Saturday, 25 May 2024
NED

‘จีน’ แฉ!! ทุน NED ปั้นชาติ ปชต.จอมปลอม ก่อเหตุจลาจล เพื่อหนุนประโยชน์ให้มะกัน

เค้าลางการปะทะทางการทูตและเศรษฐกิจ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ดูจะระอุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ ปักหมุดรุกคืบในเอเชีย-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อพุ่งเป้าปิดล้อมจีน รวมถึงโดดเดี่ยวรัสเซียอย่างออกนอกหน้าไม่ปิดบัง 

อย่างไรก็ตามทางการจีนได้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร โดยไม่ยอมเป็นฝ่ายถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียว ผ่านท่าทีของเจ้าหน้าที่จีน และคำพูดของผู้นำที่ยกระดับเข้มข้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศจีนได้เผยแพร่รายงานเปิดโปงพฤติกรรมบ่อนเซาะ แทรกแซงของสหรัฐฯ ในโลกอย่างหมดเปลือกว่า แผนการร้ายทำลายประเทศอื่นๆ นั้นผ่านเข้ามาในฉากหน้าของประชาธิปไตยโดยหน่วยงานเอ็นจีโอหลักที่เรียกว่า NED 

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 65 สำนักข่าวโกลบอลไทมส์ รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยรายงาน การบริจาคเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ โดยองค์กร NED ของสหรัฐ หรือ The National Endowment for Democracy ซึ่งมีสถานะหนึ่งเหมือน ‘ทหารราบ’, ‘ถุงมือขาว’ และ ‘ครูเสดประชาธิปไตย’ ของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังการจลาจลแบ่งแยกดินแดน การปฏิวัติสี และวิกฤตทางการเมืองทั่วโลก โดยเอกสารข้อเท็จจริงที่เผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศจีน เมื่อวันเสาร์ที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า... 

รัฐบาลหุ่นเชิดในประเทศต่างๆ และการปลูกฝังกองกำลังหุ่นเชิดที่สนับสนุนสหรัฐฯ เกิดขึ้นภายใต้ข้ออ้างว่าส่งเสริมประชาธิปไตย

ประเทศจีนเป็นเป้าหมายหลักของกิจกรรมการแทรกซึมและการโค่นล้มของ NED มานานแล้ว NED ลงทุนมหาศาลในโครงการต่อต้านจีนที่มุ่งแบ่งเขตซินเจียง ทิเบต และฮ่องกงออกจากจีน 

อย่างไรก็ตาม จะสังเกตได้ว่าความพยายามใดๆ ที่จะเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ในนามของประชาธิปไตยนั้น ล้วนไม่เป็นที่นิยม และในที่สุดก็ประสบกับภาวะที่ล้มเหลว เฉกเช่นกรณีที่ฮ่องกง

ในรายงานดังกล่าว ยังระบุอีกว่า สหรัฐฯ ใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือและอาวุธมานานแล้ว เพื่อบ่อนทำลายประชาธิปไตยในนามของประชาธิปไตยจอมปลอม ยุยงให้เกิดความแตกแยกและการเผชิญหน้า และเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายตามมา คือ NED ได้ล้มล้างรัฐบาลที่ถูกกฎหมาย และปลูกฝังกองกำลังหุ่นเชิดของสหรัฐฯ ทั่วโลกภายใต้ข้ออ้างในการส่งเสริมประชาธิปไตย

‘อดีตทหารมะกัน’ แฉ!! กลุ่มรับเงิน ‘NED’ ในไทย ทำ IO ใส่ร้ายผู้อื่น แนะ!! จัดการตามมาตรฐานสหรัฐฯ

จากกรณีที่มีการถกเถียงกันในประเด็นทางการเมืองต่างๆ นานา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีกลุ่มการเมืองที่กล่าวโจมตี หรือ Name Calling ผู้อื่นและสื่อที่เห็นต่างจากพวกตนเอง ว่าเป็น 'IO รัฐ' (ไอโอรัฐ) ทั้งๆ ที่กลุ่มประชาชนและสื่อที่เห็นต่างนั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการใส่ร้ายผู้อื่นและไม่เป็นประโยชน์ต่อการพูดคุยดีเบตประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการหาเสียงกันอย่างเข้มข้น

แต่ทางด้านของนายไบรอัน เบอร์เลติก (Brian Berletic) อดีตทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ผู้ผันตัวมาเป็นสื่อมวลชนนักคิดนักเขียนชาวอเมริกัน ที่คนไทยเคยรู้จักในนามปากกา ‘โทนี คาร์ตาลัคซี’ (Tony Cartalucci) ซึ่งคอยตีแผ่และเปิดโปงเบื้องลึกเบื้องหลังในหลายประเด็น ทั้งการเมืองไทยและการเมืองต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 อดีตทหารอเมริกันท่านนี้ ได้ทวีตข้อความที่มีสาระสำคัญว่า...

“องค์กร National Endowment for Democracy (NED) ของสหรัฐฯ ได้สร้างองค์กรจำนวนมาก ที่คอยทำปฏิบัติการ IO (Influence Operations) ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วย แต่เมื่อรัฐบาลไทยพยายามหยุดยั้งการกระทำเช่นนี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กลับโวยวายเรื่อง 'เสรีภาพในการพูด' (Free Speech)”

ทวีตดังกล่าวของนายไบรอัน เป็นข้อความที่รีทวีตต่อมาจากทวีตข้อความของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ที่อ้างว่าทางการสหรัฐฯ ได้จับกุมตัวและดำเนินคดีประชาชนชาวอเมริกันและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองรัสเซีย ที่แอบสมรู้ร่วมคิดในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายรัสเซีย และสมรู้ร่วมคิดในการแทรกแซงการเลือกตั้งของสหรัฐฯ

'อ.แพท' ห่วง!! โพลชี้นำ 'เด็กไทย' อยากได้อะไรจากการศึกษา เบื้องหน้า 'Rocket Media Lab-แพธทูเฮลท์' เบื้องหลัง NED

(15 ม.ค. 67) 'อ.แพท' พัฒนพงศ์ แสงธรรม อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Pat Sangtum' ถึงความน่ากังวลต่อกรณีโพลสำรวจ 'เด็กไทย' อยากได้อะไรจากการศึกษาล่าสุด โดยระบุว่า...

จะแก้ไขการศึกษา ด้วยการลงนะที่สมอง หรือแก้ปีชง

การสำรวจของ Rocket Media Lab ร่วมกับ แพธทูเฮลท์ นำความไม่สบายอารมณ์มาสู่ผู้ห่วงคุณภาพการศึกษา และวิตกเรื่องทัศนะของเยาวชนไทย ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่อยากเรียน และสิ่งที่อยากให้ยกเลิก

ก่อนอื่น การวิจัยครั้งนี้ ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าเป็นเช่นนั้น ยังขาดทั้งความเที่ยง (reliability) และความตรง (validity) 

ประการแรกคือ กลุ่มสำรวจ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ชั้น ป. 1 ไปจนถึงชั้น ม. 6 นั่นหมายถึงช่วงอายุตั้งแต่ 6-7-8-9 ขวบ ในชั้นประถม ไปจนถึงอายุ 15-16-17 ปี ความต้องการของเด็กประถม กับเด็กวัยมัธยมปลาย ก็ต่างกัน โลกทัศน์เกี่ยวกับอาชีพ เด็กประถมก็ไม่มีเท่าเด็กมัธยม 

-  เด็กประถมและมัธยมต้นสนใจเรียน เรื่องการเงินการลงทุน?
-  เด็กกลุ่มไหนอยากเรียนวิชาการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย? 
- เด็กวัยไหน ไม่อยากเข้าแถวเคารพธงชาติ ไม่ชอบวิชาศาสนาพุทธ? ... การสำรวจหัวข้อเหล่านี้

ตั้งแต่เด็กอายุ 6 ขวบ ไปจนถึงวัย 17 ปี ย่อมขาดความตรง (validity) ในการออกแบบงานวิจัย มีผลต่อความเที่ยง

ผลสำรวจเห็นได้ชัดว่าเป็นการสำรวจด้วย 'คำถามปลายปิด' โดยผู้ตอบแบบสอบถาม เลือกตอบจากคำตอบที่มีไว้ให้แล้ว... เช่น "การเงินการลงทุน" หากเป็นคำถามปลายเปิด ย่อมต้องมีคำตอบตามวัย เช่น "การเปิดร้านกาแฟ-ร้านอาหาร" "การขายสินค้าออนไลน์" ฯลฯ "การผลิตรายการติ๊กต็อกและยูทูบ" เป็นต้น

ในกลุ่มของสิ่งที่อยากให้ปรับปรุง แน่นอน ทั้งประเทศย่อมต้องการให้ปรับปรุงห้องน้ำ เพราะเชื่อว่าห้องน้ำตามโรงเรียนส่วนใหญ่ สภาพอาจมีแนวสยอง แต่รองลงมาคือห้องเรียน และโรงอาหาร (ต่ำว่า 10%) ไม่มีคำตอบปลายปิด ชี้นำให้ปรับปรุงห้องสมุด-ห้องคอมพิวเตอร์-ห้องแล็บ-โรงยิม ฯลฯ  (แบบสอบถามมองเห็นเท่านี้ ห้องน้ำ-ห้องเรียน-โรงอาหาร)

เรื่องกิจกรรมและวิชา ที่ต้องการให้ยกเลิก ก็สะท้อนช่วงอายุของนักเรียนมัธยมชัดเจน เด็กประถมคงไม่รำคาญวิชาหน้าที่พลเมือง

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรที่มองเห็นว่า ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเพียงอย่างเดียว จึงมีวิชาพุทธศาสนา หรือค่ายธรรมะ โดยไม่มองไม่เห็นคริสเตียน มุสลิม ฮินดู ฯลฯ เป็นสิ่งที่เชยและน่าอาย

โรงเรียนสาธิต มธ. (และอาจที่อื่นด้วย) มีวิชาด้าน "การเงิน" สอนให้กับนักเรียน บรรดาผู้รู้ในเน็ตก็โวยวายว่ามันบ้าไปแล้ว ต่อต้านหลักสูตรของ สาธิต มธ. ที่ให้ทางเลิอกในการเรียนรุ้ไว้มากมาย วิชาด้านการเงิน สอนให้เด็กเริ่มมีวินัยทางการเงิน รู้จักจัดการกับเงิน เห็นความสำคัญในการเก็บออม เพื่อลงทุน ฯลฯ เนื้อหาเป็นไปตามช่วงการเรียนรู้... พอผลสำรวจของ Rocket Media ออกมายืนยันว่า นักเรียนสนใจเรื่องการเงิน... ผู้รู้ในเน็ต จะว่ายังไง...

เรื่องการลงโทษ ที่ทำให้อับอาย ก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก อายในกลุ่ม อายในชั้นเรียน อายในโรงเรียน อายต่อสังคม.... แต่เมื่อผลสำรวจได้ระบุมาแล้วว่า นักเรียนไม่ชอบโดนลงโทษแบบให้อับอาย ก็ต้องหาวิธีอื่นต่อไป... ส่วนเรื่องเสื้อผ้า ทรงผมนั้น กฎกระทรวงศึกษาได้ปรับเปลี่ยนระเบียบเรื่องทรงผม และประกาศตอกย้ำมาหลายหนแล้ว ถ้าจะทำการวิจัยและเล่นเนื้อหาเดิมๆ ไม่ตรงเหตุการณ์ปัจจุบัน ก็ดูเหมือนจะเป็นการวิจัยรอบวงเวียนไปหน่อย.

ผลสรุปที่ผู้วิจัยทำมาให้ คิดว่ามาจากตัวอย่างสำรวจกลุ่มไหน ประถม มัธยมต้น หรือมัธยมปลาย หรือเกลี่ยได้เท่ากันทุกกลุ่มจริงๆ

***หมายเหตุ: สำหรับการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของทาง Rocket Media Lab นั้น จะได้รับเงินสนับสนุนจาก National Endowment for Democracy หรือ NED นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2567


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top