Saturday, 15 March 2025
112

ตรวจแนวรบ 'อัยการ' คดี 112 ส่อแววยืดคดีจนได้ 'อสส.คนใหม่' พลิกเกม 'นายใหญ่' ให้คล้าย 'คดีบอสกระทิงแดง'

8.พชร ยุติธรรมดำรง ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2550    
9.ชัยเกษม นิติสิริ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2550 - 2552    
10.จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2556    
11.อรรถพล ใหญ่สว่าง ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2556 - 26 มิ.ย. 2557    
12.ตระกูล วินิจนัยภาค ดำรงตำแหน่ง 27 มิ.ย.2557 - 30 ก.ย. 2558    
13.ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560    
14.เข็มชัย ชุติวงศ์ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2562 
15.วงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2564    
16.สิงห์ชัย ทนินซ้อน ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2565    
17.นารี ตัณฑเสถียร ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566    
18.อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน    
19.ไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ (ผ่านมติกอ./รอวุฒิสภาพิจารณา)

วันนี้ขออนุญาตร้อยเรียงวิเคราะห์บทวิเคราะห์แบบง่าย ๆ ด้วยการนำรายชื่ออัยการสูงสุด (อสส.) ที่มีมาตั้งแต่ปี 2534 มาทบทวนให้ดูตั้งแต่ท่านที่ 8 พชร ยุติธรรมดำรง จนมาถึงว่าที่อสส.คนใหม่ คนที่ 19  ไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ (ที่ว่ากันว่าเป็นทีมงานมือดีของ อสส.ชัยเกษม นิติสิริ) ซึ่งอยู่ในกระบวนการ การพิจารณาของวุฒิสภา

เปิดสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ วุฒิสภาจะตั้งกรรมาธิการฯ ตรวจสอบคุณสมบัติและพฤติกรรมพฤติการณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะนัดแนะกันลงมติในอีกประมาณ 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งตอนนั้นอาจจะเป็น สว. ชุดใหม่แล้วก็ได้ แค่ได้คะแนนเสียงข้างมาก 'อสส.คนใหม่' ก็จะชื่อ 'ไพรัช' หลังการโปรดเกล้าฯ

ย้อนดูรายชื่อ อสส.ข้างต้นแล้ว ก็ต้องหมายเหตุประเทศไทยเอาไว้ว่า มี อสส. ถึง 2 คน ที่สั่งฟ้องคดีนายทักษิณ ชินวัตร ข้อหาความผิด ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพ์ คนแรกคือ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ คนที่สองคือ อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์

กรณีท่านอำนาจนั้น ทักษิณทำหนังสือขอความเป็นธรรม ทางอัยการสั่งให้สอบเพิ่มมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ที่สุดวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมาก็สั่งฟ้อง

ขณะนี้ทีมทนายทักษิณร้องขอความเป็นธรรมอีกครั้ง อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะ "พนักงานสอบสวนขณะนั้น (2558-2559) ถูกข่มขู่จากรัฐบาล คสช. จนขาดความเป็นอิสระในการรวบรวมพยานหลักฐานคดี ทำให้นายทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรม..."

อ่านกันไม่ยาก...นี่เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อประวิงเวลา หรือยืดคดีออกไป...คล้าย ๆ คดีบอส กระทิงแดง ซึ่งตามหน้าไพ่ขณะนี้เขาว่ากันว่า หากสามารถยืดสุดติ่งไปจนไปถึง อสส.คนใหม่ได้ บางทีเหตุการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้...

ซุ่มเสียงของทักษิณในงานบวชน้องชาย สส.เพื่อไทยที่ปทุมธานีเมื่อ 8 มิ.ย. ฟังดูเหมือนจะไปตามนัดอัยการ เพื่อนำตัวทักษิณส่งฟ้องศาล แต่หากฟังซ้ำดี ๆ ทักษิณไม่ได้ตกปากรับคำเป็นมั่นเหมาะว่าจะไป...เพราะดูเหมือนเขาจะมั่นใจว่า การร้องขอความเป็นธรรมซ้ำสองรอบนี้ อย่างน้อยน่าจะมีการยืดเวลาออกไป...

จะอย่างไรก็ตาม แบไพ่เล่นกันแบบนี้...ทำเอาคนที่รักบ้านรักเมืองหัวใจสั่นรัว ตลาดหุ้นออกอาการสั่นไหว กลัว 'นายใหญ่' จะยิ่งเหลิงลมล้มดีล จนกลายเป็นจุดชนวนความวุ่นวายรอบใหม่ขึ้นมาจริง ๆ !!

มาตรา 112 คนดีๆ ไม่สะท้าน มีแต่ 'ผีห่าซาตาน' ที่ต้องกลัว

หากจะพูดเป็นประสาชาวบ้านเปรียบเปรยให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายมาตรา 112 ก็คือ 'ยันต์ปราบผี' ดี ๆ นี่เอง มีฤทธิ์ในทางปกป้องบ้านเรือน และผู้คนที่คิดดีต่อแผ่นดิน เพื่อให้ประเทศชาติดำรงอยู่อย่างมั่นคง 

ขึ้นชื่อว่าคนปกติธรรมดาที่คิดดี ทำดี ปฏิบัติในทางชอบธรรม ไม่คิดเบียดเบียนทำร้ายใคร จะไม่มีใครต้องเกรงกลัว หรือเกี่ยวข้องให้ชีวิตต้องพานพบกับความยากลำบากเลย 

ตายแล้วเกิดใหม่อีก 100 ชาติ ก็จะเป็นเหมือนเดิม!!

คงมีแต่พวกฝีเปรต ผีห่า ผีบาป ผีบ้า ผีสามนิ้ว ผีกลัวติดคุก ผีลืมชาติกำเนิด ผีเนรคุณแผ่นดิน ผีสาดสีธงชาติ ผีขีดเขียนกำแพงวัดพระแก้ว ผีล้มสถาบัน ผีหมิ่นเบื้องสูง ผีขี้ข้าตะวันตก ผีหนีการเกณฑ์ทหาร ผีลิงหลอกเจ้า ผีเบาปัญญา ผีกลิ้งกลอก ผีปั่นหัวเด็ก ผีหลอกใช้พวกอยากมีตัวตน ผีพูดอย่างทำอีกอย่าง ผีไม่กล้ายอมรับความจริง ผีโกหกไปเรื่อย ๆ และผีปากกล้าแต่ขาสั่นเท่านั้นที่ต้องหนาวสะท้าน สั่นไหว เพราะกลัว 'ยันต์ปราบผี' มาสะกด ไม่ให้ต้องผุดต้องเกิดอยู่ใน 'คุกตะรางขังผี' แบบยาว ๆ 

สุจริตชน คนบริสุทธิ์ใจ ถ้าไม่ทำตัวเป็นผีชั่ว ก็ไม่ต้องกลัวอำนาจของ 'ยันต์ปราบผี' นี้เลย กลับจะต้องช่วยกันปกป้อง รักษา ดูแลไม่ให้ 'ยันต์ศักดิ์สิทธิ์' ถูกพวกผีร้ายมาฉีกทำลายให้สูญสิ้นไป 

เป็นเรื่องง่าย ๆ เข้าใจง่าย ๆ ว่าทำไมขึ้นชื่อว่าคนถึงอยากให้มี 'ยันต์ปราบผี' ติดข้างฝาไว้ในทุกบ้าน เพราะบ้านไหนมียันต์ บ้านนั้นก็ไม่ใช่ผีดังที่กล่าวมา

แต่บางคน บางบ้าน ก็ชอบและแอบเชียร์ผี ขณะเดียวกันก็แขวน 'ยันต์ปราบผี' ไว้ในบ้านให้ผู้คนที่พบเห็นเกิดคำถามขึ้นในใจเล่น ๆ แท้จริงคือชอบตีสองหน้า หวังเข้าได้กับทุกฝ่าย หาก 'สังคมคน' พบเห็นก็จะได้ต้อนรับเพราะคิดว่าเป็น 'พวกเดียวกัน' แต่ลับหลังก็แอบสนับสนุนเหล่าผี ๆ ให้กระทำย่ำยี 'ยันต์ปราบผี' ให้สิ้นซาก

ผี...ที่ว่าน่าถอยออกห่างแล้ว คนที่แอบสนับสนุนผี แต่ไม่กล้าเปิดเผยตัวตน ย่อมสกปรกกว่าเป็นร้อยเท่า และไม่น่าคบค้าสมาคมให้เสียเวลา

‘ศาลอาญา’ พิพากษาจำคุก ‘เสี่ยวเป้า’ 3 ปี  ฐานร่วมม็อบ 3 นิ้ว ร้องเพลงหมิ่น-ใส่ร้ายสถาบันฯ

(20 มิ.ย.67) บัญชี X ของ ‘TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

ศาลอาญาพิพากษาคดี #ม112 ของ ‘เสี่ยวเป้า’ เหตุร้องเพลง ‘โชคดีที่มีคนไทย’ หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 65 เห็นว่ามีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี

เห็นว่าจำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน ไม่ได้มีพฤติการณ์เป็นแกนนำ ให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดี โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา ไว้ 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี รายงานตัวต่อศาลทุก 3 เดือน และบำเพ็ญประโยชน์ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้กรณีดังกล่าว วรินทร์ทิพย์ วัชรวงษ์ทวี หรือ ‘เสี่ยวเป้า’ อายุ 53 ปี ถูกแจ้งกระทำความผิดในข้อหา ‘หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ’ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากเหตุร้องเพลง ‘โชคดีที่มีคนไทย’ บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2565 โดยมี ‘อานนท์ กลิ่นแก้ว’ แกนนำกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ประชาชื่น

โดยพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหา คือ วรินทร์ทิพย์ ได้ร้องเพลงชื่อว่า ‘โชคดีที่มีคนไทย’ บริเวณหน้าเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ และมีการไลฟ์สดผ่านช่องยูทูป ผู้กล่าวหาเห็นว่ามีเนื้อหาใส่ร้ายป้ายสี หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายทําให้พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 และรัชกาล 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ

‘บิ๊กป้อม’ ยันจุดยืน ‘พปชร.’ ปกป้องสถาบัน ค้าน!! ‘กม.นิรโทษกรรม’ หากรวม ‘ม.112’

(19 ก.ค. 67) ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แถลงว่าตนได้รับมอบหมายจากพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เกี่ยวกับจุดยืนของพรรคต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม พรรคมีมติคัดค้านการรวมคดี 112 ร่วมอยู่ในร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ที่ระบุว่า “ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดการกระทำความผิด บุคคลที่หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และเป็นกฎหมายคุ้มครองที่ไม่ให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและเป็นสถาบันหลักของประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้”

ดังนั้น การให้ผู้กระทำความผิดที่ถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่มาออกกฎหมายเพื่อให้นิรโทษกรรมความผิดดังกล่าว จึงเป็นการขัดต่อคำวินิจฉัยต่อศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนั้น การที่จะเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยมีมาตรา 112 ร่วมด้วย โดยมีเจตนาทางการเมืองไม่ได้ ถือเป็นการมีเจตนาเซาะกร่อน บ่อนทำลาย สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเหตุให้ชำรุด ทรุดโทรมและอ่อนแอ นำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

“การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ให้ผู้กระทำผิดในมาตรา 112 เป็นการออกกฎหมายที่มีความร้ายแรงมากกว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ด้วยซ้ำ เราจึงคัดค้านไม่เห็นด้วย และพล.อ.ประวิตร ก็มีนโยบายชัดเจนที่จะปกป้องสถาบัน จึงต้องมาบอกให้ชัดเจนว่าพรรคพลังประชารัฐ ขอคัดค้านเรื่องนี้และท่านยังกำชับว่าหากมีการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสภาฯ ในวาระ 1 ไม่ว่าจะกี่ฉบับ สส.พรรคพลังประชารัฐทุกคน จะลงมติไม่เห็นด้วยทุกฉบับ เพื่อให้ร่างกฎหมายที่จะมีการนิรโทษกรรมมาตรา 112 ตกไปตั้งแต่วาระ 1 ”

เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่พรรคเพื่อไทยอาจจะให้รวมมาตรา 112 กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้าไปด้วย นายไพบูลย์ กล่าวว่า ใครจะอย่างไรก็สุดแล้วแต่ แต่พรรคพลังประชารัฐ เราจะคัดค้านทุกวิถีทางที่จะไม่ให้มีการเห็นชอบร่างกฎหมายนิรโทษกรรมมาตรา 112 ส่วนเรื่องพรรคไหนจะทำแบบไหนก็แล้วแต่ เราไม่เกี่ยว แต่พรรคเราแน่วแน่ และมั่นคงในหลักการนี้ 

ถามต่อว่า ที่ระบุว่าการแก้กฎหมายนิรโทษกรรม โดยรวมมาตรา 112 ร้ายกว่าการเสนอแก้มาตรา 112 หากพรรคการเมืองดึงดันที่จะให้มี 112 จะส่งผลต่อสถานะของพรรคการเมืองเหมือนกรณีของพรรคก้าวไกลหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ตนได้พยายามย้ำไปแล้วในประเด็นนี้ ขอให้แต่ละพรรคการเมืองไปตีความเอาเอง

‘แกนนำคณะก้าวหน้า’ เตือน ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ อ้าง!! ยุบ ‘ก้าวไกล’ จะทำให้ไทยพลาดเก้าอี้ใน ‘ยูเอ็น’

(4 ส.ค. 67) นายชำนาญ จันทร์เรือง แกนนำคณะก้าวหน้า-อดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่มีประสบการณ์ผ่านคดียุบพรรคอนาคตใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว วิเคราะห์คำตัดสินของศาลรธน.ในวันที่ 7 ส.ค.นี้โดยมองว่า พรรคก้าวไกลมีโอกาสรอดจากการถูกยุบพรรคจากเหตุผลทั้งบริบทการเมือง-ข้อกฎหมายและเรื่องของเวทีต่างประเทศ โดยเรื่องของเวทีต่างประเทศ ก็เพราะในเดือนหน้านี้ ศาลรธน.ของไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน 2567 ที่กรุงเทพมหานคร (มีประธานศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่า จากประเทศสมาชิก 18-19 ประเทศ เดินทางมาเยือนประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีมาร่วมงานประมาณเกือบ400 คน) ซึ่งจุดนี้ คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ เหตุใด ศาลรธน.จึงนัดตัดสินคดีสำคัญๆ ในช่วงนี้เพื่อให้เสร็จก่อนการประชุม ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล ก็ไม่รู้ว่าจะแบกหน้าไปคุยกับเขาได้อย่างไร เพราะการที่จะสั่งยุบพรรคการเมือง มันต้องเป็นเรื่องร้ายแรงมากๆ

นายชำนาญ ยังกล่าวอีกด้วยว่า นอกจากนี้ ปัจจุบัน รัฐบาลไทยกำลังรณรงค์อย่างหนัก เพื่อสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ในวาระปี ค.ศ.2025-2027 ซึ่งเท่าที่ทราบถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แต่แค่เฉพาะคดี 112 ที่จะพบว่าเกือบทุกคดี จะไม่มีการให้ประกันตัวยกเว้นแค่บางคดี เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นที่หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว แล้วยิ่งหากจะมายุบพรรคการเมือง ที่ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงมากที่สุด ถ้าแบบนี้ ก็ปิดประตูตายได้เลย ไม่ต้องไปลุ้นให้เหนื่อย 

แกนนำคณะก้าวหน้า มองว่า ผลการลงมติของ 9 ตุลาการศาลรธน.วันที่ 7 ส.ค.นี้ จะไม่ออกมาแบบเอกฉันท์แบบตอนลงมติตัดสินคดีที่ 3/2567 หรือคดีล้มล้างการปกครองฯ โดยอาจจะออกมา 5 ต่อ 4  หรือ 6 ต่อ 3 ประมาณนี้ ซึ่งแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรธน.ที่จะออกมา จะมีแค่สองแนวทางเท่านั้น คือ หนึ่ง “ไม่ยุบพรรคก้าวไกล” ส่วนหากจะออกมาเป็นแบบยกคำร้อง โดยใช้เหตุว่ากระบวนการพิจารณาของกกต.ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย-ระเบียบของกกต. ถ้าออกมาแบบนี้ มันจะไม่ตัดสิทธิที่กกต.จะยื่นคำร้องเข้ามาใหม่อีกครั้งได้ เช่น หากตัดสินยกคำร้องด้วยเหตุว่า กกต.ไม่ได้ทำตามระเบียบขั้นตอนที่ถูกต้อง ก็ยังทำให้กกต.สามารถไปเช็กคำร้องคดีขึ้นมาใหม่ได้ อาจใช้เวลา 1-2 ปี ก็ว่าไป มันไม่ใช่การฟ้องซ้ำ เพราะฟ้องซ้ำคือการมาฟ้องคดีที่ตัดสินคดีไปแล้วแต่เป็นคดีประเภทเดียวกัน คู่ความคนเดียวกัน ข้อหาเดียวกัน มาฟ้องซ้ำอีก แต่ถ้าศาลรธน.ยกคำร้อง ก็หมายถึงทำไม่ถูกขั้นตอน ก็ยังให้ไปทำมาใหม่ได้ อันนี้ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก แต่ก็อาจเป็นทางออกของเขา แต่มันก็จะเป็นชนักติดหลังพรรคก้าวไกลได้อยู่ว่า”อย่าดิ้นมาก”เดี๋ยวจะยื่นคำร้องไปศาลรธน.ใหม่ได้อีก ที่ก็ต้องไปตั้งอนุกรรมการไต่สวน-มีการเรียกพยานอะไรไปชี้แจง กว่าจะเสร็จอาจถึงช่วงตอนเลือกตั้งใหญ่รอบหน้า และแนวทางที่สอง ก็คือ ตัดสินยุบพรรคก้าวไกล ซึ่งหากจะเป็นแบบนี้ ก็แค่อิงคำวินิจฉัยคดีล้มล้างฯ เมื่อ 31 ม.ค.2567 ก็พอ  

แกนนำคณะก้าวหน้า กล่าวอีกว่า อีกเหตุหนึ่งที่ทำให้เชื่อว่า พรรคก้าวไกลจะรอดในคดียุบพรรค ก็เพราะหากก้าวไกลโดนยุบพรรค จะยิ่งแปรเป็นความคับแค้น ความเห็นใจ  อย่างคนที่อยู่กลางๆ เองเขาจะมีความเห็นใจ จนกลายเป็นคะแนนให้มาอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งระดับต่างๆ เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งท้องถิ่น กับการเลือกตั้งนายกฯอบจ.ทั่วประเทศในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ปีหน้า และตามด้วย เทศบาล -อบต. -กรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา ถ้ายิ่งไปทำแบบนี้ คนก็จะยิ่งเลือกผู้สมัครท้องถิ่นของพรรคใหม่ที่มาแทนพรรคก้าวไกลมากยิ่งขึ้น ดูได้จากที่ก้าวไกลได้ส.ส.และมีสมาชิกพรรคมากกว่าสมัยอนาคตใหม่

นายชำนาญระบุว่า หากศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคก้าวไกล จะทำให้การเมืองไทยเหลือเพียงขั้วเดียว ซึ่งประสบการณ์ในอดีต ก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร เกิดเหตุการณ์อะไร หากการเมืองขั้วที่เหลืออยู่ เห็นหมดเสี้ยนหนาม ถ้าก้าวไกลหายไประยะหนึ่งจะยิ่งลำพองใจ สมัยก่อนก็เคยเห็นกันแล้ว ได้มา 377 เสียง ใครพูดอะไรก็ไม่ฟัง  แต่หากยังคงให้มีพรรคก้าวไกลอยู่ ก็ยังทำให้เกิดการคานกัน-การถ่วงดุลกันได้อยู่ ทำให้จึงเชื่อว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจทั้งหลาย ก็คงคิดเก็บพรรคก้าวไกลไว้ก่อน  คือ ศาลรธน.เป็นคดีที่ตัดสินคดีการเมือง การเมืองมันพลิกผันได้ตลอดเวลา ผมเข้าใจเอาเองว่า ตอนนี้มันนิ่งแล้ว ฝ่ายผู้มีอำนาจเขาคิดว่าเขาชนะแล้ว เพราะแกนนำที่เคยเคลื่อนไหวเรื่อง 112 ก็ติดคุกกันเยอะ ส่วนพรรคก้าวไกลก็โดนฟรีซแช่แข็งเรื่อง 112 ทำอะไรไม่ได้ คือเขาคอนโทรลได้หมดทุกอย่างแล้ว เอาเฉพาะตอนนี้ และถ้าไม่ยุบก้าวไกล จะทำให้ก้าวไกล ก็จะมีโซ่ค้ำคออยู่ขยับเรื่อง 112 ไม่ได้

“เชื่อว่าไม่มีเหตุผลใดๆที่จะต้องมีการไปแกว่งเท้าหาเสี้ยนด้วยการจะไปยุบพรรคก้าวไกล แนวโน้มความเชื่อผม มองว่า ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะยกคำร้อง ก็เช่นอาจจะออกมาไปในแนวทางว่ากกต.ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการไต่สวนคำร้องตั้งแต่แรก  เพราะหากจะไปยกคำร้องว่าก้าวไกลไม่ผิด ทางศาลรธน.ก็มีคำวินิจฉัยที่ 3/2567 ค้ำคอเขาอยู่ ที่สำคัญ หากไม่มีการยุบพรรคก้าวไกล แต่จากผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ในคดีล้มล้างการปกครองฯ ที่ศาลสั่งห้ามพรรคก้าวไกลกระทำการใดๆ เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตรงนี้ก็จะค้ำคอพรรคก้าวไกลไว้ ทำให้พรรคก้าวไกลไม่สามารถทำอะไรได้อีกต่อไปในเรื่อง 112 แต่หากมีการยุบพรรคก้าวไกล แล้วมีการไปตั้งพรรคการเมืองมาแทนก้าวไกล พรรคการเมืองตั้งใหม่ ก็จะไม่ใช่คู่กรณีหรือคู่ความตามคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครองอีกต่อไปแล้วเพราะก้าวไกลโดนยุบพรรคไปแล้ว พรรคการเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นมาแทน ก็จะไม่เกี่ยวอะไรกับก้าวไกลอีกต่อไป คำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครองฯ ก็ไม่มีผลใดๆ ต่อพรรคการเมืองใหม่ที่ขึ้นมาแทนพรรคก้าวไกล” นายชำนาญ กล่าวทิ้งท้าย

‘นิพิฏฐ์’ โพสต์ให้ความรู้ ม.112 ย้ำชัด!! กฎหมายนี้ แก้ไขได้ ในอดีตก็เคยทำมาแล้ว ตามคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

(11 ส.ค. 67) นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ทนายความ และอดีต ส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ...

มาตรา 112 กับระบบปกครอง และ สถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ 1)

ผมพยายามเขียนให้อ่านง่าย โดยยึดหลักกฎหมายและหลักระบอบการปกครอง สถาบันพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับระบบการปกครองด้วยแต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึงระบบการปกครองกัน

ใครจะเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยก็ได้ แต่ไม่ควรแสดงความเห็นในที่นี้ (เพราะความเห็นที่ปราศจากความรู้) อาจมีความผิดตามกฎหมายได้ ทางที่ดีอ่านอย่างเดียวจะดีกว่า

คำถามแรก: คือ มาตรา 112 แก้ไขได้หรือไม่

ตอบ: แก้ไขได้ เพราะตั้งแต่มีประมวลกฎหมายอาญา ตั้งแต่ปี 2500 มาตรา 112 ก็เคยแก้ไขมาแล้ว คือ แก้ไขตามคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519

คำถามที่สอง: การแก้ไขมาตรา 112 แก้ให้โทษหนักขึ้นได้หรือไม่ ตอบว่า ‘ได้’ / หรือ แก้ให้โทษน้อยลงได้หรือไม่ ตอบว่า ‘ได้’

มาตรา 112 แก้ได้ ทั้งแก้ให้โทษสูงขึ้นหรือน้อยลง แล้วแต่ดุลพินิจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่เราเลือกเข้าไป

คำถามต่อไป คือ เมื่อแก้ไขได้ ทำไมพรรคการเมืองที่ทำการแก้ไข จึงถูกยุบพรรคคำถามนี้ ไว้ตอบตอนต่อไปครับ/

‘เทพไท’ ชี้!! พรรคการเมืองต้องมีอุดมการณ์ จุดยืนชัดเจน ไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อเสียง มอง!! พรรคประชาชน ไม่ลดเพดาน ม.112 ต้องรับความเสี่ยง เคลื่อนไหวอย่างมีบทเรียน

(11 ส.ค. 67) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส. นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก เทพไท เสนพงศ์-คุยการเมือง ระบุว่าพรรคการเมืองต้องแข่งกันที่อุดมการณ์

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุคพรรคก้าวไกลไปแล้ว ได้ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคไป 10 คน ทำให้ส.ส.พรรคก้าวไกล เหลืออยู่ 143 คน และได้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชนทั้งหมด ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานา ทั้งชื่อของพรรค โลโก้ตราสัญลักษณ์ของพรรค รวมถึงนโยบาย จุดยืน อุดมการณ์ ประกาศเดินหน้านโยบายแบบไม่ลดเพดานลง แต่ได้เรียกเสียงสนับสนุนจากผู้ศรัทธาต่ออุดมการณ์พรรคได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเห็นได้จากยอดผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคหลายหมื่นคน และมียอดเงินบริจาคภายในเวลา 9 ชั่วโมง ยอดบริจาคหลัก10ล้านบาท ซึ่งเป็นกระแสความศรัทธาอย่างแท้จริง

ผมในฐานะนักการเมืองอิสระ ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด แต่ขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองทุกพรรค ได้หันมาต่อสู้แข่งขันกันในเรื่องจุดยืน อุดมการณ์และนโยบาย มากกว่าเรื่องการหาประโยชน์ สะสมทุนเพื่อซื้อเสียงในการเลือกตั้ง เพราะถ้าหากพรรคการเมืองมีจุดยืน อุดมการณ์ถูกใจประชาชนแล้ว สามารถเรียกคะแนนนิยมและศรัทธาจากประชาชนได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อเสียงเลย

ในอดีตที่ผ่านมาผมได้ตัดสินใจเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ก็เพราะพรรคประชาธิปัตย์ มีจุดยืนที่ชัดเจน ในเรื่องหลักการประชาธิปไตย เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา มีความซื่อสัตย์และเป็นมืออาชีพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กับประชาชน ไม่ใช้เงินซื้อเสียง และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นอุดมการณ์เมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนและอุดมการณ์ไปทั้งหมด จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตกต่ำมากที่สุดในยุคนี้

ส่วนพรรคประชาชนที่ประกาศไม่ลดเพดานการแก้ไขมาตรา112 ก็เป็นจุดขายหนึ่งของพรรค ที่ทำให้ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากถึง 14 ล้านคน เป็นนโยบายที่พรรคประชาชนต้องรับความเสี่ยงทางการเมือง ต้องสรุปบทเรียนการเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้สุ่มเสี่ยงต่อการยุบพรรคเป็นครั้งที่3 และเป็นสิทธิ์ของพรรคประชาชน ที่จะเสนอนโยบาย จุดยืน อุดมการณ์ของพรรคต่อสาธารณชน เพราะผู้ที่ตัดสินใจแท้จริง คือคนไทยทั้งประเทศ ว่าเห็นด้วยหรือยอมรับต่อนโยบายของพรรคประชาชนหรือไม่

ถ้าเสียงส่วนใหญ่ของประเทศยอมรับ เลือกพรรคประชาชนเป็นเสียงข้างมาก ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน ตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย อย่าใช้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงกันอีก

‘พรรคประชาชน’ ไร้แบนเนอร์ ‘ถวายพระพร’ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ตอกย้ำ!! คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ‘ล้มล้างการปกครอง-เซาะกร่อนบ่อนทำลาย’

(12 ส.ค. 67) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 พรรคการเมืองหลักทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติไทยพัฒนา รวมทั้งพรรคเล็กพรรคน้อย ต่างทำแบนเนอร์ถวายพระพร ผ่านเพจของพรรค อย่างพร้อมเพรียงกัน ในขณะที่พรรคประชาชน ไม่ปรากฏแบนเนอร์ถวายพระพรแต่อย่างใด

ทั้งนี้นับแต่มีการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ มาถึงพรรคก้าวไกล ก็ไม่ปรากฏมีการทำแบนเนอร์ถวายพระพรในวันสำคัญของราชวงศ์แม้แต่ครั้งเดียว และไม่มีคำอธิบายใดๆทั้งสิ้น นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวคิดของพรรคอนาคตใหม่ ก้าวไกล รวมทั้งพรรคประชาชนว่า ไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์ ตอกย้ำด้วยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยว่าการแก้ม.112 ของพรรคก้าวไกล เป็นการล้มล้างการปกครอง รวมถึงคดียุบพรรคก้าวไกล ล้วนแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของพรรคนี้ว่าไม่ต้องการการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องการตัดสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากระบอบการปกครอง

‘ธนกร’ ลั่น!! ไม่รวม ‘ม.112’ ในร่างนิรโทษกรรม ย้ำ!! จะทำละเมิดสถาบันไม่ได้ ชี้!! เป็นความมั่นคงของประเทศ แต่หากสภาฯ พิจารณาขัด รธน. ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ

(22 ก.ย. 67) นายธนกร วังบุญคงชนะ  อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร เตรียมเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาฯ ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ ซึ่งให้สภาร่วมกันพิจารณาในความเห็นต่างเรื่องคดีมาตรา 112 จะรวมอยู่ในการนิรโทษกรรมหรือไม่ ซึ่งทราบว่าในคณะกมธ.เองไม่สามารถหาข้อสรุป จึงให้สมาชิก กมธ.แต่ละคน บันทึกความเห็นไว้ในรายงานแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ไม่รวม มาตรา112 เพราะไม่ใช่แรงจูงใจทางการเมือง 2.รวม อย่างมีเงื่อนไข และ3.รวมโดยไม่มีเงื่อนไข   โดยส่วนตัว ได้ยืนยันมาตลอด ว่าไม่เห็นด้วยและคัดค้านถึงที่สุด ไม่สมควรรวมคดีความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ได้รับการนิรโทษกรรม เพราะไม่ใช่แรงจูงใจทางการเมือง เพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดเจน ในมาตรา 6 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระนามพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้  และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เกี่ยวข้องการเมือง  หากจะนิรโทษกรรมให้ก็เสี่ยงที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ 

ทั้งนี้ จากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 ก็ชี้ชัดแล้วว่า มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นการ รณรงค์หาเสียง รวมถึงการยื่นแก้ไขมาตรา 112  ซึ่งเมื่อมองเทียบเคียงกับ ผู้ที่กระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ยิ่งมีน้ำหนักรุนแรงกว่าพรรคก้าวไกลเสียด้วยซ้ำ  ดังนั้นในการประชุมสภาเรื่องนี้ ตนจะขอใช้เอกสิทธิ์สส. เลือกข้อ1. ไม่รวมมาตรา 112  ซึ่งเห็นด้วยที่จะมีการนิรโทษกรรมคดีการเมืองที่ไม่มีความรุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต รวมทั้งไม่รวมคดีทุจริตคอรัปชั่นด้วย แต่ควรจะมีเงื่อนไขในการพิจารณาการนิรโทษกรรมอย่างละเอียดรอบคอบ  เชื่อว่าสภาเองก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรัดกุม ไม่ทำให้เกิดการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญเสียเอง

“ยกคดียุบพรรคก้าวไกลมาเทียบ ก็ทำให้เห็นได้ชัดเจน ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอย่างละเอียดว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง หากจะนิรโทษกรรมให้ผู้มีความผิดตามมาตรา 112 สภาต้องคิดให้ดีและรอบคอบ ส่วนตัวขอคัดค้านและไม่เห็นด้วยที่จะรวมมาตรานี้ให้ได้รับนิรโทษกรรม เพราะไม่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทางการเมือง แต่หากที่ประชุมสภาในวันที่ 26ก.ย.มีการพิจารณาออกมาอย่างไร หากขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ควรจะต้องมีผู้รับผิดชอบ” นายธนกร กล่าวทิ้งท้าย

‘นิว จตุพร’ ผู้ต้องหาคดี 112 หนีไปนอก ‘ตั้ง อาชีวะ’ รอรับ!! ประเทศปลายทาง

(12 ก.พ. 68) นางสาวจตุพร แซ่อึง หรือ นิว นักกิจกรรมจากจังหวัดบุรีรัมย์วัย 27 ปี ผู้ถูกกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ

ได้โพสต์เฟซบุ๊กเช็คอินที่เมืองออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นรูปนายเอกภพ เหลือราหรือ “ตั้ง อาชีวะ” เป็นผู้มารอรับที่สนามบิน ว่า

“ขอบคุณครับที่มารับถึงสนามบินเลยยยยยย แถวนี้ไม่มีฝุ่นเลยครับ ”

ด้านนายเอกภพ เหลือรา หรือ ตั้ง อาชีวะ ได้แสดงความคิดเห็นด้วยว่า “พี่ช่วยได้เท่าที่ช่วยได้น้องเอ้ย ที่เหลือก็ต้องลุยเองแล้วนะ ขอให้สนุกกับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ครับ เพราะ112ทำให้เราได้มาเจอกัน555” “รอดไปถึงฝั่งอีกคนละ ขอให้มีความสุขในการเริ่มต้นใหม่นะ เริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่มอบโอกาสที่มาพร้อมกับความเท่าเทียม และไม่มี112”

ทั้งนี้ คำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ของคดี น.ส.จตุพร นั้น ศาลได้พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้าย 

พระมหากษัตริย์ พระราชินีฯ ยืนตามศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ในข้อหาตามมาตรา 112 และปรับ 1,000 บาท ในข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต่อมาวันที่ 21 ส.ค. 2567 ศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวจตุพร โดยเห็นว่า “พิเคราะห์ข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าโทษตามคำพิพากษาไม่สูงมากนัก จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวตลอดไม่มีพฤติการณ์หลบหนี จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา ตีราคาประกัน 200,000 บาท 

โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทำหรือเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกัน แจ้งเงื่อนไข แจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top