Sunday, 6 July 2025
อลงกรณ์

“อลงกรณ์”เสนอแนวคิด“ธีม พาร์ค คอมเพล็กซ์(Theme Park Complex)ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ (FKII Thailand) และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์โพสต์บทความในเฟสบุ้ควันนี้เรื่อง “ธีม พาร์ค คอมเพล็กซ์(Theme Park Complex)อีกทางเลือกใหม่ของประเทศไทยในการพัฒนาอย่างยั่งยืน”เป็นมุมมองใหม่ของอดีตรัฐมนตรีและส.ส.หลายสมัยที่เสนอแนวคิดในการพัฒนาธีม พาร์คผสมผสานกับเอนเตอร์เทนเม้นต์คอมเพล็กซ์(Entertainment Complex)ที่มีหลากหลายกิจกรรมสันทนาการถือเป็นแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy)ที่น่าสนใจไม่น้อยโดยมีข้อความดังนี้

“ธีม พาร์ค คอมเพล็กซ์(Theme Park Complex)อีกทางเลือกใหม่ของประเทศไทยในการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ (FKII Thailand)และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 19 มกราคม 2568 ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมองหาวิธีในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งการพัฒนาธีม พาร์ค (Theme Park)ระดับโลก เช่น ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland)ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ(Universal Studios) ซีเวิลด์(Sea World)หรือ ธีม พาร์คอื่นผสมผสานกับเอนเตอร์เทนเม้นต์คอมเพล็กซ์(Entertainment Complex)ที่มีหลากหลายกิจกรรมสันทนาการ เป็นแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy)ที่น่าสนใจและมีศักยภาพมากกว่าแนวทางอื่น

เหตุผลที่ควรพิจารณาการพัฒนา Theme Park ร่วมกับ Entertainment Complex ในประเทศไทย
1. จุดขายใหม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุนสร้างรายได้ให้ประเทศและประชาชน
การมี Theme Park ขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงจะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเต็มไปด้วยกิจกรรมและเครื่องเล่นที่ไม่เพียงแต่สนุกสนาน แต่ยังสร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ผู้เข้าชมจะมีโอกาสได้สัมผัสกับบรรยากาศที่หลากหลาย และทำให้การมาเยือนประเทศไทยน่าจดจำยิ่งขึ้น
2. การมอบประสบการณ์ที่หลากหลาย
Entertainment Complex ที่รวม Theme Park ที่มีธีมจากวัฒนธรรมและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง สามารถเพิ่มกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร บาร์ และพื้นที่สำหรับการแสดงดนตรี ทำให้ผู้เข้าชมมีตัวเลือกที่หลากหลายในการใช้เวลาในสถานที่เดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการเข้ามาของนักท่องเที่ยว
 3. สร้างงานและพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและท้องถิ่น
การพัฒนา Theme Park และ Entertainment Complex จะสร้างงานใหม่ให้กับคนในชุมชน ทั้งในด้านการดำเนินงาน การบริการ การตลาด การออกแบบ และการก่อสร้าง นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดเล็กในพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร ร้านค้า และบริการท่องเที่ยว จะได้รับประโยชน์จากการมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น
4. ส่งเสริมการศึกษาและการอนุรักษ์วัฒนธรรม
การออกแบบ Theme Park โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น สามารถสร้างโอกาสในการจัดแสดงวัฒนธรรมไทย เช่น การแสดงศิลปะการแสดงพื้นบ้าน โครงการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การมีพื้นที่การศึกษาภายใน Entertainment Complex จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ที่มีคุณค่า
5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวและนักท่องเที่ยวคุณภาพ
Theme Park และ Entertainment Complex สามารถออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับทุกกลุ่มวัย มีการจัดกิจกรรมและสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ครอบครัวสามารถร่วมใช้เวลาและสร้างความทรงจำดี ๆ ร่วมกันได้
6. ปลอดภัยและสร้างสังคมที่มีสุขภาพดี
การพัฒนา Theme Park และ Entertainment Complex พลิกโฉมสังคมในทางที่ดี โดยมีคุณค่าประสบการณ์และความสนุกสนาน เปิดโอกาสให้เกิดกิจกรรมที่มีความคิดสร้างสรรค์และปลอดภัยมากขึ้น

ตัวอย่างธีม พาร์คในประเทศต่างๆ

1. Disneyland  & DisneySea
Magic Kingdom (ฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา)
สวนสนุกในรูปแบบของเทพนิยาย มีตัวละคร Disney ที่เป็นที่รู้จักและเครื่องเล่นที่หลากหลาย
Disneyland (แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา)
สวนสนุกแห่งแรกที่เปิดในปี 1955 ที่มีโซนธีมต่าง ๆ เช่น Adventureland, Tomorrowland, Fantasyland
Tokyo Disneyland & Tokyo DisneySea (ญี่ปุ่น)
มีการออกแบบที่แตกต่างและเสริมสร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกับที่อื่น ๆ
Shanghai Disneyland (จีน)
สวนสนุกที่ใหม่และทันสมัย มีธีมที่แตกต่างให้สำรวจ

2. Universal Studios
Universal Studios Orlando (ฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา)มีทั้งสวนสนุก Universal Studios และ Islands of Adventure มีเครื่องเล่นและฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่อิงจากภาพยนตร์และโชว์
Universal Studios Hollywood (แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา)รวมเอาสวนสนุกและการท่องเที่ยวในสตูดิโอภาพยนตร์
Universal Studios Singapore มีเครื่องเล่นที่เป็นเอกลักษณ์และธีมที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์

3. SeaWorld
SeaWorld San Diego (แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา)
สวนสนุกที่เน้นการศึกษาและอนุรักษ์สัตว์น้ำ พร้อมทั้งมีการแสดงสัตว์น้ำต่าง ๆ
SeaWorld Orlando (ฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา) มีเครื่องเล่นและสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์น้ำ

4. Legoland
Legoland California (แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา)
สวนสนุกที่สร้างขึ้นจาก LEGO มีเครื่องเล่นที่เน้นการสร้างสรรค์
Legoland Billund (เดนมาร์ก)
สวนสนุกแห่งแรกที่เปิดในปี 1968 โดยมีความน่าสนใจจากเลโก้เป็นหลักที่มาเลเซียก็มี

 5. Europa-Park (เยอรมนี)
 เป็นหนึ่งในสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีโซนธีมประเทศต่าง ๆ และเครื่องเล่นที่ยอดเยี่ยม

6. Alton Towers (สหราชอาณาจักร)
 สวนสนุกที่มีเครื่องเล่นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะการออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ที่มีบรรยากาศที่สวยงาม

7. Six Flags
Six Flags Magic Mountain (แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา)มีเครื่องเล่นที่รวดเร็วและเร้าใจ
มีสวนสนุกในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกาที่เน้นการผจญภัยและเครื่องเล่นที่มีความสูง

8. Busch Gardens
Busch Gardens Williamsburg (เวอร์จิเนีย, สหรัฐอเมริกา) สวนสนุกที่ผสมผสานระหว่างสวนสัตว์และเครื่องเล่น
Busch Gardens Tampa Bay (ฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา)มีการแสดงทางวัฒนธรรมและเครื่องเล่นที่ยอดเยี่ยม

9. Everland (เกาหลีใต้)
สวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี มีเครื่องเล่นที่น่าตื่นเต้นและสวนดอกไม้ที่สวยงาม

10. Studio Ghibli Museum (ญี่ปุ่น)
แม้ว่าจะไม่ใช่สวนสนุกแบบดั้งเดิม แต่เป็นสถานที่ที่เน้นการทำความเข้าใจโลกแห่งการ์ตูนและอนิเมชั่นของ Studio Ghibli

สรุป
ในฐานะที่ผมเคยเป็นประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผมคิดว่า
การมี Theme Park เช่น ดิสนีย์แลนด์ หยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ หรือธีม พาร์คอื่นๆผสมผสานกับ Entertainment Complexในประเทศไทย เป็นทางเลือกที่สามารถสร้างประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน การแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยสร้างประสบการณ์ที่หลากหลาย ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความสุขและเหมาะสมกับทุกกลุ่มวัย จึงเป็นแนวทางที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน.

“อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.”คิกออฟนวัตกรรม“คอรัปชั่นเทค(CorruptionTech)ผนึกเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมปราบปรามการทุจริตแนวใหม่

(30 ม.ค. 68) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์(FKII Thailand)เปิดเผยวันนี้ว่าสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์จะคิกออฟนวัตกรรม“คอรัปชั่นเทค(CorruptionTech)ร่วมปราบปรามการทุจริตแนวใหม่ใช้เทคโนโลยีผสานเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมขจัดการฉ้อราษฎรบังหลวงในวันพรุ่งนี้ภายใต้โครงการใยแมงมุม ((The Spider Web Solution: Eliminating Corruption for a Brighter Future) เป็นแนวทางใหม่ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการขจัดคอรัปชั่นโดยประชาชนจะบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมโดยตรงในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง 

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า การคอรัปชันเป็นปัญหาเรื้อรังที่สั่งสมมานานส่งผลเสียหายต่อประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งสถานการณ์ปัญหาไม่ได้ดีขึ้นมิหนำซ้ำกลับถดถอยลง พิจารณาจากรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ที่เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2566 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลกแย่ลงจากปี2565ถึง 7 อันดับ

ในขณะที่ประเทศเดนมาร์กได้คะแนนสูงที่สุด 90 คะแนนเป็นอันดับ 1 ของโลก, ประเทศฟินแลนด์ อันดับ 2 ได้ 87 คะแนน ประเทศนิวซีแลนด์อันดับ 3 ได้ 85 คะแนน ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดในอาเซียนคือประเทศสิงคโปร์ ได้ 83 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ส่วนการจัดอันดับปี2567 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติจะประกาศในต้นเดือนหน้า “สถาบันเอฟเคไอไอ.ฯ.ขับเคลื่อนการอัพเกรดประเทศด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมในมิติต่างๆแต่ขณะเดียวกันก็เล็งเห็นว่าปัญหาคอรัปชั่นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไขไปพร้อมกันเพราะไม่ว่าจะพยายามยกระดับการพัฒนาประเทศอย่างไรแต่ถ้าเรือประเทศไทยยังมีรูรั่วขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถแล่นได้เร็วในทางตรงข้ามกลับแล่นได้ช้าลงแข่งขันกับใครเขาไม่ได้

ดังนั้นการนำคอรัปชั่นเทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มTraffy Fondueจึงเป็นแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นโดยเชื่อมโยงเครือข่ายใยแมงมุมกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน“

พร้อมกันนี้ขอเชิญร่วมงานสัมนาแนวรบสุดท้ายของสงครามปราบทุจริตในประเทศไทย FKII National Dialogue Forum2025 “ขจัดคอรัปชั่น เพื่อประเทศไทยใสสะอาด “พร้อมเปิดตัวแพลตฟอร์ม คอรัปชั่นเทค ”เดอะ สไปเดอร์ เว็ป“
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568 
เวลา 09.00 – 13.00 น. 
ณ TVA Hall สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร
📌https://maps.app.goo.gl/YxVYudCo6RNZuUbA9?g_st=il
พบกับวิทยากร ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สถานการณ์และพัฒนาการด้านการคอรัปชั่นในประเทศไทย และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการขจัดคอรัปชั่น โดยประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร โดย
🟢  นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบัน FKII Thailand
🟢  ดร. วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Traffy Fondue
🟢  ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
🟢  พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เลขาธิการภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ
🟢  นายชยดิฐ หุตานุวัชร ประธานสถาบันทิวา และผู้อำนวยการสถาบัน FKII Thailand
🟢  และ ร่วมอภิปรายโดยผู้เข้าร่วมงาน
สำรองที่นั่งด่วน รับจำนวนจำกัด
เพียง 80 ท่าน เท่านั้น❗️
ที่ LineOA FKII Thailand: https://lin.ee/BgPCPvd
ติดต่อสอบถาม
คุณวรวุฒิ 091-1805459
FKII Thailand
Facebook : FKIIThailand

“อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.“จับมืออดีตปปช.“วิชา มหาคุณ” และอดีตผู้ว่าสตง.”พิศิษฐ์“ ผนึกสมาคมสื่อมวลชนฯ.เดินหน้าโครงการคอรัปชั่นเทคขจัดทุจริตแนวใหม่

(30 มี.ค. 68) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์(FKII Thailand) ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์กล่าวภายหลังบรรยายเรื่อง “คอรัปชั่นเทค Corruption Tech โครงการเอไอ.ใยแมงมุมThe AI Spider Project :แนวทางใหม่ในการตรวจสอบและปราบปรามทุจริต“ว่า ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป.ป.ช.และ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาสอดีต ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ดร.พงษ์ หรดาล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและดร.โรจนศักดิ์ แสงธศิริวิไล. นายกสมาคมเครือฝ่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนาชาติซึ่งเป็นวิทยากรในโครงการฝึกอบรมสื่อมวลชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนี้เห็นด้วยและสนับสนุนโครงกา คอรัปชั่นเทคเพื่อขจัดทุจริตแนวใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และขอให้เร่งพัฒนาระบบเพื่อจะทดสอบระบบ”เอไอ.สไปเดอร์“ในโครงการฝึกอบรมฯลฯ.ครั้งต่อไปที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ปลายเดือนเมษายนที่จะถึงนีั“ ทั้งนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร บรรยายไว้อย่างน่าสนใจว่า

“…จากผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การ ทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI)ขององค์กรเพื่อความ โปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ประจำปี 2567  จากจำนวนประเทศ 180 ประเทศ 
ประเทศไทย ได้ 34 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 107 ของโลกและหล่นจากอันดับ4เป็นอันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งคะแนน34คะแนนในปี2567 ถือเป็นคะแนนต่ำสุดในรอบ 13ปี(ปี2555-2567) ประการสำคัญคือประเทศไทยได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของโลกมาโดยตลอดซึ่งหากพิจารณาย้อนไป10ปีจะพบว่า การแก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่กระเตื้องขึ้นมีแต่ถดถอยลง ดัชนีรับรู้การทุจริตตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี2567พบว่าคะแนนและอันดับลดลงต่อเนื่อง กล่าวคือในปี2555ได้คะแนน37อันดับ88ของโลก ปี2567 ได้คะแนน 34 อันดับ 107 สะท้อนความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของประเทศถดถอยในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตเป็นการประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 สถาบันได้แก่IMD WEF BF(TI) PRS V-DEM PERC WJC EIC
โดยตัวชี้วัดจากข้อมูล 7 ด้าน

1.เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบ
2.มีอำนาจ หรือตำแหน่งทางการเมือง มีการทุจริตโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ และระบบเครือญาติ และภาคการเมืองกับภาคธุรกิจ มีความสัมพันธ์กัน
3.การทุจริตในภาครัฐ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการเกี่ยวกับสินบน การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับส่วนรวม
4.การติดสินบนและการทุจริต
5.ภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ
6.ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
7.ระดับการรับรู้ว่าการทุจริต

สำหรับประเทศไทยสถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นอยู่ในขั้นวิกฤตเหมือนมะเร็งร้ายระยะสุดท้ายกำลังทำลายศักยภาพของประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงต้องใช้แนวทางใหม่ในการตรวจสอบปราบปรามทุจริตภาครัฐ-ภาคเอกชน
นั่นคือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียกว่า“คอรัปชั่นเทค Corruption Tech ภายใต้โครงการThe AI Spider Project(TSP)ทำหน้าที่เสมือนไฟฉายและใยแมงมุมในยุคดิจิตอลแพลตฟอร์มและเอไอ.ซึ่งจะเป็นparadigmใหม่ที่จะเอาชนะสงครามปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งนี้มีตัวอย่างการใช้คอรัปชั่นเทค(Corruption Tech)ปราบปรามการทุจริตในต่างประเทศ

1. ยูเครน: 
ระบบ ProZorro (AI + Blockchain)
>ระบบ e-Procurementที่ใช้ AI + Blockchainเพื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล  
>AI วิเคราะห์รูปแบบการเสนอราคาเพื่อตรวจจับการทุจริต เช่น:
 >ผู้เสนอราคาร่วมกัน (Bid Rigging) → AI ตรวจสอบรูปแบบการเสนอราคาที่คล้ายกันเกินไป  
  >โครงการที่มีราคาสูงเกินจริง → เปรียบเทียบกับราคาตลาดและโครงการอื่นๆ   
- **ผลลัพธ์**: ลดการทุจริตในโครงการรัฐได้ **20-30%** และประหยัดงบประมาณได้หลายล้านดอลลาร์  

2. เกาหลีใต้: 
AI ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
>ระบบ AI ตรวจจับการเบิกจ่ายเงินผิดปกติในโครงการของรัฐ  
ตัวอย่างการทำงาน
>โครงการก่อสร้างโรงเรียน แต่ไม่มีหลักฐานภาพถ่ายความคืบหน้า→ AI เชื่อมกับภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อยืนยัน  
 >การเบิกค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน → วิเคราะห์ข้อมูลการเบิกจ่ายในระบบคลาวด์   
- **ผลลัพธ์**: ลดการทุจริตในระบบราชการได้ **15-25%**  

3. อินเดีย: 
AI ตรวจสอบการทุจริตในโครงการสวัสดิการ
>ระบบ Aadhaar + AI ตรวจสอบการฉ้อโกงในโครงการช่วยเหลือสังคม  
**ตัวอย่าง**
>การจ่ายเงินซ้ำซ้อน → AI วิเคราะห์ข้อมูล biometric (ลายนิ้วมือ/ม่านตา) เพื่อป้องกันการรับเงินซ้ำ  
>ผู้รับผลประโยชน์ปลอม → ใช้ Facial Recognition AI ยืนยันตัวตน   
**ผลลัพธ์** ประหยัดงบประมาณ **1.2 พันล้านดอลลาร์** จากการตัดชื่อผู้รับปลอมออก  

4. สหรัฐอเมริกา:
AI วิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงินของนักการเมือง
>ระบบ AI ติดตามการโอนเงินที่น่าสงสัยของนักการเมืองและข้าราชการ  
**ตัวอย่าง**
>การโอนเงินก้อนใหญ่ไปต่างประเทศ → AI ตรวจสอบความเชื่อมโยงกับเครือข่ายทุจริต  
>บัญชีลับที่เชื่อมโยงกับผู้รับเหมา → ใช้ **Graph AI** วิเคราะห์เครือข่ายความสัมพันธ์   
**ผลลัพธ์**เปิดเผยคดีทุจริตหลายคดี เช่น การรับสินบนในโครงการก่อสร้าง  

5. บราซิล
AI วิเคราะห์เอกสารปลอมในโครงการรัฐ
>ระบบ AI (OCR + NLP)ตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง  
**ตัวอย่าง**
>ใบเสนอราคาปลอม → AI เปรียบเทียบลายเซ็นและรูปแบบเอกสารกับฐานข้อมูล  
>โครงการหลอกลวง → วิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อมูลในเอกสาร   
**ผลลัพธ์**ยกเลิกโครงการทุจริตมูลค่า **500 ล้านดอลลาร์**  

6. สิงคโปร์
AI ตรวจสอบ Conflict of Interest
>ระบบวิเคราะห์ความขัดแย้งของผลประโยชน์ในภาครัฐและเอกชน  
**ตัวอย่าง**
>นักการเมืองมีหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทาน → AI เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนบริษัทและบัญชีทรัพย์สิน  
>ข้าราชการร่วมกับญาติแสวงประโยชน์ในโครงการรัฐ → ใช้ Network Analysis AI
**ผลลัพธ์**
เพิ่มความน่าเชื่อถือในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ  

7.จีน:
ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ดำเนินนโยบายปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012 โดยมีแนวทางการปราบปรามคอร์รัปชันของจีนทั้งแบบอนาล็อคและดิจิตอล
1. นโยบาย "ฆ่าเสือ ตีแมลงวัน"
   "เสือ" หมายถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง ส่วน "แมลงวัน" คือข้าราชการระดับล่าง นโยบายนี้มุ่งปราบปรามการทุจริตทุกระดับ โดยเฉพาะในภาคการเงินและพลังงาน   
>ปี 2024 มีการลงโทษเจ้าหน้าที่และประชาชนรวม 589,000 คน ในจำนวนนี้มีเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีหรือเทียบเท่า 53 คน   
2. ระบบ "ไม่กล้า-ไม่สามารถ-ไม่อยากทุจริต"
 >ไม่กล้า : ใช้มาตรการลงโทษรุนแรง เช่น ประหารชีวิตในคดีทุจริตขนาดใหญ่  
 >ไม่สามารถ : ปรับปรุงระบบตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบงบประมาณแบบ Real-time Audit  
>ไม่อยาก : สร้างจิตสำนึกผ่านการศึกษาและประชาสัมพันธ์   
3. การปฏิรูปหน่วยงานตรวจสอบ
>CCDI (คณะกรรมการกลางตรวจสอบวินัยพรรค) มีอำนาจสืบสวนเจ้าหน้าที่ทุกระดับ 
*ในปี 2023 ตรวจสอบเจ้าหน้าที่อาวุโส 58 คน และลงโทษเจ้าหน้าที่ 4.7 ล้านคนในรอบ 10 ปี   
>จีนยังพัฒนาระบบ "บัญชีดำผู้ติดสินบน" เพื่อติดตามและลงโทษผู้เกี่ยวข้อง   
4. การใช้สื่อและวัฒนธรรมประชาสัมพันธ์
>ผลิตสารคดี *Always on the Road* และละคร *In the Name of People* เพื่อเปิดโปงกรณีทุจริตจริงและสร้างจิตสำนึกสาธารณะ   
5. การปราบปรามแบบค่อยเป็นค่อยไป
แบ่งขั้นตอนการจัดการเป็น 4 ระดับ 
ตั้งแต่การตักเตือนจนถึงลงโทษทางกฎหมาย โดย 90% ของคดีเริ่มจากการเตือนและลงโทษทางวินัย การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยต้องอาศัยการบูรณาการหลายมิติ ทั้งการปฏิรูประบบราชการ การส่งเสริมความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้ 5 แนวทาง
1. การเสริมสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance)
2.การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
3.การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
4.การสร้างวัฒนธรรมความซื่อสัตย์
5.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Corruption Tech ภายใต้โครงการThe  AI Spider Project(TSP)
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกภาคส่วนจึงต้องผนึกความร่วมมือในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

สถาบันเอฟเคไอไอ.กำลังพัฒนาคอรัปชั่นเทคเป็นแนวทางใหม่ในการขจัดทุจริตด้วยแพลตฟอร์มดิจิตอลและเทคโนโลยีAiภายใต้โครงการเอไอ.ใยแมงมุม(The AI Spider Project)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและปราบปรามทุจริตภาครัฐและภาคเอกชน
สำหรับโมเดลThe AI Spider project เฟสที่1 ประกอบด้วย
1. แพลตฟอร์มทราฟฟี ฟองดู (Traffy Fondue )
พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดTraffy Fondue เพื่อให้ประชาชนช่วยตรวจสอบจะเป็นกลไกหลักของโครงการ
2.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI :Artificial intelligence)
วิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ระบบ e-GP  
3. สมองของเอไอ.ในการเรียนรู้(Machine Learning)
สร้างระบบเตือนภัยการทุจริต (Early Warning System)โดยใช้ Machine Learning  
4.เปิดกว้างสร้างเครือข่ายผู้แจ้งเบาะแส(Whistleblower)
5.เชื่อมโยง ปปช. ปปท. สตง.  รัฐสภา สำนักงบประมาณ 
กรมบัญชีกลาง เครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่น 76  จังหวัด กทม. อปท. หน่วยงานอื่น

การขับเคลื่อนโครงการใยแมงมุม ระยะที่ 1
    1.    เปิดใช้แพลตฟอร์มThe AI Spider Projectเป็นทางการภายในเดือนพฤษภาคม 2568
    2.    ใช้Corruption Techตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานเสี่ยง  
    3.    พัฒนาระบบ Open Data + AIอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนและสื่อมวลชนช่วยตรวจสอบ  
    4.    สร้างความร่วมมือกับ Tech Startupในการพัฒนา AI Anti-Corruption Tools  
    5.    ผลักดันนโยบายดิจิตอลภาครัฐให้เชื่อมโยงข้อมูลและใช้Corruption Techในการตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการคอรัปชั่นในประเทศไทย
การใช้Corruption Technologyต่อต้านคอร์รัปชันต้องทำควบคู่กับการปฏิรูประบบราชการและส่งเสริมวัฒนธรรมความโปร่งใส เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน หากทำได้อย่างจริงจังต่อเนื่องจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขจัดทุจริตและเพิ่มความน่าเชื่อถือ(Trust)ให้ประเทศไทย แนวทางเหล่านี้ต้องดำเนินการควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้าง "ระบบนิเวศต่อต้านคอร์รัปชัน" ที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน  ทั้งนี้ ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการยกระดับจิตสำนึกสาธารณะและความมุ่งมั่นทางการเมืองในการปฏิรูปอย่างแท้จริง….“ หมายเหตุ:โครงการ”อบรมสื่อมวลชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ..”จัดโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน ป.ป.ช.
—————————-
ประวัติวิทยากรโดยสังเขป
นายอลงกรณ์ พลบุตร
ตำแหน่งปัจจุบัน
>ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
>ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์
(FKII: Fields for Knowledge Integration and Innovation) 
>ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมท
Workdview Climate Foundation 
>ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย
>ประธานคณะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ,
 สภาผู้แทนราษฎร
>ประธานคณะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ,สภาผู้แทนราษฎร
>รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์
>ประธานคณะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ตำแหน่งและผลงานในอดีต
> รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
>ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2562-2566 
> ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่ประชุมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN-GFHS) ปี2660-2561
>รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ปี 2558-2560
>สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ ปี2557-2558
>อดีตส.ส.เพชรบุรีและส.ส.บัญชีรายชื่อ6สมัย ระหว่างปี 2535 - 2557
ผลงานเขียนหนังสือ
>4เล่มด้านต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คอรัปชันและการเมือง

“อลงกรณ์-คอรัปชั่น ฟ้องดู”เดินสายผนึกสื่อมวลชนภาคใต้สร้างเครือข่าย “ใยแมงมุม”ต้านโกงทั่วประเทศหวังประเทศไทยโปร่งใสมีธรรมาภิบาล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ. ประธานที่ปรึกษาของ รมว.ทส.และรองประธานคณะกก.ยุทธศาสตร์ ปชป. อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยวันนี้เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการ “ใยแมงมุม” (Spider Web)ปราบโกงภายหลังเป็นประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษในโครงการอบรมสัมมนาสื่อมวลชนและองค์กรเครือข่ายสื่อภาคใต้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทุจริตภาครัฐและเอกชนจัดโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติภายใต้การสนับสนุนของกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)ที่โรงแรมบรรจงบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า แกนนำสื่อมวลชนภาคใต้และสมาชิกกลุ่มStrongซึ่งเป็นเครือข่ายของปปช. ที่ประกอบด้วยนักศึกษาและประชาชนจิตอาสาเห็นด้วยและพร้อมร่วมขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม “คอรัปชั่น ฟ้องดู” (Corruption Fondue)ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้โดยการสนับสนุนของสถาบันเอฟเคไอไอ.มีเป้าหมายหลักคือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI)ขจัดทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาครัฐและเอกชน
“ในการเดินสายสร้างความเข้าใจแพลตฟอร์มคอรัปชั่นเทคที่เรียกว่า“คอรัปชั่น ฟ้องดู” พร้อมกับการสร้างเครือข่าย“ใยแมงมุม”ซึ่งล่าสุดคือภาคใต้ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากแกนนำสื่อมวลชนภาคใต้และเครือข่ายStrongของปปช. ก่อนหน้านี้ได้ขยายเครือข่ายสร้างความร่วมมือกับสื่อมวลชนและองค์กรเครือข่ายสื่อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมาแล้ว และเป้าหมายต่อไปคือกรุงเทพฯ และภาคกลาง

แพลตฟอร์ม “คอรัปชั่น ฟ้องดู” ไม่เพียงเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีแต่ยังเป็นความหวังใหม่ในการสร้างวัฒนธรรม “ไม่ทนต่อการทุจริต” ผ่านความร่วมมือของทุกภาคส่วน การเดินหน้าสร้างเครือข่ายใยแมงมุมครั้งนี้สะท้อนเจตจำนงที่จะก้าวข้ามวิกฤตคอรัปชั่นเพื่อสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในประเทศไทย“นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.

อลงกรณ์" ดึง AI สร้างแอปฯ Foundue สู้คอร์รรัปชั่น ประกาศเจตนารมณ์ผนึกภาคีเครือข่าย”ไยแมงมุม” สกัดโกง!

(28 พ.ค. 68) อลงกรณ์ ประกาศนำสถาบัน FKII Thailand ผนึกองค์กรภาคีต่อต้านการทุจริต สร้างเครือข่าย”ใยแมงมุม” สกัดโกง ดึงเทคโนโลยี AI “Corruption Foundue” สร้างช่องทางตรวจสอบข้อมูลที่โปร่งใส ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแจ้งเบาะแส ตรวจสอบ ขยายผลหวังลดปัญหาฉ้อฉลเงินแผ่นดิน

ที่สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ เมื่อวันที่ 28 พ.ค.68 นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบัน FKII Thailand พร้อมด้วย เครือข่ายพันธมิตร อาทิ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ, นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), ดร.มานะ นิมิตมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รรัปชั่น (ประเทศไทย), ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ผช.ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), นายชยดิษฐ์ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา และผอ.สถาบัน FKII Thailand, พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เลขาธิการภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ, ดร.เอก์ เหลืองสะอาด นายกสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย), ดร.โรจนศักดิ์ แสงธศิริวิไล นายกสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ, นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ ประธานมูลนิธิยุวไทยสากล และนายกสมาคมธุรกิจค้าไม้ และนายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวแพลตฟอร์ม คอร์รัปชั่น ฟ้องดู (Corruption Foundue) 

นายอลงกรณ์ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างบรรยายหัวข้อ“คอร์รัปชั่นเทคโนโลยี คอร์รัปชั่น ฟ้องดู โครงการใยแมงมุมต้านโกง” ว่า การรวมตัวของภาคีเครือข่ายฯครั้งนี้ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยยึดโยงกับวันแรก (28 พ.ค.) ที่สภาผู้แทนราษฎร กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ในวาระแรก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปีที่รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล และต้องกู้ยืมเงินมากกว่า 9 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศ ทั้งยังถือเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะในแวดวงราชการ ซึ่งสถาบัน FKII Thailand มองเห็นช่องโหว่ใหญ่ที่เป็นปัญหาของประเทศจากพฤติกรรมดังกล่าว
“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้อง ในยุคของรัฐบาลที่มีอำนาจมากที่สุดยุคหนึ่ง จนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีรวมเกือบ 20 คดี แต่ในที่สุดศาลท่านก็ได้ตัดสินให้ผมชนะในทุกคดี แม้จะไม่สามารถเอาผิดคนโกงได้ทุกคดี แต่ก็ทำให้อดีตรัฐมนตรีท่านหนึ่งและเลขานุการของรัฐมนตรีท่านนั้น ถูกจำคุกฐานฉ้อโกงเงินภาษีของประชาชนได้ ซึ่งบทเรียนจากการทำหน้าที่ประธานตรวจสอบการการทุจริตคอร์รัปชั่นในครั้งนั้น ก็น่าจะเป็นบทเรียนและเป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่นับจากนี้ไป”

ประธานสถาบัน FKII Thailand กล่าวย้ำว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภาคีเครือข่ายฯ หรือภาคประชาชน จะต้องกล้าเดินไปด้วยกัน เพื่อต่อต้านและขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น และร่วมกันสร้างแสงสว่างแห่งความดีงาม เพื่อป้องกันความดำมืดของการทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลดลงไปจากประเทศไทย

ด้าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การจัดการปัญหาคอร์รัปชั่นสามารถทำได้ หากเข้าใจกลไกอันเป็นต้นตอของปัญหา กล่าวคือตัวบุคคล ระบบ และบริบทสังคม ทั้งหมดมีความเชื่อมโยงถึงกัน ทั้งนี้ ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า “สันดานมนุษย์ซื้อได้ด้วยผลประโยชน์” ขอให้จ่ายในสัดส่วนที่มากพอ ก็สามารถจะซื้อคนๆ นั้นได้แล้ว วิธีการแก้ไขคือจะต้องสร้างระบบที่ทำให้ “คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว” โดยเฉพาะการสร้างแสงสว่างในที่มืดให้มากที่สุด ส่วนตัวเสนอให้ทุกภาคส่วน เปิดเผยข้อมูลทุกอย่างที่ไม่กระทบต่อปัญหาความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง เพราะหากทุกอย่างเปิดเผย โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้แล้ว เชื่อว่าปัญหาการปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะค่อยๆ ลดลงไปโดยปริยาย

ส่วน นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า การจัดตั้งองค์กรตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น นับแต่ที่มี สตง., ต่อมาก็มี ป.ป.ป., ปปท., ดีเอสไอ และ ปปง. ทั้งหมดสะท้อนว่าปัญหาวิกฤติด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ยังคงเติบโตและขยายตัวไปอย่างต่อเนื่อง ในฐานะ “อดีตผู้ว่าการ สตง.” มีหลายคนถามตนว่า “ทำไม ตึก สตง.ถึงถล่ม!” คำตอบง่ายๆคือ เพราะเป็น “ของหลวง” แต่หากเป็นตึกของภาคเอกชน ก็จะมีกระบวนการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ และขั้นตอนการก่อสร้างที่ดีพอ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตึกของเอกชนจึงไม่ถล่มพังลงมา ส่วนตัวเคยคิดว่าการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่ยาก แต่หลังจากที่มีแอปพลิเคชั่น “Corruption Foundue” แล้ว เชื่อว่าปัญหานี้จะลดลงตามมา

ขณะที่ ดร.มานะ  กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การพูดว่าจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น เสมือนเป็นการพูดใส่กำแพง กล่าวคือพูดให้ตัวเองได้ยิน แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย ที่ผ่านมาพบว่าแต่ละปีมีการโครงการก่อสร้างของภาครัฐรวมกันสูงมากถึง 1.7 ล้านล้านบาท และหากมีการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยการเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะจากโครงการแค่ 10-20% นั่นก็หมายความว่าประเทศจะสูญเสียเงินไปราวๆ 1.7 - 3.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินที่สูงมาก เฉพาะหน่วยงานในสังกัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพบว่า การทำหน้าที่ของ อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด มีโครงการก่อสร้างถนนในพื้นที่ รวมกันมากถึง 3 แสนล้านบาท แต่กลายเป็นว่า 63% เป็นการซ่อมแซมถนนที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่แต่อย่างใด มันสะท้อนว่าที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้ใส่ใจต่อการต่อต้านปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นแต่อย่างใด แต่จากนี้ การมีเทคโนโลยี ฟ้องดู แม้จะช่วยให้การตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น แต่จำเป็นจะต้องสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชน รวมถึงนักวิชาการ และสื่อมวลชน เพื่อให้เครือข่ายทุกภาคส่วนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการเข้าถึงข้อมูลและทำหน้าฟ้องประชาชนไปด้วย

ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้คิดค้นแอปพลิเคชั่น “Traffy Foundue” ก่อนจะขยายผลและเชื่อมโยงไปสู่แอปพลิเคชั่น “Corruption Foundue” กล่าวว่าแนวคิดของการแอปพลิเคชั่นแจ้งเบาะแสหรือปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นคือต้องทำ (ใช้งาน) ได้ง่าย และเห็นความก้าวหน้า ที่สำคัญผู้แจ้งเบาะแสจะต้องปลอดภัย ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้กระบวนการทำงานในการตรวจสอบและป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้รับการแจ้งเบาะแสและผ่านการตรวจสอบแล้วจะถูกใช้และขยายผลเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป

ทั้งนี้ พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เลขาธิการภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ ระบุว่า ภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ พร้อมจะเข้าร่วมเป็นภาคีต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของ สถาบัน FKII Thailand เพราะไม่ต้องการเห็นการเติบโตของปัญหาดังกล่าว นำไปสู่ความร่วมมือในการสร้างสังคม “ธรรมภิบาล” ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

ขณะที่ ดร.เอก์ เหลืองสอาด นายกสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า ครั้งหนึ่ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เคยกล่าวปาฐกถาในงานเสวนาของสมาคมฯ ถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นว่าเป็นเสมือน “การปล้นชาติ” จำเป็นจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่ “ต้นน้ำ” นั่นจึงเป็นที่มาทำให้ สมาคมฯมุ่งเน้นไปที่สร้างเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ในระดับอุดมศึกษา โดยรวมมือกับมหวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งการเกิดขึ้นของ แอปพลิเคชั่น “Corruption Foundue” จะช่วยทำให้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเป็นไปอย่างเข้มข้นและเข้มแข็ง และทำให้การขับเคลื่อนเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเกาะป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อีกทางหนึ่ง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top