Saturday, 18 May 2024
Delta

สธ. เผยผู้ติด 'โอมิครอน' อาการน้อยถึงไม่มี ส่วน 90% ของเชื้ออยู่หลอดลมมากกว่าลงปอด

ที่กระทรวงสาธารณสุข สธ. นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงฉากทัศน์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย และอัปเดตสถานการณ์เชื้อโอมิครอน ว่า... 

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 18 ธ.ค. 64 เป็นต้นมา สะสม 514 รายที่เป็นต้นเชื้อ กระจายใน 14 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบเข้าประเทศทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบไม่กักตัว (Test and go), ระบบแซนด์บอกซ์ (Sand box) และระบบกักตัว (Quarantine) แล้วเราตรวจจับได้หลังจากนั้นคนเหล่านี้จะกลับไปพื้นที่ต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุม แต่บางส่วนเล็ดลอดออกไป พบเป็นการสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางจากต่างประเทศประมาณ 20% เช่น ไปเยี่ยมญาติ ก็อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอาการโอมิครอน ของผู้ติดเชื้อมีดังนี้... 

>> อาการน้อยจนถึงไม่มีอาการ 90% 
>> มีอาการเล็กน้อย 10% 
>> อาการมาก 3-4% 

ขณะที่ โอมิครอนพบที่หลอดลมมากกว่าลงปอด 

ดังนั้นอาการที่พบได้มากคือ ‘ไอ’ แต่หากลงปอดก็จะมีความรุนแรงเช่นเดียวกับเดลตา 

ส่วนการศึกษาจากผู้ติดเชื้อโอมิครอน 41 รายที่เราทำการรักษาอยู่ พบว่า อาการไอ 54%, เจ็บคอ 37%, ไข้ 29%, ปวดกล้ามเนื้อ 15%, มีน้ำมูก 12%, ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% และไม่ได้กลิ่น 2%

ทั้งนี้เราพบอาการไม่ได้กลิ่นน้อย พบเพียง 1 ราย โดยเราให้ยาที่มีอยู่คือ ฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 5 วันตามมาตรฐาน เราจึงพบว่า หากให้ยาตั้งแต่ต้น อาการจะดีขึ้นภายใน 24-72 ชั่วโมง อาการฟื้นกลับมาเป็นปกติได้

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีเสนอฉากทัศน์พยากรณ์ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโอมิครอนใน 3 รูปแบบ…

Oxford ยัน!! ฉีดเชื้อตายแล้วบูสต่อด้วยเชื้อเป็น สร้างภูมิต้านทานได้ดีกับทุกสายพันธุ์โควิด

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford) และทีมนักวิจัยในบราซิล ยืนยันแล้วว่า ผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ครบโดส หรือวัคซีนที่พัฒนาจากเชื้อตาย เมื่อมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นจากวัคซีนที่สร้างจากชิ้นส่วน โมเลกุลของเชื้อไวรัส หรือ DNA สกัดอย่าง mRNA อาทิ AstraZeneca, Pfizer หรือ Johnson & Johnson สามารถเพิ่มภูมิต้านทานได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต้านทานโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ทั้ง Delta และ Omicron ได้ดีอีกด้วย

เรื่องนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศที่ใช้วัคซีนประเภทเชื้อตายเป็นพื้นฐานอย่าง Sinovac ที่ฉีดกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน และอีกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, บราซิล, อาร์เจนตินา, ตุรกี ส่งผลให้การวางแผนการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ของภาครัฐเป็นไปในทิศทางที่ง่ายขึ้นได้ 

ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวของทางมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีความสอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเคยได้รับรองการใช้วัคซีน Sinovac เพื่อการป้องกัน Covid-19 ได้ทั่วไป รวมถึงต่อมาได้แนะนำให้เพิ่มเติมฉีด Sinovac ไขว้กับวัคซีนเทคโนโลยีรุ่นใหม่เป็นเข็ม 2 ได้เลย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มกันโรค 

DELTA ร่วง 15% หลัง ตลท. จับติด Cash Balance โบรกฯ ชี้!! เสี่ยงหลุด SET50 ของรอบครึ่งแรกปี 67

(20 มิ.ย.66) ราคาหุ้น บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ล่าสุด ณ เวลา 10:12 น. อยู่ที่ระดับ 100.00 บาท ลบไป 17.50 บาท หรือ 14.89% สูงสุดที่ระดับ 103.00 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 99.00 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 805.66 ล้านบาท

สำหรับราคาหุ้น DELTA ปรับตัวลงเกิดจากแรงเทขายทำกำไร หลังจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศให้หลักทรัพย์ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. 2566 สิ้นสุดวันที่ 10 ก.ค. 66

ขณะที่ บล.กรุงศรี พัฒนสิน ระบุว่า วานนี้ตลาดประกาศให้ติด Cash Balance มีผล 20 มิ.ย. - 10 ก.ค. 66 ทำให้ DELTA เสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะหลุด SET50 สำหรับงวดครึ่งแรกของปี 67  เพราะถ้าตั้งแต่เกิดกรณี ในเดือน ส.ค. -พ.ย. 66 ไปติด Cash Balance อีก 1 ครั้ง จะทำให้หลุด SET50 รอบที่จะมีผล 1 ม.ค. 67 ทันที

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top