Tuesday, 21 May 2024
อลงกรณ์

ปลดกระดุมทุกเม็ดแล้วกลัดใหม่!! “อลงกรณ์” เปิดวิสัยทัศน์ “ปฏิรูปเกษตรไทย อนาคตประเทศไทย”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.6สมัยและอดีตรัฐมนตรี เขียนบทความในเฟซบุ๊กวันนี้ เรื่อง “ปฏิรูปเกษตรไทย อนาคตประเทศไทย”

“ปลดกระดุมทุกเม็ดแล้วกลัดใหม่”

เป็นตอนที่ 2 ของซีรี่ย์ “ก้าวใหม่ประเทศไทย” อย่างน่าสนใจ…….

ก้าวใหม่ประเทศไทย (ตอนที่2)

เรื่อง“ปฏิรูปเกษตรไทย อนาคตประเทศไทย”

“ปลดกระดุมทุกเม็ดแล้วกลัดใหม่”

โดย อลงกรณ์ พลบุตร

4 มกราคม 2564

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) โครงการอาหารโลก(World Food Program) องค์การสหประชาชาติ(UN) และองค์การอนามัยโลก(WHO)รายงานผลการประชุมสุดยอดระบบอาหารโลก(UN Food System Summit 2021)โดยสรุปว่า โลกกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนอาหารจากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการ

แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชากรโลกประสบปัญหาการเข้าถึงอาหารและราคาอาหารจะแพงขึ้น

เป็นวิกฤติของโลกแต่ก็เป็นโอกาสของไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลก

ประเทศไทยของเรามีศักยภาพการผลิตและการตลาดด้านเกษตรและอาหารสูงมาก

ปี 2560 เราเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 14 ของโลก

ปี 2561 ขึ้นเป็นอันดับ 12 ของโลกซึ่งมีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ปีเดียวขึ้น 2 อันดับ และเป็นครั้งแรกที่ขึ้นเป็นที่2ของเอเชียรองจากประเทศจีนเท่านั้น

ปี 2562 ขยับต่อเนื่องขึ้นเป็นอันดับ 11 ของโลก และยังครองอันดับ 2 ของเอเชีย

นับเป็นประเทศ “หนึ่งเดียวในโลก” ที่ 2 ปีขึ้น 3 อันดับ

ไทยแลนด์ โอนลี่ครับ

หลังโควิดคลี่คลาย เราจะสานฝัน”ครัวไทย ครัวโลก”สู่อันดับท็อปเทนของโลกตามนโยบายของรัฐบาล

วันนี้สินค้าเกษตรสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมของไทยติดท็อปเทนของโลกจำนวนไม่น้อย เช่น ยางพารา ยางรถยนต์ ถุงมือยาง น้ำตาล ทุเรียน ข้าว สับปะรดกระป๋อง อาหารทะเล ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง เอทานอล มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ

ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปวัตถุดิบและสินค้าแปรรูปขั้นต้นมูลค่าต่ำแบบที่เรียกว่า”ทำมากได้น้อย(More for Less)” ประเทศและเกษตรกรจึงมีรายได้น้อยมาอย่างยาวนาน เรา จึงต้องเปลี่ยนใหม่สู่การ”ทำน้อยได้มาก(Less for More)”

   ถ้าทำแบบเดิม ๆ จะไม่สามารถยกระดับอัปเกรดภาคเกษตรเทคออฟสู่เพดานใหม่ได้

   อย่างไรก็ตามแม้โจทย์จะชัดเจนในตัวเอง แต่คำถามคือ แล้วเราจะทำอย่างไร

    ผมจะยกตัวอย่างการถอดสมการนำมาสู่การออกแบบโมเดลการปฏิรูปภาคเกษตรไทย

ถ้าเราย้อนมองบริษัทเช่น  Amazon Alibaba Google Apple Teslaจะได้คำตอบว่าทำไมบริษัทเหล่านี้จึงสามารถทะยานขึ้นสู่บริษัทแนวหน้าของโลกภายในเวลา20ปีโดยเฉพาะAppleเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีมูลค่าตลาดทะลุ3ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา(มากกว่างบประมาณไทย30ล้านเท่า)

คำตอบคือ วิสัยทัศน์ เทคโนโลยีและการบริหารจัดการใหม่ ๆ

อีกตัวอย่างเช่น ประเทศจีนที่พัฒนาตัวเองจากประเทศยากจนด้อยพัฒนาสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ2และมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีภายใน30ปี

คำตอบก็เหมือนกัน

    การถอดบทเรียนจากตัวอย่างเหล่านี้ช่วยให้การดีไซน์การปฏิรูปง่ายขึ้น

    การปลดกระดุมแล้วกลัดใหม่จึงเกิดขึ้นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    เป็นกระบวนการปฏิรูปการบริหารจัดการเชิงโครงสร้างและระบบ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นแก่นกลาง

2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งรัดการปฏิรูปภาคเกษตรเดินหน้าภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ.(จบปริญญาเอกด้านยุทธศาสตร์โดยตรง)และนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์(เจ้าของสโลแกน”ทำได้ไวทำได้จริง”)ด้วยการสร้างกลไก4แกนหลักคือภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและภาคเกษตรกรเป็น4เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร4.0 ยุทธศาสตร์3S(Safety-Security-Sustainability)เกษตรปลอดภัยเกษตรมั่นคงเกษตรยั่งยืน ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนและยุทธศาสตร์บูรณาการทำงานเชิงรุก นโยบายโลจิสติกส์เกษตร นโยบายอาหารแห่งอนาคต รวมทั้งการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการ22หน่วยงานเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กรและพัฒนาต้นน้ำการผลิตด้วยการเพิ่มผลิตภาพ(productivity)ลดต้นทุน การพัฒนาคนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) ของประเทศ

ผมจะเล่าให้ฟังโดยสังเขปว่า 2 ปีมานี้ เราทำอะไรไปบ้าง ขอยกตัวอย่างเพียง 10 เรื่อง

1.เราจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(Agritech and Innovation Center)เรียกสั้น ๆ ว่า ศูนย์ AIC 77 จังหวัดเป็นฐานเทคโนโลยีของทุกจังหวัดและยังมีศูนย์AICประเภทศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้าน(Center of Excellence:COE)อีกกว่า 20 ศูนย์ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนา(R&D)และเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกรผู้ประกอบการและถ่ายทอดนวัตกรรมเน้นเมดอินไทยแลนด์(Made In Thailand)เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของเราเองโดยคิกออฟพร้อมกันทุกศูนย์ทุกจังหวัดทั่วประเทศเมื่อ1มิถุนายน2563 วันนี้มีเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมกว่า624ชิ้นงานพร้อมถ่ายทอดต่อยอดสู่แปลงนาแปลงสวนแปลงไร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องกว่า7,000ราย

เราจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ(National Agriculture Big Data Center:NABC)ภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ ๆที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)เริ่มตั้งแต่มีนาคม2563 เพราะเทคโนโลยีข้อมูล(Information Technology)คือเครื่องมืออเนกประสงค์ของทุกภารกิจและทุกหน่วยงานโดยกำลังเชื่อมต่อกับBig Dataของหน่วยงานรัฐ เอกชนและศูนย์AICทุกจังหวัด

เราปฏิรูปกระทรวงเกษตรฯ.ภายใต้คอนเซปต์ GovTechให้เป็นกระทรวงที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี(TechMinistry) 22 หน่วยงาน ในสังกัดกำลังพัฒนาตัวเองโดยโครงการดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชั่น(Digital Transformation)เพื่อ เปลี่ยนบริการอนาล็อคเป็นบริการออนไลน์ เปลี่ยนการลงนามอนุมัติด้วยมือเป็นลายเซ็นดิจิทัล(Digital Signature) การเชื่อมโยงตามโครงการNational Single Window การบริการออนไลน์และแพลตฟอร์มแผนที่เกษตร(Agrimap)แบบmobile users

2.เราขับเคลื่อนฟาร์มอัจฉริยะ(smart farming)ตามแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเช่น ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดดินน้ำอากาศและการอารักขาพืช การปรับระดับพื้นแปลงเกษตร(Land Leveling) ระบบเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์(Sead Technology) ระบบชลประทานอัจฉริยะรวมทั้งการใช้โดรนการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและแพลตฟอร์มแผนที่เกษตรดิจิทัล(Agrimap platform)

3.เราริเริ่มโครงการใหม่ ๆ เช่นการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(urban Farming)อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกตอบโจทย์Urbanization(ประชากรไทยในเมืองมากกว่าในชนบทตั้งแต่ปี2562) การจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์PGSแห่งประเทศไทย การขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์1.3ล้านไร่ การวางหมุดหมายแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่บนฐานศาสตร์พระราชาทุกตำบล การจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น2พันองค์กร การฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทย การพัฒนาเกลือทะเลไทย การพัฒนาวัคซีนจากโปรตีนพืชสำหรับสัตว์ โครงการเกษตรแม่นยำ(Recision Agriculture)2ล้านไร่ โครงการพลังงานทดแทนโซล่ารถเซลล์ในฟาร์มกุ้งฟาร์มปลา โครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank)ตอบโจทย์Climate Changeโดยเพิ่มต้นไม้ลดก๊าซเรือนกระจกโครงการCold Chainตลอดห่วงโซ่อุปทานและระบบแช่แข็งด้วยไนโตรเจนเหลวแบบNitrogen Freezer เป็นตัวอย่าง

4.เราริเริ่มและขับเคลื่อนนโยบายอาหารแห่งอนาคต พืชแห่งอนาคต(Future Food Future Crop)เช่นการส่งเสริมโปรตีนทางเลือกจากพืช(Plant base Protein) มีบริษัทstartupเกิดขึ้นจำนวนมาก การสนับสนุนโปรตีนทางเลือกจากแมลง(Edible Inseat base Protein)ปัจจุบันมีกว่า2หมื่นฟาร์ม(FAOประกาศเมื่อ3ปีที่แล้วว่าแมลงกินได้Edible Insectคืออนาคตใหม่ของโปรตีนโลก)

เราเปลี่ยนวิสัยทัศน์และแนวทางใหม่โดยโฟกัสการผลิตและการตลาดใหม่แบบคลัสเตอร์เช่น คลัสเตอร์อาหารเจอาหารVeganและอาหารFleximiliamอาหารใหม่(Novel food) คลัสเตอร์อาหารฮาลาลซึ่งมีลูกค้ากลุ่มประชากรมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมกว่า2พันล้านคน มูลค่าตลาด48พันล้านบาท และการส่งเสริมการตลาดแบบไฮบริดแพลตฟอร์ม(hybrid marketing platform)ทั้งตลาดในและต่างประเทศ ทั้งออนไลน์ (on-line)ออฟไลน์(off-line)และออนไซต์(on-site)ด้วยโครงการLocal HeroทุกจังหวัดมีทีมE-Commerceรับผิดชอบเป็นต้น

5.เราได้วางโรดแม็ปเส้นทางโลจิสติกส์เกษตรเชื่อมไทยเชื่อมโลกในระบบการขนส่งหลายรูปแบบ(Multimodal Transportation)ทั้งทางรถทางรางทางน้ำและทางอากาศ(Low Cost Air Cargo)เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงตลาดทั่วโลกและตลาดเป้าหมายใหม่เช่น

โครงการดูไบคอริดอร์-ไทยแลนด์ คอริดอร์ (Dubai Coridor- Thailand Corridor),เส้นทางรถไฟอีต้าอีลู่(BRI)เชื่อมไทย-ลาว-จีนสู่จีนทุกมณฑล-เอเชียใต้-เอเชียตะวันออก-เอเชียกลาง-ตะวันออกกลาง-รัสเซียและยุโรป และกำลังเปิดประตูใหม่จากอีสานสู่แปซิฟิกไปทวีปอเมริกาเหนืออเมริกาใต้และเปิดประตูตะวันตกประตูใต้สู่ทะเลอันดามัน-อ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียสู่เอเชียใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลางและยุโรป

6.เรากำลังปรับเปลี่ยนเกษตรแปลงย่อยเป็นเกษตรแปลงใหญ่(Big Farm)ซึ่งขณะนี้ขยายเพิ่มเป็นกว่า8,000แปลงเป็นพื้นที่รวมกว่า7ล้านไร่แล้วโดยมีการสนับสนุนเครื่องจักรกลเกษตรและระบบเกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

7.เราพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นyoung smart farmerได้กว่า 20,000คนและส่งเสริมพัฒนาศูนย์ศพก.เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ระดับอำเภอพร้อมกับยกระดับเกษตรกรที่มีประสบการณ์สู่ระบบคุณวุฒิวิชาชีพโดยร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

8.เรานำระบบทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual property)มาใช้ในการสร้างเกษตรมูลค่าสูงสร้างผลิตภัณฑ์สร้างแบรนด์ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy)โดยมีทีมงานรับผิดชอบโดยตรง

9.เราบริหารการพัฒนาเชิงพื้นที่(Area base)ควบคู่กับการบริหารการพัฒนาเชิงคลัสเตอร์เช่น โครงการ1กลุ่มจังหวัด1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั้งหมด18กลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์การแปรรูปผลผลิตเกษตรเพื่อกระจายการพัฒนาทุกภาคทุกจังหวัดไม่ให้เจริญแบบกระจุกตัวซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาโดยปี2565 รัฐมนตรีเกษตรฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ878อำเภอทั่วประเทศและคณะทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล7,255ตำบลเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนระดับพื้นที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

10.ความก้าวหน้าของงานแต่ละด้านเกิดจากการบริหารแบบเปิดกว้างสร้างหุ้นส่วน(Partnership platform)ในการทำงานกับทุกภาคีภาคส่วนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมต่าง ๆ สถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เครือข่ายองค์กรเอกชน ทุกกระทรวงและทุกพรรคการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาล การยึดประโยชน์บ้านเมืองมาก่อนประโยชน์ทางการเมืองได้สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจนำมาซึ่งความร่วมมืออย่างจริงจังและจริงใจ ประการสำคัญคือการทำงานอย่างทุ่มเทของคนกระทรวงเกษตรฯ

งานหนักและอุปสรรครออยู่ข้างหน้าอีกมาก แต่ด้วยก้าวใหม่ ๆ ตามโรดแม็ปที่วางไว้ เราเดินเข้าใกล้เป้าหมายในทุกก้าวที่กล้าเดิน

 

'อลงกรณ์' นำทีม 'ส.ส.ปชป.และดร.เอ้ สุชัชวีร์' ลุยเลือกตั้งซ่อมเขต 6 สงขลา แฟนคลับประชาธิปัตย์กว่าครึ่งหมื่นเชียร์สนั่นเวทีปราศรัย 

เน้นนโยบายปั้นสงขลาเป็นเมืองศูนย์กลางระเบียงเศรษฐกิจชายแดนใต้เชื่อมมาเลฯ.พร้อมพัฒนาสนามบินหาดใหญ่เป็นฮับการบินนานาชาติ ชู ”สุภาพร” เข้าวิน ส.ส.หญิงคนแรกของสงขลาโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งซ่อมเขต 6 จังหวัดสงขลาเป็นไปอย่างเข้มข้น

ล่าสุด นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากทม.และนายเดชอิศม์ ขาวทอง รองหัวหน้าพรรคภาคใต้ นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พล.ต.ต สุรินทร์ ปาลาเร่ ส.ส.สงขลา และสุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรัฐมนตรียุติธรรมและส.ส.อุบลราชธานี ชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว อดีตส.ส.สงขลาได้ลงหาเสียงแบบเคาะประตูบ้านช่วยนางสาวสุภาพร กำเนิดผล ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์เบอร์1 เขต 6 สงขลา ปรากฎว่าได้รับการต้อนรับเกินคาด

โดยในช่วงเย็นวานนี้มีการปราศรัยที่วัดเทพชุมนุมในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างล้นหลามจนเก้าอี้ที่ทีมงานหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เตรียมไว้5พันตัวไม่พอต้องยืนล้นออกมานอกถนนบรรยากาศเป็นไปด้วยความความคึกคักมีเสียงเชียร์กระหึ่มเป็นระยะๆโดยนายอลงกรณ์ได้ปราศรัยเปิดเวทีชี้แจงถึงนโยบายและวิสัยทัศน์ใหม่ๆของพรรคประชาธิปัตย์ในการพัฒนาจังหวัดสงขลาเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าธุรกิจของระเบียงเศรษฐกิจชายแดนใต้ ”ลิมอดาซาร์” เชื่อมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการลงทุนและโลจิสติกส์ระหว่าง 5 รัฐภาคเหนือมาเลเซีย(กลันตัน เคดาห์ เปรัค ปะลิสและปีนัง)กับ5จังหวัดชายแดนใต้(กลุ่มจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาสและยะลา)

ตามนโยบายเปลี่ยนบังเกอร์เป็นเคาเตอร์ การยกระดับสนามบินหาดใหญ่เป็นฮับการบินนานาชาติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวการค้าและธุรกิจ รวมทั้งการพัฒนาสะเดา-ปาดังเบซาร์เป็นเมืองท่าหน้าด่านแบบสมาร์ทซิตี้ที่ทันสมัยรองรับการขยายตัวของการค้าชายแดน รวมทั้งการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลในจังหวัดชายแดนใต้เพื่อเป็นฐานการแปรรูปสินค้าเกษตรมาตรฐานฮาลาลซึ่งมีมูลค่าตลาดโลก48ล้านล้านบาทมีกลุ่มเป้าหมายกว่า2พันล้านคนจะสามารถสร้างงานสร้างอาขีพและขยายการค้าใหม่ๆได้อีกมาก

ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ยุคใหม่จะร่วมสร้างจุดเปลี่ยนสงขลาและภาคใต้สู่อนาคตที่ดีกว่าเป็นอนาคตที่เราออกแบบได้สร้างได้ด้วยแนวทางถอดกระดุมทุกเม็ดแล้วกลัดใหม่ จะคิดจะทำแบบเดิมๆไม่ได้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ย้ำว่าประชาธิปัตย์ยุคอุดมการณ์ทันสมัยภายใต้การนำของหัวหน้าพรรคนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และเลขาธิการพรรค ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนสามารถขับเคลื่อนนโยบายประกันรายได้พืชเศรษฐกิจ5ชนิดได้แก่ยางพารา ปาล์ม ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วและช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร 8 ล้านครัวเรือนๆละ 1.5 หมื่นบาทที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19อย่างฉับไว จนไม่มีคำปรามาสในอดีตที่ว่าประชาธิปัตย์ดีแต่พูดหรือเชื่องช้า

และยังเป็นหลักของรัฐบาลในการสร้างรายได้นำเงินเข้าประเทศกว่า8.8ล้านล้านบาทจากการส่งออกที่เติบโต16%เกินเป้าหมายที่รัฐบาลเคยกำหนดไว้ที่4% ถึง 4 เท่าตัวทำสถิติสูงสุดในรอบ 30 ปีและยังผลักดันการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนซึ่งมีความสำคัญต่อจังหวัดสงขลาโดยข้อมูล 9 เดือน ม.ค.-ก.ย.2564 สามารถส่งออกได้ถึง 778,367 ล้านบาท ขยายตัว 38.06% แม้จะเผขิญกับวิกกฤติการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นแชมป์การส่งออกจนผลโพลของประชาชนยกให้รัฐมนตรีและกระทรวงเกษตรกับกระทรวงพาณิชย์เป็นกระทรวงที่มีผลงานเป็นที่ชื่นชอบอันดับ1ของประเทศซึ่งเป็นผลงานที่สะท้อนการทำงานยุคใหม่ทำได้ไวทำได้จริงเราทำได้ของพรรคประชาธิปัตย์

“เฉลิมชัย” เร่งรับมือผลไม้ฤดูการผลิตปี 65 ล่วงหน้า! มอบ “อลงกรณ์” ลุยเหนือติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดพร้อมตรวจด่านเชียงแสน - เชียงของ เผย! ‘ไทย’ ได้เปรียบดุลการค้าผักผลไม้จีนกว่า 3 เท่าตัว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดมาตรการที่เข้มงวดโดยเฉพาะด่านนำเข้าจีน และส่งผลต่อการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรผลไม้ของไทย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการและบริหารการจัดการผลไม้ (Fruit Board) มีความเป็นห่วงสถานการณ์และได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรและภาคการเกษตรของไทย จึงได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ ลงพื้นที่ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่เชียงใหม่ ลำพูนและเชียงรายระหว่างวันที่ 11-15 ม.ค.

โดยจะติดตามความคืบหน้าในหลายด้านได้แก่การบริหารจัดการผลไม้ของภาคเหนือ ฤดูการผลิตปี 2565(ลำไย) ความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.)ภาคเหนือ การขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center :AIC) จังหวัดเชียงใหม่ลำพูนและเชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมด่านเชียงของและด่านเชียงแสนในการส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรทางบกและทางเรือลำน้ำโขง โดยเฉพาะมาตรการ SPS และโควิดฟรี(Covid Free) และแนวทางแก้ไขปัญหาการขนส่งผ่านด่านบ่อเตนและด่านโมฮ่าน

การประชุมหารือกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนากาแฟอาราบิก้า(Arabica) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานภาคเหนือตอนบนและการขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ เพื่อพัฒนาการเกษตรในเมืองและส่งเสริมเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อแก้ปัญหา pm.2.5และลดก๊าซเรือนกระจกตอบโจทย์ Climate Change ตามแนวทาง COP26

 

 

เดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ปี 2565 “อลงกรณ์” ลุยภาคเหนือ ตั้งบอร์ดโครงการประกันราคาลำไยรูปแบบใหม่ พร้อมมอบศูนย์ AIC พัฒนาเพิ่มมูลค่าครบวงจร เร่งปฏิรูปผลไม้ไทยเชื่อมแผน 13 ขับเคลื่อนสู่ “เกษตรมูลค่าสูง”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดลำพูน เพื่อติดตามงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้บริหาร ข้าราชการ และหน่วยงานภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

ในการนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมภาคีเครือข่ายเกษตรกรภาครัฐและเอกชน เพื่อการขับเคลื่อนการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูและประชุมทางไกลตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายภาษเดช  หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดลำพูน และผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกรมการส่งเสริมค้าระหว่างประเทศ นายพงษ์ทร วิเศษสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานและ นายอมรพันธุ์ พูลสวัสดิ์ เลขานุการ คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือ (กร.กอ.ภาคเหนือ) และหัวหน้าหน่วยราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนด้านการขนส่ง ตัวแทนผู้ประกอบการ(ล้ง)ในจังหวัดลำพูน  ตัวแทนเกษตรกรแปลงใหญ่และศพก. และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมี นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ

ที่ประชุมได้รับทราบ (1) รายงานการคาดการณ์แนวโน้มผลผลิตภาคเหนือ ปี 2565 (2) รายงานผลการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ ปี 2564 และปัญหาอุปสรรค และที่ประชุมได้ร่วมหารือพิจารณาในแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ ระดับพื้นที่ (AREA BASED)

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กล่าวว่า ภายใต้โมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตและ “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการผลไม้ในสภาวะวิกฤติโควิด-19 โดยเน้นร่วมบูรณาการทุกภาคส่วน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อยืดอายุผลผลิต และแปรรูปยกระดับสู่อุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพิ่มมูลค่ารายได้ให้มากขึ้น ซึ่งในปี 2565 และปีต่อๆ ไปได้วางเป้าหมายพลิกโฉมภาคเกษตรไทยมุ่งเน้นการทำเกษตรมูลค่าสูง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 -2570) ในมิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมายหมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตร และเกษตรมูลค่าสูง มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานของภาคเกษตร และการสนับสนุนบทบาทของผู้ประกอบการเกษตร โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AICภาคเหนือและอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือเร่งวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้

นายอลงกรณ์กล่าวว่าจังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางลำไยภาคเหนือและเป็นเมืองหลวงลำไยโลก มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 250,000 ไร่ เป็นแหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน จากสถานการณ์การผลิต ปี 2560 – 2564 เนื้อที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,451,714 ไร่ ในปี 2560 เป็น 1,655,036 ไร่ ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,200,804 ตัน ในปี 2560 เป็น 1,437,740 ตัน ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 ต่อปี และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 827 กิโลกรัมในปี 2560 เป็น 869 กิโลกรัม ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.004 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของรัฐบาล อย่างไรก็ตามเรายังเผชิญปัญหาราคาลำไยตกต่ำในบางปีบางฤดูเป็นปัญหาซ้ำซากตลอดมาจึงให้ดำเนินการโครงการประกันราคาลำไยขั้นต่ำบนความร่วมมือระหว่างภาคเกษตรกรและภาคเอกชนโดยการสนับสนุนของภาครัฐเป็นโมเดลใหม่เพื่อให้ทุกภาคส่วนเป็นหุ้นส่วนกัน(Partnership model)แบบwin-winทุกฝ่ายเช่นที่กำลังดำเนินการกับอุตสาหกรรมกุ้งโดยบอร์ดกุ้งซึ่งภาคเอกชนตกลงกับเกษตรกรในการประกันราคาขั้นต่ำ โดยจะมีการประชุมภายใน2สัปดาห์หากเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อไปจะขยายผลกับทุกกลุ่มสินค้าเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์ผลผลิตลำไยในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการรองรับผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดล่วงหน้าตามแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไยปี 2565 เช่น โครงการกระจายลำไยออกนอกแหล่งผลิต จังหวัดลำพูนโดย คพจ. ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเตรียมการรองรับการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากและราคาผลผลิตตกต่ำ เป้าหมาย การสนับสนุนค่าบริหารจัดการกระจายผลผลิตลำไยออกนอกแหล่งผลิต การรับซื้อในราคานำตลาดตลอดจนแนวทางการบริการจัดการ ตั้งแต่ต้นทาง คือ เน้นตลาดนำการผลิต การลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพมาตรฐานเพิ่มผลิตภาพการผลิต การทำลำไยนอกฤดูการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนายกระดับมาตรฐานเน้นการใช้เทคโนโลยีแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้หลากหลายตามความต้องการของตลาด การซื้อขายล่วงหน้าระบบPre-order การบริการจัดการระบบขนส่งและเพิ่มระบบ Cold Chain Logistics

พลิกโฉมครั้งใหญ่ !!! กรกอ.มีมติ สนับสนุนโครงการประกันราคาสินค้าเกษตร มอบ ”อลงกรณ์” นำทีมยกระดับ พร้อมเห็นชอบโครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 9 กลุ่มจ.แรก หวังสร้างฐาน สู่หมุดหมายเกษตรมูลค่าสูง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กร.กอ.) เปิดเผยวันนี้(15ม.ค.)ภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/ 2565 ผ่านการประชุมทางไกล zoom cloud meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิชัย ไตรสุรัตน์ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทั้ง5ภาค นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายวินิต อิทธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และนายพงศ์ไท ไทโยธิน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ 

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า กรกอ.มีมติสนับสนุนโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรโมเดลใหม่โดยภาคเอกชนและให้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการมีเป้าหมายประกันราคาสินค้าเกษตรสำหรับภาคอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อให้ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้แนวคิดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่และจะเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของภาคเกษตรของเรา ภายใต้5ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ

โดยการสนับสนุนของรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีพาณิชย์

“ก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมกุ้งตลอดห่วงโซ่ธุรกิจร่วมกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งและกรมประมงโดยกระทรวงเกษตรฯ.เริ่มทดลองโครงการประกันราคากุ้งเฟสแรกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และขณะนี้กำลังขยายผลโครงการไปกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจภายใต้ฟรุ้ทบอร์ด ในอดีตที่ผ่านมาภาครัฐใช้เงินงบประมาณอุดหนุนสินค้าเกษตรกว่าแสนล้านต่อปีขณะที่ผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรยังเป็นปัญหาเช่นเดียวกับราคาสินค้าเกษตรก็ไม่มีความแน่นอน การเอาเปรียบทางการค้ากับเกษตรกรยังมีอยู่ ถ้าโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรโดยภาคเอกชนสำเร็จ ต่อไปภาครัฐจะได้ใช้งบประมาณไปทุ่มเทกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์ การพัฒนาผลิตภาพ(Productivity)ทั้งระบบ การพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเพิ่มทักษะ(Reskill&Upskill)บุคลากรภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการภาคเกษตรกร และการโปรโมทสินค้าเกษตรอาหารของไทยในต่างประเทศ

โครงการนี้ไม่ง่ายเลยแต่มีความเป็นไปได้ขึ้นกับความร่วมมือแบบหุ้นส่วนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ เราต้องช่วยกันปลดกระดุมแล้วกลัดใหม่ สร้างคานงัดใหม่ ๆในการอัปเกรดประเทศไทยของเรา” นายอลงกรณ์กล่าว

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบโครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 9 กลุ่มจังหวัดแรกหวังสร้างฐานอุตสาหกรรมเกษตรสู่หมุดหมายเกษตรมูลค่าสูงและ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่(S-Curve) รวมทั้งรับทราบวาระต่าง ๆ เช่น 

(1) บันทึกความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังความร้อนจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 

(2) ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระดับภาค (กร.กอ.ระดับภาค) 

(2.1) ความก้าวหน้าภายใต้คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออก ได้เสนอกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ปี 2566 -2570  มีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตการเกษตรและเชื่อมโยงตลาดในระดับภาคตะวันออกให้เป็นรูปธรรมตามนโยบายตลาดนำการผลิต 

(2.2) ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าเกษตรที่สำคัญตามศักยภาพแบบครบวงจร ในพื้นที่ 5 กลุ่มจังหวัด ซึ่งได้กำหนดสินค้าแบ่งออกเป็น (1) สินค้าหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ผัก โค และแพะ และ (2) สินค้ากลุ่มใหม่ อาทิ แมลงเศรษฐกิจ(จิ้งหรีด) สมุนไพร กัญชาและใบกระท่อม

ที่ประชุมได้พิจารณา “แนวทางการดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดนำร่อง” และมีมติ ดังนี้ 

>> (1) เห็นชอบให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อหารือแนวทางการจัดทำมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ของกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อม 9 กลุ่มจังหวัด  

>> (2) มอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯระดับภาค และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มเติมรายละเอียดแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อมบางส่วน และกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมให้มีสอดคล้องกันในแนวทางการส่งเสริม

‘อลงกรณ์’ ชี้ 4 ปัจจัย นำปชป.สู่ชัยชนะ กวาดเรียบ เลือกตั้งซ่อม ‘ชุมพร-สงขลา’

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ เขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง ‘4 ปัจจัยสู่ชัยชนะจุดเปลี่ยนประชาธิปัตย์’ วันนี้ว่า เหตุผลที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งเขตเลือกตั้งที่ 1 ชุมพรและเขตเลือกตั้งที่ 6 สงขลา มาจากปัจจัย 4 ประการหลัก

1.) ผู้สมัครของพรรคเป็นคนรุ่นใหม่ทำให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มโดยเฉพาะเสียงจากคนรุ่นใหม่และกลุ่มสตรี

2.) ผลงานของประชาธิปัตย์ยุคอุดมการณ์-ทันสมัย สร้างผลงานตามนโยบายที่แถลงไว้และสร้างผลงานในพื้นที่สไตล์ทำได้ไวทำได้จริงลบล้างภาพเก่าที่ถูกปรามาสว่าเชื่องช้าและดีแต่พูดจนได้อันดับ 1 ที่ประชาชนพอใจผลงานในการสำรวจความเห็นของประชาชน 2 ปีซ้อนเป็นภาพใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ประชาชนสัมผัสได้และให้โอกาสใหม่กับพรรคประชาธิปัตย์

3.) การบริหารจัดการการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบของพรรคและความทุ่มเทของแกนนำพรรคแกนนำท้องถิ่นผสานพลังทำงานร่วมกันภายใต้การขับเคลื่อนของรองหัวหน้าพรรคภาคใต้คนใหม่และผู้อำนวยการศูนย์เลือกตั้งทำให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

4.) กลยุทธ์การหาเสียงแบบออนไซต์และแบบออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียผสมผสานการเคาะประตูบ้านและปราศรัยสื่อสารตรงถึงประชาชนโดยตรงเน้นการนำเสนอนโยบายวิสัยทัศน์และผลงานของพรรคและผู้สมัคร

“จุรินทร์-เฉลิมชัย” ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่!!! ส่งออกข้าวไทยล็อตแรก 1,000 ตัน โดย “รถไฟสายจีน-ลาว” ถึงมหานครฉงชิ่งสำเร็จเป็นครั้งแรก “อลงกรณ์” ชี้!เป็นศักราชใหม่ของอีสานเกตเวย์ ตั้งเป้าหมายต่อไปส่งออก ‘ยางพารา ผลไม้ - กล้วยไม้ - สินค้าประมงและปศุสั

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยวันนี้(20 ม.ค.)ว่า ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 20 ตู้ ปริมาณ 1,000 ตันโดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวไปถึงมหานครฉงชิ่ง ( Chongqing )ในภาคตะวันตกของจีนสำเร็จเป็นครั้งแรกถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการขนส่งระบบรางเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและประเทศโดยส่วนรวมภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนตามนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เพื่อการส่งออกของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องขอบคุณ สปป.ลาวและจีนในความร่วมมืออันดียิ่ง

สำหรับความสำเร็จก้าวแรกในครั้งนี้แม้ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่า ซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากโดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา โดยจะประเมินผลการส่งออกข้าวล็อตแรกครั้งนี้รวมทั้งระบบการจองขบวนรถขนส่งสินค้าและการจองตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกำลังประสานงานกับผู้ให้บริการของทั้งสปป.ลาวและจีน เพื่อเร่งขยายผลไปสู่การส่งออกสินค้าเกษตรตัวอื่นรวมทั้งเป้าหมายตลาดใหม่ ๆ ทั้งในมณฑลต่าง ๆ ของจีนและประเทศอื่น ๆ ต่อไปโดยเร็ว 

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า เราเดินหน้าสร้างความพร้อมสำหรับวันนี้มาเป็นเวลากว่า 2 ปี สำหรับการขนส่งผ่านทางรถไฟสายใหม่ ซึ่งเพิ่งเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมาตามยุทธศาสตร์อีสานเกตเวย์(ESAN Gateway)เชื่อมไทย-เชื่อมโลก นับเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ของการค้าการส่งออกสินค้าไทยไปจีน โดยมีเป้าหมายสู่ตลาดต่อไปคือตลาดเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง รัสเซีย และยุโรปและเพิ่มสินค้าเกษตรที่จะขนส่งผ่านเส้นทางรถไฟสายนี้คือยางพารา ผลไม้ กล้วยไม้ไทย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สินค้าประมงและปศุสัตว์ รวมทั้งสินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าอื่น ๆ

“สำหรับมหานครฉงชิ่ง เป็นชุมทางรถไฟและการขนส่งหลายรูปแบบ โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการมีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่BRI(อีต้าอีลู่) และแม่น้ำแยงซีเกียงจึงมีความพร้อมทางด้านโลจิสติกส์และได้วางนโยบายเชื่อมโยง “ฉงชิ่ง-อาเซียน” เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับรัฐบาลไทย ทั้งนี้ มหานครฉงชิ่งมีเขตโลจิสติกส์อาเซียนและนานาชาติในตำบลหนานเผิง เขตปาหนาน (Chongqing ASEAN International Logistics Park) ถือเป็นเส้นทางขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่สำคัญและเป็น “ประตูเศรษฐกิจของจีนตะวันตก” สามารถเป็นจุดกระจายสินค้าไปมณฑลต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตกของจีนและขนส่งผ่านไปยังประเทศต่าง ๆ

 

“เฉลิมชัย” มอบ “อลงกรณ์” ลงพื้นที่หน้าด่านหนองคาย-อุดรฯ สัปดาห์หน้า ประสานผู้ประกอบการ ”ไทย-ลาว-จีน” ร่วมมือส่งออกข้าว-ยางพารา-ผลไม้ บนเส้นทางรถไฟสายใหม่รับมือฤดูกาลผลิตปี 2565

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)และประธานคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบเปิด

เผยวันนี้(21ม.ค.)ว่า ในวันพฤหัสบดีสัปดาห์หน้าจะเดินทางไปหนองคาย-อุดรฯ เพื่อหารือกับผู้ประกอบการ ”ไทย-ลาว-จีน” ด้านโลจิสติกส์เพื่อร่วมมือกันในการสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผัก ผลไม้กล้วยไม้ สินค้าประมงและสินค้าปศุสัตว์บนเส้นทางรถไฟลาว-จีน 

สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2565 ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีทางด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและโครงการโลจิสติกส์ปาร์คตลอดจนการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ไนโตรเจนฟรีสเซอร์และระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อการส่งออก

“ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 20 ตู้ ปริมาณ 500 ตันโดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวโดยมีจุดหมายปลายทางที่มหานครฉงชิ่ง (Chongqing)ในภาคตะวันตกของจีนเป็น Shipment แรกซึ่งสามารถผ่านการตรวจตราและออกใบรับรองจากด่านตรวจพืชที่หนองคายขนส่งถึงท่าบกท่านาและผ่านการเห็นชอบของด่านศุลกากรลาวแล้วรอขบวนรถขนส่งสินค้าเพื่อเดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปมหานครฉงชิ่ง ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานคลาดเคลื่อนจากหน่วยงานว่าขนส่งไปฉงชิ่งแล้วรวมทั้งจำนวนน้ำหนักซึ่งได้ช่วยประสานงานกับทางลาวและได้รับความร่วมมืออย่างดีในการอนุมัติผ่านด่านศุลกากรและกระทรวงเกษตรของลาว เมื่อขบวนรถไฟขนส่งมาถึงก็พร้อมออกเดินทางได้ทันที

การขนส่งระบบรางเป็นระบบใหม่จากไทยผ่านแดนลาวเพื่อขยายโอกาสทางการค้าภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนตามนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตเพื่อการส่งออกของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ดำเนินการเจรจากับทางการจีนและลาวทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการตลอดมาโดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่าซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกฝ่ายจึงสามารถฝ่าฟันอุปสรรคมาได้และถอดบทเรียนปัญหามาสู่การขับเคลื่อนไปข้างหน้าร่วมกัน” 

‘คนดีศรีเมืองเพชร’!! จ.เพชรบุรี เลือก! ‘อลงกรณ์’ เป็น ‘คนดีศรีเมืองเพชร’ ด้านบริหารรัฐกิจ - ผู้ทุ่มเท - เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม โดยกำหนดมอบโล่เชิดชูเกียรติ ในงานพระนครคีรี - เมืองเพชร ครั้งที่ 35 วันที่ 18 - 27 กุมภาพันธ์ 65 นี้!!

นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมคัดเลือก“คนดีศรีเมืองเพชร” ประจำปี 2565 โดยมีนางสาวคนึง ไข่ลือนาม วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ และคณะกรรมการ ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรีเพื่อส่งเสริมการทำความดีของคนในสังคม  ตลอดจนเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้กับต้นแบบของสังคม  คณะกรรมการคัดเลือก คนดีศรีเมืองเพชร ได้พิจารณาทุกกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิด้านศิลปกรรม นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ข้าราชการที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สร้างชื่อเสียงให้จังหวัด รวมถึงกลุ่มเด็กเยาวชน โดยจะมอบรางวัลโล่เชิดชูเกียรติ เพื่อยกย่องเชิดชูผู้ทำคุณงามความดีเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคน ได้ทำความดีเพื่อส่วนรวมเพื่อจังหวัดเพชรบุรี เพื่อประเทศชาติของเรา

โดยกำหนดการมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อจังหวัดเพชรบุรี ‘คนดี ศรีเมืองเพชร’ ประจำปี พ.ศ.2565 ในงานพระนครคีรี - เมืองเพชร ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 18 – 27 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ภาคราชการ และภาคประชาสังคม ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเทต่อการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดเพชรบุรี

สำหรับผลการคัดเลือก ‘คนดีศรีเมืองเพชร’ ประจำปี พ.ศ.2565 ในด้านต่างๆ มี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการคัดเลือกเป็น ‘คนดีศรีเมืองเพชร’ ในด้านบริหารรัฐกิจ โดยประวัติของ นายอลงกรณ์ พลบุตร เกิดที่ตำบลท่าราย อำเภอเมืองเพชรบุรี เรียนที่โรงเรียนศึกษาปัญหาและอรุณประดิษฐ์ จบปริญญาตรีจากธรรมศาสตร์และปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาอบรมเกือบ10ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังได้รับคัดเลือกจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาให้เป็น ‘ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา’ เป็นผู้ผลักดันโครงการเอทานอลจนได้รับฉายา ‘มิสเตอร์เอทานอล’ เป็นผู้ริเริ่มและร่วมก่อตั้งองค์กรพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตยแห่งเอเชีย(CALD) เคยเป็นรมช.พาณิชย์ และทำหน้าที่รมต.เศรษฐกิจอาเซียน  และประธานคณะกก.โลจิสติกส์การค้า และเป็นผู้ก่อตั้งBizclub นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์4สมัยจนถึงปัจจุบันและ เป็นอดีตส.ส.เพชรบุรี และส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 สมัย

ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึกษาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่ประชุมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN International Conference on  Human Settlements) และยังเป็นผู้บรรยายพิเศษปริญญาเอกโทตรีของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

เป็นผู้บรรยายพิเศษหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชนเช่น บยส.ของศาลยุติธรรม นธป.ของศาลรธน. วตท. Tepcotของหอการค้า วิทยาการตำรวจ สถาบันพระปกเกล้า สวปอ. นบส. วกส.ฯลฯ และยังเขียนหนังสือ4เล่มเกี่ยวกับด้านต่างประเทศและการเมือง

สำหรับบทบาทและผลงานของนายอลงกรณ์ พลบุตรที่มีต่อจังหวัดเพชรบุรีโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังได้แก่...

1.สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเพชรบุรี ในฐานะบุคคลสาธารณะที่มีเกียรติประวัติดีมีบทบาทและผลงานในระดับชาติตลอด30 ปี ที่ผ่านมานับแต่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพชรบุรีสมัยแรกในปี 2535 จนถึงปัจจุบัน

 2. ผลงานในช่วง5ปีที่ผ่านมา

2.1 สนับสนุนโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมทั้งระบบของเพชรบุรี ล่าสุดประสานงบประมาณจากนายกรัฐมนตรี80ล้านบาทเพิ่มเติมจากงบประมาณปกติปี 2564

2.2ริเริ่มและดำเนินการปฏิรูปภาคเกษตรในจังหวัดเพชรบุรีแบบครบวงจรทั้งพืช ประมงและปศุสัตว์

2.3ขับเคลื่อนโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรเพชรบุรีโมเดล

2.4ดำเนินโครงการปลูกป่าโกงกางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพชรบุรีและเพิ่มแหล่ง

อนุรักษ์สัตว์น้ำช่วยเพิ่มรายได้สร้างอาชีพให้ชาวประมงเพชรบุรี

2.5สนับสนุนอาชีพชาวนาเกลือและพัฒนาเกลือทะเลของเพชรบุรีในฐานะจังหวัดที่ผลิตเกลือมากที่สุดในประเทศไทย

2.6 สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรี

2.7สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านเกลือทะเลไทยในรูปของ สถาบันเกลือทะเลไทย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

2.8เสนอและผลักดันโครงการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมในฐานะเพชรบุรีเป็นประตูสู่ภาคใต้

2.8.1 โครงการทางยกระดับบนถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม2) แก้ปัญหาการจราจรสู่จังหวัดเพชรบุรีและภาคใต้

2.8.2 โครงการพัฒนาทางหลวง 3510 เป็นถนนยุทธศาสตร์ตะวันตกของเพชรบุรีและพัฒนา3แยกวังมะนาวเป็น4แยกวังมะนาวและถนนเชื่อมโยงถนนพระราม 2 เป็นโครงข่ายเส้นทางใหม่เชื่อมภาคใต้และภาคอื่น ๆ

2.9สนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการไทยแลนด์ริเวียร่าเวลเนสส์ฮับเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของเพชรบุรีและจังหวัดต่าง ๆ

2.10 จัดตั้งและสนับสนุนบิซคลับเพชรบุรี

2.11 สนับสนุนสหกรณ์เครดิตยูเนียน(เพชรบุรีเป็นเมืองหลวงของสหกรณ์เครดิตยูเนียน)และขบวนการสหกรณ์จนได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยให้เป็น ‘บุคคลผู้ทรงคุณค่าต่อขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย’ ในปี 2563

สำหรับผลการคัดเลือก ‘คนดี ศรีเมืองเพชร’ ประจำปี พ.ศ.2565 ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 31 คน ดังนี้...

1. ด้านรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาทางศิลปะและวัฒนธรรมเมืองเพชร/ช่างฝีมือ ได้แก่ นายทองร่วง เอมโอษฐ  ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์-งานศิลปะปูนปั้น), ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมา แฉ่งฉายา ศิลปินสาขาทัศนศิลป์, นายสัณฐาน ถิรมนัส ศิลปินสาขาทัศนศิลป์, นายธานินทร์ ชื่นใจ ครูช่างลายรดน้ำ, นางสาวสิริลักษณ์ ศรีทองคำ ช่างทำทองโบราณ, นายวิริยะ สุสุทธิ ครูแทงหยวก

2. ด้านส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมเมืองเพชร ได้แก่ นายแสวง เอี่ยมองค์ นายกพุทธสมาคมจังหวัดเพชรบุรี, นางถนอม คงยิ้มละมัย

3. ด้านอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาหารเมืองเพชร ได้แก่ นางสมาน กลิ่นนาคธนกร เจ้าของธุรกิจ ‘ขนมหม้อแกงแม่สมาน’

4. ด้านมนุษยศาสตร์รากฐานเมืองเพชร ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แสนประเสริฐ ปานเนียม, นายกฤษดากร อินกงลาศ

5. ด้านบริหารจังหวัดด้วยหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม

6. ด้านบริหารกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ พลตำรวจโทต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

7. ด้านบริหารรัฐกิจได้แก่ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์, นายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

8. ด้านนิติบัญญัติ ได้แก่ นายสุชาติ อุสาหะ ประธานคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

9. ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ได้แก่ นายนุกูล พรสมบูรณ์ศิริ นายกเทศมนตรีเมืองชะอำ, นางนฤมล กิจพ่วงสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลท่ายาง, นายวรวิสูตร ฉิมพาลี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม

 

“เกษตรฯ” หารือสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตร สู่เกษตรมูลค่าสูง!!

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติได้รับเชิญจากนายอภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้าเยี่ยมชมเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2565 Bangkok Design Week 2022 ณ อาคารไปรษณีย์กลาง

โดยภายในงานมี การจัดแสดงนิทรรศการที่บอกเล่าถึงอาหารในมิติของการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชผักท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ในชื่อ “ภูมิดี...อยู่ดี” นิทรรศการออกแบบไอเดีย ภายใต้โจทย์ “แพ็กลงกล่อง - ส่งไปรษณีย์ รับมือโลก ยุคที่ทุกสิ่งต้องดิลิเวอรีได้” โครงการพัฒนาสินค้าที่ออกแบบจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล และผลิตภัณฑ์พลาสติกต้นแบบ 9 ชิ้นที่ตอบสนองแนวคิดเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต

อีกทั้งการจัดแสดงผลงาน Seatscape & Beyond by One Bangkok  การออกแบบที่นั่งสาธารณะ ผ่านผลงานอินสตอลเลชั่น เพื่อชวนหาคำตอบว่า “เราจะนั่งในที่สาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด ?” CO With Garden By CEA x Kernel Design ต้นแบบพื้นที่สีเขียวในยุคโควิดที่เชื่อมโยงผู้คนกับธรรมชาติ อันเป็นหัวใจสำคัญของการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนเมืองในยุคปัจจุบัน ซึ่งจัดอยู่ในบริเวณลานจัตุรัสด้านหน้าไปรษณีย์กลาง งานแฟร์ที่รวมเหล่านักสร้างสรรค์เจ้าของ Creative IP (ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงสร้างสรรค์) ทั้งคาแรกเตอร์ดีไซเนอร์ แบรนด์ดีไซเนอร์ นักวาดภาพประกอบ นักวาดการ์ตูน ตลอดจนนักสร้างสรรค์ Art Toy ณ พิพิธภัณฑ์ชุมชนตลาดน้อย ท่าน้ำภาณุรังษี และงานออกแบบแสง The Wall 2022 by LIGHTING DESIGNERS THAILAND บริเวณ คลองผดุงกรุงเกษม เพื่อค้นหาวิธีออกแบบแสงสว่างที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและผู้คน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top