Monday, 21 April 2025
แอลกอฮอล์

‘สตม.’ บุกทลาย!! 'ปาร์ตี้ผิวสี' ย่านรามคำแหง ลักลอบมั่วสุมยันหว่างร่วมครึ่งร้อย!! หวั่นแพร่เชื้อโอไมครอน

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัย หรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. พร้อมด้วย พล.ต.ต.อาชยน  ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ปิติ  นิธินนทเศรษฐ์  ผบก.ตม.1, และ พ.ต.อ.ระพีพัฒน์ อุตสาหะ ผกก.สส.บก.ตม.1 พร้อมชุดปฏิบัติการสืบสวนฯ ร่วมแถลงข่าวการจับกุมคนร้าย ดังนี้ 

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ได้ทราบข้อมูลจากแหล่งข่าวว่าที่ร้านนครบาร์บางกอก ในย่านรามคำแหงจะมีการลักลอบจัดปาร์ตี้สังสรรค์ และจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับกลุ่มลูกค้า โดยมีกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติผิวสี และมีหญิงไทยร่วมด้วย ซึ่งมักมีการนัดรวมตัวเพื่อมั่วสุมดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ร้านดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้มีการประชุม วางแผนในการเข้าปิดล้อมตรวจสอบร้านดังกล่าว

ต่อมาในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 01.45 น. สตม. โดย กก.สส.บก.ตม.1 ได้สนธิกำลังกับ กก.2 บก.ปส.1 และ สน.หัวหมาก เข้าปิดล้อมตรวจค้นร้านนครบาร์บางกอก ที่เกิดเหตุ พบสภาพภายในร้านมีลักษณะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ ตกแต่งภายในโดยมีโต๊ะพูล รวมทั้งมีการจัดโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  มีลูกค้าทั้งคนไทย และคนต่างชาติ กำลังใช้บริการอยู่จำนวนหลายสิบราย

จากการตรวจสอบเอกสารหนังสือเดินทางของกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติทั้งหมดในร้าน พบเป็นบุคคลต่างด้าวผิวสีจากประเทศในแถบแอฟริกาเช่น ไนจีเรีย คองโก แคเมอรูน เป็นต้น โดยในจำนวนบุคคลต่างด้าวทั้งหมดนี้ เจ้าหน้าที่พบว่ามีบุคคลต่างด้าวที่ไม่มีหนังสือเดินทาง หรือมีหนังสือเดินทางที่ไม่มีรอยตราประทับจากช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นจำนวนถึง 15 ราย ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อบุคคลต่างด้าวในจำนวนนี้ว่า “เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย และไม่ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย” นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบนางสาวดา (นามสมมุติ) อายุ 41 ปี สัญชาติไทย แสดงตนเป็นเจ้าของและผู้ดูแลร้าน โดยอ้างกับเจ้าหน้าที่ว่าได้มีการเช่าช่วงจากเจ้าของร้านเดิม ซึ่งร้านดังกล่าวนี้เคยเปิดเป็นร้านจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แต่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดโควิด-19 จนต้องปิดตัวไป     

โดยหลังจากทำการเช่าช่วงร้านดังกล่าว นางสาวดาได้ลักลอบใช้ร้านดังกล่าวเป็นที่นัดรวมตัวมั่วสุมของกลุ่มคนต่างชาติผิวสีเรื่อยมาเป็นเวลากว่า 1 เดือน โดยจะใช้แผ่นเมทัลชีทปิดช่องแสงโดยรอบจนทึบและปิดเสียงดนตรี เพื่อปิดบังอำพรางเจ้าหน้าที่เพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบพบ

ซึ่งในส่วนของเจ้าของร้านที่เกิดเหตุนั้น เจ้าหน้าที่ได้จับกุมในข้อหา “จำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับอนุญาต และ จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มโดยร้านไม่ผ่านการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยฯ โดยจัดให้มีการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านเกินเวลา อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 47 ข้อ 2 ลงวันที่ 29 พ.ย.64” และควบคุมตัวทั้งนางสาวดาฯ และบุคคลต่างด้าวทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวน สน.หัวหมากดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

‘ตร.’ จับจริง!! ร้านอาหารอีสานดัง ฝ่าฝืนคำสั่งขายเบียร์ ชี้!! ผิดกฎหมายเลือกตั้งชัดเจน เตรียมส่งดำเนินคดี

(14 พ.ค. 66) พ.ต.อ.ปรีชา เก่งสาริกิจ ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสายตรวจ ได้ทำการจับกุม ร้านอาหารที่ฝ่าฝืน เปิดร้านจำหน่ายสุรา ซึ่งผิดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ที่มีคำสั่งห้ามจำหน่ายตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของเมื่อวานที่ผ่านมา (13 พ.ค.) จนถึงเวลา 18.00 น. วันนี้

โดยเจ้าหน้าทีได้ออกตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ และพบร้านจำหน่ายอาหารอีสานฝ่าฝืนคำสั่ง เมือช่วงค่ำของเมื่อวานที่ผ่านมา (13 พ.ค.) จึงได้จับกุมตัว นายณรงค์ คงจันทร์ อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 105/16 หมู่ที่ 14 ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยของกลาง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ จำนวน 1 ขวด ที่เปิดฝาดื่มแล้ว วางอยู่บนโต๊ะที่ลูกค้า

“ก่อนจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ได้ออกตรวจร้านอาหารสถานบริการและร้านจำหน่ายสุราในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ก่อนวันเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อเจ้าหน้ามาถึงร้านมิตรภาพลาบก้อย ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น พบว่า ร้านดังกล่าวมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับลูกค้าที่นั่งรับประทานอาหารอยู่ เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าไปตรวจสอบ นายณรงค์ แสดงตัวรับว่าเป็นเจ้าของร้านมิตรภาพลาบก้อย เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบภายในร้าน พบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วางอยู่บนโต๊ะที่ลูกค้านั่งดื่มแล้วลุกออกไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้ามาถึงภายในร้าน”

พ.ต.อ.ปรีชา กล่าวต่อว่า เจ้าของร้าน ยอมรับว่า ได้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารให้กับผู้ที่มารับใช้บริการที่ร้านจริง จึงได้แจ้งว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด ในข้อหา ผู้ใดขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิด ในเขตเลือกตั้ง ในระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน จนถึงเวลา 18.00 นาฬิกา ของวันเลือกตั้ง แต่ร้านมิตรภาพลาบก้อย ยังมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับผู้มาใช้บริการ

จากนั้นจึงได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

'อี้ แทนคุณ' จี้ 'ประธานวันนอร์' ดำเนินคดี-ปลด 'ปดิพัทธ์' หลังโพสต์ภาพคู่เหล้า ผิดพ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์

(14 ส.ค.66) นายแทนคุณ จิตต์อิสระ รักษาการประธานคณะกรรมการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคระหว่างเพศพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงกรณี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่หนึ่งของพรรคก้าวไกลโพสต์อวดรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยี่ห้อหนึ่งทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของ Padipat Suntiphada ในข้อความว่า... 

"เอาแล้วๆๆๆๆ พิษณุโลกมีคราฟท์เบียร์ตัวแรกอย่างเป็นทางการแล้วครับ เป็นของดีพิดโลกนอกจากกล้วยตากและหมีชั่วครับ"

ทั้งนี้ ถือเป็นการทำผิดมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551บัญญัติ "ห้าม มิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อัน เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม"  

โดยตนเป็นหนึ่งในคนที่เคยร่วมผลักดัน พ.ร.บ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อป้องกันมิให้การเผยแพร่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมากเกินไปจนนำมาซึ่งการเมามายขาดสติ เกิดอุบัติเหตุเกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทย 

แทนคุณ กล่าวอีกว่า แม้ว่าสุราพื้นถิ่นจะเป็นเรื่องที่สนับสนุนส่งเสริมอาชีพและการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่การโฆษณาชวนเชื่อโดยตรงหรือโดยอ้อมย่อมผิดกฎหมายชัดเจน และตัวนายปดิพัทธ์ สันติภาดา เป็นถึงรองประธานสภาผู้แทนราษฎรสมควรที่จะรู้และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่กำกับดูแลนักการเมืองไม่ให้ประพฤติชั่ว เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ย่อมทำให้ขาดสติและขาดความยับยั้งชั่งใจ เหมือนก่อนหน้านี้ที่มี ส.ส.ของก้าวไกลขาดสติ ขาดวุฒิภาวะไปกระทืบซ้ำคนล้มและเกิดวิวาทเพราะการเมา ซึ่งเชื่อว่าหากมีสติสัมปชัญญะที่ดีย่อมไม่ทำแบบอย่างที่เลวให้กับเยาวชนและสังคม

ดังนั้นจึงขอให้ท่านประธานวันนอร์ฮัมหมัดมู มะทา ได้โปรดพิจราณาดำเนินคดีตามกฎหมายดังกล่าวและประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เด็ดขาด มิให้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยทั้งนี้เชื่อว่าประชาชนคาดหวังการรักษากฎหมายของนักการเมืองมิให้ทำให้รัฐสภาต้องด่างพร้อยเพราะการกระทำของคนไม่กี่คนจากพรรคก้าวไกลอีก

'อดีตนร.ไทยในญี่ปุ่น' ชี้!! ผลักดันสุราเสรี ไม่ใช่นโยบายที่ดี ยก ‘สหรัฐฯ’ เป็นแม่แบบ ให้ปชช.ดื่มได้สัปดาห์ละ 2 ดริ๊งก์

เมื่อวานนี้ (30 ส.ค.66) ข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Naruphun Chotechuang’ โดย ‘คุณนฤพันธ์ โชติช่วง’ อดีตนักเรียนวิทยาลัยยามชายฝั่งญี่ปุ่น ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

ขอพูดถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกสักโพสต์ ในขณะที่ประเทศไทยมีพรรคการเมืองที่อ้างความเป็นประชาธิปไตย ผลักดันนโยบายสุราเสรีแบบสุดโต่ง แต่ประเทศต้นแบบประชาธิปไตยอย่างอเมริกากำลังกำหนดให้ประชาชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สัปดาห์ละ 2 ดริ๊งก์

อ้างอิงจากข่าว "2 drinks a week? US considering changing alcohol guidelines"
https://fox8.com/video/usda-considering-changing-alcohol-guidelines/8947623/ 

สรุปคร่าว ๆ คือ

Dr. George Koob ผู้ควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของประธานาธิบดี Joe Biden กล่าวกับเดลี่เมล์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงแนวทางการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามที่ประเทศแคนาดาพึ่งออกเมื่อเร็ว ๆ นี้ (*1) ซึ่งแนะนำให้ประชาชนจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้ที่สัปดาห์ละ 2 ดริ๊งก์ (ลดลงจาก 15 ดริ๊งก์ต่อสัปดาห์สำหรับผู้ชาย และ 10 ดริ๊งก์ต่อสัปดาห์สำหรับผู้หญิง) เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์

Dr. George Koob ซึ่งก็เป็นผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติว่าด้วยการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิดและโรคพิษสุราเรื้อรัง (National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism: NIAAA) ให้ความเห็นชัดเจนว่าแอลกอฮอล์ไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และพบว่ากลุ่มคนอายุ 35 ถึง 50 ปี มีการดื่มหนักเพิ่มขึ้นทั่วประเทศจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยคำแนะนำการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชาวอเมริกัน (*2) อาจจะมีการปรับเปลี่ยนในปี 2025

สำหรับผมแล้ว การผลักดันนโยบายสุราเสรีแบบสุดโต่งของพรรคนั้น น่าจะไม่ใช่การสร้างความเท่าเทียมแต่อย่างไร แต่เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะ สส. และผู้สมัคร สส. ของพรรคนั้น ก็ทำธุรกิจผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี่แหละ ต้องการเข้ามามีอำนาจเพื่อตัวเองล้วน ๆ

ปล. แต่ที่ยิ่งกว่าเลวคือ ไม่เสียภาษีด้วยนะ ยื่นแบบเสียภาษียังไม่ทำเลย

*1 Canada’s Guidance on Alcohol and Health
https://www.ccsa.ca/canadas-guidance-alcohol-and-health
*2 Dietary Guidelines for Alcohol
https://www.cdc.gov/alc.../fact-sheets/moderate-drinking.htm 

สสส.สนับสนุน ม.อ.ทำโครงการสื่อสารณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงทั้งบุหรี่ แอลกอฮอล์และอุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยและชุมชน 5 วิทยาเขตภาคใต้

อธิการบดี หวังเป็นต้นแบบจัดตั้งกลไกจัดการปัจจัยเสี่ยง ผู้ทรงคุณวุฒิสสส.ชี้โครงการมีการจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงก่อนและหลังจัดกิจกรรมเป็นตัวชี้วัดที่ดี เผยผลสำรวจพบการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ส่วนการสวมหมวกกันน็อคลดลง

เช้าวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๒ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการแถลงข่าวเปิดตัว โครงการสานพลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รณรงค์และจัดการความรู้ ลดปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัยและชุมชน โดย ได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

​ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าต้องขอบคุณ สสส. ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางของมหาวิทยาลัยในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้านปัจจัยเสี่ยง อุบัติเหตุ บุหรี่ และแอลกอฮอล์ให้กับ นักศึกษาและบุคลากร ของมหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนทำให้คนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับคนทุกวัยและเป็นไปตามค่านิยมหลัก คือ มีความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียว ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง โดยมหาวิทยาลัยได้ กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญคือ สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและสังคมที่สำคัญทั้งอุบัติเหตุ บุหรี่ และแอลกอฮอล์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยมี นโยบายที่สำคัญ 8 ด้านคือ การสนับสนุนการทำงานทางด้านวิชาการ การจัดการความรู้ เพื่อขับเคลื่อน การลดปัจจัยเสี่ยงระดับนโยบายของมหาวิทยาลัย การพัฒนากลไกจัดการปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบมหาวิทยาลัยครอบคลุมทั้ง 5 วิทยาเขต การรณรงค์และสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นการสื่อสารรณรงค์ลดพฤติกรรมเสี่ยงในมหาวิทยาลัย และประชาชนในชุมชนเป้าหมาย การประกาศนโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัดเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะ นำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน การสนับสนุนระบบการขนส่งรถสาธารณะในมหาวิทยาลัยเพื่อลดการใช้รถจักรยานยนต์ และ รถยนต์ ส่วนตัว การปรับสภาพถนนและสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุให้ปลอดภัย การสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ และการร่วมมือกับองค์กร ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อนำไปสู่การสร้างกลไกให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นต้นแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและ ปัจจัยเสี่ยงสังคม

ด้านนายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า สสส.เห็นความตั้งใจของผู้บริหาร บุคลากร ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งบัณฑิตอาสาที่ต้องการดำเนินงานสื่อสารณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบ มหาวิทยาลัย จึงให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการโดยเชื่อมั่นว่า  ด้วยบทบาทของการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการและการทำงานรับใช้ชุมชนจะทำให้โครงการนี้เป็นแบบอย่างของ การดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถประเมินผลลัพธ์ของโครงการได้เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงภายใน 5 วิทยาเขตและชุมชนเป้าหมายก่อนเข้าไปดำเนินโครงการเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมสื่อสาร รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงได้ตรงตามเป้าหมาย หลังจากนั้นจะมีการจัดเก็บขอมูลอีกครั้งก่อนจบโครงการเพื่อเปรียบเทียบว่าผลจากการจัดกิจกรรมต่างๆได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ ความคิดและพฤติกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยและคนในชุมชนอย่างไร เพื่อที่ในอนาคตหากมหาวิทยาลัยต้องการขยายผลหรือขยายพื้นที่ในการดำเนินงานในวงกว้างมากขึ้นก็จะทำให้ประชาชนชุมชนและสังคมโดยรวมมีสุขภาวะที่ดีขึ้นซึ่ง สสส.ก็ยินดีที่จะสนับสนุนบทบาทเหล่านี้ต่อไปในอนาคต

ขณะที่ รศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ หัวหน้าโครงการฯกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ของโครงการว่าเพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและทางสังคมด้านยาสูบ แอลกอฮอล์ และอุบัติเหตุ ทั้ง ภายใน 5 วิทยาเขตและชุมชนเป้าหมาย นอกจากนั้นยังต้องการให้เกิดการสร้างและพัฒนากลไกการจัดการปัจจัยเสี่ยงทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและชุมชนควบคู่กับการสร้างและพัฒนานักรณรงค์สุขภาวะรุ่นใหม่จากนักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย บัณฑิตอาสา และประชาชนเป้าหมาย ให้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ สื่อสารสร้างการรับรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนทางความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสุดท้ายคือการจัดการความรู้ที่ได้จากการสำรวจ สถานการณ์สุขภาพ การจัดกิจกรรมเพื่อสื่อสาร การถอดบทเรียนและการใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบายในระดับต่างๆต่อไป   โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 18 เดือน  ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566  ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2568 งบประมาณรวม  4,994,000 บาทถ้วน

หัวหน้าโครงการฯได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า 3 ประเด็นปัจจัยเสี่ยงที่แต่ละวิทยาเขตเลือกคือ. บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า วิทยาเขตปัตตานีและวิทยาเขตภูเก็ตจะเป็นผู้ดำเนินการ เรื่องอุบัติเหตุ วิทยาเขตหาดใหญ่และ วิทยาเขตตรัง จะเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนแอลกอฮอล์ วิทยาเขตสุราษฎร์เป็นผู้ดำเนินการ ในขณะที่การเลือก ชุมชนเป้าหมายนั้น วิทยาเขตปัตตานี เลือกตำบลบ้านตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ เลือกเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วิทยาเขตตรัง เลือกตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง วิทยาเขตภูเก็ต เลือกพื้นที่ชุมชนเขาน้อย ต.กระทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เลือกตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละวิทยาเขตได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมกับการวิเคราะห์ วางแผนกำหนดแนวทาง รูปแบบการสื่อสารและณรงค์ต่อไป โดยหลังจากการแถลงข่าวจะมีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารและการรณรงค์ให้แก่ อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 5 วิทยาเขตด้วย  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อมูลที่มีการจัดเก็บสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัยและชุมชนมีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น ด้านบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้านั้นแม้ผู้ตอบส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่ได้สูบบุหรี่ แต่มีอยู่ประมาณ 5 %ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าในรูปแบบของพอตที่หน้าตาเหมือนของเล่นและแบบแท้งค์น้ำยา ส่วนใหญ่หาซื้อเอง ส่วนการสูบบุหรี่มวนมีทั้งสูบตั้งแต่ 2-5 มวนต่อวันไปจนถึง 11-20 มวนต่อวัน ด้านอุบัติเหตุนั้นพบข้อมูลที่คล้ายคลึงกันคือผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมวกกันน็อค อยู่ระหว่าง 24%-47.1% ส่วนคนซ้อนไม่สวมหมวกกันน็อคอยู่ระหว่าง 17.6%-44.6% สะท้อนว่าการสวมหมวกกันน็อคลดลงเรื่อยๆ ส่วนประเด็นแอลกอฮอล์นั้นพบว่าพฤติกรรมการดื่ม 37.2% จะดื่มที่บ้านตัวเองและที่พัก รองลงมา33.5% ดื่มในงานเลี้ยงและงานเทศกาล

‘เท่าพิภพ’ หยั่งเสียง!! โชว์ภาพตัวอย่าง ฉลากใหม่คุม ‘เหล้า-เบียร์’ ด้านชาวเน็ต ชี้!! ถ้าคนจะดื่ม ติดภาพน่ากลัวขนาดไหน ก็ดื่มอยู่ดี

จากกรณี ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. … ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกรมควบคุมโรค เปิดรับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ 12-29 กุมภาพันธ์ 2567

โดยมีสาระสำคัญ คือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า ดังนี้

1.) กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาชนะบรรจุต้องมีปริมาณบรรจุสุทธิไม่น้อยกว่า 175 มิลลิลิตร
2.) กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องไม่ใช้ข้อความตามที่กฎหมายกำหนด
3.) กำหนดให้มีข้อความคำเตือนบนภาชนะบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.) กำหนดให้มีข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บนภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งให้จัดทำเป็นรูปภาพ 4 สี 9 แบบ สับเปลี่ยนกันไปตามลำดับในอัตรา 1 แบบ ต่อ 1,000 ภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุ
5.) กำหนดขนาดของข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยให้ประกาศมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ล่าสุด วันนี้ (26 ก.พ. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.)  โพสต์ข้อความผ่านเพจ ‘เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร – Taopiphop Limjittrakorn’ ระบุว่า…

“[ฉลากเบียร์น่ากลัว #SoftPower ไหม]

ตัวอย่างฉลากที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ที่มีอำนาจออกกฎห้ามขายเวลา วัน และออนไลน์) พยายามออกข้อบังคับใช้ให้ติดบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทุกประเภท

ฉลากต้องใส่รูปน่ากลัว 30% ของพื้นที่ขวด ทางสมาคมคราฟท์เบียร์ ลองทำตัวอย่างตามกฎหมายมาสภาพจะออกมาประมาณในภาพครับ

ตอนนี้ร่างรอหมอชลน่านเซ็นรับรองเเละบังคับใช้ได้เลย

ทุกท่านคิดเห็นว่าไงครับ

#สุราก้าวหน้า #ก้าวไกล”

หลังจากโพสต์ข้อความไปไม่นาน มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น…

- “คิดว่าฉลากไม่มีผลสำหรับคนดื่มแอลกอฮอลล์ครับ คนไม่ดื่มคือยังไงก็ไม่ดื่ม ส่วนคนดื่มติดภาพน่ากลัวขนาดไหน ก็ดื่มอยู่ดี เหมือนบุหรี่”
- “หน้าซองบุหรี่ก็เห็นทำมานาน ถามว่าช่วยทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลงไหม? ก็ไม่ แต่เป็นข้อบังคับก็ต้องทำอะเนอะ”
- “ตกลงมันเขาผลิตมาให้คนดื่มหรือเอาไปฉีดฆ่าวัชพืชครับ”
- “ติดไว้หน้าซองบุหรี่ ก็เห็นสูบกันพรึบพรับ คนเค้าเห็นทุกวันมันชิน”
- “ผมเห็นฉลากแล้ว จะอ้วกคือ อาจจะหยุดดื่มได้เลยครับ”
- “ตัวอย่างที่ล้มเหลว เช่น บุหรี่ ยอดลูกค้าเพิ่มทุกปี ต่อให้ราคาเพิ่ม ลูกค้าก็เหนี่ยวแน่น แถมได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆเพิ่มอีก สุราก็น่าจะล้มเหลวเช่นกัน ต้องแก้ไขที่คนดื่ม ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบ”

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเตือนห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา 'วันวิสาขบูชา' 22 พฤษภาคมนี้ กำชับตำรวจทั่วประเทศตรวจตราเข้มงวด

วันนี้ (21 พฤษภาคม 2567) พล.ต.ต.หญิง สมพร พูลเกษม ผู้บังคับการกองสารนิเทศ เปิดเผยว่า ด้วยวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เป็น“วันวิสาขบูชา” และมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้นเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยรับผิดชอบควบคุม กำกับ ดูแล ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 

วันวิสาขบูชาปีนี้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.รรท.ผบ.ตร.) สั่งการหน่วยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในวันสำคัญทางศาสนาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ได้กำชับให้สถานีตำรวจทุกแห่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนผู้ประกอบการ ร้านค้าทุกประเภท ทั้งร้านค้าในชุมชน ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงสถานบริการและสถานประกอบการที่เปิดให้บริการลักษณะที่คล้ายสถานบริการ ให้งดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งชนิดขายส่งและขายปลีกทั่วราชอาณาจักร ตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 00.01 - 24.00 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ยกเว้นเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ หากผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐฯ กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศกวดขันจับกุมผู้กระทำความผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมายและประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น การขาย การดื่มในสถานที่ห้าม และการขายให้แก่บุคคลที่ห้ามขาย โดยให้เน้นการตรวจตราร้านข้ามต้มโต้รุ่ง คาราโอเกะ ร้านอาหารตามสั่งริมทาง บริเวณสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง วัด หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ อย่างจริงจังและเคร่งครัดพร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มกำลัง ในการออกตรวจและจับกุมผู้กระทำความผิดเมื่อได้รับการร้องขอ โดยกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายพร้อมปฏิบัติหน้าที่ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพเหมาะสม กวดขันจับกุมหากปรากฏการกระทำผิดซัดเจน โดยให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติให้เกิดความเรียบร้อย และขอความร่วมมือไปยังพี่น้องประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน 191 หรือ 1599 ตลอด 24 ชั่วโมง

มุกดาหาร 'แถลงการณ์' เครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร แสดงความห่วงใยถึงเยาวชน และผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อประธานกรรมาธิการ

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น ณ​ ห้องประชุมมโนรมย์ 1 อาคารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร​ นางกันยกร ซาเสน ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดมุกดาหาร จัดประชุมเวทีเสวนาภาคประชาชนและหน่วยงานของรัฐ แสดงความห่วงใยถึงเยาวชน และผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อข้อเสนอของรัฐบาลที่กำลังแก้ไขกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และขอให้สนับสนุนร่างพ.ร.บ.ฯ ของภาคประชาชนที่รณรงค์ป้องกันและลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ 2551 อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรวาระ 2 ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ ซึ่งพ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกัน และลดผลกระทบจากปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งมิติสุขภาพ สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร ในฐานะภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อสุขภาพคนเมืองมุกดาหาร อยากเห็นคนมุกดาหารได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยที่สุด มีความห่วงใยต่อข้อเสนอของรัฐบาล ต่อการแก้ไขกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้มาตรการต่างๆอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการเพิ่มความสูญเสียต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และชีวิตประชาชน

จึงขอแสดงความห่วงใยและเสนอแนะความคิดเห็น ประกอบการตัดสินใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างควบคุมรอบด้าน ก่อนจะมีการสรุปรายงานของคณะกรรมาธิการฯ เพราะหากแก้ไขแล้วอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็กเยาวชนและเกิดปัญหาทางสังคม อยากให้ช่วยปกป้องคนรุ่นใหม่ และดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ ที่สำคัญไม่ควรเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ควรคุ้มครองและปกป้องเด็กเยาวชน เพิ่มความรับผิดชอบต่อผู้ขาย ไม่เพิ่มปัญหา ไม่เพิ่มคนเดิม และผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องได้รับการเยียวยา

สสส. - มสส. จับมือสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดตราด และสื่อมวลชนภาคตะวันออก เปิดเวทีถกปัญหา บุหรี่เถื่อน บุหรี่ไฟฟ้า แอลกอฮอล์

ผวจ.ตราด ย้ำบังคับใช้กฎหมายจริงจัง ใช้หลักศีลธรรมแก้ปัญหา ตำรวจเสนอเพิ่มบทลงโทษแก้ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า ด้านสื่อมวลชนเรียกร้องให้คณะกรรมการระดับจังหวัดทำงานอย่างจริงจัง

วันที่ 26  สิงหาคม 2567 ณ ห้องไพลิน โรงแรมเอวาด้า จ.ตราด สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ (มสส.) และสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดตราด จัดการประชุมโฟกัส กรุ๊ปในหัวข้อ “ปลุกพลังสื่อภาคตะวันออก แก้ปัญหา บุหรี่-แอลกอฮอล์” โดยมี นายศักดา แซ่เอียว หรือ เซีย การ์ตูนนิสต์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า สสส.ได้สนับสนุนให้มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะทำงานกับสื่อมวลชนในส่วนกลางและภูมิภาคทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุและสื่อออนไลน์ช่วยกันสร้างการรับรู้ สร้างความตระหนักและรณรงค์กับกลุ่มเป้าหมายทั้ง เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปต่อปัญหาและผลกระทบจากการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า แอลกอฮอล์ สิ่งเสพติด การพนันและการพนันออนไลน์ โดยมุ่งเน้นการทำงานเชิงการป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพ เป็นที่รู้กันว่าบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า แอลกอฮอล์หนีภาษีมักจะลักลอบนำเข้าผ่านจังหวัดต่างๆที่มีพรมแดน ติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก โดยเฉพาะภาคตะวันออกที่ผ่านมามีการแถลงข่าวการจับกุมการลักลอบนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายหลายครั้งทั้งที่ จ. สระแก้ว จันทบุรีและตราดโดยเฉพาะอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด วันนี้จึงเป็นเรื่องน่าดีใจที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตราดได้ให้ความสำคัญทั้งการรณรงค์และการปราบปรามบุหรี่หนีภาษีและบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง เวทีการประชุมระดมความคิดเห็นของสื่อมวลชนจังหวัดตราดและจันทบุรีเพื่อปกป้องเด็ก เยาวชนและประชาชนครั้งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

นายณัฐพงษ์  สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดประธานกล่าวเปิดการประชุม พร้อมบรรยายในหัวข้อ “จังหวัดตราด : นโยบายแก้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ” ว่า จังหวัดตราดให้ความสำคัญกับการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพโดยเฉพาะนักสูบ - นักดื่มแอลกอฮอล์หน้าใหม่ในสถานศึกษา รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีเครือข่ายอาสาสมัครงดเหล้าทุกตำบล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ พร้อมกับการบำบัดรักษา ส่วนผลกระทบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ มีคนเสียชีวิต 6 คน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 4 คน แม้ตัวเลขจะไม่สูงแต่คนที่เสียชีวิตกลับเป็นคนจังหวัดตราดทั้งหมด ไม่ใช่นักท่องเที่ยว ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาบุหรี่ผิดกฎหมาย และบุหรี่ไฟฟ้า จังหวัดมีการจับกุมมาอย่างต่อเนื่อง มีการรณรงค์ให้งานบุญประเพณี งานปีใหม่ งานกาชาด ปลอดเหล้าปลอดบุหรี่ มีการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้าชุมชนที่ขายเหล้า ขายบุหรี่ เพื่อเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง แนวทางแก้ปัญหาคือ ผู้นำจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ถ้าผู้นำไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ผู้ใต้บังคับบัญชา และประชาชนก็จะดูเป็นแบบอย่าง เช่นตัวเองเป็นคนที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือใช้ศีลธรรมนำหน้าสินทรัพย์ ทั้งศีล 5 และมรรค 8 จะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้และทำให้บ้านเมืองรุ่งเรืองได้

นพ.ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดตราด กล่าวว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการจับกุมบุหรี่ไฟฟ้าครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศที่จังหวัดปทุมธานี มีมูลค่ากว่า 46 ล้านบาท สะท้อนปัญหาของความรุนแรง ดังนั้นทำอย่างไรที่จะสร้างความตระหนักให้ผู้ที่นำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้ากลัวที่จะขาย มีข้อสังเกตว่าทำไมบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นที่นิยมในประเทศที่เจริญแล้ว แต่กลับได้รับความนิยมในประเทศแถบเอเชีย ควรจะมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ส่วนบทบาทสื่อมวลชน ควรมีการรายงานข่าวเจาะลึกว่าทำไม เด็ก ป.3 ถึงสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อให้สังคมได้รับรู้ และเป็นบทเรียนในการแก้ปัญหา ขณะเดียวกันปัจจุบันนี้การขายบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ขายหน้าร้านอย่างเดียว แต่ขายแบบออนไลน์กันมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะต้องมีการจับกุมให้มากขึ้น แล้วทำให้เข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ยาก

นายแพทย์ณัฐพงษ์ บุญรอด  นายแพทย์ชำนาญการสาขา อายุรแพทย์โรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤติการหายใจ โรงพยาบาลตราด กล่าวถึงปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าว่า มีพิษภัยไม่ต่างจากบุหรี่มวน เพราะมีสารนิโคตินในประมาณเท่า ๆ กัน ผลกระทบของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า จะมีทั้งเรื่องของอารมณ์ การเรียน เป็นอันตรายต่อสมอง มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด มีสารก่อมะเร็ง จากข้อมูลที่พบมีเด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าอายุต่ำสุด อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการตรวจคนไข้ พบว่าส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางสังคมมาก่อน จึงไปพึ่งพาบุหรี่ และแอลกอฮอล์ โรงพยาบาลตราดมีคลีนิกเลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์ มีคนมาขอรับบริการจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข

พ.ต.อ.มานพ ประสาท ผู้กำกับสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดตราด กล่าวถึงนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าว่า มีการให้กองบัญชาการ ตำรวจภูธรภาค จัดแบ่งโซนนิ่งตามความรุนแรงของสถานการณ์ของพื้นที่ที่มีการลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดภาคตะวันออก 8 จังหวัดนั้น จังหวัดตราด ถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีเหลืองร่วมกับอีก 4 จังหวัดคือ นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา ส่วนพื้นที่สีแดงถือว่าสถานการณ์รุนแรงกว่ามี 3 จังหวัดคือชลบุรีโดยเฉพาะเมืองพัทยา ระยองและจันทบุรี ซึ่งผลการ จับกุมบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 21 สิงหาคม 2567 มีการจับกุมร้านค้าที่กระทำความผิด 4 ครั้งในพื้นที่ สภ.เกาะช้าง 2 ครั้ง สภ.เมืองตราด 2 ครั้ง โดยแยกของกลางที่จับกุมเป็น 4 ประเภทคือ เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า 11 ชิ้น บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง 360 ชิ้น หัวน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง 799 ชิ้น และน้ำยาบุหรี่ ไฟฟ้าแบบเติม 130 ขวด

ส่วนการจับกุมการลักลอบนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายโดยหลีกเลี่ยงภาษีนั้นตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบันมีการดำเนินการจับกุมจำนวน 6 ครั้ง ทั้งหมดเป็นผลการปฏิบัติหน้าที่ของสภ.บ้านท่าเลื่อน อ.เมือง จ.ตราด ที่รับผิดชอบถนนหมายเลข 3 จาก อ.คลองใหญ่ซึ่งอยู่ติดชายแดนประเทศกัมพูชามาถึง อ.เมืองตราด จำนวนบุหรี่ที่จับกุมได้ 79,760 ซอง หากนับจาก 1 ซองมี 20 มวนก็จะเป็นจำนวนทั้งสิ้นถึง 1,595,200 มวน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจากการลักลอบนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายโดยไม่ติดอากรแสตมป์ทำให้รัฐขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษี ส่วนแนวทางแก้ไข คือจะต้องมีการเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายให้รุนแรงขึ้น เพราะถ้าโทษเบา ผู้นำเข้าและผู้ค้าก็จะไม่เกรงกลัว และลักลอบนำเข้าและจำหน่ายมากขึ้น

นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ นายกสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดตราดในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดตราด กล่าวว่าจุดอ่อนของคณะกรรมการฯ คือมีอำนาจทั้งการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และการบำบัดรักษา แต่ในทางปฏิบัติยังไม่บังคับใช้อย่างจริงจัง เห็นได้จากสถิติการจับกุมบุหรี่ต่างประเทศและบุหรี่ไฟฟ้าของจังหวัดตราด และจังหวัดจันทบุรี เหตุที่บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอีกเพราะราคาถูกกว่า มีการพัฒนารูปลักษณ์ใหม่ๆ ทั้งของเล่นเด็กหรือวัสดุ ใช้สอยของเด็ก นักเรียน ยางลบ ดินสอ ปากกา หรือตุ๊กตาซึ่งตรวจสอบได้ยากว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าหรือเครื่องเขียน นี่คือสิ่งที่น่ากลัวสำหรับสังคมและลูกหลานของเรา จึงขอเสนอให้คณะกรรมการมีการประชุมมากขึ้น หรืออาจจะตั้งเป็นคณะทำงานมาทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย และขอให้สื่อมวลชนที่เข้าร่วมประชุมช่วยกันนำเสนอข้อมูล นโยบายการแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตราดรวมทั้งความเห็นของวิทยากร กรรมการกองทุนสสส.และประธานมสส.ที่ร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ไปสู่สังคมโดยผ่านสื่อหรือช่องทางของทุกคนด้วย สุดท้ายนายอภิวัชร์ เกตุทัต ประธานมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ (มสส.) กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมกล่าวย้ำถึงบทบาทของสื่อและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคมระดับท้องถิ่นจำเป็นต้องผนึกกำลังร่วมกันมีบทบาทเกื้อหนุนเสริมกันเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนให้อยู่รอดปลอดภัยจากพิษภัยของบุหรี่และแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อสุขภาพในวัยที่กำลังศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์และกำลังสำคัญในการนำพาพัฒนาสังคมประเทศชาติต่อไปในอนาคต

เจ้าหน้าที่ประสานงาน    

นางสาวอรฉัตร วัณณรถ เบอร์โทรศัพท์ 085-594-4551 / 094-970-3099

ม.อ.ถอดบทเรียนครึ่งทางโครงการสื่อสารณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์และอุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยและชุมชน 5 วิทยาเขต

จัดกิจกรรมรณรงค์เข้มข้น พบวิทยาเขตภูเก็ตสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่ม ส่วนการสวมหมวกนิรภัยวิทยาเขตหาดใหญ่เกิน 80% วิทยาเขตตรังกว่า 50% วิทยาเขตสุราษฎร์ฯชวนคนงดเหล้าเข้าพรรษา บอร์ดสสส.ชี้ ต้องใช้ข้อมูลที่มีจัดกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงให้ได้ พร้อมลดปัญหาการทำงาน ผู้เชี่ยวชาญเติมความรู้นักรณรงค์เรื่องพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า

เมื่อวานนี้ (4 ก.ย.67) ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศูนย์กีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ นักรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างสุขภาวะ ครั้งที่ 2 ของโครงการสานพลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รณรงค์และ จัดการความรู้ ลดปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัยและชุมชนซึ่งได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี ผศ.สุพจน์ โกวิทยา ที่ปรึกษาโครงการเป็นประธานเปิดการอบรม

​รศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ หัวหน้าโครงการฯกล่าวว่าวผลการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาสูบแอลกอฮอล์และอุบัติเหตุในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขตคือ หาดใหญ่ ปัตตานี ตรัง ภูเก็ตและสุราษฎร์ธานีและพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย 5 ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงสิงหาคม 2567 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการบริหารโครงการ กรรมการดำเนินงานวิทยาเขต มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานวิทยาเขต 2 เดือน/ครั้ง มีกลไกบัณฑิตอาสานักจัดการปัจจัยสี่ยงวิทยาเขตละ 1 คน ทำหน้าที่จัดการข้อมูล ประสานงานขับเคลื่อนกิจกรรมและรณรงค์สร้างการรับรู้ โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจคือ วิทยาเขตหาดใหญ่และภูเก็ตจะออกมาตรการเรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ วิทยาเขตปัตตานีผลักดันให้เกิด มัสยิดบ้านม่วงเงินปลอดบุหรี่และจะขยายไปในระดับชุมชนด้วย

ด้านการจัดทำข้อมูลและแผนการขับเคลื่อนระดับวิทยาเขต มีการสำรวจข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ แอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ เช่น ที่วิทยาเขตหาดใหญ่และตรัง มีการสังเกตพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย พร้อมทำรายงานสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงวิทยาเขตละ 1 ชุด และชุมชนละ 1 ชุด ร่วมกำหนดแนวทางการจัดการปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัยและชุมชน โดยเฉพาะวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีมีการจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ที่มีผลการวิเคราะห์ ปัจจัยเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติดอื่นๆในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและชุมชนภูธรอุทิศ ให้แก่หน่วยงานระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด เพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป

หัวหน้าโครงการฯกล่าวต่อว่าด้านการพัฒนานักรณรงค์ปัจจัยเสี่ยง ได้พัฒนานักรณรงค์ที่มาจากนักศึกษา บุคลากรของวิทยาเขตโดยผลิตสื่อรณรงค์ สื่อออนไลน์ เรื่อง สสส.หนุน ม.อ.รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง 'บุหรี่-เหล้า-อุบัติเหตุ' จำนวน 1 ชุด เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 20 สำนัก สื่อออนไลน์ ห่วง 'บุหรี่ไฟฟ้า' เจาะกลุ่มเด็กและเยาวชนผ่านสื่อออนไลน์ 10 สำนัก ผลิตวีดิโอ 11 คลิปเผยแพร่ผ่าน Facebook และผลิตสื่อ TikTok จำนวน 9 คลิปเผยแพร่ผ่าน Facebook และ TikTok ผลิตโปสเตอร์จำนวน 52 ชิ้น พัฒนาบอร์ดเกมส์ 3 ชิ้นงาน คือ แฟลชการ์ด  บิงโก แผนที่จุดเสี่ยง มอบให้กับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 4 โรงเรียน รวมทั้งผลิตไวนิลรณรงค์ช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ จำนวน 7 ชิ้นงานติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยและชุมชน ผลิตป้ายรณรงค์ 4 ป้ายและผลิตชุดนิทรรศการรณรงค์ 2 ชุด

ขณะเดียวกันนักรณรงค์ปัจจัยเสี่ยงวิทยาเขตหาดใหญ่ ผลักดันให้เกิดแกนนำอาสาสมัครจราจรจำนวน 80 คน และแกนนำในชุมชนร่วมขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 30 คน ส่วนวิทยาเขตตรัง จัดตั้งชมรม The Volunteers @ PSU Trang 1 ชมรม จำนวน 23 คน แกนนำชุมชนร่วมขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 30 คน วิทยาเขตปัตตานี เกิดนักรณรงค์ในกลุ่มนักเรียนสาธิต ม.อ. จำนวน 20 คน เกิดแกนนำชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิกบุหรี่ชุมชนบ้านม่วงเงิน มีคนเลิกบุหรี่ได้เป็นเวลา 3 เดือน 1 คน ลดการสูบและตั้งใจจะเลิกจำนวน 22 คน วิทยาเขตภูเก็ต เกิดแกนนำนักเรียนนักรณรงค์โรงเรียนไทยรัฐวิทยา (29) และโรงเรียนกระทู้วิทยา จำนวนรวม 70 คน จัดกิจกรรมเรื่องพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า 7 ครั้งมีคนเข้าร่วมจำนวน1,111 คน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ส่วนวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มีผู้ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2567 จำนวน 42 คน ผลการติดตามครั้งที่ 1 เหลือผู้ร่วมงดเหล้าฯ 39 คน งดเหล้าไม่สำเร็จ จำนวน 3 คน ส่วนการผลักดันเชิงนโยบาย วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน พัฒนาระบบเฝ้าระวัง และวิเคราะห์สถานการณ์ติดตามประเมินผล มีการเสนอให้โรงเรียนเทศบาล 1 เมือง คอหงส์ มีการขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งการบรรยาย ให้ความรู้ รณรงค์วินัยจราจรและ ประกาศให้ผู้ปกครองและนักเรียนสวมหมวกนิรภัย ตลอดเวลาการดำเนินทาง

​ด้านนายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากการสรุปความคืบหน้าของการดำเนินงานแต่ละวิทยาเขตมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันเช่น วิทยาเขต หาดใหญ่และวิทยาเขตตรังเลือกประเด็นการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุมีการระบุพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย ระบุจุดเสี่ยงทั้งในมหาวิทยาลัยและชุมชนรวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการสวมหมวก นิรภัยซึ่งวิทยาเขตหาดใหญ่สวมหมวกนิรภัยเกิน 80 %ส่วนวิทยาเขตตรังสวมหมวกนิรภัยเกิน 50% วิทยาเขตปัตตานีและวิทยาเขตภูเก็ตเลือกประเด็นบุหรี่จากข้อมูลที่จัดเก็บสะท้อนว่าปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า ในวิทยา เขตภูเก็ตนั้นรุนแรงขึ้นมีคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า 19.5% สูบบุหรี่ธรรมดา 8.2% และ 87%ซื้อจากออนไลน์ ส่วน วิทยาเขตปัตตานีนั้นเน้นทำงานร่วมกับชุมชนด้วยการสร้างต้นแบบมัสยิดปลอดบุหรี่และจะขยายไปสู่ ชุมชน ในขณะที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเน้นให้ความรู้กับประชาชนและนักศึกษาปี 1 มีการร่วมรณรงค์ลงนามเครือข่ายคนงดเหล้าเข้าพรรษา

กรรมการกองทุนสสส.กล่าวต่อว่าการดำเนินกิจกรรมแต่ละวิทยาเขตต้องยึดตัวชี้วัดโครงการ นอกจากนี้พบว่ายังมีจุดที่ควรดำเนินการเพิ่มเติมเช่นการจัดการความรู้ทั้งการจัดเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อนำไปสื่อสารรณรงค์ให้ความรู้และจัดกิจกรรมเช่นเมื่อระบุจุดเสี่ยงของอุบัติเหตุแล้วจะลดจุดเสี่ยงอย่างไรหรือสวมหมวกนิรภัยน้อยจะมีกิจกรรมเพิ่มการสวมหมวกนิรภัยให้มากขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งการหาแนวทางลดปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่มีการระบุไว้ทั้งการวางแผนจัดกิจกรรมให้มีความแน่นอนและการเชื่อมประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

​ขณะที่ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบได้สรุปสถานการณ์ความรุนแรงของบุหรี่ไฟฟ้าว่า ประชากรไทยวัย 15 ปีขึ้นไปมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 48,336 คนในปี 2557 เป็น 709,677 คนในปี 2565 โดยเฉพาะ เด็กผู้ชายและผู้หญิงวัย 13-15 ปีสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.3 เท่าแต่ที่น่าตกใจคือถ้าแยกเฉพาะเพศหญิงเพิ่มขึ้นถึง 7.9 เท่า อันตรายและโรคที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าพบว่ามี การทำลายเซลล์หลอดเลือดแดง 58% เสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองตีบเร็วกว่าบุหรี่ธรรมดา 10 ปีและก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ควันบุหรี่ไฟฟ้าทั้งมือหนึ่งและมือสองมีผลต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงมากกว่าเด็กที่ไม่สูบ 3-4 เท่า นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เส้นเลือดหดตัวทั่วร่างกาย ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีข้อมูลชุดเจนว่า53%ของวัยรุ่นไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอาการซึมเศร้า

นอกจากพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าที่รุนแรงแล้ว นักรณรงค์จะต้องชี้เห็นว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่ห้ามนำมีบทลงโทษจำคุกจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้าหรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.ศุลกากรก็ห้ามน้ำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คำสั่งคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภคห้ามขาย ห้ามให้บริการ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยกลยุทธ์ของธุรกิจบุหรี่คือทำให้บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติในสังคม โดยมุ่งเป้าไปที่เด็กและเยาวชน อ้างว่าปลอดภัย ช่วยเลิกบุหรี่มวนได้ มีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนฝ่ายตัวเองทั่วโลกผ่านมูลนิธิเพื่อโลกปลอดควันบุหรี่ เราต้องสื่อสารให้ประชาชนรู้เท่าทัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top