Saturday, 10 May 2025
PoliticsQUIZ

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (1 มกราคม พ.ศ.2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 279 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 7,163 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 63 ราย รักษาหายเพิ่ม 33 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,273 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 2,827 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 279 ราย เป็นคนไทย 1 ราย ,สัญชาติเยอรมัน 1 ราย,อิตาลี 1 ราย,สโลวีเนีย 1 ราย,จีน 2 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ จาก เยอรมนี 1 ราย ,สหราชอาณาจักร 2 ราย ,เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 1 ราย ,สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ราย ,สหรัฐอเมริกา 1 ราย ผ่านการคัดกรองและเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 257 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 16 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 378 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.43 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.11 แสน เสียชีวิต 22,138 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.13 แสน ราย รักษาหายแล้ว 88,941 ราย เสียชีวิต 471 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.25 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.07 ราย เสียชีวิต 2,682 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.74 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,244 ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,599 ราย รักษาหายแล้ว 58,449 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,465 ราย รักษาหายแล้ว1,325 ราย เสียชีวิต 35 ราย

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (2 มกราคม พ.ศ.2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 216 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 7,379 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 64 ราย รักษาหายเพิ่ม 26 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,299 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3,016 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 216 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จากอินเดีย 1 ราย ,สหรัฐอเมริกา 1 ราย

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 182 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 32 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 379 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.51 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.18 แสน เสียชีวิต 22,329 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.15 แสน ราย รักษาหายแล้ว 91,171 ราย เสียชีวิต 474 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.25 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.08 ราย เสียชีวิต 2,697 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.76 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,248 ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,629 ราย รักษาหายแล้ว 58,449 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,474 ราย รักษาหายแล้ว1,325 ราย เสียชีวิต 35 ราย

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (3 มกราคม พ.ศ.2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 315 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 7,694 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 64 ราย รักษาหายเพิ่ม 38 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,337 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3,293 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 315 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จากบาร์เรน 1 ราย ,ปากีสถาน 3 ราย , คูเวต 1 ราย,สหรัฐอเมริกา 4 ราย ,รัสเซีย 2 ราย ,อิตาลี 1 ราย,อินโดนีเซีย 1 ราย ,กาตาร์ 2 ราย ,อียิปต์ 3 ราย,เอธิโอเปีย 1 ราย , อินเดีย 1 ราย ,สหราชอาณาจักร 1 ราย

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 274 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 20 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 381 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.58 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.26 แสน เสียชีวิต 22,555 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.17 แสน ราย รักษาหายแล้ว 94,492 ราย เสียชีวิต 483 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.26 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.09 ราย เสียชีวิต 2,711 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.77 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,253  ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,662 ราย รักษาหายแล้ว 58,476 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,482 ราย รักษาหายแล้ว1,337 ราย เสียชีวิต 35 ราย

ครม.มีมติเห็นชอบ ผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเลี่ยงการนำเข้าแรงงานต่างด้าว

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ซึ่งพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งในกลุ่มคนไทยและคนต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลโดยการนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ทำงานอย่างถูกต้อง และมีการหลบหนีเนื่องจากเกรงกลัวความผิด จึงควรมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบ คัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดมาตรการ เฝ้าระวัง ติดตาม ควบคุม และป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค จนส่งผลกระทบต่อชีวิต และสุขภาพอนามัยของประชาชนคนไทยและแรงงานต่างด้าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่อง การผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ควบคุม และป้องกัน มิให้ส่งผลกระทบต่อชีวิต และสุขภาพอนามัยของประชาชนคนไทย โดยการผ่อนผันให้

1.) คนต่างด้าวที่มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน

2.) คนต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าง/สถานประกอบการจ้างงาน

และ 3.) ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายออกประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงาน และคนต่างด้าวทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ต้องดำเนินการตามแนวทางที่ประกาศทั้ง 2 ฉบับกำหนด เพื่อให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

"นายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน และจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนี้

1.) คนต่างด้าวที่มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี

- นายจ้าง/สถานประกอบการ ดำเนินการแจ้งรายชื่อคนต่างด้าว ผ่านระบบออนไลน์ โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายคนต่างด้าว ตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

- นายจ้าง/สถานประกอบการ พาคนต่างด้าวเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และตรวจสุขภาพโรคต้องห้าม กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และซื้อประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยต้องดำเนินการภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

- นายจ้าง/สถานประกอบการชำระค่าคำขอและค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 1,900 บาท และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้าม พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน จะต้องไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรสีชมพู ตามวิธีการและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

2.) คนต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าง/สถานประกอบการจ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี

- คนต่างด้าวต้องยื่นเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมี 4 ภาษา คือ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวจะใช้แบบแจ้งข้อมูลบุคคล ในการเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และตรวจสุขภาพโรคต้องห้าม กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และซื้อประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยต้องดำเนินการภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจโรค จะต้องไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามวิธีการและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดภายในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (คนต่างด้าวจะได้รับใบจัดทำทะเบียนประวัติ (ทร 38/1) เป็นหลักฐาน โดยที่ยังไม่ได้รับบัตรสีชมพู)

- คนต่างด้าวหานายจ้าง และลงทะเบียนรายชื่อคนต่างด้าวกับกรมการจัดหางาน และใช้บัญชีรายชื่อที่ได้การอนุมัติจากกรมการจัดหางาน ชำระเงินค่าคำขอและค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 1,900 บาท และให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้าม พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวไปปรับปรุงประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรสีชมพู ตามวิธีการและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

สำหรับคนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการประมงทะเล จะต้องไปจัดทำหนังสือ คนประจำเรือ หรือ Seabook (เล่มสีเขียว) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) โดยมีค่าธรรมเนียม 100 บาท และเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) พิจารณาเรียบร้อยแล้วคนต่างด้าวจะได้รับหนังสือคนประจำเรือ หรือ Seabook (เล่มสีเขียว) เป็นหลักฐาน ใช้คู่กับบัตรสีชมพูในการอยู่และทำงานในประเทศ" นายสุชาติฯ กล่าว

ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลั่น ไร้บ่อนในกทม. ย้อนอธิบดีกรมควบคุมโรค ถ้ามีคนติดโควิดจากบ่อน ให้มาบอก พร้อมโยนเป็นหน้าที่ตำรวจ เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ระบุถึงกรณีที่นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคระบุว่า สอบสวนพบผู้ติดเชื้อมาจากบ่อนพนันในกทม.นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "อันนี้ไม่ทราบต้องถามนพ.โอภาสดู ถ้ารู้ก็ต้องมาบอก เรื่องของบ่อนไม่มีแล้วเพราะผิดกฎหมาย และตำรวจท้องที่ต้องดูแลให้ไม่มี"

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงความร่วมมือของประชาชนต่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า "ต้องขอขอบคุณประชาชนทั่วไป ที่ช่วยกันดูแลในเรื่องนี้และให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการดูแลตัวเอง เพราะเราไม่อยากให้ระบาดออกไป"

ส่วนแนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ก็ธรรมดา เพราะมีการเดินทางกันไปไหนต่อไหน เวลานี้ก็พยายามอย่าออกจากบ้าน เพื่อดูแลไม่ให้เกิดการระบาดออกไป"

ส่วนการลักลอบเข้ามาตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นหรือไม่ พล.อ.ประวิตร ยืนยันว่า "ไม่มีแล้วเพราะเราใช้กำลังทหารเพิ่มมากขึ้น และความจริง การดูแลเราก็ทำมานานแล้ว ซึ่งก็เกิดมาจากจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดระยอง ที่เราจะต้องดูแลให้มากและประชาชนต้องให้ความร่วมมือกับรัฐให้มากขึ้น สำหรับเรื่องการตั้งโรงพยาบาลสนาม เวลานี้ก็เรียบร้อยแล้ว"

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (4 มกราคม พ.ศ. 2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 745 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 8,439 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 65 ราย รักษาหายเพิ่ม 15 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,352 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 4,022 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 745 ราย เป็น ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จากอิตาลี 2 ราย ,รัสเซีย 1 ราย ,สหราชอาณาจักร 3 ราย ,อียิปต์ 1 ราย ,อินเดีย 1 ราย ,สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย ,ญี่ปุ่น 1 ราย ,ตุรกี 2 ราย ,เอธิโอเปีย 1 ราย ,สวีเดน 3 ราย

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 152 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 577 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 172 ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 382 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.65 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.32 แสน เสียชีวิต 22,734 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.19 แสน ราย รักษาหายแล้ว 97,218 ราย เสียชีวิต 494 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.26 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.1 แสน ราย เสียชีวิต 2,728 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.78 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.48 แสน ราย เสียชีวิต 9,257 ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,697 ราย รักษาหายแล้ว 58,487 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมติดเชื้อ 1,494 ราย รักษาหายแล้ว1,339 ราย เสียชีวิต 35 ราย

กองทัพเรือ ส่งมอบโรงพยาบาลสนามพลเรือนแห่งที่ 2 สนามฝึกทร.บ้านจันทเขลม ให้แก่สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี ใช้งานรองรับผู้ป่วยโควิด-19

พล.ร.ท.เชษฐา ใจเปี่ยม โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า พล.ร.ต.นพดล ฐิตวัฒนะสกุล ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นผู้แทนกองทัพเรือ ส่งมอบโรงพยาบาลสนามให้แก่สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี เพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลสนามในพื้นที่จ.จันทบุรี โดยมีนายฤหัส ไชยศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และนพ.อภิรักษ์ พิศุทธิ์อาภรณ์ สาธารณสูขจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ร่วมรับมอบ ที่สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม ต.จันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในพื้นที่จ.จันทบุรี มีผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่เนื่องด้วยโรงพยาบาลในจังหวัดเหลือจำนวนเตียงที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยติดเชื้อเพียง 31 เตียงเท่านั้น จ.จันทบุรีจึงได้ขอความอนุเคราะห์กองทัพเรือใช้สถานที่เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

โดยผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ จะเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนมีอาการดีขึ้น หรือไม่มีอาการรุนแรง และจะทำการรักษาในโรงพยาบาลสนามจนกว่าจะมีผลเป็นลบหรือตรวจไม่พบเชื้อ

อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลสนามนี้มีจำนวน 6 อาคาร ประกอบด้วย อาคารควบคุม 1 อาคาร อาคารรับผู้ป่วย จำนวน 4 อาคาร และอาคารประกอบเลี้ยง 1 อาคาร สามารถรองรับผู้ป่วยได้สูงสุด 232 คน ซึ่งกองทัพเรือได้จัดเตรียมสถานที่เป็นโรงพยาบาลสนาม กรณีเกินขีดความสามารถในการรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลหลักในพื้นที่จ.ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี จำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วย ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า สนามฝึกกองทัพเรือ บ้านจันทเขลม และศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงลำดับสิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่ "ป้องกัน" ยัน "ทำให้สิ้นซาก" แต่เป็นเรื่องยากต้องอยู่กับมันไปอีกนาน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงลำดับสิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ข้อความว่า

โควิด 19 เมื่อมีการระบาดรอบใหม่

สิ่งที่สำคัญในการควบคุมการระบาด จะต้องเป็นไปตามลำดับ ดังนี้

1.) การป้องกัน

ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด กระจายออกไป ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกนอกบ้าน ล้างมือและใช้ alcohol กำหนดระยะห่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรืออยู่บ้านดีที่สุด หลีกเลี่ยงแหล่งอโคจร

2.) การควบคุม

เป็นหน้าที่ของทุกคน รวมทั้งทางกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในขอบเขต ที่ควบคุมได้ มีมาตรการต่างๆเบาไปหาหนัก สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งถึงปิดเมืองเด็ดขาด แบบอู่ฮั่น

3.) การลดปริมาณโรคให้น้อยลง

จัดการตรวจวินิจฉัยแยก คัดกรอง ให้ความรู้ โดยเฉพาะในแหล่งระบาดให้เกิดโรค หรือติดต่อแพร่กระจายให้น้อยที่สุด ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปจุดอื่น ๆ

4.) การกวาดล้าง

เมื่อโรคเหลือจำนวนน้อยลง จะต้องยังคงมาตรการ เพื่อให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป

5.) การทำให้โรคหมด

ด้วยกฎเกณฑ์จะต้อง ไม่พบผู้ป่วยในบริเวณนั้นอย่างน้อย 2 เท่าของระยะฟักตัว หรือ 28 วัน จึงจะสามารถกล่าวได้ว่า โรคนั้นหมดไป

6.) การทำให้สูญพันธุ์

คงเป็นการยากมากแล้วที่จะทำให้โรค covid-19 สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้

จากสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นการยากมากที่จะทำให้โรคหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และยังมีความเชื่อว่า เราจะต้องอยู่กลับ covid-19 ไปอีกนาน

ขณะนี้สิ่งที่ต้องการที่สุดอยู่ในมาตรการการป้องกันและการควบคุมไม่ให้จำนวนโรคหรือผู้ป่วยมากไปกว่านี้ ถ้าเราไม่สามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้เราอยากเห็นจำนวนผู้ป่วยเป็นหลักเลข 4 ตัวต่อวัน

ยอดผู้ป่วยที่เราเห็นอยู่ทุกวันขณะนี้ จะสะท้อนความเป็นจริงเมื่อ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา การติดโรคกว่าจะมีอาการและได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจะใช้เวลากว่า 1 อาทิตย์ การติดโรคนะวันนี้ อาจจะมากกว่านี้อีกหลายเท่า ถ้าเราไม่ช่วยกัน

ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ‘เนวิน ชิดชอบ’ มอบหน้ากากอนามัยกว่า 6 หมื่นชิ้น ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้สำหรับแจกประชาชน หากพบใครไม่ใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน ต้องบำเพ็ญประโยชน์ก่อนแจกฟรี

เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มอบหน้ากากอนามัย จำนวน 68,000 ชิ้น ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งด่านตรวจ มอบให้กับประชาชาชนที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัย ออกมาในที่สาธารณะ

โดยมีเงื่อนไขว่า บุคคลที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ จะต้องถูกทำโทษทางสังคม โดยต้องบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสังคม 30 นาที (เช่น เก็บขยะ ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ) แล้วจึงจะแจกหน้ากาก ฟรี

นายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ให้ ขยายเวลานั่งทานอาหารในร้านได้จนถึง 21.00 น. ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพิ่มอีก 45 วัน

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยว่า ให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานครที่จะให้ร้านอาหารห้ามให้นั่งรับประทานอาหารจากเวลา 19.00 น.- 06.00 น.เป็นเวลา 21.00 น.- 06.00 น. ยืนยันยังไม่มีการประกาศล็อคดาวน์จังหวัดใด โดยให้แต่ละพื้นที่เป็นผู้กำหนดตามสถานการณ์เอง

นอกจากนี้ ที่ประชุมมศบค.ยังมีมติขยายการต่อเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จะหมดอายุในวันที่ 15 มค.นี้ออกไปอีก 45 วัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top