Saturday, 26 April 2025
สเปซเอ็กซ์

6 พนง.หญิง ฟ้อง ‘เทสลา’ คดีคุกคามทางเพศ พร้อมแฉ ‘อีลอน มัสก์’ ชอบให้ท้ายชายโฉด

ผู้หญิง 6 คนยื่นฟ้อง ‘เทสลา’ สนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมการคุกคามทางเพศในโรงงานที่แคลิฟอร์เนียและสถานที่อื่นๆ ซึ่งรวมถึงการแตะเนื้อต้องตัวโดยไม่พึงประสงค์ การพูดจาแทะโลมดูหมิ่น และการตอบโต้ผู้ร้องเรียน ขณะที่โจทก์บางคนบอกว่า ‘มัสก์’ เอง ก็ชอบทวิตยั่วยุส่งเสริมพฤติกรรมดังกล่าวในที่ทำงาน 

ก่อนการฟ้องร้องล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร (14 ธ.ค.) มีผู้หญิงอีก 2 คนยื่นฟ้องเทสลาไปก่อนแล้วตั้งแต่หลายสัปดาห์ก่อน ตอกย้ำปัญหาในโรงงานผลิตรถไฟฟ้าเทสลาในเมืองฟรีมอนต์ ย่านซานฟรานซิสโกเบย์ ที่รวมถึงคดีฟ้องร้องข้อหาเหยียดผิวที่อดีตพนักงานผิวดำเป็นฝ่ายชนะ และได้ค่าเสียหายไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์

คำฟ้องระบุว่า โรงงานเทสลามีสภาพเหมือนสถานที่ก่อสร้างหรือสถานที่อาศัยหรือสังสรรค์ของผู้ชายที่เต็มไปด้วยความหยาบคายและพฤติกรรมคร่ำครึ มากกว่าจะเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยและเป็นหัวใจสำคัญของความก้าวหน้าของซานฟรานซิสโกเบย์

เทสลายังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องนี้ แต่มีบางส่วนพาดพิงถึง ‘อีลอน มัสก์’ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ว่า ชอบทวีตยั่วยุส่งเสริมพฤติกรรมดังกล่าวในที่ทำงาน...

คดีฟ้องร้องทั้ง 6 คดีที่ยื่นต่อศาลในรัฐแคลิฟอร์เนีย ครอบคลุมผู้หญิง 5 คนที่ทำงานหรือเคยทำงานในโรงงานที่ฟรีมอนต์ ส่วนอีกคนเคยทำงานในศูนย์บริการทางใต้ของรัฐ

‘มิคาลา เคอร์แรน’ เล่าว่า ตอนที่เริ่มทำงานในโรงงานฟรีมอนต์ เธออายุเพียง 18 ปี และหลังจากทำงานได้ไม่กี่สัปดาห์ หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานเริ่มวิจารณ์หุ่นของเธอต่อหน้า เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งชวนเธอมีเซ็กซ์โดยบอกว่า พนักงานหลายคนในโรงงานมักชวนกันไปหลับนอนในที่จอดรถ

เคอร์แรน บอกว่า เธอตัดสินใจลาออกหลังจากถูกคุกคามแบบนี้เกือบ 2 เดือน โดยงานที่เทสลาคือการทำงานครั้งแรกนับจากเรียนจบมัธยมปลาย ในคำฟ้อง เธอยังกล่าวหาว่า มีการคุกคามทางเพศอย่างแพร่หลายในเทสลา สเปซเอ็กซ์ไม่แตกต่าง 

ทำเนียบขาวให้อาณาสิทธิ์ 'อีลอน มัสก์' ชี้ขาดผลประโยชน์ทับซ้อนของบริษัทตัวเอง

(6 ก.พ.68) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีที่เป็นผู้นำในหน่วยงานปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐบาลภายใต้ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในการพิจารณาว่าบรรดาบริษัท บริษัท Tesla, SpaceX, xAI, Neuralink และบริษัทต่างๆ ของเขาเองนั้นมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างที่เขามีบทบาทตรวจสอบการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางกับธุรกิจของเขาที่เป็นเจ้าของทั้ง 6 บริษัทหรือไม่

คาโรไลน์ ลีวิตต์ เลขาธิการฝ่ายสื่อของทำเนียบขาวกล่าวระหว่างการแถลงข่าว กล่าวว่า “ท่านประธานาธิบดีได้รับคำถามนี้ไปแล้วในสัปดาห์นี้ และท่านได้กล่าวว่า หากอีลอน มัสก์พบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวกับสัญญาหรือเงินทุนที่หน่วยงาน Doge ดูแล เขาจะถอนตัวจากสัญญานั้น และเขาก็ยังคงปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด”  

สำหรับอีลอน มัสก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็น 'ลูกจ้างพิเศษของรัฐบาล' และเป็นหัวหน้าทีมของหน่วยงานรัฐบาลกลางที่เรียกว่ากรมประสิทธิภาพรัฐบาล ( Doge) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎระเบียบด้านผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎเหล่านี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว  

มัสก์ วัย 53 ปี เป็นซีอีโอของ SpaceX บริษัทที่มีสัญญารัฐบาลมูลค่าสูงกับองค์การนาซาและกองทัพสหรัฐฯ โดยโครงการปล่อยจรวดของบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งซีอีโอของ Tesla บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เคยถูกสอบสวนโดยหน่วยงานรัฐบาลกลางหลายแห่ง รวมถึงสำนักงานบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ (NHTSA) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC)  

“ผมไม่เคยเห็นกรณีไหนที่บุคคลสามารถตัดสินใจด้วยตัวเองว่าเขามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่” ดร.โดนัลด์ เคตเทิล ศาสตราจารย์กิตติคุณและอดีตคณบดีคณะนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยแมริแลนด์กล่าว “ในความเป็นจริง การกำหนดผลประโยชน์ทับซ้อนด้วยตนเองก็ถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนในตัวมันเองอยู่แล้ว”  

คำสั่งบริหารที่ก่อตั้งหน่วยงาน Doge ได้มอบหมายให้ทีมงานดำเนินการ ปรับปรุงเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ของรัฐบาลกลางให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของรัฐบาล  

นับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้ง มัสก์ได้เร่งดำเนินงานอย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้ทีมงานของ Doge ได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่ง รวมถึงสำนักงานบริหารงานบุคคล (OPM) สำนักงานบริหารบริการทั่วไป (GSA) และกระทรวงการคลังสหรัฐ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top