Saturday, 24 May 2025
SMEs

‘บิ๊กตู่’ หนุน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ต่อยอด ศก.ดันไทยสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ

(24 เม.ย. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง สร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

นายอนุชา กล่าวว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Center of Excellence for Life Sciences (TCELS) ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ติดอันดับ 1 ใน 10 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ

โดยจะผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง สร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ที่นำองค์ความรู้ทางด้านชีววิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองและความต้องการ เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงเป็นโอกาสของ SMEs มากกว่า 6,000 ราย โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน 2566

ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงาน TCELS Life Sciences Beyond Aspiration ซึ่ง TCELS ได้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ของไทย มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.4 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโต 3-5% แบ่งเป็น การผลิตในประเทศ 30% และนำเข้า 70% ซึ่งมีมูลค่าการตลาดที่สูง  จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะขยายศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) บูรณาการทำงานร่วมกับภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล

ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการจากหลายภาคส่วน เช่น

'สุปรีย์' เร่งผลักดัน Brand Province ทุกจังหวัด หลังนั่งประธานสภาเอสเอ็มอีคนใหม่ มุ่งนำพา SMEs สู่ BCG Model

วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME BANK สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมการประชุมกว่า 50 องค์กร

ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก คุณสุปรีย์ ทองเพชร นายกสมาคมการค้าวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ไทย เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสภาเอสเอ็มอี วาระปี 2566–2568 ซึ่งมีนโยบายที่จะผลักดันเรื่อง Brand Province ทุกจังหวัด และการนำพา SMEs เข้าสู่ BCG Model ซึ่งเป็น Mega Trend ของโลก รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับศักยภาพของ SMEs ต่อไป ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานกิตติมศักดิ์สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย มาร่วมเป็นสักขีพยานในการประชุม

โดยในวันดังกล่าว ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดย ท่านเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย โดย นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสังคม โดย ดร.ภูชิสส์ ศรีเจริญ ประธานสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสังคม ในการการสร้างการรับรู้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท บูรณาการและยกระดับความร่วมมือของวิสาหกิจกับภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีท่าน ดร.โฆสิต สุวินิจจิต ที่ปรึกษากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นพยาน

รวมทั้งพิธีประกาศเจตนารมย์เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน สถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสังคม และสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย แขวงคลอง 12 (04) เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และมอบป้ายศูนย์ โดยท่านเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นประธานมอบ ซึ่งมีท่าน ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และท่านไพโรจน์ จันทรอด ผู้อำนวยการเขตหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก เป็นพยาน

จากนั้น เป็นพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ด้านการส่งเสริม SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและการพัฒนา SMEs

ซึ่งงานดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายสภาเอสเอ็มอีในการจัดงาน และหน่วยงานภาครัฐที่ส่งผู้แทนมาให้ข้อมูลด้านการส่งเสริม SMEs ได้แก่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) โดย คุณพิตรพิบูล ธีร์จันทึก ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดย คุณโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรมสรรพากร โดย ว่าที่ร้อยตรี อัครเดช เทียมเจริญ นักวิชาการภาษี ชำนาญการพิเศษ กรมสรรพากร และ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดย ว่าที่ร้อยโท ชีวีวัฒน์ หวานอารมณ์ นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งสภาเอสเอ็มอีเป็นองค์กรที่มีภาคีเครือข่ายกว่า 100 องค์กร มีสมาชิกรวมกันกว่า 8,000 กิจการ ในทุกธุรกิจและพันธมิตรหลายหลายองค์กร อีกทั้งมีประธานจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้แทนในการประสานงานจากส่วนกลางไปยังภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนนโยบายจากสภาเอสเอ็มอีไปยัง SMEs ทั่วประเทศ

‘รองฯ อ้วน’ สาธิตผัดข้าวกะเพรา กลางงาน CAEXPO 2023 ย้ำ!! รัฐฯ หนุนเอสเอ็มอีเต็มที่ ดันสินค้าท้องถิ่นไทยสู้ตลาดโลก

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 66 ที่นครหนานหนิง ประเทศจีน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ใช้โอกาสในการนำคณะผู้บริหารระดับสูง เดินทางเยือนเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2566 เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน หรือ ‘China–ASEAN Expo’ (CAEXPO 2023) ครั้งที่ 20 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมระหว่างประเทศนครหนานหนิง (Nanning International Convention & Exhibition Center) นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน

โดยเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 66 เข้าพบปะหารือกับผู้ประกอบการไทยที่มาออกบูธในงาน CAEXPO จำนวน 76 รายใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มแฟชั่นและเครื่องประดับ กลุ่มสุขภาพและความงาม และกลุ่มของใช้ในครัวเรือนและของตกแต่งบ้าน โดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม SMEs และได้ยืนยันกับผู้ประกอบการว่า จะเพิ่มความเข้มข้นในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป

ทั้งนี้ ยังได้ใช้โอกาสนี้ เข้าเยี่ยมชมคูหาส่งเสริมข้าวไทย และสาธิตการทำเมนูผัดกะเพราหมู ซึ่งมั่นใจว่าข้าวไทย จะได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อ ผู้นำเข้าชาวจีน และผู้เข้าเยี่ยมชมงานจากประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมศูนย์แสดงสินค้าดีเด่นจีน-อาเซียน หรือ China ASEAN Merchantile Exchange (CAMEX หรือ คาเม็กซ์) เป็นโครงการสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าจีน – อาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือ ‘One Belt One Road’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทางเขตกว่างซี ลงทุนก่อตั้งและบริหารจัดการโดยบริษัทสิงคโปร์ CSILP (China-Singapore Nanning International Logistic Park) เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 โดยมั่นใจว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระจายสินค้าจากไทยและอาเชียนเข้าสู่ตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น โดยจะมีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างทูตพาณิชย์ พาณิชย์จังหวัด กับผู้ประกอบการในการนำสินค้ามาจำหน่ายต่อไป

ปัจจุบันมีสินค้าจากประเทศไทยจัดแสดงอยู่ในศูนย์ CAMEX จำนวน 18 บริษัท โดยเป็นสินค้าประเภทอาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ยางพารา อาทิ ข้าวเหนียวมะม่วง จาก จ.ตาก หมอนยางพารา จาก จ.อุตรดิตถ์ เป็นต้น

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ เมืองหนานหนิง ได้บูรณาการร่วมกันกับพาณิชย์จังหวัดต่างๆ ในการส่งเสริมและผลักดันสินค้าโดดเด่นจากท้องถิ่นเข้าร่วมจัดแสดงในศูนย์ฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญของ SMEs ไทยในการบุกตลาดจีนต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภูมิธรรม ขณะเยี่ยมชมคูหา Thailand Pavilion ในงาน China ASEAN Expo ได้สาธิตทำข้าวผัดกะเพรา เพื่อให้คนร่วมงานได้ชิม หนึ่งในการโปรโมตข้าวไทยและสมุนไพรไทย

ธปท. สำนักงานภาคเหนือ จับมือ บสย. จัดโครงการศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs และเปิดโครงการหลักสูตรความรู้ทางการเงินออนไลน์

นางพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร โดยมีผู้แทนร่วมงานได้แก่ นางดุสิดา ทัพวงษ์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นายอาคม ศุภางค์เผ่า ประธานสมาพันธ์ SMEs ส่วนภูมิภาค และ ดร.กอบกิจ อิสรชีววัฒน์ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดโครงการศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ภายใต้ความร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดย บสย. F.A. Center และ โครงการหลักสูตรความรู้ทางการเงินออนไลน์เพื่อผู้ประกอบการ SME ภายใต้ความร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย และหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ โดยหลักสูตรดังกล่าวประกอบด้วย หัวข้อการตรวจสุขภาพธุรกิจด้วยงบการเงิน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน หลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ และภัยทางการเงิน ซึ่งเหมาะกับผู้ประกอบการและประชาชน ผู้สนใจสามารถเข้าเรียนผ่านแพลตฟอร์ม FinDi Platform (findi.tbac.or.th) และ CCA Academy

สำหรับหลักสูตรความรู้ทางการเงินออนไลน์เพื่อผู้ประกอบการ SME เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากความร่วมมือกันจัดอบรมหลักสูตรออนไลน์ “Fin Lit : SMEs Power up” ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมหลักสูตรจำนวนหลายร้อยราย ได้รับความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและการเงิน เช่น การดูงบการเงิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ 

ซึ่งนอกจากการจัดอบรมออนไลน์แล้ว ในวันนี้ ได้มีการเสริมความรู้ด้านการเตรียมพร้อมก่อนกู้เงิน การจัดทำบัญชี CEO  และ PrompBiz: Game Changer ของภาคธุรกิจไทย เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้รับความรู้และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

‘ภาครัฐ’ กระตุ้น SMEs รับมือทิศทางการค้าโลก เร่งปรับตัวเข้าสู่ทิศทางแห่งเศรษฐกิจสีเขียว 

(18 ม.ค.67) นายนที สิทธิประศาสน์ กรรมการและเลขานุการ สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำกลไกการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Transition) สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ทัดเทียมกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 

ทั้งนี้ ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นความท้าทายระดับโลก โดยได้มีคาดการณ์ว่า ในปีพ.ศ. 2593 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ทั่วโลกมีมูลค่าทางเศรษฐกิจลดลง 10% ประเทศไทยจึงมีนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

โดยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC COP ในการประชุมหลายครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีการประกาศเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปีพ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีพ.ศ. 2608 

ขณะที่ในต่างประเทศได้เริ่มใช้เงื่อนไขทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures) เช่น สหภาพยุโรปมีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ CBAM ในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้กระทบต่อการส่งออกของผู้ประกอบการ นอกสหภาพยุโรปแล้ว ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน อาจมีการพิจารณาการใช้มาตรการในลักษณะเดียวกันในอนาคต 

ดังนั้นแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวจึงเป็นหนึ่งในแนวทางเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และจะเป็นการพัฒนาสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลกไปสู่ความยั่งยืน โดยที่ธุรกิจในทุกระดับจึงต้องดำเนินการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันจากนโยบายและมาตรการทางสิ่งแวดล้อมที่บังคับใช้ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีความเข้มข้นขึ้นในอนาคต 

"ส.อ.ท. จึงได้จัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมความพร้อม และยกระดับการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการผลิตในสังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ รวมถึงส่งเสริม และสร้างมาตรฐานการตรวจสอบ การรับประกัน และการรับรองในระดับสากล เพื่อยกระดับการประกอบการอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการทุกขนาด"

นางอภิรดี ขาวเธียร รองผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า สสว. เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว จึงร่วมกับ ส.อ.ท. โดยสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งโดยมากแล้วยังขาดองค์ความรู้และบุคลากรในการปรับตัว เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ทัดเทียมกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความพร้อมในทุกด้านมากกว่า

โดยเริ่มต้นที่กลุ่มอุตสาหกรรม 6 กลุ่ม ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม การท่องเที่ยว พลาสติก สิ่งทอ และอาหาร ซึ่งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกร่วมกับการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการรายกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว และพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการยกระดับโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียวให้สามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมต้นน้ำให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศและเศรษฐกิจระดับมหภาค 

‘ก.อุตฯ’ เดินหน้า!! เพิ่มโอกาส SME เข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมหนุนความรู้ สร้างธุรกิจแกร่งอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน

(6 ก.พ. 67) ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ระบุว่า ปัจจุบันทางกระทรวงฯ ได้เดินหน้านโยบายในการสนับสนุน และขับเคลื่อนศักยภาพผู้ประกอบการ SME แบบองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนแหล่งเงินทุน การลงทุนในเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งการวางแผนธุรกิจที่ชัดเจน การวิเคราะห์ตลาดอย่างรอบคอบ การบริหารการเงินอย่างเป็นระบบ และการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

โดยใช้กลไกของกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SME สู่ การเป็น Smart SMEs และ Global SMEs รวมถึงการยื่นรับรองมาตรฐาน อย่าง ฮาลาล GMP ตลอดจนการยกระดับด้วยเทคโนโลยี และ Ecosystem เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SME ที่สำคัญกระทรวงอุตสาหกรรม มีกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนให้ SME เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีความเข้มแข็ง สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ‘อุตสาหกรรมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน’

ปัจจุบันกระทรวงฯ ยังคงเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME อย่างต่อเนื่อง โดยมีการถอดบทเรียน พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก โดยเจ้าหน้าที่ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME สามารถเติบโต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 9 จังหวัด มีผู้ขอรับสินเชื่อจากโครงการฯ จำนวน 2,138 ราย วงเงินรวมที่ขอ 2,833 ล้านบาท โดยจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีผู้ขอรับสินเชื่อจากโครงการฯ มากที่สุด จำนวน 545 ราย คิดเป็น 25% รวมเป็นจำนวนเงิน 587.17 ล้านบาท

‘รมว.ปุ้ย’ หนุน 'เอสเอ็มอีไทย' เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น ชูโครงการ ‘หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำประกันให้’ เข้าช่วย

(6 ก.พ.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานและสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเข้าถึงหลักประกันและแหล่งเงินทุน ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม, บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่ง เพื่อร่วมกันพัฒนากลไกสนับสนุน SMEs ให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินผ่านการช่วยค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

รมว.พิมพ์ภัทรา เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจทั่วโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้เอสเอ็มอีไม่สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจได้อย่างเต็มกำลัง โดย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สู่ความยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและสตาร์ตอัปให้มีความเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ และความท้าทายรอบด้าน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าอุปสรรคหนึ่งที่สำคัญต่อการก้าวข้ามปัญหา และความท้าทายดังกล่าว คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ทำได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน รัฐบาลโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ออกกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกันได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ายังมีเอสเอ็มอีจำนวนมากต้องใช้ทรัพย์สินของกิจการเพื่อค้ำประกันในสัดส่วนที่สูง เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส และทำให้เอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ต้องแบกรับภาระต้นทุนทางการเงินมากเกินความจำเป็นจากการใช้สินเชื่อผิดประเภท

“เราได้เล็งเห็นสภาพปัญหาดังกล่าว และนำมาเป็นโจทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข อย่างต่อเนื่อง จึงได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งหากลไกการค้ำประกันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกัน ได้รับวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่เพียงพอกับความต้องการในการต่อยอดธุรกิจ เป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่างๆ จนสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ จนส่งผลให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในระดับประเทศและสากลได้”

ทั้งนี้ ด้วยเทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ อาจมีข้อจำกัด ดังนั้น โครงการนี้ จึงหวังที่จะช่วยเอสเอ็มอีได้ยื่นขอเงินสนับสนุนได้ง่ายขึ้น เบื้องต้นคาดมีผู้ประกอบการยื่นขอรับสิทธิ์ราว 1,000 ราย วงเงินสนับสนุนขั้นต่ำระดับ 1,000-2,000 ล้านบาท อีกทั้ง ยังจะช่วยให้เอสเอ็มอีที่ปัจจุบันมียอดการกู้เงินนอกระบบหลักหลายแสนล้านบาท ลดลงด้วย

ด้าน นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ดีพร้อม ตอบรับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับ ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. พัฒนากลไกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยการใช้การค้ำประกันสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นโดยใช้หนังสือค้ำประกันแทนหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีการให้คำปรึกษาทางการเงิน ผ่าน โครงการ ‘ติดปีกเอสเอ็มอี หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำประกันให้’

ทั้งนี้ มี 4 พันธมิตรสถาบันการเงิน เข้าร่วมสนับสนุนสอดรับกับนโยบาย Reshape the Future: โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคตผ่านกลยุทธ์การปรับตัวเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (Reshape the accessibility) ภายใต้นโยบาย DIPROM Connection เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือ สร้างโอกาสและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม กับหน่วยงานพันธมิตรทั้ง 5 ได้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นเรื่องผ่านดีพร้อมเพื่อขอรับการพิจารณาการค้ำประกันและส่งต่อให้กับทางสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2567 โดย ดีพร้อม และ บสย. ร่วมกันพิจารณาการค้ำประกันและสามารถแจ้งผลพิจารณาเบื้องต้นภายใน 7 วันทำการ ซึ่งคาดว่าจะมีเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท และสามารถต่อยอดการเริ่มต้นธุรกิจและสร้างโอกาสเติบโตคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านบาท

ด้าน นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้กระทรวงการคลัง รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง และมั่นใจว่าความร่วมมือในครั้งนี้ บสย. โดย ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน ‘บสย. F.A. Center’ จะช่วยให้ SMEs ที่มีมากกว่า 3.2 ล้านราย โดยเฉพาะรายที่ขาดหลักประกันสินเชื่อสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยการใช้กลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ร่วมกับธนาคารพันธมิตรทั้ง 4 สถาบันการเงิน ภายใต้แนวนโยบายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม DPROM Connection เชื่อมโยงกับทิศทางการเป็น Digital SMEs Gateway ของ บสย. กับบทบาทการเป็นตัวกลางทางการเงิน (Credit Mediator) เพื่อยกระดับการเข้าถึงสินเชื่อพร้อมการค้ำประกันและการให้คำปรึกษาทางการเงิน การปรับแผนธุรกิจ และการแก้หนี้ให้กับ SMEs ในลักษณะการปรับโครงสร้างหนี้ โดย บสย. F.A. Center

ทั้งนี้ บสย. ได้เปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่สมัครและผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถลงทะเบียน Online เข้าร่วมโครงการผ่าน LINE Official Account @tcgfirst ได้ โดยผู้ประกอบการที่สมัครภายใน 30 วันหลังจากวันที่เปิดรับสมัครและได้รับอนุมัติสินเชื่อพร้อมวงเงินค้ำประกัน 100 รายแรก จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันหรือค่าออกหนังสือค้ำประกันทันที

‘รมว.สุชาติ’ กระตุ้น SMEs มอบรางวัลให้บุคคลต้นแบบ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ เผย!! ‘ไทย’ มีศักยภาพพร้อมแข่งขันในตลาดใหญ่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไกลทั่วโลก

(24 ส.ค. 67) ที่ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ชั้น 7 ศูนย์การค้าไอคอนสยาม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน 'Thailand Trade Exponential Fest 2024' ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ว่า “วันนี้ผมได้รับมอบหมายจากท่านภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้มาเป็นประธานในการเปิดงาน 'Thailand Trade Exponential Fest 2024' ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน เป็นที่ทราบกันดีว่าธุรกิจ SME มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งธุรกิจ SME คิดเป็น 99.5 เปอร์เซนต์ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด เป็นแหล่งรองรับการจ้างงานกว่า 70 เปอร์เซนต์ ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ"

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์และทุกหน่วยงานในสังกัดมีหน้าที่ร่วมกันสนับสนุนและขับเคลื่อนการค้าให้เติบโต ช่วยแก้ไข ลดปัญหาและอุปสรรคให้ธุรกิจ SME โดยมีเป้าหมายหลักคือการผลักดันให้ธุรกิจ SME มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในสัดส่วนที่ โตขึ้นจาก 35.2 เปอร์เซนต์ เป็น 40 เปอร์เซนต์ ต่อ GDP ภายในปี 2570”

“ผู้ประกอบการ SME ไทยล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดใหญ่ได้ โดยการจัดงาน“Thailand Trade Exponential Fest 2024” ในวันนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่  ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงการให้คำปรึกษา SME โดยเป็นการรวมพลัง ติดอาวุธและสร้างโอกาสให้ SME ไทย เพื่อขับเคลื่อนมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ  จากวิทยากรชั้นนำของประเทศ อินฟลูเอนเซอร์ และ Key Opinion Leaders ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนและสร้างสรรค์ธุรกิจไทยให้เติบโต และการจัดงานครั้งนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถเป็นแรงกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ SMEs ไทยสามารถสร้างธุรกิจให้เจริญก้าวไกลและสามารถส่งออกไกลไปทั่วโลก” นายสุชาติฯ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับงานนี้ ผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ได้รับฟังประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่ที่ประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจกว่า 20 ชีวิต, Soft power ของไทย 6 หนุ่ม วง PROXIE, โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ จากมันนีโค้ช, ศรุต ทับลอย Game Director ผู้สร้างเกม Home Sweet Home นักแสดงซีรีส์ที่มีกระแสที่โด่งดังไกลไปทั่วเอเชีย, เอิร์ท พิรพัฒน์ วัฒนเศรษสิริ, มิกซ์ สหภาพ วงศ์ราษฎร์ - จิรพิสิษฐ์ รุจน์เจริญ นักธุรกิจรุ่นใหม่ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ 'กางเกงแมวโคราช', ธีระพงศ์ ระบือธรรม ผู้ผลิตยาดมหงส์ไทย, ธี ศิวโรจณ์ คงสกุลผู้กำกับซีรีส์สืบสันดาน, แก๊ป ธนเวทย์ สิริวัฒน์ธนกุล นักแสดงซีรีส์สืบสันดาน และทิป มัณฑิตา จินดา Founder & MD of Digital Tips ที่จะมาเป็น Expert ให้คำปรึกษา SME โดยเป็นการรวมพลัง ติดอาวุธและสร้างโอกาสให้ SME ไทย เพื่อขับเคลื่อนมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ ITD ได้ถ่ายทอดสดภาพและเสียงผ่านระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับชมทั่วประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Hybrid Business Matching การนำเสนอสินค้าหรือแผนธุรกิจบนเวทีสดๆ และมีการจัดเตรียมผู้ซื้อที่เป็นนักธุรกิจจากต่างประเทศ เป็นหนึ่งใน Business Matching ที่ไม่ควรพลาด และ SME Virtual Clinic on Stage ที่ ITD ภูมิใจนำเสนอกับกิจกรรมที่ให้ผู้ประกอบการ SME ขอรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญผ่านแพลตฟอร์ม ITD Expert Anywhere โดยหน้าบริเวณงานยังมีตัวอย่างแบรนด์สินค้า SMEs ที่ประสบความสำเร็จของออกบูธมากกว่า 20 ร้านค้าอีกด้วย

สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs  

เมื่อวานนี้ (10 ต.ค.67) คุณสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) พร้อมด้วย คุณชนพงษ์ รุ่งกิจวัฒนกุล รองประธานอาวุโส คุณรมนต์อร บุญเรือง เลขาธิการ และคณะกรรมการบริหาร เข้าพบท่านประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มาหารือในการประชุมครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

คุณสุปรีย์ นำเสนอว่าประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปัจจุบัน เกิดจากการนิยามและการจำแนกประเภทของ SMEs ที่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ส่งผลให้ความช่วยเหลือที่ภาครัฐส่งลงมาช่วย SMEs ไปไม่ถึง SMEs ดังนั้น จึงเสนอให้มีการยกร่างกฎหมายให้เกิดการรวมตัวของผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบ พระราชบัญญัติสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ที่เป็นกฎหมายใหม่ซึ่งสภาเอสเอ็มอีได้เตรียมร่างเอาไว้แล้ว และกำลังมีกระบวนการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยการรับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ภาคีเครือข่ายที่เป็นตัวแทนของคลัสเตอร์ธุรกิจต่าง ๆ  ตัวแทนจังหวัด นักวิชาการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ สภาเอสเอ็มอีปรับโครงสร้างการบริหารโดยเพิ่มด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ เข้ามาเพื่อส่งเสริมและยกระดับความสามารถของ SMEs ด้านดิจิทัลทั้งระบบนิเวศ (Digital Ecosystem) ให้สอดรับกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ซึ่งการค้าบนโลกออนไลน์นั้น การสร้างอัตลักษณ์หรือแบรนดิ้ง (Branding) ให้กับสินค้านั้นมีความจำเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นก็จะถูกลอกเลียนแบบและแทนที่ได้โดยง่าย ส่งผลให้ SMEs ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน

จากสถานการณ์ภัยคุกคามจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติในปัจจุบัน สภาเอสเอ็มอีเสนอว่าไทยควรจะมีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของประเทศ (National Platform) โดยนำ Thailand Post Mart กลับมาปรับปรุงและใช้งานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น เนื่องจากมีจุดแข็งที่เครือข่ายของไปรษณีย์ไทยมีอยู่ในทุกอำเภอทั่วประเทศ มีเครือข่ายโลจิสติกส์ที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศ พนักงานมีความชำนาญในพื้นที่ ฯลฯ ที่มีความได้เปรียบกว่าแพลตฟอร์มข้ามชาติ สภาเอสเอ็มอีและสมาคมสายเทคโนโลยีพร้อมเข้ามาช่วยในการพัฒนาได้

ดร.สุทัด ครองชนม์ รองประธานสภาเอสเอ็มอี และนายกสมาคมไทยไอโอที (Thai IoT) นำเสนอแนวทางการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (IoT) มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะภาคการผลิต ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีมาลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงจากโรงงาน 2.0 เป็นโรงงาน 4.0 ได้ ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงมาก จึงอยากเสนอให้ท่านพิจารณางบประมาณโครการดังกล่าวลงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คุณอนุสรณ์ ลัภนะก่อเกียรติ รองประธานอาวุโสสภาเอสเอ็มอี และประธานกรรมการบริหารสมาคมเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ข้อมูลว่า ในแต่ปีมีผู้ประกอบการในระบบจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 7-8 หมื่นราย ขณะที่มีการจดทะเบียนเลิกกิจการ 2 หมื่นราย สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจ SMEs นั้นขาดศักยภาพในการเติบโต สอดคล้องกับข้อมูลที่พบว่ามีผู้ประกอบการขนาดเล็ก (S) จำนวน 860,000 ราย ขณะที่มีผู้ประกอบการขนาดกลาง (M) เพียง 40,000 ราย หมายความว่า มี SMEs รายเล็กจำนวนน้อยมากที่สามารถเติบโตไปเป็นขนาดกลางได้ ทั้งนี้ ที่มาของรายได้จะประกอบไปด้วย B2G, B2B, และ B2C ซึ่งภาครัฐจะสามารถเข้ามาช่วย SMEs ได้ด้วยการให้แต้มต่อกับ SMEs จากช่องทาง B2G ผ่านโครงการ SME-GP

ในภาพรวมของผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) ถึงรายเล็ก (Small) ประกอบไปด้วย
1. Skill ให้องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็น Specialize ของแต่ละกิจการ
2. Tool เครื่องมือในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
3. Financial การเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนปรน

คุณสุปรีย์ สรุปแนวทางการพัฒนายกระดับ SMEs ดังนี้
1. ให้ความช่วยเหลือเป็นองค์รวมแบบ Supplier to Business to Customer (S2B2C) ที่ประสบความสำเร็จในจีน โดยต้องมีความพร้อมและพัฒนาทั้งระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้านอีคอมเมิร์ซ ไลฟ์คอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์
2. จูงใจให้ธุรกิจนอกระบบกว่า 2 ล้านกิจการ ให้เข้ามาอยู่ในระบบ (ปัจจุบันในระบบมีอยู่ประมาณ 1 ล้านราย)

ท่านรองนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันกำลังอยู่ในกระบวนการยกร่างกฎหมายไปรษณีย์ไทยที่มีมาแล้วเกือบ 100 ปี ทั้งนี้ เห็นด้วยกับแนวทางการนำแพลตฟอร์มของไปรษณีย์มาปรับปรุงและนำเอาสินค้า SMEs มาเสริมในแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้นโยบายกับ สสว. ไว้เรื่องการปรับเปลี่ยน SMEs จากอุตสาหกรรมโลกเก่าไปเป็นอุตสาหกรรมโลกใหม่ การปิดช่องว่างของซัพพลายเชน และการนำเอา Soft Power มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ท่านรองนายกได้กล่าวสรุปการหารือครั้งนี้
1. นำเรื่องที่หารือกันในวันนี้เข้าที่ประชุมบอร์ด สสว. โดยเชิญผู้บริหารไปรษณีย์ไทยและสภาเอสเอ็มอีเข้าร่วมรับฟังด้วย
2. จัดกิจกรรม Workshop โดยแบ่งวงย่อยประมาณ 3-4 กลุ่ม เพื่อหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละหัวข้อ อาทิ ภัยคุกคามจากต่างชาติ, ปัญหาและอุปสรรค, กฎหมาย SMEs และ ระบบนิเวศ (Ecosystem)

‘อัครเดช’ นำทีม ‘กมธ.อุตสาหกรรม’ ยกคณะลุย!! ‘สวีเดน - เดนมาร์ก’ ประสานความร่วมมือ เดินหน้าการลงทุน ต่อยอด!! ให้อุตสาหกรรมไทย

(24 พ.ย. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยถึงการนำคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม เดินทางไปราชการที่ประเทศเดนมาร์ก และประเทศสวีเดน ว่า

เมื่อคณะเดินทางมาถึงที่ประเทศเดนมาร์ก ได้เข้าพบกับผู้นำของสภาอุตสาหกรรมของประเทศเดนมาร์ก พร้อมเจ้าหน้าที่จากสถานทูตไทย ในประเทศเดนมาร์กเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ทางด้าน AI และทางด้านพลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด ซึ่งต้องการร่วมมือกันผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมของประเทศเดนมาร์กนั้น ก็ได้ให้ความสนใจ ที่จะเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่

กมธ.อุตสาหกรรม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับสถานทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เชิญทางสภาอุตสาหกรรมของประเทศเดนมาร์ก ให้เดินทางมา สัมมนาและประชุมทางด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ร่วมกันอีกครั้งที่ประเทศไทย เพื่อยกระดับความร่วมมือให้เห็นผลเป็นรูปธรรม และพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยทางด้าน AI ให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย

ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่ประเทศเดนมาร์กแล้ว นายอัครเดช และคณะกรรมาธิการ ได้เดินทางต่อไปยังประเทศสวีเดน ซึ่งการเดินทางเยือนในครั้งนี้ ก็เพื่อพบปะกับผู้บริหารของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ นั่นก็คือ AB Tetra Pak ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอาหาร รวมทั้งภาชนะหีบห่อต่าง ๆ ที่ใช้บรรจุอาหาร ซึ่งบริษัทนี้ถือได้ว่ามีชื่อเสียงโด่งดังมากในระดับโลก ซึ่งนายอัครเดช ก็ได้กล่าวว่า จากการประชุมหารือร่วมกันนั้น ปรากฏว่า ทางกรรมการผู้จัดการ ของ AB Tetra Pak มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนเพิ่มเติมที่ประเทศไทย อีกทั้ง ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีแนวคิดที่จะส่งเสริมและพัฒนา SMEs ของไทยที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยจะส่งเสริมทางด้านการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมอาหารร่วมกัน 

นอกจากนี้ นายอัครเดช ก็ยังได้เข้าพบประธาน ENVAC ซึ่งทางด้าน ENVAC นั้นเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในการกำจัดขยะทางท่อทดแทนการขนส่งทางรถบรรทุกขยะนายอัครเดช กล่าวว่า ได้เชิญ ENVAC ให้มาลงทุนที่ประเทศไทย เพื่อมาดำเนินการกำจัดขยะโดยใช้ระบบท่อลำเลียงขยะซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ เพื่อให้การกำจัดขยะนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องจากการลำเลียงขยะโดยระบบท่อลำเลียงจะเป็นการลดมลภาวะและลดการจราจรติดขัดจากรถบรรทุกขยะ ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานที่กรรมาธิการอุตสาหกรรมฯไปพบปะหารือ จะเป็นการส่งเสริมการลงทุน และพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวมอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top