Tuesday, 22 April 2025
โมลนูพิราเวียร์

'หมอมนูญ' ชี้ยา 'โมลนูพิราเวียร์' ตัวเปลี่ยนเกม ช่วยโควิดในไทย 'ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต'

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า

เปรียบเทียบประสิทธิภาพยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์กับยาโมลนูพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพช่วยให้อาการดีขึ้น ลดความรุนแรงของโรค ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย ลดการใช้ออกซิเจนได้ แต่ช่วยได้น้อยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ช่วยลดการเสียชีวิตในคนไข้โรคโควิด-19

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่คิดค้นยาฟาวิพิราเวียร์ รวมทั้งหลายประเทศไม่รับรองให้ใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคโควิด ด้วยเหตุผลให้ยากับไม่ให้ยา ผลการรักษาต่างกันน้อยมาก และยังได้ผลข้างเคียงจากยา

ผลศึกษา ‘โมลนูพิราเวียร์’ ต้านได้ทุกสายพันธุ์ เปิดไทม์ไลน์เข้าไทย ได้ใช้เร็วที่สุด ธ.ค.นี้

สธ.เผยผลศึกษา ‘โมลนูพิราเวียร์’ ใช้ได้ผลดีในกลุ่มอาการเล็กน้อย-ปานกลาง ยับยั้งโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ พร้อมเปิดไทม์ไลน์เข้าไทย ได้ใช้เร็วที่สุด ธ.ค.นี้

วันที่ 6 ต.ค. 64 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้ายาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์ ระบุว่าการฉีดวัคซีนทำให้ผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตลดน้อยลงได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ บางรายจึงอาจมีการติดเชื้อและมีอาการหนักได้ ซึ่งกรมการแพทย์ได้หารือกับบริษัทต่างๆ ที่ทำการทดลองยาต้านไวรัสในต่างประเทศมาโดยตลอด รวมถึงยาโมลนูพิราเวียร์ ด้วย 

โดยยาต้านไวรัสตัวนี้ คือยาต้านไวรัสโดยการยับยั้งการจำลองตัวเองของเชื้อโควิด-19 เมื่อเชื้อไวรัสไปอยู่ในเซล เชื้อจะไปจำลองตัวเองเพื่อแบ่งตัว ทำให้ไวรัสมากขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่อสู้ไม่ได้ แต่ยาโมลนูพิราเวียร์จะไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนตัวเองของไวรัส ซึ่งข้อมูล ณ ขณะนี้ยืนยันว่าสามารถใช้ได้กับโควิดเกือบทุกสายพันธุ์ที่มีในปัจจุบันทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม แกมมา เดลตา หรือมิว 

ในการวิจัยของบริษัทผู้ผลิตเป็นแบบสุ่มระยะที่ 3 MOVe-OUT Trial ซึ่งการใช้ยาตัวนี้จะใช้ในผู้ป่วยอาการเล็กน้อย - ปานกลาง ยังไม่ได้รับวัคซีน และจะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรงอย่างน้อย 1 ปัจจัย คือ ภาวะอ้วน, อายุ 60 ปีขึ้นไป, เบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง ซึ่งจะให้ยาภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ

จากข้อมูลการวิเคราะห์เบื้องต้น ในผู้ที่ได้รับยา 775 คน แบ่งเป็นได้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน และยาหลอก 377 คน โดยยามีขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม ให้ครั้งละ 4 เม็ด 800 มิลลิกรัม เช้า - เย็น รวมวันละ 1,600 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วันรวม 40 เม็ด พบว่าลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตประมาณ 50% ไม่พบผู้เสียชีวิตในผู้ที่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ และเสียชีวิต 8 รายในผู้ที่ได้รับยาหลอก  อย่างไรก็ตาม ในการทดลองใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก พบว่าไม่ได้ผล จึงได้เลิกการวิจัย

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินการของยาโมลนูพิราเวียร์นั้น บริษัท Merck ผู้ผลิตจะดำเนินการยื่นขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ถ้าผ่านการขึ้นทะเบียนจะเป็นยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดตัวแรก ที่จะได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐฯ ซึ่ง Merck ตั้งเป้าผลิตให้ได้สำหรับ 10 ล้านคน ภายในสิ้นปีนี้ หรืออีก 3 เดือน โดย Merck มีแผนการทำสัญญากับฐานการผลิตยาหลายแห่งในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ในเอเชียมีการหารือร่วมกับประเทศอินเดีย 5 - 6 บริษัท

‘เมอร์ค’ ตั้งราคา ‘โมลนูพิราเวียร์’ สูงเกินจริงถึง 40 เท่า

บริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการเปิดตัวยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่จุดประกายความหวังในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ได้คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 4.8 ล้านราย

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า เมอร์ค ได้ตั้งราคา ยาโมลนูพิราเวียร์ ที่เรียกเก็บจากรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าต้นทุนการผลิตถึง 40 เท่า

รายงานวิเคราะห์ราคายาโมลนูพิราเวียร์ที่จัดทำโดย Harvard School of Public Health และ King’s College Hospital พบว่า เมอร์ค มีต้นทุนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์เพียง 17.74 ดอลลาร์ต่อ 1 คอร์ส หรือราว 600 บาท แต่ได้คิดราคาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงคอร์สละ 700 ดอลลาร์ หรือราว 24,000 บาท ซึ่งสูงกว่าต้นทุนถึง 40 เท่า

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงกับบริษัทเมอร์คเพื่อสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 1.7 ล้านคอร์ส ด้วยวงเงิน 1,200 ล้านดอลลาร์ โดยมีราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์

ยา 1 คอร์สประกอบด้วยยาโมลนูพิราเวียร์ขนาด 200 มิลลิกรัม จำนวน 40 เม็ดสำหรับผู้ป่วย 1 คน โดยผู้ป่วยจะรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน

รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า ในช่วงเริ่มแรก รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานหลายแห่งในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ต่อมาในเดือนพ.ค. 2563 เมอร์คได้ซื้อลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่ายยาโมลนูพิราเวียร์แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เมอร์คเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ยาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา และสามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 50%

การประกาศดังกล่าวของเมอร์ค ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกแห่จองซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จากเมอร์ค ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะสามารถผลิตได้ 10 ล้านคอร์สภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้เมอร์คมีรายได้จากการจำหน่ายยาดังกล่าวสูงถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.4 แสนล้านบาท

รัฐบาลอินโดฯ บินด่วนเจรจา Merck ตั้งโรงงานผลิตยา Molnupiravir

สื่อท้องถิ่นอินโดนีเซียรายงานว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเจรจากับบริษัท Merck ของสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิต Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) ยารักษาโควิด-19 เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตยาดังกล่าวในอินโดนีเซีย

ลูฮัต บินซาร์ ปันด์ไจตัน (Luhut Binsar Pandjaitan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนของอินโดนีเซีย เผยว่า วันนี้ (20 ต.ค.) ตนพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อเจรจากับบริษัทผู้ผลิตยาในประเด็นดังกล่าว

พร้อมเสริมว่า อินโดนีเซียต้องการเป็นมากกว่าผู้ซื้อ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการลงทุนและตั้งโรงงานผลิตยา Molnupiravir ในอินโดนีเซียในอนาคต

“โฆษกรัฐบาล” เผย “นายก” ปลื้ม ฉีดวัคซีนแตะ 80 ล้านโดส โว รั้งอันดับ 18 จาก 184 ประเทศทั่วโลก ชี้ สธ.เร่งซื้อ ”แพกซ์โลวิด- โมลนูพิราเวียร์”รักษาโควิด

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พอใจการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 ในไทย มีสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง แนวโน้มผู้ติดเชื้อใหม่ลดลงอยู่ที่หลักพันและยอดผู้เสียชีวิตต่ำกว่าร้อยรายติดต่อหลายสัปดาห์ ขณะที่ผู้รักษาหายป่วยกลับบ้านมากกว่ายอดผู้ป่วยติดเชื้อรายวัน  แสดงถึงศักยภาพของสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ การปรับมาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลและความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในปฏิบัติตามมาตรการ 

โดยข้อมูลจากเว็บไซต์บลูมเบิร์ก  เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุความคืบหน้าการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของ184 ประเทศทั่วโลก พบว่าฉีดวัคซีนได้มากกว่า 7,200 ล้านโดส โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก และอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน ประเทศที่ฉีดวัคซีนได้มากที่สุดได้แก่ จีน  อินเดีย สหรัฐอเมริกา บราซิล และอินโดนีเซีย ซึ่งการฉีดวัคซีนสะสมของไทยจนถึงวันที่7 พ.ย. กว่า 80 ล้านโดส เข็มที่ 1 สะสม 43,978,814 โดส เข็มที่ 2 สะสม 33,950,925 โดส เข็มที่ 3 สะสม 2,551,969 โดส และเข็มที่ 4 สะสม 2,719 โดส รวม 80,484,427 โดส คิดเป็น 65.44 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยทั่วประเทศ ทั้งนี้ด้วยอัตราการฉีดต่อวันประมาณ 6-8 แสนโดสต่อวัน ทำให้บลูมเบิร์กคาดการณ์ว่าหากไทยฉีดด้วยความเร็วระดับนี้ต่อไป จะสามารถฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสให้ครอบคลุมประชากร 75% ได้ภายใน 1 เดือน สอดคล้องกับนโยบายเปิดประเทศแบบปลอดภัย (Smart Entry) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา 

นายธนกร กล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับคนทุกกลุ่มในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามแผนการจัดหาวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดอาการติดเชื้อรุนแรงและป่วยหนักและลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อแล้ว นายกฯ ยังได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดติดตามเจรจาเพื่อสั่งซื้อยารักษาโควิด-19 ทั้ง "แพกซ์โลวิด (Paxlovid)" ของบริษัทไฟเซอร์ และ “โมลนูพิราเวียร์” ของบริษัทเมอร์ค ที่ช่วยลดการรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้ให้เร็วที่สุดเพื่อให้ประเทศไทยได้รับยารักษาโควิด-19 ที่มีการพัฒนาเป็นคิวแรกๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนไทยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตและทำมาหากินได้อย่างปกติสุขโดยเร็วแบบ New Normal และร่วมเดินหน้าพลิกฟื้นเศรษฐกิจต่อไป

สธ. เปิดแผนซื้อ ‘ยาเม็ดต้านโควิด’ ยันเจรจาไฟเซอร์ ผู้ผลิต ‘แพกซ์โลวิด’ นานแล้ว

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ แถลงความคืบหน้าการนำเข้ายารักษาโรคโควิด-19 โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ว่า ตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเข้าสร้างกายแล้วจะอาศัยเอนไซม์โปรตีเอส (protease) ในการเพิ่มจำนวน

ซึ่งยาแพกซ์โลวิดจะเข้ามายับยั้งการสร้างโปรตีนเอส ไม่ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวได้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไวรัสเข้าไปในร่างกายและมีการเพิ่มจำนวนไวรัส จากนั้นจะเปลี่ยนสายพันธุ์กรรมจาก RNA มาเป็น DNA ซึ่งยาโมลนูพิราเวียร์ จะมายับยั้งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ โดยสรุปคือ ทั้ง 2 ตัว เป็นยาที่ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ครอบคลุมทุกสายพันธุ์

นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อมูลการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน กินยาขนาด 200 มิลลิกรัม (มก.) วันละ 2 เวลา นาน 5 วัน รวม 40 เม็ด พบว่าลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาล (รพ.) ร้อยละ 50 และไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนคนที่กินยาหลอก 377 คน พบว่าเสียชีวิต 8 ราย ส่วนผลการศึกษายาแพกซ์โลวิด ในกลุ่มตัวอย่าง 389 คน กินขนาด 150 มก. 2 คู่กับยาริโทนาเวียร์ ขนาด 100 มก. 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน รวมแล้วจะใช้ยาแพกซ์โลวิดทั้งหมด 20 เม็ด บวกกับยาริโทนาเวียร์ 10 เม็ดต่อคน พบว่าลดความเสี่ยงนอน รพ. และเสียชีวิตภายใน 28 วัน

“ทั้งนี้ หากกินยาดังกล่าวภายใน 3 วัน นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะมีประสิทธิภาพลดการนอน รพ. - เสียชีวิตร้อยละ 89 หากเริ่มกินในวันที่ 5 หลังมีอาการจะมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 85 แต่ทั้ง 2 ถือว่ามีเปอร์เซ็นต์สูง ย้ำว่ายาทั้ง 2 ชนิด ออกฤทธิคนละจุดกันจึงไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันว่ายาตัวไหนดีกว่ากัน เนื่องจากเป็นการวิจัยคนละกลุ่มตัวอย่าง แต่ที่แตกต่างกันคือยาแพกซ์โลวิดจะต้องกินคู่กับยาริโทนาเวียร์ด้วย ขณะที่ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นยาที่ไปยับยั้งเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เป็นยาที่เจาะจงต่อเชื้อโควิด-19 โดยตรง” นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวและว่า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top