Sunday, 19 May 2024
Impact

รู้จัก ‘Meta’ ชื่อใหม่ Facebook และเป้าหมายน่าคิด ยึด ‘เวลา-ชีวิต’ ผู้คนได้มากกว่าโซเชียลมีเดีย

ในที่สุดก็เป็นไปตามกระแสข่าว หลังจาก Facebook วางแผนรีแบรนด์ พร้อมเปลี่ยนชื่อบริษัท เพื่อมุ่งหน้าสู่โลกเสมือนจริง หรือที่เรียกว่า Metaverse โลกที่เทคโนโลยีผสมผสานกับชีวิตความเป็นจริง

โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ประกาศเรื่องสำคัญนี้ในงาน Facebook Connect ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปี ซึ่งเขาได้เปิดเผยถึงชื่อใหม่ของบริษัท นั่นก็คือ ‘เมตา’ (Meta) เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของเมตาเวิร์ส (Metaverse) 

สำหรับการเปลี่ยนชื่อบริษัท Facebook เป็น Meta นั้น ก็จะทำให้ Meta เหมือนกับยานแม่ ขณะที่ส่วนบริการอื่น ๆ ในเครืออย่าง Facebook, Instagram และ WhatsApp ยังอยู่เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อใหม่ของ Facebook ในครั้งนี้ อาจจะไม่ได้นำมาซึ่งความ ‘เมตตา’ สักเท่าไรนัก โดยคุณปฐม อินทโรดม อุปนายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก และเผยให้เห็นปมลึกเกี่ยวกับชื่อใหม่ของ Facebook ในครั้งนี้อย่างน่าสนใจว่า...

ชื่อใหม่ของ Facebook คือ Meta แต่ไม่ “เมตตา” เราแน่...เพราะมาร์กจะสร้างโลกคู่ขนานที่ดึงทั้งเวลา เงิน และทรัพยากรของเราไปใส่โลกเสมือนนี้มากขึ้น ผลคือ ปัญหาเด็กติดเกม เด็กติดมือถือ จะหายไปทันที เพราะคนรุ่นใหม่จะ “ใช้ชีวิต” อยู่ในนั้นเลย!!

5 วิธีโปรโมทเที่ยวไทยให้ปังแบบ 'รัสเซล โครว์' ไม่ต้องอวยจนเอียน แต่เนียนจนใครก็อยากไป

นายเถกิง สมทรัพย์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 'เถกิง สมทรัพย์' เผย 5 ข้อคิดการโปรโมทท่องเที่ยวไทย หลังเลนส์ดาราฮอลลีวูดอย่าง 'รัสเซล โครว์' ไว้อย่างน่าสนใจและควรทำตาม ว่า... 

แกกลับไปแล้ว...>> อะไรที่ควรคาดหวัง

1.) รัสเซล โครว์ นำเสนอเมืองไทยแบบนักท่องเที่ยว ไม่นำเสนอแบบ “นายแบบรับจ้างโปรโมท” ที่ถ่ายทำสวยงามแบบเฟก ๆ

2.) จุดที่นำเสนอผ่านทวิตเตอร์ เป็นแบบ “ธรรมชาตินักเที่ยว” ทั่วไป ไม่เน้นถ่ายทำสวย ๆ หรือบรรยายอะไรหรูหรา

3.) ไม่เน้นจุดท่องเที่ยว ไฮเอนด์ ตามแบบฉบับดาราดัง ๆ คนอื่น จึงทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

4.) มุมมองเมืองไทยผ่านสายตาของรัสเซลคือ เมืองไทยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่เมืองไทยแบบในโฆษณาท่องเที่ยวเนี้ยบ ๆ

5.) คนรับทราบความเคลื่อนไหวของรัสเซลผ่านทวิตเตอร์ จะได้ความรู้สึกว่า “มาเมืองไทยได้ง่าย ๆ สบาย ๆ เป็นมิตรไม่ต้องกังวลเรื่องควอรันทีนแบบอึดอัดเข้มงวด”

ก.อุตฯ รับเลื่อนคำชี้ขาดคดีเหมืองทองเป็น 31 ม.ค. 65 เหตุต้องเจรจาระงับข้อพิพาท ยันไทยยังไม่แพ้

กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันอนุญาโตตุลาการในคดีข้อพิพาทเหมืองทอง เลื่อนการออกคำชี้ขาดจากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคม 2564 ออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 เนื่องจากการเจรจาระงับข้อพิพาทของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มและทิศทางที่ดี 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานคณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า กรณีข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ และโดยที่ปรากฏเป็นข่าวว่า บริษัท คิงส์เกตฯ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการพิจารณาข้อพิพาท และการขอเลื่อนการออกคำชี้ขาดจากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคม 2564 ออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 นั้น

‘สมอ.’ ลงพื้นที่หน้าด่าน สุ่มตรวจสินค้านำเข้า สกัดสินค้าไม่ได้มาตรฐานเข้าไทย 

สมอ. ยกระดับมาตรการคุมเข้ม ป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าควบคุมที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของประชาชน เตรียมลงพื้นที่หน้าด่าน สุ่มตรวจสินค้านำเข้า

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้กำชับให้ สมอ. ยกระดับความเข้มข้นของมาตรการเชิงรุกในการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศและการตรวจควบคุมการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดและทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของ สมอ. ทั้ง 126 รายการ ที่มีการโฆษณาผ่านทางทีวีดิจิทัลและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งหากไม่ได้มาตรฐานจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยให้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น กรมศุลกากร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อร่วมกันทำงานเชิงรุกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในท้องตลาดอย่างเข้มงวด 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ. ขานรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) อย่างเคร่งครัด เดินหน้ามาตรการคุมเข้มป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาในราชอาณาจักร โดยเฉพาะสินค้าที่ สมอ. ควบคุมทั้ง 126 รายการ เช่น ปลั๊กพ่วง, เตาปิ้งย่าง, กระทะไฟฟ้า, หม้ออบลมร้อน, ไดร์เป่าผม, ที่หนีบผม, พัดลม, หม้อหุงข้าว, หลอดไฟ, สปอตไลต์, หลอดไฟแอลอีดี, ภาชนะจานชามเมลามีน, ของเด็กเล่น, พาวเวอร์แบงก์ และ อะแด็ปเตอร์ เป็นต้น 

'กรณ์' มองกรณีศึกษา SCBS เทก Bitkub เพราะสุดท้ายดิจิทัล = ธุรกิจแบงก์ยุคต่อไป

"กรณ์" ชี้ 5 สัญญาณสำคัญ อนาคตการเงิน หลังกลุ่มธนาคาร ซื้อกิจการ Crypto Exchange 

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า กล่าวถึงกรณี บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของธนาคารไทยพาณิชย์ ทำสัญญาซื้อหุ้นในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) ว่า เห็นสัญญาณบางเรื่องจากดีล Bitkub x SCBx ซึ่งการที่กลุ่มธนาคารมาซื้อกิจการ Crypto Exchange ด้วยเงินมหาศาลส่งสัญญาณสำคัญหลายข้อ คือ 

1.) เป็นการยืนยันว่า นายธนาคารมองว่า crypto เป็นส่วนสำคัญใน "อนาคตการเงิน" แน่นอน ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่จะเกิดจากการ synergy ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารปัจจุบันร่วมกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริหารการลงทุนของนักลงทุนไทยในสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะมีมากขึ้น ซึ่งต้องติดตามต่อว่าจะทำให้เงินทุนหมุนเวียนในตลาดทุน (ตลาดหลักทรัพย์) ได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เมื่อนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นหรือได้รับการชี้ชวนจากสถาบันการเงินเดิมที่ตนเชื่อมั่นและคุ้นเคย 

2.) แนวโน้มจากที่ในอดีตธนาคารพาณิชย์ขยายฐานธุรกิจด้วยการซื้อหรือควบรวมกันเอง จากนี้เราจะเห็นธนาคารพาณิชย์ซื้ออนาคตด้วยการลงทุนใน alternative finance (การเงินทางเลือกใหม่) ซึ่งแปลว่าธนาคารที่ขาดวิสัยทัศน์หรือขาดกำลังทุนมีแนวโน้มสูญพันธุ์สูง การตอบโต้ทางการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์กันเองในเรื่องนี้ จะมีผลสำคัญในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมการเงินไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ย้อนคำเตือนจาก 'ดร.โกร่ง-ผู้ล่วงลับ' พท. คิดให้ดี ก่อนจะ 'ปลุกผีจำนำข้าว'

คำเตือนจาก 'ดร.โกร่ง-อดีตนักเศรษฐศาสตร์-อดีตรัฐมนตรีผู้ล่วงลับ' โครงการรับจำนำข้าวเปิดช่องคอร์รัปชัน ทำลายโครงสร้างตลาด ระบุรัฐบาลเสียเงินมากมาย แต่ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ไม่ได้อะไรเลย ชูประกันรายได้-จ่ายส่วนต่างส่งตรงไปยังเกษตรกร ถ้าชาวนา ผู้ใหญ่บ้าน กำนันจะโกง ก็ยังดีกว่าโรงสี ผู้ส่งออก รัฐมนตรีโกง

9 พ.ย. 64 - จากกรณีราคาข้าวตกต่ำ ส่งผลกระทบอย่างสูงต่อเกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าว ทำให้ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย เตรียมที่จะฟื้นโครงการรับจำนำข้าวที่เคยทำไว้ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั้น

ล่าสุดสังคมเริ่มมีความกังวลว่าหากมีการฟื้นโครงการรับจำนำข้าวจะเกิดการคอร์รัปชันครั้งใหญ่อีกรอบ ขณะที่โซเชียลมีการแชร์ต่อบทความเรื่อง "จำนำข้าวเปิดช่องทางทุจริต ทำลายโครงสร้างตลาด" เตือนไปยังพรรคเพื่อไทย

บทความนี้เขียนโดย นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือ "ดร.โกร่ง" นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปัจจุบัน ดร.โกร่ง ได้เสียชีวิตลงแล้วเมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา

สำหรับบทความดังกล่าวตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยมีเนื้อหาดังนี้

นโยบายและมาตรการอันหนึ่งที่น่าห่วงเพราะใช้เงินเป็นจำนวนมากมีปัญหาทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ โครงการที่ว่านี้คือโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด กุ้ง ฯลฯ

ฟังดูว่าจะใช้เงิน 4 แสนล้านบาท มาหมุนเวียนซื้อสินค้าเกษตรเหล่านี้ นโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรนี้เป็นนโยบายที่ล้มเหลวที่สุดตั้งแต่ทำกันมา ตั้งแต่ปี 2529 สูญเสียเงินละลายน้ำไปมากมาย โดยผลประโยชน์ไม่ได้ตกถึงมือเกษตรกรอย่างที่คิด ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับโรงสีผู้ส่งออก ลานตากมัน รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพรรคพวกของนักการเมือง จึงไม่มีใครยอมเลิกโครงการนี้

เริ่มต้นชื่อก็ผิดแล้ว การรับจำนำนี้ปกติผู้รับจำนำต้องรับจำนำในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยคาดว่าผู้จำนำจะมาไถ่คืน แต่การรับจำนำสูงกว่าราคาตลาดก็ไม่น่าจะเรียกว่าการรับจำนำเพราะไม่มีใครมาไถ่คืนในราคาจำนำที่สูงแล้วเอาไปขายในราคาที่ต่ำในตลาด การตั้งซื้อว่าโครงการรับจำนำจึงเป็นการตั้งชื่อหลอกลวงประชาชนเท่านั้นเอง

ในทางทฤษฎี สินค้าเกษตรที่ส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศทุกตัว เราเป็นส่วนหนึ่งของตลาดโลกของสินค้านั้น ๆ ตลาดภายในของเรากับตลาดโลกเป็นตลาดเดียวกัน เชื่อมโยงถึงกันอย่างใกล้ชิด เพราะเราไม่มีโควตาการส่งออก ไม่มีภาษีขาออก

สินค้าเกษตรทุกตัว ยกเว้น ยางพารากับมันสำปะหลัง เช่น ข้าว จีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก รองลงมา คือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ ในกรณีข้าวโพด อเมริกาเป็นผู้ผลิตมากที่สุด

ข้าวที่ขายหมุนเวียนในตลาดโลกจึงมีสัดส่วนไม่มาก มันสำปะหลังก็เหมือนกัน ผู้ผลิตรายใหญ่ คือ อินโดนีเชีย ในกรณียางพารา แม้ว่าประเทศเราจะยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แต่ก็ยังมีอินโดนีเซีย มาเลเชีย ศรีลังกา จีน และประเทศอื่น ๆ อีกมากมายผลิตด้วย

นอกจากนั้น สินค้าเกษตรทุกตัวยังมีของทดแทนกันได้เป็นคู่แข่ง เช่น ข้าว ก็มีข้าวสาลี ข้าวโพด และธัญพืชอื่น ๆ เป็นคู่แข่ง เพราะถ้าข้าวราคาแพงผู้บริโภคในจีน อินเดีย และที่อื่นก็หันไปบริโภคหม่านโถว จาปาตี บะหมี่ แทนข้าวได้ ยางพาราที่ใช้ผลิตยางรถยนต์ก็มียางเทียมที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียมเป็นคู่แข่ง มันสำปะหลังก็มีพืชจำพวกแป้งอื่น ๆ เป็นคู่แข่ง

ด้วยเหตุนี้สินค้าเกษตรทุกตัว ราคาจึงถูกกำหนดโดยตลาดโลก รวมทั้งมันสำปะหลังซึ่งเราเป็นผู้ส่งออกสำคัญเพียงรายเดียวของโลก เราจึงเป็น "ผู้รับราคา" หรือ "price taker" ไม่ใช่ผู้กำหนดราคา หรือ "price maker"

นอกจากนั้นสินค้าเกษตรทุกตัวมีปริมาณออกสู่ตลาดโลกตลอดเวลา การกักตุนเพื่อเก็งกำไรไม่สามารถทำได้ หรือการกักตุนของเราก็ไม่ทำให้ราคาตลาดโลกเปลี่ยนแปลงเพราะจะมีผู้ผลิตรายอื่นเสนอขายในตลาดโลกแทนเราและถ้าเราเก็บไว้นาน 3-4 เดือน ก็จะมีผลผลิตใหม่ออกมาแทนที่ พอเราจะขายราคาก็จะตกทันที การกักตุน จึงมีแต่ขาดทุน นอกจากมีไว้เพื่อค้าขายปกติ

ด้วยเหตุนี้ โครงการมูลภัณฑ์กันชน ระหว่างประเทศ หรือ "International Buffer Stocks" ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลภัณฑ์กันชนดีบุก หรือแนวคิดเรื่องมูลภัณฑ์กันชนสินค้าประเภทอาหาร โดยข้อเสนอขององค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNCTAD ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงประสบความล้มเหลว ใครเก็บกักข้าวไว้ก็เท่ากับช่วยให้คู่แข่งขายได้ก่อน ราคาอาจจะดีกว่าตอนที่เราขายทีหลัง เพราะถ้ามีใครกักเก็บ ผู้ซื้อผู้ขายก็รู้ว่ายังมีข้าวรอขายอยู่ก็จะไม่ยอมซื้อในราคาแพง

ฟังว่าจะใช้เงิน 4-5 แสนล้านบาท หมุนเวียนซื้อสินค้าเกษตรมากักตุน ก็เท่ากับคิดจะปั่นราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก หรือที่ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่าจะ "corner the market" ตลาดโลกข้าวมันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด จึงเป็นไปไม่ได้ คนเคยทำแล้วล้มละลายก็มีมาก ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ ที่ล้มก็สืบเนื่องมาจากการพยายามปั่นตลาด หรือจะ corner ตลาดใบยาสูบ ดังนั้น เมื่อผลิตได้เท่าไร รีบส่งออกได้มากเท่าไรยิ่งดี แล้วก็ปลูกใหม่

ย้อนอดีตวันคนโสด 11.11.2018 จากอาลีบาบา ยอดขาย 2 ชั่วโมง แซง ‘เซเว่นฯ’ ไทยขายทั้งปี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พอพูดถึงวันที่ 11 เดือน 11 หรือที่เรียกกันว่า 11.11 นั้น ทุกคนต่างพุ่งเป้าไปที่การซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee และ Lazada เพราะทั้ง 2 แบรนด์ต่างงัดกลยุทธ์ด้านการตลาดที่หลากหลาย มาดึงจูงใจลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้า ผ่านแพลตฟอร์มตัวเอง อาทิ การลดกระหน่ำ, ตัดราคา 50% หรือจะเป็นแจกโค้ดส่วนลด ส่งสินค้าฟรี และโปรโมชันอื่น ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ

แต่ทราบหรือไม่ว่าการทำการตลาดในวัน 11.11 นั้นมีที่มาจากอะไร

จุดเริ่มต้น 11.11 นั้นเริ่มขึ้นจากความนึกสนุกของนักศึกษาชายจากมหาวิทยาลัยนานกิง ประเทศจีน ในยุค 90 ที่เขาเกิดไอเดียนำเลข 1 ที่สื่อความหมายถึงความโดดเดี่ยว คนเดียว มาเรียงต่อกัน 4 ตัว เป็น 11.11 จนกลายเป็นเทศกาล ‘กวงกุ่ยเจี๋ย’ (光棍节) หรือ ‘เทศกาลคนโสด’ ซึ่งงานนี้ก็ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะกลายเป็นวันที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ไปทั่วประเทศ

11.11 เริ่มแพร่หลาย และกลายเป็นอีกการตลาดที่ร้อนแรงภายใต้วิถีชีวิตของผู้คนชาวจีนที่เป็นโสดมากขึ้น และมีบุตรน้อยลง การตลาดจาก ‘วันคนโสด’ หรือ ‘Single’s Day’ จึงสอดคล้องกับพฤติกรรมของเหล่าคนโสดที่ไม่ต้องง้อและพร้อมสู่ขอของขวัญชิ้นพิเศษให้กับตัวเองได้ในวันนี้

เพียงแต่การจะเดินทางไปช็อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้าเพียงคนเดียว ก็อาจจะดูเป็นการทำร้ายความรู้สึกตัวเองเกินไป!!

ในปี 2009 นายหม่า-ยวิ๋น หรือ แจ็ค หม่า (Jack Ma) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ประธานและซีอีโอของแพลตฟอร์ม ช้อปปิ้งออนไลน์ชื่อดัง อาลีบาบา (Alibaba) ที่เรารู้จักกันดี จึงเห็นช่องทางจากการตลาดคนโสดนี้ และปล่อยสุดยอดโปรโมชันขายสินค้าในวันที่ 11.11 ตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าสู่วันคนโสดของจีนจนกระทั่งหมดวัน และมีโปรโมชั่นนาทีทองแทบจะทุกชั่วโมง และสามารถสร้างยอดขายสูงสุดในวันเดียวได้ถึง 52 ล้านหยวน มากกว่าที่เคยทำในช่วงเวลาปกติ 10 เท่า

จากวันนั้น 11.11 ได้กลายเป็นบ่อทองให้กับอาลีบาบาในการโกยรายได้ทางออนไลน์จากนักช็อปทั้งในจีนและต่างชาติ ขณะเดียวกันก็ได้สร้างวัฒนธรรมการช็อปปิ้งออนไลน์ในวันคนโสดนี้ให้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงไทยในทุก ๆ ปี 

โดยเฉพาะในวันคนโสด 11.11 เมื่อปี 2018 ที่อาลีบาบาได้สร้างตำนานตัวเลขที่น่าตกใจ โดยสามารถโกยยอดขายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่ว่ากันว่ามีตัวเลขยอดขายเท่ากับ 7-Eleven ไทย ขายทั้งปีกันเลยทีเดียว

‘ดีป้า’ คิกออฟ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ ดัน ‘หาบเร่’ ต้องเก๋ในโลกออนไลน์

ดีป้า เปิดตัวโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ พร้อมเดินหน้าติดอาวุธดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย นำร่องพื้นที่ 6 จังหวัด ครอบคลุมผู้ประกอบการ 30,000 ราย เล็งขยายการรับรู้สู่ปริมณฑล 4 จังหวัด และเตรียมเดินหน้าเฟส 2 อีก 25 จังหวัดทั่วประเทศ หวังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน โดยมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ของตนเองได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยปรับเปลี่ยนสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้มีความพร้อมรับมือกับความท้าทายดังกล่าว และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่ง ดีป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ จึงได้ดำเนินโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ให้สามารถปรับเปลี่ยนทุกการซื้อ-ขายสู่ระบบออนไลน์ ปรับทุกไลฟ์สไตล์สู่สังคมไร้เงินสด พลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 โดยคาดว่า การดำเนินงานในเฟสแรกจะช่วยสร้างรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อย ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย สามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ สร้างโอกาสทางการตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและจัดส่งสินค้า พัฒนาสู่การแข่งขันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เริ่มดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ นครปฐม ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ครอบคลุมผู้ประกอบการ จำนวน 30,000 ราย ตั้งเป้าขยายการรับรู้สู่ปริมณฑลเพิ่ม 4 จังหวัด

‘อลงกรณ์’ ปลื้ม ผลงานประกันรายได้ชาวนา ดันเงินหมุนเวียนนับล้านล้านบาท 

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็น 1 ใน 5 พืชเศรษฐกิจหลัก ภายใต้นโยบายประกันรายได้เกษตรกร ได้แก่ ข้าว, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์ม, น้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ “ไม่ใช่ภาระแต่เป็นธุระของรัฐบาล” ในการบริหารนโยบายให้สำเร็จตามที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นโครงการที่เกษตรกรพึงพอใจมากที่สุดโครงการหนึ่งของรัฐบาล

เพราะสามารถสร้างหลักประกันรายได้ (Universal basic income) จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในช่วงที่เกิดความผันผวนของราคาผลผลิตทางการเกษตร จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจวิกฤตไปทั่วโลก ซึ่งนี่ถือเป็นนโยบายเรือธง (Flagship policy) ของพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาล

สำหรับโครงการประกันรายได้ชาวนาเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์แห่งอนาคตในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition period) ของการปฏิรูปภาคเกษตรเพื่อสร้างศักยภาพใหม่ของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าว 5 ปี (2563-2567) ที่เริ่มมาแล้วตั้งแต่ปี 2563 ขับเคลื่อนด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ตั้งแต่… 

‘ต้นน้ำ’ การผลิตมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนพัฒนาพันธ์ุสร้างมาตรฐานเชื่อมโยง 

‘กลางน้ำ’ การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม 

และ ‘ปลายน้ำ’ การตลาดแบบออนไลน์/ออฟไลน์ ทั้งตลาดในและต่างประเทศตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต

“โครงการนี้ได้ช่วยพัฒนาฐานะและชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและครอบครัวเกือบ 30 ล้านคน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีแรงงานและการจ้างงานมากที่สุด อีกทั้งเป็นฐานรากสำคัญของประเทศ ทำให้สามารถรักษาการผลิตสินค้าเกษตรสร้างรายได้ในการส่งออกให้กับประเทศของเราจนเป็นอันดับต้นของสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (มองในมุมของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและการนำรายได้เข้าประเทศ) ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่และภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว มีตัวเลขการส่งออกที่ลดลง

“ประการสำคัญ คือ เงินประกันรายได้ที่เกษตรกรได้รับ เกิดจากการทำงานแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน จากหยาดเหงื่อแรงกาย ไม่ใช่การแจกจ่ายแบบให้เปล่า (Free rider) จำนวนหลายแสนล้านบาทเหมือนโครงการอื่น ๆ ของรัฐ”

นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ภาคเกษตรในรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ กำลังนำภาคเกษตรกรรมเข้าสู่มิติใหม่โดยเฉพาะเกษตรอัจฉริยะแนวทางเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) ที่ใช้บิ๊กดาตา (Big Data) และดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Technology) รวมถึงการทำเกษตรแปลงใหญ่ซึ่งพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5,000 แปลง รวมพื้นที่กว่า 6 ล้านไร่ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเกษตรและประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน เน้นการบูรณาการความร่วมมือทำงานเชิงรุกกับทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคเกษตรกร ด้วยการสร้างกลไกเชิงโครงสร้างและระบบเพื่อขับเคลื่อนด้วยแนวทางใหม่ ๆ ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตร...

‘ก้าวไกล’ ค้าน ควบรวม ‘ทรู’ - ‘ดีแทค’ จี้ องค์กรกำกับดูแล กล้ายุติทุนใหญ่ผูกขาด

พรรคก้าวไกล คัดค้านการควบรวมบริษัทให้บริการเครือข่ายมือถือ ‘ทรู’ และ ‘ดีแทค’ จี้ องค์กรกำกับดูแล ต้องกล้าหาญ ยุติการผูกขาดของทุนใหญ่ ปกป้องผู้บริโภค 

ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย พรรคก้าวไกล แสดงความเห็นคัดค้านกรณีการควบรวมระหว่างสองบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทย อย่างทรูคอร์ป และ โทเทิลแอคเซสคอมมูนิเคชั่น โดยตั้งคำถามว่า การควบรวมนี้เป็นการผูกขาดหรือครอบงำตลาดหรือไม่

“การควบรวมครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่นั้นกลายเป็นผู้ให้บริการเบอร์หนึ่งทันที และมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% เมื่อวัดจากจำนวนเลขหมาย ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าการควบรวมนี้จะทำได้โดยไม่เป็นการผูกขาด หรือครอบงำตลาดได้อย่างไร และหากดีลนี้สำเร็จจะเกิดผลอย่างไรกับผู้บริโภค และคู่แข่ง”

ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้กำกับดูแล เพราะแม้ พรบ.แข่งขันทางการค้า จะถูกยกเว้น หากอุตสาหกรรมนั้นมีกฎหมายกำกับดูแลเฉพาะอยู่แล้ว เช่น กรณีนี้เป็นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมย่อมจะอยู่ภายใต้กำกับของ กสทช. ซึ่งควรจะเป็นไปตามประกาศของ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ในข้อ 8

อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ถือใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นบริษัทลูก (ทรูมูฟ - ดีแทคไตรเน็ต) แต่บริษัทที่จะควบรวมเป็นบริษัทแม่ (ทรูคอร์ป - โทเทิลแอคเซสคอมมูนิเคชั่น) นี่อาจกลายเป็นช่องทางหนึ่งที่จะกรณีนี้จะหลุดจากมือ กสทช. ไปสู่การขออนุญาตต่อบอร์ดแข่งขันทางการค้า ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะตามประกาศหลักเกณฑ์การควบรวมของ กสทช. นั้นเข้มงวดกว่าของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า แถมยังระบุหลักเกณฑ์ที่เป็นตัวเลขชัดเจนไว้อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top