Friday, 3 May 2024
IUU

ติวเข้ม!! ชุดปฏิบัติการต้าน IUU ลุยทันที แยกน้ำดี - น้ำเสีย ไร้ Double Standard ไม่เว้นเจ้าหน้าที่รัฐ

หลังจากสหภาพยุโรปประกาศปลดใบเหลือง IUU ให้กับประเทศไทย รัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย

ในการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing : IUU) ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นประเทศปลอดการประมง IUU ทั้งระบบ(IUU-Free) ซึ่งสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานบังคับ รวมถึงการค้ามนุษย์ในภาคประมง ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว นั้น

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายข้างต้นให้บรรลุเป้าหมาย โดยบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร และกระทรวงแรงงาน

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ              ตำรวจแห่งชาติ/ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามกรณีดังกล่าว รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการประมง สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในวันที่ 7 มกราคม 2565 นี้ จึงได้ร่วมกับนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงกฎหมายเกี่ยวกับการประมง และการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการด้านการประมงฯ และเจ้าหน้าที่สืบสวน ศพดส.ตร. ได้มีความรู้ความเข้าใจถึงตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเป็นมาของปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU) ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหา เพื่อยกระดับการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย

การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) เป็นปัญหาระดับโลกซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ประเทศไทยในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลกจึงมีความรับผิดชอบ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของธงเรือ (Flag State)

2) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของท่าเทียบเรือ (Port State)

3) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐชายฝั่ง (Coastal State)

4) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของตลาด (Market State)

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการประชุมเพิ่มความเชี่ยวชาญให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ เช่น ที่มาและเนื้อหาของกฎหมาย กระบวนการทำงานควบคุมตรวจสอบเรือประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำ และการนำเข้าส่งออกสินค้าประมงตลอดจนกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า “การทำงานครั้งนี้เป็นการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้านการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการต่อต้านประมง IUU ในภูมิภาคและปลอดการทำประมง IUU ทั้งระบบ นอกจากนั้นยังมีความเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีความสลับซับซ้อน มีเครือข่ายข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความรอบรู้ในกฎหมายต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์กัน เพราะการกระทำความผิดในปัจจุบันไม่อาจบังคับใช้ได้โดยกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง และเพื่อให้เห็นผลการทำงานเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงได้แบ่งการทำงานเป็น 4 ชุดปฏิบัติการ ประกอบด้วย

1) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบเพิ่มประสิทธิภาพด่านตรวจประมง มี รศ.ธนพร ศรียากูล กรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ และมีพล.ต.ต.ไพโรจน์ กุจิรพันธ์ ผบก.อธ. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจติดตาม ควบคุมเฝ้าระวัง ของด่านตรวจประมงทุกแห่ง

2) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) มี พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภาค ๑ เป็นหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง ของศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) ทุกแห่ง

3) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจกลางทะเล มี ผู้แทนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นหัวหน้าชุด และ พ.ต.อ.ชณพล วันขวัญ รอง ผบก.รน. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมายในพื้นที่ทะเลทั้งเขตชายฝั่งและนอกเขตชายฝั่ง

4) ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว มี พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม. เป็นหัวหน้าชุด และ พล.ต.ต.สุทธิพงษ์เพชรรัตน์ ผบก.บ.ตร. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมายกรณีเร่งด่วน และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับชุดปฏิบัติการที่ 1 - 3

“บิ๊กโจ๊ก” จับเข่าคุย!! ‘ประมงพื้นบ้าน’ ร่วมต้าน IUU

จากกรณีที่ประเทศไทยได้ถูกลดอันดับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์จากทางการสหรัฐฯ ลงเป็นอันดับประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยมีข้อสังเกตในเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและแรงงานข้ามชาติซึ่งเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการประมง รวมทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามที่ทราบแล้ว นั้นจากกรณีดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ                   รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงานในภาคการประมง โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ              ตำรวจแห่งชาติ / ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./ รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยเร่งด่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้เดินทางมาพบปะและประสานความร่วมมือกับสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นำโดย นายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี, นายเจริญ โต๊ะอิแต และพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านบ้านในถุง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ในการต่อต้าน การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) เพื่อให้การดูแลทรัพยากรทางทะเลมีความยั่งยืน อุดมสมบูรณ์ 

เกี่ยวข้อง

การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตทะเลประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็ก ใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพต่ำในการจับสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ และจำหน่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก มีวิถีการทำประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร สามารถพึ่งพาตนเองได้แม้ในยามวิกฤต จนกระทั่งรัฐบาล นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา IUU โดยสามารถปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปได้ ผลของการทำงานดังกล่าว ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่งกลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยในปีพ.ศ.2561 ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาได้ 140,037 ตัน ปี พ.ศ.2562 ได้ 161,462 ตัน, ปีพ.ศ.2563 ได้ 250,622 ตัน และปีพ.ศ.2564 เพียง 9 เดือนแรก (ถึง ก.ย.) ได้ถึง 164,054 ตัน 

อย่างไรก็ตาม ชาวประมงพื้นบ้านยังคงประสบปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตชายฝั่งจากเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงที่ใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง เช่น อวนลาก คราดหอย อวนลากคู่ ซึ่งเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีพ.ศ.2563 และ 2564 ที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านได้ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่ประการใด นอกจากนั้นยังถูกข่มขู่จากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเป็นนายทุนเบื้องหลังพฤติกรรมทำประมงผิดกฎหมายเหล่านี้ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อถือการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย โดยในรอบปีพ.ศ.2564 ที่ผ่านมา มีเรือประมงขนาดใหญ่ถูกดำเนินคดีความผิดประมงในทะเลเพียง 10 คดีเท่านั้น 

ในการพบปะครั้งนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้ให้ความมั่นใจกับชาวประมงพื้นบ้านว่า “ชาวประมงพื้นบ้าน เป็นผู้พิทักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนและอุดมสมบูรณ์ ผมได้รับข้อมูลและความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมง IUU อย่างดียิ่ง นอกจากเบาะแสของเรือประมงกลุ่มทุนแล้ว ยังรวมถึงการเลือกปฏิบัติ การละเว้นปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อีกด้วย เห็นได้จากในรอบปี 2564 ที่ผ่านมา เรือประมงกลุ่มทุนถูกดำเนินคดีทำการประมงผิดกฎหมายในทะเลเพียง 10 คดี ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้านมาก และได้กำชับให้ผมเข้ามาแก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลในทะเล กลุ่มเรือนายทุน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ “หลับตา” ละเว้นการปฏิบัติ หรือเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อมั่นการทำงานของภาครัฐ ผมได้จัดชุดปฏิบัติการ 4 ชุดระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความชำนาญ มาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พี่น้องเสนอข้อมูลมา ผู้มีอิทธิพล นายทุนประมง เจ้าหน้าที่รัฐที่รู้เห็นเป็นใจ จะต้องไม่มีที่ยืน เบื้องต้นผมได้จัดกำลังลงตรวจเรือประมงที่แจ้งว่า “งดใช้เรือ” ไม่ออกทำประมง และขอปิดเครื่อง VMS จำนวน 620 ลำ แต่มีบางลำลักลอบออกไปทำประมงผิดกฎหมาย หรือขนของเถื่อน ขนของหนีภาษี รวมถึงค้ามนุษย์ เรือประมงเหล่านี้ ลำไหน “จอดไม่ตรงจุดที่แจ้ง ไปตรวจแล้วไม่มีเรือ” ดำเนินคดีทุกลำพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ผมไม่ได้ทำงานเพราะเอาใจ EU แต่ตั้งใจมาทำงานนี้เพราะอยากให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของเราอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนไปชั่วลูกหลาน และขอขอบคุณที่พี่น้องประมงพื้นบ้านที่มาผนึกกำลังกับภาครัฐในการต่อต้านประมง IUU”

​​​​​​​

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เข้ม ผลักดันเรือประมง IUU ขนปลาทูน่ากว่า 250 ล้านบาท ออกนอกราชอาณาจักร หลังพบทำประมงผิดกฎหมาย

ตามนโยบายของรัฐบาล มีเป้าหมายที่จะให้ประเทศไทยสามารถคงสถานะธงเขียวจากสหภาพยุโรปไว้ให้ได้ จากการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ในฐานะ ประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ประธานคณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์การตรวจ ติดตาม ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมง และแรงงานในภาคประมง ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่ลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) รวมทั้งแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงโดยการคัดกรองและร่วมบูรณาการในการดูแลสภาพการทำงานของแรงงานประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศกรณีดังกล่าว 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. /กรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ให้มีการจัดการประชุมร่วมกับผู้แทนชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับประเทศชาติ และพี่น้องชาวประมงไทยให้มากที่สุด

เมื่อวันที่ 24 ม.ค.66 ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้รับแจ้งข้อมูลว่า มีเรือประมงชื่อ Sun Flower 7 สัญชาติเกาหลีใต้ เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพ ถนนราษฎร์บูรณะ เพื่อนำเข้าปลาทูน่าน้ำหนักกว่า 4,000 ตัน รวมมูลค่ากว่า 250 ล้านบาท ที่ได้จากการทำประมงขึ้นที่ท่าดังกล่าว นำเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปปลากระป๋อง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบกลับไปยังต้นทางที่เรือประมงได้ไปทำการประมงมานั้น โดยตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกประเภท เส้นทางการเดินเรือ ตลอดจนร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจาก มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) องค์กรภาคประชาสังคมระดับนานาชาติ สืบสวนหาข้อมูลจากคนประจำเรือที่ท่าเทียบเรือ 

จึงได้ทราบว่า เรือประมงดังกล่าวได้ไปทำประมงในเขตพื้นที่น่านน้ำของคณะกรรมการการประมงแปซิฟิกตะวันตกและแปซิฟิกกลาง (WCPFC) และเขตน่านน้ำของสาธารณรัฐคิริบาสโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีพฤติการณ์ต้องสงสัยในการทำประมงผิดกฎหมายด้วยวิธีการเก็บทุ่นลอยน้ำที่ใช้สำหรับแพล่อสัตว์น้ำ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top