Saturday, 25 May 2024
Impact

‘ก้าวไกล’ ติงภาครัฐ ควรรับมือเงินรั่วไหลดีกว่านี้  ย้ำ!! ลูกค้าไม่ผิด อย่าผลักภาระให้ผู้เสียหาย

ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ประชาชนกว่าหมื่นคนถูกตัดเงินจากบัตรเดบิตและบัตรเครดิตโดยไม่รู้ตัวว่า เรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อน แต่จากการตรวจสอบพบข้อสังเกตหลายอย่างที่ทำให้เห็นว่า ธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรับมือกับเรื่องดังกล่าวได้ดีกว่านี้

“แม้ข้อสันนิษฐานตามแถลงการณ์ล่าสุด ของ ธปท. จะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดจากมิจฉาชีพที่สุ่มเลขบัตรและรหัส โดยใช้บอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติ และนำไปทำธุรกรรมกับร้านค้าออนไลน์ ที่อยู่ต่างประเทศ แต่ทั้งกว่าหมื่นกรณีอาจไม่ได้เกิดจากสาเหตุนี้ทั้งหมดก็ได้ และแม้จะยังไม่สามารถกล่าวโทษได้อย่างชัดเจนว่าเป็นช่องโหว่จากจุดใด แต่ก็ชัดเจนว่า ไม่ใช่ความผิดพลาดจากผู้ใช้หรือลูกค้าธนาคารอย่างแน่นอน และแม้ผู้ที่ไม่เคยทำธุรกรรมทางออนไลน์ ก็สามารถตกเป็นเหยื่อในกรณีนี้ได้เช่นกัน”

ทั้งนี้ ปกรณ์วุฒิ ยังมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ว่า เบื้องต้น ธนาคารควรให้ข้อมูลที่ชัดเจน และการระบุผู้เสียหายโดยธนาคาร แต่หลายวันที่ผ่านมาแอปพลิเคชัน รวมถึง Line Official Account ของธนาคารต่างๆ เท่าที่ตนมี หรือช่องทาง SMS ก็ยังคงไม่มีการแจ้งเตือนให้ข้อมูลถึงกรณีดังกล่าวมาถึงเลยแม้แต่ครั้งเดียว 

“ที่สำคัญ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจเกิดกับคนที่ไม่เคยใช้งานออนไลน์เลย หลายคนที่มีแค่บัญชี และบัตรเอทีเอ็ม แต่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบธุรกรรมย้อนหลังของตนเองได้อย่างสะดวก และอย่างที่กล่าวว่า กรณีนี้ ‘ไม่ใช่ความผิดของลูกค้า’ ดังนั้น ภาระในการ ‘สืบหาผู้เสียหาย’ จึงควรจะเป็นของธนาคาร และติดต่อกลับไปแจ้งลูกค้า ไม่ใช่ให้ลูกค้าตรวจสอบความเสียหายของตนเองและแจ้งไปที่ธนาคาร และที่สำคัญคือการชดใช้จะต้องทำทันทีและเร่งด่วน”

ธปท.คาดผ่อนเกณฑ์อสังหาฯ กระตุ้นกำลังซื้อ ดึงเม็ดเงินใหม่ 9.8% ของจีดีพี - จ้างงาน 2.8 ล้านคน

ธปท.คาดว่าผ่อนคลายมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยฯ จะช่วยดึงเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์กว่า 9.8% ของจีดีพี และมีการจ้างงานกว่า 2.8 ล้านคน หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ

วันนี้ (21 ต.ค. 64) นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ แม้มีแนวโน้มจะทยอยฟื้นตัวได้จากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ทำให้เปิดประเทศได้เร็วกว่าคาด แต่การฟื้นตัวยังเปราะบางจากความไม่แน่นอนสูงและฐานะการเงินของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะซบเซาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและภาคก่อสร้างที่ได้รับผลจากการระบาด ธปท. ประเมินแล้วเห็นว่า เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพยุงการจ้างงาน จึงควรเร่งเพิ่มเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มที่ยังมีฐานะการเงินเข้มแข็งหรือรองรับการก่อหนี้เพิ่มได้ ผ่านการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) เป็นการชั่วคราว

'ดีพร้อม' โชว์พลังคลัสเตอร์หุ่นยนต์ รวมกลุ่มฝ่าวิกฤตสร้างระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ลดนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมเปิดทางสร้างพันธมิตรธุรกิจหุ่นยนต์ หวังดันเอสเอ็มอีไทยไปสู่ยุค 4.0 

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบายผลักดัน 12 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยมีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ 

ด้วยนโยบายดังกล่าว ‘ดีพร้อม’ จึงเร่งพัฒนาและฟื้นฟูผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวผ่านการสร้างและพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ ‘คลัสเตอร์’ (Cluster) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ตลอดจนบูรณาการการทำงานระหว่างกันได้ ซึ่ง ‘ดีพร้อม’ ได้ดำเนินการพัฒนาคลัสเตอร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน โดยมีกลไกและกระบวนการพัฒนาตั้งแต่ การกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดการรวมกลุ่ม การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง การพัฒนาธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมให้เติบโต เข้มแข็ง และยั่งยืน 

โดยเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เครื่องมือและกระบวนการอันสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้คือการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ ‘คลัสเตอร์’ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาแล้วอย่างต่อเนื่อง จำนวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจพบว่าเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย 11 กลุ่ม ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการ SMEs ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี 

สำหรับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก และถือเป็นก้าวสำคัญของ SMEs 4.0 คือ ‘คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ’ ซึ่งได้รวมตัวและบูรณาการการทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2562 ประกอบด้วยธุรกิจ SMEs จำนวน 22 บริษัทมีเป้าหมายและจุดยืนร่วมกันคือการเพิ่มกำลังการผลิต การลดนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การนำความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน (Pain Point) ของพันธมิตรภายในคลัสเตอร์ รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ด้านกำลังแรงงาน และการลดต้นทุนด้านต่างๆ เนื่องจากในปัจจุบันจะพบว่าการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานของประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับสถานประกอบการขนาดใหญ่เท่านั้น มี SMEs จำนวนน้อยที่ใช้ระบบดังกล่าวในการจัดการกระบวนการผลิต เพราะส่วนใหญ่ยังคงเป็นการใช้เครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง 

“สิ่งสำคัญที่ ดีพร้อม พยายามพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ให้มีความเข้มแข็งได้มุ่งเน้นทั้งการกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิดจากเดิมที่ต่างคนต่างทำหรือต่างคนต่างเก่ง เปลี่ยนการดำเนินงาน จากการแข่งขันเพียงเพื่อความอยู่รอดของตัวเองฝ่ายเดียวมาเป็นพันธมิตร พร้อมวิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้ธุรกิจในคลัสเตอร์ทราบถึงระดับความสามารถในการแข่งขัน และนำสิ่งต่างๆ มาเติมเต็มได้ รวมถึงยังได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับความต้องการการพัฒนาธุรกิจ ผลักดันเวทีหรือกิจกรรมการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการทดสอบตลาด การพัฒนาบุคลากร การใช้เทคโนโลยี และยังติดตามความสำเร็จ และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์อื่นๆ ต่อไป”

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ดีพร้อม ยังได้มีการติดตามผลลัพธ์ ซึ่งพบว่าสิ่งที่คลัสเตอร์หุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติประสบความสำเร็จ คือ มีการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ พร้อมด้วยความสำเร็จของการพัฒนาระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ Low Cost Automation ซึ่งทำให้ธุรกิจในกลุ่มสามารถมีระบบอัตโนมัติช่วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตในราคาที่เอื้อมถึงได้ คืนทุนได้เร็วเฉลี่ยประมาณ 12 เดือน และมีราคาที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ย 300,000 - 500,000 บาท จากปกติที่ต้องนำเข้าในราคาระดับหลักล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดีพร้อม ยังมีแนวทางในการต่อยอดให้กลุ่ม SMEs มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 

1.) การดึงกลุ่มสถานประกอบการที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เข้ามาร่วมในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผู้พัฒนาระบบทราบถึงความต้องการของพันธมิตร และต่อยอดสู่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น 

2.) การส่งเสริมและเชื่อมโยงผ่านกลไกด้านการเงิน พร้อมให้ความรู้กับผู้ประกอบการได้เห็นถึงสิทธิประโยชน์จากการนำหุ่นยนต์มาใช้ เช่น มาตรการด้านภาษี ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราต่ำ รวมถึงจัดทำข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนอด้านการเงินสำหรับ SMEs เพื่อใช้ในการขอสินเชื่อจากกองทุนและจากธนาคารพาณิชย์

3.) จัดหาหรือดึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ / ประสบการณ์ในด้านระบบอัตโนมัติรวมถึงหุ่นยนต์มาช่วยให้ความรู้ หรือเทคนิคสำคัญให้กับผู้ประกอบการในคลัสเตอร์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษา พร้อมช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาเทคโนโลยีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

และ 4.) ส่งเสริมแผนงานด้านการตลาด เนื่องจากในปัจจุบันแม้คลัสเตอร์จะเริ่มประสบความสำเร็จในการแบ่งปัน - ซื้อขายเทคโนโลยีระหว่างกัน แต่ยังจำเป็นต้องทำให้เกิดการซื้อขายนอกกลุ่ม หรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าและการเป็นที่รู้จักที่มากขึ้นต่อไป 

'นายกฯ' ห่วงเกษตรกร อนุมัติเงิน 2.7 หมื่นลบ. ประกันราคา ‘มันสำปะหลัง-ข้าว/ข้าวโพด’

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายกรัฐมนตรี สั่งให้มีการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพงอย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งราคาปุ๋ยที่มีราคาสูงตั้งแต่ต้นปี มีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าระวางเรือ และการนำเข้าจากต่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ นายกฯ จึงมอบหมายกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงาน ร่วมพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน รวมถึงการชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรว่ารัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขอยู่

นานธนกร กล่าวว่า นายกฯ ห่วงใยเกษตรกร ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ จากสถานการณ์น้ำท่วม ราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร่งด่วน ซึ่งที่ประชุมครม.วันนี้ (25 ต.ค.) มีการอนุมัติกรอบวงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าว

‘เชฟดัง’ เสิร์ฟเมนูหากินยากแบบเคลื่อนที่ จนรุ่ง!! สะท้อนแนวคิดนักสู้ หลังร้านเจ๊งเพราะโควิด

เพจ ‘หลง อินเดีย’ ได้เผยเรื่องราวของเชฟดังจากโรงแรม 5 ดาว ที่จำต้องปิดร้านอาหารตัวเองลง แต่ก็ดิ้นสู้ชีวิต ด้วยการปรับใช้รถเก๋งคันจิ๋ว มาทำเป็นร้านอาหารเคลื่อนที่ ว่า…

“ไม่คิดปรับ ชีวิตก็ไม่เปลี่ยน”

เชฟดังจากโรงแรม 5 ดาว จำต้องปิดร้านอาหารตัวเองลง สุดท้ายใช้รถเก๋งคันจิ๋ว ทำเป็น #ร้านอาหารเคลื่อนที่ ซะเลย

Chef Pankaj Neurkar อดีตเชฟโรงแรมหรู Grand Hyatt แห่งนครมุมไบ ที่ผันตัวมาเป็นเจ้าของร้านตัวเอง ในชื่อ ‘Khadpe’s’ ที่เสิร์ฟเฉพาะอาหาร Malvani ดั้งเดิมแท้ๆ

Malvani Food (มัลวานี) เป็นอาหารอินเดีย ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์สำคัญที่ทางใต้ของ Konkan ในรัฐมหาราษฎระ และ รัฐกัว เท่านั้น จึงเป็นอาหารที่หาทานได้ยากเช่นกัน

เชฟปังกัช ขณะนี้จำเป็นต้องปิดร้านอาหาร ทั้ง 2 แห่งของตนลงแล้ว เพราะพิษของการระบาดใหญ่ที่ผ่านมา แต่เหนือสิ่งอื่นใด เขากลับเป็นคนที่ไม่คิดยอมแพ้อะไรง่ายๆ เพราะเขาเชื่อว่า… #ทองแท้ย่อมไม่แพ้ไฟ หรอก

เปิดตัว 'แกร็บเพ็ท' บริการเดินทางแก่คนมีสัตว์เลี้ยง ชูจุดเด่น ‘สะดวก - ปลอดภัย - ในราคาเข้าถึงได้’

แกร็บ เดินหน้าขยายบริการเอาใจคนรักสัตว์เลี้ยงด้วยการเปิดตัว ‘แกร็บเพ็ท’ (GrabPet) บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันที่ช่วยให้เจ้าของสามารถพาสัตว์เลี้ยงเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว นำร่องเปิดใช้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ชู 3 จุดเด่น ‘สะดวก ปลอดภัย ในราคาเข้าถึงได้’ โดยสามารถเรียกใช้บริการได้แบบไม่ต้องจองล่วงหน้า พร้อมสร้างมั่นใจด้วยมาตรฐานความปลอดภัยและพาร์ทเนอร์คนขับที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ ในราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 95 บาท

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาดและพันธมิตรทางธุรกิจ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า... “ตลาดสัตว์เลี้ยงถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความน่าสนใจมาก โดยเฉพาะในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นเทรนด์ของคนโสด รวมถึงกลุ่มครอบครัวเดี่ยวที่หันมาเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงา นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่บ้านมากขึ้นถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ตลาดนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดสูงถึงกว่า 35,000 ล้านบาท* ซึ่งรวมถึงธุรกิจให้บริการต่างๆ กับสัตว์เลี้ยงด้วย”

“ปัจจุบัน บริการการเดินทางสำหรับผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงยังมีตัวเลือกไม่มากนัก บางครั้งผู้ใช้บริการต้องจองคิวล่วงหน้าไม่สามารถเดินทางได้ทันที และมีค่าบริการค่อนข้างสูงจากการคิดราคาเหมา แกร็บมองเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจจากผู้ใช้บริการในกลุ่มนี้ เราจึงได้พัฒนาบริการใหม่อย่าง ‘แกร็บเพ็ท’ ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อาจไม่ได้มีรถยนต์ส่วนตัวหรือไม่ได้ต้องการขับรถเอง เพื่อพาสัตว์เลี้ยงเดินทางไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็น การพาไปเที่ยว พักผ่อน ออกกำลังกาย หรือแม้แต่ไปโรงพยาบาล โดยมาพร้อม 3 จุดเด่น คือ ความสะดวกสบาย มาตรฐานความปลอดภัย และค่าบริการที่เข้าถึงได้”

'จุรินทร์' เรียกถก ส่งออกถุงมือยางมือสอง พรุ่งนี้ ย้ำ!! หากเรื่องไม่ซับซ้อน พร้อมสรุปโดยเร็ว

'จุรินทร์' เรียกประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ส่งออกถุงมือยางมือสอง พรุ่งนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ย้ำถ้าเรื่องไม่ซับซ้อนจะรีบสรุปโดยเร็ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่สื่อต่างประเทศนำเสนอเรื่องการส่งออกถุงมือยางใช้แล้วไปยังสหรัฐอเมริกา ว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเป็นประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวงร่วมกัน และมีอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเป็นเลขานุการ ซึ่งตนจะได้นัดประชุมในวันพรุ่งนี้ เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนับหนึ่งถึงที่มาของข้อเท็จจริง พร้อมทั้งที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร และจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ไม่ได้มีกรอบเวลาในการดำเนินการ แต่ตนจะเร่งดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมเป็นกรรมการหาข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย

บอร์ด สมอ. เคาะแผนทำมาตรฐานปี 65 เห็นชอบมาตรฐานระบบเตือนภัย ป้องกันการโจรกรรม

บอร์ด สมอ. เคาะแผนจัดทำมาตรฐาน ปี’65 โฟกัส S-curve / New S-curve พร้อมเห็นชอบมาตรฐานระบบเตือนภัย เตรียมล้อมคอกป้องกันการโจรกรรม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยมีแผนแม่บทการกำหนดมาตรฐานระยะ 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) เป็นกลไกสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งตนได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และประชาชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม และคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า บอร์ดได้มีมติเห็นชอบรายชื่อเพื่อจัดทำมาตรฐานในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 596 เรื่อง โดยมีแผนตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 240 เรื่อง ครอบคลุมมาตรฐานกลุ่ม S-curve / New S-curve กลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาตรฐานตามนโยบาย และมาตรฐานเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรฐานระบบเตือนภัย และมาตรฐานสินค้าอื่น ๆ รวม 58 มาตรฐาน รวมทั้งให้ สมอ. ควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ เป็นสินค้าควบคุมอีกด้วย

รฟท. เปิดเวทีซาวเสียงชวนนักลงทุนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งส่วนหลัก-ต่อขยาย รวม 6 เส้นทาง

นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ครั้งที่ 1 โครงการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ จัดทำเอกสารประกวดราคาและการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อนำเสนอความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษาภาพรวมของโครงการ ตลอดจนแนวทางการลงทุนและความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนของภาคเอกชน และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปประกอบการศึกษาและจัดทำโครงการ ให้มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ รฟท. ได้ดำเนินการศึกษาเพื่อจัดแผนการเดินรถเบื้องต้นที่ตอบสนองความต้องการในการเดินทาง ครอบคลุมการเดินรถไฟทุกประเภท ที่จำเป็นจะต้องใช้ทางวิ่งร่วมกัน โดยพิจารณาการจัดช่วงการเดินรถ (Time Slot) เพื่อไม่เกิดความซ้ำซ้อน โดยแบ่งรูปแบบการเดินรถไปตามลักษณะการดำเนินโครงการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 

ระยะที่ 1 โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยรูปแบบการเดินรถของโครงการจะมีช่วงที่ให้บริการขนานกับเส้นทางการเดินรถของ รฟท. ในส่วนของรถธรรมดาและรถชานเมืองบริเวณช่วงสถานีดังกล่าว

ระยะที่ 2 โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โดยในระยะการเปิดส่วนต่อขยายช่วงต่าง ๆ อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถชานเมืองในพื้นที่กรุงเทพฯ ของ รฟท. บางส่วนในช่วงสถานีที่ให้บริการซ้ำซ้อนกับสถานีของโครงการ หรืออาจจะจอดให้บริการที่สถานีเชื่อมต่อหลักเท่านั้น

ระยะที่ 3 โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ การเดินรถจะเป็นการให้บริการระบบรถไฟชานเมืองในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเต็มรูปแบบ โดยมีสถานีศูนย์กลางร่วมกับ รฟท. ที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งโครงการจะมาช่วงต่อการให้บริการรถชานเมืองจากการรถไฟฯ ทั้งหมด

ทั้งนี้โครงการได้ดำเนินการศึกษา ทบทวน วิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและการเงิน โดยผลการวิเคราะห์แสดงสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมระหว่างรัฐและเอกชน ดังนี้... 

1.) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สัดส่วนการลงทุนรัฐ 100% 
2.) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัดส่วนการลงทุนรัฐ 100% 
3.) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก สัดส่วนการลงทุนรัฐ คิดเป็น 90.36% และสัดส่วนการลงทุนเอกชนคิดเป็น 9.64%
4.) ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต สัดส่วนการลงทุนรัฐ คิดเป็น 90.36% และสัดส่วนการลงทุนเอกชนคิดเป็น 9.64% 
5.) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา สัดส่วนการลงทุนรัฐ คิดเป็น 90.36% และสัดส่วนการลงทุนเอกชนคิดเป็น 9.64% 
และ 6.) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช สัดส่วนการลงทุนรัฐ คิดเป็น 90.36% และสัดส่วนการลงทุนเอกชนคิดเป็น 9.64%

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาระยะเวลาร่วมลงทุนที่ 50 ปี โครงการฯ มีผลตอบแทนทางการเงินในภาพรวมทั้ง 6 โครงการ ดังนี้ ผลตอบแทนโครงการ -0.54% FIRR (%) คิดเป็นมูลค่า -159,154.49 NPV (ล้านบาท) คิดเป็น 0.44 B/C Ratio สำหรับรูปแบบการลงทุนที่แบ่งสัดส่วนการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนดังที่กล่าวไปข้างต้น มีผลตอบแทนทางการเงิน ดังนี้ ผลตอบแทนโครงการ 8.62 IRR (%) คิดเป็นมูลค่า 9,670.51 NPV (ล้านบาท) คิดเป็น 1.08 B/C Ratio

โออาร์ ร่วมมือ GC ผลิตน้ำมันดีเซลสูตรพิเศษ กำมะถันต่ำเทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 พร้อมจำหน่าย ในราคาเท่าเดิม ตาม พีทีที สเตชั่น กว่า 400 แห่ง ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2564 - 31 มี.ค. 2565

นายบุญมา พลธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่จะกลับมาสูงเกินค่ามาตรฐานอีกครั้งในช่วงปลายปี โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โออาร์ เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และในฐานะผู้บริหารแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น โออาร์ พร้อมจำหน่ายน้ำมันอัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel) สูตรพิเศษที่มีกำมะถันต่ำเทียบเท่ากับน้ำมันยูโร 5

โดยมีค่ากำมะถันต่ำเฉลี่ยประมาณ 10 PPM ซึ่งต่ำกว่าค่าที่กฎหมายกำหนด (50 PPM) ถึงประมาณ 5 เท่า ซึ่งเป็นการร่วมมือกับโรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ในการกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วกำมะถันต่ำและนำมาผลิตเป็นน้ำมันอัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล สูตรพิเศษที่คลังน้ำมันพระโขนงเพื่อจ่ายให้กับสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมกว่า 400 สถานี ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 - 31 มี.ค. 2565 รวมทั้งจ่ายให้กลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top