Tuesday, 13 May 2025
TodaySpecial

18 มีนาคม ของทุกปี ‘วันท้องถิ่นไทย’ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ร.5

18 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันท้องถิ่นไทย เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะ ตำบลท่าฉลอมขึ้นเป็นสุขาภิบาลท่าฉลอม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 ถือเป็น 'ปฐมบทแห่งการปกครองท้องถิ่นไทย'

ในปี ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานดำริในการกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่นขึ้น โดยทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ 'พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116' ขึ้นจากการที่ทรงมอบหมายให้ไปศึกษาดูงานการปกครองในแถบประเทศพม่า มลายู และยุโรป และได้เริ่มทำการทดลองเพื่อเป็นการศึกษาขึ้นในกรุงเทพมหานคร แต่การบริหารงานของสุขาภิบาลกรุงเทพฯ นี้ดำเนินการโดยข้าราชการทั้งหมด จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 เป็นการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกขึ้นที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร อันถือเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของชาติไทย ปฐมบทแห่งการปกครองท้องถิ่น รากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

19 มีนาคม พ.ศ.2533 วันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 9 ของประเทศไทย

วันนี้ เมื่อ 33 ปีก่อน เป็นวันสถาปนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะแพทยศาสตร์ ลำดับที่ 9 ของประเทศไทย

นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขณะนั้น จัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531

‘กลุ่มสตรี-อสม.น่าน’ ผุดไอเดีย ส่งอาหารให้กลุ่มเปราะบาง เพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันน้ำใจ เอื้ออาทรต่อกัน

‘น่าน’ ผุดไอเดียเจ๋ง ‘ไรเดอร์อิป้อ อิแม่’ ส่งข้าวส่งน้ำให้กลุ่มเปราะบาง

(17 มี.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.น่าน ว่า เทศบาลเมืองน่าน ริเริ่มโครงการ ‘ไรเดอร์ อิป้อ อิแม่’ นำโดยนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ทำการส่งข้าวส่งน้ำให้กับกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองน่าน โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ประสานความร่วมมือไปยังสมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าบ้าน ผู้นำชุมชน กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองน่าน และ อสม. ช่วยคัดกรองหาชาวบ้านกลุ่มเปราะบางที่มีความต้องการปัจจัยจำเป็นในการยังชีพโดยเฉพาะอาหารและน้ำดื่ม เบื้องต้นมีจำนวน 8 ราย จาก 6 ชุมชน

นายสุรพล กล่าวว่า เทศบาลเมืองน่านได้ริเริ่มโครงการ ‘ไรเดอร์ อิป้อ อิแม่’ ขึ้นเป็นครั้งแรก จากการสำรวจข้อมูลประชากรในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน พบว่า มีประชาชนจำนวนหนึ่งยังต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอาหาร และปัจจัยในการดำรงชีพ โดยแหล่งงบประมาณมาจากการจัดทำผ้าป่าสามัคคีของกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองน่าน นอกจากนี้กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองน่าน ยังใช้เอกลักษณ์การสวมใส่ผ้าถุง หรือผ้าซิ่น และการฟ้อนล่องน่านประยุกต์ทำการแสดงเปิดรับบริจาคจากนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่านและงานอีเวนต์ต่าง ๆ เบื้องต้นระดมทุนได้ราว 100,000 บาท เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าวัตถุดิบปรุงอาหารได้ตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ กลุ่มสตรีทั้ง 31 ชุมชน หมุนเวียนทำหน้าที่จิตอาสาประกอบอาหารจัดทำเป็นชุดอาหารกลางวัน เพื่อรอเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองน่าน มารับชุดอาหารดังกล่าวนำไปส่งให้ชาวบ้าน ที่ต้องการได้รับการช่วยเหลือดังกล่าวแบบ Food Delivery โดยเริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 และมีแนวโน้มที่จะขยายการให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือให้สังคมมีคุณภาพ สังคมแห่งการแบ่งปันและสังคมแห่งความเอื้ออาทร ตามนโยบาย “เมืองน่าน เมืองมงคล คนใจดี” ต่อไป

บอกคนข้าง ๆ ว่า ‘รัก’ ด้วยการดูแลสุขภาพ คืน ‘คุณภาพการนอนที่ดี’ แค่มาที่ ‘Anya Meditec’

การแสดงออกถึงความรักที่ดีที่สุดเริ่มต้นด้วยการหันกลับมาดูแลสุขภาพทั้งการรักตัวเอง เพราะการรักตัวเองจะสามารถเผื่อแผ่ความรักไปถึงคนรอบข้างได้อีกด้วย การมีความสุขคือการได้ตื่นมาซาบซึ้งและขอบคุณกับความสวยงามรอบตัวด้วยความสดใส คุณคงสัมผัสความรู้สึกนี้ไม่ได้ ถ้าเช้าวันนั้นรู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนค้างตลอดทั้งวัน Anya Meditec มาพร้อมทุกคำตอบเพื่อให้คุณได้ใช้ชีวิตเพื่อสานต่อความรัก แค่เริ่มต้นด้วย ‘คุณภาพการนอนที่ดี’ โดยคุณหมอบอล-นพ.ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการนอน อัญยา คลินิก

ซึ่ง นพ.ฉัตรกรินทร์ ได้จำแนกการนอนแบบมีคุณภาพที่ดีต่อสุขภาพออกเป็น 2 แบบ คือ 1. การนอนตามเวลาที่แนะนำของกรมอนามัยโลกบอกว่าคนที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป ควรนอนหลับให้ได้ที่ 7-9 ชั่วโมงต่อคืนเป็นค่ามาตรฐานและ 2.การนอนหลับควรเป็นไปตามระยะต่าง ๆ ที่เหมาะสมทั้งหลับตื้น หลับลึกและฝัน ทุกอย่างต้องได้องค์ประกอบที่ครบถ้วนและมีการตื่นตัวของสมองที่น้อย เมื่อได้ทั้ง 2 องค์ประกอบแล้วคุณสามารถกลับมาดูได้ว่าทั้งเวลาและคุณภาพในการนอนของตัวเองเป็นอย่างไร เช้าตื่นมารู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงในเวลากลางวัน ลองดูว่าเวลาเราตื่นมาทำงานทุกเช้าเวลาเดียวกันจากนาฬิกาปลุก ในวันเสาร์อาทิตย์ที่ได้หยุด พอไม่ได้ตั้งปลุกแล้วเราตื่นห่างจากเวลาเดิมเกิน 2 ชั่วโมงหรือเปล่า และคนที่นอนข้างสามารถช่วยสังเกตว่าคุณมีปัญหาหลับๆ ตื่นๆ หรือเวลานอนมีอาการขากระตุก ละเมอ นั่นแสดงว่าคุณภาพการนอนเริ่มมีปัญหาแล้ว

ทั้งยังเสริมเรื่องของการนอนหลับที่ไม่ดีนั้น สามารถส่งผลไปถึงคนรอบข้างอีกว่า “จากประสบการณ์ในการรักษาที่ผ่านมา คนไข้ที่อายุ 40-50 ปีไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้ชายส่วนใหญ่จะถูกส่งมาจากเรื่องกรน ซึ่งคนที่เป็นภรรยาจะทนไม่ไหว เพราะเสียงกรนดังเป็นเรือกรนไฟ ภรรยาเองนอนไม่ได้ คนนอนข้าง ๆ หลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดความหงุดหงิด เป็นคนอารมณ์ไม่คงที่หรือโรคซึมเศร้าไปเลย มีการศึกษาออกมาว่าถ้ามีการรักษาในเรื่องการนอนจะช่วยให้ทั้งอาการกรนและโรคซึมเศร้ามีอาการที่ดีขึ้นพร้อมกัน”

นพ.ฉัตรกรินทร์ ยังได้ให้วิธีสังเกตว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องการกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือเปล่าว่า “เริ่มจากที่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ตอนเช้าคอแห้งปากแห้ง ตื่นบ่อยในเวลากลางคืน บางคนนอนหงายไม่ได้ ต้องนอนตะแคงเท่านั้น หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ส่วนคนที่นอนข้าง ๆ จะบอกได้บางครั้งว่ามีการหยุดหายใจจนต้องปลุก เพราะกลัวคนไข้จะเสียชีวิต แต่โรคนี้ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตนะครับ เพราะร่างกายจะปลุกเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว”

นพ.ฉัตรกรินทร์ ยังได้ให้คำแนะนำปิดท้ายถึง คนที่ยังกังวลการทำ Sleep Test และเครื่อง CPAP ว่า การตรวจการนอนหลับไม่ใช่แค่ตรวจเพื่อให้ตื่นมาแล้วสดชื่นเท่านั้นนะครับ แต่การนอนหลับที่ไม่ได้คุณภาพสามารถส่งผลต่อโรคเรื้อรังระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ฯลฯ และการทำ Sleep Test ที่อัญยา คลินิก จะช่วยดูลักษณะการหายใจระหว่างที่นอนหลับสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาง่วงนอนตอนกลางวัน สะดุ้งตื่นกลางคืนเพราะสำลักร่วมกับการเป็นโรคประจำตัวที่เป็น เช่น โรคความดันโลหิตสูงในคนที่อายุน้อย 

20 มีนาคม พ.ศ. 2279 วันพระบรมราชสมภพ ล้นเกล้า รัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

วันนี้ เมื่อ 287 ปี เป็นวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ล้นเกล้า รัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระนามเดิม ด้วง หรือทองด้วง เป็นบุตรพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการกรมอาลักษณ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีกรมพระคลังในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับท่านหยก ธิดาเศรษฐีจีน มีพระบรมราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 

ต่อมาได้ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต จนพระชนมพรรษาครบ 21 พรรษา ได้ทรงผนวช ณ วัดมหาทลายพรรษาหนึ่ง หลังจากทรงลาผนวชแล้วทรงกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอีกครั้ง ครั้นพระชนมพรรษาได้ 25 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร ออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรี

ใน พ.ศ. 2311 หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ ในกรมพระตำรวจหลวง ได้โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปปราบก๊กต่าง ๆ จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจ

ต่อจากนั้นทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นแม่ทัพไปปราบหัวเมืองต่าง ๆ หลายครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จความชอบให้เป็นพระยายมราช และทรงทำหน้าที่สมุหนายกด้วย 

ในปีต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม

21 มีนาคม พ.ศ. 2497 วันคล้ายวันเกิด ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย

เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อนี้ คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักเขา ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน แน่นอนว่าหากพูดถึงเขาคนนี้ ทุกคนต้องรู้จักเขาในบทบาทของนักการเมืองใหญ่ ทหารยศสูง วันนี้จึงจะพาทุกคนมาเปิดประวัติ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 69 ปี ของ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ชื่อเล่น ตู่ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

22 มีนาคม พ.ศ. 2277สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จพระราชสมภพ

วันนี้ เมื่อ 189 ปีก่อน หรือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 เป็นวันเสด็จพระราชสมภพ ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ ที่คนไทยนิยมเรียกว่า พระเจ้าตากสิน

ในปีพุทธศักราช 2311 ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ‘สมเด็จพระบรมราชาที่ 4’ แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า ‘พระเจ้าตากสิน’ หรือ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’

แม้กรณีวันพระราชสมภพ ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่เราคนไทยคุ้นเคยเรียกขานพระนามกันว่า พระเจ้าตาก จะยังเป็นที่ถกเถียง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยใช้การคำนวณย้อนหลังจากวันเสด็จสวรรคตตามที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหรว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได้ 48 ปี 15 วัน และตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า ทรงถูกประหารชีวิตในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 และวันพระราชสมภพคือวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277

23 มีนาคม พ.ศ. 2369 วีรกรรมหญิงกล้า ‘ท้าวสุรนารี’ วันแห่งชัยชนะเหนือทัพลาว

วันนี้ในอดีต เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 'ท้าวสุรนารี' (คุณหญิงโม) นำทัพต่อสู้ปกป้องเมืองนครราชสีมา กอบกู้อิสรภาพเเละกำชัยเหนือทัพลาวได้สำเร็จ จนเป็นที่มาของ 'วันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี'

ถ้าเอ่ยนาม ท้าวสุรนารี คนไทยจะรู้จักกันดีว่า หมายถึง ย่าโมของชาวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่จริงแล้วคนไทยทั้งประเทศก็ให้ความเคารพบูชาและรำลึกถึงในวีรกรรมที่ท่านทรงทำไว้เพื่อชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

วันนี้เมื่อ 197 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 คือวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ได้จารึกพระนามของท่าน ที่สามารถปกป้องอธิปไตยของชาวไทยไว้ได้อย่างกล้าหาญ เกินกว่าสตรีทั่วไปจะทำได้

ตามประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ ในช่วงปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ตรงกับรัชสมัยของ เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทร์ ได้ขอเกณฑ์ครอบครัวคนลาวที่เมืองสระบุรี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น กลับนครเวียงจันทร์ แต่ได้รับการปฏิเสธ

เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏ โดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร โดยเดินทัพมาอย่างเงียบๆ ให้กรุงรัตนโกสินทร์ไม่ทราบความเคลื่อนไหว โดยมีกองทัพหน้าเดินทางไปทางทิศตะวันตกตรงไปยังเมืองสระบุรี (ปากเพรียว)

ต่อมาวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ได้ตั้งมั่นฐานทัพอยู่จนถึงวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 จึงได้เข้าโจมตี ซึ่งเป็นช่วงที่พระยาปลัดทองคำ (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) สามีของคุณหยิงโม ผู้รักษาเมืองไม่อยู่พอดี ด้วยติดปราบการจลาจลที่เมืองขุขันธ์

กองทหารของเจ้าอนุวงศ์ จึงตีเมืองโคราชได้โดยง่าย แล้วกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย รวมถึง คุณหญิงโม และราชบริพารไปด้วย โดยมี เพี้ยรามพิชัย เป็นหัวหน้าควบคุม เหล่าเชลยออกเดินทางสู่เมืองเวียงจันทน์โดยผ่านเมืองพิมาย ส่วนเจ้าอนุวงศ์นั้น ยังตั้งฐานทัพอยู่ที่เมืองนครราชสีมา

ต่อมาวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ในระหว่างการเดินทางเป็นเชลยศึกนั้น คุณหญิงโม ได้คิดแผนการกอบกู้อิสรภาพกับกรมการเมือง ซึ่งมีนางสาวบุญเหลือ บุตรีหลวงเจริญกรมการเมืองนครราชสีมา ได้มีส่วนร่วมให้ข้อปรึกษาอย่างใกล้ชิด

คุณหญิงโมได้มอบหมายให้นางสาวบุญเหลือ ซึ่งเสมือนเป็นหลาน เป็นผู้รับแผนการไปปฏิบัติ โดยใช้อุบายให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรง และประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุวงศ์ทั้งหลายหลงตายใจ และพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง กับทั้งยังลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัดทองคำ อีกด้วย

ที่สุดเมื่อเดินทางมาถึง ทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ คุณหญิงโมจึงได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง

ครั้นถึงเวลาสองยามไปแล้วของวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 แผนการทุกอย่างจึงเริ่มเปิดฉากขึ้นโดยชาวนครราชสีมา พากันระดมยื้อแย่งอาวุธจากเหล่าทหารลาว และได้โห่ร้องขึ้นทำให้กองทัพเวียงจันทน์เกิดความโกลาหล

24 มีนาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทย พร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น

วันนี้ เมื่อ 73 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น และได้ทรงประทับบนเรือหลวงศรีอยุธยา ที่กองทัพเรือจัดถวาย เป็นเรือพระที่นั่งในคราวเสด็จพระราชดำเนิน จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวัติพระนคร

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินนิวัติถึงประเทศไทยพร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น เป็นครั้งแรก เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จฯนิวัติพระนครของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระคู่หมั้น ในครั้งนั้น เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทรงประกอบพิธีหมั้น ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

25 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กระทรวงยุติธรรม’

หนึ่งในหน่วยงานที่ดำเนินการคู่กับกระบวนการทางกฎหมาย นั่นคือ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งในวันนี้ ถือเป็นวันสำคัญทางกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันก่อตั้ง กระทรวงยุติธรรม ที่มีอายุมากกว่า 130 ปี

กระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยการสถาปนากระทรวงยุติธรรมขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นงานปฏิรูปกฎหมายชิ้นแรกของยุคสมัยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง

แต่เดิมมีการใช้ชื่อว่า กระทรวงยุติธรรม และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยในระยะแรกเริ่ม ในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างเนติบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการต่างประเทศ เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา ได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง แยกแมงส์ ชาวเบลเยียม ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยราชา สยามนุกูลกิจ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top