Sunday, 19 May 2024
กองกำลังทหาร

ว่าด้วย...กำลังทหารของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

หลังจากการเยือนราชอาณาจักรไทยของนายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ก็มีคนไทยบางคนอ่านข่าวไม่ทันจบหรือไม่ทันได้ทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ได้ออกมาโวยว่า...

ครั้งนี้รัฐบาลไทยไปทำความตกลงกับญี่ปุ่นสารพัดเรื่อง ทั้งๆ ที่การทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน รัฐบาลไทยจึงจะไปทำความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศได้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประเด็นหารือจึงใช้คำว่า ‘การเสริมสร้าง’

รัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490

โดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคง ที่รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ตามหมวด 2 (ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่น) ‘การสละสิทธิ์สงคราม’ มาตรา 9 ซึ่งได้ระบุเอาไว้ว่า...ความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติ โดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนาน ซึ่งให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ ทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน...จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่นๆ ในทางสงคราม รวมถึงไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

ชาวญี่ปุ่นเพียง 27% เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ญี่ปุ่นกลับมามีกองทัพอย่างเป็นทางการ และสามารถประกาศสงครามได้ โดยมีผู้ไม่เห็นด้วยถึง 67%

มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น เป็นบทในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นที่ห้ามพฤติการณ์แห่งสงครามโดยรัฐ รัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในข้อความนี้ รัฐสละสิทธิอธิปไตยในสงครามและห้ามการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศผ่านการใช้กำลัง มาตรานี้ยังแถลงว่า เพื่อบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้ จะไม่มีการธำรงกองทัพที่มีศักย์สงคราม แต่ญี่ปุ่นยังคงธำรงกองทัพอยู่โดยพฤตินัยนั้น คือ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้นได้หลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยได้อนุมัติการตีความ มาตรา 9 ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงครามขึ้นใหม่

รัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ร่างขึ้นภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรให้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และตั้งใจแทนที่ ‘ระบบแสนยนิยม’ (Militarism: แนวคิดนิยมทหาร) และสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมของประเทศญี่ปุ่นด้วยประชาธิปไตยเสรีนิยมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ยากมาก จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ นับแต่มีมติเห็นชอบ

แม้ว่าในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติการตีความ มาตรา 9 ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงครามใหม่ ที่อาจสร้างความกังวลและความไม่เห็นด้วยจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอนุญาตให้ใช้กำลังทหารเพื่อโจมตีประเทศอื่นและเข้าสู่สงคราม รวมถึงการใช้กำลังทหารเพื่อการนี้ถูกพิจารณาว่ามิชอบด้วยกฎหมายและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประชาธิปไตยของญี่ปุ่น

แต่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้หลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลวิวัฒต่อความหมายของหลักการมูลฐานในรัฐธรรมนูญโดยคำสั่งของคณะรัฐมนตรี โดยปราศจากการอภิปรายหรือลงมติของสภาไดเอต (สภาผู้แทนราษฎร) และยังไม่ได้ผ่านประชามติความเห็นชอบจากสาธารณะเลย

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defend Force : JSDF หรือ JSF หรือ SDF) 

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defense Force : JSDF หรือ JSF หรือ SDF) เป็นกำลังทหารของญี่ปุ่นซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบเลิก และฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาทำการยึดครองญี่ปุ่นในช่วงหลังสงคราม

โดยกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่ถือว่า เป็นการป้องกันตนเองภายในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศอาทิ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นขณะสวนสนาม

แต่ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่ และสรุปได้ว่า ญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารสังกัดกองกำลังป้องกันตนเองไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้ (Collective Self Defense) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งชาติใดจากการถูกรุกรานได้ และญี่ปุ่นจะสามารถส่งกำลังทหารไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตของชาวญี่ปุ่น

แม้จะผลิตเองจะต้องจ่ายแพงกว่าการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ แต่ญี่ปุ่นก็เต็มใจจ่าย

ในด้านการพัฒนาอาวุธ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นได้กำหนดห้ามการพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ขณะที่การห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์นั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปี พ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยสามารถส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ และสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ กับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ

'ไต้หวัน' กร้าว!! จะโจมตีตอบโต้ 'ทางทะเล-อากาศ' หากกองกำลังจีนบุกเข้ามาในดินแดนแห่ง ปชต.

เมื่อวันพุธ (31 ส.ค. 65) ที่ผ่านมา ไต้หวัน ระบุจะใช้สิทธิ์ในการป้องกันตนเองและโจมตีตอบโต้ หากว่ากองกำลังจีนบุกเข้ามาในดินแดน โดยคำประกาศกร้าวดังกล่าวเกิดขึ้น ในขณะที่ปักกิ่งยกระดับความเคลื่อนไหวทางทหารเข้าใกล้เกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้

ปักกิ่ง ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ทำการซ้อมรบหลายรอบบริเวณใกล้เคียงหมู่เกาะแห่งนี้ มาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม ตอบโต้การเดินทางเยือนกรุงไทเปของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

เจ้าหน้าที่กลาโหมไต้หวันรายหนึ่งระบุว่า "จีนยังคงเดินหน้าลาดตระเวนทางทหารใกล้ไต้หวันอย่างเข้มข้น และเจตนาของปักกิ่ง คือ ทำให้ช่องแคบไต้หวันที่กั้นกลางระหว่าง 2 ฝ่าย กลายเป็นบ่อเกิดหลักของความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค"

"สำหรับเครื่องบินและเรือรบที่เข้าสู่อาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของเรา ทั้งทางทะเลและทางอากาศ ทางกองทัพแห่งชาติจะใช้สิทธิป้องกันตนเองและโจมตีตอบโต้โดยปราศจากข้อยกเว้นใด ๆ" Lin Wen-Huang รองประธานเสนาธิการทหารของไต้หวัน ฝ่ายปฏิบัติการและวางแผน กล่าวและว่า

"กองทัพไต้หวันจะใช้สิทธิ์แบบเดียวกันนี้ในการโจมตีตอบโต้โดรนของจีน หากว่าไม่ยอมทำตามคำเตือนให้ออกจากดินแดนของไต้หวัน หลังจากมีท่าทีเป็นภัยคุกคาม"

ก่อนหน้านี้ไต้หวันยิงเตือนโดรนของจีนเป็นครั้งแรกเมื่อวันอังคาร (30 ส.ค.) ไม่นานหลังจากประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ออกคำสั่งให้กองทัพ "ใช้มาตรการหนักหน่วง" กับสิ่งที่เธอให้คำนิยามว่า "เป็นการยั่วยุของจีน"

ต่อมาในวันพุธ (31 ส.ค.) กองทัพไต้หวันเผยว่ากำลังพลของพวกเขายิงกระสุนและพลุแฟร์เตือนอีกรอบ คราวนี้เป็นการยิงเตือนโดรนที่บินเฉียดใกล้เกาะต่าง ๆ ในจินเหมิน ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งไม่ห่างจากเมืองเซี่ยเหมินและเมืองเฉวียนโจวของจีน จากนั้นโดรนเหล่านั้นก็บินกลับไปยังเซี่ยหมิน

ด้าน หม่า เฉิงคุน ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยป้องกันสถาบันทหารไต้หวัน กล่าวว่า จีนอาจเคลื่อนไหวมากขึ้น เพื่อปฏิเสธการเดินทางผ่านช่องแคบไต้หวันของเรือรบต่างชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top