

‘ไรเดอร์หัวร้อน’ ลูกค้าไม่รับสาย-ปล่อยให้รอนาน แต่พอเห็นเจ้าตัวออกมารับอาหาร รู้สึกผิดทันที!!

เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 66 เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เมื่อเว็บไซต์ต่างประเทศรายงานว่า โลกออนไลน์ได้การแชร์คลิปสุดพีค หลังจากไรเดอร์หนุ่มชาวมาเลเซียโพสต์คลิปไปส่งอาหารให้ลูกค้า แต่ด้วยความที่ลูกค้าไม่ยอมรับสาย และต้องยืนรอนานท่ามกลางอากาศร้อน ทำให้เขาทั้งโมโหและหงุดหงิดอย่างมาก ก่อนเห็นลูกค้าออกมารับอาหาร ถึงกับรู้สึกผิดเลยทีเดียว

โดยผู้โพสต์เล่าว่า ในวันดังกล่าวเขาส่งอาหารไปยังที่อยู่ที่ระบุ แต่ไม่มีใครรับสาย เขาต้องยืนรอหน้าประตูรั้วบ้าน ท่ามกลางอากาศร้อน ๆ และมีแดดจัด ทำให้เขารู้สึกไม่พอใจและโกรธ จนกระทั่งมีเสียงในบ้านบอกให้เดินเข้าไปภายในบริเวณบ้าน และเมื่อประตูบ้านเปิดจึงทำให้เขาเห็นว่าลูกค้าที่เขาต้องมาส่งอาหารให้นั้น เป็น ‘ชายพิการนั่งรถเข็น’ ความโกรธของเขาก็กลายเป็นความรู้สึกผิดทันที

ทั้งนี้ แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะระบุว่า ‘เป็นคำสั่งสำหรับคนพิการ’ แต่เขาไม่ทันได้สังเกตเห็น เขายังบอกด้วยว่า “คุณลุงดูมีความสุขเมื่อได้รับอาหาร เพราะมีคนสั่งอาหารให้เขา” ซึ่งท้ายที่สุดเขาก็กลั้นน้ำตาไม่ไหว ถึงปล่อยโฮออกมาเลยทีเดียว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top