Wednesday, 23 April 2025
ห้องน้ำ

ผู้โดยสารสุดกลั้น อุจจาระในรถไฟฟ้า MRT ชาวเน็ต ยืนยัน ห้องน้ำมีทุกสถานี ไม่ควรทำแบบนี้

(6 เม.ย. 67) ผู้ใช้ TikTok @pee_chean420 โพสต์คลิปชวนอ้วก หลังพบผู้โดยสารรายหนึ่งทิ้งอุจจาระไว้บนรถไฟฟ้า MRT ทำส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ไปทั่วทั้งขบวน โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า

“ข่าวด่วน ผู้โดยสารปล่อยวัตถุต้องสงสัย สงสัยจะไม่ไหวแล้ว 25 ปี มีครั้ง ขอสักหน่อย”

โดยภายในคลิปวิดีโอจะเห็นว่าแม่บ้านเข้ามาเก็บกวาดทำความสะอาดจุดเกิดเหตุอยู่ อย่างไรก็ตาม หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 5 แสนครั้ง นอกจากนี้มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่มองว่า

“คือสถานีรถไฟฟ้า ควรมีห้องน้ำทุกสถานี” 

ผู้โพสต์ก็ได้เข้ามาตอบว่า 

“มีห้องน้ำครับ แต่ไม่มีสายชำระ ทิชชู่ต้องซื้อเอง หรือเตรียมมา ผมเคยสละถุงเท้ามาแล้ว”

ทั้งนี้ ชาวเน็ตส่วนใหญ่ยืนยันว่าสถานีรถไฟฟ้า มีห้องน้ำทุกสถานี สามารถใช้บริการได้

สาวสุดกลั้น โบกรถตำรวจให้ช่วยพาไปส่งที่ ‘ห้องน้ำ’ พี่จราจรไม่รอช้า พาซ้อน จยย. ส่งถึงที่ ชาวโซเชียลแห่ชื่นชม

(11 พ.ค.67) กลายเป็นคลิปที่ถูกแชร์บนโลกออนไลน์ เมื่อเกิดเหตุการณ์เร่งด่วน เรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจรีบให้ความช่วยเหลือ

เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นกลางในเมือง ซึ่งทุกคนรู้ดีว่า การจราจรในกรุงเทพนั้นสาหัสแค่ไหน แน่นอนว่า ความปวดท้องหนักนั้นไม่เข้าใครออกใคร ถ้าข้าศึกบุกเราก็พร้อมจะแพ้พ่าย ทำให้กลายเป็นไวรัล เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าช่วยโดยด่วน โดยเพจสืบนครบาล ระบุว่า ...

สำหรับเหตุการณ์คับขันที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์จริง ใจกลางกรุงเทพมหานคร บนถนนศรีอยุธยา ในระหว่างที่การจราจรติดขัด เพื่อนในรถตู้เกิดปวดท้องทนไม่ไหว ต้องการเข้าห้องน้ำด่วน เพราะข้าศึกประชิดประตูเมืองแล้ว กระทั่งเปิดกระจกถามเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สน.พญาไท แล้วไหว้วานให้พี่ตำรวจพาไปส่งเข้าห้องน้ำ

เมื่อประชาชนกำลังเป็นทุกข์ขอหวังพึ่ง ตำรวจก็ไม่รีรอ ให้บริการประชาชน พาซ้อนรถจักรยานยนต์สายตรวจจราจร ไปส่งที่โรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งเป็นจุดที่มีห้องน้ำอยู่ใกล้ที่สุด เป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกสถานการณ์

‘ชาวเน็ต’ ถกสนั่นประเด็น ‘ห้องน้ำ’ รองรับ LGBTQIA+ จะมีได้ไหมในไทย เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้อง หวั่นความสะอาด-ความปลอดภัย หากทำ ‘แบบรวม’

(10 ก.ค. 67) ปัจจุบันทั่วโลกเปิดกว้างมากขึ้นเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยก็มีกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ รองรับกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อให้พื้นที่ในสังคมแก่พวกเขาอย่างทัดเทียมกัน อีกทั้งหลาย ๆ คน ก็ตระหนักถึงเรื่อง ‘เพศสภาพ’ และ ‘รสนิยมทางเพศ’ กันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ประเด็นเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ก็ยังคงมีเรื่องให้ถกเถียงอยู่เป็นระยะ ล่าสุดเรื่อง ‘ห้องน้ำ’ ก็กลายเป็นที่พูดถึง หลังมีคนจุดประเด็นเรื่อง ‘ห้องน้ำไม่แบ่งเพศจะเป็นไปได้ไหมในสังคมไทย?’

โดยอ้างอิงจาก Sukha Thesis (สุขาธีสิส) อดีตกลุ่มนักศึกษาที่เคยโด่งดังจากการทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับห้องน้ำสำหรับ LGBTQIA+ ซึ่งจะแบ่งห้องน้ำออกเป็น 4 ประเภท

1. อนุญาตให้เข้าตามเพศสภาพได้ เป็นห้อง ‘น้ำชาย-หญิง’ ตามเดิม แต่อนุญาตให้ทรานส์เข้าตามเพศสภาพได้
2. ห้องน้ำห้องที่ 3 มีห้อง ‘น้ำชาย-หญิง’ ตามเดิม แต่เพิ่มห้องที่ 3 มาคั่นกลาง สำหรับ ‘LGBTQIA+’
3. ห้องน้ำเฉพาะ แบ่งสัดส่วนชัดเจน สร้างห้องน้ำหลาย ๆ ห้อง แบ่งเฉพาะเพศ เช่น ห้องน้ำสำหรับเกย์, ห้องน้ำสำหรับทรานส์
4. ห้องน้ำรวม (All Gender) ใช้ร่วมกันได้ทุกเพศ มองที่ฟังก์ชั่นการใช้งานของห้องน้ำ คือ ห้องน้ำเป็นแค่สถานที่มาปลดทุกข์, ทำความสะอาดร่างกาย

ทั้งนี้ ความคิดเห็นส่วนใหญ่มองว่า ห้องน้ำรวม (All Gender) สร้างความลำบากใจมากที่สุดหากเกิดขึ้นจริง โดยหลายคนยกตัวอย่างจากประสบการณ์ที่ไปต่างประเทศ บางคนก็กระอักกระอ่วนใจที่ต้องเข้าไปภาพของเพศอื่นกำลังใช้ห้องน้ำ และกังวลเรื่องความปลอดภัย

บ้างก็กังวลเรื่องความสะอาด หากเป็นห้องน้ำรวม สุขภัณฑ์ชายต้องไม่เรียงติดกัน ซอยเป็นห้อง ผนังกั้นต้องจากพื้นถึงเพดาน มีประตูมิดชิด

ซึ่งในประเทศไทย ห้องน้ำแบบที่ 1 และ 2 นั้น เรียกได้ว่าเป็นห้องน้ำที่มีอยู่เป็นปกติ หลาย ๆ ครั้งที่เราจะเห็นทรานส์เข้าห้องน้ำหญิง บางคนก็เลือกใช้ ‘ห้องน้ำคนพิการ’ หรือที่สากลเรียกว่า ‘Universal toilet’ (ห้องน้ำสำหรับทุกคน)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top