Sunday, 27 April 2025
วัคซีน

'หมอดื้อ' เฉลย!! ทำไมยังพูดผลกระทบวัคซีน ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว ลั่น!! มันไม่ได้ผ่านไป ผลเสียยังฝังอยู่กับตัว ควรระงับเทคโนโลยีนี้

(24 เม.ย.67) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า

คนถามว่ามาพูดเรื่องผลกระทบทำไมในเมื่อมันผ่านไปแล้ว?

คำตอบคือ

1- มันไม่ได้ผ่านไปครับยังฝังอยู่กับตัวเราและใครยังไม่มีอาการปรากฏไม่ควรนิ่งนอนใจ รักษาตัวให้ดีหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้นในร่างกายการควบคุมอาหารเข้าใกล้มังสวิรัติ คุมโรคประจำตัว กำลังสม่ำเสมอ แดดและกระบวนการถอนพิษ เป็นไปได้

2- เพื่อให้หยุด ระงับเทคโนโลยีนี้ เพื่อใช้กับวัคซีนอื่น ๆ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน และไม่มีขั้นตอนในการควบคุมความปลอดภัยและเลิกบริการฉีด เลิกบังคับให้ฉีด ของวัคซีนนี้ จากการจุดกระแสต่าง ๆ

3- เพื่อให้ตระหนักในผลกระทบที่เกิดขึ้นและให้เข้าใจว่า ไม่ใช่โรคที่คิดไปเอง ดังที่ถูกสั่งพักงาน เพราะหมอวินิจฉัยไม่ได้แต่ในที่สุดพบการอักเสบมากมายมหาศาลในร่างกายแม้กระทั่งไปทำ PET scan เจอการอักเสบทั่วตัวและต่อมน้ำเหลืองโตเต็มตัว

4- เพื่อให้มีการเยียวยาผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง เป็นหมื่นเป็นแสนคน

5- ในที่สุดเพื่อหาคนรับผิดชอบ เมื่อรู้ความจริงแทนที่จะระงับ กลับส่งเสริมต่อและทำการเปลี่ยนความจริงให้เป็นเท็จ

คนเหล่านี้ ต่ำทราม และไม่ควรเป็นคนไทย

‘หมอดื้อ’ ประกาศลาออก จาก ‘หน.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่’ ชี้ ลดความกังวลขององค์กร ปมวิจารณ์เรื่อง ‘วัคซีน-ไวรัสตัดต่อพันธุกรรม’

(26 เม.ย.67) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยระบุว่า…

เรียนทุกท่านครับ

เนื่องจากมีความกังวลจากองค์กร ว่าหมอเอง ทางสังคมมีการใช้ชื่อขององค์กรในการให้ความเห็นเรื่องของวัคซีน / เรื่องของไวรัสตัดต่อพันธุกรรม และเรื่องอื่น ๆ

ดังนั้น หมอได้ ลาออกจากหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ แล้วครับ ในวันที่ 25/4
และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ในฐานะกลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง

(ยังคงเป็นอาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา โดยไม่รับค่าตอบแทน)

ซึ่งทางด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

หมอธีระวัฒน์ลาออกจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ ไม่ใช่ความพ่ายแพ้ แต่เพื่อชัยชนะทาง ‘อิสรภาพ’ ในการ ‘พูดความจริง’ เดินหน้าต่อร่วมจัดเสวนา ‘อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด’ หอศิลป์กรุงเทพ 3 พ.ค.นี้

ตามที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยเหตุผลว่า

‘เนื่องจากมีความกังวลจากองค์กร ว่าหมอเอง ทางสังคมมีการใช้ชื่อขององค์กรในการให้ความเห็นเรื่องของวัคซีน /เรื่องของไวรัสตัดต่อพันธุกรรม และเรื่องอื่น ๆ’

ขอให้กำลังใจแด่ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ได้มีความกล้าหาญและเสียสละในการตัดสินใจครั้งนี้

การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่เป็นความพ่ายแพ้ หากแต่เป็นชัยชนะในการประกาศอิสรภาพเพื่อพูดความจริงให้ได้ตรงประเด็นได้มากยิ่งขึ้น ในฐานะ ‘ศาสตราจารย์นายแพทย์’ ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท

และในฐานะ ‘กลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง’ และการลาออกครั้งนี้ไม่ได้ทำให้การทำหน้าที่ของศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑาหายไป เพราะวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จะยังคงเดินหน้าและเคียงข้างในการนำเสนอความจริงและทางออกให้กับประเทศ ร่วมกับศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ต่อไป

ดังนั้น การจัดกิจกรรมระหว่างศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา กับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตจะยังคงเดินหน้าต่อไปในทางวิชาการเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยความจริงที่เข้มข้นกว่าเดิม

ดังนั้น จึงจะขอแจ้งตัดชื่อหรือโลโก้ในภาพการประชาสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โดยได้นำแถบดำมาปิดโลโก้ทั้งหมดด้านล่างเอาไว้แล้ว สำหรับการจัดเสวนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นี้ คงเหลือแต่ ‘วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต’ เท่านั้น ที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานนี้เอง

ดังนั้น ช่วยกันแชร์ และขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเสวนาครั้งที่ 2 ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ วันที่ 3 พ.ค. เปิดข้อมูลและความจริงชัดเจนยิ่งขึ้น ในหัวข้อ ‘อันตรายจากวัคซีนร้ายแรงกว่าที่คิด’

โดย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต จัดคลินิกแพทย์เคลื่อนที่ และการเสวนา ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ ‘อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด’ ในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน และในงานพบกับ…

10.00 น.-13.00 น. หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดให้คำปรึกษาและรักษาเบื้องต้น ภาวะลองโควิด และผลกระทบจากวัคซีน โควิด-19 ด้วยการบูรณาการ ศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และธรรมชาติบำบัดฟรี

13.00 น.-17.00 น. งานเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ ‘อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด’ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท, นายแพทย์ อรรถพล สุคนธาภิรมย์ กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์, อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้เข้าร่วมเสวนาอีกหลายท่าน

จึงขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชน ผู้ป่วย และพี่น้องประชาชนที่สนใจหรือต้องการให้กำลังใจ หรือแบ่งปันข้อมูล เข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว

'อหิวาตกโรค' ภัยร้ายที่ยังคงมีในเมียนมา หากต้องแวะมา อย่าลืมรับวัคซีนแต่เนิ่นๆ

ไม่นานมานี้สาธารณสุขเมียนมาประกาศว่ามีอหิวาตกโรคระบาดในย่างกุ้ง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วหลายสิบราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก

ต้องยอมรับว่าอหิวาตกโรค หรือ โรคห่า เป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดจากการดื่มกินน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้ออหิวาห์เข้าไปทำให้เกิดโรคขึ้น 

โรคอหิวาตกโรคไม่ได้เพิ่งมาระบาดในเมียนมา แต่ในปี 2015 ก็มีรายงานการระบาดของอหิวาต์มาแล้วในหมู่บ้านก๊อกกาเร็กใกล้เมืองเมียวดี

ทางสถานทูตไทยในย่างกุ้งได้แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่อาศัยในเมียนมาให้ดื่มน้ำสะอาด งดรับประทานน้ำแข็งและทานอาหารปรุงสุก รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารค้างมื้อ อาหารทะเล อาหารดิบและอาหารที่มีแมลงวันตอม รวมถึงการใช้มือรับประทานอาหาร

สำหรับนักท่องเที่ยวในไทย เรามีวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์เช่นกัน มีทั้งแบบเชื้อเป็นและเชื้อตาย

วัคซีนแบบเชื้อตายเป็นวัคซีนรับประทาน ต้องทาน 2 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 1-6 สัปดาห์ ในขณะที่วัคซีนแบบเชื้อเป็น จะเป็นแบบรับประทานครั้งเดียวก่อนเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการติดเชื้ออหิวาตกโรค โดยต้องรับประทานก่อนเดินทางเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน

ดังนั้นหากใครต้องการเดินทางไปยังเมียนมาในช่วงนี้ขอให้เตรียมตัวในการรับวัคซีนด้วย

เมียนมาแจกวัคซีน 2 ล้านโดส รับมืออหิวาตกโรคระบาด

(25 ธ.ค. 67) กระทรวงสาธารณสุขเมียนมาเปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ 24 ธันวาคมว่า ได้แจกจ่ายวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดรับประทานให้ประชาชนแล้วกว่า 2 ล้านโดส ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา  

รายงานจากสำนักข่าวซินหัวระบุว่า การระบาดของอหิวาตกโรคในภูมิภาคย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงสาธารณสุขของเมียนมาต้องแจ้งสถานการณ์ต่อองค์การอนามัยโลก (WHO) และเพิ่มความพยายามในการควบคุมการแพร่ระบาด  

กระบวนการแจกจ่ายวัคซีนเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคอย่างใกล้ชิดในภูมิภาคและรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้ลุกลาม

'สถาบันวัคซีนแห่งชาติ' เจอทัวร์ลง!! หลังไปสวัสดีปีใหม่ช่อง 3 ถ่ายรูปกับ 'สรยุทธ' เจอชาวเน็ตโจมตี!! ภายหลังชี้แจง ระบุให้ความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง

(25 ม.ค. 68) ‘สถาบันวัคซีนแห่งชาติ’ ให้คุณค่าอย่างยิ่งในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรการสื่อสาร ในทุกภาคส่วน 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมา พญ. สุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้เข้าพบมอบของที่ระลึกเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ 2568 พร้อมแสดงความขอบคุณสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 3 HD) ในการสื่อสารความรู้ด้านวัคซีนสู่สาธารณชนด้วยดีเสมอมา โดยมีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ให้การต้อนรับ

โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาตินั้น ให้ความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง และสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างเป็นมิตรร่วมกัน เพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเกิดประโยชน์กับสาธารณะ เน้นให้ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้กับสังคมต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top