Sunday, 19 May 2024
600

วิเคราะห์นโยบายพรรคการเมืองในเวทีเลือกตั้ง 66 เป็นไปได้ไหม? ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันของเพื่อไทย

วิเคราะห์นโยบายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๖

เชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศน่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เมื่อมีพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนโดยไม่ได้คำนวณจาก ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (Consumer Price Index : CPI)

เมื่อพรรคเพื่อไทย ชูนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่าปัจจุบันเกือบสองเท่าภายใน ๔ ปี แต่ตอนที่เรียนปริญญาโทผู้เขียนเคยเรียนวิชาที่มีการสอนเกี่ยวกับการคำนวณอัตราค่าจ้างเงินเดือนมา จึงมีข้อสงสัยสงสัยว่า วิธีคิดค่าจ้างขั้นต่ำของพรรคการเมืองพรรคนั้น ใช้ฐานคิดคำนวณจากอะไร ‘หลักการหรือหลักกู’

ศาสตราจารย์ สมพงษ์ จุ้ยศิริ

ด้วยความที่เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ สมพงษ์ จุ้ยศิริ ปรมาจารย์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ท่านหนึ่งของประเทศ จำได้ว่า ท่านสอนเรื่องการคำนวณอัตราค่าจ้างเงินเดือนว่า ต้องคำนวณจาก ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (Consumer Price Index : CPI)

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) คือ เครื่องมือทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจำนวนหนึ่ง ณ เวลาหนึ่งเทียบกับปีฐาน (Base Year) โดยดัชนีราคาผู้บริโภคกำหนดขึ้นจากความต้องการศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวและการวัดระดับการครองชีพของประชากร เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากรให้ดียิ่งขึ้น

แนวคิดพื้นฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค พัฒนามาจากแนวคิดของดัชนีค่าครองชีพ (Cost of living index) ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้บริโภคในเดือนหนึ่งๆ โดยยังรักษามาตรฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ภาษี คุณภาพสินค้า เทคโนโลยี และราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้น จึงได้มีการนำดัชนีราคาผู้บริโภคมาใช้แทนโดยให้มีปริมาณและลักษณะของสินค้าที่คงที่แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สามารถแทนดัชนีราคาค่าครองชีพได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาจกล่าวได้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวประมาณค่าดัชนีค่าครองชีพได้ดีในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภค 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top