Sunday, 28 April 2024
PoliticsTips

สมานฉันท์สมชื่อหรือเอาเท่ห์

ในช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองบ้านเราร้อนระอุมากขึ้นทุกที และดูเหมือนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆไม่มีหยุด จากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่เมื่อการเรียกร้องเริ่มมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป คงหนีไม่พ้นต้องมีคนเข้ามาห้ามมวย เพื่อช่วยคลี่คลายความขัดแย้งอันร้อนระอุนี้ให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

แล้วใครล่ะจะเป็นคนที่เข้ามาห้ามมวยระดับประเทศ ? ในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประเทศ กรรมการห้ามมวยก็มีมาหลาย ๆ ต่อหลายชื่อต่างกันไปในแต่ละยุครัฐบาลก็เท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงในช่วงเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น "คณะกรรมการสมานฉันท์"

ซึ่งนำทีมโดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา "ชวน หลีกภัย" ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันพระปกเกล้าให้วางโครงสร้างคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์หาทางออกให้ประเทศ

ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์นี้จะเข้ามามีบทบาทในการเปิดเวทีให้คู่ขัดแย้งได้พูดคุยถึงปัญหาและหา "ตรงกลาง" ให้กับทั้งสองฝ่าย โดยให้ทั้งสองฝ่ายมาถกปัญหากันด้วยเหตุและผล เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งจุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้นมาจากการที่ต้องการให้คนในประเทศไม่ทะเลาะกันและปรองดองกันในที่สุด แต่สุดท้ายเมื่อตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาแล้วจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงอย่างชื่อหรือเปล่าล่ะ ?

โดยแนวทางในตอนนี้มีด้วยกัน 2 แนวทาง ทางแรกมีคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ 7 หรือ 5 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจหรือจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผุ้ชุมนุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่มีองค์ประกอบครบทุกฝ่าย

ในส่วนของทางที่สองคือการเสนอ "คนกลาง" จากแต่ละฝ่ายเพื่อมาเป็นคณะกรรมการหรือประธานรัฐสภาสรรหาบุคคล หรือจะตั้งประธานคณะกรรมการโดยการทาบทามมาเป็นคณะกรรมการ

ในตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปมาว่าจะใช้แนวทางไหนหรืออาจมีการนำทั้งสองแนวทางมาผสมกันเพื่อให้เกิดความลงตัวมากขึ้น ถ้าเกิดมาในแนวทางนี้จริงก็คงเป็นการหาทางออกที่ผ่านเสียงจากทุกฝ่าย

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าไม่มีฝ่ายค้านไหนเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย หรือง่าย ๆ "ไม่เอาด้วย" เพราะหลายฝ่ายกลับมองว่าเป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลมากกว่า

ถ้าคณะกรรมการสมานฉันท์เป็นเหมือนกับการหงายการ์ดปรองดองอย่างรัฐบาลต่างๆที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการเป็นฟูกลดแรงกระแทกให้กับทางฝั่งรัฐบาลหรือเป็นการซื้อเวลาเสียมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ที่สุดท้ายแล้วข้อเสนอหรือรายงานต่าง ๆ ถูกดองหรือนำออกมาใช้เพียงน้อยนิด สุดท้ายถ้าเป็นไปในรูปแบบเดิมการตั้งคณะกรรการสมานฉันท์ก็มีขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกจากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เท่านั้น

การเมืองที่ไม่จบลงแค่ ‘ ม็อบ ’

“ ศิลปะ “ เป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับมนุษย์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปในสังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงเรื่องการเมือง ศิลปะจึงเป็นกระบอกเสียงของประชาชนที่สะท้อนความเห็นผ่านการเรียกร้องอย่างมีชั้นเชิงจากความสร้างสรรค์ในศิลปะ เมื่อเห็นแบบนี้แล้วม็อบก็คงไม่ใช่ทางออกเดียวที่จะแสดงความเห็นหรือแสดงจุดยืน

.

The States Times จึงได้รวม 4 ผลงานศิลปะที่สะท้อนภาพทางการเมืองที่ไม่ได้มีเพียงแค่ ‘ ม็อบ ’ จากศิลปินสุดเจ๋งที่ใช้ศิลปะมาแสดงออกอย่างแสบสันและสร้างสรรค์

.

.

A Show of Hands - Htein Lin
ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชาวพม่า สื่อสารผ่านปูนปลาสเตอร์ที่หล่อจากมือของอดีตนักโทษทางการเมือง สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายที่รัฐบาลพม่าได้หยิบยื่นให้กับอดีตนักโทษเหล่านี้
.
Credit : https://www.albrightknox.org/art/exhibitions/htein-lin-show-hands

.

.

Israeli & Palestinian Pillow Fight- Banksy
ผลงานจากศิลปินชื่อดังระดับโลกที่ฝากผลงานเสียดสีแสนเจ็บแสบไว้ตามผนังตึกบ้านเรือนต่างๆเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับผลงาน Israeli & Palestini-an Pillow Fight ภาพสะท้อนของสงครามที่มีเพียงกำแพงกั้น ของสงครามอิสราเอลและปราเลสไตล์
.
Credit : Facebook Banksy

.

.

Politicians' Lies - Marco Melgrati
ผลงานสุดกวนจากศิลปินอิสระชาวอิตาเลียน
ผู้เสียดสีการเมืองผู้จิกกัดนักการเมืองผ่านภาพวาดที่ว่าด้วยคำโกหกต่างๆที่ออกมาผ่านฉากหน้าที่อยู่ในรูปแบบนักการเมือง
.
Credit : Facebook Marco Melgrati

.

.

Carcass - Petr Pavlensky
ศิลปะแสดงสดจากศิลปินชาวรัสเซีย ที่ทุ่มสุดตัวด้วยการนอนเปลือยกายในลวดหนามเพื่อแสดงให้เห็นถึง จุดยืนในการต่อต้านนโยบายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนจากรัฐบาลของรัฐเซีย
.
Credit : https://www.saatchigallery.com/art/art-riot.php

Thailand is the land of compromise.

The States Times ได้รวบรวมความพยายามรัฐบาลไทย ปรองดองแต่ไหนถามใจเธอดู!!

Who is อบจ.

ก่อนจะเลือกตั้ง อบจ. 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้มาทำดูกันก่อนดีกว่าว่าเขาเหล่านี้มีที่มายังไงแล้วมาทำอะไรให้กับพี่น้องประชาชนกันบ้าง

.

5 Facts About 'ม.112'

5 เรื่องที่อยากให้รู้ กับมาตรา 112 ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ไปดูกัน !!
 

 

รู้จัก ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ ใน ‘10 บรรทัด’ (A4)

1.‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ คือ ทรัพย์สินที่ตกทอดมาตั้งแต่ราชวงศ์จักรี

2.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ตกมาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน

3.จากนั้นจะถูกตั้งเป็น ‘สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ ที่มีกระทรวงการคลังดูแล

4.ทรัพย์สินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้กับการช่วยเหลือประชาชน

5.อีกส่วนหนึ่งนำมาลงทุนเมื่อได้ผลกำไรจะนำมาถวายต่อในหลวงตามสมควร

6.นอกเหนือจากนั้นจะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน

7.ส่วน ‘ทรัพยสินส่วนพระองค์’ คือ ทรัพย์สินส่วนตัวของในหลวง ที่นำไปใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย

8.แต่ก็ต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐรวมไปถึงมูลนิธิต่างๆ ที่ในหลวงก่อตั้งขึ้นด้วย

9.ส่วน ’ทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี’ อยู่ใต้การดูแลจาก ‘กรมธนารักษ์’ เช่น ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลต่างๆ

10.ทรัพย์สินส่วนนี้มีงบปีละ 2,000 ล้านบาทให้แก่สำนักพระราชวัง แต่ยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกฯ โดยตรง

สงครามกลางเมือง!! ประตูแห่งการเลี่ยงคุกของนักการเมืองคดีอ่วม

ต่อให้เห็นต่างกันแค่ไหน ต่อให้มีม็อบกันกี่รอบ หรือกี่ครั้งยังไง
.

แต่เชื่อว่าตอนนี้ คนไทยน่าจะไม่ต้องการเห็นสิ่งที่เรียกว่า ‘สงครามการเมือง’ ในรูปแบบของม็อบชนม็อบที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งแบบวันประชุมรัฐสภาที่เกียกกาย
.

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตให้ดี จะพบว่าเริ่มมีการกำหนดเป้าหมายในการเคลื่อนไหว ที่สะท้อนความพยายามแบบยั่วยุปลุกปั่นจากม็อบราษฎรออกมาสารพัดแนวมากขึ้น ซึ่งทุกๆ ครั้งก็ทวีความดุเดือดจนเริ่มทำให้ประชาชนอีกฟากที่เห็นต่างเริ่มเกิดความไม่พอใจ 
.

...และก็หวังที่จะให้เกิดความรุนแรงแบบ ‘ม็อบชนม็อบ’ 
.

พอเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ‘นักการเมืองบางกลุ่ม’ ที่มีคดีรอให้ขาก้าวเข้าตาราง ก็อาจจะหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการขอลี้ภัยไปต่างประเทศ เพื่อหลบหนีคดีอาญาต่างๆ ได้โดยง่าย
.

เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าขบคิด หลังจาก ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกมากล่าว โดยอิงกรณีที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าออกมาระบุถึงการทำนำมาตรา 112 มาบังคับใช้เป็นการราดน้ำมันบนกองไฟของสถานการณ์ต่อจากนี้
.

ทิพานัน มองว่า “พฤติกรรมนี้มาจากกลุ่มบุคคลที่คอยฉกฉวยผลประโยชน์จากการชุมนุม โดยเฉพาะการวางแผนให้กลุ่มผู้ชุมนุม เคลื่อนไหวไปในสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์และการแสดงออกที่เข้าข่ายคุกคาม อาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันและฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่งผลให้กลุ่มประชาชนผู้จงรักภักดี เกิดความไม่สบายใจ และทนไม่ไหว ไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวกับการนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาบังคับใช้ นายธนาธรจึงไม่ควรเบี่ยงเบนประเด็นไปใส่ร้ายว่ามาตรา 112 เป็นชนวนเหตุ เช่นเดียวกับที่นายธนาธรมักจะอ้างว่าถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ทั้งที่นายธนาธรรู้ตนเองดีว่ากระทำผิดกฎหมายในการถือครองหุ้นสื่อ ให้เงินกู้ผิดกฎหมายกับพรรค”
.

ฉะนั้นเกมนี้ หากจะเป็นการเปิดศึก เพื่อกรุยทางให้รอดจากคดีส่อคุกที่ติดตัว มันก็มีความเป็นไปได้ทั้งหมดเหมือนกัน เพียงแต่คนที่เจ็บตัว จะรู้หรือไม่ว่า พวกเขาทำไปเพื่อใคร?
.

แน่นอนว่านาทีนี้กระแสสังคมในโลกโซเชียลไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า เรียกว่า ‘ไม่เอาทุกม็อบ’ และพยายามเตือนให้กลุ่มประชาชนปกป้องสถาบันอยู่ในที่ตั้ง ไม่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะเสี่ยงอาจมีผู้ไม่หวังดี สร้างสถานการณ์ 
.

ที่สำคัญคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางทางการเมืองกำลังเริ่มเดินหน้า โดยมีการประกาศโครงสร้างของคณะกรรมการออกมาแล้ว ซึ่งมี ‘โควต้าตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุม’ ด้วย 
.

ฉะนั้นหากมีกลไกที่ถูกต้องแล้ว ควรยุติความขัดแย้งด้วยกระบวนการเจรจาจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่า...


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top