Monday, 29 April 2024
ไบเดน

ชาวมะกันไม่โทษ ‘ปูติน’ เหตุ ‘ก๊าซ-น้ำมันแพง’ แต่ส่วนใหญ่ชี้เป้าไปที่ ‘ไบเดน-เดโมแครต’

ข้อมูลจากสำนักโพล Rasmussen poll เมื่อ (21 มิ.ย.65) พบชาวสหรัฐฯ เพียงแค่ 11% ที่เชื่อว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ควรถูกกล่าวโทษต่อราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงในสหรัฐฯ แต่ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ชี้เป้าไปที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน 

ในโพลของ Rasmussen ที่จัดทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าหนึ่งครั้ง (52%) ที่ชี้ว่านโยบายทางพลังงานแย่ ๆ ของผู้นำสหรัฐฯ คือ ต้นตอที่ทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงจนผู้คนเริ่มจ่ายไม่ไหว นั่นหมายความว่าคำจำกัดความ ‘การขึ้นราคาของปูติน’ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามป้อนสู่ความคิดของประชาชน ดูเหมือนจะไม่ได้ผลใด ๆ 

ขณะที่บางส่วนไม่กล่าวโทษทั้ง ไบเดน และ ปูติน แต่เลือกที่จะโทษไปยังบรรดาบริษัทพลังงานทั้งหลาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 29% ชี้ว่าอุตสาหกรรมพลังงานกำลังกอบโกยผลประโยชน์จากภาวะไร้เสถียรภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ ผ่านการปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิง

สำหรับสถานการณ์ด้านพลังในสหรัฐฯ ตอนนี้ แม้จะมีการห้ามนำเข้าน้ำมันและก๊าซของรัสเซียในเดือนมีนาคม แต่ในความเป็นจริง คือ มอสโกยังป้อนอุปทานน้ำมันแก่อเมริกา แต่ก็คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 2% เท่านั้น เพราะโดยสุทธิแล้ว สหรัฐฯ คือ ชาติผู้ส่งออกก๊าซ นั่นจึงทำให้คำกล่าวอ้างที่ว่ารัสเซีย คือ ผู้อยู่เบื้องหลังราคาที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ตามสถานีบริการทั้งหลายนั้น เป็นไปไม่ได้เลย

ทั้งนี้ราคาพลังงานที่พุ่งสูง ยังเป็นตัวแปรสำคัญก่อนถึงศึกเลือกตั้งกลางเทอม (ส.ส.-ส.ว.)ของสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี โดยผู้มีสิทธิออกเสียงราว 92% บอกว่าราคาก๊าซ น้ำมันทำความร้อนและเชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่พุ่งทะยาน เป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับพวกเขา และจากผลสำรวจของ Rasmussen poll นั้น มีมากถึง 68% ที่เรียกปัญหาดังกล่าวว่า ‘ร้ายแรงมาก’

หนี้สหรัฐฯ พุ่งทะลุ 31 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูงและความไม่แน่นอนทางศก.

หนักหนา!! หนี้สาธารณะสหรัฐฯ พุ่งทะลุ 31 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก ท่ามกลางเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อัตราดอกเบี้ยระดับสูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่ง

ข้อมูลของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (4ต.ค.) ที่ผ่านมา พบว่า หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ไต่ระดับอยู่ใกล้ ๆ 31.1 ล้านล้านดอลลาร์

รายงานข่าวของซีเอ็นเอ็น ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งกู้เงินในช่วงการแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่โควิด-19 เพื่อพยุงเศรษฐกิจประเทศ ในขณะที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ตลาดแรงงานและห่วงโซ่อุปทาน หนี้ค้างชำระของสหรัฐฯพุ่งเกือบ 8 ล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ต้นปี 2020 และพุ่งขึ้น 1 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน

การกู้ยืมเงินดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ บริหารประเทศ และในระยะแรกๆ ของรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ปัจจุบันต้นทุนการกู้ยืมเงินเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมาก เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายระลอกเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

คณะกรรมการฝ่ายบริหารงบประมาณแผ่นดินสหรัฐฯ (CRFB) ประมาณการณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า นโยบายต่างของประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจทำให้ขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 4.8 ล้านล้านดอลลาร์ ในระหว่างปี 2021 - 2031

“การกู้ยืมเงินมากจนเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อแบบต่อเนื่อง จะผลักให้หนี้สาธารณะพุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่อย่างเร็วที่สุดในปี 2030 และทำให้รัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเป็นสามเท่าตัวในช่วง 10 ปีข้างหน้า หรืออาจเร็วกว่านั้น หากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นเร็วขึ้น หรือมากว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้” CRFB ระบุ

‘ไบเดน’ ประกาศสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉิน ‘โควิด’ ในสหรัฐ ขอยุติส่งเงินสนับสนุน ‘ตรวจหาเชื้อ-จัดสรรวัคซีน’ แบบฟรี

(11 เม.ย.66) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากได้ประกาศใช้มาตรการดังกล่าวมานานกว่า 3 ปี ในความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะดูแลประชาชนของประเทศที่ปรากฏผู้เสียชีวิตจากโควิดดังกล่าวกว่า 1 ล้านราย
.
ทำเนียบขาวกล่าวว่า ไบเดนได้ลงนามอนุมัติร่างกฎหมายที่สภาครองเกรสได้รับรองไปแล้วในช่วงก่อนหน้า โดยเนื้อความของกฎหมายกล่าวถึงการสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ซึ่งจะหมายถึงการยุติการส่งเงินสนับสนุนจำนวนมากไปกับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 การจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงมาตรการฉุกเฉินอื่นๆ ที่ใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 หรือช่วงต้นของการแพร่ระบาดของหายนะทางสาธารณสุขทั่วโลกนี้ ในการปลดเปลื้องสหรัฐซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของโลกจากเงื้อมือของโควิด-19
.
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ ผลกระทบจากการประกาศสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินนี้ต่อประเด็นชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโกที่มีความตึงเครียดในปัจจุบัน จากการที่ทางการสหรัฐประสบปัญหาในการจัดการกับกระแสของผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารและผู้ขอลี้ภัยจำนวนมากมาเป็นระยะเวลายาวนาน

สหรัฐฯ ยืนยันส่ง 'ระเบิดพวง' ให้ยูเครนไล่ยึดดินแดนคืน ด้าน 'ไบเดน' ให้เหตุผล เพราะกระสุนในยูเครนกำลังจะหมด

(9 ก.ค. 66) เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติทำเนียบขาวสหรัฐฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เราทนไม่ได้ หากยูเครนไม่มีกระสุนปืนใหญ่มากเพียงพอในการปกป้องตนเอง โดยในการแถลงข่าวเมื่อวันก่อน (7 ก.ค.) ยืนยันตามข่าวที่ปรากฏในสื่อว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะส่งระเบิดพวง (cluster munitions) ให้แก่ยูเครน เป็นส่วนหนึ่งของชุดความช่วยเหลือด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ให้แก่ยูเครน มูลค่า 800 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 28,000 ล้านบาท

ซัลลิแวน ย้ำว่า การตัดสินใจนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดที่จะต้องทำ สหรัฐฯ จะไม่ปล่อยให้ยูเครนอยู่ในสภาพป้องกันตัวเองไม่ได้ ก่อนการตัดสินใจนี้ สหรัฐฯ ได้หารืออย่างใกล้ชิดกับประเทศพันธมิตรหลายประเทศ และบางประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอนุสัญญาออสโล สนับสนุนการตัดสินใจนี้ 

ซัลลิแวน ยืนยันด้วยว่า ทางยูเครนได้รับประกันเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วว่า จะใช้ระเบิดพวงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง และจะลดอันตรายที่จะเกิดกับพลเรือนให้น้อยที่สุด และจะไม่ใช้ในดินแดนต่างชาติ จะใช้ปกป้องประเทศเท่านั้น

ด้านประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กล่าวปกป้องการตัดสินใจส่งระเบิดพวงให้ยูเครนว่า "กระสุนในยูเครนกำลังจะหมด" ในการตอบคำถามผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ถามว่าเหตุผลใดสหรัฐฯ จึงตัดสินใจจะส่งระเบิดพวงให้แก่ยูเครน

สหรัฐฯ หวังว่า ระเบิดพวงจะช่วยยูเครนสามารถยึดดินแดนที่ถูกยึดไปในความขัดแย้งกับรัสเซียตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 กลับคืนมาได้

อย่างไรก็ตาม ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ยอมรับว่า พลเรือนมีความเสี่ยงจะได้รับอันตรายจากการตกค้างของระเบิดพวงที่ไม่ระเบิด 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงต่างประเทศไทย ระเบิดพวง หรือ Cluster Munitions ถูกห้ามใช้ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ตามอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง (Convention on Cluster Munitions: CCM) เป็นระเบิดที่บรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กไว้ภายในจำนวนมาก สามารถทิ้งลงจากเครื่องบิน หรือยิงโดยปืนใหญ่ จะระเบิดกลางอากาศ เพื่อปล่อยลูกระเบิดย่อยให้กระจายเป็นวงกว้าง มีอัตราการไม่ระเบิดสูง ทำให้ลูกระเบิดขนาดเล็กตกค้างบนพื้นดิน ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ได้ในภายหลัง

‘หนุ่มมะกัน’ หมิ่น ‘ไบเดน’ คุก 5 ปี ปรับ 8 ล้านบาท ส่วน ‘ประเทศไทย’ ให้ยกเลิก-ไม่ติดคุก-หมิ่นกษัตริย์

เมื่อไม่นานมานี้ ไบรอัน เบอร์เลติก ฝรั่งอเมริกันที่เคยออกมาแฉว่าเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือหนึ่งของอเมริกาในการแทรกแซงประเทศต่าง ๆ จนถูกปิดเพจไปก่อนหน้า ได้ยกกรณีการหมิ่นผู้นำสหรัฐฯ พร้อมโทษที่เด็ดขาด ว่า…

“ชายจากนอร์ทแคโรไลนา โดนข้อหาขู่ฆ่าประธานาธิบดีไบเดน” และนี่คือหัวข้อบทความจาก CNN ซึ่งชายผู้นี้ได้โทรไปข่มขู่ที่ทำเนียบขาว และข้ออ้างของเขาคือ ‘มีสิทธิ’ ทำแบบนั้น เพราะเขามีสิทธิเสรีภาพในการพูดและเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเลย ฟังดูคุ้น ๆ ไหม? มันคุ้นหูมากเพราะว่านั่นคือ ‘คำอ้าง’ ของม็อบต่อต้านรัฐบาลไทยที่มีสหรัฐฯ หนุนหลังใช้เวลาที่พวกเขาหมิ่นประมาท และข่มขู่พระมหากษัตริย์ไทยยังไงล่ะ แต่ถ้าเป็นที่สหรัฐฯ คุณจะโดนโทษจำคุก 5 ปี และปรับเป็นเงิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากคุณข่มขู่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

มาดูบทความนี้กันต่อ “พรรคก้าวไกลผลักดันให้มีการยกเลิกโทษหมิ่นเบื้องสูง” ซึ่งข้างล่างบทความนี้ได้เขียนเอาไว้ว่า “ข้อเสนอมีอยู่ว่าคนที่หมิ่นประมาทหรือข่มขู่พระมหากษัตริย์ จะยังต้องระวางโทษจำคุก แต่มากสุด 1 ปี และปรับเป็นเงิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งผมอยากให้ดูข้อความตรงนี้ “หรือข่มขู่พระมหากษัตริย์” หมายความว่าพรรคก้าวไกลต้องการเปลี่ยนกฎหมายของประเทศไทย จนแทบไม่มีโทษอะไรเลยจากการหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งก็เป็นเจตนาของพวกเขาแต่แรกอยู่แล้ว คือการโจมตีและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และพวกเขาตั้งใจจะเปลี่ยนกฎหมายเพื่อทำให้เรื่องนั้นเป็นไปได้ 

และในขณะเดียวกัน ลองมาดูบทความนี้กันต่อ “ก้าวไกล ฟ้องหมิ่นประมาท 'หมอวรงค์-ณฐพร' เรียกค่าเสียหายคนละ 24,062,475 บาท” อยากให้สังเกตตัวเลขตรงนี้ให้ดี เพราะนั่นคือจำนวนเงินที่พวกเขาเรียกร้องจากผู้ที่วิจารณ์พวกเขา แล้วถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพวกเขา พอจะเห็นภาพหรือยังว่าเรื่องทั้งหมดนี่มันเป็นอย่างไร? พวกเขาต้องการจะเปลี่ยนกฎหมายเพื่อเอื้อแก่พวกเขาที่จะสามารถโจมตีและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศให้ได้ แต่กลับยังเอากฎหมายหมิ่นประมาทของประเทศไทยมาฟ้องผู้วิจารณ์และคัดค้าน เป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท และนี่คือการกระทำของเผด็จการ ที่เห็นกันซึ่งๆ หน้า ในโลกของความเป็นจริง ขณะที่คำกล่าวหาว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน และสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเผด็จการเป็นเพียงนิทานหลอกเด็นเท่านั้น

ผมแค่อยากชี้เรื่องนี้ให้เห็นกันว่าในสหรัฐฯ คุณอาจโดนโทษจำคุกได้ถึง 5 ปี ถ้าคุณข่มขู่ประมุขของรัฐ ซึ่งพรรคก้าวไกลอยากลดเวลาจำคุกนั้นลงให้เหลือแค่ 1 ปี แต่ก็ไม่ได้ช่วยทำให้คนเลิกโจมตีสถาบันเลยสักนิด ในทางกลับกันมันจะยิ่งกลายเป็นการผลักดันให้ผู้คนโจมตีและข่มขู่สถาบันมากยิ่งขึ้นเสียด้วยซ้ำไป

มันจะเป็นสังคมที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ได้อย่างไร? เมื่อสังคมมีแต่การหมิ่นประมาท และข่มขู่กันเอง ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเลยว่าพรรคก้าวไกลไม่สนใจประเทศไทยเลยสักนิด มันชัดเจนมากว่าพวกเขาพยายามจะทำลายประเทศไทย…

FBI ปลิดชีพ ‘ชายในมลรัฐยูทาห์’ ที่โพสต์ขู่ฆ่า ‘โจ ไบเดน’ ก่อนหน้าผู้นำสหรัฐฯ จะเยือนมลรัฐนี้เพียงไม่กี่ชั่วโมง

แม้สหรัฐอเมริกาจะไม่มี ม.112 แต่ FBI ก็ได้ยิง Craig Robertson ชายผู้ที่โพสต์คำข่มขู่ต่อประธานาธิบดี Joe Biden และเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ทางออนไลน์อย่างรุนแรง จนเสียชีวิต

(10 ส.ค.66) เพจเฟซบุ๊ก 'ดร.โญ มีเรื่องเล่า' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

Craig Robertson ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการบุกของ FBI เมื่อวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2023

โดยเจ้าหน้าที่พยายามออกหมายจับ Craig Robertson ที่บ้านของเขาในมลรัฐยูทาห์ ก่อนหน้าที่นาย Biden วางแผนจะเยือนมลรัฐนี้เพียงไม่กี่ชั่วโมง

การร้องเรียนทางอาญากล่าวว่า Robertson โพสต์คำขู่บน Facebook ต่อนาย Biden และอัยการที่ดำเนินคดีอาญากับ Donald Trump

ทั้งนี้ Robertson ได้โพสต์บน Facebook ระบุ... "ฉันได้ยินว่า Biden กำลังจะมาที่ยูทาห์ ฉันขุดชุด ghillie เก่าๆ (ชุดพรางสำหรับพลซุ่มยิง) ของฉันออกมา แล้วจะปัดฝุ่นออกจากปืนไรเฟิลซุ่มยิง M24 ของฉันด้วย"

เกี่ยวกับสาเหตุการยิง ทาง FBI ได้ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติม โดยการจู่โจมเพื่อจับกุม Craig Robertson เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 06.15 น. ตามเวลาท้องถิ่นในเมืองโพรโวทางตอนใต้ของนครซอลต์เลคซิตีไปประมาณ 65 กม.

'ไบเดน' คืนเงินสำรอง 6 พันล้านให้อิหร่านแลก 5 นักโทษมะกันกลับบ้าน ฝ่ายค้าน งง!! มาตรการคว่ำบาตรในประเทศ 2 มาตรฐาน

ในที่สุด สหรัฐอเมริกาก็ยอมบรรลุข้อตกลง ยอมลดเพดานการคว่ำบาตรอิหร่าน ด้วยการอนุมัติการปล่อยเงินสำรองต่างประเทศของอิหร่านที่ถูกอายัดไว้ในเกาหลีใต้กว่า 6 พันล้านเหรียญคืน เพื่อแลกกับการปล่อยนักโทษสหรัฐฯ จำนวน 5 คน ท่ามกลางเสียงคัดค้านของฝ่ายค้าน และความย้อนแย้งสับสนของมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เอง ว่าเข้าตำรา 2 มาตรฐานหรือไม่

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เซ็นยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่านเมื่อสัปดาห์ก่อน และได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรซแล้ว โดยรัฐบาลไบเดนจะปลดล็อกคำสั่งอายัดเงินสำรองต่างประเทศของอิหร่าน ที่ฝากไว้ที่เกาหลีใต้กว่า 6 พันล้านเหรียญ โดยมีเงื่อนไขว่า เงินสำรองจำนวนนี้ห้ามโอนไปยังอิหร่านโดยตรง แต่ต้องทยอยโอนไปฝากไว้กับบัญชีธนาคารกลางของประเทศกาตาร์ และต้องใช้เพื่อซื้อสิ่งของเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเท่านั้น

นั่นหมายความว่า นอกจากอาหาร ยารักษาโรค หรือของใช้ที่จำเป็นกับประชาชนแล้ว ไม่สามารถถอนเป็นเงินสด หรือนำไปซื้ออาวุธ หรือวัตถุดิบในการผลิตอาวุธได้

ส่วนข้อแลกเปลี่ยนคือ อิหร่านต้องปล่อยตัวนักโทษสหรัฐฯ ที่ถูกจับกุมในอิหร่านจำนวน 5 คน แต่ในขณะเดียวกัน ทางสหรัฐฯ ก็ต้องยอมปล่อยตัวนักโทษอิหร่านในสหรัฐจำนวน 5 คนด้วยเช่นกัน

เงินสำรอง 6 พันล้านของอิหร่านนี้ คือรายได้จากการขายน้ำมันให้กับเกาหลีใต้ แต่โดนรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์ และกลับมาคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ ทำให้ชาติพันธมิตรสหรัฐอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป ถูกกดดันให้อายัดทรัพย์สิน และ เงินสำรองต่างประเทศของอิหร่าน ที่ฝากไว้ในธนาคารทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 1 แสนล้านเหรียญ  แค่เฉพาะในเกาหลีใต้ มีเงินของอิหร่านว่า 7 พันล้านเหรียญ

แต่ในสมัยของอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ มุน แจ-อิน ได้เริ่มทยอยคืนเงินสำรองให้กับรัฐบาลอิหร่านไปแล้วบางส่วน ซึ่งมุน แจ-อิน ได้ส่งนายกรัฐมนตรี จุง เซ-คยุง ไปเยือนกรุงเตหะรานเป็นครั้งแรกในรอบ 44 ปี ให้รู้ว่าเกาหลีใต้ยังต้องการรักษาระดับความสัมพันธ์กับอิหร่านอยู่

แต่พอเกาหลีใต้เปลี่ยนผู้นำมาเป็น ยุน ซ็อก-ย็อล ที่ได้ชื่อว่าเป็นสายเหยี่ยว เรื่องการคืนเงินสำรองให้อิหร่านเลยเงียบไปด้วย จนกระทั่งวันนี้ รัฐบาลไบเดนออกมาไฟเขียว ให้ปล่อยเงินคืนอิหร่านได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ก็สร้างความประหลาดใจไม่น้อย และมาพร้อมกับเสียงคัดค้านจากฝ่ายรีพับลิกัน ที่มองว่า ทำไมข้อตกลงนี้ สหรัฐฯ ดูเสียเปรียบ อิหร่านได้เงินคืน พร้อมนักโทษของตัวเอง แล้วสหรัฐฯ ได้อะไรที่สมน้ำ สมเนื้อกว่านี้บ้าง?

เนื่องจากในอิหร่าน ไม่ได้มีพลเมืองอเมริกันที่ถูกจับตัวในอิหร่านแค่ 5 คน แต่เมื่อดีลมาได้แค่ 5 คน ทำให้ญาติของนักโทษในอิหร่านที่เหลือรู้สึกว่าพวกเขาถูกทอดทิ้ง

อย่างกรณีของ Jamshid Sharmahd วิศวกรชาวเยอรมัน เชื้อสายอิหร่าน แต่ไปตั้งรกรากที่แคลิฟอร์เนีย ถูกจับกุมโดยสายลับอิหร่านขณะที่เขาไปเยือนดูไบ ล่าสุดโดนศาลอิหร่านตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหาคอร์รัปชัน ก็ไม่ได้รวมอยู่ในรายชื่อนักโทษอเมริกัน 5 คน ที่ได้รับการปล่อยตัว

อีกทั้งยังมีคำถามมากมายจากกลุ่มการเมืองในสหรัฐ ที่มองว่าทำไมรัฐบาลไบเดน ถึงยอมผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านในตอนนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าอิหร่านยกเลิกโครงการนิวเคลียร์แล้ว แถมเพิ่งจะขายโดรนพิฆาตให้รัสเซียไปถล่มยูเครนอีกต่างหาก

แต่ในขณะเดียวกัน กับ คิม จอง-อุน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่กำลังมุ่งหน้าไปเยือนรัสเซีย ซึ่งเชื่อว่าไปเพื่อทำข้อตกลงขายอาวุธให้กับปูติน สหรัฐก็ออกมาแยกเขี้ยวขู่แล้วว่าจะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร กดดันเกาหลีเหนือยิ่งขึ้นอีก นี่ขนาดยังไม่ทันขายเลย แต่อิหร่านนั้นขายให้แล้วเห็นๆ กลับยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรให้เฉย ไม่ลักลั่นย้อนแย้งไปหน่อยหรือ???

แต่ว่า นี่เป็นรัฐบาลของปู่โจ ความพอใจของปู่โจ แกจะทำอะไรก็ได้ ซึ่งมาตรการของสหรัฐฯ ก็ไม่ได้มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวอยู่แล้ว ลื่นไหลไปตามสถานการณ์ รัฐบาลนี้คืน เดี๋ยวรัฐบาลหน้าก็อาจจะยึดใหม่ก็ได้นาจ๊า

‘ไบเดน’ ซุ่มเจรจาค้าอาวุธครั้งใหญ่กับ ‘เวียดนาม’ อาจทำข้อตกลงปีหน้า คาด!! ‘จีน-รัสเซีย’ มีเคือง

เมื่อวานนี้ (24 ก.ย. 66) สำนักข่าวรอยเตอร์ อ้างอิงแหล่งข่าว รายงานเมื่อวันเสาร์ (23 ก.ย.) ว่า รัฐบาลไบเดนกำลังหารือกับรัฐบาลเวียดนามเกี่ยวกับข้อตกลงซื้ออาวุธครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ระหว่างอดีตศัตรูในยุคสงครามเย็น ซึ่งอาจสร้างความไม่พอใจให้จีนและกีดกันซัพพลายอาวุธรัสเซีย

ข้อตกลงดังกล่าวที่อาจมีขึ้นในปีหน้า อาจช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลวอชิงตัน และรัฐบาลฮานอย ด้วยการขายเครื่องบินรบ F-16 ของสหรัฐ เนื่องจากเวียดนามเผชิญความตึงเครียดกับรัฐบาลปักกิ่ง ในข้อพิพาททะเลจีนใต้

แหล่งข่าวรายหนึ่ง เผยว่า ข้อตกลงนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และยังมีเงื่อนไขไม่แน่นอน หรือไม่อาจบรรลุสัญญา แต่ถือเป็นประเด็นสำคัญในการพูดคุยอย่างเป็นทางการระหว่างสหรัฐ-เวียดนาม ในกรุงฮานอย, นิวยอร์ก และกรุงวอชิงตันเมื่อเดือนก่อน

แหล่งข่าวอีกรายบอกว่า รัฐบาลวอชิงตันกำลังพิจารณาเงื่อนไขโครงสร้างทางการเงินแบบพิเศษของอาวุธราคาแพง เพื่อช่วยฮานอยหลีกเลี่ยงการพึ่งพาอาวุธต้นทุนต่ำของรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของทำเนียบขาวและรัฐมนตรีต่างประเทศของเวียดนาม ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ

Texas เหลืออด!! 'ไบเดน' ปล่อยชายแดนทางใต้เป็นจุดเสี่ยงผู้อพยพเถื่อน ชนวนขัดแย้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนอาจถึงขั้นแยกตัวจากสหรัฐฯ


ความขัดแย้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนระหว่างมลรัฐ Texas และรัฐบาลกลางบริเวณชายแดนทางใต้ของมลรัฐ Texas ยังคงดำเนินต่อไป


CBS News Texas ได้พูดคุยกับ Haim Vasquez ทนายความด้านการย้ายถิ่นฐานของ North Texas เพื่อแจกแจงเรื่องราวทั้งหมดและสิ่งที่อาจเกิดขึ้นต่อไป “เราไม่เคยเห็นจุดที่เรามีในตอนนี้” Haim Vasquez ทนายความด้านคนเข้าเมืองกล่าว “อย่าไปถึงจุดนั้นที่เรามีกองกำลังพิทักษ์ชาติของมลรัฐ Texas เจ้าหน้าที่จากสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะของมลรัฐ Texas (The Texas Department of Public Safety : DPS) โดยพื้นฐานแล้วปิดกั้นทางเข้าและรับอำนาจหรือควบคุมชายแดน”


เมื่อวันจันทร์ (22 ม.ค.) ศาลฎีกาสหรัฐฯ กล่าวว่า รัฐบาลกลางมีอำนาจในการถอดลวดหนามที่มลรัฐ Texas ติดตั้งไว้ที่ชายแดนทางใต้ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ กล่าวว่า มลรัฐ Texas มีเวลาจนถึงวันศุกร์ในการให้หน่วยงานรัฐบาลกลางเข้าถึง Eagle Pass แต่ผู้ว่าการ Abbott กำลังเพิ่มความมั่นใจเป็นสองเท่าโดยกล่าวว่าเขาจะเพิ่มการลาดตระเวนตามชายแดน เพิ่มเครื่องกีดขวางและลวดหนามให้มากขึ้น “เราอยู่ในประเด็นที่วิกฤตมากในขณะนี้ เพราะเรากำลังทดสอบแก่นแท้ของความเป็นสาธารณรัฐของสหรัฐอเมริกา และศาลฎีกามีอำนาจหรือไม่ ไม่ว่ามลรัฐต่าง ๆ จะต้องปฏิบัติตามหรือหาทางตีความหรือไม่ก็ตาม ในแบบที่พวกเขาต้องการ” Vasquez กล่าว

แนวกีดขวางป้องกันผู้อพยพผิดกฎหมายในแม่น้ำของมลรัฐ Texas

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Ken Paxton อัยการสูงสุดของมลรัฐ Texas ปฏิเสธคำขอของรัฐบาลกลางในการเข้าถึงชายแดน และเรียกร้องหลักฐานที่ระบุว่ารัฐบาลกลางมีอำนาจเปลี่ยนสวนสาธารณะของมลรัฐ Texas ให้เป็นช่องทางเข้าได้ Vasquez บอกว่าจะต้องรอดูว่าใครจะเริ่มลงมือเพื่อดำเนินการต่อไป “หากรัฐบาลกลางถอยห่างจากเรื่องนี้ พวกเขาจะสูญเสียอำนาจที่พวกเขามีตามคำสั่งของศาลฎีกาแห่งสหรัฐฯอย่างสิ้นเชิง” Vasquez กล่าว

ผู้ว่าการมลรัฐต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกพรรค Republican 25 คนสนับสนุนจุดยืนของผู้ว่าการ Abbott พวกเขากล่าวว่า มลรัฐ Texas มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันตัวเอง ผู้ว่าการ Abbott กล่าวว่าเขาเชื่อว่ามลรัฐเหล่านั้นยินดีส่งทหารของกองกำลังพิทักษ์ชาติไปยังชายแดนหากจำเป็น “ผมคิดว่าตอนนี้เราได้ก้าวข้ามเส้นในความพยายามในการแก้ไขปัญหาแล้ว และตอนนี้พวกเขากำลังทำให้มันกลายเป็นประเด็นทางการเมือง” Vasquez กล่าว

แถลงการณ์ของ Gregg Abbott ผู้ว่าการมลรัฐ Texas เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2024

รัฐบาลกลางได้ทำลายข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกาและมลรัฐต่าง ๆ ฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกามีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางที่คุ้มครองรัฐต่าง ๆ รวมถึงกฎหมายคนเข้าเมืองที่มีอยู่ในหนังสือในขณะนี้ ประธานาธิบดี Biden ได้ปฏิเสธที่จะบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นและยังฝ่าฝืนกฎหมายเหล่านั้นอีกด้วย ผลก็คือเขาได้ทำลายข้อตกลงการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

แม้ว่าจะมีการแจ้งเป็นชุดจดหมาย - ฉบับหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าได้ส่งไปถึงมือเขาเอง - แต่ประธานาธิบดี Biden กลับเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของมลรัฐ Texas ที่ให้เขาปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 

- ประธานาธิบดี Biden ละเมิดคำสาบานของเขาที่จะปฏิบัติตามกฎหมายคนเข้าเมืองที่สภาคองเกรสตราขึ้นอย่างซื่อตรง แทนที่จะดำเนินคดีกับผู้อพยพฐานก่ออาชญากรรมต่อรัฐบาลกลางในการเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ประธานาธิบดี Biden ได้ส่งทนายความของเขาไปที่ศาลรัฐบาลกลางเพื่อฟ้องร้องมลรัฐ Texas ในการดำเนินการเพื่อรักษาความมั่นคงบริเวณชายแดน 
- ประธานาธิบดี Biden ออกคำสั่งให้หน่วยงานของเขาเพิกเฉยต่อกฎเกณฑ์ของรัฐบาลกลางที่บังคับใช้ในการควบคุมตัวผู้อพยพผิดกฎหมาย ผลที่ตามมาคือการอนุญาตให้มีทัณฑ์บนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาอย่างผิดกฎหมาย 
- ประธานาธิบดี Biden ต้องใช้เงินภาษีเพื่อเปิดโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงชายแดนของมลรัฐ Texas เพื่อล่อลวงผู้อพยพผิดกฎหมายออกจากจุดเข้าเมืองตามกฎหมาย 28 จุดตามแนวชายแดนทางใต้ของรัฐนี้ ซึ่งเป็นสะพานที่ยังไม่มีใครเคยจมน้ำ และต้องเสี่ยงลงไปในแม่น้ำริโอแกรนด์ที่อันตราย 

ภายใต้นโยบายชายแดนที่ผิดกฎหมายของประธานาธิบดี Biden ผู้อพยพผิดกฎหมายมากกว่า 6 ล้านคนได้ข้ามชายแดนทางใต้ของเราในเวลาเพียง 3 ปี ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรของมลรัฐต่าง ๆ 33 รัฐในประเทศนี้ การปฏิเสธในการปกป้องประเทศอย่างผิดกฎหมายได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อผู้คนทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา 

James Madison, Alexander Hamilton และบรรดาคนอื่น ๆ ผู้ที่เขียนรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ เล็งเห็นล่วงหน้าว่ามลรัฐต่าง ๆ ไม่ควรตกอยู่ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีที่ไม่เคารพกฎหมาย ซึ่งไม่ได้ทำอะไรเพื่อหยุดยั้งภัยคุกคามจากภายนอก เช่น แก๊งค้ายาที่ลักลอบขนผู้อพยพผิดกฎหมายหลายล้านคนข้ามพรมแดน นั่นคือเหตุผลที่ผู้วางกรอบรวมทั้งมาตรา IV § 4 ซึ่งสัญญาว่ารัฐบาลกลาง “จะปกป้อง (มลรัฐ) แต่ละแห่งจากการรุกราน” และมาตรา I § 10 ข้อ 3 ซึ่งยอมรับ “ผลประโยชน์อธิปไตยของรัฐในการปกป้อง พรมแดนของพวกเขา” Arizona กับสหรัฐอเมริกา 567 U.S. 387, 419 (2012) ((Scalia, J., ผู้คัดค้าน) 

ความล้มเหลวของฝ่ายบริหารของ Biden ในการปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดโดยมาตรา IV § 4 ได้ก่อให้เกิดมาตรา I § 10 ข้อ 3 ซึ่งขอสงวนสิทธิ์ในการป้องกันตัวเองสำหรับรัฐนี้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงได้ออกประกาศภายใต้มาตรา 1 § 10 ข้อ 3 เพื่อเรียกร้องอำนาจตามรัฐธรรมนูญของมลรัฐ Texas ในการปกป้องและคุ้มครองตัวเอง อำนาจนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและแทนที่กฎเกณฑ์ของรัฐบาลกลางใด ๆ ที่ตรงกันข้าม กองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติของมลรัฐ Texas สำนักงานความปลอดภัยสาธารณะของมลรัฐ Texas และเจ้าหน้าที่ของมลรัฐ Texas อื่น ๆ กำลังดำเนินการตามอำนาจดังกล่าว เช่นเดียวกับกฎหมายของรัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยบริเวณชายแดนของมลรัฐ Texas

Gregg Abbott ผู้ว่าการมลรัฐ Texas


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top