Saturday, 18 May 2024
AstraZeneca

กระบี่ - “อนุทิน” อนุมัติวัคซีน sinovac - AstraZeneca จำนวน 500,000 โดส พร้อมส่งมอบพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเปิดเมืองพื้นฟูเศรษฐกิจ - การท่องเที่ยว พร้อมให้กำลังใจข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19

วันนี้ (7 ตุลาคม 2564) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรวจเยี่ยมการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID -19) พื้นที่จังหวัดกระบี่  โดยมี  นายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวต้อนรับ เข้าร่วมประชุม รับและส่งมอบวัคซีนจาก ผู้บริหารจากทั้ง 2 กระทรวง โดยมี องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพนมเบญจา (ชั้น) 5 ศาลากลางจังหวัดกระบี่

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2563 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ชะลอตัวไปจนถึงหยุดชะงัก ร้านอาหาร ห้างร้าน โรงแรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวต้องหยุดให้บริการ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว รัฐบาลได้ประกาศ "เปิดประเทศ" ไว้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เดินหน้าแผนระยะที่ 1 โดยทำการทดลองเปิดพื้นที่นำร่องในรูปแบบ Sandbox ซึ่งจังหวัดกระบี่ เริ่มเปิดเกาะพีพี เกาะไหง หาดไร่เล  ก่อนแผนระยะที่ 3 เป็นการผ่อนผัน ในเรื่องของระยะเวลาในการทำกิจกรรมในสถานที่ต่าง ๆ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และแผนระยะที่ 3 การเปิดจังหวัด เปิดประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2564

จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว พื้นที่นำร่องระยะแรกที่พร้อมจะเปิดจังหวัด  จึงกำหนดเป็นนโยบายให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างน้อย ร้อยละ 70 หรือประมาณ 352,653 คน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 504,00 คน ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มหนึ่งแล้วทุกคนจะได้รับวัคซีนเข็มสองภายใน เดือนตุลาคมนี้ คิดเป็นร้อยละ ๓๘ กระทรวงสาธารณสุขยังคงเร่งให้วัคซีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ครบตามเป้าหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อเปิดเมือง  พื้นฟูเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว พร้อมส่งมอบวัคซีน จำนวน 500,000 โดส

  

กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้การเปิดประเทศครั้งนี้ ไม่ก่อให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับทั้งสุขภาพประชาชนควบคู่ กับเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 จึงเป็น "วาระแห่งชาติ"ที่ประชาชนในแผ่นดินไทยจะต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 70% หากประชาชน มีความประสงค์จะเข้ารับวัคซีนมากกว่านั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ได้เตรียมวัคซีน สำหรับปี 2564 ไว้ถึง 125 ล้านโดส วัคซีนทางเลือก 27 ล้านโดส รวมถึง การได้รับบริจาคจากประเทศต่าง ๆ มาเป็นระยะ 

 

คนไทยฉีด AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, J&J เข้าประเทศอังกฤษได้แล้ว 11 ต.ค.นี้

เฟซบุ๊กเพจ ‘Amthaipaper (หนังสือพิมพ์ไทยในอังกฤษ)’ ได้เปิดเผยข่าวดีของคนไทยที่จะไปยังประเทศอังกฤษ ว่า... 

ขอแสดงความยินดีกับ #Thailand แดนสยาม ที่กำลังจะได้ออกจากบัญชีแดงของอังกฤษ ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้
โดยอังกฤษจะยอมรับการฉีดวัคซีน AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, จอห์นสัน & จอห์นสัน (J&J) จากประเทศไทย 

หมายความว่า อังกฤษจะยอมรับการฉีดวัคซีนจากประเทศไทย พร้อมกับให้ ประเทศไทย ออกจาก List แดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคมนี้ โดยผู้เดินทางมาจากประเทศไทย ที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม จะสามารถเข้าสหราชอาณาจักรได้ แบบไม่ต้องกักตัว 

#ขอแสดงความยินดี
#วีซ่านักท่องเที่ยว
#ก็มาได้แล้ว

*** ทั้งนี้ วัคซีนที่ยอมรับมีเพียง AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, จอห์นสัน & จอห์นสัน (J&J) ครบสองเข็มเท่านั้น (ฉีดสลับกันได้ภายในวัคซีนที่ระบุนี้) ต้องฉีดครบ 2 เข็มตาม List ก่อน 14 วันที่จะเดินทาง

>> หากฉีดวัคซีนอื่น หรือฉีดเพียง 1 เข็ม จาก List ที่อังกฤษยอมรับ จะถือว่ายังไม่ได้ฉีด!!

และผู้ที่ฉีดไม่ครบ ต้องทำตามกฎสีอำพันเดิม คือ กักตัวที่บ้าน 10 วัน (Day2 & Day8 COVID Tests) หรือ กักตัวแบบเร่งรัดที่บ้าน 5 วัน (Test to release)

>> ก่อนเดินทางต้อง:
▶️ตรวจโควิดก่อนขึ้นเครื่องบิน 72 ชม.
▶️กรอกใบ Passenger locator
???????? https://www.gov.uk/provide-journey-contact-details-before-travel-uk
▶️จองที่ตรวจโควิดตามรายชื่อบริษัทที่รัฐบาลอังกฤษกำหนด
????????https://www.gov.uk/find-travel-test-provider
รายละเอียดเพิ่มเติม ตามที่แอมไทยเคยโพสต์ข้อปฏิบัติก่อนเดินทางมายังสหราชอาณาจักร จากลิสต์สีอำพัน????ตามลิงก์ ????????
https://www.facebook.com/178210772217942/posts/4391072974265013/?d=n

หมายเหตุ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศอังกฤษ ผู้ที่ฉีดสองเข็มครบ ตามลิสต์วัคซีนที่อังกฤษยอมรับ จะไม่ต้องกักตัวตามกฎบัญชีเขียว???? (Green List) (อังกฤษยกเลิกบัญชีสีอำพัน Amber list)

‘ดร.วรัชญ์’ ยกเคสโควิดระลอกใหม่ในยุโรป เชื่อ AstraZeneca ช่วยอังกฤษตายน้อยกว่าปท. อื่น

ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศบค. โพสต์เฟซบุ๊ก ระบว่า ยุโรประบาดหนัก คนป่วยหนัก เสียชีวิตเพิ่มสูง ไทยจะเป็นอย่างไร? 

สถานการณ์ของไทย หากต้องเจอกับการระบาดระลอกใหม่ จะเป็นอย่างไร อาจดูสัญญาณจากอังกฤษ ซึ่ง Pascal Soriot CEO ของ AstraZeneca ได้ให้สัมภาษณ์ BBC เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า แม้สถานการณ์ในยุโรปจะระบาดหนัก รวมถึงในอังกฤษเอง แต่อังกฤษกลับมีผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป 

เหตุผลคือ เขาเชื่อว่าวัคซีน AstraZeneca สามารถปกป้องผู้สูงอายุได้นานกว่าวัคซีน mRNA ทำให้ไม่ป่วยหนักและเสียชีวิต

โดย Soriot ได้อธิบายว่า ประชาชนใน UK ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะฉีดวัคซีน AZ แต่ในยุโรป ในช่วงแรก ๆ เกิดกระแสความเชื่อว่า วัคซีนไวรัลเวกเตอร์นั้นกระตุ้นภูมิได้ไม่ดีเท่า mRNA โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่กระตุ้นภูมิยาก ทำให้รัฐบาลในยุโรปหลายประเทศเลือก mRNA โดยเฉพาะไฟเซอร์ให้กับผู้สูงอายุ

Oxford ยัน!! ฉีดเชื้อตายแล้วบูสต่อด้วยเชื้อเป็น สร้างภูมิต้านทานได้ดีกับทุกสายพันธุ์โควิด

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford) และทีมนักวิจัยในบราซิล ยืนยันแล้วว่า ผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ครบโดส หรือวัคซีนที่พัฒนาจากเชื้อตาย เมื่อมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นจากวัคซีนที่สร้างจากชิ้นส่วน โมเลกุลของเชื้อไวรัส หรือ DNA สกัดอย่าง mRNA อาทิ AstraZeneca, Pfizer หรือ Johnson & Johnson สามารถเพิ่มภูมิต้านทานได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต้านทานโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ทั้ง Delta และ Omicron ได้ดีอีกด้วย

เรื่องนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศที่ใช้วัคซีนประเภทเชื้อตายเป็นพื้นฐานอย่าง Sinovac ที่ฉีดกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน และอีกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, บราซิล, อาร์เจนตินา, ตุรกี ส่งผลให้การวางแผนการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ของภาครัฐเป็นไปในทิศทางที่ง่ายขึ้นได้ 

ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวของทางมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีความสอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเคยได้รับรองการใช้วัคซีน Sinovac เพื่อการป้องกัน Covid-19 ได้ทั่วไป รวมถึงต่อมาได้แนะนำให้เพิ่มเติมฉีด Sinovac ไขว้กับวัคซีนเทคโนโลยีรุ่นใหม่เป็นเข็ม 2 ได้เลย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มกันโรค 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top