Tuesday, 22 April 2025
กูเกิล

27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็นวันเกิดของ Google (กูเกิล) เสิร์ชเอ็นจิน อันดับ 1 ของโลก

27 กันยายน 2565 ครบรอบวันเกิด 24 ปี ของกูเกิล (Google) เว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) อันดับหนึ่งของโลก ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี

กูเกิล ก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ (Larry Page) และเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Stanford University โดยบริษัทกูเกิลจดทะเบียนในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 แต่ทั้งสองคนเปิดตัวบริษัทของพวกเขาในโรงรถ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 ภายหลังจึงใช้วันที่ 27 กันยายนนี้เป็นวันเฉลิมฉลองวันเกิดกูเกิล

สำหรับที่มาของชื่อกูเกิล (Google) มาจากคำว่า Googol มาจากจำนวนทางคณิตศาสตร์ 1.0 × 10100 เพื่อแสดงถึงการรวบรวมข้อมูลมากมายมหาศาลในระบบคอมพิวเตอร์

แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะมาจากการค้นหา แต่กูเกิลก็สร้างซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และสมาร์ตโฟน บางบริการปิดตัวลง แต่ส่วนหนึ่งก็ยังถูกใช้งานอย่างเป็นที่นิยม อาทิ

'สื่ออังกฤษ' แฉ!! พันธมิตรด้านการตลาดของ 'เฟซบุ๊ก-กูเกิล-อเมซอน' ใช้เอไอดักฟังคนใช้โทรศัพท์ เพื่อยิงโฆษณาตรงตามที่ผู้ใช้กำลังพูดถึง

(6 ก.ย.67) เดลีเมลล์ สื่ออังกฤษรายงานว่า ได้มีข้อมูลของ บริษัท 'ค็อกซ์ มีเดีย กรุ๊ป' หรือ 'ซีเอ็มจี'  (Cox Media Group (CMG) ซึ่งเป็นบริษัทพาร์ทเนอร์การตลาดของ เฟซบุ๊ก, กูเกิล และ อเมซอน รั่วไหลไปถึงมือขององค์กรสื่อออนไลน์ชื่อว่า '404 มีเดีย' (404 Media) ซึ่งเป็นหลักฐานชี้ชัดว่า บริษัท ซีเอ็มจี ได้ใช้ซอฟต์แวร์ดักฟังเสียง ชื่อว่า 'แอค-ทีฟ ลิสเซนนิ่ง' (Active Listening) ดักฟังเสียงผู้ใช้โทรศัพท์ เพื่อที่จะยิงโฆษณาได้ตรงจุดที่สุด

โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าว จะดักฟังเนื้อหาจากไมโครโฟนในเครื่องของผู้ใช้โทรศัพท์ และใช้เอไอประมวลผล เพื่อให้สามารถยิงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และทำอย่างถูกกฎหมายด้วย ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าวได้คลายความสงสัยของผู้คนนับล้าน ที่สงสัยมานานแล้วว่า ทำไมโทรศัพท์รู้ถึงความต้องการและโชว์โฆษณาในสิ่งที่เราได้พูดถึงได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏออกมานั้นยืนยันว่า โทรศัพท์ของเรากำลังฟังเราอยู่จริงๆ

ข้อมูลระบุว่า ซอฟต์แวร์ 'Active-Listening' ของบริษัท ซีเอ็มจี จะใช้ AI เพื่อรวบรวม วิเคราะห์  และประมวล 'ข้อมูลเจตนาแบบเรียลไทม์' โดยการฟังสิ่งที่พูดผ่านโทรศัพท์ แล็ปท็อป หรือไมโครโฟนของอุปกรณ์ผู้ช่วยต่างๆ ในบ้าน จากนั้นผู้โฆษณาก็จะใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ เพื่อกำหนดเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์หรือบริการบางอย่าง โดยเฉพาะที่ผู้ใช้โทรศัพท์กำลังพูดถึงอยู่ 

ถ้าหากเสียงหรือข้อมูลพฤติกรรมของคุณ บ่งชี้ว่าคุณกำลังพิจารณาซื้อสินค้าบางอย่าง ก็จะมีโฆษณาสำหรับสินค้าชิ้นนั้นขึ้นมาในมือถือทันที ตัวอย่างเช่น หากมีการพูดคุยกันถึง 'รถยนต์โตโยต้า' ระบบก็จะยิงโฆษณา รถยนต์โตโยต้ารุ่นใหม่ขึ้นมาให้เห็นทันที 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เรื่องนี้รั่วไหลออกมา ทางด้านกูเกิล ก็ได้ลบกลุ่มสื่อ '404 มีเดีย' ออกจากโครงการ 'โปรแกรมพันธมิตร' ของกูเกิลทันที ขณะที่ โฆษกของเมต้า (Meta) บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ปฏิเสธว่า “บริษัทไม่ได้ใช้ไมโครโฟนของโทรศัพท์ของผู้ใช้สำหรับการโฆษณา และได้เปิดเผยเรื่องนี้ต่อสาธารณะมาหลายปีแล้ว เรากำลังติดต่อซีเอ็มจี เพื่อให้พวกเขาชี้แจงว่าโปรแกรมของพวกเขาไม่ได้กระทำดังกล่าว"

ทางด้านอเมซอน ระบุว่า แผนกโฆษณาของบริษัท "ไม่เคยร่วมงานกับ ซีเอ็มจี ในโปรแกรมนี้ และจะไม่มีแผนจะทำเช่นนั้น"

รายงานข่าวระบุว่า นอกจากนั้น การใช้ซอฟต์แวร์ 'แอคทีฟ ลิสเซนนิ่ง' ยังถูกกฎหมายด้วย เพื่อเมื่อผู้ใช้ ดาวน์โหลด หรืออัปเดต แอปพลิเคชันใหม่ ก็จะมีการแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อตกลงเงื่อนไขการใช้งานหลายหน้าในข้อความขนาดเล็กๆ ซึ่งจะรวมถึงการอนุญาตใช้ซอฟต์แวร์ แอคทีฟ ลิสเซนนิ่ง Active Listening ไว้ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่า ทำไมการดักฟังเช่นนั้นถึงไม่ผิดกฎหมายในรัฐของสหรัฐฯ ที่มีกฎหมายห้ามบันทึกเสียงใครก็ตามโดยที่บุคคลนั้นไม่ทราบ เช่น ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

ทั้งนี้ ซีเอ็มจี เป็นบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย บริษัทให้บริการสื่อกระจายเสียง สื่อดิจิทัล โฆษณา และบริการทางการตลาด และสร้างรายได้ 22,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 7.59 แสนล้านบาท) ในปี 2022

'อินโดนีเซีย' สั่งแบนสมาร์ทโฟน 'Google Pixel' เหตุไม่ใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศอย่างน้อย 40%

(1 พ.ย. 67) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า อินโดนีเซีย ได้สั่งห้ามจำหน่าย 'Google Pixel’ สมาร์ทโฟนที่ผลิตโดยบริษัทกูเกิล ที่เป็นบริษัทลูกของอัลฟาเบต เนื่องจากตามระเบียบแล้วกำหนดให้สมาร์ทโฟนจะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน อินโดนีเซียก็เพิ่งสั่งห้ามจำหน่าย 'iPhone 16' ของบริษัทแอปเปิล ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้

อินโดนีเซีย ห้ามจำหน่ายโทรศัพท์ 'Google Pixel’ เนื่องจากทางบริษัทไม่ได้ทำตามระเบียบที่กำหนดให้สมาร์ทโฟนที่จำหน่ายในอินโดนีเซียจะต้องใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซียอย่างน้อยร้อยละ 40

โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย กล่าวว่า รัฐบาลผลักดันระเบียบนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่นักลงทุนทุกคนในอินโดนีเซีย ซึ่งผลิตภัณฑ์ของกูเกิลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ดังนั้น จึงไม่สามารถจำหน่ายในอินโดนีเซียได้

อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคสามารถซื้อ 'Google Pixel’ ในต่างประเทศได้ หากว่าชำระภาษีอย่างถูกต้อง แต่ว่าทางการกำลังพิจารณาปิดการใช้งานโทรศัพท์ที่จำหน่ายอย่างผิดกฎหมาย 

ในขณะเดียวกันกูเกิล ระบุว่า ในขณะนี้ยังไม่มีการจำหน่ายโทรศัพท์ 'Google Pixel’ ในอินโดนีเซีย อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

อินโดนีเซีย สั่งแบนโทรศัพท์ 'Google Pixel’  หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน อินโดนีเซียสั่งปิดกั้นการจำหน่ายโทรศัพท์ 'iPhone 16' ภายในประเทศมาแล้ว เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบเรื่องชิ้นส่วนประกอบของโทรศัพท์ที่ต้องมีส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top