Friday, 4 April 2025
ไทย

สหรัฐประณามไทยส่ง 40 อุยกูร์กลับจีน แต่ตัวเองก็ไล่ตะเพิดผู้อพยพไม่ต่างกัน

(28 ก.พ. 68) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์แสดงความไม่พอใจต่อการที่รัฐบาลไทยส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์อย่างน้อย 40 คนกลับไปยังจีนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวทำให้ชาวอุยกูร์ต้องกลับไปเผชิญสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยไม่มีหลักประกันในการได้รับกระบวนการทางกฎหมายที่เหมาะสม พร้อมย้ำว่ากลุ่มชาติพันธุ์นี้เคยถูกกดขี่ ข่มเหง บังคับใช้แรงงาน และทรมานภายใต้การปกครองของจีน

“ในฐานะพันธมิตรที่ยาวนานของไทย เรารู้สึกตกใจกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งอาจขัดแย้งกับพันธกรณีของไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน รวมถึงข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้หายสาบสูญ” แถลงการณ์ระบุ

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังชี้ว่า การส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีนขัดกับแนวทางดั้งเดิมของไทยที่ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองกลุ่มผู้ลี้ภัยที่อยู่ในภาวะเปราะบาง ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทย และประเทศอื่น ๆ ที่มีชาวอุยกูร์ลี้ภัยอยู่ หลีกเลี่ยงการส่งพวกเขากลับไปยังจีน

สหรัฐฯ ย้ำข้อกล่าวหาต่อจีนว่า ทางการปักกิ่งภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีพฤติกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในซินเจียง พร้อมเรียกร้องให้มีการติดตามตรวจสอบอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้ที่ถูกส่งตัวกลับ และให้รัฐบาลไทยแสดงความชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สหรัฐอเมริกาออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของไทย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่านโยบายต่อต้านผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ขัดแย้งต่อหลักสิทธิมนุษยชนเช่นกัน 

รมว.ต่างประเทศสหรัฐอ่อนซ้อม แก้ปัญหาอุยกูร์ไม่ได้ สะท้อนอาเซียนเมินสหรัฐฯ หันหา 'จีน-รัสเซีย' มากขึ้น

(28 ก.พ. 68) การส่งตัวชาวมุสลิมอุยกูร์จากไทยกลับสู่จีน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนใหม่ 'มาร์โก รูบิโอ' ยังอ่อนประสบการณ์ สะท้อนถึงความล้มเหลวในความพยายามของ มาร์โค รูบิโอ ที่จะรักษาความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับไทย

ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระหว่างการให้การต่อสภาคองเกรสก่อนเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รูบิโอเน้นย้ำถึงความสำคัญของการล็อบบี้รัฐบาลไทยไม่ให้ส่งตัวอุยกูร์กลับจีน โดยระบุว่า “ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และเป็นพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด” อย่างไรก็ตาม เพียงหนึ่งเดือนหลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่ง รัฐบาลไทยก็ตัดสินใจดำเนินการสวนทางกับความพยายามของวอชิงตัน

รูบิโอออกแถลงการณ์ทันทีหลังการส่งตัวเกิดขึ้น โดยระบุว่า “เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการที่ไทยบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีน” พร้อมเตือนว่าไทยอาจละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานของสหประชาชาติ เขายังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยตรวจสอบว่าจีนปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์หรือไม่

ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติตะวันตกแสดงความไม่พอใจ สถานเอกอัครราชทูตจีนในไทยออกแถลงการณ์ตอบโต้ โดยยืนยันว่าการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีนนั้นเป็นไปตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมชี้ว่า “บุคคลบางส่วนที่ถูกส่งกลับมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย”

ข้อกล่าวหาที่ว่ากลุ่มอุยกูร์บางส่วน มีความเกี่ยวข้องกับ ‘ขบวนการอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก’ (ETIM) ซึ่งเป็นองค์กรก่อการร้ายไม่ได้กล่าวหาแบบไร้หลักฐาน เพราะตามรายงานของ Reuters เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ระบุว่า เจ้าหน้าที่จีนเคยเตือนว่าชาวอุยกูร์ที่หลบหนีผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเป้าหมายจะนำแนวคิดญิฮาดกลับไปยังจีน โดยมีบางส่วนเดินทางไปเข้าร่วมรบในซีเรียกับกลุ่ม Turkistan Islamic Party (TIP)

นอกจากรอยเตอร์ ช่วงที่ผ่านมามีสื่อตะวันตกเริ่มให้ความสนใจกับประเด็นนี้มากขึ้น เช่น The Economist รายงานว่า “Militant Uyghurs in Syria threaten the Chinese government” และ The Telegraph พาดหัวข่าวว่า “Uyghur fighters in Syria vow to come for China next” ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของรัฐบาลจีนที่เพิ่มขึ้น

เหตุการณ์ล่าสุดนี้ถูกมองว่าเป็นสัญญาณว่าไทยเอนเอียงไปทางจีนมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ ในขณะที่สหรัฐฯ และสหประชาชาติแสดงความ 'เสียใจ' ต่อการกระทำของไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการทูตชี้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับดุลอำนาจระหว่างไทย-จีน-สหรัฐฯ

เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า ในวันเดียวกับที่ไทยส่งตัวอุยกูร์ให้จีน ทางรัสเซียได้ส่ง เซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงไปหารือกับผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งทั้งอินโดฯ และมาเลเซีย กำลังพยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  BRICS อย่างชัดเจนตลอดช่วงที่ผ่านมา สะท้อนว่าทั้งรัสเซีย-จีน ต่างกำลังขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคงต้องจับตากันว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่นำโดยรัฐมนตรีใหม่ถอดด้านอย่าง มาร์โก รูบิโอ จะแก้เกมนี้เช่นไร

‘ก.ยุติธรรม’ จับมือ ‘พันธมิตรจีน’ จัด ‘สัมมนาด้านกฎหมายฯ’ ผลักดันความร่วมมือทางกฎหมายมิติใหม่ ระหว่าง 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ (27 มี.ค. 68) กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สมาคมการค้าวิสาหกิจจีน-ไทย บริษัทสำนักงานกฎหมาย ดีทีแอล จำกัด และสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน จัดสัมมนาความร่วมมือด้านกฎหมายไทย-จีน ฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน เพื่อผลักดันความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างสองประเทศให้เกิดมิติใหม่ในการสร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อวิสาหกิจจีนและไทย ในการร่วมมือกันขยายการลงทุนและสร้างมิตรภาพทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างไทยและจีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนของทั้งสองประเทศ เนื่องในปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีแห่งความสัมพันธ์ไทย-จีน จึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรมและองค์กรภาคธุรกิจของจีน จัดงาน ‘สัมมนาความร่วมมือด้านกฎหมายไทย-จีน ฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน’ เพื่อเสริมสร้างโอกาสใหม่ในการร่วมมือกันในด้านกฎหมาย สนับสนุนการลงทุน และสร้างแนวทางที่เป็นธรรมสำหรับนักลงทุนจีนและไทย 

นายสื่อ ต้าถัว ประธานสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน และประธานบริษัท สำนักงานกฎหมาย ดีทีแอล จำกัด เปิดเผยว่า ประเทศไทยและจีนมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากันมาอย่างยาวนาน ซึ่งนับเป็นเวลา 50 ปีแห่งความร่วมมือในหลากหลายมิติ รวมถึงการขยายการลงทุนที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสองประเทศ

การสัมมนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือช่วยเหลือให้การทำธุรกิจของวิสาหกิจจีนในประเทศไทยเป็นไปอย่างราบรื่น โดยให้ความสำคัญกับการระงับข้อพิพาททางเลือกเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหา เช่น การประนอมข้อพิพาท ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจของจีนและไทยเป็นไปอย่างสันติและยั่งยืน

ภายในงานยังมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันอนุญาโตตุลาการของไทย กับ สถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศนครกวางโจว ประเทศจีน และบริษัท สำนักงานกฎหมาย ดีทีแอล จำกัด และระหว่างสมาคมการค้าวิสาหกิจจีน-ไทย กับ ศูนย์ระงับข้อพิพาททางเลือกระหว่างประเทศไทย-จีน (TCIAC) เพื่อกระชับความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย และเผชิญปัญหาทางกฎหมายหรือข้อพิพาททางธุรกิจ 

นอกจากนี้ ยังมีการจัด Forum หัวข้อ ‘การแก้ไขข้อพิพาททางการค้าอย่างมีประสิทธิผลสำหรับวิสาหกิจจีนในประเทศไทย’ โดยมีตัวแทนจากภาคธุรกิจจีนและตัวแทนจากทนายเข้าร่วมให้มุมมองเชิงลึก พร้อมการบรรยายในหัวข้อ ‘กลยุทธ์การป้องกันและรับมือความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของยุโรปและสหรัฐฯ สำหรับวิสาหกิจการผลิตจีนในประเทศไทย’ โดยตัวแทนจาก บริษัทสำนักงานกฎหมาย ดีทีแอล จำกัด และ ‘การไกล่เกลี่ยและการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ กลไกสันติวิธีเพื่อมิตรภาพไทย-จีน’ โดยรองผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ

การสัมมนาครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างดี โดยมีวิสาหกิจจีนเข้าร่วมมากกว่า 300 ราย รวมถึงทนายความและนักกฎหมายจากทั้งประเทศไทยและจีนกว่า 100 ราย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจของทั้งสองประเทศให้เติบโตไปพร้อมกันบนพื้นฐานของกฎหมายที่มั่นคงและเป็นธรรม เพื่อให้การลงทุนจีน-ไทยดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

เอกอัครราชทูตจีนแสดงความเสียใจ พร้อมหนุนไทยหาสาเหตุอาคารถล่ม

(1 เม.ย. 68) นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิต และยืนยันว่าทางการจีนจะร่วมมือกับไทยในการสืบหาสาเหตุ เนื่องจากมีบริษัทจีนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารนี้ โดยรัฐบาลจีนได้สั่งให้บริษัทผู้ก่อสร้างให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ พร้อมทั้งให้ความเชื่อมั่นว่าการสอบสวนของทางการไทยจะเป็นไปอย่างยุติธรรม

ขณะที่ นายอนุทินกล่าวขอบคุณทางการจีนที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือประเทศไทยเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยมาโดยตลอด โดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงที่สุดที่อาคาร สตง. แห่งใหม่ที่พังถล่ม 

ส่วนอาคารอื่น ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยและยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทางการไทยจึงเร่งสืบหาสาเหตุของการถล่ม เนื่องจากอาคารดังกล่าวเพิ่งสร้างเสร็จและถูกออกแบบให้ทนต่อแผ่นดินไหว กระทรวงมหาดไทยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยให้รายงานผลภายใน 7 วัน

ปี้บ่อนเบี้ย : จากเศรษฐกิจเงา สู่บาดแผลของชาติ บทเรียนจากรัชกาลที่ 5 ถึงสังคมไทยปัจจุบัน

(3 เม.ย. 68) กลางแสงไฟมัวหมองของโรงบ่อนในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียงเม็ดถั่วกระทบโต๊ะหินดังกระทบหูผู้คนที่เบียดเสียดกันในวงพนัน ภาพชายชาวจีนในเสื้อคอกลม มือข้างหนึ่งถือ “ปี้” เซรามิก อีกข้างคลึงลูกปัดนับแต้ม เสียงเรียก “ถั่วโป!” ดังสลับกับเสียงหัวเราะคละเคล้าเสียงถอนหายใจ เป็นฉากชีวิตที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องปกติในหัวเมืองสยามจากเกมเสี่ยงโชค สู่กลไกรัฐ: บ่อนเบี้ยและอากรในราชสำนัก

หากมองการพนันเพียงผิวเผิน อาจเป็นเพียงเรื่องของความบันเทิงส่วนบุคคล แต่ในสมัยอยุธยาเรื่อยมาถึงต้นรัตนโกสินทร์ การพนันกลับกลายเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของรัฐ ผ่านระบบสัมปทานที่เรียกว่า “อากรบ่อนเบี้ย” รัฐเปิดให้เอกชนผูกขาดกิจการบ่อน แลกกับการเก็บภาษีเข้าท้องพระคลัง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยทำรายได้ถึงปีละ 400,000 บาท

ขุนพัฒน์ แซ่คู และอำนาจในเงามืด

ในกลุ่มผู้รับสัมปทานบ่อนเบี้ย “นายอากร” ที่มีบทบาทสำคัญคือ นายเส็ง แซ่คู (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ชินวัตร”) ผู้ได้รับสัมปทานบ่อนในจันทบุรี ก่อนจะขยายอิทธิพลไปสู่ภาคเหนือ เบื้องหลังความสำเร็จของนายเส็ง คือความชำนาญในการจัดการระบบปี้ — เหรียญเซรามิกที่ใช้แทนเงินในบ่อน

แต่ปี้ไม่ได้อยู่แค่ในวงพนัน เมื่อเศรษฐกิจขาดแคลนเงินปลีก ปี้เหล่านี้ก็หลุดออกมาสู่ตลาด ถูกใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายของจริง กลายเป็น “เงินคู่ขนาน” ที่ไม่ผ่านมือรัฐ

พระราชหัตถเลขาจากยุโรป: เมื่อในหลวงทรงลองเล่นการพนัน

ในพระราชหัตถเลขาเมื่อปี พ.ศ. 2450 ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพจากเมืองซานเรโม อิตาลี พระองค์ทรงเล่าว่า

> “ได้เรียนตำราเล่นเบี้ยอย่างฝรั่งเข้าใจ ข้อซึ่งเข้าใจว่าเล่นไม่น่าสนุกนั้น ไม่จริงเลย สนุกยิ่งกว่าอะไร ๆ หมด
ชาวบางกอกรู้ได้ไปเล่นแล้ว ฉิบหายกันไม่เหลือ”

เป็นคำกล่าวที่ไม่ได้มีเจตนาเย้ยหยันประชาชน แต่แฝงไว้ด้วยความห่วงใยอย่างลึกซึ้ง หากกิจกรรมอย่างการพนันที่สนุกเกินต้าน ไร้การควบคุม เข้าถึงปัจเจกชนอย่างไม่มีกรอบ — สังคมจะเดินไปทางใด?

เลิกบ่อน: การปฏิรูปครั้งใหญ่ในยุครัชกาลที่ 5

หลังเสด็จกลับจากยุโรป รัชกาลที่ 5 ทรงตัดสินใจเลิกบ่อนเบี้ยทั่วราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2460 โดยมีการสำรวจพบว่า หลังเลิกบ่อนแล้ว อาชญากรรมลดลง วิวาทในครอบครัวลดลง และการค้าขายกลับดีขึ้น

จากพระราชดำรัส...สู่คำถามในยุคปัจจุบัน

บทเรียนจากอดีตถูกบันทึกไว้ครบถ้วน ทว่าผ่านมาเพียงร้อยปี คำถามกลับหวนกลับมาอีกครั้งในรูปของ “คาสิโนถูกกฎหมาย” ที่ถูกเสนอเป็นนโยบายเพื่อหารายได้เข้ารัฐ

ใช่, รายได้จากคาสิโนอาจมหาศาล แต่หากไม่เข้าใจบทเรียนของ "ปี้โรงบ่อน" ไม่เข้าใจว่าทำไมรัชกาลที่ 5 จึงยอมเสียรายได้จำนวนมหาศาลเพื่อปิดบ่อน แล้วเราในวันนี้จะเดินหน้าไปโดยไม่สนใจร่องรอยจากอดีตเลยหรือ?

บทสรุป: การพนันไม่ใช่สิ่งเลวร้ายในตัวเอง — หากควบคุมไม่ได้ มันก็กลายเป็นภัย

การพูดถึงปี้ในบ่อนเบี้ย หรือชื่อของผู้ที่เคยได้รับสัมปทาน ไม่ได้หมายถึงการประณามหรือรื้อฟื้นเพื่อลงโทษใครในประวัติศาสตร์ หากแต่เป็นการย้ำเตือนว่า ระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่ไม่อยู่ภายใต้กรอบความรับผิดชอบของรัฐ — ย่อมย้อนกลับมาทำลายสังคมในที่สุด

และไม่ว่าคาสิโนจะถูกเรียกด้วยถ้อยคำใหม่ว่า “รีสอร์ทครบวงจร” หรือ “เครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจ” คำถามเดิมก็ยังตามมา :

เราแน่ใจหรือว่าได้วางรากฐานไว้ดีพอ…ก่อนจะอนุญาตให้คนทั้งประเทศเข้าไปเล่นด้วยกัน?

บรรณานุกรม
1. ธัชพงศ์ พัตรสงวน. “ปี้ในบ่อนเบี้ยหัวเมือง.” กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 2565.
2. เฉลิม ยงบุญเกิด. ปี้โรงบ่อน. พระนคร: ศิวพร, 2514.
3. Kom Chad Luek. “เปิดตำนานตระกูลชินวัตร.” คมชัดลึกออนไลน์, 2566.
4. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8, ตอนที่ 40. “ข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย.” 3 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434).
5. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.
6. เอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติ. “บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ.” กรมราชเลขาธิการ ร.5 ค 14.1 ค/2.

เปิดชื่อ ‘189 อดีตสว.’ แถลงต้านรัฐบาลดัน ‘กม.กาสิโน’ พร้อมกาง 6 ข้อเตือน ชี้! ไม้ขีดก้านเดียวทำไฟไหม้บ้านพินาศได้

เปิดชื่อ"189 อดีตสว." แถลงต้านรัฐบาลดัน "กม.กาสิโน" กาง 6 ข้อเตือน! ไม้ขีดก้านเดียวทำไฟไหม้บ้านพินาศ
(3 เม.ย. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 189 คน ออกแถลงการณ์กรณีที่รัฐบาลเร่งรีบบรรจุวาระร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่า

คำแถลงของอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เรียนประธานรัฐสภา หัวหน้าพรรคการเมือง และพี่น้องประชาชนไทย เรื่องคัดค้านร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร และร่างกฎหมายการพนันออนไลน์ มีเนื้อหาดังนี้

ข้าพเจ้า อดีตสมาชิกวุฒิสภา ตามรายชื่อที่ปรากฏข้างท้ายนี้ ขอแถลงว่า ในฐานะประชาชนที่มีความห่วงใยประเทศชาติ และในฐานะผู้เคยทำหน้าที่นิติบัญญัติแห่งรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันว่าร่างกฎหมายสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) และร่างกฎหมายการพนันออนไลน์ ที่จะนำเข้าสู่การรับรองของสภาผู้แทนราษฎร ในระยะใกล้นี้ จะเป็นหายนะภัยอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ ประชาชน และต่ออนาคตของลูกหลานคนไทยทั้งปวง เราขอแสดงทัศนะ ดังนี้

1.กาสิโนและการพนัน ไม่ใช่นโยบายที่พรรคร่วมรัฐบาลเคยประกาศรณรงค์ ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่เป็นโครงการงอกขึ้นมาใหม่แบบผิดปกติ ซึ่งรัฐบาลกลับเห็นเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญ โดยจะเร่งนำเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันก่อนปิดสมัยการประชุมสภา ในวันที่ 10 เมษายน 2568 ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องรอได้ เมื่อเทียบกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เมื่อ 28 มีนาคม 2568 ที่ประชาชนทั้งประเทศตระหนกตกใจ และเรียกหามาตรการป้องกันภัยพิบัติในอนาคตอย่างเร่งด่วน แต่กลับไม่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาล

2.ข้ออ้างของรัฐบาล เรื่องจะใช้พื้นที่สำหรับกาสิโนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถือว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะกาสิโนมีฤทธิ์แรงร้ายที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ไม้ขีดก้านเดียวทำให้ไฟไหม้บ้านพินาศทั้งหลังได้ การพนันออนไลน์ไม่ต้องมีพื้นที่ทางกายภาพแม้เพียงตารางนิ้วเดียว แต่ทำให้เหยื่อสิ้นเนื้อประดาตัวได้ เชื้อมะเร็งที่ปอดขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว แต่ก็ลุกลามทำลายร่างกายให้เจ็บและเสียชีวิตได้ พื้นที่มากน้อยจึงไม่สำคัญเท่าพิษสงของการพนัน
3.อำนาจการพิจารณาอนุญาตและการบริหารจัดการในรายละเอียด เช่น การกำหนดพื้นที่และสัดส่วน หลักเกณฑ์การควบคุมป้องกันอบายมุขอื่นๆ การเก็บภาษี การยกเลิกกฎหมายและกฎระเบียบ ค่าธรรมเนียมในอนาคต การตรวจสอบถ่วงดุล ฯลฯ เหมือนโอนลอยอำนาจไปอยู่ในมือของคณะกรรมการนโยบายที่เปิดทาง และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจ ทุจริตได้อย่างไร้ขอบเขตทำให้ไม่สามารถวางใจได้ว่าโครงการจะดำเนินไปอย่างโปร่งใสสุจริต มาตรฐานการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตของไทยนั้น ไม่อาจเทียบได้เลยกับสิงคโปร์ ดังที่รับทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว

4.โครงการการพนันครบวงจรตามกฎหมายสองฉบับนี้ ไม่สามารถสร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจได้จริงตามที่กล่าวอ้างสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) ชี้ไว้แล้วว่า การพนันไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP เพราะปราศจากการผลิตใดๆ เป็นเพียงการย้ายเงินจากมือคนหนึ่งไปสู่มืออีกคนหนึ่งเท่านั้น การพนันจึงเป็นกิจกรรมเสี่ยง ที่สร้างนักพนันเสพติด ทำให้คนเล่นหรือเหยื่อหมดเนื้อหมดตัว มีแต่เจ้ามือที่ร่ำรวย ใครเล่นได้ก็เล่นซ้ำ เพราะอยากได้เพิ่ม คนเล่นเสียก็เล่นซ้ำเพราะต้องการ ทวงคืนไม่มีนักพนันคนไหนมั่งคั่งขึ้นมาจากการพนัน ตรงกันข้ามกลับต้องเป็นหนี้ ต้องขายทรัพย์สิน แม้แต่ต้องฆ่าตัวตายเพื่อหนีหนี้

5.แหล่งกาสิโนและการพนันออนไลน์ คือ ที่รวมของการฉ้อฉลคดโกงทั้งปวง เช่น คอลเซนเตอร์ นักหลอกลวงให้ลงทุน (Scammer)  อาชญากรข้ามชาติ ยาเสพติด ค้ามนุษย์ ค้าประเวณี โจร นักตีชิงวิ่งราว และเป็นแหล่งเพาะอบายมุขทั้งปวง ที่ชุมนุมกันอยู่ตามบ่อนชายแดนให้รู้เห็น กันโดยทั่วไป แล้วถึงขั้น รัฐบาลต้องตัดไฟ ตัดการสื่อสาร ตัดการส่งพลังงาน แล้วเหตุใดรัฐบาลยังไม่ตระหนักถึงมหันตภัยเหล่านี้

6.กาสิโนไม่ได้ทำให้ประเทศร่ำรวยจริงตามคำโฆษณาของรัฐบาล ฟิลิปปินส์มีกาสิโน 50 แห่ง นับตั้งแต่ 50 ปีก่อน อีก 3 ประเทศ เริ่มมีกาสิโนตั้งแต่ 30 ปีก่อน คือ เมียนมามี 230 แห่ง ลาวมี 2 แห่ง กัมพูชามี 150 แห่ง ถ้ากาสิโนทำให้ประเทศมั่งคั่งขึ้นมาจริง ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านนับแสนนับล้านคน ทำไมต้องอพยพมาทำงานในประเทศไทย นักพนันมีแต่อนาคตที่จะวิบัติสถานเดียว ดังที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ 100 กว่าปีล่วงมาแล้ว ว่า "ข้อที่เข้าใจกันว่าเล่นไม่สนุกนั้นไม่จริงเลย สนุกยิ่งกว่าอะไรๆ หมด ถ้าชาวบางกอกรู้ ได้ไปเล่นแล้ว ฉิบหายกันไม่เหลือ ถ้าหากไปถึงเมืองเราเข้าเมื่อไร จะรอช้าสักวันเดียวก็ไม่ควร ต้องห้ามทันที"

ถ้ารัฐบาลเห็นว่า คนไทยทั้งประเทศสมควรตกเป็นทาสการพนัน ที่จะเสียไร่ เสียนา เสียรถ เสียทรัพย์สิน ครอบครัวพินาศ สังคมเสื่อมทราม ก็จงเดินหน้าต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลตระหนักถึงบาปบุญ คุณโทษ ที่คนรุ่นหลังจะต้องเผชิญกับมรดกบาปของแผ่นดิน ก็จงน้อมรับพระราชปณิธานของพระพุทธเจ้าหลวงใส่เกล้าใส่กระหม่อมฯ ด้วยการถอนกฎหมาย ทั้ง 2 ฉบับ ออกไปโดยเร็วเถิด

ด้วยจิตคารวะและปรารถนาดี ลงชื่อ :

1. พล ต.อ.ประทิน สันติประภพ (สว.2543)
2. รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (สว.2543)
3. พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ (สว.2543)
4. สมชาย แสวงการ (สว.2551,2554,2562)
5. รศ.แก้วสรร อติโพธิ (สว.2543)
6. ขวัญสรวง อติโพธิ (สว.2549)
7. ประสาร มฤคพิทักษ์ (สว.2551,2554)
8. พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ (สว.2551,2562)
9. มาลีรัตน์ แก้วก่า (สว.2543)
10.นพ.พลเดช ปิ่นประทีป (สว.2562)

11.สมชาย เสียงหลาย (สว.2562)
12.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม (สว.2562)
13.วัลลภ ตังคณานุรักษ์ (สว.2539,2543,2562)
14.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ (สว.2562)
15.วรารัตน์ อติแพทย์ (สว.2562)
16.นส. รสนา โตสิตระกูล (สว.2549,2551)
17.พลเอก วลิต โรจนภักดี (สว.2562)
18.สุนี  จึงวิโรจน์ (สว.2562)
19.พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ (สว.2562)
20.จินตนา ชัยยวรรณาการ (สว.2562)

21.กำพล เลิศเกียรติดำรงค์ (สว.2562)
22.รณวฤทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล (สว.2562)
23.รศ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร (สว.2562)
24.พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์ (สว.2562)
25.ผศ ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล (สว.2543)
26.รศ พญ พรพันธุ์ บุญรัตพันธุ์ (สว.2551,2554)
27. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร (สว.2562)*
28. พิไลพรรณ สมบัติศิริ (สว.2554)
29.วิชัย ทิตตภักดี (สว.2562)
30.กอบกุล อาภากรณ์ ณ อยุธยา (สว.2562)

31.กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ (สว.2562)
32.ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม (สว.2562)
33.คำนูณ สิทธิสมาน (สว.2551, 2554, 2562)
34.จิรชัย มูลทองโร่ย (สว.2562)
35.นพ.ทวีวงษ์ จุลกมนตรี (สว.2562)
36.พิชัย ขำเพชร (สว.2543)
37.วีระพล วัชรประทีป (สว.2543)
38.จัตุรงค์ เสริมสุข (สว.2562)
39.ศ.พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (สว.2562)
40.หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล (สว.2562)

41.จรินทร์ จักกะพาก (สว.2562)
42.ทพ. อนุศักดิ์ คงมาลัย (สว.2551,2562)
43.ประพันธ์ คูณมี (สว.2562)
44.อภิรดี ตันตราภรณ์ (สว.2562)
45.บรรชา พงศ์อายุกูร (สว.2551,2562)
46.อนุมัติ อาหมัด (สว.2562)
47.เพ็ญพักตร์ ศรีทอง (สว.2562)
48.อำพล จินดาวัฒนะ (สว.2562)
49.ถาวร เทพวิมลเพชรกุล) (สว.2562)
50.จเด็จ อินสว่าง (สว.2562)

51.พลเอก สราวุฒิ ชลออยู่ (สว.2562)
52.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี (สว.2562)
53.มหรรณพ เดชวิทักษ์ (สว.2554,2562)
54.เสรี สุวรรณภานนท์ (สว.2562)
55.วิทวัส บุญญสถิตย์ (สว.2551,2554)
56.มีชัย วีระไวทยะ (สว.2543)
57.พล ต.ต.วีระ อนันตกูล (สว.2543)
58.ถาวร เกียรติไชยากร (สว.2543)
59. สุวัฒน์ จิราพันธุ์ (สว.2562)
60.ชาญวิทย์ ผลชีวิน (สว.2562)

61.พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ (สว.2562)
62.ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย (สว.2562)*
63.ถวิล เปลี่ยนศรี (สว.2562)
64.จารุพงศ์ จีนาพันธ์ (สว.2554)
65.พล.ต.อ. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร (สว.2562)
66. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม (สว.2554,2562)
67. รศ ดร. ทัศนา บุญทอง (สว.2551 /2554)*
68.พลเอก สำเริง ศิวาดำรงค์ (สว.2562)
69.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ (สว.2562)
70.พลเอก ธีรเดช มีเพียร (สว.2522,2554,2562)*

71.วิทยา ผิวผ่อง (สว.2562)
72.นพ. เจตน์ ศิรธรานนท์  (สว.2551,2554,2562)
73. สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย (สว.2551,2554,2562)*
74. ยงยุทธ สาระสมบัติ (สว.2539, 2562)
75. ดวงพร รอดพยาธิ์ (สว.2562)
76.ร.อ.ประยุทธ เสาวคนธ์ (สว.2562)
77. กีรณา สุมาวงศ์ (สว.2539,2551,2554)
78.พล.อ.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ (สว.2562)
79.พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ (สว.2562)
80.ตวง อันทะไชย (สว.2551,2554,2562)

81. ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร (สว.2562) 
82.เตือนใจ ดีเทศน์ (สว.2543)
83.พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (สว 2562)
84.พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย (สว.2562)
85.สำราญ ครรชิต (สว.2562)
86.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (สว.2562)
87.สมชาย ชาญณรงค์กุล (สว.2562)
88.ชลิต แก้วจินดา (สว.2562)
89 เชิดศักดิ์ จำปาเทศ (สว.2562)
90.ศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล (สว.2562)

91.บุญมี สุระโคตร (สว.2562)
92.ประยูร เหล่าสายเชื้อ (สว.2562)
93.พล.อ.ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ (สว.2562)
94. ธานี สุโชดายน (สว.2562)
95.ณรงค์ รัตนานุกูล (สว.2562)
96.พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา (สว.2562)
97.สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ (สว.2562)
98. ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ (สว.2562)
99.พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ (สว.2562)
100.ถาวร ลีนุตพงษ์ (สว.2551/2554)

101.พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ (สว.2562)
102.พลโท อำพน ชูประทุม (สว.2562)
103.พลเอก วสันต์ สุริยมงคล (สว.2562)
104.ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ (สว.2551,2554)
105.พลเอก ประสาท สุขเกษตร (สว.2562)
106.ถนัด มานะพันธุ์นิยม (สว.2562)
107.ดุสิต เขมะศักดิ์ชัย (สว.2562)
108.พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ (สว.2562)
109.รศ.ดร ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ (สว.2562)
110.พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ (สว.2562)
111.พลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล (สว.2562)
112.สมพล พันธุ์มณี (สว.2554)
113.มรว.ปรียนันทนา รังสิต (สว.2551)
114.กิตติ วสีนนท์ (สว.2562)
115.พลเอก ปฐมพงศ์ ประถมภัฏ (สว.2562)
116.เฉลียว เกาะแก้ว (สว.2562)
117.พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร (สว.2562)
118.พลอากาศเอก วีรวิท คงศักด์ ( สว.2551,2554)
119.ลักษณ์ วจนานวัช (สว.2562) 
120.พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป (สว.2562)

121.พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ (สว.2554,2562)
122.วีระศักดิ์ ภูครองหิน (สว.2562)
123.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ (สว 2562)     
124.พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต (สว.2562)
125.ปิยะพันธ์ นิมมานเหมินทร์ (สว.2554,2562)
126.เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ (สว.2562)
127.พิเชต สุนทรพิพิธ (สว.2551,2554)
128.ณรงค์ อ่อนสะอาด (สว.2562)
129.พล.อ.สุนทร ขำคมกุล (สว.2562)
130.สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ (สว.2562)

131.พลเอก ธงชัย สาระสุข (สว.2562)
132.พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข (สว.2562)
133.พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ (สว.2562)
134.นิอาแซ ซีอุเซ็ง (สว.2562)
135.ภาณุ อุทัยรัตน์ (สว.2562)
136.วิรัตน์ เกสสมบูรณ์ (สว.2562)
137.พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร (สว.2562)
138.พลเอก สสิน ทองภักดี (สว.2562)
139.พล.อ.อาชาไนย ศรีสุข (สว.2562)
140.พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง (สว.2562)

141.ดร.ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล (สว.2562)
142.พล.อ.นิวัตร มีนะโยธิน (สว.2562)
143.พล.อ.อักษรา เกิดผล (สว.2562)
144.สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ (สว.2562)
145.พลเอก พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ (สว.2562)
146.พลเอก ทวีป เนตรนิยม (สว.2562)
147.พิศาล มาณวพัฒน์ (สว.2562) 
148.พลตำรวจโท พิสัณห์ จุลดิลก (สว.2562)
149.สมบูรณ์ ทองบุราณ (สว.2543)
150.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (สว.2562)

151.พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ (สว.2562) 
152.พล.ร.อ.กฐนิธ กิตติอำพน (สว.2562)
153.เพิ่มพงษ์ เชาวลิต (สว.2562)
154.พล.ร.อ.พัลลภ ตมิสานนท์ (สว.2562)
155.ศ.เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ (สว.2562)
156.รศ.นรีวรรณ จินตกานนท์ (สว.2554)
157.ไพโรจน์ พ่วงทอง (สว.2562)               
158.พล.อ.วินัย สร้างสุขดี (สว.2562)
159.นพ.เฉลิมชัย เครืองาม (สว.2554/2562)
160.พล.อ.ดนัย มีชูเวท (สว2562)

161.นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ (สว.2562)
163.พล.อ.เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ (สว.2551)
164.พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ (สว.2562 )
165.พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ (สว.2562)
166.นายอุดม  วรัญญูรัฐ (สว.2562)
167.พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร (สว.2543)*
168.พล.ต.โอสถ ภาวิไล (สว.2562)
169.พล.อ.บุญธรรม โอริส (สว.2562)
170.อนุศาสน์ สุวรรณมงคล (สว.2551,2554,2562)

171.พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ (อดีต สว.2551)
172.วรวิทย์ วงษ์สุวรรณ (สว.2551)
173.พล.ต.ท.สานิตย์ มหถาวร (สว.2562)
174.นายประมาณ สว่างญาติ (สว.2562)
175.พล.อ.สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล (สว.2562)
176.พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร (สว.2562)
177.นายอมร นิลเปรม (สว.42,สว.62)
178.ดิเรก ถึงฝั่ง (สว.2551)
179.บุญชัย โชควัฒนา (สว.2551,2554)
180.สุโข วุฑฒิโชติ (สว.2551)

181.เกียว แก้วสุทอ (สว.012 , 2562)
182.ปัญญา งานเลิศ (สว.2562)
183.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (สว.2562)
184.สุมล สุตะวิริยวัฒน์ (สว.2551)
185.สงคราม ชื่นภิบาล (สว.2551)
186.ประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ (สว.2551)
187.พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย (สว.2562)
188.ทรงเดช เสมอคำ (สว.2562)
189.พล.ร.อ.นพดล โชคระดา (สว.2562)

ทั้งนี้ แถลงการณ์ของอดีต สว.ดังกล่าว มี 3 อดีตประธานวุฒิสภา 3 คน ร่วมลงชื่อ คือ พลตรีมนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภา ชุด 2543 , พลเอกธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา ชุด 2554 และ ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย อดีตประธานวุฒิสภาชุด 2562
และอดีตรองประธานวุฒิสภา 3 คน ร่วมลงชื่อ คือ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 สมัย 2554 , รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 สมัย 2551 และ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 สมัย 2562

นอกจากนี้ ยังมีอดีต สว.2539 ร่วมลงชื่อ อาทิ วัลลภ ตังคณานุรักษ์ , กีรณา สุมาวงศ์

อดีต สว.2543 ร่วมลงชื่อ อาทิ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เตือนใจ ดีเทศน์ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง แก้วสรร อติโพธิ มาลีรัตน์ แก้วก่า มีชัย วีระไวทยะ พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ พล.ต.ต.วีระ อนันตกูล ถาวร เกียรติไชยากร พิชัย ขำเพชร วีระพล วัชรประทีป เสรี สุวรรณภานนท์

อดีต สว.2549 อาทิ รสนา โตสิตระกูล ขวัญสรวงค์ อติโพธิ

อดีต สว.2551 มีทั้งเลือกตั้งและสรรหาร่วมลงชื่อ อาทิ สมชาย แสวงการ ประสาร มฤคพิทักษ์ รศ.พญ.พรพันธุ์ บุญรัตพันธุ์ พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ดิเรก ถึงฝั่ง สุขโข วุฒิโชติ บุญชัย โชควัฒนา พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ มรว.ปรียนันทนา รังสิต สงคราม ชื่นภิบาล พิเชต สุนทรพิพิธภัณฑ์ อนุศาสน์ สุวรรณมงคล ตวง อันทะไชย คำนูณ สิทธิสมาน พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์

อดีต สว.2554 ร่วมลงชื่อ อาทิ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ พิไลพรรณ สมบัติศิริ สมพล พันธ์มณี ถาวร ลีนุตพงษ์ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ นพ.เฉลิมชัย เครืองาม วิทวัส บุญญสถิตย์

อดีต สว.2562 ร่วมลงชื่อจำนวนมาก อาทิ คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย พล.ร.อ.ฐนิต กิตติอำพนธ์ พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ พล.อ.สุรพงศ์ สุวรรณอัตถ์ พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ พล.ต.ท.สานิตย์ มหถาวร นพ.พลเดช ปิ่นประทีป วิบูลย์รักษ์ ร่วมลักษณ์ ประพันธ์ คูณมี ศ.พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ จเด็จ อินสว่าง ถวิล เปลี่ยนศรี ชาญวิทย์ ผลชีวิน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อภิรดี ตันตราภรณ์ วีรศักดิ์ โคว้สุรัตน์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ดร.ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล กอบกุล อาภากรณ์ ณ อยุธยา นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ ลักษณ์ วจนานวัช พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ฯลฯ

รวมอดีต สว.ที่ร่วมลงชื่อเบื้องต้น 189 คน และกำลังทะยอยลงชื่อสมทบเพิ่มเติม อีกจำนวนมาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top