Saturday, 19 April 2025
สยาม

เพจดัง ชี้!! 'สยามซอฟต์พาวเวอร์' ระบือไกล ทัชใจคนทั่วโลกใต้รัฐบาล 'สมบูรณาญาสิทธิราชย์'

(12 พ.ย.66) จากเพจ 'ฤๅ - Lue History' ได้โพสต์ข้อความระบุว่า...

ในยุคที่ซอฟต์พาวเวอร์กลายมาเป็นความนิยมแห่งยุคสมัยปัจจุบัน ทว่าจะมีกี่คนรู้ว่าความจริงแล้ว สยามเราได้เริ่มใช้ ซอฟต์พาวเวอร์ในแบบสยาม มาตั้งแต่ครั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว และที่สำคัญซอฟต์พาวเวอร์เวอร์ชั่นสยามนั้น ยังมีความหลากหลายและพิเศษชนิดที่สร้างความตราตรึงให้แก่ชนผิวขาวได้ตั้งแต่เพียงครั้งแรก ๆ ที่เราเข้าร่วมงาน

ซึ่งนั่นก็ตั้งแต่ประมาณร้อยกว่าปีก่อนแล้ว

โดยซอฟต์พาวเวอร์สยามที่ว่านั้น เริ่มจากการเข้าร่วมงานมหกรรมสินค้าในลักษณะ Exhibition ที่เริ่มโดยประเทศจักรวรรดินิยมตั้งแต่ในราว ค.ศ. 19 เพื่อสำแดงให้โลกเห็นว่าตนได้เข้าไปครอบครองดินแดนและทรัพยากรพื้นเมืองของชนชาติต่าง ๆ ที่หลากหลายได้มากมายเท่าไร ผ่านการแสดงสินค้าอุตสาหกรรมที่ตนผลิตได้จาการครอบครองทรัพยากรในดินแดนอาณานิคมมาจัดแสดงไว้ด้วย แต่ที่เลวร้ายกว่านั้นคือ มีกระทั่งการนำเอาชนพื้นเมืองมาจำลองชีวิตในพื้นที่จำกัดคล้ายกับสวนสัตว์มนุษย์

สยามเองในเวลานั้นแม้จะเป็นเพียงชาติเล็ก ๆ แต่ก็เคยได้มีบทบาทในการนำสินค้าและความเป็นสยามเข้ามาจัดแสดงให้เป็นที่รับรู้ของชาวโลก เป็นครั้งแรกเริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2419 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และเพราะสยามหาได้เคยเป็นดินแดนอาณานิคม ดังนั้นการจัดพื้นที่แสดง ‘สินค้าสยาม’ จึงกระทำในฐานะประเทศเอกราชจากตะวันออกไกล ที่แม้อาจจะไม่ยิ่งใหญ่เท่าฝรั่งผิวขาว แต่สยามก็มีศักดิ์ศรีพอที่ไม่ต้องถูกฝรั่งจำลองทำเป็นพื้นที่ ‘สวนสัตว์มนุษย์’ เช่นที่เพื่อนบ้านรอบ ๆ ของเราโดนเจ้าอาณานิคมของตนกระทำ

สำหรับไอคอนที่ทำให้ชาวต่างชาติเห็นถึงความเป็นสยามได้ตั้งแต่ไกลลิบ ๆ ในทุกครั้งที่เข้าร่วมงานจนถึงปัจจุบันก็คือการตั้งอยู่ของ ‘ศาลาสยาม’ อาคารที่ก่อสร้างเป็นทรงไทยตั้งตระหง่านที่ดูผิดแปลกกับอาคารทรงตะวันตกที่อยู่แบบทื่อ ๆ และพบได้เกลื่อนกลาดจนเป็นที่ชินตาของชาวยุโรปทั่วไป ในส่วนของสินค้าสยามที่คัดเลือกส่งไปนั้น มีทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม้ หัวโขน เครื่องมือเกษตร เครื่องดนตรี บ้าน และวัดจำลอง แต่ที่เป็นที่ ‘ฮือฮา’ ที่สุดก็คือเครื่องราชูปโภคจำลองที่ทำด้วยเงินอย่างดีทั้งชุด นับแต่นั้นประเทศสยามมักได้รับการทาบทามให้ไปจัดแสดงสินค้าจากทั่วทุกมุมโลกต่อเนื่องมาอีกหลายครั้ง จึงไม่เกินจริงไปนักที่จะกล่าวว่า สินค้าสยามโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานฝีมือชั้นสูงคงจะเป็นที่ถูกอกถูกใจฝรั่งเอามาก เพราะมีทั้งความยูนีคและลวดลายฝีมือที่แตกต่างกับงานฝีมือจากโลกตะวันตก นี่จึงนับเป็นมรดกของ ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ที่ดำริโดยรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ยังดำรงสืบมาจนถึงปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าซอฟต์พาวเวอร์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานานแล้ว ชาวต่างประเทศก็รู้จักประเทศของเราผ่านสินค้าที่สำแดงความเป็นเราได้อย่างชัดเจนและชื่นชอบโดยไม่ต้องมีการบีบบังคับแต่อย่างใด อาจเพราะซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มีเอกลักษณ์ชัดเจน และเป็นมรดกวัฒนธรรมที่นานาชาติต่างให้การยอมรับมาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน

22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 สยาม เสียดินแดนครั้งที่ 8 หลังเสีย ‘สิบสองจุไท’ ให้ฝรั่งเศส

วันนี้เมื่อ 135 ปีก่อน สยามต้องสูญเสียดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหกให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันเป็นดินแดนในประเทศเวียดนามและลาว

‘สิบสองจุไท’ คือดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของลาวและติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของญวน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของตระกูลชาติพันธุ์ไทน้อย ซึ่งประกอบไปด้วย ชาวไทดำ (หรือลาวโซ่ง หรือผู้ไท), ไทขาว และไทพวน (หรือลาวพวน) มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 เมือง มีเจ้าปกครองทุกเมือง จึงเรียกกันว่า ‘สิบสองจุไท’ หรือ ‘สิบสองเจ้าไท’ เมืองเอกของสิบสองจุไทคือ ‘เมืองแถง’ หรือ ‘เมืองแถน’ (ปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟู ของประเทศเวียดนาม)

ด้านใต้ของสิบสองจุไทลงมาคือดินแดน ‘หัวพันทั้งห้าทั้งหก’ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของชาวไทแดง ไทขาว ไทดำ ไทพวน แต่เดิมประกอบด้วย 5 หัวเมือง ต่อมาเพิ่มอีกหนึ่งหัวเมือง เป็น 6 หัวเมือง แต่ละหัวเมืองปกครองพื้นที่นาหนึ่งพันผืน จึงเรียกว่า ‘หัวพันทั้งห้าทั้งหก’ เมืองเอกของหัวพันทั้งห้าทั้งหกคือ ‘เมืองซำเหนือ’ ปัจจุบันอยู่ในแขวงหัวพัน ประเทศลาว

ดินแดนทั้งสองแห่งข้างต้นนี้ เคยปกครองตนเองเป็นอิสระ จนกระทั่ง ‘อาณาจักรล้านช้าง’ ปัจจุบันคือประเทศลาว ถือกำเนิดขึ้น แล้วขยายอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทั้งสอง ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัย ‘สมเด็จพระเจ้าตากสิน’ อาณาจักรล้านช้างทั้งหมดก็ได้กลายเป็นประเทศราชของไทย ดังนั้นดินแดนสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหก จึงตกเป็นของไทยไปด้วย

เมื่อถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ราวปี พ.ศ.2408 พวก ‘จีนฮ่อ’ หรือชาวจีนอพยพซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพวก ‘กบฏไท่ผิง’ ที่พ่ายแพ้สงครามต่อราชสำนักชิง ได้พากันหลบหนีจากตอนใต้ของจีนลงมายึดครองพื้นที่รอยต่อระหว่างแดนจีนกับญวน หลังจากนั้นได้บุกยึดลงมาจนถึงดินแดนสิบสองจุไท หัวพันทั้งห้าทั้งหก และ ‘เมืองพวน’ (ปัจจุบันคือแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว)

ต่อมาใน สมัยรัชกาลที่ 5 กองกำลังจีนฮ่อที่ตั้งอยู่เมืองพวนได้แบ่งออกเป็น 2 ทัพ เพื่อบุกเข้าตีเมืองเวียงจันทน์และหนองคาย กับบุกเข้าตีเมืองหลวงพระบางหลาย กระทั่งในปี พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งกองทัพใหญ่ไปปราบกบฏฮ่ออีกครั้ง โดยรับสั่งให้ ‘พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม’ ทรงนำทัพไปปราบกบฏฮ่อทางเมืองพวน แล้วให้ ‘พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)’ นำทัพไปปราบกบฏฮ่อทางหัวพันทั้งห้าทั้งหก กองทัพไทยสามารถเอาปราบกบฏฮ่อได้อย่างราบคาบในปลายปี พ.ศ. 2430

การปราบกบฏฮ่อครั้งหลังสุดนี้ แม้กองทัพไทยจะได้รับชัยชนะ แต่ก็เกิดข้อพิพาทกับทางฝรั่งเศสขึ้น โดยในเวลานั้นฝรั่งเศสได้ขยายอิทธิพลเข้ายึดครองดินแดนญวนไว้ได้แล้ว และฝรั่งเศสยังอ้างว่าดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นเมืองขึ้นของญวน ดังนั้นจึงต้องตกเป็นสิทธิของฝรั่งเศสด้วย เมื่อกองทัพไทยรุกไล่กบฏฮ่อจนเข้ามาถึงดินแดนสิบสองจุไท ทางฝรั่งเศสจึงกล่าวหาว่า กองทัพไทยบุกรุกดินแดนของฝรั่งเศสโดยพลการ ทำให้ฝรั่งเศสต้องส่งกองทัพจากแดนญวนเข้ามาขับไล่กบฏฮ่อด้วย แล้วตั้งประจันหน้ากับกองทัพไทยอยู่ที่เมืองแถง

พระยาสุรศักดิ์มนตรีเปิดการเจรจากับ ‘โอกุสต์ ปาวี’ (Auguste Pavie) รองกงสุลฝรั่งเศสประจำหลวงพระบาง แม้ต่างฝ่ายต่างยืนยันสิทธิเหนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหก และต้องการให้อีกฝ่ายถอนกำลังทหารออกไป แต่ฝรั่งเศสมีกองทัพที่แข็งแกร่งกว่าไทย และดินแดนพิพาทยังอยู่ใกล้กับญวนมากกว่าไทย หากเกิดสงครามขึ้นจริงก็ยากที่ไทยจะเป็นฝ่ายชนะ

ในที่สุดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ตัวแทนฝ่ายไทยกับฝรั่งเศสจึงได้ทำสัญญาร่วมกันที่เมืองแถง โดยมีเงื่อนไขว่า ในระหว่างที่ยังหาข้อยุติไม่ได้นั้น ทหารฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ที่สิบสองจุไท และทหารไทยจะตั้งอยู่ที่หัวพันทั้งห้าทั้งหก ต่างฝ่ายต่างจะไม่ล่วงล้ำเขตแดนกัน

นับแต่นั้นไทยก็เสียสิทธิเหนือดินแดนสิบสองจุไทไปให้กับฝรั่งเศส และสูญเสียดินแดนสิบสองจุไทกับหัวพันทั้งห้าทั้งหกไปอย่างสมบูรณ์เมื่อเกิด ‘วิกฤติการณ์ ร.ศ.112’ หรืออีก 5 ปีต่อมา

‘พี่จอง-คัลแลน’ ออกอีเวนต์แรก ใจกลางสยามสแควร์ ซึ้งใจ!! แฟนๆ ซัปพอร์ตเพียบ ลั่น!! ไม่หยุดทำยูทูบแน่

(28 ม.ค. 67) ชาวไทยต่างใจฟูกันทั่วเมื่อพูดถึงสองหนุ่มยูทูบเบอร์เกาหลี คัลแลน และ พี่จอง ที่ฮอตจนฉุดไม่อยู่ถูกแบนรด์ดังคว้าตัวมาเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาเรียบร้อย และล่าสุดทั้งคู่ได้ออกงาน La Roche-Posay Effaclar Duo+M ณ ใจกลางสยามสแควร์ โดยมีแฟนคลับมาต้อนรับเป็นจำนวนมากแน่นลานจัดกิจกรรม และทันทีที่ทั้งคู่ปรากฏตัวทักทายแฟนๆ รอบๆ โปรยออร่าความหล่อจนแฟนๆ ส่งเสียงกรี๊ดกันดังสนั่นไม่หยุด

โดยช่วงหนึ่งคัลแลนได้เผยความรู้สึกพูดเป็นภาษาไทยบอกว่า “ชอบคนเยอะแบบนี้ (ยิ้ม) วันนี้ขอบคุณที่มาที่นี่ ขอบคุณมากๆ ครับ” ขณะที่พี่จองบอกพร้อมสีหน้าที่ยิ้มแย้มว่า “ผมครั้งแรก แล้วตื่นเต้นตลอดครับ แต่จริงๆ ขอบคุณมากครับ ที่มาที่นี่ครับ ขอบคุณที่ซัพพอร์ตพวกเรานะครับ พวกเราจะไม่หยุดทำยูทูบแน่นอนครับ พูดแล้วจะร้องไห้” เรียกว่าทำแฟนๆ ต่างพากันเอ็นดูกับความน่ารักของทั้งคู่กันเพียบ อีกทั้งคัลแลนและพี่จองมีการเข้าไปถ่ายรูปร่วมกับแฟนคลับ และแจกลายเซ็นอีกด้วย งานนี้แฟนๆ ใจฟูสมกับชื่อด้อมกันแน่นอน

‘แน็ก ชาลี’ ควง ‘กามิน’ ออกงานคู่กัน เป็นครั้งแรก  แฮปปี้ ทั้งเรื่องงาน-เรื่องหัวใจ จีบไปด้วย โกยเงินไปด้วย 

เมื่อวานนี้ (16 มี.ค.67) ออกงานคู่กันอีเวนต์แรก ก็แตกกระจาย เลยทีเดียว ‘แน็ก ชาลี ไตรรัตน์’ ควงแขน ‘กามิน’ มาร่วมงานเปิดตัว Eucerrin Pro Acne Sulution SOS Serum กลางสยาม วัน โดยทั้งคู่ได้หยอดกันต่อหน้าสื่อ ทำเอากรี๊ดกันไปหลายตลบ เพราะน่ารักไม่แผ่ว ซึ่งสาวกามินก็เผยว่าดีใจมากที่ได้มางานในวันนี้ ก่อนมางานก็ดูดวงมาแล้ว ว่าต้องมาทำงานที่เมืองไทย

กามิน : “ดีใจมากๆ ที่ได้มาร่วมงานอีเวนต์ใหญ่ขนาดนี้ รู้สึกขอบคุณชาลีมากๆ ที่ช่วยให้ได้มาร่วมงานครั้งนี้และขอบคุณแฟนทุกๆ คนค่ะ (โชว์พูดภาษาไทยว่า หิวมากๆ ฉันอยากกินไก่ สนุกๆ ตลกๆ หิวจะตายอยู่แล้ว) ชาลีและแฟนคลับเป็นคนสอน”

แน็ก : “เขาเรียนรู้เองด้วย เขาอยากขอบคุณคนไทยหลายๆ คน เขาเลยอยากเรียนรู้ภาษาไทยมากขึ้น จริงๆ ทุกวันเขาพยายามให้คนใกล้ตัวเขาสอนภาษาไทยเยอะๆเพราะตอนนี้เขามาทำงานที่ไทยแล้วก็อยากทำงานให้เต็มที่ เพื่อขอบคุณทุกคนจริงๆด้วย”

กามิน : “ขอบคุณแฟนๆ ที่สนับสนุนมาตั้งแต่ต้นจนจบเลยจริงๆ ก่อนหน้านี้เคยดูดวง เขาบอกว่าจะได้มาทำงานในไทย ดีใจมากๆ ที่เป็นจริงขึ้นมา ขอบคุณทุกคนมากๆ”

แน็ก : “ผมขอบคุณที่ทุกคนน่ารักกับผมมากันตลอด และผมก็ดีใจมากๆ ที่ได้พาเขามายืนด้วยกันตรงนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วก่อนหน้านี้มันแทบจะเป็นความจริงไม่ได้ แต่เรามาทำกันมาจนถึงจุดนี้ ขอบคุณทุกคนที่มาในวันนี้ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่เป็นกำลังใจให้เราตั้งแต่วันแรก ผมดีใจมากเขาเองก็ดีใจมากๆ

ดีใจที่ทุกคนมา อีกอย่างมันเป็นความน่ารักของเขาด้วย ที่ทำให้ทุกคนยังอยู่กับเขาได้นาน ขอให้เขาน่ารักแบบนี้นานๆตลอดไป ผมว่าวันนี้เขาตื่นเต้น เห็นเขานิ่งเขาตื่นเต้นบวกกับอากาศวันนี้ที่ร้อน แต่ก็ต้องขอบคุณงานนี้จริงๆ ที่ให้โอกาสเราสองคน อยากให้ทุกคนรักเขาให้ได้มากที่สุด วันนี้ผมดูเก๊กไปหน่อยใช่ไหมครับ อยู่กับสาวก็อย่างนี้แหละต้องนิ่งไว้ก่อน”
อยากทำเพลงให้กามิน

แน็ก : “ผมอยากทำเพลงให้เขาหลายเพลง เป็นเพลงที่เราทำให้เขาจริงๆ และยกให้เขาไปเลย ตอนนี้ก็ดูอยู่ว่าเขาอยากทำเพลงแนวน่ารักๆ เพราะเขาชอบร้องเพลงและเล่นดนตรีได้หลายอย่างด้วยการแสดงก็เก่งมากๆ ด้วย เวลามาทำงานก็ทำให้ งานง่ายมากขึ้นด้วย (ขอแต่งหรือขอเป็นแฟน?) ขอแต่งให้กันดีๆ ก่อน (หัวเราะ) เรื่องมาร่วมงานกันที่เมืองไทย ผมก็คิด ผมก็จะพูดตลอด ผมจะเป็นคนที่คิดไว้แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ตัวผมก็อาจจะรู้ก่อน เราตั้งใจในการทำบางสิ่งมากเราใช้ความจริงใจเข้าไป เต็มๆ ร้อยด้วย กับอะไรหลายๆ อย่าง แต่ก็จุดจบมันก็คือมีความสุขมาก ได้มายืนอยู่ตรงนี้ด้วยกัน”

กามินรับแน็ก สเปก

กามิน : “ใช่ (นักข่าวถามวาดูดวงว่าจะได้ทำงานที่ไทยแล้วดูดวงไหมจะมีแฟนเป็นคนไทย?) อาจจะ (ชาลี?) (หัวเราะ)”

แน็ก : “เรื่องดวงสมพงศ์กัน ก็สาธุ ปล่อยให้มันเป็นไปตามสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น ผมไม่ต้องเช็กดวง ก็รอดู เราก็พยายามทำตัวให้มันดีขึ้นๆ หลายๆ อย่าง ก็อยู่ด้วยกันให้ทำงานมีความสุขพยายามทำให้ดีที่สุด เขาเป็นคนที่ง่ายๆ สบายๆ ที่แบบดีใจมาก”

ทำคะแนนอยู่ทุกวัน

แน็ก : “ใช่ครับ ทำอยู่ ตลอดเวลา ถามว่าเขาให้ผ่านไหม ก็คือจริงๆ หลายคนจะต้องทำความเข้าใจ ความเป็นจริงเรื่องหนึ่งนะ เขาก็พยายามเอ็นเตอร์เทน ให้ทุกคนมีความสุข”

ยิ่งทำงานด้วยกัน ยิ่งมีความสุข และใกล้ชิดกันมากๆ หาวิธีเนียนๆ ใกล้ชิดกัน
แน็ก : ”ส่วนตัวผมก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว แค่ว่าผมอยากแสดงมุมไหนให้เพื่อนๆ ได้เห็น แต่ก็ดีใจที่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ อีกมากมาย ต้องขอบคุณมากๆ ผมเป็นคนที่เวลาโชคดีก็จะโชคดีมากๆ เวลาโชคร้ายก็โชคร้าย แต่โชคดีมากกว่า เวลามีความรัก มีความรู้สึกดีเรื่องความรัก ทุกคนน่ารักมาก เปิดใจให้ผม และรอดูไปด้วยกัน เราก็มีถามบ้าง แต่เราคุยกันแบบผู้ใหญ่ เราสองคนโตกันมาก คุยกันในหลักความจริง ทุกอย่างมันต้องใช้เวลาในการพัฒนา แต่เท่าที่ผมดูในความรู้สึกของผม เราทำงานด้วยกันไม่กี่วันมันก็มีความสุขขึ้นมากๆ ใกล้ชิดกันมากขึ้น พยายามหาวิธีเนียนๆ ใกล้ชิดกับเขาเยอะๆ”

ขอเป็นแฟนไหม อยู่บนความจริง

แน็ก : “เดี๋ยวต้องมีการคุยอยู่แล้ว ทุกอย่างอยู่บนความจริง”

กามิน : “ถามว่าเขาขอเป็นแฟนจะโอเคไหม (หัวเราะ) ถ้าซักผ้าเก่งก็โอเคนะ”

แน็ก : “ผมซักผ้าโคตรเก่งเลยครับ”

กามิน : “เขา very handsome ถูกใจ ตาโต ชอบไทยๆ สเปกค่ะ”
ลักกี้อินเกม แอนด์ เลิฟ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุ่มเทและพยายามเพื่อให้เกิดขึ้น

แน็ก : “ก็ขอบคุณทุกคนจริงๆ ผมดีใจมากๆ ที่ได้มาเจอสิ่งดีๆ มากขึ้น นอกจากเจอเขาแล้วยังได้เจอเพื่อนๆ มากมายที่เปิดใจให้เรา ให้กำลังใจเราทั้งคู่ มันเป็นอะไรที่ดีมากๆ เรื่องแบบนี้มันไม่ได้เกิดกันได้ง่ายๆ และมันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ 100% ผมเองต้องทุ่มเทพยายามหลายอย่างเพื่อจะให้มันเกิดขึ้นในวันนี้“

ภาษาไม่ใช่อุปสรรค นินทาไม่ได้แล้ว กามินรู้ภาษาไทยมากขึ้น

แน็ก : ”ถ้าเป็นอุปสรรคไม่ได้มายืนตรงนี้หรอก ผมจะพยายามให้เขาเรียนเพิ่มเติม เป็นตัวเขาที่จะต้องเรียนอีกมากมาย ผมเชื่อและอยากให้เขาได้ทำงานที่นี่ ใครจะว่าใครจะอะไรก็ไม่เป็นไร ตอนนี้เขาก็พูดไทยได้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น ผมนินทาอะไรเริ่มไม่ค่อยได้แล้ว เห็นนิ่งๆ แบบนี้เขาเข้าใจนะ ส่วนภาษาเกาหลีแรกๆ ก็เรียนนะครับ แต่เขามาทำงานที่นี่เลยให้เขาฝึกเยอะๆ ดีกว่า”

กามิน : “ซารังเฮ”

แน็ก : “นี่ไงบอกรักกันแล้ว”

เดินหน้าจีบ พร้อมเป็นป๋าดัน

แน็ก : “เดินหน้าจีบก่อนเป็นป๋าดันอีกครับ สุดท้ายสิ่งที่จะอยู่กับเขาได้นานที่สุดคือความเป็นตัวของเขาเอง อยู่ที่ว่าเขาจะคงความน่ารักแบบนี้ได้ตลอดไปหรือเปล่า ต้องบอกก่อนว่าเรื่องราวของเรามันเป็นการให้ใจของทุกคนที่ให้ใจพวกเรามา เราให้ใจทุกคนมากๆ เลย วันไหนเราดี น่ารักทุกคนก็สนับสนุน วันไหนผมหรือเขาไม่ดี ไม่มีความน่ารักก็หยุดสนับสนุนทั้งคู่ได้ ผมเชื่อว่าเราจะยังน่ารักกันไปอีกนาน จะทำให้ดีที่สุด”
จีบไปด้วยรับเงินไปด้วย

แน็ก : “ใช่ ผมชอบมาก ความรักที่มันเปิดเผย ผมมีความสุขมากจนบางทีตัวเขาก็กังวลอยู่เหมือนกันนะว่ามันคือเรื่องจริงหรือว่าแต่งเรื่องหรือเปล่า ก็จะพยายามบอกเขาตลอดว่ามันจริง ที่เราทำทุกอย่างมันจริง เราใส่ใจไปเต็มร้อยด้วย”

กามิน : “ดีใจมากๆ จนไม่คิดว่านี้คือเรื่องจริงเลย เหมือนเป็นความฝันที่ได้มาร่วมงานกับชาลี และทุกคน ทุกคนดูแลดีจนรู้สึกเกรงใจ”
ค่าตัวสูงแต่ไม่ถึง 8 หลัก

แน็ก : ”สาธุครับ หลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันงานเดียว ไม่ใช่ครับ บางทีระยะเวลางานนั้นเป็นปี ต้องทำงานหลายครั้งหลายวัน ที่บอก 8 หลักไม่จริงเลย

เท่าที่ได้มาก็ดีมากๆ แล้ว สาธุขอให้ 8 หลักเร็วๆ คือจ้างงานพวกเราได้ครับ ผมจะถามเขาตลอดว่าเต็มใจทำงานไหม มีความสุขที่ทำงานไหม เขาจะบอกว่าแฮปปี้ทุกวันเป็นสิ่งที่ดีมากๆก็ต้องขอบคุณลูกค้าทุกคนและทุกกำลังใจมันเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ณ ตอนนี้”

จริงใจที่สุด อยากให้ทุกอย่างดีที่สุดสำหรับกามิน

แน็ก : “ตัวผมดูเรื่องความเหมาะสมและสิ่งที่เขาควรจะเป็น คุมเรื่องต่างๆ ตัวผมเองกล้าพูดว่าจริงใจที่สุด ในการที่อยู่กับเขาหรือดูแล อยากให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันดีที่สุดสำหรับเขา ไม่ใช่ว่ามาปุ๊บ แล้วโดนคนโน้นคนนี้พาไปเละเทะ มันจะหลุดออกนอกกรอบ เพราะยังไงเขาก็ยังไม่ใช่คนไทยยังไม่ได้เข้าใจอะไรเต็มร้อยทุกอย่าง ตัวผมต้องขออนุญาต ควบคุมในบางสิ่งบางอย่างอยู่

ส่วนเป็นผู้จัดการหัวใจหรือเปล่า สาธุ ครับ (สถานะตอนนี้เป็นอะไร นักปั้น นักจีบหรือนักรัก) พร้อมกันไปหมดละครับ ถ้าใครสังเกตสองเดือนที่ผ่านมาผมมีโอกาสที่จะไลฟ์ขายของเยอะมาก ผมมีคนติดตามมากขึ้น มีคนให้กำลังใจแต่ผมไม่ทำเลยนะ เรื่องของการขายของ ผมทำแต่สินค้าที่ติดกับผมอยู่ แล้วผมรู้สึกว่าผมไม่อยากทำงานคนเดียว อยากจะทำงานทุกอย่างที่ให้เขามาร่วมทำงานกับเราด้วย มันก็เหมือนเป็นกำลังใจอย่างหนึ่ง ทำให้ผมอยากทำงานด้วย ตอนนี้ผมก็เลยทำงานให้เต็มที่ที่สุด”

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรกของสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.) บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.) บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร (ปริญญาบัตรในปัจจุบัน) แก่เวชบัณฑิตชั้นตรี จำนวน 29 คน ประกอบด้วยผู้สอบได้บัณฑิตชั้นตรีในปี 2471 จำนวน 18 คน และปี 2472 จำนวน 16 คน

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชโชวาทแก่บัณฑิตในครั้งนั้น ตอนหนึ่งว่า “…ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาให้ปริญญาแก่นักเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในวันนี้ นับว่า เป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของมหาวิทยาลัย และโดยเหตุนั้น นับว่าเป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของประเทศสยามด้วย เพราะว่าไม่ว่าประเทศใดๆ ความเจริญของประเทศนั้นย่อมวัดด้วยความเจริญของการศึกษานั้นอย่างหนึ่ง…”

อนึ่ง ในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือเชิญผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมยุทธศึกษาทหารบก, กรมยุทธศึกษาทหารเรือ, สภากาชาดสยาม, วชิรพยาบาล, มหามงกุฎราชวิทยาลัย, ราชบัณฑิตยสภา, โรงเรียนกฎหมาย, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากกระทรวงต่างๆ เอกอัครราชทูตของประเทศที่มาประจำประเทศไทย ฯลฯ มาร่วมพิธีด้วย

ช่วงเวลามาตรฐานแห่งสยามประเทศ พระอัจฉริยภาพของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔

ในช่วงหลายวันก่อนเพื่อนผมคนหนึ่งได้ส่งคลิปซึ่งตัดมาจากภาพยนตร์เรื่อง “ทวิภพ” ปี ๒๕๔๗ นำแสดงโดย “รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง” และ “ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์” โดยฉากที่ตัดมานั้นคือการสนทนากันเรื่องของ “บางกอกมีนไทม์” (Bangkok Mean Time) ซึ่งกำหนดขึ้นจากการคำนวณของ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ ๔ เพื่อใช้เป็นการนับเวลามาตรฐานของสยาม ซึ่งในข้อนี้พระองค์ทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางการด้านคำนวณ ทางดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ของพระองค์ ซึ่งการคำนวณเหล่านี้เชื่อมโยงไปถึงการคำนวณปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่จะเกิดขึ้นที่ หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ ที่ทรงคำนวณไว้ได้อย่างเที่ยงตรง แต่ “บางกอกมีนไทม์” (Bangkok Mean Time) คืออะไร ? และเชื่อมโยงไปสู่ GMT หรือ Greenwich Mean Time หรือไม่ อย่างไร ? ค่อย ๆ ไล่เรียงอ่านกันไปเพลิน ๆ นะครับ 

เบื้องแรกสยามเรานั้นมีการนับเวลากันเป็นโมงยาม มีอุปกรณ์ท้องถิ่นทำจากะลามะพร้าวเจาะแล้วนำไปลอยน้ำเรียกกันว่า “นาฬิเก” ซึ่งตัวโอ่งน้ำและตัวกะลาจะมีการวัดขนาดเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ เมื่อจะใช้ก็เติมน้ำให้ได้ตามาตรวัดแล้วนำ “นาฬิเก” ไปลอย พอนาฬิเกมีน้ำเข้าเต็มแล้วจมลงก็จะถือว่าเป็น ๑ ชั่วโมง “นาฬิกา” ถ้าวัดกันในกลางวันคนวัดก็จะตี “ฆ้อง” เราก็จะได้ยินเสียงดัง “โมง” และแน่นอน !!! เมื่อวัดกันตอนกลางคืนก็จะตี “กลอง” เราก็จะได้ยินว่า “ทุ่ม” ซึ่งก็เป็นที่มาของหน่วยเรียกเวลาแบบของไทยเรา ซึ่งยังไม่เป็นมาตรฐานมากนัก (หอกลองหน้าเป็นยังไงไปชมกันได้ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง ตรงข้ามวัดโพธิ์ ส่วนตัวกลองไปชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๔ นั้น พระองค์ทรงเป็นนักศึกษาค้นคว้า ทรงสนพระทัยในด้านดาราศาสตร์ ทรงศึกษาตำราจากต่างประเทศทั้งจากฝั่งอังกฤษและอเมริกาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง จนกระทั่งพระองค์ได้ทรงคำนวณการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างสุริยุปราคาได้ล่วงหน้าถึง ๒ ปี จากการคำนวณในครั้งนั้นทำให้พระองค์ได้ทรงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการ "สถาปนาเวลามาตรฐานประเทศไทย" โดยทรงวัดจุดเริ่มต้นจากตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษแล้วทรงวัดมาที่สยาม ทำไม ? ถึงต้องวัดจากกรีนิชประเทศอังกฤษ อันนี้มาจากตำราต่าง ๆ ที่ปรากฏในช่วงรัชสมัยของพระองค์นั้น เป็นตำราดาราศาสตร์ เพื่อการเดินเรือ (เนื่องจากเขาสังเกตดวงดาวในเวลาเดินเรือ) ทั้งตำราของอังกฤษเอง หรือจะเป็นตำราของอเมริกาก็ตาม จะอ้างอิงจากเมืองท่าของอังกฤษซึ่งถือว่าเป็นมหาอำนาจในขณะนั้น ในทุก ๆ ครั้งที่ผ่านหอนาฬิการิมท่าก็จะเทียบเวลา ไป - กลับ เข้า – ออก โดยทุกลำเรือมักจะมีนาฬิกาอยู่ ๒ เรือน คือเรือนใหญ่เป็นเวลาของกรีนิช เรือนเล็กเป็นเวลาที่ปรับตามท้องถิ่นของประเทศที่เดินทางไปติดต่อ ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ท่านทรงได้ศึกษาจนเข้าใจ ก่อนจะทรงคำนวณระยะห่างของชั่วโมงตามองศาที่เปลี่ยนไป จนได้เวลาของสยามที่ค่อนข้างแน่นอนตามที่พระองค์ได้ทรงอธิบายเอาไว้ใน “พระกระแสรับสั่งรัชกาลที่ ๔ เรื่องสุริยุปราคา เมื่อปีมะโรง พศ. ๒๔๑๑ ต้นฉบับของขุนวรจักรธรานุภาพ และตำราวัดพระอาทิตย์ของพระจอมเกล้า” ว่า 

"ลองติชูต" (Longitude) ๑๐๐ องศา ๓๐ ลิปดา ตะวันออก ห่างจาก "กรีนุวิศมินไตม์" (Greenich Mean Time ) อยู่ ๖ ชั่วโมง ๔๒ นาที 

แต่จริง ๆ แล้วนักวิชาการหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่าในหลวงรัชกาลที่ ๔ นั้นพระองค์ไม่ได้วัดองศามาที่กรุงเทพ ฯ แต่เทียบวัดไปที่บริเวณจังหวัดเพชรบุรี (เขาวัง - พระนครคีรี) ไม่ใช่ที่กรุงเทพฯ เพราะการเทียบวัดครั้งนั้นเป็นไปเพื่อพยากรณ์การเกิดสุริยุปราคาเป็นหลัก ซึ่งตรงนี้ยังเป็นข้อถกเถียงที่อาจจะยังสรุปไม่เรียบร้อยนัก แต่อย่างไรก็ดี ณ เวลานั้น พระองค์ทรงให้กำเนิดเวลามาตรฐานประเทศไทย ก่อนนานาอารยประเทศ ๑๖ ปี 

จากการกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นเหตุสำคัญที่พระองค์ทรงมีรับสั่งให้สร้างหอนาฬิกาขึ้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” ขึ้นทางด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม (เดิม) ตรงพุทธนิเวศน์ ในเขตพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งองค์นี้เป็นตึกสูง ๕ ชั้น ชั้นบนสุดติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้ง ๔ ด้าน มีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวง เพื่อทำหน้าที่บอกและรักษาเวลามาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงกำหนดให้เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๙ ลิปดา ๕๐ พิลิปดาตะวันออก เป็นเส้นแวงหลักผ่านพระที่นั่งภูวดลทัศไนย 

ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้มีเจ้าหน้าที่รักษาเวลามาตรฐาน ประจำหอนาฬิกาหลวง ซึ่งนับว่าเป็นตำแหน่งงานทางวิทยาศาสตร์ไทยชุดแรกอันได้แก่ เจ้าหน้าที่เทียบเวลากลางวันจากดวงอาทิตย์ คือ ‘พันทิวาทิตย์’ และเจ้าหน้าที่เทียบเวลากลางคืนจากดวงจันทร์ คือ ‘พันพินิตจันทรา’ คอยสังเกตและบันทึกการเคลื่อนที่ผ่านของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่เส้นเมอริเดียนของ“พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” สำหรับพระที่นั่งภูวดลทัศไนยนั้นต่อมาถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อสร้างทิมดาบใหม่

นอกจากนี้รัชกาลที่ ๔ พระองค์ยังได้ทรงสังเกตดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามานานหลายปี ทรงพบว่า การขึ้น-ตก และแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในเดือนต่าง ๆ นั้น แตกต่างกัน ทำให้ที่หอนาฬิกาหลวงจึงมีการคำนวณทางดาราศาสตร์เป็นรายวันทุกๆ วัน เพื่อตั้งปรับเวลาที่หอนาฬิกาหลวงตามที่ได้คำนวณไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็น เวลามาตรฐานกรุงเทพปานกลาง หรือที่เรียกว่า “บางกอกมีนไทม์” (Bangkok mean time) นั่นเอง

นอกจาก “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” รัชกาลที่ ๔ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ “พระบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม” ทรงออกแบบสร้างหอนาฬิกาตรงมุขเด็จของพระที่นั่งจักรีอีกแห่งหนึ่ง แต่มิได้ระบุชื่อและปีที่สร้าง แต่เชื่อว่าพระองค์มีพระราชประสงค์จะให้ชาวเรือขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยามองเห็น และเทียบเวลาเดินเรือได้สะดวก ซึ่งพระองค์มีพระราชดำริเกี่ยวกับการสถาปนาระบบเวลามาตรฐาน ไว้ในบันทึกการประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ไว้ว่า

"...จะเป็นเหตุให้เขาหัวเราะเยาะเย้ยได้ว่าเมืองเรา ใช้เครื่องมือนับทุ่มโมง เวลาหยาบคายนักไม่สมควรเลย เพราะเหตุฉะนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพินิจพิจารณาตรวจตราคำนวณความดำเนินพระอาทิตย์ ให้ฤดูทั้งปวงสอบกับนาฬิกา ที่ดีมาหลายปีทรงทราบถ้วนถี่ทุกประการ แจ้งในพระราชหฤทัยแล้ว..."

ภายหลังใน พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้มีการประชุมสภาสากลอุทกนิยม ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อแบ่งภาคเวลา โดยกำหนดให้ตำบลกรีนิช เป็นจุดแรกของการกำเนิดเวลา ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดเวลามาตรฐานใหม่ จากเส้นแวงที่ ๑๐๐ ตะวันออก ซึ่งพาดผ่านพระบรมมหาราชวัง มาเป็นเส้นแวงที่ ๑๐๕ องศาตะวันออก จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทย เป็น ๗ ชั่วโมงก่อนเวลาที่กรีนิชตั้งแต่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ นับตั้งแต่นั้น

“บางกอกมีนไทม์” (Bangkok mean time) เวลามาตรฐานของกรุงเทพฯ ที่เทียบจากมาตรฐานเวลาสากลของโลกที่ตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษ โดยวัดมุมในแผนที่ออกมาจากเมืองกรีนิชถึงกรุงเทพฯ ได้ที่ประมาณ ๑๐๐ องศา ๓๐ ลิปดา

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคำนวณไว้ตั้งแต่ในปลายรัชสมัยของพระองค์คือ พ.ศ. ๒๔๑๑ ความแม่นยำของการคำนวณนี้ รวมไปถึงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์นั้น ล้วนตรงตามเวลาที่พระองค์ท่านคำนวณไว้ทุกประการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านโดยแท้ 

หากวันนี้ท่านอยากจะเห็นหน้าตาของหอนาฬิกาที่ใกล้เคียงกับสมัยที่แรกสร้างนั้นท่านสามารถไปชมได้ที่ “หอนาฬิกาหลวงจำลอง” แถวถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง ตรงข้ามกับวัดโพธิ์ ซึ่งตัวนาฬิกาเดิมที่รื้อถอนลงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงกลาโหม ส่วนหอนาฬิกาหลวงจำลองนั้นสร้างขึ้นในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี โดยยังคงรูปแบบเดิมไว้ แต่ย้ายตำแหน่งมาตั้งเคียงอยู่กับหอกลองที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน ทั้งหมดออกแบบโดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา สถาปนิกระดับตำนาน ผู้เป็นโหลนของ “กรมขุนราชสีหวิกรม” ผู้สร้างหอนาฬิกาหลังเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั่นเอง

22 ธันวาคม 2431 เสียดินแดนครั้งที่ 8 สยามสูญเสียดินแดนสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส

เมื่อ 22 ธันวาคม 2431 ประเทศสยามต้องทำสัญญากับฝรั่งเศสที่เมืองแถง (ปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟูในประเทศเวียดนาม) ส่งผลให้สยามสูญเสียดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหกให้กับฝรั่งเศส โดยพื้นที่กว่า 87,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ที่ติดต่อกับแขวงพงศาลีของลาว

ดินแดนสิบสองจุไทเคยเป็นบ้านของชาวไทน้อย ซึ่งประกอบไปด้วยชาวไทดำ ไทขาว และไทพวน มีทั้งหมด 12 เมืองที่มีเจ้าผู้ปกครองเป็นของตัวเอง ส่วนหัวพันทั้งห้าทั้งหกประกอบด้วยหกเมืองที่มีการปกครองอิสระเช่นกัน ในยุคก่อนหน้านี้ ดินแดนเหล่านี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาเป็นประเทศราชของสยาม

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดการกบฏของกลุ่มจีนฮ่อที่เข้ามายึดครองพื้นที่ทางภาคเหนือของสยาม และส่งผลให้ไทยต้องส่งกองทัพเข้าไปปราบปราม ซึ่งแม้จะได้รับชัยชนะ แต่ฝรั่งเศสซึ่งขยายอิทธิพลในเวียดนามได้อ้างสิทธิ์ในดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหก

การเจรจาระหว่างไทยและฝรั่งเศสที่เมืองแถงในปี 2431 ทำให้ไทยต้องยอมรับให้ฝรั่งเศสควบคุมดินแดนสิบสองจุไท โดยฝรั่งเศสยังคงตั้งทหารอยู่ในพื้นที่สิบสองจุไท ขณะที่ทหารไทยอยู่ที่หัวพันทั้งห้าทั้งหก และไม่ให้ฝ่ายใดละเมิดเขตแดนของกันและกัน  แม้ต่างฝ่ายต่างยืนยันสิทธิเหนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหก และต้องการให้อีกฝ่ายถอนกำลังทหารออกไป แต่ฝรั่งเศสมีกองทัพที่แข็งแกร่งกว่าไทย และดินแดนพิพาทยังอยู่ใกล้กับญวนมากกว่าไทย หากเกิดสงครามขึ้นจริงก็ยากที่ไทยจะเป็นฝ่ายชนะ

จากการทำสัญญาดังกล่าว สยามจึงสูญเสียดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหกให้กับฝรั่งเศส และในที่สุดก็เสียสิทธิเหนือดินแดนเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ในอีก 5 ปีต่อมา ในเหตุการณ์วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top