Saturday, 14 September 2024
EEC

สานพลังความร่วมมือ EEC Automation Park ปั้นโรงงาน 4.0 นำร่องผู้ประกอบการ 200 แห่ง ดึงดูดการลงทุน

อีอีซี จับมือ มิตซูบิชิและพันธมิตรเครือข่าย สานพลังความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ในงาน EEC connecting Thailand and Japan Collaboration 2021 เดินหน้าอีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ดึงผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 200 ราย นำร่องสู่อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมสร้างบุคลากรรองรับ 15,000 คนใน 5 ปี ยกระดับให้ไทยก้าวสู่ยุคใช้นวัตกรรมขั้นสูง

(29 ก.ย. 64) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ อิเลคทริก EEC Automation Park และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน EEC connecting Thailand and Japan Collaboration 2021 "Digital Manufacturing Platform" แสดงความพร้อมของ EEC Automation Park ที่จะเป็นฐานสำคัญ ขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตอบโจทย์การพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างทักษะแรงงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน

โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี, ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร (EEC HDC), นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO ร่วมกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี สกพอ., นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ EEC Automation Park และผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 ราย เข้าร่วมงาน

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การจัดงานฯ ครั้งนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์และเข้มแข็งของภาคเอกชนญี่ปุ่นในพื้นที่ อีอีซี ที่มีมายาวนาน และยังคงต่อเนื่องเดินหน้ายกระดับการผลิตภาคอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล (Digital Manufacturing Platform) แม้จะเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งนำโดย บ. มิตซูบิชิฯ ที่ริเริ่มแนวคิด e-F@ctory Alliance พร้อมพันธมิตรเครือข่ายร่วมพัฒนา EEC Automation Park ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ให้เป็นฐานหลักขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ Robotics & Automation สร้างความเชื่อมโยง Ecosystem เอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะใช้นวัตกรรมนำการผลิต เกิด Industry 4.0 ขึ้นจริงในพื้นที่ อีอีซี ดึงดูดเงินลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงจากนักลงทุนทั่วโลก

โดยคาดว่า การลงทุนด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) เป็นเครื่องมือสำคัญให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งคาดว่าใน 3 ปีข้างหน้า จะเกิดการลงทุนสูงถึง 500,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี โดยปี 2565 ตั้งเป้าหมายให้โรงงานในอีอีซี เริ่มประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมสำรวจการออกแบบระบบและเชื่อมหาแหล่งทุนได้ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง และตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing 4.0 ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ยกระดับรายได้แรงงานไทย ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างสมดุลและยั่งยืน   

ครม.เห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม 6 แห่ง ในพื้นที่ EEC ตั้งเป้าลงทุน 10 ปี กว่า 3 แสนล้านบาท รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ว่า ครม.เห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม จำนวน 6 แห่ง และเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 1 แห่ง ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเพิ่มจุดแข็งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและรองรับการลงทุนในอนาคต เนื่องจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) มีพื้นที่รับรองการประกอบกิจการอุตสาหกรรมและการค้า (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563) จำนวน 15,836 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะรองรับการลงทุนได้เพียง 5 ปี จึงต้องจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้น 6 แห่ง ดังนี้...

1.) การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการอุตสาหกรรมรูปแบบนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 5 แห่ง โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 6,884 ไร่ สามารถรองรับการประกอบกิจการได้ประมาณ 5,098 ไร่ ตั้งเป้าหมายการลงทุน 280,772 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ.2564 - 2573) ประกอบด้วย...

>> นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 698 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์
>> นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 1,501 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์
>> นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีน จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 978 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
>> นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง จังหวัดระยอง พื้นที่ 421 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ และดิจิทัล
>> นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จังหวัดระยอง พื้นที่ 1,498 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ 

ชลบุรี - นครแหลมฉบัง จัดประชุมประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหาร เชิญ ‘ดร.คณิศ’ เลขา EEC แนะพัฒนาพื้นที่ เผยข่าวดี ท่าเรือเฟส 3 เตรียมยื่นนายกตู่ นำเข้า ครม.อีก 2 อาทิตย์

ที่ห้องประชุมเมืองท่า ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร เทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 2/2564 พร้อมด้วยนางจินดา  ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ในการยังได้เชิญ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เข้าร่วมพบปะพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้แทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย ท่าเรือแหลมฉบัง บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงกลั่นไทยออลย์ เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย

นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ ได้กล่าวขอบคุณ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ช่วยในการผลักดันงบประมาณ จนกำเนิดโครงการก่อสร้างทางแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับถนนเมืองใหม่เหนือและถนนนิคมแหลมฉบัง 4 จ.ชลบุรี ด้วยงบประมาณ 177 ล้านบาท ที่จะช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนสุขุมวิท ที่ต้องการมุ่งหน้าเข้าไปทำงานในพื้นที่ ท่าเรือแหลมฉบัง และบริษัทกว่า 200 บริษัท ภายในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยไม่ต้องมุ่งหน้าไปเลี้ยวยูเทรินกลับรถ ประดังกันที่บริเวณสี่แยกท่าเรือแหลมฉบัง บางครั้งรถติดยาวเหยียดหลายกิโลเมตร

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ได้มาร่วมประชุมในครั้งนี้ สำหรับโครงการภายใต้การผลักดันงบประมาณของ คณะกรรมการ EEC นั้น มีทั้ง ท่าเรือมาบตะพุด สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งพัฒนาไปมากแล้ว แต่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 กลับกลายเป็นว่าพัฒนาช้าที่สุด ซึ่งเราเสียเวลาไป กว่า 3 ปี และเสียดายมาก แต่ล่าสุดได้มีการแก้ไขระเบียบสัญญาต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย

ทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้เตรียมยืนเรื่องการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ให้กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีก 2 อาทิตย์ เพื่อนำเข้าสู่ ครม.ต่อไป

โดยท่าเรือระยะที่ 3 มีอยู่ 3 เรื่องที่เป็นข่าวดีและเป็นเรื่องใหม่ ท่าเรือแห่งนี้ จะเป็นท่าเรือ ฟลูออติเมชั่น ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 2 ที่ ในโลกเท่านั้น และเราจะเป็นที่ ๆ 3 ต่อจาก ท่าเรือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และข้อดีของการเป็นท่าเรือฟลูออติเมชั่น คือสามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง เพราะว่าไม่ต้องใช้คนงานเยอะ สอดคล้องกับการใช้ระบบ 5 จี เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน เช่นการยกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลง ผ่านทางลางรถไฟ ซึ่งหากปิดไฟมืดสนิทก็ยังคงสามารถปฏิบัติงานได้ เนื่องจากเป็นระบบ

ในขณะที่เรื่องที่ 2 คือ ระบบรถไฟ ซึ่งเราได้วางระบบไว้ โดยจะใช้การขนส่งทางรถไฟ เป็นส่วนใหญ่ หรือ 80 % และที่สำคัญจะสามารถช่วยลดปัญหาความคับคั่งของปัญหาจราจรในพื้นที่ได้ และเรื่องที่ 3 คือ คอร์เนต ทีริตี้ มาใส่ในท่าเรือแหลมฉบัง โดยเป็นการนำตู้คอนเทนเนอร์มาขนถ่ายผ่านระบบออโตเมติกในท่าเรือแหลมฉบัง ให้เยอะที่สุด เราหวังว่าตู้คอนเทนเนอร์ จาก 11 ล้านทีอียู ในปัจจุบัน จะเพิ่มอีก 7 ล้านทีอียู รวมเป็น 18 ล้านทีอียู ต่อปี และส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบัง ขึ้นเป็นอันดับที่ 15 ของโลก

ส่วนที่มีการสอบถามมาว่า ปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และพื้นที่อื่น ๆ ถือมีความแออัดเป็นอย่างมาก เกรงว่าจะไปไม่ทัน และตกรถไฟได้

เรื่องนี้ทางคณะกรรมการ EEC ได้มีการวางแผนเพื่อรองรับพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงไว้แล้ว โดยจัดให้มีการลดการใช้รถยนต์เดินทางมายังสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเปิดให้มีจุดรับส่งประชาชนขึ้นรถโดยสารสาธารณะ เดินทางไปสถานีรถไฟ ตามจุดต่าง ๆ ของพื้นที่

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้สนับสนุนเงินลงทุนใน 3 จังหวัด พื้นที่ EEC ในโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วกว่า 630,000 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าอีกใน 4 ปีข้างหน้า จะมีการลงทุนอีก 1.66 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาครัฐ ต้องการเพิ่มศักยภาพลงทุนให้เป็นจำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และชักชวนให้ภาคเอกชนมาลงทุนในพื้นที่ EEC เป้าหมายตั้งไว้ที่ ปีละประมาณ 5 แสนล้านบาท

 

กนอ.เซ็นสัญญาตั้งนิคมฯ ‘เอเพ็กซ์กรีน’ ในพื้นที่อีอีซี ดันฐานอุตฯ ใหม่ เชื่อ!! ดึงเงินการลงทุนได้ 64,000 ลบ.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกับ บริษัท เอเพ็กซ์ ปาร์ค จำกัด จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กซ์กรีน อินดัสเตรียล เอสเตท พื้นที่กว่า 2,000 ไร่ เม็ดเงินพัฒนาโครงการ 1,767.73 ล้านบาท รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง และสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ คาดหวังโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะก่อให้เกิดการลงทุนในนิคมฯ 64,000 ล้านบาท เกิดอัตราการจ้างงานเพิ่มประมาณ 16,000 คน

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมและเตรียมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรองรับการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development : EEC) โดยในวันนี้ (19 ต.ค. 64) ได้มอบหมายให้ นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รองผู้ว่าการ กนอ.ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงาน กับ บริษัท เอเพ็กซ์ ปาร์ค จำกัด จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กซ์กรีน อินดัสเตรียล เอสเตท เพื่อรองรับการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ S-Curve และ New S-Curve 

โดยนิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กซ์กรีน อินดัสเตรียล เอสเตท ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลหัวสำโรง และตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการดำเนินงานในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนพัฒนา และให้บริการระบบสาธารณูปโภค จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรมลำดับที่ 66 โดยใช้ระยะเวลาพัฒนาโครงการประมาณ 2 ปี ซึ่งหลังจากประกาศเขตนิคมอุตสาหกรรมแล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2566 

“โครงการนิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กซ์กรีน อินดัสเตรียล เอสเตท เน้นกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิตเป็นหลัก เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง ชิ้นส่วนยานพาหนะ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมเบา กลุ่มกิจการบริการและสาธารณูปโภค กลุ่มเกษตรกรรมและผลผลิตจากการเกษตรที่มีความต้องการใช้น้ำต่ำ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยโครงการฯ ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA : Environmental Impact Assessment) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว 

สกพอ. รับคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ และร่วมติดตามความก้าวหน้าการสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน EEC

เมื่อวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2564 นางสาวทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการ สกพอ. ให้การต้อนรับ และบรรยายความคืบหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้แก่คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในโอกาสเดินทางศึกษาดูงานและติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน อีอีซี ณ โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ภายในวังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ และได้ไปดูการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเกษตรเพื่อควบคุมการใช้น้ำลดต้นทุนให้เกษตรกร ณ สวนทุเรียนบัวแก้ว ต.วังจันทร์ รวมถึงติดตามโครงการเมืองอัจฉริยะ 5G และการพัฒนาระบบ 5G เพื่อยกระดับทั้งด้านอุตสาหกรรม การศึกษา และคุณภาพชีวิตประชาชนใน อีอีซี เทศบาลตำบลบ้านฉาง พร้อมทั้งรับฟังความคืบหน้าการดำเนินงานต่าง ๆ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ เร่งเดินหน้าเศรษฐกิจ BCG  เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้ประเทศและประชาชน 4 ปี EEC อนุมัติการลงทุนแล้วกว่า 1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94 ของเป้าหมายมูลค่าการลงทุน  1.7 ล้านล้านบาท 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความมั่นคง ก้าวหน้า ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  วางรากฐานเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่นยืน รวมทั้งส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้มีความแข็งแรง ภายใต้นโยบาย เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ  ให้กับประชาชนและประเทศ 

ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2564 จำนวน 1,271 โครงการ วงเงินรวม 520,053.8 ล้านบาท ขณะที่ ตั้งแต่  2561 – 2564 โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ที่มีการอนุมัติการลงทุนแล้ว ตั้งแต่  2561 – 2564 ประมาณ 1,605,465 ล้านบาท หรือ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น ร้อยละ 94 ของเป้าหมายมูลค่าการลงทุน  (ปื 2561-2565 ) จำนวน  1.7 ล้านล้านบาท  ประกอบด้วย รัฐ-เอกชนร่วมลงทุน  4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานหลัก  จำนวน 633,635 ล้านบาท ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดย BOI จำนวน 889,840 ล้านบาท และงบบูรณาการ จำนวน 82,000 ล้านบาท      

นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมตาม BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)   ซึ่ง BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน และลดก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล วิสัยทัศน์และถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในที่ประชุม COP 26 เน้นการเติบโตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดก๊าซเรือนกระจก 

‘นิคมอุตสาหกรรม TFD’ ประกาศความมั่นคงด้านน้ำ นิคมแรกในพื้นที่ EEC!!

วันที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ผู้พัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม TFD ได้จัด “พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ การเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่ EEC โครงการนิคมอุตสาหกรรม TFD โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ขึ้น ณ โรงแรม JC Kevin Sathorn Bangkok Hotel โดยพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ครั้งนี้ ได้ลงนามร่วมกับ บริษัท อินดัสเตรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ จำกัด (IWRM) โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการที่ให้บริษัท IWRM เข้าไปร่วมดูแลบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรม และดำเนินการวางท่อส่งน้ำจากอ่างกักเก็บน้ำธรรมชาติของบริษัทฯ ความจุรวมกว่า 30 ล้านลบ.ม. เข้าสู่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม TFD เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป

โดยพิธีลงนามในครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวแทนนิคมอุตสาหกรรม TFD โดยมี คุณอภิชัย เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) / คุณกฤตวัฒน์ เตชะอุบล กรรมการบริหาร และคุณอนุกูล อุบลนุช กรรมการผู้จัดการ ลงนามร่วมกับ นายธนวัฒน์ สันตินรนนท์ กรรมการบริหาร บริษัท อินดัสเตรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ จำกัด (IWRM) และยังได้รับเกียรติจาก ดร. คณิศ แสงสุพรรณ  เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC พร้อมด้วย นาย ธาดา สุนทรพันธุ์ รองผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ลงนามเป็นสักขีพยานอีกด้วย

​“พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ การเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่ EEC โครงการนิคมอุตสาหกรรม TFD โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ในครั้งนี้ เป็นที่สนใจแก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรม TFD เป็นนิคม Smart Industry บนทำเลทอง เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์เมืองอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่ SmartCity จังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นประตูสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือEEC ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิเพียง 30 กิโลเมตร ใกล้ทั้งท่าเรือกรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบัง ปัจจุบันจัดสรรพื้นที่ไปแล้วกว่า 800 ไร่โดยแบ่งเป็นเขต General Zone และเขต FreeZone พร้อมรองรับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุนใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของ EEC

 

EEC + SEC อนาคตไทยหลังโควิด!! | Click on Clear THE TOPIC EP.122

📌 พลาดไม่ได้!! ชวนคิดเศรษฐกิจไทย กับ ‘อ.ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์’ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

📌 ใน Topic : EEC + SEC อนาคตไทยหลังโควิด!!

ร่วมจับประเด็น เน้นความรู้ได้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

นายกฯ ยินดี EEC ขยายความร่วมมือต่างประเทศ ยกระดับเทคโนโลยี-นวัตกรรม มุ่งสู่อุตฯ อัจฉริยะ

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและยินดีกับความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับภาคเอกชนชั้นนำจากต่างประเทศ เพื่อร่วมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนชั้นนำต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยล่าสุด ผู้นำเอกชนจากสวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลีใต้ กระชับความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในพื้นที่ EEC ด้านการแพทย์ และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ 

“โดยผู้นำเอกชนสวิตเซอร์แลนด์ บริษัท เอบีบี ออโตเมชั่น จํากัด (ประเทศไทย) บริษัท เอบีบี อิเล็คทริฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (ABB) บริษัท โรช ไทยแลนด์ (Roche) และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลจากความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีศักยภาพมากขึ้น” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

'บิ๊กตู่' ยินดี นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นศักยภาพ EEC เร่งเดินหน้าขยายความร่วมมือด้านการลงทุนเพิ่ม

เมื่อวันที่ (16 ส.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเชื่อมั่นในศักยภาพของ EEC และความพร้อมในการสร้างความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ มุ่งพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพต่อไป

ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นอันดับ 1 ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากภาพรวมการลงทุนชาวญี่ปุ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) พบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI (Board of Investment) ในปี 2564 มีมูลค่ารวม 19,445 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมฯ แก่นักลงทุนญี่ปุ่นรวม 3,240 ล้านบาท 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อมูลจากสถานเอกอัครทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยพบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จากศักยภาพการเติบโตของไทย ทั้งยังได้เปรียบด้านพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน มีต้นทุนจากสภาพแวดล้อม ทรัพยากรมนุษย์ สะดวกต่อการลงทุนเพิ่มและพร้อมพัฒนาในอุตสาหกรรมใหม่ สอดคล้องกับที่นักลงทุนญี่ปุ่นกล่าวถึง EEC ว่ามีศักยภาพ เหมาะสมแก่การลงทุนแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภายหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการเปิดประเทศของไทย มีการติดต่อเจรจาธุรกิจระหว่างกันทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top