Monday, 29 April 2024
เพชรบูรณ์

เพชรบูรณ์- กำลังเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานนับร้อย พร้อมเครื่องมือบุกเข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ระบุว่ารุกล้ำเขตอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช นำกำลังเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ นับร้อยนาย ได้เดินทางมาพร้อมเครื่องมือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เพื่อจะเข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ของนายปิยวัฒน์ แซ่เถา และนางสาวสิริยากร แซ่ว่าง ที่บริเวณบ้านน้ำเพียงดิน หมู่ 8 ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์  ที่กรมอุทยานฯอ้างว่ามีการบุกรุกเขตอุทยาน    โดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ฯ  เข้าพูดคุยเจรจา พร้อมนำเอาคำพิพากษาเมื่อปี 2560  ที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วมาอ่านให้กลุ่มชาวบ้านฟัง ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวได้พิพากษาให้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างโดยมีกานดำเนินการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  โดยการมาในครั้งนี้นายชัยวัฒน์ระบุว่าในปัจจุบันมีชาวบ้านเข้าไปรุกล้ำเขตอุทยานในพื้นที่ใก้ลๆจึงจำเป็นต้องมาดำเนินการรื้อถอนใหม่อีกครั้ง แต่ชาวบ้านไม่ยอมต้องใช้ความพยายามในการเจรจาแบบละมุนละม่อม เป็นระยะตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น โดยในช่วงของการเจราจา กำลังเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานก็ได้มีการจัดแบ่งกำลังออกเป็นสองชุด ชุดแรกอยู่ด้านหน้า ชุดที่สองขึ้นไปด้านหลัง รีสอร์ต เมื่อชาวบ้านทราบได้มีการแบ่งกำลังไปคุมเชิงด้านหลัง ทำให้สถานการณ์ดูตรึงเครียดขณะที่ชาวบ้านได้ส่งเสียงขับไล่ให้เจ้าหน้าที่ถอนกำลังกลับ แต่ท้ายสุดก็ไม่มีเหตุรุนแรงใดๆเกิดขึ้น 

ซึ่งนายชัยวัฒน์ฯ ได้กล่าวว่า การที่ชาวบ้านบอกว่าต้องทำกินเราเข้าใจ เราไม่ได้มารังแก เรามาก็บอกเขาแล้วว่าเหตุสองเหตุนี้เท่านั้น  เรื่องเดิมคือเป็นคดีเก่าที่มีการบุกรุกและศาลได้ตัดสินไปแล้วและได้มีการบุกรุกซ้ำ ทีนี้แนวเขตของรีสอร์ตเขาก็ไปสร้างลานกางเต็นแล้วทำโซล่าเซลไว้ ซึ่งมันเป็นแนวเขต เราก็ทำตามมาตรา 35 (1) (2)ที่ดำเนินการไปแล้ว วันนี้ มาทำตาม (3) ซึ่งกระทรวงและรัฐมนตรีมีความเห็นแล้วว่าต้องรื้อถอนไปตามคำสั่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ทำ แล้ววันหนึ่งจะโทษเจ้าหน้าที่อุทยานไม่ทำอะไร ป่าหมดก็โทษเจ้าหน้าที่อุทยาน พอเรามาทำงานก็โดนอย่างนี้ ทำก็โดนไม่ทำก็โดน ในกรณีอย่างนี้ชาวบ้านต้องเข้าใจ  ว่าเราเองเราอยากส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ไม่ขัดข้องอะไรเลยหากทำตามกฏหมาย

ขณะที่นายปิยวัฒน์ แซ่เถา กล่าวว่า ขณะนี้แฟนของตนถูกดำเนินคดีอยู่ คือนางสาวสิริยากร  แซ่ว่าง ซี่งพื้นที่ที่ถูกดำเนินคดีไม่ได้อยู่ในจุดที่ท่านชัยวัฒน์ฯ ระบุ โดยพื้นที่เดิมนั้นศาลได้สั่งให้ชาวบ้านแพ้ไปแล้ว พื้นที่ที่อ้างว่ารุกล้ำพื้นที่อุทยานปัจจุบันเป็นคดีใหม่  คำสั่งหรือคำพิพากษาที่เจ้าหน้าที่อุทยานนำมานี่เป็นคดีเก่า ที่คุณบุญพันถูกดำเนินคดี ซึ่งแต่ก่อนนี้เขาทำอยู่ ซึ่งตนเองก็ยังไม่รู้ว่า เป็นคดีอุทยานหรือคดีป่าไม้ เพราะไม่ได้คลุกคลีเท่าไหร่ ซึ่งในช่วงที่มีการรื้อครั้งก่อนตนก็มาช่วยกันรื้อออกไปหมดแล้ว ส่วนที่อ้างจะเข้ามารื้อในวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับแปลงนั้น ตอนนี้คดีดังกล่าวเขาส่งไปที่ตำรวจแล้วและเพิ่งจะไปถึงชั้นอัยการ ยังไม่ได้มีการส่งฟ้องศาล เพราะฉะนั้นตนก็เลยขอทางอุทยานว่ายังไงก็รอให้ศาลเขาตัดสินก่อนว่ามีความผิดจริงอย่างไร ซึ่งถ้าศาลยืนว่ามีการบุกรุกเขตอุทยาน ตนและแฟนก็พร้อมที่จะถอยออกมาและรื้อออกให้  เพราะว่าตั้งแต่อุทยานประกาศเมื่อปี 2555 ทางเจ้าหน้าที่ไม่เคยมีหนังสือมาแจ้งหรือว่ามีเจ้าหน้าที่มาแจ้งเลยว่าที่ดินของตนมีส่วนเข้าไปอยู่ในเขตอุทยาน เพราะฉะนั้นผมไม่รู้เลยว่าตรงนี้เป็นเขตอุทยาน

รวมถึงที่มีการอ้างว่ามีแนวเขตปักอยู่ก็เกิดขึ้นเมื่อตนเองถูกดำเนินคดีเมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมานี่เอง ตนจึงไม่ยอมรับว่าตรงนี้เป็นเขตอุทยาน  ตนอยู่มาตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 มกราคม 2509 แล้วก็ทำกินมาเนิ่นนานแล้ว  ส่วนที่เจ้าหน้าจับผมดำเนินคดี ผมก็เข้าใจว่า ที่ดินของตนมีส่วนหนึ่งที่มันไปเกี่ยวกับทางอุทยาน ผมก็แจ้งเขาไปแล้วว่าถ้าอย่างนั้น ผมขอให้คดีที่ศาล ที่เป็นคดีอาญาสิ้นสุดก่อน แล้วผมจะยืนตามศาล และส่วนหนึ่งตนเองกำลังอยู่รวบรวมเอกสารในการร้องศาลปกครองคุ้มครองอยู่ และขอยืนยันว่ามันเป็นละแปลง กับคดีของปี 60 ที่เจ้าหน้าที่นำมาอ้างเพื่อทำการื้อถอนในวันนี้ ส่วนเมื่อปี 57 ที่เขามาแจ้ง ผมรู้แต่ว่าอยู่ใต้หน้าผาลงไป ซึ่งมันมีอยู่ทั้งหมด 31 ราย โดยส่วนนั้นเมื่อปี 63 เขาก็ได้ไปแจ้งชื่อตามมาตรา 64 ไปแล้ว ว่าที่ทำกินของเขาอยู่ในเขตอุทยาน แต่ในส่วนของตนที่ไม่ไปแจ้งเพราะไม่เคยมีใครมาแจ้ง ว่าที่ของตนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยที่ตนก็ทำกินปกติตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้ เปลี่ยนจากการทำการเกษตร  มาทำเป็นที่พักโฮมสเตย์ ให้ลูกค้าได้เข้าพัก เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว  เนื่องจากการทำการเกษตรมีการปัญหาเรื่องของโรคทำให้ไม่ได้ผลผลิตที่ดี ตนจึงหันมาทำโฮมสเตย์แต่พื้นที่บางส่วนก็ยังทำการเกษตรอยู่. 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเจ้าหน้าที่กรมอุทยานได้ถอนกำลังกลับที่ตั้งเมื่อเวลา 15.44 น ซึ่งสามารถทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นแผงโซลาร์เซลล์ได้บางส่วน และคาดว่าพรุ่งนี้น่าจะมีการดำเนินการต่อในการเข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆต่อไป

ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน มณฑลทหารบกที่ 36 ร่วมพิธีมอบถังน้ำ เก้าอี้สุขา และสิ่งของอุปโภคบริโภค ให้จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 มอบหมาย จิตอาสา 904 และกำลังพลจิตอาสา ร่วมพิธีรับมอบถังน้ำขนาด 1,000 ลิตร จำนวน 100 ใบ ถังยังชีพ บรรจุสิ่งของ อุปโภคบริโภค จำนวน 150 ชุด และเก้าอี้สุขา จำนวน 200 ชุด จากนายสมาน - นางเพียงเพ็ญ คุณากรไพบูลย์ศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกรียงถาวร คอนเทนเนอร์ จํากัด รวมมูลค่า 730,000 บาท โดยมี นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธาน มี นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต อดีตอธิบดีกรมการปกครอง นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายเรวัต ประสงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายเชาวลิตร แสงอุทัย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายสุพล บุศยโพยม พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม  ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

จากนั้น ได้ร่วมมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค และเก้าอี้สุขา ให้กับประชาชน โดยเน้นกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ ผู้ขาดแคลน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และร่วมปล่อยขบวนรถบรรทุกถังน้ำ เพื่อนำไปมอบให้กับชุมชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนภาชนะเก็บกักน้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ

ต่อมา พันเอก ฐาวิรัตน์   ยังน้อย รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 พร้อมด้วยกำลังพลกองร้อยบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยรถบรรทุกน้ำ  ร่วมกิจกรรม Kick off ปล่อยขบวนรถบรรทุกถังน้ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ในพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ บริเวณหน้าอาคาร 2 ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่

เพชรบูรณ์ คณะทำงานด้านกิจการพลเรือน ทบ. ตรวจเยี่ยมการปฎิบัติงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชน มทบ.36 และภาคีเครือข่ายพื้นที่เพชรบูรณ์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ที่บริเวณสนามบิน กองพลทหารม้าที่ 1 ค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พล.ต.อานนท์ เพชรคำ หัวหน้าคณะทำงานด้านกิจการพลเรือน กองทัพบก เป็นประธานการลงพื้นที่เยี่ยม ตรวจสอบประเมินผลในการปรับปรุงหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพบกให้มีความพร้อม ทั้งสำรวจความต้องการยุทโธปกรณ์ การจัดทำบัญชีรายละเอียดในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลไปประกอบรายงานต่อผู้บังคับบัญชา และพิจารณาให้การสนับสนุนยุทโธปกรณ์ที่หน่วยยังขาดแคลน เพื่อให้มั่นใจว่ากองทัพบก และหน่วยงานต่างๆ ในด้านการบรรเทาสาธารณภัย จะมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อมีเหตุสาธารณภัยต่าง ๆ ขึ้นในพื้นที่

โดยมี พลตรีวัชรพงศ์ แก้วแจ้ง  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 36 คณะผู้บังคับบัญชา คณะหัวหน้าส่วนราชการ และกำลังพลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 36  สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 16 (นพค.16) กองพันทหารม้าที่ 26 กรมทหารม้าที่ 3  กองพันทหารม้าที่ 18 กรมทหารม้าที่ 3 กองพันทหารช่างที่ 8 กองพลทหารม้าที่ 1 โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดียงและมูลนิธิร่มโพธิ์ ร่วมให้การต้อนรับและบรรยายสรุป

โดยในโอกาสนี้ พล.ต.อานนท์ เพชรคำ หัวหน้าคณะทำงานด้านกิจการพลเรือน กองทัพบก ได้กล่าวให้โอวาท และให้กำลังใจแก่กำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานสาธารณภัย 
เน้นย้ำให้ปฎิบัติงานร่วมกันเป็นทีมเวริ์คโดยไม่มีใครเป็นพระเอกคนเดียวตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาและขอให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง รอบครอบ และมีความปลอดภัย ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างสุดความสามารถ ซึ่งทุกวันนี้สภาพภูมิอากาศของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดสาธารณภัยต่างๆขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะสถานการณ์ภัยแล้งโดยมีสาเหตุมาจากธรรมชาติได ้แก่ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและภัยธรรมชาติและยังมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ได ้แก่ การทำลายชั้นโอโซน ผลกระทบ ของภาวะเรือนกระจก การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการตัดไม ้ทำลายป่า ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวทั้งในและต่างประเทศ โดยการลงพื้นที่ในวันนี้ เป็นความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนที่อาจจะต้องประสบกับภัยพิบัติต่างๆ ภายในประเทศ ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้มีดำริให้คณะทำงานด้านกิจการพลเรือน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามประเมินผลการเตรียมความพร้อมของหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพบก ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ที่จะร่วมกันปฏิบัติงานหากเกิดเหตุ

โซเชียลแชร์!! คนโพสต์ขายยาเสพติดโจ๋งครึ่ม ไม่กลัวไม่ว่า แถมการันตีส่งถึงมือลูกค้าให้ด้วย

(22 ก.พ. 67) รายงานแจ้งว่าเพจเฟซบุ๊ก ‘ข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์’ ได้โพสต์ภาพเฟซบุ๊กของชายรายหนึ่งโพสต์ขายยาเสพติดแบบไม่เกรงกลัวใคร แถวยังบอกอีกว่าถึงมือลูกค้าแน่นอน 

โดยข้อความระบุว่า "เล่นแบบนี้เลยเหรอครับ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย"

ขณะที่ข้อความภาพจากเฟซบุ๊กของชายรายดังกล่าวระบุว่า "หวัดดีวัยรุ่นเพชรบูรณ์ ใครสนใจตัวเล็ก-ตัวใหญ่ ในพื้นที่นัดรับได้ที่อำเภอเมือง งานชนงาน ของถึงมือแน่นอน กำลังแพ็คจัดส่งให้คืนนี้นะครับลูกค้าทุกคน #เสรี ไม่เกิน 5 เม็ด #ของแทร่" 

ทั้งนี้ เมื่อโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาทิ เริ่มอยู่ยากขึ้นทุกวัน, เพชรบูรณ์ของแทร่แน่นอน, อนาคตลูกหลาน, บ้านเมืองมันเกิดอะไรขึ้นกฎหมายมันอ่อนมากเสรีทุกอย่าง เป็นต้น 

เพชรบูรณ์-มณฑลทหารบกที่ 36 ร่วมกับกองพลทหารม้าที่ 1 ปล่อยขบวนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือประชาชน ตามโครงการ 'ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง' ประจำปี 2567

พลตรีวัชรพงศ์ แก้วแจ้ง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 /ผู้บัญชาการ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 36 เป็นประธานเปิดโครงการ 'ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง' ประจำปี 2567 ประจำปี 2567 พร้อมปล่อยขบวนยานพาหนะรถบรรทุกน้ำ/เพื่อไปให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อนจากภาวะขาดแคลน นำน้ำอุปโภค – บริโภค ที่สนามหน้าแหล่งสมาคมนายทหารค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ โดยมี นายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ดร.ประทิน นาคสำราญ นายก อบต.สะเดียง หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร เข้าร่วม

สำหรับการเปิด โครงการ 'ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง' ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ เนื่องด้วยปัจจุบันประเทศไทยได้เกิดภัยแล้งเร็วกว่าทุกปี ที่ผ่านมา ประกอบด้วยความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ และสภาวะโลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำที่เก็บกักในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนหลักบางแห่งมีปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง ในพื้นที่รับผิดชอบ 17 จังหวัดภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่อยู่ห่างไกลจากเขตชลประทาน  จะได้รับผลกระทบจากสภาวะภัยแล้ง  ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ ในการทำ เกษตรกรรม อุปโภคและบริโภค เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการเตรียมการในการช่วยเหลือประชาชนได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่รับผิดชอบอย่างรวดเร็ว

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 36 ร่วมกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพลทหารม้าที่ 1 ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเพชรบูรณ์ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 16 และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงร่วมจัดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2567 พร้อมตรวจความพร้อมของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ และปล่อยขบวนยานพาหนะรถบรรทุกน้ำ เพื่อไปให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อนจากภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภค ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย ตำบลบ้านโตก  ตำบลชอนไพร และตำบลป่าเลาซึ่งเคยเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งในห้วงที่ผ่านมา โดยจะนำน้ำอุปโภค บริโภคไปแจกจ่ายยังแทงค์เก็บน้ำประจำหมู่บ้าน วัด และ โรงเรียน

ด้าน พล.ต.วัชรพงศ์ แก้วแจ้ง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มทบ.36 กล่าวว่าศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก และกองทัพภาคที่ 3 โดย มลฑลทหารบกที่ 36 ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ให้ความสำคัญ ของปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ จึงได้ร่วมกันระดมศักยภาพของแต่ละหน่วยงานในการเตรียมความพร้อมการให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ให้ทุเลาเบาบางลงไปตลอดห้วงฤดูร้อนนี้ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เป็นนโยบายของกองทัพบก และ กองทัพภาคที่ 3  ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงขอให้ผู้บังคับหน่วยทุกระดับชั้นได้ประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มากที่สุด 

สำหรับกำลังพลและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจนี้ทุกนายขอให้มีความภาคภูมิใจ  ที่ได้มีโอกาสเป็นกำลังสำคัญ ในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งและมีความจำเป็น ที่จะต้องมีน้ำอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

โดยการจัดโครงการและการตรวจความพร้อมของกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ถือเป็นการ Kickoff ไปพร้อมกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก และเป็นการแสดงให้เห็นว่าทุกหน่วยงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ได้ร่วมกันระดมสรรพกำลังของแต่ละหน่วยงาน ในการเตรียมความพร้อมการให้ความช่วยเหลือ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับพี่น้องประชาชน ให้บรรเทาหรือลดความรุนแรงลง ซึ่งการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เป็นนโยบายที่กองทัพบกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

เพชรบูรณ์ เตรียมจัดงาน“ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน”

วันที่ 10 เมษายน 2567 เวลา 15.00 น. ที่ หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  นายจิรวัตร์ มณีโชติ  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานแถลงข่าว  จัดกิจกรรม “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพอย่างยั่งยืน จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยมี   นายอภินันท์ มุสิกพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์  นายณรงค์ศักดิ์ หอมมาลัย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ นางสาวไอลดา ยาท้วม ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบูรณ์ นางสาวปิยะดา  วัชโรทยางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานพิษณุโลก ร่วมแถลงข่าว

สำหรับการจัดงาน “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน”  กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2567 ณ โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณค่าและความสำคัญแหล่งมรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพ เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณค่าและความสำคัญแหล่งมรดกโลก เมืองโบราณศรีเทพ เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่สำคัญภายในงานประกอบด้วย ในวันที่ 26 เมษายน 2567 จะมีพิธีรับมอบใบประกาศการขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบให้กับกระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีการจัดตลาดสีเขียวเมืองโบราณศรีเทพ ที่เน้นสินค้าของชุมชน ในพื้นที่ สนับสนุนให้ยังคงอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อม โดยงดใช้โฟม ลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ลดปริมาณขยะ รณรงค์ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก  ชมนิทรรศการ “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน”  พร้อมรับชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม  ชุด “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ เมืองมรดกโลก แห่งศรัทธา”

ทั้งนี้ ยูเนสโก ได้ประกาศให้ เมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม  ซึ่งถือเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 และเป็นมรดกโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566  จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ร่วมงาน “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2567  ณ โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top