Thursday, 15 May 2025
Lite

‘รัชกาลที่ 5’ ทรงสถาปนา ‘โรงเรียนวัดบวรนิเวศ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนเก่าแก่ของประเทศไทย 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง ‘วิทยาลัย’ ขึ้นในวัดบวรนิเวศ โดยพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ทั้งนี้ เบื้องต้นได้แบ่งเป็น 2 แผนก คือ ส่วนที่ใช้เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรม และอีกส่วนจัดตั้งเป็นโรงเรียน โดยให้เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยแห่งนี้

จึงเป็นที่มาของ ‘โรงเรียนวัดบวรนิเวศ’ โดยในยุคแรกเริ่ม ได้เชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรณาณวโรรส มาทรงเป็นผู้จัดการโรงเรียนพระองค์แรก ต่อมาการเรียนการสอนในโรงเรียน ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปตามลำดับ ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชประสงค์ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ไปใช้สอนตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ จึงถือได้ว่า โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นโรงเรียนสาธิตในการใช้หลักสูตร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงเป็นประธานจัดสร้างตึกเรียน 2 ชั้น และพระราชทานนามตึกว่า ตึกมนุษยนาควิทยาทาน

24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น ‘วันศิลปินแห่งชาติ’ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ดังนั้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ ที่นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่างๆ มาแล้วหลายคน 

25 กุมภาพันธ์ของทุกปี ‘วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ’ วันแรกที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ซึ่งกิจการวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติเกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2471 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และการคมนาคมในสมัยนั้น ซึ่งได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะ โดยใช้ชื่อว่า “สถานี 4 พีเจ (4PJ)" และต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ และทดลองที่ตำบลศาลาแดงโดยใช้ชื่อว่า “เอช เอส หนึ่ง หนึ่ง พีเจ (HS 11 PJ)” ซึ่งคำว่า PJ มาจากคำว่า “บุรฉัตรไชยากร” ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ได้มีการเปิดการส่งวิทยุเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” (Radio Bangkok at Phyathai) ตั้งอยู่ที่วังพญาไท มีกำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์ ซึ่งพิธีการเปิดได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสาย เข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกร โดยมีใจความว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายและการบันเทิง แก่พ่อค้า ประชาชน เพื่อควบคุมการนี้เราได้ให้แก้ไขพระราชบัญญัติดังที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ดั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีมาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ไป” นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย

การเลือกครั้งที่ 9 ของประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่า "สกปรกที่สุด" ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งหลังจากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดตามวาระ ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 โดยรัฐบาลแปลก พิบูลสงคราม หรือจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้มีเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด ซึ่งเป็นการช่วงชิงเก้าอี้ในสภาทั้งสิ้น 160 ที่นั่ง และมีพรรคการเมืองลงสนามเลือกตั้งถึง 23 พรรค เป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่า สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์

พลเอก บัญชร ชวาลศิลป์ นายทหารนักประวัติศาสตร์ กล่าวในงานเสวนาเรื่อง ‘การเมืองเบื้องหลัง เลือกตั้ง สกปรก 2500’ จัดโดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยได้หยิบคำฟ้องของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมทย์ ที่เขียนคำฟ้องในนามนายควง อภัยวงศ์ และ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์รวม 9 คน ทั้งก่อนวันเลือกตั้งและวันเลือกตั้ง สรุปได้ดังนี้

>> ก่อนการเลือกตั้ง
1.) พลเอกตำรวจเอก เผ่า จัดเลี้ยงพวก ‘ผู้กว้างขวาง’ หรือพวกอันธพาล รวมถึงนายตำรวจผู้ใหญ่ให้ช่วยเหลือพรรคเสรีมนังคศิลาที่มีจอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้งที่จะมาถึง
2.) มีการเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างผิดปกติ และติดรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ติดเลย
3.) ตรวจจับบัตรเลือกตั้งโกงได้จำนวนมาก เรียกว่า ‘ไพ่ไฟ’ คือบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์จากโรงพิมพ์โดยกากบาทเบอร์ผู้สมัครไว้เรียบร้อยแล้ว
4.) การใช้ ‘พลร่ม’ คือใช้กลุ่มบุคคลเวียนลงคะแนนให้พรรคเสรีมนังคศิลาหลายรอบ
5.) คูหาลงเลือกตั้งแต่ละหน่วยอยู่ห่างจากสถานที่รับบัตรมาก

‘อายตา’ ดังไม่หยุด สุดโดดเด่นบน IG หลังได้ขึ้นโปรโมทแบรนด์ Ariana Grande

เอาอะไรมาไม่ดัง! "Eyeta" หรือ "อายตา-ศรสวรรค์ ใจมั่น" บิวตี้บล็อกเกอร์ & อินฟลูเอนเซอร์ไทย ได้ขึ้น Instagram โปรโมท r.e.m.beauty แบรนด์เครื่องสำอางของ Ariana Grande นักร้องชื่อดังระดับโลก

สำหรับ "อายตา" สาวไทยเพียงหนึ่งเดียวที่โดดเด่นอยู่บนอินสตาแกรมแบรนด์ดังที่มีผู้ติดตามกว่า 1.2 ล้านคน โดยเธอมากับลุคโคฟเวอร์ที่สวยไม่ต่างจาก Ariana Grande เจ้าของแบรนด์เลยทีเดียว

โดย สาวอาย ได้อัปเดตพูดผ่านไลฟ์บนเพจเฟซบุ๊ก มีใจความว่า

"ดีใจมากๆๆๆ ไอจีแบรนด์ r.e.m.beauty ลง รูปอายตา ทั้งๆ ที่ในวิดีโอรีวิวสินค้าเขา อายตาก็ไม่ได้ชมทุกตัวนะ รีวิวตามจริง ทางแบรนด์เขาก็ติดต่อมาขอนำรูปไปลง ดีใจที่เขาได้เห็นผลงานเรา"

52 ปี ‘โรงแรมดุสิตธานี’ เริ่มเปิดดำเนินกิจการเป็นครั้งแรก

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 โรงแรมดุสิตธานีเริ่มเปิดดำเนินกิจการ การตั้งชื่อว่า “ดุสิตธานี” ก็เพื่อให้พ้องกับชื่อสวรรค์ชั้นที่ 4 ที่ชื่อว่า “ดุสิต” เพื่อให้ผู้มาใช้บริการรู้สึกเหมือนอยู่ในสวรรค์ นอกจากนี้โรงแรมยังตั้งอยู่ตรงข้ามสวนลุมพินี ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสร้างเมืองแม่แบบประชาธิปไตยชื่อ “ดุสิตธานี”

ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบประสมขนาดใหญ่ บนที่ดินขนาด 23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา บริเวณหัวมุม ถนนพระราม 4 ตัดถนนสีลม (แยกศาลาแดง) ตรงข้ามกับสวนลุมพินี

ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

สำนักงานสีลม บริหารงานโดย บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ภายใต้การร่วมทุนของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มเซ็นทรัล โดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าขึ้นเป็นแลนด์มาร์กหนึ่งของเส้นขอบฟ้ากรุงเทพมหานคร ด้วยความสูงสุดของอาคารที่ 78 ชั้น ภายใต้สถาปัตยกรรมแบบไทยโบราณร่วมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย รองรับกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

พื้นที่ของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค แต่เดิมแล้วเป็นบ้านศาลาแดง ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) โดยท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย

ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงแรม ปริ๊นเซส ได้ดำเนินการขอเช่าพื้นที่จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวที่หรูหราแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อ 2511 ภายใต้ชื่อ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยตัวอาคารมีความสูง 23 ชั้น

นับเป็นอาคารสูงหลังแรกในประเทศไทย และใช้สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมร่วมสมัยที่ออกแบบโดยกลุ่ม Kanko Kikaku Sekkeisha ที่นำโดย โยโซะ ชิบาตะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ในส่วนของชื่อโรงแรมได้ตั้งตามชื่อเมืองจำลองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันแปลว่า “เมืองสวรรค์” ซึ่งแต่เดิมพระองค์เคยมีพระราชประสงค์ที่ต้องการจะสร้างเมืองแห่งประชาธิปไตยและให้ชื่อว่าดุสิตธานีนั่นเอง ซึ่งการตั้งชื่อโรงแรมยังเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปในตัว เนื่องมาจากพื้นที่ตั้งของโรงแรมตั้งอยู่ตรงข้ามสวนลุมพินี และมีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปีตรงกับวัน ‘ช่างตัดเสื้อโลก’

วันช่างตัดเสื้อโลก หรือ World Tailors Da ซึ่งตรงกับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศทั่วโลก มีที่มาจากวันเกิดของเซอร์ วิลเลียม เอเลียส โฮว์ ผู้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้าให้กับโลกเมื่อปี 2388

สำหรับ Elias Howe Jr. เป็นผู้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้าที่ใช้งานได้เครื่องแรก ชายชาวแมสซาชูเซตส์คนนี้เริ่มต้นจากการเป็นเด็กฝึกงานในร้านขายเครื่องจักรกลและได้มาพร้อมกับองค์ประกอบที่สำคัญ สำหรับจักรเย็บผ้าแบบตะเข็บล็อกตัวแรก แต่แทนที่จะสร้างและขายเครื่องจักร Howe สร้างรายได้ด้วยการยื่นฟ้องศาลกับคู่แข่งที่เขารู้สึกว่าละเมิดสิทธิบัตรของเขา

งูพิษในคราบเพื่อน!! ส่องนิยาม 'Frenemies' เมื่องูพิษอยู่ในคราบเพื่อน ความเจ็บปวดที่เกิดจากคนที่เราโคตรไว้ใจ

'ท้อฟฟี่ แบรดชอว์' หรือ 'ชญาน์ทัต วงศ์มณี' นักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงานหนังสือหลายเล่ม และบทความรสชาติจัดจ้านบนโลกออนไลน์ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก 'ท้อฟฟี่ แบรดชอว์' ระบุว่า...

Frenemies” : งูพิษในคราบเพื่อน

>> เคยเจ็บเพราะคนที่เราคิดว่าเป็นเพื่อนไหมครับ?

Frenemy” คือคนที่ทำตัวเหมือนเพื่อน แต่จริงๆ แล้วไม่มีความจริงใจ และคิดร้ายเหมือนเป็นศัตรู

เป็นการนำสองคำคือ “Friend” ที่แปลว่าเพื่อน มารวมกับ “Enemy” ที่แปลว่าศัตรู

ที่จริง Frenemy ใช้ความเป็นเพื่อนบังหน้าเพื่อผลประโยชน์ ไม่ได้รักเรา แต่อยู่กับเราด้วยเหตุผลบางอย่าง

Francis Bacon เคยพูดว่า “Champaign for my real friend. Real pain for my sham friends” แปลได้ความประมาณว่า แชมเปญมีไว้ดื่มฉลองกับเพื่อนแท้ แต่ถ้ามีเพื่อนปลอมๆ ก็มีแต่เจ็บกับเจ็บ

Frenemy อาจอยู่ในที่ทำงาน อยู่ในกลุ่มเพื่อน อยู่ได้ทุกที่

แล้วเราจะสังเกต Frenemy ได้อย่างไรบ้าง?

>> ข้อแรกคือ Frenemy จะพูดลับหลังคุณ

ถ้าเราทำอะไรไม่ดี เพื่อนที่รักเราจริงๆ จะบอกเราให้รู้ต่อหน้า ไม่ใช่เอาไปพูดลับหลัง

Frenemy ไม่เพียงแต่เมาท์ลับหลัง แต่อาจเลยเถิดไปถึงการกุข่าวลือที่สร้างความเสียหายให้กับคุณ หรือเอาความลับของคุณไปบอกคนอื่น

รู้แล้วเหยียบไว้นะ” คือเหยียบให้จม ขยี้ให้เจ็บ

>> ข้อที่ 2 Frenemy จะเอาแต่ขอความช่วยเหลือจากเรา แต่ไม่เคยให้ความช่วยเหลือเรา

เวลาที่ Frenemy ต้องการความช่วยเหลือ เขาจะโผล่มาหา ถลาเอาหน้ามาให้เห็น

แต่เมื่อเราเดือดร้อน Frenemy จะแกล้งตาย หายไปเลย หมายเลขที่ท่านเรียกไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนี้...

ความสัมพันธ์ที่แข็งแรงคือการที่ต่างฝ่ายต่างเป็นผู้ให้และผู้รับ

ไม่ใช่การที่ฝ่ายหนึ่งให้อยู่ฝ่ายเดียว หรือมีฝ่ายที่รับอยู่ฝ่ายเดียว

>> ข้อที่ 3 Frenemy จะเอาแต่พูดถึงตัวเอง

Frenemy จะไม่สนใจว่าคนอื่นพูดอะไร แต่สนใจว่าเขาจะพูดอะไรมากกว่า

ลึกๆ แล้วคนแบบนี้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสำคัญ ก็เลยลดความสำคัญของคนอื่น

จนลืมไปว่าถ้าอยากให้คนอื่นให้คุณค่า ต้องมอบคุณค่าให้คนอื่นก่อน

>> ข้อที่ 4 Frenemy จะอิจฉา ไม่มีความสุขเมื่อคุณมีก้าวหน้าในชีวิต

ที่จริง Frenemy ต้องการแข่งขันกับคุณ และในการแข่งขันนี้ เขาไม่ต้องการเป็นคนแพ้

ดังนั้น เขาอาจจะแสดงออกด้วยการบลัฟว่าเขามีความสำเร็จที่เหนือกว่า หรือพูดให้ความสำเร็จที่คุณไม่ใช่เรื่องที่น่าภูมิใจอะไร ไปจนถึงเทคเครดิตว่าเขามีส่วนในการทำให้คุณประสบความสำเร็จ

อยู่ด้วยก็รู้สึกเหนื่อย นี่เพื่อนหรือคู่แข่ง

การสัมผัสพื้นผิวดาวศุกร์ครั้งแรกของโลก จากการพุ่งชนของ ‘ยานเวเนรา 3’

วันนี้เมื่อ 56 ปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509 ได้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งเกิดขึ้น กับ ‘ยานเวเนรา 3’ ยานอวกาศที่ถูกสร้างและปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยสหภาพโซเวียต เพื่อไปสำรวจพื้นผิวของดาวศุกร์ 

โดย ยานเวเนรา 3 นั้น ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 จาก Baikonur คาซัคสถาน

ซึ่งเป้าหมายในการออกไปนอกโลกในครั้งนี้ คือ ภารกิจลงจอดบนพื้นผิวของดาวศุกร์ โดยลำตัวมีระบบวิทยุสื่อสาร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แหล่งพลังงานไฟฟ้าและมีตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต

แต่ภารกิจในครั้งนี้กลับไม่เป็นไปตามอย่างที่วางแผนไว้ เมื่อยานอวกาศดังกล่าวลงสู่ดาวศุกร์ แต่กลับลงด้วยการชนกระแทก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509 และกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงอื่น 

ซึ่งด้านที่ตกนั้นเป็นดาวมืดของดาวศุกร์ ซึ่งพิกัดการลงจอดกระแทกน่าจะอยู่ที่พิกัด -20° to 20° N, 60° to 80° E อย่างไรก็ตาม ระบบสื่อสารของยานได้ล้มเหลวก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลใดๆ กลับมายังโลก

อีกทั้งดาวศุกร์ มีอุณหภูมิประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้การลงจอดของยานสำรวจเวเนรารุ่นต่อๆ ไป ก็ยังเป็นอุปสรรค จนกระทั่ง เวเนรา 7 ที่ลำตัวของยานเป็นไททาเนียม สามารถลงจอดที่พื้นผิวอย่างนุ่มนวลได้สำเร็จเป็นลำแรกและส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้ 23 นาที

122 ปี การแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกในประเทศไทย

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2443 ได้มีการแข่งขันฟุตบอลซึ่งนับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศไทย ระหว่างทีมศึกษาธิการ กับทีมบางกอก ที่ทุ่งพระเมรุ ผลการแข่งขันเสมอกันไป 2 - 2 โดยนับเป็นการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย

แต่หากย้อนกลับไปถึงที่มาที่ไปของกีฬาชนิดนี้ในประเทศไทย เรียกได้ว่ากีฬาฟุตบอลในประเทศไทย มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ 

ซึ่งการส่งคนไทยไปศึกษาวิชาการต่างๆ ในครั้งนี้ ยังนำกีฬาชนิดหนึ่งกลับมาที่เมืองไทยอีกด้วย ซึ่งผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ "เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆ ว่า "ครูเทพ" ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น "เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top