Thursday, 25 April 2024
Pfizer

สมุทรสาคร - Kick Off สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน (Pfizer) ในเด็กนักเรียน ส่วนผู้ติดเชื้อรายวัน 145 ราย

เมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ที่โรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุกูลราษฎร์) หรือโรงเรียนเทศบาล 8 ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิดโครงการ Kick Off การสร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีนในเด็กนักเรียน โดยการฉีดวัคซีน Pfizer ให้กับนักเรียนที่มีอายุ 12 – 17 ปี มีนายประกิจ สาระเทพ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสมุทรสาครและคณะ ศึกษาธิการจังหวัด บุคลากรทางด้านสาธารณสุข  ผู้มีเกียรติ คณะครู และผู้ปกครองที่ได้นำเด็กนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัยจำนวน 909 คน มาเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มแรกในวันแรก และเป็นโรงเรียนำร่องแห่งแรกของจังหวัดสมุทรสาครที่มีการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน

นายประกิจ สาระเทพ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ได้รายงานว่า เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาตรการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ วัคซีนโควิด-19 นั้น เป็นมาตรการในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ และที่ผ่านมาจังหวัดสมุทรสาคร ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 585,601 คน ครอบคลุมประชากรร้อยละ 61.44  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้การได้รับวัคซีนโควิด 19 ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่มีอายุ 12-17 ปี ลดความเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ประเทศไทยจึงมีนโยบายให้วัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อไฟเซอร์ (Pfizer) สำหรับกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีอายุ 12 - 17 ปี

ผ่านสถาบันการศึกษาในรูปแบบวัคซีนนักเรียน (School-based vaccination) ซึ่งในส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร จากการสำรวจความประสงค์ของผู้ปกครองผ่านสำนักศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ผู้ปกครองมีความประสงค์ให้บุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวนทั้งสิ้น 27,000 คน จากที่มีเด็กนักเรียนในกลุ่มอายุ 12 – 17 ปี อยู่ทั้งหมดประมาณ 33,000 คน ซึ่งภาพรวมหากฉีดได้ครบตามจำนวนที่แจ้งความประสงค์ไว้ ผนวกกับเด็กนักเรียนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันไปก่อนหน้านี้แล้ว ก็จะมีเด็กนักเรียนอายุ 12 – 17 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด Pfizer มากกว่าร้อยละ 80 ส่วนที่เหลือก็จะรณรงค์ให้ผู้ปกครองสมัครใจนำบุตรหลานมาเข้ารับการฉีดวัคซีนต่อไป

ด้านนายรณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า การฉีดวัคซีนในวันนี้เป็นวันแรกเริ่มของกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งสมุทรสาครมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ประมาณ 33,000 คน สมัครใจเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้วจำนวน 27,000 คน สำหรับการฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กนักเรียนนี้จะทำให้จังหวัดสมุทรสาครพร้อมที่จะกลับมาเปิดเทอมกันอีกครั้งในรูปแบบออนไซด์ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นไป ขณะที่ในภาพรวมของจังหวัดสมุทรสาครนั้น เรื่องของการให้บริการฉีดวัคซีน กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนไม่ใช่ปัญหาหลัก ส่วนที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ เรื่องของจำนวนและระยะเวลาของวัคซีนที่จะจัดส่งมายังจังหวัดสมุทรสาคร หากมาได้ครบและเป็นไปตามวันเวลาที่กำหนด ก็จะทำให้จังหวัดสมุทรสาครเดินแผนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน

ด้านนายแพทย์อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร กล่าวด้วยว่า แผนเดินหน้าฉีดวัคซีนให้กับเด็กนักเรียนนั้น จะใช้รูปแบบวัคซีนนักเรียน หรือ School-based vaccination คือ การเข้าไปฉีดให้กับนักเรียนภายในรั้วโรงเรียนตามวันและเวลาที่ได้รับการนัดหมายไว้ โดยจะฉีดให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ จากนั้นเข็ม 2 จะเริ่มฉีดอีก 3 สัปดาห์ภายหลังจากนี้ ส่วนคำแนะนำสำหรับผู้ปกครองและนักเรียนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วคือ เรื่องของผลข้างเคียงมักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังการฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ขอให้ยังเฝ้าสังเกตอาการต่อเนื่องอีกระยะหากมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ใจสั่น หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่สงสัยได้ว่าจะเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ก็ขอให้รีบแจ้งทางโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านทันที และอีกส่วนหนึ่งคือการออกกำลังกายหนัก ในช่วง 1 สัปดาห์แรกนี้ขอให้ระงับไว้ก่อน

 

คนไทยฉีด AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, J&J เข้าประเทศอังกฤษได้แล้ว 11 ต.ค.นี้

เฟซบุ๊กเพจ ‘Amthaipaper (หนังสือพิมพ์ไทยในอังกฤษ)’ ได้เปิดเผยข่าวดีของคนไทยที่จะไปยังประเทศอังกฤษ ว่า... 

ขอแสดงความยินดีกับ #Thailand แดนสยาม ที่กำลังจะได้ออกจากบัญชีแดงของอังกฤษ ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้
โดยอังกฤษจะยอมรับการฉีดวัคซีน AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, จอห์นสัน & จอห์นสัน (J&J) จากประเทศไทย 

หมายความว่า อังกฤษจะยอมรับการฉีดวัคซีนจากประเทศไทย พร้อมกับให้ ประเทศไทย ออกจาก List แดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคมนี้ โดยผู้เดินทางมาจากประเทศไทย ที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม จะสามารถเข้าสหราชอาณาจักรได้ แบบไม่ต้องกักตัว 

#ขอแสดงความยินดี
#วีซ่านักท่องเที่ยว
#ก็มาได้แล้ว

*** ทั้งนี้ วัคซีนที่ยอมรับมีเพียง AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, จอห์นสัน & จอห์นสัน (J&J) ครบสองเข็มเท่านั้น (ฉีดสลับกันได้ภายในวัคซีนที่ระบุนี้) ต้องฉีดครบ 2 เข็มตาม List ก่อน 14 วันที่จะเดินทาง

>> หากฉีดวัคซีนอื่น หรือฉีดเพียง 1 เข็ม จาก List ที่อังกฤษยอมรับ จะถือว่ายังไม่ได้ฉีด!!

และผู้ที่ฉีดไม่ครบ ต้องทำตามกฎสีอำพันเดิม คือ กักตัวที่บ้าน 10 วัน (Day2 & Day8 COVID Tests) หรือ กักตัวแบบเร่งรัดที่บ้าน 5 วัน (Test to release)

>> ก่อนเดินทางต้อง:
▶️ตรวจโควิดก่อนขึ้นเครื่องบิน 72 ชม.
▶️กรอกใบ Passenger locator
???????? https://www.gov.uk/provide-journey-contact-details-before-travel-uk
▶️จองที่ตรวจโควิดตามรายชื่อบริษัทที่รัฐบาลอังกฤษกำหนด
????????https://www.gov.uk/find-travel-test-provider
รายละเอียดเพิ่มเติม ตามที่แอมไทยเคยโพสต์ข้อปฏิบัติก่อนเดินทางมายังสหราชอาณาจักร จากลิสต์สีอำพัน????ตามลิงก์ ????????
https://www.facebook.com/178210772217942/posts/4391072974265013/?d=n

หมายเหตุ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศอังกฤษ ผู้ที่ฉีดสองเข็มครบ ตามลิสต์วัคซีนที่อังกฤษยอมรับ จะไม่ต้องกักตัวตามกฎบัญชีเขียว???? (Green List) (อังกฤษยกเลิกบัญชีสีอำพัน Amber list)

กรุงเทพฯ - โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ บางนา บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ป้องกัน COVID – 19 ให้กับนักเรียน โดยได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากสำนักอนามัย

วันนี้ ( 25 ต.ค.64) กองทัพเรือ โดยโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ บางนา กรมแพทย์ทหารเรือ ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID – 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) แก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปวช. ณ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ กรมแพทย์ทหารเรือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID – 19 ให้กับนักเรียนในครั้งนี้ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ บางนา กรมแพทย์ทหารเรือ ได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อฉีดวัคซีนรองรับการเปิดโรงเรียนในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึง ซึ่งในเบื้องต้นจะทำการฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ถึง วันที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยนักเรียนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ป้องกัน COVID – 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ ปวช ที่สมัครใจฉีดวัคซีน ทั้งหมด 885 คน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 โรงเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษมสันต์บริหารธุรกิจ  246 ราย

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 โรงเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษมสันต์บริหารธุรกิจ  246 ราย

วันที่ 27 ตุลาคม 2564 โรงเรียน ศุภกรณ์วิทยา 174 ราย

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 โรงเรียน อ้ามานะห์ศึกษาศาสน์  23 ราย และ โรงเรียน สรรพาวุธวิทยา 196 ราย

 

Oxford ยัน!! ฉีดเชื้อตายแล้วบูสต่อด้วยเชื้อเป็น สร้างภูมิต้านทานได้ดีกับทุกสายพันธุ์โควิด

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford) และทีมนักวิจัยในบราซิล ยืนยันแล้วว่า ผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ครบโดส หรือวัคซีนที่พัฒนาจากเชื้อตาย เมื่อมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นจากวัคซีนที่สร้างจากชิ้นส่วน โมเลกุลของเชื้อไวรัส หรือ DNA สกัดอย่าง mRNA อาทิ AstraZeneca, Pfizer หรือ Johnson & Johnson สามารถเพิ่มภูมิต้านทานได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต้านทานโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ทั้ง Delta และ Omicron ได้ดีอีกด้วย

เรื่องนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศที่ใช้วัคซีนประเภทเชื้อตายเป็นพื้นฐานอย่าง Sinovac ที่ฉีดกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน และอีกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, บราซิล, อาร์เจนตินา, ตุรกี ส่งผลให้การวางแผนการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ของภาครัฐเป็นไปในทิศทางที่ง่ายขึ้นได้ 

ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวของทางมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีความสอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเคยได้รับรองการใช้วัคซีน Sinovac เพื่อการป้องกัน Covid-19 ได้ทั่วไป รวมถึงต่อมาได้แนะนำให้เพิ่มเติมฉีด Sinovac ไขว้กับวัคซีนเทคโนโลยีรุ่นใหม่เป็นเข็ม 2 ได้เลย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มกันโรค 

'Moderna' ยื่นฟ้อง 'Pfizer-BioNTech' ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรพัฒนาวัคซีนโควิด-19

โมเดอร์นาดำเนินการยื่นฟ้องไฟเซอร์และไบโอเอ็นเท็คซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนคู่แข่งการค้า โดยกล่าวหาว่าบริษัททั้งสองละเมิดสิทธิบัตรในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งกระจายไปสู่หลายร้อยล้านคนทั่วโลก

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า โมเดอร์นา (Moderna TX, Inc.) บริษัทยาสัญชาติอเมริกัน ดำเนินการฟ้องร้องการละเมิดสิทธิบัตรในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต่อไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทยาสัญชาติอเมริกัน และไบโอเอ็นเท็ค (BioNTech) บริษัทยาสัญชาติเยอรมัน

โดยโมเดอร์นาออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า "บริษัทฯเชื่อว่าวัคซีน Comirnaty (วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19) ที่ผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์ ร่วมกับไบโอเอ็นเท็ค ทำการละเมิดสิทธิบัตรของโมเดอร์นา ที่ได้ยื่นจดทะเบียนระหว่างปี 2553-2559 ซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ของโมเดอร์นา โดยทั้งไฟเซอร์และไบโอเอ็นเท็ค ได้คัดลอกเทคโนโลยีชนิดนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโมเดอร์นา เพื่อสร้างวัคซีนดังกล่าว"

โมเดอร์นากล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯได้เริ่มคิดค้นเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอในปี 2553 และจดสิทธิบัตรงานเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสในปี 2558-2559

"โมเดอร์นาคาดหวังให้บริษัทต่างๆ เช่น ไฟเซอร์และไบโอเอ็นเท็ค เคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ และจะพิจารณาใบอนุญาตที่สมเหตุสมผลในเชิงพาณิชย์ให้ หากพวกเขาดำเนินการขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของสิทธิบัตร แต่ทว่าไฟเซอร์และไบโอเอ็นเท็คกลับไม่ได้ทำเช่นนั้น" โมเดอร์นาระบุ

การดำเนินคดีครั้งนี้ ถือเป็นการเดิมพันทางธุรกิจครั้งสำคัญระหว่างบริษัทผู้ผลิตวัคซีนชั้นนำที่มีบทบาทอย่างมากในการต่อสู้กับโรคโควิด-19

ด้านไฟเซอร์และไบโอเอ็นเท็คกล่าวว่า พวกเขายังไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดในการดำเนินคดีดังกล่าว แต่แสดงความประหลาดใจที่มีประเด็นแบบนี้เกิดขึ้น

‘สื่อจีน’ ตีข่าว ประเด็นไฟเซอร์ทดลองกลายพันธุ์โควิด หวังกอบโกยเงิน จากการขายวัคซีนต้านไวรัส

สื่อมวลชนจีนออกมาชี้ว่าไฟเซอร์เสี่ยงเผชิญหายนะด้านประชาสัมพันธ์ ด้วยผู้ชมจำนวนมากอาจเชื่อว่าไฟเซอร์กำลังสร้างโควิดตัวกลายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเพื่อโกยเงินจากการขายยาและวัคซีน หลังกลุ่มเคลื่อนไหวไม่แสวงหาผลกำไร Project Veritas เผยแพร่วิดีโออื้อฉาว เป็นภาพที่อ้างว่าผู้บริหารของไฟเซอร์ ยอมรับกำลังทำเช่นนั้นจริง แม้ผู้ผลิตยาสัญชาติสหรัฐฯ แห่งนี้ออกมาชี้แจงในวันศุกร์ (27 ม.ค.) ไม่ได้ทำการวิจัยแบบ gain-of-function หรือ directed evolution สำหรับกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ตามคำกล่าวหาดังกล่าว

รายงานข่าวของสำนักข่าว CGTN สื่อมวลชนจีน ระบุว่าในวิดีโอความยาวเกือบ 10 นาที ส่วนใหญ่เป็นภาพบุคคลรายหนึ่งกำลังพูดเกี่ยวกับปฏิบัติการภายในของไฟเซอร์ ซึ่งในนั้นรวมถึงการวิจัยไวรัสนี้ผ่านเทคนิค directed evolution เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ

บุคคลรายนี้บอกด้วยว่าโควิด-19 คือตัวทำเงินของทางบริษัท พร้อมเปิดเผยว่าทางไฟเซอร์ กำลังพยายามกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยเป็นการจงใจทำให้เชื้อกลายพันธุ์ด้วยฝีมือนักวิจัย ไม่ใช่การกลายพันธุ์เองโดยธรรมชาติเหมือนที่ผ่าน ๆ มา

เขายังบอกกับคนที่คุยด้วยอีกว่า "คุณต้องสัญญาว่าคุณจะไม่บอกคนอื่น ๆ" วิดีโอนี้ดึงดูดผู้ชมบนทวิตเตอร์แล้วมากกว่า 23 ล้านวิว

Project Veritas อ้างว่าบุคคลดังกล่าวคือนายจอร์ดอน ทริชตัน วอล์คเกอร์ ผู้อำนวยการของไฟเซอร์ ด้านวิจัยและพัฒนา

ในเรื่องนี้ CGTN ยังไม่สามารถยืนยันตัวตนบุคคลดังกล่าวได้ แต่ระบุว่าในส่วนของไฟเซอร์เองก็ไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธว่า วอล์คเกอร์ เป็นพนักงานของบริษัทหรือไม่ และในถ้อยแถลงชี้แจงของทางไฟเซอร์ก็ไม่ได้พาดพิงถึงคลิปวิดีโอดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เจมส์ โอคีเฟ หัวหน้ากลุ่ม Project Veritas โพสต์วิดีโอและภาพบันทึกหน้าจอในสิ่งที่เขาอ้างว่า "เป็นเอกสารภายในของไฟเซอร์" แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของวอล์คเกอร์ ในบริษัทแห่งนี้ ตามรายงานของ CGTN

สำนักข่าว CGTN รายงานต่อว่า ทาง Project Veritas ได้โพสต์อีกคลิปหนึ่งลงบนยูทูบ เป็นภาพของบุคคลเดียวกันกำลังคว้าแล็ปท็อปไปจาก โอคีเฟ และเขวี้ยงมันลงกับพื้นด้วยความไม่พอใจ หลังจาก โอคีเฟ เปิดคลิปที่ทั้ง 2 พูดคุยกันให้เขาดู

เสียงในวิดีโอได้ยินบุคคลรายดังกล่าวพูดว่า "คุณไม่ควรบันทึกคลิปคนอื่นแบบนี้" และบอกกับ โอคีเฟ ด้วยว่า "เขาพูดโกหก" ในวิดีโอที่ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อหวังสร้างความประทับใจแก่อีกฝ่าย

อัยการเท็กซัสฟ้องเอาผิด ‘ไฟเซอร์’ บิดเบือนข้อมูลวัคซีน หลังข้อมูลชี้!! มีประสิทธิภาพป้องกันโควิดแค่ 0.85%

เมื่อไม่นานนี้ อัยการสูงสุดของรัฐเท็กซัส ฟ้องร้องดำเนินคดีกับ ‘ไฟเซอร์’ บริษัทยายักษ์ใหญ่ โดยกล่าวหาว่าบริษัทแห่งนี้ บิดเบือนความจริงเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 และหาทางปกปิดการพูดคุยของสาธารณชน เกี่ยวกับความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ของบริษัท

การยื่นฟ้องครั้งนี้ มีขึ้นตามหลังการสืบสวนนาน 6 เดือนของอัยการสูงสุด ‘เคน แฟ็กซ์ตัน’ (Ken Paxton) ในคำกล่าวหาที่มีต่อการวิจัยแบบ ‘Gain of Function’ (GOF) โดยไฟเซอร์ รวมถึงบรรดาผู้พัฒนาวัคซีนอื่นๆ ได้แก่ โมเดอร์นา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

“ไฟเซอร์มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำและแนวทางปฏิบัติที่ผิดพลาด การหลอกลวงและชี้นำผิดๆ ด้วยการจัดทำคำกล่าวอ้างที่ไม่มีอะไรสนับสนุนในเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายว่าด้วยพฤติกรรมทางการค้าที่ทำให้เข้าใจผิดของรัฐเท็กซัส จากการเปิดเผยของแฟ็กซ์ตัน พร้อมอ้างว่า บริษัทแห่งนี้โกยเงินอย่างผิดกฎหมายไปหลายพันล้านดอลลาร์”

แฟ็กซ์ตัน ท้าทายอย่างเจาะจงต่อคำกล่าวอ้างของไฟเซอร์ที่ว่า วัคซีนของพวกเขามีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ถึง 95% โดยชี้ว่า มันเป็น ‘กลลวงทางสถิติ’ ที่ใช้คำว่า ‘ค่อนข้างลดความเสี่ยง’ ซึ่ง ‘สำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ’ (เอฟดีเอ) ยอมรับว่ามันอาจชี้นำผู้บริโภคผิดๆ ด้วยการนำเสนอว่ามีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าความเป็นจริง ในขณะที่ข้อมูลการทดลองทางเทคนิค เผยให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว มันลดความเป็นไปได้ของการติดเชื้อโควิด-19 เพียงแค่ 0.85% เท่านั้น

ในคำร้องระบุว่า โรคระบาดใหญ่ ‘เลวร้ายลง’ หลังจากประชาชนชาวสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยชี้ว่า “รายงานอย่างไม่เป็นทางการของรัฐบาล แสดงให้เห็นว่า ในบางพื้นที่มีเปอร์เซ็นต์ของผู้ฉีดวัคซีนเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนหลายเท่า”

คำร้องอ้างด้วยว่า “ไฟเซอร์รู้ตัวดีว่าได้กล่าวอ้างเป็นเท็จและไม่มีข้อมูลสนับสนุน เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนกับตัวกลายพันธุ์ทั้งหลายในนั้น โดยเฉพาะกับไวรัสตัวกลายพันธุ์ที่เรียกว่า ‘เดลตา’ แถมยังกล่าวหาพวกที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น ‘อาชญากร’ และกล่าวหาคนเหล่านั้นว่าเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนเสียอีก”

แฟ็กซ์ตัน เสนอลงโทษทางการเงินและคำตักเตือน เพื่อป้องกันไฟเซอร์จากการเดินหน้านำเสนอข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top