Thursday, 15 May 2025
Econbiz

INTERLINK หนุน 'สร้างงาน สร้างคน สร้างอาชีพ' เสริมทักษะความรู้ สร้างกูรูสายสัญญาณป้อนไทย

(4 เม.ย.66) บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพ กับสถาบันเทคโนโลยี หนุนสร้างงาน สร้างคน สร้างอาชีพ ส่งเสริมทักษะความรู้เฉพาะด้านการเป็นผู้นำด้านสายสัญญาณของประเทศไทยที่แข็งแกร่ง นำสู่การต่อยอดอาชีพในอนาคตได้อย่างเติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน

โดยมี คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ และ ดร. ชลิดา อนันตรัมพร ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา และประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ทางวิชาการระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ณ ห้องประชุมสภา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

'รัฐบาล' ปลื้ม!! โมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปไกล หลังวงประชุม UNCTAD หนุนนักธุรกิจ-นักวิจัยผู้หญิง

(5 เม.ย.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ ว่า ผู้แทนรัฐบาลไทย โดย น.ส.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สกสว. ได้เข้าร่วมการประชุม Commission on Science and Technology for Development (CSTD) ครั้งที่ 26 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อระหว่างวันที่ 26-30 มี.ค.ที่ผ่านมา  

โดยร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจสีเขียวให้กับนักธุรกิจและนักวิจัยหญิง จากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 15 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ที่กรุงเทพฯ ผ่านโครงการ STI Capacity Building Programs on Female Researchers and Entrepreneurs to promote Bio – Circular – Green Economic (BCG) MODEL 

‘ททท.’ เผย ต่างชาติทะลักเที่ยวไทยช่วงสงกรานต์ 305,000 คน ยอดจองพุ่ง!! 14,220 เที่ยวบิน คาดเงินสะพัด 1.2 แสนล้าน

(5 เม.ย.66) นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม มีจำนวนสะสม อยู่ที่ 6,465,737 คน เพิ่มขึ้น 1,199% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 แบ่งเป็นเดือนมกราคม มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2,144,948 คน เดือนกุมภาพันธ์ 2,113,550 คน และเดือนมีนาคม 2,207,239 คน สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสม 256,194 ล้านบาท

จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมเกือบ 6.5 ล้านคนใน 3 เดือนแรกที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่ 56.8% เป็นนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออก รองลงมาคือยุโรป 26.5% และอื่นๆ อาทิ อินเดีย สหรัฐ ออสเตรเลีย อิสราเอล แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย อีก 16.7% โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทย สูงสุด 5 อันดับแรก ในช่วง 3 เดือนแรก ได้แก่ 1.มาเลเซีย 902,621 คน 2.รัสเซีย 566,425 คน 3.จีน 517,242 คน 4.เกาหลีใต้ 441,028 คน และ 5.อินเดีย 320,887 คน

“ตลาดนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นพระเอกของภาคท่องเที่ยวไทยในปี 2566 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าไทยมากเป็นอันดับ 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน มีแนวโน้มปิดที่ 7-8 ล้านคน ขึ้นอยู่กับปริมาณเที่ยวบินในช่วงตารางบินฤดูหนาว 2566/2567 รองลงมาคือตลาดมาเลเซีย วางเป้าหมายไว้ที่ 4 ล้านคน อินเดีย 2 ล้านคน ส่วนรัสเซียและเกาหลีใต้ คาดมีไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน” นายยุทธศักดิ์กล่าว

ต่างชาติเข้าเที่ยวไทยพุ่ง 525%
นายยุทธศักดิ์กล่าวว่า สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 305,000 คน เพิ่มขึ้น 525% เทียบจากปี 2565 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 48,814 คน และเพิ่มขึ้น 58% จากปี 2562 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 522,357 คน สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวประมาณ 5,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 630% จากปี 2565 ที่มีรายได้ 689 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 60% ของปี 2562 ที่มีรายได้ประมาณ 8,321 ล้านบาท

สนามบินไฟลต์ว่อนสงกรานต์
รายงานข่าวจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แจ้งว่า ทอท.ประมาณการการจราจรทางอากาศช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2566 ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ของ ทอท. ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะมีเที่ยวบินรวมประมาณ 14,220 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 59.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ ประมาณ 7,500 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 219.20% และเที่ยวบินภายในประเทศ ประมาณ 6,720 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 2.44% คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 2.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 137.48%

แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ ประมาณ 1.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 561.76% และผู้โดยสารภายในประเทศ ประมาณ 1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 26.08% อย่างไรก็ตาม เมื่อการจราจรทางอากาศที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19 พบว่าปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารยังคงติดลบ เที่ยวบินรวมลดลง 18.47% เที่ยวบินระหว่างประเทศลดลง 20.90% เที่ยวบินภายในประเทศลดลง 15.59% ขณะที่ประมาณการผู้โดยสารรวมลดลง 17.39% ผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลง 20.96% และผู้โดยสารภายในประเทศลดลง 11.91%

เคลียร์ชัด!! 'หนี้สาธารณะ' มุมมองที่หลายคนอาจเขิน หากนำไปแถแบบไม่เข้าใจ

หลายคนอาจจะยังคงสงสัยกับคำว่า ‘หนี้สาธารณะ’ และอาจเคยได้ยินว่า ‘คนไทย’ มีหนี้ต่อหัวสูงมาก แต่เคยรู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้วการกู้หนี้สาธารณะ นับเป็นการลงทุนในระยะยาวอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลตอบแทนสูง 

สำหรับเรื่องนี้ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘เศรษฐกิจติดบ้าน’ ทางช่อง Thai PBS เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ดดยบางช่วงบางตอนได้ระบุว่า…

“หนี้สาธารณะ คือ หนี้ของประเทศจริงๆ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ตามคำนิยาย พ.ร.บ.หนี้ของไทยค่อนข้างกว้าง รวมตั้งแต่ หนี้ของกระทรวงคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวที่จะกู้เงินให้ประเทศได้ หนี้รัฐบาลกลาง หนี้รัฐวิสาหกิจ ถึงแม้บางแห่งจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่การก่อหนี้ก็จะนับเป็นหนี้สาธารณะด้วยเช่นกัน รวมถึงหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วย” 

“คำนิยามหนี้สาธารณะของไทยกว้างมาก กว้างกว่าประเทศอื่นๆ เยอะ ไม่ใช่ว่าประเทศไม่มีเงินจึงต้องก่อหนี้ แต่เพราะจริงๆ แล้ว การก่อหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ คือการก่อหนี้เพื่อการลงทุน และเพื่อโครงการที่เป็นสังคม สาธารณะประโยชน์”

ทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต  นวัตกรรมใหม่ตลาดทุนไทย ตอบโจทย์องค์กรปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

เมื่อวานนี้ (4 เม.ย.66) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทย) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัท PTT International Trading Pte Ltd ประเทศสิงคโปร์ (PTTT ถือหุ้น 100% โดย ปตท.) ในการเข้าทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต หรือ Carbon Credit Linked Derivatives ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของตลาดทุนไทย ที่ธนาคารได้ออกแบบและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของ ปตท. รวมถึงเป็นการส่งเสริมเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งสองบริษัท 

นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างองค์กรในประเทศ โดย PTTT ประเทศสิงคโปร์ จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาคาร์บอนเครดิตที่มีมาตรฐานให้เพื่อใช้สำหรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมต่างๆ ในอนาคต นอกจากนี้ ข้อตกลงยังครอบคลุมถึงการบรรลุเป้าหมายด้าน ESG ของ ปตท. 

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของ United Nations Development Programme (UNDP) โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทิศทางที่ผู้บริโภค และธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยล่าสุดธนาคารลงนามบันทึกข้อตกลงกับ ปตท. และ บริษัท PTTT ประเทศสิงคโปร์ ในการเข้าทำสัญญาอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน (Derivatives) ที่เชื่อมโยงกับคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Linked Derivatives) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ข้อตกลงยังครอบคลุมถึงการบรรลุเป้าหมายด้าน ESG ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นพัฒนาและการเป็นผู้นำตลาด ESG Financial Solution ของธนาคาร ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ และสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

บีโอไอ ฟุ้งยอดส่งเสริมอุตสาหกรรม EV สุดปัง ไฟเขียวลงทุนกว่า 1 แสนล้าน ผลิตแบต-ชิ้นส่วน

บีโอไอ เผยยอดส่งเสริม EV กว่า 1 แสนล้านเร่งกระตุ้นลงทุน ทั้งการผลิตรถยนต์ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และสถานีชาร์จ เร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมลงทุน รองรับทิศทางอุตสาหกรรมและดีมานด์ในประเทศขยายต่อเนื่อง

(6 เม.ย. 66) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ในส่วนของบีโอไอ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกิจการยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมมุ่งเป้าตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทย โดยได้มีมาตรการให้สิทธิประโยชน์กับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า รถจักรยานไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนและอุปกรณ์ สถานีอัดประจุไฟฟ้าและสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด บีโอไอได้ให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนสำคัญ และสถานีชาร์จ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 114,000 ล้านบาท

‘อ.ต่อตระกูล’ แง้ม!! รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของ BYD จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนแทนลิเทียมเป็นครั้งแรก

(7 เม.ย. 66) ‘อ.ต่อตระกูล’ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า...

ข่าวดี ๆ วันศุกร์

BYD ประกาศโฉมหน้ารถ EV ขนาดเล็ก ชื่อ ‘ซีกัล’ (Seagull) ราคาคาดการณ์ 3-4 แสนบาท ประกาศเปิดตัวที่จีนวันที่ 18 เมษายน นี้

ทว่าไฮไลต์อยู่ที่ จะเป็นรถไฟฟ้า คันแรก ที่จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แทนแบตเตอรี่ลิเทียม

'กรมการขนส่งทางบก - ปตท.' ลงนามความร่วมมือ โครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV ยกระดับมาตรฐานการตรวจ-ทดสอบที่สถานีบริการ ปตท. ทั่วไทย

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม อาคาร 10 ชั้น 3 กรมการขนส่งทางบก 
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และ นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมขนส่งทางบกและ ปตท. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV 

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกมุ่งมั่นในการรณรงค์และเสริมสร้างทัศนคติการตระหนักถึงความปลอดภัย รวมถึงยกระดับมาตรฐานในการตรวจสอบการใช้งานรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ตามนโยบายของ รัฐบาล กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบกได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในโครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV กับ ปตท. เพื่อบูรณาการร่วมกันในการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และข้อมูลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมการขนส่งทางบก โดยการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบรถ NGV ที่เข้ามารับบริการเติมก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ของ ปตท. ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ใช้รถก๊าซ NGV

‘พงษ์ภาณุ’ สะท้อน!! ความจำเป็น ‘จัดเก็บภาษี-กู้เงิน’ ในวันที่ประเทศต้องพัฒนาและปวงประชาต้องมีสวัสดิการ

(9 เม.ย. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวถึงแหล่งที่มาของเงินเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ โดยข้องเกี่ยวกับภาษีที่ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องจ่าย รวมถึงความจำเป็นในการกู้เงินเพื่อนำมาต่อยอดประเทศในด้านต่างๆ ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 66 ระบุว่า…

ถ้าย้อนความเรื่องของการจัดเก็บภาษี ก็ต้องบอกว่ามีมาช้านานแล้ว และไม่ใช่เพียงแค่ในรูปแบบของเงินเท่านั้นด้วย โดยในสมัยก่อนยังมีเรื่องของการเสียภาษีเป็นทาส กล่าวคือ การเอาคนมาเป็นทาส ถือเป็นการเก็บภาษีจากแรงงานของคน โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ เป็นต้น

แต่แน่นอนว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไป รูปแบบการจัดเก็บภาษีก็เปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถเข้ากับรูปแบบสังคมในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นไปในรูปแบบของการจัดเก็บเงินได้แบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่จะมีความต่างจากในสมัยก่อน เพราะเงินภาษีที่ประชาชนยอมสละส่วนหนึ่งไปให้รัฐฯ นั้น ก็เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อ ไม่ได้หายไปเปล่า ๆ เหมือนดั่งเช่นในอดีต

ฉะนั้น เมื่อมักมีคนถามถึงเหตุผลที่รัฐฯ เข้ามาบังคับจัดเก็บภาษี ว่าเก็บไปเพื่ออะไร และทำไมจึงต้องมีการจัดเก็บภาษีเท่านั้นเท่านี้...

ผมก็ต้องเรียนตามตรงว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นเชิงปรัชญา เช่น เวลาเราถามว่า รัฐฯ คืออะไร และต้องใหญ่ขนาดไหน ซึ่งบางทีก็ต้องไปดูความต้องการของรัฐฯ ในประเทศนั้น ๆ ต้องการมีส่วนแบ่งในระบบเศรษฐกิจมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะผูกพันและเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละประเทศ แต่ละศาสนา แต่ละสังคมที่ไม่เหมือนกันด้วย

‘รฟม.’ เผยความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย ชี้!! ‘สายสีเหลือง-สายสีชมพู’ พร้อมเปิดใช้งานปี 66

เมื่อวานนี้ (9 เม.ย.66) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย  ภายใต้ความรับผิดชอบของ ‘รฟม.’ เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2566 โดยระบุว่า

อัปเดต !!! ความคืบหน้าเดือนมีนาคม ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ ระยะทางรวม 116.6 กม. 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top