Thursday, 16 May 2024
EIA

‘ศรีสุวรรณ จรรยา’ รับหนังสือคัดค้าน ต่อต้านการก่อสร้างคอนโดยักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ตัวแทนชาวประชานุกูล ซอยรัชดาภิเษก 66-68 ที่ใด้รับความเดือดร้อนจากการสร้างคอนโดยักษ์ ยื่นหนังสือถึงสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผ่านนายศรีสุวรรณ จรรยา คัดค้านต่อกต่อต้านการก่อสร้างคอนโดของบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่งจำนวน 1 อาคาร 3 ทาวเวอร์ สูง 18 ชั้น ยาวติดกันเกือบ 300 เมตร บนเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 66.8 ตร.ว. ภายในซอยรัชดา 66 กับ 68 ซึ่งเป็นซอยแคบ.จำนวนหัองพักทั้งสิ้น 1302 ห้อง

พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยของชาวชุมชน ที่อยู่กันมานาน 40-50 ปี การที่คณะกรรมการ คชก. เห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการ ชาวชุมชนไม่เห็นด้วยเพราะส่งผลกระบบต่อมลพิษเสียง ฝุ่นละออง และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฏกระทรวง ฉบับที่ 33 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตาม พรบ. ควมคุมอาคาร 2522 และ 2544

นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ของโครงการดังกล่าวปรากฏว่าข้อมูลไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ เช่น ไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535)  และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตามความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 และไม่เป็นไป ตามข้อบัญญัติ กทม.เรื่องควบคุมอาคาร 2544 และเป็นอาคารสูงที่บังแดด บังลมบ้านเรือนที่พักอาศัย รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง เสียงดัง จากการจราจร จากการก่อสร้าง จากยานยนต์และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ที่จะตามมาอีกมากมายจากผู้ที่จะเข้ามาพักอาศัยอีกนับพันคนด้วย

คุณศิริ เหมือนศรี กล่าวว่า โครงการคอนโดที่จะเกิดขึ้นจะทำให้ตนเดือดร้อน และทรมานแน่นอน เคยเสนอให้สร้างแบบ 3ชั้น เขาก็ทำกันได้ แต่นี้ 30 ชั้น อีไอเอก็ไม่ผ่าน มติชาวบ้านก็ไม่เห็นด้วย จะลดมาเหลือ18ชั้นก็เดือดร้อนเช่นเดิม บ้านฉันห่างแค่8เมตร ถ้าเริ่มสร้างจะเกิดผลกระทบกับความเป็นอยู่มาก ที่กลัวมากเรื่องเครนใครรับผิดชอบถ้าหล่นพังลงมา เรื่องเสียงตอกเสาเข็ม ฝุ่นละออง ฉันเองเป็นโรคปอดอยู่ด้วยถูกตัดไปข้างหนึ่ง จะอยู่กันไม่ได้แน่นอน แล้วใครจะรับผิดชอบ

ด้านนายสมศักดิ์ พร้อมเชื้อแก้ว ผู้อาศัยติดโครงการ กล่าวว่า ร่วมประชุมมีคำถาม 3 อย่าง ไม่เคยตอบได้เลย อย่างแรก เรื่องการจราจร ที่จอดรถรับได้เพียงร้อยละ 60 เท่านั้น แล้วที่เหลือ ไปจอดที่ไหน ซอย 66 ที่เป็นซอยใหญ่สุดและคนอยู่มากที่สุด ต่อไปนี้จะมีรถมาจอดตามหน้าบ้านเต็มไปหมด แล้วจะเกิดปัญหาจราจรติดขัดแน่นอน

 

‘บิ๊กป้อม’ นั่งหัวโต๊ะ ร่วมประชุมด้านสิ่งแวดล้อม 10 โครงการ จี้!! ทุกหน่วย เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปกป้องสุขภาพ ปชช.

(15 มี.ค. 66) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการฯ ได้รับทราบ รายงานผลการประชุม สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วย พื้นที่ชุมน้ำสมัยที่ 14 จัดขึ้นภายใต้ หัวข้อ ‘Wetlands Action for People and Nature’ โดยมีพิธีมอบรางวัล Wetland City Accreditation ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบรางวัล การรับรอง อำเภอศรีสงคราม จีงหวัดนครพนม ให้เป็นเมืองแห่งพื้นที่ชุมน้ำภายใต้อนุสัญญาว่าด้วย พื้นที่ชุมน้ำ

จากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 10 โครงการสำคัญ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่
1.) โครงการประตูระบายน้ำกรงปินัง จ.ยะลา ของกรมชลประทาน
2.) โครงการบ้านเคหะกตัญญู คลองหลวง 2 จ.ปทุมธานี ของการเคหะแห่งชาติ
3.) โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองน่าน ของกรมทางหลวง

4.) โครงการทางเลี่ยงเมืองสกลนคร (ด้านทิศตะวันออก) ของกรมทางหลวง
5.) โครงการทางหลวงหมายเลข 103 อ.ร้องกวาง-อ.งาว ของกรมทางหลวง.
6.) โครงการทางขนานสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของกรมทางหลวง
7.) แผนงานขยายเขตไฟฟ้าให้หมู่บ้านในโครงการหมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคง พื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ปาย และอ.บางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน (กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

‘บิ๊กป้อม’ เคาะ!! ‘EIA รถไฟรางคู่สายใต้’ งบ 5.7 หมื่นล้าน เชื่อมต่อ ‘สุราษฎร์ฯ–หาดใหญ่–สงขลา’ ระยะทาง 321 กม.

เมื่อไม่นานนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผ่านระบบ VTC ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยที่ประชุมรับทราบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย รายงานสถานการณ์มลพิษฯ ปี 2565 สรุป คุณภาพน้ำ ทั้งแหล่งผิวดิน น้ำทะเลชายและน้ำบาดาล โดยรวมอยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี คุณภาพอากาศและเสียงมีแนวโน้มดีขึ้นขยะมูลฝอยชุมชนของเสียและสารอันตรายพบว่าขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นมีการขัดแยกและกำจัดขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันของเสียอันตรายและวัตถุอันตรายมีปริมาณเพิ่มขึ้นกากอุตสาหกรรมที่มีอันตรายมีการแจ้งและนำเข้าสู่ระบบการจัดการเพิ่มขึ้นมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นและได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาและให้ความเห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี – ชุมทางหาดใหญ่ – สงขลา นอกจากนั้น ยังให้ความเห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า เพื่อควบคุมและแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

โดยรองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ร่วมกันทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นและมุมมองต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อเนื่องที่ผ่านมา พร้อมย้ำโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ขอให้ใช้ความรอบคอบทั้งหลักวิชาการและสภาพจริง รวมทั้งต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมและรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อย่างรอบด้าน

พร้อมกำชับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึงปัญหาสถานการณ์มลพิษ ทั้งคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง รวมทั้งขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียและวัตถุอันตราย บางพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม จำเป็นต้องให้น้ำหนักเข้าไปแก้ปัญหาให้ทั่วถึง สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปล่อยปริมาณน้ำเสียลงผิวดินเพิ่ม ประกอบกับระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนที่ไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องประสานการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยขอให้มีแผนงาน มาตรการรองรับและมีการกำกับที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำผลการประชุมดังกล่าว เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และดูแลกำกับโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนด

‘อัครเดช’ จี้ให้หาความจริง ‘สารแคดเมียม’ มีเท่าไร-อยู่ที่ไหน หวั่นฟุ้งกระจาย ย้ำ!! ต้องรอบคอบ-รัดกุม เพื่อความปลอดภัยของปชช.

(6 เม.ย. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการตรวจพบสารแคดเมียมในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาสอบสวนให้เกิดความกระจ่างใน 2 ประเด็นคือ 1.จะจัดการกับสารแคดเมียมที่เหลืออยู่อย่างไร เพราะมีการแจ้งว่าขออนุญาตขนมา 15,000 ตัน แต่วันที่เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครเข้ามาชี้แจงต่อกมธ.แจ้งว่าพบมีกากแร่แคดเมียมประมาณหมื่นกว่าตัน ส่วนเมื่อวันที่ 6 เม.ย. กระทรวงอุตสาหกรรม บอกพบกากแร่ดังกล่าวแค่2,000กว่าตัน ทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร ดังนั้น เบื้องต้นต้องสรุปให้ได้ก่อนว่าระยะเวลานี้ผ่านมา 5-6 เดือนขนมากี่ตันแน่ และยังเหลืออยู่กี่ตัน ต้องบอกตัวเลขที่แท้จริงกับประชาชนให้ได้ก่อนเพื่อให้หายสงสัย

นายอัครเดช กล่าวว่า ต้องสอบสวนให้เกิดความชัดเจนเวลานี้สารแคดเมียมกระจายไปที่ไหนบ้าง และมีบางส่วนตามกลับมาแล้วหลังมีการเข้าไปตรวจสอบพบว่ามีการย้ายไปโรงงานอื่น แล้วตามกลับมา ตรงนี้เป็นปัญหาแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่ทราบว่ากระจายไปที่ไหนบ้างจะได้จัดการกับกากแร่เหล่านั้นได้ถูกต้อง ที่สำคัญต้องมีการสืบสวนสอบสวนว่ามีการนำไปหลอมหรือไม่ตรงนี้ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะ กระบวนการหลอมโลหะจะทำให้เกิดไอของสารแคดเมียม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนได้

ประเด็นที่ 2 เรื่องการขนย้ายต้องไม่โลกสวยการออกคำสั่งทางปกครอง ให้ขนย้ายแล้วเสร็จภายใน7วันในทางปฏิบัติทำได้หรือไม่ สารแคดเมียมเป็นสารอันตราย การขนย้ายต้องมีการวางแผนเตรียมการอย่างดี ทราบล่าสุดพบถุงบรรจุกากแคดเมี่ยมบางถุงที่กองเก็บนอกอาคารมีการชำรุดและเกิดการรั่วออกมาของกากแคดเมี่ยมบางส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าโลกสวยต้องไปดูว่าในทางปฏิบัติจะควบคุมในการขนย้ายอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชน ต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทางได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่หรือยัง เพราะสารแคดเมียมอันตรายมากเป็นสารก่อมะเร็งระหว่างขนย้ายมีการฟุ้งกระจายหรือมีน้ำฝนมาชะล้างก็ล้วนอันตราย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาแก้ปัญหาอย่างรอบคอบรัดกุมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนมากที่สุด

ประเด็นที่ 3 ต้องเร่งหาคนทำผิดมาลงโทษให้ได้ถือว่าสำคัญมาก เพราะในEIA ระบุชัดกากเเคดเมียมเหล่านี้ไม่สามารถขนย้ายได้ แต่กลับมีการขนย้ายทั้งที่กฎหมายไม่อนุญาต เรื่องนี้กมธ.จะติดตามอย่างใกล้ชิด ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ปลอดภัยสร้างความเข้าใจกับประชาชน

“กรรมาธิการจะตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ได้ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนก แต่ต้องการสร้างความตระหนัก ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าไปจัดการปัญหาอย่างจริงจัง ถ้าส่วนราชการบางหน่วยงานให้ความร่วมมือกับกมธ.อย่างจริงจังตั้งแต่แรกปัญหาคงจัดการได้ตั้งนานแล้ว แต่ที่ผ่านมาส่วนราชการก็เป็นอุปสรรคเสียเอง ในการสอบหาข้อเท็จจริงของกรรมาธิการอุตสาหกรรม เพิ่งมาให้ข้อมูลที่ชัดเจนเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งล่าช้าไปมาก ดังนั้นส่วนราชการต้องตื่นตัวในการเข้ามาแก้ไขปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพี่น้องประชาชนให้มากกว่านี้ การที่ส่วนราชการทำงานล่าช้าทำให้ประชาชนตกใจเพราะข่าวที่ออกมาไม่ชัดเจน จึงมีคำถามจากประชาชนมากมาย”นายอัครเดชกล่าว

นายอัครเดช กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ ทำไมไม่ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ แต่ประกาศเป็นเขตควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างไร กมธ.ไม่ได้สนใจจะประกาศแบบไหน แต่ขอให้การแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนต้องมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในปัจจุบันและอนาคต การไม่ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติจะกระทบต่อสิทธิของประชาชนในอนาคตหรือไม่ถ้าประชาชนเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาในภายภาคหน้า แล้วจะเรียกร้องจากใคร นี่ก็เป็นคำถามที่ประชาชนฝากถามมา

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 เมษายน กมธ.ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงอีกครั้ง ช่วงนี้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการอย่างเร่งด่วน หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะมาชี้แจงต่อกมธ.เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสาธารณชนร่วมกัน และขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี และทุกภาคส่วนที่ได้ลงไปแก้ปัญหาให้ประชาชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top