Tuesday, 20 May 2025
สำนักข่าวการศึกษาออนไลน์สำหรับทุกคน

วันที่ 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทย หรือ “วันเถลิงศก” ถือเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่ หรือวันปีใหม่ไทยที่นับตามแบบสมัยโบราณ

วันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เลื่อนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะเปลี่ยนศก ถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่าอย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้ว อาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

ส่วนใหญ่คนไทยจะนิยมไปเที่ยวกับครอบครัว หรือฉลองปีใหม่กันที่บ้านด้วยการทำกับข้าว กินข้าวมื้อใหญ่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตา และมีเคล็ดว่าทุกคนต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ หรือมีของใช้ส่วนตัวชิ้นใหม่ๆ อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่นั่นเอง

คติประจำใจจาก "Marilyn Vos Savant" (หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด มีไอคิวสูงที่สุดในโลก)

"To acquire knowledge, one must study; but to acquire wisdom, one must observe."

"ผู้ใดต้องการหาความรู้ เขาจะต้องศึกษา แต่หากผู้ใดอยากมีปัญญา เขาผู้นั้นจะต้องคอยสังเกตการณ์”


Marilyn Vos Savant (หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด มีไอคิวสูงที่สุดในโลก)

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สสวท. เผยแพร่รายงานผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์) ดาวน์โหลดฟรี! พร้อมตัวอย่างข้อสอบ PISA : สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

การสอบ PISA เป็นการจัดทดสอบความสามารถในด้าน ‘การรู้เรื่อง’ (Competency) ของนักเรียนอายุ 15 ปีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก จัดทดสอบโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD)

ข้อสอบ PISA จะประเมิน ‘การรู้เรื่อง’ ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยที่ไม่ได้อ้างอิงกับเนื้อหาหรือหลักสูตรใดๆ เป็นการเฉพาะ

รายงานผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

ดาวน์โหลดฟรี >> https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/

PISA 2018 เป็นรอบการประเมินที่เน้นการอ่านเป็นการประเมินหลักครั้งที่สามถัดจาก PISA 2000 และ PISA 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ด้านการอ่านของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป รายงานฉบับนี้จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมิน PISA 2018 ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป

https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/

------------------------------------

ตัวอย่างข้อสอบ PISA : สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

ฝึกทำโจทย์ >> https://pisaitems.ipst.ac.th/quiz_global

ขณะนี้ทาง OECD ได้อนุญาตให้เผยแพร่ข้อสอบ "สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก" จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

1. การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

2. เรื่องเล่าเพียงเรื่องเดียว

3. เสื้อผ้าตามหลักจริยธรรม

4. นักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัย

5. นโยบายด้านภาษา

ข้อสอบนี้เป็นข้อสอบวัดสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก ซึ่งเป็นนวัตกรรมการประเมินใหม่ที่มีในรอบการประเมิน PISA 2018 โดยข้อสอบดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้วและเป็นลิขสิทธิ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD)

จัดทำโดย : ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ที่มา:

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=3830429316993428&id=145276782175385&sfnsn=mo

ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจสายงาน IT เปิดรับสมัครแล้ว!! กับโครงการพัฒนาโมเดลสะเต็มศึกษาสู่โลกอาชีพ (Career Academies) รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน อบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน และ 6 เดือน

เป็นอีกหนึ่งทุนการศึกษาเต็มจำนวนที่น่าสนใจ จากศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด รับรองว่าทั้ง 2 หลักสูตรที่เปิดสอน จะช่วยเปิดโอกาสมีงานทำในหน่วยงาน และสถานประกอบการหลังจบหลักสูตร รายละเอียดทุนเพิ่มเติมดังนี้

#1 นักพัฒนาเว็บไซต์ และ Chatbot เพื่อธุรกิจออนไลน์ หลักสูตร 3 เดือน

มูลค่าทุนการศึกษา:

– Full Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร และได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ด้านที่พักอาศัย ค่าเดินทาง และค่าอาหาร ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

– Academic Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร

ระดับการศึกษา:

– สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เช่น ปวช. หรือ ปวส.

– หรือจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รูปแบบการอบรม: อบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วันจันทร์ – ศุกร์ วันละ 9 ชั่วโมง

ระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร: 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2564

คุณสมบัติผู้สมัคร:

– มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเสาร์ ที่ 31 สิงหาคม 2564

– มีสัญชาติไทย และต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย

– ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการอบรม

– ไม่เคยหรือถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติไม่เหมาะสม

สมัครได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe66cIqFcfB6xgQbhXJH2IwVhKpgjVKT6bvNjZr_mQDq9n_Mw/viewform

ปิดรับสมัคร: 23 เมษายน 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1hz6bnveGAdL7tCpB9CVj39GxwOLD7-TB/view?fbclid=IwAR3Aad7caRL7r3DetlzBis1JJgYEmd1CM4zwhnuTSD18KZS93GDL_eP8q-k

#2 นักพัฒนาซอฟท์แวร์ หลักสูตร 6 เดือน

มูลค่าทุนการศึกษา:

– Full Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร และได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ด้านที่พักอาศัย ค่าเดินทาง และค่าอาหาร ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

– Academic Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร

ระดับการศึกษา:

– สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เช่น ปวช. หรือ ปวส.

– หรือจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รูปแบบการอบรม: อบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วันจันทร์ – ศุกร์ วันละ 9 ชั่วโมง

ระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร: 1 กันยายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565

คุณสมบัติผู้สมัคร:

– มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

– มีสัญชาติไทย และต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย

– ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการอบรม

– ไม่เคยหรือถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติไม่เหมาะสม

สมัครได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe66cIqFcfB6xgQbhXJH2IwVhKpgjVKT6bvNjZr_mQDq9n_Mw/viewform

ปิดรับสมัคร: 7 พฤษภาคม 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1jQDJTHrIXdWWHdHgSqcI8VsJGvdHPo2U/view?fbclid=IwAR3n8cHL1IF3U5Rv1GJEh-EpCa4cqwb5NbiqAwBmPMsL0ODOLqfidVLUIic

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติม

https://www.chevronenjoyscience.com/th/career-academies


ขอบคุณที่มา: https://www.scholarship.in.th/stem-career-academies-scholarships/

ทำความรู้จัก 5 เมืองที่น่าเรียนที่สุดในเอเชีย จัดอันดับโดย QS Best Student Cities Ranking 2019 โดยพิจารณาจากค่าครองชีพ ความพึงพอใจ การจ้างงาน และมุมมองของนักศึกษา

ทวีปเอเชียถือเป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางอารยธรรมและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ในด้านการศึกษาทวีปเอเชียก็ไม่แพ้ทางฝั่งตะวันตก หลาย ๆ เมืองมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ 

ทำความรู้จัก 5 เมืองที่น่าเรียนที่สุดในเอเชีย จัดอันดับโดย QS Best Student Cities Ranking 2019 โดยพิจารณาจากค่าครองชีพ ความพึงพอใจ การจ้างงาน และมุมมองของนักศึกษา

โตเกียว

QS Best Student Cities Ranking 2019 จัดให้โตเกียวเป็นเมืองที่เหมาะกับนักเรียนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โตเกียวเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกถึง 13 แห่ง และได้คะแนนอยู่ในระดับดีในด้านความพึงพอใจ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสามของศูนย์กลางทางการเงินชั้นนำของโลก (อีก 2 แห่งคือนิวยอร์กและลอนดอน)

ในด้านการสื่อสารเป็นที่ทราบกันดีว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้สื่อสารภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย ทางมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จึงเปิดคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับนักศึกษาต่างชาติด้วย

กรุงโซล
.
เมืองแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 10 ของโลก มหาวิทยาลัยทั้ง 18 แห่งในกรุงโซลต่างมีชื่อเสียงและมีจุดเด่น โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)

ฮ่องกง

ด้านการศึกษา ได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 14 ของโลก รวมถึงมีคะแนนที่สูงในหมวดการจ้างงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่ต้องการบัณฑิตจบใหม่

มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ Hong Kong University of Science and Technology (HKUST), The University of Hong Kong, The Hong Kong Polytechnic University และ The Chinese University of Hong Kong (CUHK)

เกียวโต - โอซาก้า – โกเบ

ได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 18 ของโลก
.
มหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกียวโต (สถาบันที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในญี่ปุ่น) มหาวิทยาลัยโอซาก้าและมหาวิทยาลัยโกเบ

นอกจากโปรแกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนต่างชาติได้เรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การป้องกันภัยพิบัติ อะนิเมะและมังงะ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของประเทศญี่ปุ่นเลย

สิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดฮิตของของนักเรียนต่างชาติ เพราะมีอัตราการก่ออาชญากรรมและการว่างงานต่ำ อีกทั้งได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 20 ของโลกและมีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ National University of Singapore (NUS) และ Nanyang Technological University (NTU) นอกจากนี้มหาวิทยาลัยนานาชาติหลายแห่งยังได้เปิดสอนหลักสูตรการเรียนที่มีความหลากหลาย 


ขอบคุณที่มา:

https://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/applying-to-university/best-students-cities-in-asia/?fbclid=IwAR3AcNbzaevebn-NZByRzvXdT2WNk2mDkHFVSBRM2BIJ-9SSMFsypabAwv0
 

คติประจำใจจาก "Benjamin Franklin" (หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา)

“An investment in knowledge pays the best interest.”

"การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด คือการลงทุนในความรู้”


- Benjamin Franklin (หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา)

“แพทริเซีย ธัญชนก กู๊ด” นักแสดงสาวที่ทั้งสวย มากความสามรถ และเรียนเก่งสุด ๆ ถึงงานจะรัดตัว แต่เธอยังสามารถแบ่งเวลาเรียนและทำงานได้เป็นอย่างดี จนเรียนจบตามแผน คว้าเกียรตินิยมอันอันดับ 1 มาครองได้สำเร็จ

“แพทริเซีย ธัญชนก กู๊ด” เรียนจบปริญญาตรี จากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 (ปีการศึกษา 2561) ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.70

ถึงแม้ว่าจะต้องทำงานไปควบคู่กับการเรียน เธอก็สามารถทำทั้งสองหน้าที่ได้อย่างดีมาโดยตลอด อีกทั้งเธอได้ไปสอบ IELTS ทดสอบเกี่ยวกับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ผ่านด้วยคะแนน 8 เต็ม 9


ที่มา: https://campus.campus-star.com/variety/135816.html

คติประจำใจจาก "Shai Reshef" (ผู้ก่อตั้งและประธานของมหาวิทยาลัยประชาชน)

“When you educate one person you can change a life, when you educate many you can change the world.”

“เมื่อคุณให้การศึกษากับคนหนึ่งคน คุณเปลี่ยนชีวิตได้ แต่ให้การศึกษากับคนหลายคน คุณสามารถเปลี่ยนโลกได้”


- Shai Reshef (ผู้ก่อตั้งและประธานของมหาวิทยาลัยประชาชน)

ไม่ว่าจะมีความรู้สึกที่ดีต่อกันมากมายแค่ไหน รักกันมากเพียงใด ถ้าไม่รู้จักการสื่อสารภาษารักที่ดีต่อกัน ความรักก็อาจเหือดแห้งหายไปได้ในที่สุด

คุณเคยมีปัญหาขัดแย้งกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรักบ้างไหม?

บ่อยครั้งที่เราอาจรู้สึกว่า เราไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ความรัก หรือการให้ความสนใจเท่าที่ควร ในขณะที่คนที่รักเรา เขายังบอกว่ารู้สึกเป็นห่วง ใส่ใจ และต้องการดูแลเราอยู่ปกติ แต่ทำไมเราจึงรู้สึกตรงกันข้าม สิ่งนี้เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาในการสื่อสารความรักที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีความรู้สึกที่ดีต่อกันมากมายแค่ไหน รักกันมากเพียงใด ถ้าไม่รู้จักการสื่อสารภาษารักที่ดีต่อกัน ความรักคุณอาจจะเหือดแห้งหายไปได้ในที่สุด

ภาษารัก คือ การเรียนรู้ในการแสดงความรู้สึกผ่านคำพูดและการแสดงออก เพื่อให้คนรักค่อย ๆ เดินทางเข้ามาหาเราทีละเล็กทีละน้อย ในทางจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า การครองใจคน “เกิดขึ้นในขณะที่คนรักอยู่กับเราแล้วเขาและเธอรู้สึกมีคุณค่าในขณะที่อยู่กับเรา”

ระหว่างคนสองคนเมื่ออยู่ด้วยกันแล้วสามารถทำให้อีกฝ่ายสัมผัสได้ถึงคุณค่าในตัวเอง เป็นวิธีในการแสดงออกความรู้สึกรักที่แต่ละคนได้มีการเรียนรู้ ความชอบ รสนิยม ความเป็นตัวตน ซึ่งแตกต่างกันออกไป เพื่อที่จะแสดงความรู้สึกรัก การยอมรับ และการใส่ใจ โดยในการแสดงออกถึงความรักนั้นมีอยู่เพียง 5 วิธีเท่านั้น คือ

1.) การดูแลและทำเรื่องดี ๆ ให้กับคนรัก

เป็นการแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ ทำอยู่เป็นประจำ ไม่ถือเป็นภาระหน้าที่ เช่น

• การช่วยเหลือเรื่องงาน

• การทำอาหารให้ทาน

• การช่วยขับรถให้

• การช่วยทำความสะอาด

• การซื้อเสื้อผ้าเครื่องประดับให้

• การช่วยถือกระเป๋า

• การให้ความสะดวกสบาย

• การดูแลเอาใจใส่ ห่วงใย

• การช่วยเป็นธุระให้

• การให้ความสำคัญ

• ฯลฯ

2.) คำพูดที่ดีต่อใจ

คือภาษารักที่สื่อสารผ่านถ้อยคำ คำพูด รวมทั้งการส่งข้อความ message ด้วย คำพูดที่เติมเต็ม (Word of Affirmation) ไม่ได้มีแต่การบอกรักเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพูดในเรื่องที่สร้างความสุขให้กับคนที่รัก ให้คุณค่ากับคนที่รักด้วย เช่น

• การพูดขอบคุณ

• การพูดคำชื่นชม

• การพูดบอกรัก

• การพูดให้กำลังใจ

• การพูดให้รู้สึกสบายใจ

• การพูดให้เกียรติ

• การเคารพ

คำพูดที่เติมเต็มให้กันและกัน แม้นไม่ใช่คำพูดบอกรักกันอย่างตรงไปตรงมา และเป็นคำพูดที่อาจสังเกตได้ยาก เพราะบางครั้งคนเราจะมีมุมมอง ความคิดที่แตกต่างกันออกไป หากใช้คำพูดที่เติมเต็มหัวใจ การให้กำลังใจ หรือการชื่นชม ในเรื่องที่ไม่ถูกใจเรา หรือ เป็นเรื่องที่คนรักอาจไม่เคยให้คุณค่ามาก่อน อาจทำให้คนรักไม่ได้รู้สึกดี ไม่ได้รู้สึกถึงความเอาใจใส่แต่อย่างใด หรือในบางครั้งอาจถึงขั้นเกิดการทะเลาะกันก็เป็นได้

3.) การสัมผัส

เมื่อมนุษย์มีการสัมผัสกัน สมองจะหลั่งฮอร์โมนเช่นออกซิโทซิน (Oxycontin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความเกี่ยวข้องกับความรักออกมาทำให้เกิดความรู้สึก

การสัมผัส (Physical Touch) เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกที่สามารถเข้าใจความหมายของคำว่ารัก ผ่านการสัมผัสของแม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลายอย่าง เช่น

• การจับมือ

• การกอด

• การโอบ

• การจูบ

• การแตะ

• การใกล้ชิด

• การมองตา

กิริยาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของการแสดงออกความรักทั้งสิ้น

4.) การให้ของขวัญพิเศษแก่คนรัก

การให้ของขวัญในวันพิเศษ การให้ช่อดอกไม้ในวันแห่งความรัก การทำเซอร์ไพรส์ เราจะเห็นคนรักแสดงออกต่อกันในรูปแบบนี้บ่อยๆ ศิลปินดารา นักร้อง คนมีชื่อเสียง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ยาวนาน ของขวัญถูกออกแบบไว้เพื่อทำให้แสดงออกถึงความรัก นั่นเอง

ของขวัญที่ให้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่มีราคาแพงหรือหรูหรา แต่มันอาจเต็มไปด้วยความหมาย หรืออาจเป็นบางอย่างที่ธรรมดา เช่น ของทำเอง เป็นการแสดงความตั้งใจทำให้คนรัก สื่อออกมาว่านี่คือความพิเศษสำหรับคนรักจริงๆ สิ่งเหล่านี้ก็สามารถทำให้เติมเต็มได้เป็นอย่างดี

5.) การมีเวลาคุณภาพร่วมกัน

เวลาคุณภาพร่วมกัน (Quality Time) เป็นภาษารักที่เกิดขึ้นจากการใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีความสนใจคล้าย ๆ กัน โดยไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องอยู่ร่วมกันทางกายภาพอย่างเดียว แต่สามารถร่วมกิจกรรมกันได้หลาย ๆ ทาง เช่น

• การพูดคุยกัน

• การดูโทรทัศน์ ดูหนังด้วยกัน

• เล่นกีฬาร่วมกัน

• ทำการกุศลร่วมกัน

• การเล่นเกมส์ร่วมกัน

• การทำอาหารด้วยกัน

• การท่องเที่ยวด้วยกัน

• การเดินป่าด้วยกัน

• การดำน้ำด้วยกัน

• การตกปลาร่วมกัน

หากคุณได้ใช้เวลาร่วมกันโดยที่ไม่อยากให้มีอะไรมาแทรก ให้ความสนใจกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมอะไร สิ่งเหล่านี้คือการได้ใช้เวลาคุณภาพที่มีร่วมกันแล้ว

คุณลองพิจารณาตัวเอง เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้ภาษารักแบบใด และลองสังเกตว่าคนรักของคุณมีแนวโน้มที่จะชอบใช้ภาษารักแบบไหนใน 5 แบบนี้

คุณอาจประหลาดใจว่า คนรักของคุณสามารถแสดงออกถึงความรักในรูปแบบของเขามากขึ้นจนเป็นที่พอใจ

นอกจากนี้คุณจะสามารถเข้าใจความห่วงใยของแต่ละคนที่ส่งมาให้คุณได้มากขึ้น และค่อยๆ ปรับความเข้าใจ เพื่อเข้าหากันได้ดีขึ้นเป็นลำดับ

เขียนโดย อ.นิธิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากร โปรเฟสชั่นนอล เทรนเนอร์

#Talktonitima


อ้างอิงข้อมูล

https://www.focusonthefamily.com/marriage/understanding-the-five-love-languages/

https://www.5lovelanguages.com/5-love-languages/

https://cratedwithlove.com/blog/five-love-languages-and-what-they-mean/

รมว. อุดมศึกษา ลงนามในประกาศ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11) โดยมีสาระสำคัญคือ ให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หยุดสอน เรียนออนไลน์แทน

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ลงนามในประกาศ อว. เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11)

ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นลำดับ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังกล่าว นั้น

เพื่อให้การดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและเป็นไปตามมาตรการที่ ศบค. ประกาศกำหนด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงยกเลิกประกาศกระทรวงฯ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวัง การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 10 และกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง อว. พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ดังนี้

1. ให้สถาบันอุดมศึกษางดการเรียนการสอนในสถานที่ รวมทั้งการสอบ การฝึกอบรมหรือ กิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยให้จัดการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ และปรับวิธีการวัดประเมินผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้การจัดการศึกษามีความต่อเนื่อง และมิให้เกิดผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา

2. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วม มากกว่า 50 คน ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากจะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงาน และให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) อย่างเคร่งครัด

3. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง กำหนดมาตรการในการทำงานสำหรับ บุคลากรในสังกัด โดยให้ใช้มาตรการการทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งเพื่อลดการเดินทางและลดการสัมผัสเชื้อ โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาระดับความเสี่ยงและบริบทของพื้นที่ตามที่ ศบค.ประกาศกำหนด เพื่อกำหนดสัดส่วนการทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือการสลับวันหรือการเหลื่อมเวลา การเข้าปฏิบัติงานได้ตามควาเหมาะสมของพื้นที่

4.ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง ปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการทำงานในรูปแบบออนไลน์ หรือจัดประชุมผ่านระบบทางไกล โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาปรับระบบการบริหารจัดการและรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้อาจมีบางงานหรือกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมไม่มาก เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) หรืองานวิจัยที่สำคัญ หรืองานบริการประชาชนที่จำเป็นให้อยู่ในดุลพินิจของอธิการบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงาน

5. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง พิจารณาดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่ดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย โดยประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการและบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19 ของกระทรวง อว. (ศปก.อว.) และหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่

6. ให้โรงพยาบาลของสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติภารกิจด้านการให้บริการประชาชน บริการสาธารณะและการบริหารจัดการตามภาระหน้าที่ โดยให้มีมาตรการความปลอดภัยสูงสุดสำหรับบุคลากรในสังกัด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการในทุกระดับ

7. ให้ศูนย์ประสานงานในระดับหน่วยงานเป็นกลไกในการกำกับ ติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว รวมถึงเป็นศูนย์แจ้งเหตุและทำหน้าที่ประสาน งานภายในหน่วยงานและประสานงานกับกระทรวง พร้อมทั้งเผยแพร่สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง โดยให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างใกล้ชิด และให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ศบค. และกระทรวง อว. กำหนดอย่างเคร่งครัด

กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติให้รายงานศูนย์ปฏิบัติการและบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวง อว. (ศปก.อว.) ทราบโดยด่วน เพื่อร่วมกันควบคุมสถานการณ์ โดยของให้รายงานข้อมูลในระบบกลุ่มไลน์ที่กำหนด หรือประสานแจ้งข้อมูลได้ที่ ศปก.อว.โทร 02 354 5568 โทรสาร 02 354 5524-6

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน 2564


ที่มา: https://www.amarintv.com/news/detail/75611


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top