Friday, 29 March 2024
SCBX

ยานแม่ใหม่ 'SCBX' ก้าวสำคัญของ 'ธ.ไทยพาณิชย์' แปรสภาพธุรกิจ สู่บริษัทเทคโนโลยีเต็มตัว

หลังจากมีข่าว SCB หรือธนาคารไทยพาณิชย์เกี่ยวกับการนำบริษัทออกจากตลาด และจะมีการแลกหุ้นบริษัทใหม่ ชื่อว่า 'SCBX' ก็ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า SCB ทำเช่นนี้ไปเพื่ออะไร? 

เรื่องนี้ เพจ 'ลงทุนแมน' ได้สรุปประเด็น SCBX ยานแม่ใหม่ของ SCB ไว้อย่างชัดเจน โดยระบุว่า... 

ทางบริษัทได้ให้เหตุผลว่าการจัดตั้ง SCBX ขึ้น เพื่อทำให้ธุรกิจยังคงมีความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้ โดย SCB ให้คำนิยามกับ SCBX ว่าเป็น Mothership หรือ “ยานแม่”

เพราะปัจจุบัน แม้ว่า SCB จะมีธุรกิจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสถาบันการเงิน เช่น SCB10X ที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 

แต่ด้วยความที่ยังอยู่ภายใต้โครงสร้างของแบงก์ จึงทำให้มีข้อจำกัดและดำเนินกิจการได้ไม่เต็มที่

โดยโครงสร้างใหม่ภายใต้บริษัทแม่อย่าง SCBX จะทำให้บริษัทสามารถแบ่งรูปแบบของธุรกิจได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ... 

1.) ธุรกิจ Cash Cow ซึ่งก็คือ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน
2.) ธุรกิจ New Growth

จากการแบ่งกลุ่มธุรกิจ จะเห็นได้ว่า SCB พยายามแยกธุรกิจแบงก์กับธุรกิจอื่นออกจากกัน
ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจใหม่ ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบและกฎเกณฑ์ของธุรกิจธนาคารเดิม

และจากการแถลงเกี่ยวกับธุรกิจ New Growth
สิ่งที่เห็น ก็คือ SCB จะย่อยแต่ละธุรกิจออกเป็นบริษัทย่อย ซึ่งแต่ละบริษัท ก็จะมีทีมและมีผู้บริหาร ซึ่งแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง เช่น... 

- Card X บริษัทที่โอนกิจการออกมาจาก SCB (Spin-Off) ทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต โดยน่าจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในเร็ว ๆ นี้

- Alpha X บริษัทที่ร่วมมือกับ Millennium Group ปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของรถหรูและยานพาหนะทางน้ำ เช่น เรือยอช์ต

- Tech X ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทำธุรกิจเทคโนโลยี

- AISCB ร่วมมือกับ AIS ทำสินเชื่อ Digital

โดยบริษัท ก็ได้ตั้งเป้าหมายให้แต่ละบริษัทย่อย สามารถเติบโตและ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเอง

ซึ่งการเติบโตที่ว่านั้น ก็จะรวมไปถึงการรุกธุรกิจไปยังต่างประเทศในระดับภูมิภาค เช่น อินโดนีเซียและเวียดนาม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับฐานลูกค้า ที่ปัจจุบันมีอยู่ 14 ล้านราย ให้เป็น 200 ล้านราย

โดยบริษัททั้งหมดในเครือ มีมูลค่ารวมกันราว “1 ล้านล้านบาท” ในอนาคต

ในขณะเดียวกัน SCB ก็ได้ประกาศจัดตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600 - 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,100 - 26,800 ล้านบาท) ร่วมกับเครือซีพี โดยมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีด้านบล็อกเชน, สินทรัพย์ดิจิทัล, Decentralized Finance, FinTech และเทคโนโลยีอื่น ๆ

โดยกองทุน Venture Capital นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จะลงทุนเป็นจำนวนเงิน ฝ่ายละ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่เหลือจะระดมทุนจากนักลงทุนที่ได้รับการรับรอง (Accredited Investor)

สำหรับทีม SCB10X เดิม บางส่วนก็จะเข้ามาร่วมทำงานใน Venture Capital ใหม่นี้

นอกจากนั้น SCBX ที่เป็นยานแม่ที่ทำตัวเป็นบริษัทโฮลดิงก็ยังถือหุ้นในอีกหลายธุรกิจ เช่น... 

- Auto X ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ ลีสซิ่ง เน้นกลุ่มรากหญ้า

- SCB Securities ทำธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่ง SCB Securities จะถือหุ้นใน Token X ที่ดูแลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

- Purple Ventures ที่ทำธุรกิจส่งอาหารชื่อ Robinhood ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี

- SCB ABACUS ที่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อออนไลน์ “เงินทันเด้อ” โดยใช้เทคโนโลยี AI ที่เพิ่งคว้าเงินระดมทุน 400 ล้านบาท

'อาร์ต พศุตม์' โพสต์!! ลงทุน 'บิทคับ' จาก 1.2 ล้าน เหลือ 4 แสนบาท

แล้วชีวิตคุณจะเปลี่ยนไป อาร์ต พศุตม์ โพสต์ภาพหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ กรณีไทยพาณิชย์ล้มดีลบิทคับ เผยประสบการณ์ตรง ระบุลงพอร์ตไปล้านสอง ปัจจุบันเหลือ 4 แสน ต่อไปจะเหลือเท่าไหร่

วันนี้ (26 ส.ค.) จากกรณีที่บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทแม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ซึ่งเป็นบริษัทย่อย มีมติให้ยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้น ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จาก บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท หลังพบว่าบิทคับยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องระยะเวลาในการหาข้อสรุป ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
 

ยกระดับการบริการ!! SCBX จับมือ KakaoBank ผู้นำด้านดิจิทัลเกาหลีใต้ ดันตั้ง ‘Virtual Bank’ เจาะกลุ่มที่เข้าไม่ถึงการบริการ

(16 มิ.ย. 66) นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางรายได้ (Income Inequality) ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ หรือ Pain Point ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบ (Underserved Group) เรื่องนี้นับเป็นหนึ่งในโจทย์หลักที่กลุ่ม SCBX ตระหนักและให้ความสำคัญ ซึ่งการถือกำเนิดของ Virtual Bank จะช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มโอกาสให้กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบนี้ ให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และการจัดตั้ง Virtual Bank ให้แข็งแรงนั้น จะต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคตที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการให้บริการเพื่อความพึ่งพอใจสูงสุดของลูกค้า

“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ KakaoBank พันธมิตรระดับโลกซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัล 100% ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ที่มีจุดแข็งคือความเชียวชาญและประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ Virtual Bank ตลอดจนมีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถ พร้อมสนับสนุนให้กลุ่ม SCBX ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการเทคโนโลยีทางการเงินในประเทศไทย และมีความเข้าใจถึงความต้องการของตลาดเป็นอย่างดี ในการดำเนินธุรกิจ Virtual Bank ในเมืองไทยให้ประสบความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ในการช่วยเพิ่ม โอกาสคนไทย โดยเฉพาะกลุ่ม Underserved ให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างสะดวก และทั่วถึง โดยการลงนามความร่วมมือจัดตั้ง Consortium ในครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารไร้สาขา หรือ Virtua/ Bank จากธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป” นายอาทิตย์ กล่าวเสริม

ทั้งนี้ SCBX และ KakaoBank กำลังร่วมกันพิจารณาหาพันธมิตรเพิ่มเติม เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนความแข็งแกร่งให้ครบทุกมิติในการขอใบอนุญาตเพื่อจัดตั้งและประกอบธุรกิจ Virtual Bank ในประเทศไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top