Monday, 28 April 2025
EEC

'วงเสวนาฯ' ชี้ 'การเมือง' มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล ส่งผลต่อ 'เศรษฐกิจมหภาค-การคลัง'

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี 
อดีต รมว.กระทรวงพลังงาน 
กล่าวในงานเสวนาเรื่อง ‘การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตอย่างยั่งยืน’ ชื่นชมทีมงานที่สร้าง EEC ชี้!!  ทำเป็นเมืองการบินได้อย่างเต็มที่

'วงเสวนาฯ' ชี้ 'การเมือง' มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล ส่งผลต่อ ' เศรษฐกิจมหภาค-การคลัง'

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ 
ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
กล่าวในงานเสวนาเรื่อง ‘การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตอย่างยั่งยืน’ ในหัวข้อ ‘ปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยใน 20 ปีที่ผ่านมา และนโยบายการเงินที่ควรพิจารณาใหม่’

'บิ๊กปุ้ม' ทอดผ้าป่ามหากุศลกว่า 8 ล้านบาท พัฒนา รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ก้าวสู่ EEC

ที่หอประชุมโรงพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พล.ร.ต.ดนัย ปานแดง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในนามของโรงพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ จัดให้มีพิธีทอดผ้าป่ามหากุศลขึ้น โดยได้รับเกียรติจากพล.ร.อ.ศิษฐวัชร (บิ๊กปุ้ม) วงษ์สุวรรณ - พลตรีหญิง อรัญยานี วงศ์สุวรรณ ภริยา และพล.ร.อ.ธนะกาญจน์ ใคร่ครวญ - คุณ ปัญชรินทร์ และครอบครัว เป็นประธานร่วมในพิธี มีข้าราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเหล่าบรรดาพุทธศาสนิกชน ร่วมในพิธีทอดผ้าป่ามหากุศล ในวันนี้เป็นจำนวนมาก

พล.ร.ต.ดนัย ปานแดง กล่าวว่า ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานและคณะฯ ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานและร่วมในพิธีทอดผ้าป่ามหากุศลในครั้งนี้ สืบเนื่องจาก โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขนาดใหญ่ ที่ให้บริการสุขภาพแก่ ทหาร ครอบครัว และประชาชนโดยทั่วไป 

ปัจจุบัน ความต้องการด้านบริการสุขภาพ มีความซับซ้อน ต้องอาศัยทรัพยากรและเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาล ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เจ็บป่วย และมีความทันสมัยทัดเทียมกับสถานพยาบาลในภาคส่วนอื่น ๆ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงต้องปรับตัวพัฒนาศักยภาพให้สามารถรองรับความเจริญในภูมิภาคนี้ ที่จะก้าวไปสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของภาครัฐ 

ซึ่งต้องอาศัยงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินการที่มากขึ้น การจัดพิธีทอดผ้าป่ามหากุศลในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนพัฒนาโรงพยาบาลและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความทันสมัย โดยได้รับความเมตตาจาก พระราชวชิรธรรมาจารย์ (สุธรรม สุธัมโม) เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด พระครูสมุห์สุชิน ปริปุณโณ เจ้าอาวาสวัดธรรมสถิต และคณะพระเถรานุเถระ อีกจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานภาค ราชการ เอกชน พุทธศาสนิกชน ร่วมกันดำเนินงานและสมทบทุน ทอดผ้าป่ามหากุศลให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ 

รายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว โรงพยาบาลฯ จะนำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป โดยในวันนี้ มียอดผ้าป่าสามัคคี เป็นจำนวนเงิน 8,021,500 บาท (แปดล้านสองหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยบาท)

'ซีอีโอ GAC' ลั่น!! ไทยไม่ใช่แค่ฐานประกอบรถยนต์ แต่เป็นฐานสำคัญ 'เพิ่มยอดขาย-ขยายบริการทั่วประเทศ'

(17 ก.ค.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเจิง ชิ่งหง ประธานบริษัท GAC กรุ๊ป เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทตัดสินใจเข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกในต่างประเทศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง ในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC บนพื้นที่ 85,000 ตารางเมตร เพื่อมุ่งมั่นผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และส่งออกไปยังประเทศที่ใช้รถพวงมาลัยขวาทั่วโลก โดยโรงงานแห่งนี้ จะช่วยดึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านการขาย การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมศักยภาพความแข็งแกร่งของแบรนด์ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเช่นเดียวกับโรงงานในประเทศจีน ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ โดย AION ได้ปรับปรุงแผนพัฒนาทั้งหมด 6 แนวทาง ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความสามารถในการผลิต การขยายสายผลิตภัณฑ์ และการกำหนดแนวทางของตลาดในเรื่องฐานการผลิตและจำหน่ายทั่วประเทศ

โรงงานผลิตรถยนต์ GAC AION ในประเทศไทย ถือเป็นฐานการผลิตรถยนต์แห่งแรกในต่างประเทศของ GAC AION จากปัจจุบันมีโรงงานผลิต 2 แห่งในประเทศจีน มีกำลังการผลิต 500,000 คันต่อปี และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 120% ทั้งยังมียอดการผลิตและจำหน่ายอยู่ใน 3 อันดับแรกของอุตสาหกรรม

“เมื่อเปิดโรงงานแห่งนี้ขึ้นอีก 1 แห่ง จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับบริษัท ในการเป็นผู้ผลิตรถยนต์พลังงานทางเลือกที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และยังมีแผนสร้างฐานการผลิตและการจำหน่ายใน 7 พื้นที่ทั่วโลก และไม่เพียงแค่การประกอบรถเท่านั้น แต่เราจะนำเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยที่สุดเข้ามาในประเทศไทย พร้อมวางรากฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อให้การจำหน่ายและการบริการเป็นไปได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ” 

ด้านนายหม่า ไห่หยาง ผู้จัดการทั่วไป GAC AION ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยถึงแนวคิดหลักว่า ‘คุณภาพต้องมาก่อน’ และมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการผ่านยานยนต์พลังงานใหม่ที่มีคุณภาพและชาญฉลาดแก่ผู้บริโภคทั่วโลก ด้วยจุดเด่นด้านการผลิตที่ก้าวหน้าระดับโลก 4 ประการ ได้แก่ ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีขั้นสูง คุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้บริษัทพร้อมแนะนำรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด อย่าง AION V เจเนอเรชั่นที่ 2 ที่มาพร้อมกับความสามารถที่รอบด้าน เทคโนโลยีอันเหนือชั้น และมีความปลอดภัยสูง โดยเป็นการเผยโฉมในครั้งนี้ พร้อมกันกับการเผยโฉมรถ AION V เจเนอเรชั่นที่ 2 ในประเทศจีนด้วย

เพื่อตอกย้ำความสำคัญของตลาดในประเทศไทย รวมถึงนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ล้ำสมัยและทันสมัยที่สุดสู่ตลาดโลก โดยผลิตขึ้นตามหลักการ 8 จุดเด่นหลัก ได้แก่ ดีไซน์ที่โดดเด่น, พื้นที่ภายในห้องโดยสารกว้างขวาง, เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว, ระบบขับขี่อัจฉริยะระดับโลก, เทคโนโลยี AI อัจฉริยะ, มีระยะทางวิ่งไกลและทนทานต่อสภาพอากาศ, เทคโนโลยีชาร์จเร็วอัจฉริยะ, แบตเตอรี่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก

สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์เชิงนิเวศอัจฉริยะแห่งนี้ ถือว่ามีข้อได้เปรียบด้านการผลิตอัจฉริยะชั้นนำของโลก 4 ประการ ได้แก่ ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีขั้นสูง คุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้หุ่นยนต์ร่วมกับเทคโนโลยี AI ในการผลิตเพื่อให้แน่ใจว่ารถยนต์ไฟฟ้าของ GAC AION จะไม่มีข้อบกพร่อง และมีการสลับแบบเรียลไทม์ของการกำหนดค่า 10W+ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หลายพันคน เราใช้ ‘การรวมการจัดเก็บแสง การชาร์จ และการเปลี่ยน’ การใช้พลังงานอย่างครอบคลุมเพื่อมอบ ‘โซลูชั่น AION’ สำหรับการเปลี่ยนแปลงสีเขียวของอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

และคาดว่าในอนาคต โรงงานแห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาขึ้นในประเทศไทย ผลักดันให้เกิดการจ้างงาน สร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับประเทศไทย และช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกทางหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ GAC AION ประกาศว่า บริษัทได้ใช้งบประมาณสำหรับการลงทุนโรงงานแห่งนี้ไว้ที่ 2,300 ล้านบาท โดยเฟสแรกจะมีกำลังผลิตที่ 20,000 คันต่อปี และสามารถเพิ่มสูงสุดเป็น 70,000 คันต่อปีในอนาคต

เงื่อนปมที่ถูกคลาย!! 'ผลงานประเทศไทย' ที่เริ่มเป็นรูปธรรมจากคนทำงาน ความจริงเหนือเปลือก ‘ประชาธิปไตย-เสรีภาพ’ ที่เป็นได้แค่ ‘ทุพพลภาพ’

(25 ส.ค. 67) จากผู้ใช้ TikTok ชื่อบัญชี ‘เทพกบ’ หรือ ‘Kitty.3951’ ได้โพสต์คลิปเนื้อหาผลงานที่ ‘ลุงตู่’ ได้เตรียมแผนการต่างๆ ไว้เพื่อสร้างประโยชน์แก่ประเทศไทยในระยะยาว เพื่อให้หลายคนที่ไม่เข้าใจ มองไม่เห็น คิดตามไม่ทัน และยังสนใจ-ชื่นชอบ 'ใครสักคน' จากผลโพลแบบไม่ลืมหูลืมตาได้เปิดตาและเปิดใจเสียใหม่ ระบุว่า ...

>> เคยรู้ไหมครับว่า ‘ระยอง’ จะเป็น ‘Smart City’ ?
>> รู้ไหมครับว่า Smart City มันมีอะไรบ้าง ?
>> รู้ไหมครับว่าสิ่งที่ประเทศไทยกําลังจะเกิดขึ้นคือ EEC ? 
>> รู้ไหมครับว่าพลังงานสะอาด มันเป็นเทรนด์ของโลก ?
>> แล้วรู้ไหมครับว่านโยบายต่างๆ ที่เขามอบหมายให้ ปตท. ช่วงระหว่างปี 2561 – 2562 ให้ไปจับมือกับฟ็อกซ์คอน จนก่อให้เกิดการตั้งบริษัท Horizon / บริษัทอรุณพลัส และต่างๆ นานา เพื่อมาวิจัยในเรื่องของแบตฯ EV Car รวมถึงเรื่องไฮโดรเจน เพราะว่ารถ EV Car มีข้อเสียคือ ชาร์จไฟนาน วิธีการแก้ชาร์จไฟนาน ก็คือ การเติมไฮโดรเจน ?

นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลลุงตู่ พยายามแก้ไขปัญหาพลังงานในระยะยาว หลังจากที่จะเริ่มมูฟออกจากน้ำมัน โดยการที่เขาจะมูฟออกจากน้ำมัน นั่นคือ เพราะพยายามที่จะผลักดันให้คนหันไปใช้ EV Car จึงต้องวางรากฐาน EV Car ไว้ 

สังเกตจากประเทศจีนที่ใช้ EV Car กว่า 90% เพราะฉะนั้นเขาเลยไม่มีปัญหาเรื่องราคาน้ำมัน และนึ่ก็เป็นอีกสิ่งที่เขาจะพยายามทำ คือ ช่วยลดราคาน้ำมัน ผ่านการ ลดความต้องการ หรือก็คือ ให้คนเลิกใช้น้ำมัน เดี๋ยวน้ำมันก็ถูกลงเอง 

รัฐบาลลุงตู่ จึงวางรากฐาน EV Car โดยการปูนโยบายให้ ปตท. ซึ่งในปัจจุบันนั้นถือได้ว่าปตท. เป็นของรัฐเรียบร้อยแล้วในทางพฤตินัย และต่อให้ นิตินัย ผู้ถือหุ้น ก็ยังเป็นกระทรวงการคลังถึง 50%

และหากสังเกตให้ดี นโยบายของประธานกรรมการ ปตท. ก็ประกาศออกมาแล้วว่า จะเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงส่งผลให้เกิดการวิจัยต่างๆ นวัตกรรมต่างๆ เยอะแยะมากมาย และมันจะเกิดสายงานใหม่ๆ และงานใหม่ๆ 

ทีนี้ ก็อยู่ที่ เด็กรุ่นใหม่ จะมองเห็นรึเปล่า หรือมองเห็นแค่ว่า ‘ประชาธิปไตย-เสรีภาพ-ภราดรภาพ’ สุดท้ายกลายเป็น ‘ทุพพลภาพ’

>> เคยรู้เรื่องการเงินไหม ?
>> เคยรู้เรื่องงาน World Economic Forum ไหม ?
>> รู้จัก Metaverse / 3D Printing / Blockchain ดีพอหรือยัง ?
>> แล้วรู้จักบริษัท ‘BlackRock’ หรือไม่ รู้ไหมว่า BlackRock เป็นบริษัทของตระกูลใด BlackRock เป็นผู้ที่วางรากฐานพร้อมเพย์ และรู้ไหมว่า เขาเลือกประเทศไทยเป็นฐานในศูนย์กลางทางการเงินในอาเซียน 

เพราะคุณไม่รู้ คุณไม่เข้าใจ แล้วคุณก็ไปบ้าอยู่กับ ‘ผลโพล’

เปิดแผนแม่บท พัฒนาเมืองใหม่ 'ห้วยใหญ่' สู่เมืองหลวงของ EEC รองรับผู้อาศัย 300,000 คน ตำแหน่งงาน 200,000 ตำแหน่ง

(28 ก.ย.67) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความในประเด็น เปิดแผนแม่บท พัฒนาเมืองใหม่ห้วยใหญ่ เมืองหลวง EEC (EECiti) เตรียมรับศูนย์กลางการเงิน และการแพทย์แม่นยำ รองรับผู้อาศัยกว่า 300,000 คน ตำแหน่งงานกว่า 200,000 ตำแหน่ง พร้อมรถไฟฟ้าเชื่อมโยง รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน โดยมีเนื้อหา ระบุว่า...

วันนี้เอารายละเอียดแผนการพัฒนาเมืองใหม่ห้วยใหญ่ ซึ่งถูกวางไว้เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน และการแพทย์แม่นยำ ของภูมิภาค CLMVT เพื่อสร้างโอกาส และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย ให้สูงขึ้นในระดับโลก!!!

จริง ๆ ผมเคยเอารายละเอียดเบื้องต้น มาสรุปให้ฟังแล้วรอบนึง แต่รอบนี้ทาง EEC ได้เอาผลการศึกษา และผังการใช้พื้นที่ของเมืองใหม่ออกมาให้ดูกันอย่างละเอียด

ล่าสุด กันยายน นี้ ทาง EEC เริ่มทำการขอพื้นที่คืน (เป็นพื้นที่ สปก. สามารถขอมาใช้ได้โดยชดเชยให้กับผู้ใช้พื้นที่เดิม) ในระยะแรก 5,795 ไร่ และจะทยอย ชดเชยพื้นที่ควบคู่การพัฒนาโครงการ จนครบ 14,619 ไร่ ในปี 2568!!!
—————————
จากแผนการพัฒนาเมืองในรายละเอียดล่าสุด มีการเตรียมจัดตั้ง บริษัท พัฒนาเมือง จำกัด ในลักษณะ EEC Holding เพื่อร่วมบริหารจัดการและพัฒนา EEC Capital City ซึ่งดึงเอาผู้อาศัยเดิม เข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบ ผู้ถือหุ้น เพื่อได้รับผลประโยชน์ของการพัฒนาพื้นที่ในระยะยาว

แผนงานของโครงการ มีรายละเอียด คือ...

- ปลายปี 2568 การก่อสร้างโครงข่ายถนนทั้งภายนอก และเชื่อมต่อภายในโครงการ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เอกชนเข้าลงทุนพัฒนาพื้นที่ธุรกิจเป้าหมายในโครงการจะเกิดขึ้นในช่วง
- ปี 2569 สามารถเริ่มเข้าปรับพื้นที่ก่อสร้าง 
- ปี 2572 สามารถเปิดดำเนินการในช่วงแรก

คู่ขนานกันในพื้นที่นี้ มีการพัฒนา ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจจะก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ ขนาด 80,000 ที่นั่งในพื้นที่เมืองใหม่ด้วย

แล้วนอกจากนั้น ได้มีการวางแผนเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยง ระหว่าง สนามบินอู่ตะเภา - เมืองใหม่ - พัทยา ไว้แล้วด้วย!!!
—————————
มาดูรายละเอียดโครงการ EECiti กันก่อนครับ

- ตั้งเป้าให้เป็น 'ศูนย์กลางธุรกิจ และการเงินระดับภูมิภาค เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลก ในปี 2580' ซึ่งจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกัน มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BGC Economy) พื้นที่นวัตกรรม และคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย

- สถานที่ตั้งโครงการ อยู่ในพื้นที่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ริมทางหลวงสาย 331 

- วางพื้นที่ถนนเชื่อมโยงมอเตอร์เวย์ สาย 7 บริเวณ ด่านห้วยใหญ่ 

- โดยพื้นที่ทั้งหมด 15,000 ไร่ ซึ่งในระยะแรกใช้พื้นที่ 5,795 ไร่ โดยใช้พื้นที่ สปก. โดยมีการจ่ายค่าทดแทนให้กับประชาชนในพื้นที่

ระยะทางจากจุดศูนย์กลาง สู่พื้นที่สำคัญ...
- 15 กิโลเมตร จากสนามบินอู่ตะเภา
- 10 กิโลเมตร จากพัทยา
- 160 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ

>> แบ่งการจัดการพื้นที่ สีเขียว 30% และพื้นที่พัฒนา 70% 

การจัดวางโซนพื้นที่พัฒนาเมือง ได้แก่...
- ศูนย์สำนักงานภูมิภาค และศูนย์ราชการ EEC
- ศูนย์กลางการเงิน EEC
- ศูนย์การแพทย์แม่นยำ และการแพทย์อนาคต
- ศูนย์การศึกษา วิจัยและพัฒนา นานาชาติ
- ศูนย์ธุรกิจอนาคต
- ที่พักอาศัยสำหรับคนทุกกลุ่ม

การจัดการน้ำ และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิตน้ำประปา การจัดเก็บน้ำฝน และบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

การใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด และเป็นเมือง Carbon Net Zero ซึ่งใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีในการลดพลังงาน เช่น การทำความเย็นเป็นพื้นที่ (Cooling District)

การเดินทางภายในพื้นที่ จะมีการวางโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมด้วยการไม่ใช้เครื่องยนต์เป็นหลัก เช่น...
- รถไฟเชื่อมโยง รถไฟความเร็วสูง
- รถไฟฟ้ารางเบาในเขตพื้นที่เมืองชั้นใน
- รถเมล์ไฟฟ้า
- เรือโดยสารภายในพื้นที่โครงการ
—————————
โครงการสามารถรองรับจำนวนประชากรในพื้นที่ 300,000 คน ในทุกกลุ่มประชากร แบ่งเป็น...
- พื้นที่อยู่อาศัยรายได้เริ่มต้น-ปานกลาง 70%
- พื้นที่อยู่อาศัยรายได้สูง 30%

สร้างตำแหน่งงานในพื้นที่ 200,000 ตำแหน่ง

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง 6 ด้าน ได้แก่...
1. ออกแบบเพื่อการเจริญเติบโตของเมือง อย่างยั่งยืน
2. สร้าง Platform ข้อมูลเมืองอัจฉริยะ
3. สร้างระบบเทคโนโลยีความน่าอยู่อัจฉริยะ 7 ด้าน
4. สร้างสภาพแวดล้อมรองรับ เศรษฐกิจนวัตกรรม
5. สร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน
6. สร้างธรรมาภิบาลสากล และการร่วมมือนานาชาติ

มูลค่าการลงทุน รวม 1.34 ล้านล้านบาท!!! โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ...
- ภาครัฐ 2.8% (ประมาณ 38,000 ล้านบาท)
- โครงการร่วมทุน (ppp) 9.7% (ประมาณ 133,000 ล้านบาท)
- เอกชนลงทุน 87.5% (ประมาณ 1,200,000 ล้านบาท)
—————————
หวังว่า รัฐบาลปัจจุบัน จะช่วยกันผลักดัน เพื่อใช้ประโยชน์ของโครงการ และพื้นที่ EEC ได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับเร่งรัด รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินไปด้วยนะครับ!!!!

พรรคเพื่อไทย
Ing Shinawatra

บอร์ด EEC เห็นชอบ แก้สัญญารถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน เตรียมเสนอ ครม. ปลดล็อกพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคตะวันออก

(15 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 วันที่ 11 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นเลขานุการการประชุมฯ ทั้งนี้ กพอ. ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องสำคัญ ดังนี้

1.เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย

1)วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ รฟท. ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

2)กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก
ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ

3)กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

4)การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้

5)การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

ที่ประชุม กพอ. มีมติให้ สกพอ. ดำเนินการนำเสนอหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ใน 5 ประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และให้คู่สัญญาร่วมกันเจรจาร่างสัญญาแก้ไข และเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ พิจารณา และนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนำเสนอ กพอ. และ ครม. เพื่อให้ ครม. เห็นชอบการแก้ไขสัญญาอีกครั้ง ก่อนคู่สัญญาจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขต่อไป

2. เห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา จากการที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ไม่สามารถเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภาได้ และ สกพอ. เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานของประเทศไทย ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของช่างอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจำเป็นต้องขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่อไปให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป กพอ. ได้มีมติเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ โดยให้ยกเลิกการเป็นโครงการร่วมลงทุนตามที่ ครม. อนุมัติไว้ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และให้ สกพอ. ดำเนินการจัดหาผู้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เพื่อดำเนินกิจกรรมศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 และ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การเช่าที่ดินราชพัสดุที่ประกาศเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2562 ต่อไป โดย สกพอ. จะนำเสนอให้ ครม. รับทราบมติ กพอ. ดังกล่าว และพิจารณายกเลิกมติ ครม. วันที่ 30 ตุลาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะด้านการพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 4 โครงการใหญ่ และการชักชวนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ เศรษฐกิจ BCG และบริการ โดยในช่วงตั้งแต่มกราคม 2566 ถึงกันยายน 2567 สกพอ. ได้ดำเนินการชักชวนนักลงทุน 139 ราย โดยมีนักลงทุนที่สนใจการลงทุนใน 5 กลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าวและได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) รวม 35 ราย จำนวน 36 โครงการ มีการยื่นข้อเสนอโครงการฯ เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอีอีซีแล้ว จำนวน 12 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 135,000 ล้านบาท

ครบรอบ 5 ปี เซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เมกะโปรเจกต์เชื่อมโยงอีกหลายโครงการ ที่ถึงเวลาต้องตัดสินใจ

(25 ต.ค. 67) จังหวะเวลาช่างเหมาะเจาะเหลือเกินที่ช่วงนี้กำลังมีข่าวสารเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะวันนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว คือ วันที่มีการลงนามในสัญญาฉบับนี้ระหว่างเอกชน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แบบพอดิบพอดี 

สำหรับปฏิกิริยาล่าสุดจากทางสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่กำกับดูแล รฟท. โดยตรงได้ออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา(22 ต.ค. 67) ว่า

การแก้ไขสัญญา เกิดจากเอกชนและภาครัฐผิดสัญญา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของชุดไวรัสโควิด​- 19 ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า รัฐบาลไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนได้ ขณะที่เอกชนก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงเป็นต่างคนต่างผิดสัญญา จึงต้องพิจารณาใหม่

แม้จะตอบได้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามยังเกิดข้อครหาตามติดมาว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนหรือไม่ 

สำหรับในประเด็นนี้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ตอบออกมาว่า ร่างสัญญาจะถูกตรวจสอบโดยสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่แล้ว ประเด็นนี้จึงไม่น่าเป็นห่วง 

สำหรับประเด็นร้อนประเด็นนี้ โดยเฉพาะเมื่อผ่านตา ‘ทีมคมนาคม’ ที่นำโดยสุริยะ ที่แม้ท่าทีจะเงียบ ๆ แต่ผลักดันแทบทุกโครงการจนสัมฤทธิ์ผล 

นอกจากนี้พ่อบ้านของกระทรวงคมนาคมอย่าง ‘ชยธรรม์ พรหมศร’ ปลัดกระทรวงคมนาคม ที่เติบโตจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ทำให้สามารถมองเห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้อย่างเป็นภาพรวม 

และมีเสียงลือจากกระทรวงคมนาคมว่า ปลัดคนนี้นี่เองที่เคยทำงานอยู่ในทีมสมัยแรกที่ ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ นั่งเจ้ากระทรวง

ด้วยสรรพกำลังภายในกระทรวงที่เพียบพร้อมเช่นนี้ ข้อกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์เอกชนคงจะจางหายไปบ้าง

อย่างที่กล่าวไปในย่อหน้าแรก ว่าโครงการนี้ค้างคามาไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว โอกาสของประเทศที่สูญเสียไปไม่ทราบเหมือนกันว่ามีเท่าไหร่กันแน่ 

และนอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังเกี่ยวเนื่องกับอีก 2 โครงการโดยตรง!!

สำหรับโครงการแรก คือ เมืองการบินอู่ตะเภา ที่จะพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์สนามบินหลักแห่งที่ 3 ของประเทศ 

ขยายศักยภาพสนามบินหลักเดิม 2 แห่งที่ปัจจุบันรองรับเที่ยวบินจำนวนมหาศาลจนทำให้การจราจรทางอากาศติดขัดเป็นบางช่วงเวลา 

แต่ก็ต้องยอมรับว่าจุดหมายปลายทางหลักคงไม่ใช่อู่ตะเภาเท่านั้นเพราะ ‘กรุงเทพ’ เมืองฟ้ายังเป็นจุดหมายปลายทางหลัก

ดังนั้นการทำให้การเดินทางเชื่อมต่อกันโดยง่ายจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ‘รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน’ คือคำตอบเดียว 

หากไฮสปีดสามสนามบินล่าช้าออกไปอีก คงทำให้อีกโครงการล่าช้าต่อเนื่องไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

สำหรับโครงการที่ 2 จะออกนอกพื้นที่ EEC คือโครงการที่มีชื่อว่า ‘รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา’

สำหรับเหตุผลว่าเรื่องนี้ทำไมล่าช้า เพราะในช่วงทับซ้อนของโครงการดังกล่าวคือช่วงบางซื่อ-สนามบินดอนเมือง ทั้งสองโครงการจะใช้ระบบรางเดียวกัน โดยผู้ที่ดำเนินการก่อสร้างคือเจ้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ดังนั้น หากยังไม่สามารถปลดล็อกการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไปได้ นอกจากการก่อสร้างบางช่วงที่ติดปัญหาของรถไฟไทย-จีน แล้ว จะมาติดล็อกของโครงการรถไฟ 3 สนามบินอีกด้วย 

และยังไม่รวมถึงโครงการหลักอย่าง EEC หรือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่เสน่ห์เย้ายวนจะหายไปเพียงใด หากการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินสะดุด 

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่ผ่านมาจึงไม่แปลกใจนักหากรัฐบาลพร้อมที่จะเดินหน้าแก้ไขสัญญา เพราะในบางครั้งต้องมีการยอมกลืนเลือดไปเสียบาง เพื่อรักษาผลประโยชน์โดยรวม 

และดูเหมือนว่าครั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะเดินหน้าเต็มกำลัง เพราะหลังจากกลับมารับตำแหน่งใน ครม. ชุดแพทองธาร ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ ก็จัดการยึดอำนาจกำกับ รฟท. มาไว้ที่ตนเอง พร้อมกับที่ชื่อ ‘วีริศ อัมระปาล’ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย 

ทั้งหมดย่อมหนีไม่พ้นการแสดงออกว่าราชรถ 1 อย่างสุริยะ ‘เอาจริง’ กับการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยอย่างแน่นอน

‘สุริยะ’ ยันโครงการ ‘รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน’ เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เตรียมชงแก้สัญญาเข้า ครม.

(29 ต.ค. 67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ว่า ยังไม่มีการนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์นี้ คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้าหรือสัปดาห์ถัดไป 

แต่ยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้เจรจากับภาคเอกชน โดยเอกชนได้รับผลกระทบจากโควิด อยากให้รัฐบาลแก้ไขเยียวยา ซึ่งมีข้อเสนอมา 6 ข้อ แต่คณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาเห็นว่ามีเพียงข้อเดียวที่จะรับได้คือ เรื่องต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น เนื่องจากมีผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน   

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเรียกร้องประเด็นค่าก่อสร้างเพิ่มเติมที่เอกชนขอมานั้น รฟท.ไม่ได้ให้ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบโควิด เรามองว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงต้องแก้สัญญา โดยได้ดูครบถ้วนทุกประเด็นที่รัฐไม่เสียประโยชน์ ประกอบกับเราอยากให้โครงการนี้เดินต่อ 

หากมีการยกเลิกสัญญาปัญหาจะตามมา รัฐเองต้องยอมรับว่าไม่สามารถส่งพื้นที่ก่อสร้างให้กับเอกชนได้ เอกชนเองที่ต้องจ่ายในส่วนของแอร์พอร์ตลิงก์ให้ก็ไม่ได้จ่าย ทำให้ต้องเจรจากัน อย่างไรก็ตาม เรื่องการเจรจา ตนไม่ใช่ผู้ริเริ่มเจรจา แต่เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจาก รฟท. และเข้ามาที่สำนักงานนโยบายและแผนงานและขนส่งจราจร  กระทรวงคมนาคม เป็นผู้กรองเรื่อง ซึ่งเห็นแล้วว่าเป็นประโยชน์ ไม่เสียเปรียบ ตนจึงได้เซ็นเรื่องไป

”โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ลดระยะเวลาเดินทางจาก กทม.ไปอู่ตะเภาได้มาก การเดินหน้าโครงการนี้จึงเป็นประโยชน์ ยืนยันการเดินหน้าโครงการนี้รัฐบาลไม่เสียเปรียบเอกชน 100%  เพราะการแก้ไขสัญญาต่าง ๆ มีอัยการเข้ามาช่วยดูแล” นายสุริยะ กล่าว 

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการแก้ไขสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว โครงการจะแล้วเสร็จเมื่อใด นายสุริยะ กล่าวว่า หากเราไม่รีบเจรจาแก้ไขสัญญา โครงการจะแล้วเสร็จล่าช้ากว่าปี 71 จะมีผลกระทบไปถึงโครงการเมืองการบินที่การยื่นเงื่อนไขการยื่นประมูลมีเรื่องของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งหากล่าช้ากว่าปี 71 อาจจะถูกฟ้องร้องจากเอกชน เราพยายามจะทำให้เสร็จตามกรอบเวลาดังกล่าว 

ปธ.คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา พร้อมคณะเดินทางไปติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จ.ระยอง

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ (31 ต.ค.67) ที่อาคารเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกัมพล สุภาแพ่ง ปธ.คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา พร้อมคณะ ได้เดินทางมาศึกษาดูงาน และติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จ.ระยอง มีนายกัฬชัย เทพวรชัย รอง ผวจ.ระยอง น.ส.สายฝน โชชัย คลังจังหวัดระยอง นายวิจิตร พาพลงาม นอภ.วังจันทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุป แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ โดยเฉพาะในเรื่องของ การส่งเสริมการลงทุน และมูลค่าการลงทุนในปัจจุบัน รวมทั้งประเด็นแนวทางการเจรียมความพร้อมและมาจนการรองรับการปฏิรูประบบภาษีอากรที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในพื้นที่ EEC และติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยการเดินทางมาศึกษาดูงานรับทราบข้อมูลของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และติดตามโครงการดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการลงทุนในการพัฒนาประเทศต่อไป

นอกจากนี้คณะกรรมาธิการ การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา ยังได้เดินทางไปติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 ในประเด็นการเยียวยาผู้ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างที่สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด อีสเทิร์นซีบอร์ดด้วย

นายปฏิมา จีระแพทย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่า การเดินทางมาติดตามโครงการใน EEC ในวันนี้ เนื่องจากคณะกรรมาธิการฯ เห็นความสำคัญในเรื่องของการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย และโครงการ EEC เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมากเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีความล่าช้ามาในระยะหนึ่ง ซึ่งการมาติดตามความคืบหน้าดังกล่าว เพื่อให้มาเห็นพื้นที่ว่ามีการพัฒนาไปอย่างไรบ้าง มีผู้สนใจเข้ามาขอรับสิทธิพิเศษเข้ามาประกอบกิจการอุตสาหกรรมพื้นที่ EEC มากน้อยแค่ไหน ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีความคืบหน้าเพียงใด ซึ่งก็ได้มารับฟังข้อเท็จจริงจากผู้บริหาร EEC ซึ่งทางคณะกรรมาธิการฯ จะได้นำเอาข้อมูลในเรื่องของการศึกษาในพื้นที่นั้นไปวิเคราะห์ และจะจัดทำข้อเสนอแนะให้กับทางฝ่ายบริหารของประเทศต่อไป ในส่วนของท่าเรือมาบตาพุด ก็ได้มาเห็นหนึ่งในท่าเรือที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยในส่วนของที่เป็นพื้นที่สำรองพลังงานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจากนี้ก็คงจะต้องเดินหน้าต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งพลังงานก็ต้องสำรองไว้ใช้ให้เพียงพอ ซึ่งทางคณะกรรมาธิการฯ ก็ได้รับฟังปัญหาจากทางผู้บริหารท่าเรือฯ ซึ่งปัญหาล่าช้าที่พบเกิดจากมติ ครม. ในอดีตที่ต้องการหาผู้ร่วมทุน ซึ่งผ่านมานานพอสมควร ในเรื่องนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ จะนำการสูญเสียโอกาสดังกล่าว นำไปทบทวนศึกษาแนวทางที่จะนำเสนอฝ่ายบริหารให้เสนอคณะรัฐมนตรีแก้มติ หรือทำมติใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการบริหารจัดการ เพื่อที่จะยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้นต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top